เรนนี่ one
Location :
ภูเก็ต Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




( ^_^ )

Google
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เรนนี่ one's blog to your web]
Links
 

 

ประวัติพระแม่กาลี



พระแม่กาลี หรือ กากิลา (काली, Kālī, แปลว่า หญิงดำ) เป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวี ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีกายสีดำสนิท มีลักษณะดุร้าย มี ๑๐ พระกร ถืออาวุธร้ายอยู่ในพระกรทั้งสิบนั้น แลบลิ้นยาวถึงทรวงอก ที่ริมฝีปากมีเลือดไหลหยดเป็นทางยาว เครื่องประดับเป็นหัวกระโหลก มีงูใหญ่ร้อยคาดองค์ดั่งสังวาลย์
พระแม่กาลี หรือ เจ้าแม่กาลี มีอำนาจฤทธิ์ในการปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีเทวานุภาพอันแรงกล้า สร้างความวิบัติแก่เหล่าอสูรอย่างรุนแรง เด็ดขาด แฝงเร้นไว้ซึ่งความน่ากลัว ผู้บูชาพระแม่กาลีอย่างถูกต้องและเคร่งครัด พระแม่จะประทานความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ และอำนาจเหนือผู้อื่น
พระแม่กาลี ยังมีพลังอำนาจในการขจัดคุณไสย ลบล้างไสยเวทย์ด้านมืด หากบุคคลใดถูกกระทำทางไสยศาสตร์ เมื่อผู้นั้นได้สวดบูชาอ้อนวอนต่อพระองค์ท่านแล้ว พระองค์ท่านก็มักให้พร ขจัดสิ่งอาถรรพ์ชั่วร้ายให้มลายหายไป
ผู้ใดกระทำการสวดบูชา สรรเสริญ และถวายเครื่องสังเวยแด่พระแม่กาลีเป็นประจำ พระองค์ท่านจะประทานความปลอดภัยมาสู่ผู้นั้น ทรงดลบันดาลให้เกิดความสันติผาสุขแก่ผู้ครองเรือนทั่วไป คุ้มครองผู้บูชาจากภยันตรายและอุบัติเหตุร้ายแรง
พระแม่กาลีทรงมีบุคลิกภาพที่ยากแก่การเข้าใจ มีความลึกลับที่สุดในบรรดาเทพเทวาทั้งปวง พระนางมีความดุดัน เกรี้ยวกราด รูปลักษณ์และอุปนิสัยล้วนเต็มไปด้วยความน่าสะพรึงกลัว แต่พระนางก็จะทำลายเฉพาะอสูร ปีศาจ และมนุษย์ที่กระทำการชั่วร้ายเท่านั้น เนื่องจากพระแม่กาลีก็คือเทพ และเทพก็มักปกป้องคุ้มครองผู้กระทำความดีเช่นเดียวกันทุกพระองค์ ฉะนั้น แม้ผู้ที่บูชาพระแม่อย่างเคร่งครัด แต่เป็นคนที่ไม่ดี มีความคิดที่ชั่วร้าย เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น พระแม่ท่านก็จะทำลายบุคคลผู้นั้นเสียโดยไม่ละเว้น!!
ตำนานกล่าวว่า พระอุมาซึ่งอยู่ในปางอัมพิกา พระสิริโฉมงดงามเสด็จสู่สนามรบ เมื่อเหล่าอสูรได้เห็นก็พยายามจะได้นางเป็นชายา แต่นางได้ต่อสู้กับเหล่าอสูรด้วยความพิโรธ ในปางพระแม่กาลี จนอสูรทั้งหลายตายจนเกือบหมด เหลือเพียงมาธูอสูร ที่ทรงสังหารอย่างไรก็ไม่ตาย เพราะเคยได้รับพรจากพระศิวะให้มีชีวิตเป็นอมตะ หากเลือดหยดถึงพื้นดินก็จะเกิดเป็นอสูรอีกมากมายไม่สิ้นสุด ร้อนถึงพระศิวะ ทรงประทานวิธีให้พระแม่กาลีดื่มเลือดอสูรทุกครั้งอย่าให้ตกถึงดิน มาธูอสูรจึงถึงแก่ความตาย
หลังจากชนะอสูรมาธู พระนางทรงดีพระทัย กระโดดเต้นเพื่อฉลองชัยชนะ แต่ด้วยตบะอันแรงกล้าทำให้เกิดความเดือดร้อน ต่อด้วยโลกธาตุทั้งปวงเมื่อพระนางกระทืบพระบาท พระศิวะจะเข้าห้ามปรามก็เกรงความดุร้ายของพระนาง จึงใช้อุบายทรงทอดพระกายลงบนพื้นที่พระนางจะกระทืบพระบาท เมื่อพระกาลีเห็นพระศิวะที่พื้น ด้วยปางหนึ่งที่เป็นพระปารวตี ซึ่งรักและภักดีในพระศิวะยิ่ง ก็ทรงชะงัก และแลบลิ้นด้วยความขวยเขิน
การบูชาพระแม่กาลี ต้องใช้เลือดบริสุทธิ์ ในอดีตมีการใช้หญิงพรหมจารีย์ไปบูชายัญด้วยเลือดจากลำคอ แต่เมื่ออังกฤษเข้าปกครองอินเดีย ได้สั่งห้ามการฆ่าคนเพื่อบูชายัญ ปัจจุบันนี้การบูชาพระแม่กาลีใช้เลือดแพะแทน
จากการที่พระแม่กาลีเป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวีที่ดุร้าย มีรูปลักษณ์คล้ายปีศาจและใช้เลือดและชีวิตในการบูชายัญ จึงมีความเข้าใจผิดกันว่า พระแม่กาลีเป็นเทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย ในสำนวนภาษาไทยจึงมีคำว่า "กาลี" ซึ่งหมายความว่า สิ่งที่ชั่วร้าย เช่น "กาลีบ้านกาลีเมือง"หมายถึง"สิ่งที่ชั่วร้ายต่อบ้านเมือง"
ขอขอบคุณข้อมูลจาก //th.wikipedia.org


เจ้าแม่กาลี: เทวีผู้ปราบกาลียุค

ความเชื่อและศรัทธาที่ชาวฮินดูมีต่อ เทพเจ้านั้นหนักแน่นและมั่นคงนับแต่ อดีตตราบจนปัจจุบัน โดยชาวฮินดูเชื่อว่าโลกนี้ดำเนินไปได้ด้วยอำนาจของตรีมูรติ คือเทพเจ้าทั้งสามองค์อันได้แก่ พระพรหมผู้สร้าง พระวิษณุผู้รักษา และพระศิวะผู้ทำลาย นอกจากเทพทั้งสามที่ชาวฮินดูนับถือแล้วยังมีเทวีปรากฏขึ้นในฐานะชายาของเทพ เหล่านี้ ได้แก่ เทวีสรัสวดีชายาของพระพรหม เทวีลักษมีชายาของวิษณุเทพ และเทวีปารวตีชายาของศิวเทพ เทวีทั้งสามนี้มีฤทธานุภาพใกล้เคียงกับเทพเจ้าเลยทีเดียว
ในครั้งนี้จะขอแนะนำให้ท่านผู้ฟังได้รู้จักกับอวตารปางหนึ่งของชายาพระศิว ะ ซึ่งมี
ผู้ นับถือกันอย่างมากโดยเฉพาะในกัลกัตตาอดีตเมืองท่าของอินเดียนั่น คือ เจ้าแม่กาลี โดยปกติแล้วชายาของพระศิวะมีพระนามที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่นของผู้นับถื อ เช่น ปารวตี อุมาเทวี และเจ้าแม่กาลี เป็นต้น
เจ้าแม่กาลีเป็นอวตารปางหนึ่งของชายาพระศิวะที่มีผู้นับถือเป็นอย่างมากใน เมือง
กัล กัตตา ในเมืองนี้มีวัดเจ้าแม่กาลีอยู่บริเวณ “กาลีฆัต” ซึ่งแปลว่าท่าไปสู่ที่เจ้าแม่กาลี ภายในโบสถ์มีรูปเจ้าแม่กาลีประดิษฐานอยู่ วัดนี้ถือเป็นศูนย์รวมใจของชาวเบงกอลที่นับถือศาสนาฮินดูอย่างแท้จริง ด้วยความศรัทธาที่ชาวฮินดูในกัลกัตตามีต่อเจ้าแม่กาลีจึงทำให้เกิดเทศกาล บูชาเจ้าแม่กาลีขึ้น ในราวเดือนตุลาคมของทุกปี ในวันงานมีการจัดซุ้มต่างๆเพื่อบูชาเจ้าแม่กาลี มีการแสดงนิทรรศการแสงสี เสียง ในวันนั้นมีเสียงสวดมนต์ดังไปทั่วทั้งเมือง ช่วงกลางคืนประชาชนก็จะแต่งตัวสวยงามออกจากบ้านเพื่อไปบูชาเจ้าแม่กาลีใน ซุ้มที่มีรูปเจ้าแม่กาลีปางปราบอสูรประดิษฐานอยู่ โดยรูปปั้นของพระนาง อยู่ในท่ายืนยกขาขึ้นข้างหนึ่งแลบลิ้นที่เปื้อนเลือด มี 10 เศียร 10 พระกร 10 พระบาท มีศีรษะมารห้อยคอต่างพวงมาลัยและมีนิ้วมือมารประดับไว้รอบเอว
เหตุที่ประชา ชนให้ความเคารพศรัทธาเจ้าแม่กาลีก็เนื่องมาจากพระนางเป็นเทวี
ผู้ ปราบอสูรแ ละนำความสงบมาสู่โลก ตามตำนานกล่าวไว้ว่าครั้งหนึ่งพวกอสูรได้รับพรวิเศษจาก พระพรหม คือ ให้เป็นอมตะ ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ด้วยความหลงอำนาจพวกอสูรจึงระรานและเกี้ยวพาเหล่านางฟ้าอย่างไม่เกรงใจเหล่า เทวดาจนทำให้เหล่าเทวดาเดือดร้อนและได้นำเรื่องนี้ไปร้องเรียนพระพรหม พระพรหมจึงมีบัญชาให้พระศิวะผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการทำลายเป็นผู้ไปกำราบเหล่า อสูร แต่พระชายาของพระศิวะเป็นผู้อาสาปราบเหล่าอสูรในครั้งนี้แทน โดยชายาของศิวเทพได้อวตารเป็นเจ้าแม่กาลีและได้ทำสงครามกับเหล่าอสูรเป็นเ วลานานเพราะในขณะสู้รบกันนั้นถ้าเลือดของอสูรหยดลงพื้นดินเพียงหยดเดียวก็ จะเกิดอสูรขึ้นหนึ่งตน ดังนั้นพระนางจึงต้องหาวิธีที่จะทำให้เลือดของ

อสูรที่เกิดจากการสู้รบไม่ตกลงสู่พื้น ในที่สุดพระนางจึงตัดสินใจแลบลิ้นของตนรับเลือดเหล่าอสูรตลอดระยะเวลาที่ พระนางทำสงครามกับเหล่าอสูรนั้น และด้วยวิธีนี้เองที่ทำให้พระนางสามารถปราบอสูรได้สำเร็จ
จากตำนานที่กล่าวมานี้จึงทำให้ชายาพระศิวะในอวตารของเจ้าแม่กาลีแลบลิ้นที่
เปื้อน เลือดมีศีรษะมารห้อยคอต่างพวงมาลัยและมีนิ้วมือมารประดับไว้รอบเอว ซึ่งก็คือเลือด ศีรษะ และนิ้วมือของเหล่าอสูรที่กล่าวไว้ในตำนานนั่นเอง นอกจากรูปของเจ้าแม่กาลีที่เกิดขึ้นจากตำนานแล้ว การบูชาเจ้าแม่กาลีด้วยเลือดสดๆ ก็เกิดขึ้นจากตำนานนี้เช่นกัน นั่นคือหลังจากที่เจ้าแม่กาลีปราบอสูรได้แล้วประชาชนก็จัดงานฉลองเพื่อเป็น การรำลึกถึงพระคุณของพระนางโดยในการเซ่นบวงสรวงโดยนำเลือดสดๆไปบูชา กล่าวกันว่าในยุคแรกๆมีการนำหญิงพรหมจารีไปทำพลีกรรมโดยนำเลือด บริสุทธิ์ในลำคอไปบูชาเจ้าแม่กาลี แต่เมื่อเวลาล่วงไปถึงช่วงที่อังกฤษเข้าปกครองอินเดียได้สั่งห้ามไม่ให้นำ มนุษย์มาใช้ในการบูชา จึงทำให้การบูชาเจ้าแม่กาลีในปัจจุบันนี้เหลือเพียงการนำแพะมาใช้ในการบูชา แทน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าเราจะได้กลิ่นคาวของเลือดแพะแทนที่กลิ่นหอม ของธูปและดอกไม้เมื่อเข้าไปในวัดที่มีการบูชาเจ้าแม่กาลี
การทำลายชีวิตหนึ่งเพื่อแสดงความศรัทธาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจจะดูไม่ถูกต้องนักใน
สาย ตาของหลายๆท่านที่ได้รับฟังเรื่องราวนี้ แต่มีอีกสิ่งที่เราต้องยอมรับก็คือความเชื่อและความศรัทธาที่ชาวฮินดูมี ต่อเทพเจ้าทั้งหลาย รวมถึงความเชื่อในเรื่องอีกหลายๆ เรื่องที่เรานึกไม่ถึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำ ให้กระแสของวัฒนธรรมตะวันตกไม่สามารถเข้าไปแทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมของชาว ฮินดูได้อย่างง่ายดายเหมือนกับการที่วัฒนธรรมตะวันตกกำลังแทรกซึมอยู่ในประเ ทศทางตะวันออกอีกหลายๆ ประเทศ
ขอขอบคุณ ข้อมูลจากหลายเว็ปไซต์









 

Create Date : 24 มกราคม 2551    
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2555 9:00:16 น.
Counter : 34467 Pageviews.  

ประวัติพระศิวะ



พระศิวะ

พระอิศวร หรือ พระศิวะ (สันสกฤต: शिव Śiva, อังกฤษ: Mahesh, Shiva) หรือที่ชาวจีน เรียกว่า พระยกอ๋องซ่งเต เป็นเทพตามความเชื่อของชาวฮินดู มีพาหนะ คือ โคเผือก ชื่อว่า อุศุภราช พระอิศวรเป็นมหาเทพแห่งการทำลาย มีกายสีขาว แต่พระศอเป็นสีดำเพราะเมื่อตอนที่พระนารายณ์และเหล่าเทวดา อสูร ทำพิธีกวนสมุทรโดยใช้พญานาคเป็นตัวฉุดเขาพระสุเมรุนั้น ใช้เวลากวนนานมาก พญานาคจึงคายพิษออกมาปกคลุมไปทั่วโลก พระศิวะ จึงว่าเกรงจะเป็นภัยต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลกจึงได้สูบเอาพิษเหล่านั้น ไว้จึงทำให้ คอของพระศิวะเป็นสีดำนั้นเอง มีพระเนตรถึง 3 ดวง ดวงที่ 3 อยู่กลางพระนาลาฎซึ่งตามปกติจะหลับอยู่ เนื่องจากพระเนตรดวงที่ 3 นี้ มีอานุภาพร้ายแรงมาก หากลืมขึ้นเมื่อใดจะเผาผลาญทุกอย่างให้มอดไหม้ ประทับอยู่ ณ เขาไกลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลมีมเหสีคือ พระแม่อุมา รูปลักษณ์ของพระอิศวร โดยมากจะปรากฏให้เห็นเป็นชายผมยาว มีพระจันทร์เป็นปิ่นปักผม ซึ่งได้มาจาการกวนสมุทร มีลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์เป็นสังวาล มีงูเห่า พันรอบพระศอ นุ่งห่มหนังเสืออันเป็นเครื่องนุ่งห่มของฤาษี การบูชาพระอิศวรจะกระทำได้โดยการบูชาต่อ ศิวลึงค์ อันเป็นสัญลักษณ์แทนตัวพระองค์นั่นเอง
พระอิศวรมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฎราช "(nataraja) เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน
พระอิศวรยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผี อีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" โดยพระนามของพระอิศวรนั้น ในภาษาไทย มักจะใช้เป็นคำ สามาส ต่อท้ายคำอื่น โดยมีความหมายว่า "ยิ่งใหญ่" อาทิ นเรศวร, ราเมศวร เป็นต้นนอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี" และ "หระ"





ปางต่าง ๆ ของพระศิวะ

1. ปางศิวะนาฏราช (พระศิวะกำลังร่ายรำ)

ในตำนานเล่าว่า พระศิวะทรงชักชวนพระนารายณ์ปลอมแปลงโฉม เป็นสามี-ภรรยากันไป ณ ป่าแห่งหนึ่ง เพื่อกำราบเหล่าดาบสที่ไม่ตั้งตนบำเพ็ญตบะ และบูชาเทพอย่างที่ควร ดาบสกลุ่มนั้นประพฤติตนเหลวไหล ใฝ่ไปในทางชั่วมากกว่าจะอยู่ในศีลในธรรม
เมื่อทั้ง 2 มหาเทพไปปรากฏตัวในป่านั้นในฐานะของโยคีหนุ่มกับภรรยาสาว (พระนารายณ์ทรงปลอมเป็นภรรยาพระศิวะ) เหล่าดาบสผู้มากกิเลสตัณหา ก็พากันมาเวียนวน เกี้ยวพาราสีสาวงามภรรยาของโยคีหนุ่ม โดยไม่สนใจหรอกว่านางเป็นผู้มีคู่มีเจ้าของแล้ว บรรดาเมียๆ ของดาบส ต่างก็ไม่วางตนว่าไม่โสดแล้ว พากันมาให้ท่าทอดสะพานโยคีรูปงามกันมิเว้นวาย

2. ปางมหากาลไภรวะ (พระพิราพ)


ป็นปางดุร้ายปางหนึ่งของพระศิวะ ประเทศอินเดียถือว่าพระพิราพ หรือพระไภรวะนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับนาฏศิลป์ เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดท่ารำที่เรียกว่า "วิจิตรตาณฑวะ" ซึ่งเป็นท่ารำท่าหนึ่งใน 108 ท่ารำของพระศิวะ ดังนั้นจึงถือว่าท่านเป็น "นาฏราช" ที่หมู่นาฏศิลป์อินเดียให้ความเคารพเกรงกลัว เพราะถือเป็นเทพที่บันดาลความเป็นความตายได้ แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นผู้ให้ชีวิตและปัดเป่าโรคภัย

3. ปางจักราธนมูรติ (วิษณุวาณุครหมูรติ)


อันเนื่องจากพระวิษณุเทพได้ทำสงครามกับอสูรบนสวรรค์ และเกิดความเพลี่ยงพล้ำไม่อาจชนะฝ่ายอสูรได้ จึงได้ทำพิธีบูชาพระศิวะเทพขึ้น ด้วยการบูชาพระองค์ด้วยดอกบัววันละ 1,000 ดอกทุกวัน จนวันหนึ่งหาดอกบัวไม่ได้พระวิษณุเทพจึงควักลูกตาของตนเพื่อถวายบูชาแก่องค์ ศิวะเทพ พระองค์ทรงพอพระทัยมาก จึงประทานลูกล้อ หรือจักรหินสัญลักษณ์ของพระศิวะเทพเพื่อให้เป้นอาวุธของพระวิษณุต่อไป

4. ปางนนทิศานุครหมูรติ (กายเป็นมนุษย์ เศียรเป็นโค)


ปางนนทิศานุครหมูรติสรังคยานะเกิดมาไม่มีบุตรสืบสกุล จึงไปขอพระเป็นเจ้า วิษณุเทพได้ประทานบุตรมาให้ตน ด้วยพอใจการบวงสรวงบูชาของฤาษี บันดาลอิทธิฤทธิ์ให้เด็กถือกำเนิดจากสีข้างของพระองค์ ทารกนี้รูปร่างเหมือนพระศิวะ ทรงพระราชทานนาม นนทิเกศวร นนทิเกศวรได้พรจากพระศิวะ ต่อมานนทิได้นำพิธีทรมานร่างกายบนยอดเขามันธระเพื่อให้เข้าถึงพระศิวะเจ้า พระศิวะเทพโปรดปรานมาก ทรงปรากฏตัวให้เห็นและรับเอาฤาษีนนทิเป็นหัวหน้ามหาดเล็กรับใช้อยู่ที่เขา ไกรลาศ ทรงแต่งตั้งให้เป็นเทพบุตรนนทิเกศวร ส่วนพระชายาของเทพบุตรพระองค์นี้คือ นางสุยาศุ บ้างก็ว่าเทพบุตรพระองค์นี้ตัวเป็นมนุษย์ หัวเป็นโค

5. ปางกิรทารชุนมูรติ


ท้าวอรชุน (ในมหากาพย์ภารตะ) ทำพิธีบูชาพระศิวะเพื่อขอประทานลูกธนูศักดิ์สิทธิ์ให้ตนเพื่อไปยิงอสูร ท้าวอรชุนได้บวงสรวงอยุ่ที่เขาไกรลาศ พระศิวะใช้มายาแปลงเป็นหมูป่าเข้าทำร้ายพราหมณ์หนุ่มและท้าวอรชุน พราหมณ์หนุ่มต้องการยิงหมูป่า อ้างว่าตนเห็นก่อน แต่ท้าวอรชุนไม่ยอม บอกว่าตนต่างหากที่เห็นก่อน จากนั้นทั้งคู่ก็เลยต้องเดิมพันด้วยการต่อสู้กัน ไม่ว่าท้าวอรชุนจะใช้อาวุธ ใดก็มีอาจทำร้ายพราหมณ์หนุ่มได้ จนเมื่อท้าวอรชุนทรุดตัวลงกราบ พระศิวะพอพระทัยมอบลูกธนูวิเศษให้ไปปราบอสูร

6. ปางราวันนานูครหมูรติ


ทศกัณฐ์ เจ้าเมืองลงกา หลังจากทำสงครามกับท้าวกุเบร ได้เสด็จผ่านเทือกเขาหิมาลัย เห็นว่ามีทัศนียภาพอันน่ารื่นรมย์ ตั้งใจจะเข้าไปชมสถานที่ แต่เจอนนทิเกศวรหัวหน้ามหาดเล็กของพระศิวะเทพขวางทางไว้ เพราะเขาไกรลาศเป็นที่ประทับของพระศิวะเทพและพระนางปราวตี ห้ามผู้ใดล่วงล้ำเข้าสู่เขตพระราชฐานทศกัณฐ์โกรธ ขู่อาฆาตและสาปแช่งว่า นนทิต้องสิ้นชีพด้วยน้ำมือลิง แต่นนทิเกศวรบอกว่า ทศกัณฐ์ต่างหากที่ต้องสิ้นชีพด้วยน้ำมือลิง ทศกัณฐ์โกรธเตรียมจะยกเขาไกรลาศขึ้นทุ่ม แค่โยกเขาด้วยอิทธิฤทธิ์เท่านั้น บรรดาเทวดาและมนุษย์ก็เดือดร้อนหนีกันจ้าละหวั่น พระนางปราวตีได้ทูลขอให้พระศิวะให้แก้สถานการณ์ ทรงใช้เท้าเหยียบที่พื้นลงเบาๆ เพื่อให้เขาไกรลาศตั้งดังเดิม ทรงปราบพยศอสูรทศกัณฐ์จนยอมศิโรราบ พระศิวะเทพโปรดประทานดาบศักดิ์สิทธิ์ให้จากนั้นทศกัณฐ์ได้เดินทางกลับกรุง ลงกา

7. ปางกาลารีมูรติ


ฤาษีตนหนึ่ง ได้ทำพิธีบูชาสวดมนตร์อ้อนวอนขอลูกกับพระศิวะเทพ พระศิวะทรงโปรดการบูชาจึงประทานลูกให้ แต่บอกว่า เด็กคนนี้จะอายุสั้น ฤาษีและภรรยา ได้เลี้ยงดูลูกจนอายุ 16 ปี ลูกชายไปได้บวงสรวงต่อพระศิวะระหว่างที่ชะตาถึงฆาตประจวบเหมาะว่า เป็นช่วงที่เด็กคนนี้กำลังบูชาศิวลึงค์อยู่พอดี พระยม-กาลแห่งความตายได้เดินทางจากเมืองนรกมารับตัวเด็กหนุ่ม พระศิวะเห็นดั่งนั้นทรงพิโรธ ทรงปรากฏกายออกจากศิวลึงค์เข้าเตะพระยม พระยมสู้ฤทธิ์พระศิวะไม่ได้จึงหนีไปพระศิวะประทานพรให้เด็กหนุ่มมีชีวิตเป็น อมตะ

8. ปางกานันทกามูรติ


ปางนี้คือปางพระศิวะทำลายเทพเจ้าแห่งความรัก (กามเทพ) เมื่อพระนางสตีเผาร่างตนเองไปนั้น พระศิวะเสียใจมาก และเข้าสู่สมาธิเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ในที่สุดเมื่อพระนางมาจุติใหม่ โดยแบ่งภาคมาจากพระแม่ศักติ-ศิวา มาเป็นพระนางปราวตี กามเทพต้องทำหน้าที่เพื่อให้ศิวะเกิดความรัก เพื่อจะได้มีบุตรในการไปปราบอสูรชื่อ ทาราคา ในที่สุดเมื่อทุกอย่างสำเร็จ ทรงมีโอรสขึ้นมาคนหนึ่งชื่อ ขันธกุมาร หรือ กาติเกยะ หรือกุมารา หรือสุภามันยะเพื่อไปปราบอสูร

9. ปางอรรธนารีศวร (ครึ่งพระศิวะ ครึ่งพระอุมาเทวี)


ปางนี้เป็นปางครึ่งหญิงครึ่งชายในรูปลักษณ์ทางประติมกรรมนั้น จะแบ่งซีกระหว่างพระศิวะกับพระอุมาเทวี พระศิวะอยู่ทางซีกขวา และพระอุมาเทวีอยู่ทางซีกซ้าย ซึ่งถ้าผู้ที่เข้าใจระบบความเชื่อแบบทวิลักษณะแบบจีน หรือ คัมภีร์หยิน-หยางย่อมเข้าใจได้ว่า ชายขวา-หญิงซ้าย นั่นคือสูตรตามแบบฉบับของคัมภีร์นี้ ปางนี้ได้กำเนิดขึ้นครั้งแรก ครั้งเดียว ในสมัยการสร้างจักรวาล กล่าวคือ พระพรหมได้รับภารกิจให้สร้างมนุษย์เพศชายเพียงเพศเดียว แต่เพศชายเพียงอย่างเดียวไม่มีกำลังในการขยายเผ่าพันธุ์ในโลกใด้ ครั้งจะสร้างเพศหญิงขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าจะเอาแบบอย่างมาจากไหน พระพรหมจึงต้องบวงสรวงมหาเทวาธิเทวะ มหาเทวะ ศิวะเทพ เพื่อให้เสด็จมาแก้ปัญหาที่ค้างคาใจอยู่พระพรหมบวงสรวงจนเป็นที่พอใจก็เลย เสด็จมา นับเป็นครั้งแรกที่มาในปางอรรธนารีศวร เพศหญิงและเพศชายที่รวมกันอยู่ในร่างเดียวกัน ทำให้พระพรหมเข้าใจในกำลังเสริมของเพศคู่นี้ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และชีวิตใหม่


ขอขอบคุณข้อมูลจาก //th.wikipedia.org




 

Create Date : 24 มกราคม 2551    
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2555 9:01:07 น.
Counter : 4432 Pageviews.  

พระพิฆเนศ

พระพิฆเนศวร
(ภาษาสันสกฤต : คเณศ) หรือ พระพิฆเนศ หรือ พระพิฆเณศ หรือ พระวิฆเณศวร หรือ พระพิฆเณศ หรือ พระคเณศ หรือ คณปติ เป็นเทพในศาสนาพราหมณ์ นับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง เป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง)


พระคเณศ เป็นเทพเจ้าองค์สำคัญองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูทรงเป็นเชษฐโอรสที่ใกล้ชิดของมหาเทพผู้ทรงเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่คือ พระศิวะและพระอุมา ซึ่งพระศิวะนั้นชาวอินเดียเชื่อกันว่าพระองค์เป็นเทพผู้เป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวงในจักรวาล มีเครื่องหมายในการสร้างเรียกว่าศิวลึงค์ ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นผู้มีหน้าที่ทำลายล้างโลก จึงได้รับการนับถือให้เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดใน
ศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีพระวรกายเป็นสีแดง สีขาว และสีดำ ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามยุคต่าง ๆ มีสามเนตร เนตรที่ 3 อยู่กลางพระนลาฏ ผาเกล้าเป็นมุ่นขมวด มีพระจันทร์เสี้ยวเป็นปิ่น มีพระคำกะโหลกหัวคนคล้อง พระศอมีงูเป็นสังวาล นุ่งหนังสือ อาวุธประจำกายที่ขันธกุมาร ทรงโคเผือกนนทิเป็นพาหนะ นอกจากนี้ยกย่องให้พระองค์เป็น "นาฏราช" หรือราชาแห่งการฟ้อนรำโดยถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิดมากศิลปด้วยทั้งนี้ในคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ ได้กล่าวถึงการฟ้อนรำของพระองค์ว่า มีบทบาทสำคัญมาก แสดงถึงพลังในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับจักรวาล 5 ประการ คือ



การสร้าง การดูแลให้คงอยู่ การทำลาย การปิดบัง การอนุเคราะห์ โดยทรงทำกิจกรรมเหล่านี้พร้อมกันด้วยการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์และพระบาท ท่าฟ้อนรำมีทั้งหมด 108 ท่า ซึ่งเป็นต้นแบบแห่งการฟ้อนรำตามตำนานกล่าวว่าทรงฟ้องรำท่ามกลางคณะเทพซึ่งทรงดนตรีชนิดต่าง ๆ อาทิ


พระพรหมตีฉิ่ง พระคเณศตีกลองและเทพบุตรนนทิตีตะโพนเป็นต้น ทั้งในเมืองสวรรค์และเมืองมนุษย์ ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้พระคเณศซึ่งเป็นผู้ได้ชื่อว่ามีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเป็นอย่างยิ่งสามารถจดจำท่าร่ายรำของพระอิศวรได้
ชาวอินเดียได้ถ่ายทอดคติความเชื่อนี้ลงสู่งานศิลปะในรูปเคารพทั้งที่เป็นประติมากรรมลอยตัวและภาพสลักรูป "ศิวนาฏราช" หรือพระนฤเตศวร คือ พระศิวะในปางนฤติบูรติ (พระศิวะทรงฟ้อนรำ)
รวมทั้งประดิษฐ์นาฏยคเณศ (พระคเณศช่างเต้นรำ) ตามศาสนสถานทั่วไปด้วยและได้รวบรวมเป็นตำราเผยแพร่พร้อมกับศาสนามายังประเทศต่าง ๆ ในเอเชียอาคเนย์ เช่น อินโดนีเซีย ของคนในเขมร และไทย โดยไทยได้รับมาดับแปลงแก้ไขให้เหมาะสมและสวยงามตามแบบฉบับของไทย และกลายเป็นเอกลักษณ์ของตนเองในที่สุด


นอกจากนี้แล้วกรมศิลปากรยังแต่งบทการแสดงที่มีพระคเณศเกี่ยวข้องคือ ระบำวานรพงศ์และระบำวีรชัยสิบแปดมงกุฏซึ่งเป็นการแสดงชุดพิเศษในโขนชุดรามาวดาร กล่าวถึงตอนที่พระอิศวรทรงให้เหล่าเทพยาดาอวตารมากำเนิดในสุริยวงศ์เป็นวานรที่ฤทธิ์เดช ซึ่งพระคเณศได้อวตารมาเป็นวานรชื่อ "นิลขัน" หนึ่งในสิบแปดมงกุฏของกองทับวานรที่มาช่วยเหลือพระรามปราบอธรรม โดยมีสีกายเป็นสีแดงตามสีกายเดิมแลการแสดงโขนตอนพิเภกสวาภิกักดิ์ กล่าวถึงตอนพิเภกถูกขับออกจากกรุงลงกา และเดินทางมาขอเฝ้าพระรามระหว่างทางได้พบกับพวกสิบแปดมงกุฏจึงถูกเหล่าวานรจับตัวไปเข้าเฝ้าพระราม


บทบาทความสำคัญของพระพิฆเณศ


คนไทยคุ้นเคยกับบรรดาเทพทั้งหลายมาช้านานแต่ในบรรดาเทพทั้งหมดคนไทยรู้จักพระพิฆเณศมากที่สุดเพราะท่านเป็นมหาเทพที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมากที่สุดจนกล่าวได้ว่า คนไทยยอมรับในองค์พระพิฆเณศเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นตราประจำกรมกองต่างๆมากมาย

พระพิฆเณศเป็นเทพแห่งปราชญ์ ความรอบรู้ต่าง เป็นเทพแห่งขจัดอุปสรรคความขัดข้อง ดังนั้นหากผู้ใดเป็นผู้รู้และประสบความสำเร็จต่อกิจการทั้งปวงมักจะบูชาพระพิฆเณศก่อน



ในอินเดียเองก็มีแนวความเชื่อในเรื่องพระพิฆเณศวร์ในทุกลัทธิศาสนาไม่ว่าลัทธิที่ถือองค์พระศิวะเป็นใหญ่ นับถือพระพรหมเป็นใหญ่หรือพระนารายณ์เป็นใหญ่ ทุกลัทธิล้วนให้ความสำคัญต่อพระพิฆเณศทั้งสิ้น



ด้วยทุกตำราได้กล่าวถึงที่มาของพระพิฆเณศไว้สูง สำคัญและฤทธิ์มาก มีความเฉลียวฉลาด มีคุณธรรม คอยช่วยเหลือปกป้องปราบปรามสิ่งชั่วร้ายและเป็นยอดกตัญญู



แม้พระพิฆเณศจะเป็นเทพที่มีความเก่งกาจสามารถยิ่ง แต่ก็เป็นเทพที่สงบนิ่งไม่เย่อหยิ่งทรนงอันเป็นคุณสมบัติอันประเสริฐอีกประการหนึ่งของผู้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง จึงกล่าวได้ว่า พระพิฆเณศวร์เป็นมหาเทพที่ดีพร้อมครบถ้วนด้วยความดีงามสมควรแก่การยกย่องบูชาเป็นนิจ

แม้แต่องค์พระศิวะมหาเทพผู้สร้างและพระบิดาแห่งองค์พระพิฆเณศยังกล่าวว่า ไม่ว่าจะกระทำการสิ่งใดหรือทำพิธีบูชาใด ให้ทำการบูชาพระพิฆเณศวร์ ก่อนกระทำการทั้งปวง



ผู้ใด ต้องการความสำเร็จ ให้บูชาพระพิฆเณศ



ผู้ใด ต้องการพ้นจากความขัดข้องทั้งปวง


ให้บูชาพระพิฆเณศ


ขอบคุณข้อมูล wikipedia






ปางพระคเนศ

แม้ว่าพระคเณศจะมีพระนามมากมายถึง 108 พระนามไปจนถึง 1008 พระนาม แต่ในแง่เทวประติมานั้นมีอยู่เพียง 8 ถึง 9 ปางเท่านั้นที่คนนิยมบูชา โดยการบูชาในแต่ละปางก็ให้คุณที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
1.ปางพาลคเณศ

เป็นพระคเณศในวัยเด็กรูปลักษณ์ที่เห็น มักจะเป็นพระคเณศยังคลานอยู่กับพื้น หรือยังอยู่ในอิริยบถไร้เดียงสาอย่างเด็ก ๆ ถ้าโตขึ้นมาหน่อย จะนั่งขัดสมาธิเพชรบนดอกบัวมี 4 กร ถือขนมโมทกะ กล้วย รวงข้าว ซึ่งหมายถึงความเป็นสุขภาพดีของเด็ก ๆในครอบครัวรวมความหมายถึงให้เด็ก ๆได้ระลึกถึงการเคารพรักในบิดา มารดา ปางนี้นิยมบูชากันในบ้านที่มีเด็กเล็กและเด็กในวัยเรียน
ปางนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นพระคเณศมักจะอยู่ในอิริยาบถยืน มี 4 กร ในคัมภีร์และหม้อน้ำกมัลฑลุ ไม้เท้า และร่ม ซึ่งถ้าเป็นศาสนาพุทธแล้ว คงเปรียบได้กับพระสีวลี ซึ่งเป็นพระธุดงค์ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ผู้มีลาภมาก แต่สัญลักษณ์ของพระคเณศนั้น หมายถึงการเดินทางไกล แต่มักจะเป็นการเดินทางไปเพื่อการศึกษาต่อ หรือเป็นปางที่เหมาะสมกับวิชาชีพของคนที่เป็นครูบาจารย์เท่านั้น
2.ปางลักษมีคเณศ

ปางนี้พระคเณศจะประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมี 6 กร และพระหัตถ์หนึ่งโอบพระลักษมีเทวีไว้ การบูชาปางนี้เสมือนหนึ่งได้บูชาเทพทีเดียวกันถึง 2 พระองค์ในลักษณะของทวิภาคี กล่าวคือ ลักษมีคเณศ ย่อมมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ พูนสุข ความมั่งคั่ง มั่งมีอย่างหาที่สิ้นสุดมิได้
3.ปางวัลลยภาคเณศ

ปางนี้พระคเณศจะอุ้มพระชายาทั้ง2 ไว้บนตักทั้งซ้ายและขวา ซึ่งชายาทั้งคู่คือคือนางพุทธิและสิทะ ปางนี้ให้ความหมายของความสมบูรณ์ของการเป็นครอบครัวมีทรัพย์สินและบริวารมากมาย
4.ปางมหาวีระคเณศ

เป็นพระคเณศที่มีจำนวนของพระกรมากเป็นพิเศษ อาจจะ 12,14,16, กรแต่ละพระหัตถ์นั้นถือศาสตราวุธหลากหลายชนิดแตกต่างกันไป ปางนี้ถือกันว่าเป็นปางออกศึกเพื่อปราบศัตรูหมู่อมิตรทั้งหลาย

5.ปางเหรัมภะคเณศ

เป็นปางพระคเณศที่ห้อยพระบาทอยู่บนพญาราชสีห์ พระคเณศปางนี้จะมีอยู่ห้าเศียร หรืออาจจะเป็นเศียรตามปกติก็ได้ เพราะสัญลักษณ์ที่แท้จริงของปรางค์นี้ก็คือ สิงโต เพราะสิงโตเป็นเจ้าป่า ดังนั้นจึงเหมาะสมที่ผู้ใหญ่ที่ต้องมีบริวารในการปกครองมาก นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ที่บรรดดากษัตริย์ทั้งหลายแต่โบราณนิยมบูชากัน เรียกว่าเป็นสุดยอดปางของพระคเณศก็ว่าได้

6. ปางสัมปทายะคเณศ

เป็นพระคเณศที่เราพบเห็นกันบ่อยคือ มีอาวุธอยู่ในสองพระหัตถ์บน ส่วนพระหัตถ์ล่างด้านซ้ายนั้นถือขนม และด้านขวาอยู่ในท่าประทานพร ซึ่งความหมายของปางนี้คือ การอำนวยพรให้ประสบความสำเร็จนั่นเอง
การอธิษฐาน





ความหมายของส่วนต่างๆของพระพิฆเณศ


พระคเณศ ทรงมีรูปร่างเดียว โดยทรงมีพระเศียรเป็นช้าง มีพระกรรณกว้างใหญ่ มีงวงยาว แต่ทรงมีร่างกายเป็นมนุษย์ มี 4 หรือ 6 หรือ 8 กรแล้วแต่พระภาคที่จะเสด็จมา รูปร่างของพระองค์แสดงถึงสิ่งเป็นมงคลดีเยี่ยม ซึ่งทรงสั่งสอนถึงความดีและความสำเร็จ พระคเณศทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความรู้และปัญญายิ่งใหญ่ แต่ละส่วนของท่านให้ความหมายในเชิงปรัชญาได้ดังนี้

พระเศียร


ทรงใช้เศียรอันใหญ่ที่เต็มด้วยปัญญาความรู้ เป็นที่รวมแห่งปัญญาทั้งหมด


พระกรรณ

ทรงใช้รับฟังคำสวดจากพระคัมภีร์และความรู้ในรูปอย่างอื่น ๆ
อันเป็นสิ่งแรกแห่งการศึกษา
งวง

เราได้นำเอาความรู้ต่าง ๆที่ได้รับจากการเลือกเฟ้นระหว่างทวิลักษณะ ความผิด-ถูก ความดี-ความชั่ว อันมีงวงช้างที่ยาวและใหญ่ใช้ชั่งน้ำหนักต่อการกระทำหรือการค้นหาสิ่งที่ดีงามต่างๆ อันปัญญานั้นเกิดขึ้นเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาของชีวิตให้หลุดพ้นจากอุปสรรค และพบกับความสำเร็จสมดั่งความมุ่งหมาย

งา

งาข้างเดียวโดยอีกข้างหักนั้น เพื่อแสดงให้รู้ว่าจะต้องอยู่ในเหตุระหว่างความดี-ความชั่ว ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ดีถึงความแตกต่างกัน ดั่งเช่น ความเย็น-ความร้อน การเคารพ-การดูหมิ่นเหยียดหยาม ความซื่อสัตย์-ความคดโกง
หนู

แสดงถึงความปรารถนาของมนุษย์

บ่วงบาศ

ทรงถือโดยทรงลากจูงคนทั้งหลายให้เดินตามรอยพระบาทของพระองค์

ขวาน

เป็นอาวุธทรงใช้ปกป้องความชั่วร้ายและคอยขับไล่อุปสรรคทั้งหลายที่มาก่อกวนต่อบริวารของพระองค์

ขนมโมทกะ
ข้าวสุกผสมน้ำตาลปั้นเป็นลูก เพื่อประทานให้เราเป็นรางวัลต่อการที่เราปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระองค์

ท่าประทานพร
หมายถึงความยิ่งใหญ่แห่งความผาสุกและความสำเร็จให้กับสาวกของพระองค์





มนตร์บูชา

มนตร์บูชาพระพิฆเณศที่สำคัญและเป็นที่นิยมได้แก่
โอมฺ ศรี คเณศายะ นะมะหะ

มนตร์นี้ส่วนมากจะต้องสั่งสอนให้เด็กๆท่องสวดเพื่อความรู้ความฉลาดที่จะได้รับ เพิ่มพลังการจดจำและให้ผลสำเร็จในการสอบ การเล่าเรียน เช่นเดียวกันคนทั่ว ๆไปอาจใช้มนต์นี้ได้ เพื่อความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้าในธุรกิจ

การบูชาพระพิฆเณศ แบบฮินดู

การบูชาพระพิฆเณศ ซึ่งเป็นเทพศักดิ์สิทธิ์นิยมบูชาในวันแรม 4 ค่ำ ของทุกเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือน 10 ด้วยถือว่า เป็นวาระคล้ายวันประสูติ ของพระพิฆเณศ โดยมีของบูชาประกอบด้วย ดอกไม้แดงเหลือง / มะพร้าวห่อด้วยผ้าแดง / ผลไม้ โดยมีของสำหรับถวายอย่างละ 108 ชิ้น ประกอบด้วย กล้วย อ้อย หญ้าแพรก ข้าวตอก ขนมหวานที่เรียกว่าลัดดู

พิธีกรรมแบบฮินดูจะนำโดย ประธานพราหมณ์ โดยมีบุรุษผู้หนึ่งที่นั่งอยู่ใกล้ๆ จะทำหน้าที่แทนผู้ร่วมพิธี
จากนั้นคณะพราหมณ์ จะร่วมสวดสาธยาย บูชาสรรเสริญพระพิฆเณศ และเทพศักดิ์สิทธิ์ จากนั้น จะเป็นการถวายของ ห้าอย่างที่เตรียมไว้นั้น
ต่อมาจะอัญเชิญเทวรูป พระพิฆเณศ มาถวายน้ำสรงด้วยปัญจะอมฤต
เสร็จแล้วจะถวาย อาภรณ์สีแดง ซึ่งถือว่า เป็นสีที่ท่านทรงโปรด
ขั้นตอนต่อมาคือพิธีบูชาอารตี โดย ผู้เข้าร่วมพิธีจะบูชาด้วยประทีป อธิษฐาน เพื่อขอพรจากพระพิฆเณศ ประธานพราหมณ์ จะเป็นผู้พรมเทพมนต์ และมอบด้ายสีแดง เพื่อความเป็นสิริมงคล

ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการเฉลิมฉลอง ด้วยคีตอภิวาท สาธยายบทสรรเสริญ เทพศักดิ์สิทธิ์





 

Create Date : 24 มกราคม 2551    
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2555 9:01:51 น.
Counter : 3101 Pageviews.  

ประวัติพระขัณฑกุมาร





ประวัติพระขัณฑกุมาร
พระขันทกุมาร ( เทวนาครี:मुरुगन ; ทมิฬ: முருகன்; มาลายาลัม: മുരുകന്‍; กันนาดา: ಸುಬ್ರಹ್ಮಣ್ಯ; เตลูกู: సుబ్రహ్మణ్యేశ్వర స్వామి ) ป็นเทพเจ้าแห่งการชาญณรงค์สงคราม และเป็นเทพเจ้าที่เป็นแม่ทัพ ของวรรค์ด้วยพระองค์นั้น ทรงเป็นพระโอรสของพระศิวะ (อิศวร) และพระอุมาเทวี (เทวีปราวตี) อีกด้วย พระองค์ทรงมีน้อง 1 พระองค์ ่ทรงนามว่า พระพิฆเนศวร พาหนะพระองค์ จะทรงนกยูง ชายาของ พระขันทกุมาร คือ นางวัลลีและ นางเทวเสนา ( เกาถมารี ) ชาวอินเดียใต้ เชื่อว่า พระขันทกุมาร คือ เทวดาผู้คุ้มครองปกป้องรักษา เทวาลัยของศาสนาฮินดู


คำบูชา (บทสวด)


คำบูชาพระขันธกุมาร


***โอม ศรี ศะระวัน ภะวายะ นะ มะ ฮา***
เพื่อขอพรให้มีจิตใจอันเข้มแข็ง กล้าหาญ ข่มศัตรูทั้งหลายได้

คำบูชาพระขันธกุมารแบบย่อ


***โอม สะกันทะเทวะ ชนะมาเรนัง อานุรัก ขันตุ
ทุติยัมปิ สะกันทะเทวะ ชนะมาเรนัง อานุรัก ขันตุ
ตะติยัมปิ สะกันทะเทวะ ชนะมาเรนัง อานุรัก ขันตุ***


9. คำบูชาพระขันธกุมารฉบับเต็ม


***ศรี มุรุกา เจยะ มุรุกา เจยะ มุรุกา
ศรี มุรุกา วาซุทานิล เมนไม เปรา นัน
วาซิยายิ กัตตุม วาดิเวลา
ธีรามุม วีรามุม นาน เปราเว ธีรูวารัล ปูริไว
ธีรุมุรุกา อนุทินัม อุนไน ปาดิทาเว
อารุล ปูริไว ธีรุ อรุ มุรุกา
อรุทัล ธันไน ธันทิดูไว เวรุ ธูไนอิลไล
เวลาวาเน กัตติยาดู เปราเว วาซทิดูเวน
กันดา มุรุกา กัตติเวลา
เนนซัม วานากือ อุรุกาโดเนนซัม กานินซือ
วาราโย ทิรุวารัล ธาราเว วารุวาเย
ธีรุมุรุกา นี วารุวาเย
เวลายุม มาลิลายุม วานากิดูเวน
เวกาไม วานดือ อารุล ธารุไว ****













 

Create Date : 23 มกราคม 2551    
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2555 9:02:22 น.
Counter : 1809 Pageviews.  

แนะนำให้รู้จัก วัดอินเดีย ภูเก็ต

ภาพองค์พระภายในวัดอินเดียภูเก็ต


องค์พระพิฆเนศ


องค์พระขัณฑกุมาร


องค์พระแม่ลักษมี









 

Create Date : 04 มกราคม 2551    
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2555 9:02:53 น.
Counter : 9270 Pageviews.  

1  2  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.