Group Blog
 
All blogs
 
*** ถูกธรรมชาติตบหน้า ***




เราชอบประโยคนี้มากเลย

" เมื่อไหร่ที่จิตของเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ไม่ว่าสิ่ิงนั้นจะเป็น คน สัตว์  สิ่งของ  หรืออะไร อะไร ก็แล้วแต่ ก็จะถูกธรรมชาติตบหน้าเอา


ความหมายคือ  เราจะเกิดความรู้สึกเจ็บ เป็นทุกข์ ความไม่สบายใจ หรือพ่วงด้วย ความไม่สบายกาย ( บางคน ) เหมือนคนถูกตบหน้า เป็นการเปรียบเทียบ


 เพราะเมื่อไหร่ที่คิดว่า คน สัตว์ สิ่งของนั้นเป็นของของเราแล้ว เราจะเกิดความรู้สึกรัก  ผูกพัน หวงแหน ห่วงหวง ไม่อยากให้สิ่งที่คิดว่าเป็นของของเราต้องมีอันจากเราไป และถ้าหากมีอันจากไปแล้ว เราจะเกิดความเจ็บปวด ( ความทุกข์ ) มากมาย บางคนแค่คิดก็เจ็บปวดแล้ว


เป็นคำสอนของท่านพระพุทธทาส เราซาบซึ้งกับคำสอนประโยคนี้จริงๆ เพราะเราได้ประสบพบเจอกับตัวเองมาแล้วอย่างนับครั้งไม่ถ้วน เราว่าทุกคนคงพบเจอมาแล้วไม่มากก็น้อย แต่ไม่รู้ตัวเอง


เราถูกธรรมชาติตบหน้าเอาซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนขยาด  จนกลัว พอเรามีสติ เราต้องรีบหยุดทันที แต่ก็มีบ้างที่เผลอ แต่ก็ไม่ค่อยมากแล้ว


เมื่อไหร่ก็ตามที่เรายึดมั่นไปแล้ว ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกหนีไม่พ้น วิธีแก้ทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ  เพราะมันเกิดไปแล้ว


ความทุกข์เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ต้องอาศัยเวลา กว่าเจ้าความทุกข์จะหมดไปได้ บางคนก็หมดไปไว แต่บางครั้งกว่าเจ้าความทุกข์จะหมดไปก็ต้องใช้เวลานานเหลือเกิน  ซึ่งช้าและแสนจะทรมาน จนในที่สุดมันก็หมดไปจนได้ เพราะเจ้าความทุกข์ก็คือสิ่งที่ไม่เที่ยงเหมือนกัน



เปรียบเหมือนการ จุดไฟติดไม้แล้ว กว่าไฟจะดับก็ไม่ใช่จะดับง่ายๆ ต้องค่อยๆมอดไป มอดแล้วจะเหลือควันอีกสักพัก พอหมดควันความทุกข์ก็หมดตามไป
เราต้องกระทำการอย่างคนฉลาด หลังจากที่เราโง่มานาน พอเจอตบหน้าเข้าหลายๆครั้ง เราก็พอจะฉลาดขึ้นมาบ้าง



วิธีจะไม่ให้เกิดทุกข์  เราก็จะต้องมีสติระลึกรู้ให้มากๆ อย่าให้เกิดทุกข์ขึ้นมาได้ในจิตใจ


 นั่นคือไม่เข้าไปยึดมั่นในทุกกรณี เมื่อไหร่ที่เราไม่เข้าไปยึดมั่น เราก็ไม่เกิดความทุกข์เลย



เรานับถือ ศาสนาพุทธ คำว่า พุทธะ ความหมายคือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เรามักจะท่องไว้ในใจอยู่เสมอว่า


ผู้รู้  เรารู้แล้วว่าอะไรเป็นอะไรบนโลกนี้ ( รู้อริยสัจสี่ ) อย่างย่อๆ เรารู้ว่าทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร มีที่มาแบบไหน และจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดทุกข์อีก


เมื่อหลายวันก่อนเราสอนว่าที่ลูก( สะใภ้ )แบบให้เข้าใจง่ายๆ เพราะถ้าเราสอนแบบละเอียด เค้าคงจะเข้าใจยากและพาลไม่รับเอาเลย เราเลยต้องอธิบายแบบรวบรัดพอเอาใจความ แต่ดีหน่อยตรงที่เค้าพยายามตั้งใจฟังเราพูด


คำว่าผู้รู้ เราบอกเค้าแค่ว่า ให้รู้ว่าทุกอย่างบนโลกนี้คือสังขาร สังขาร คือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา ประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆมารวมกัน รวมทั้งคนสัตว์สิ่งของทั้งหมดทั้งมวล


 สิ่งไหนเป็นสังขารสิ่งนั้น คือของไม่เที่ยง ไม่คงทน ต้องมีอันเปลี่ยนแปลงไป เข้ายึดมั่นไม่ได้ ถ้าเข้าไปยึดมั่น ว่าเป็นของของเราก็จะถูกธรรมชาติตบหน้าเอา คือจะเกิดความเจ็บปวด เป็นความทุกข์  เพราะไปทึกทักเอาของธรรมชาติว่าเป็นของตัวเองแบบหลงผิด แต่ถ้าไม่ยึดมั่น เราก็จะใช้ของธรรมชาติได้อย่างมีความสุขมากๆ


 และเราก็สอนเค้าไปหลายอย่าง พอให้เค้าเข้าใจและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เราว่าลูกเค้าคงเข้าใจบ้างไม่มากก็น้อย....


เมื่อมาถึงตัวเราเอง เมื่อไหร่ที่เราจะเข้าไปยึดมั่น เราจะท่องคำนี้เอาไว้ในใจเสมอ ให้สมกับที่เราเป็นชาวพุทธตามความหมาย


ช่วงหลังๆนี้เราไม่ค่อยถูกธรรมชาติตบหน้าแล้ว ก็เพราะความหมายของคำว่า ผู้รู้นั่นเอง


ปฏิจจสมุปบาท คือวงจรความทุกข์ที่เกิดขึ้น เมื่อไหร่ที่เราตัดวงจรนี้ได้ ธรรมชาติก็จะไม่สามารถตบหน้าเราได้อีก



ความยินดี และความยินร้าย ( ความพอใจ และความไม่พอใจ ) เมื่อไหร่ที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้ว และเกิดเรื่อยไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นอย่างช่วยไม่ได้ และช่วยไม่ทันแล้ว


ที่ช่วยได้  คืออย่าให้เจ้าความยินดี และความยินร้ายเกิดขึ้นมาในจิตใจ  และเผลอสติปล่อยให้ลื่นไหลไปตามวงจรนี้อย่างเด็ดขาด


หากเมื่อไหร่เรามีสติระลึกรู้ได้ แล้วรู้เท่าทันวงจรปฏิจจสมุปบาท ธรรมชาติจะไม่มีโอกาสทำร้ายเราได้ เราว่า เป็นการช่วยให้เรามีความทุกข์น้อยถึงน้อยลงมากๆ จนแทบจะไม่เกิดความทุกข์เลย


ขอบพระคุณคำสอนของท่านพระพุทธทาสที่ช่วยเตือนสติเราอยู่เสมอๆ




Create Date : 02 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 12 เมษายน 2556 15:43:05 น. 0 comments
Counter : 857 Pageviews.

รักดี
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




นามแฝง ชื่อ รักดี

ชอบดอกไม้ รักหมา

ไม่รังเกียจแมว

ไม่อาลัยในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว

อยู่กับปัจจุบัน

และทำปัจจุบันให้ดีที่สุด

ไม่กังวลหรือเป็นทุกข์

กับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง












Friends' blogs
[Add รักดี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.