..ทุกคนต่างมีความรักในแบบที่แตกต่างกัน..เพราะทุกคนต่างกัน.. แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน..นั่นก็คือ.. ความรักที่มาจากใจ...อย่าพยายามรักใครสักคนเพราะเขาเป็นอย่างที่เราต้องการ... เพราะ เมื่อเขาไม่เป็นอย่างที่เราต้องการ เราก็จะไม่สามารถรักเขาได้อีก... ให้พยายามรักใครสักคนเพราะเขาเป็นอย่างที่เขาเป็น... เพื่อเราจะ สามารถรักเขาได้ในทุกสิ่งที่เขาเป็น...
รู้ลึก รู้จริง เรื่อง อินซูลิน

อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ตับอ่อนสร้างขึ้น และจำเป็นในการนำน้ำตาลในเลือด ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย ที่ต้องการพลังงาน แต่ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน การสร้างเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือด ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงจากอาหาร ไปใช้ให้เป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่ เพราะขาดฮอร์โมนอินซูลิน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีโรคแทรกซ้อนง่าย เช่น โรคติดเชื้อ เป็นแผลหายยาก โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต และโรคตา

เมื่อไรถึงต้องใช้อินซูลิน

• ผู้ป่วยเบาหวานที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
• ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนทางตับ ไต และรักษาโดยยาชนิดรับประทานไม่ได้ผล

ชนิดของอินซูลิน

1. อินซูลินวัว มาจากตับอ่อนของวัว
2. อินซูลินหมู มาจากตับอ่อนของหมู
3. อินซูลินหมูและวัว เป็นอินซูลินที่ได้จากส่วนผสมของตับอ่อนหมูและวัว
4. อินซูลินคน ได้จากกระบวนการชีวเคมีสังเคราะห์ หรือวิธีพันธุวิศวกรรมทางชีวสังเคราะห์ จึงสามารถทำให้เหมือนอินซูลินในร่างกายคนได้ (อินซูลินคน มีความบริสุทธิ์มากที่สุด และเกิดอาการแพ้ เนื่องจากภูมิต้านทานทางฤทธิ์ของยา น้อยกว่าอินซูลินชนิดอื่น)

ลักษณะของอินซูลิน

• อินซูลินใส จะเหมือนน้ำบริสุทธิ์ ไม่มีสี เป็นยาที่ให้ผลรวดเร็ว หลังฉีดประมาณ 30 นาที มีช่วงเวลาออกฤทธิ์เพียง 6 ชั่วโมง (โดยประมาณ)
• อินซูลินขุ่น จะมีตะกอนเล็กๆ แขวนลอยอยู่ ออกฤทธิ์นานประมาณ 16 – 20 ชั่วโมง

ทำไมต้องใช้อินซูลินโดยวิธีฉีด

หากผู้ป่วยได้รับอินซูลิน โดยการรับประทาน ตัวยาจะถูกทำลาย โดยน้ำย่อยในระบบทางเดินอาหาร จึงต้องใช้วิธีฉีดเข้าร่างกายโดยตรง ซึ่งปัจจุบัน ปากกาฉีดอินซูลิน ได้มีการพัฒนา ให้ใช้สะดวก เกิดความเจ็บปวดขณะฉีดน้อยลง มีความแม่นยำสูง ผู้ป่วยไม่กลัวการฉีดอินซูลินอีกต่อไป

วิธีฉีด ปกติจะฉีดใต้ผิวหนัง แต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำ จากแพทย์อย่างเคร่งครัด

การเตรียมยา

ตรวจดูลักษณะยา ถ้าเป็นชนิดน้ำใส ต้องไม่หนืด ไม่มีสี ถ้าเป็นชนิดน้ำขุ่นแขวนตะกอน ให้คลึงขวดยาบนฝ่ามือทั้งสองข้างเบาๆ เพื่อให้ยาผสมกันทั่วทั้งขวด ห้ามเขย่าขวดอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดฟอง

ถ้าผู้ป่วยใช้อินซูลิน น้ำขุ่นและน้ำใสในเวลาเดียวกัน ให้ดูดยาชนิดน้ำใสก่อนเสมอ เพราะสามารถสังเกตได้ หากอินซูลินน้ำใสมีลักษณะเปลี่ยนไป เมื่อดูดยาสองชนิดผสมในเข็มเดียวกัน ควรฉีดทันทีหรือภายใน 15 นาที เพราะหากทิ้งไว้นาน จะทำให้การออกฤทธิ์ของยาเปลี่ยนไป

ฉีดอินซูลินตรงไหนดี

ฉีดได้ทั้งบริเวณ หน้าท้อง หน้าขาทั้ง 2 ข้าง สะโพก ต้นแขนทั้ง 2 ข้าง ที่สำคัญ ต้องใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด และเมื่อดึงเข็มออก ให้ใช้สำลีกดเบาๆ ห้ามนวดตรงที่ฉีด ในการฉีดครั้งต่อไป ควรฉีดห่างจากจุดเดิม 1 นิ้ว และควรฉีดบริเวณเดียวกัน ให้ทั่วก่อนไปฉีดบริเวณอื่น

**ห้ามฉีดซ้ำที่เดิมมากกว่า 1 ครั้ง / 1 - 2 เดือน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานง่ายต่อการติดเชื้อ ควรรักษาอนามัยส่วนตัวให้สะอาด โดยเฉพาะฟันและเท้า ถ้ามีบาดแผล รอยข่วน หรือแผลเปื่อย ยิ่งต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ

อาการข้างเคียงและข้อควรปฏิบัติ

• ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นผลจากการให้อินซูลินมากเกินไป รับประทานอาหารน้อยเกินไป ผิดเวลา หรือช่วงระหว่างมื้อนานเกินไป ออกกำลังกาย หรือทำงานมากกว่าปกติ จะมีอาการปวดหัว เหงื่อออก ใจสั่น กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย ชาในปากหรือริมฝีปาก เดินเซ หงุดหงิด มองภาพไม่ชัด ถ้ามีอาการเหล่านี้ให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือรับประทานของที่มีน้ำตาลผสม (ห้ามใช้น้ำตาลเทียม) และพบแพทย์ทันที

• ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นผลจากการได้รับอินซูลินไม่เพียงพอ หรือรับประทานมากเกินไป จะปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ หิว ปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ มึนงง ถ้าเป็นลม ให้นำส่งโรงพยาบาลทันที

ข้อควรระวังในการใช้

ก่อนใช้อินซูลินควรบอกแพทย์ หากเคยมีประวัติแพ้อินซูลินที่ทำจากหมูหรือวัว กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร รวมทั้งผู้เป็นโรคต่อมไทรอยด์ โรคตับ โรคไตและโรคติดเชื้อ นอกจากนี้ หากกำลังใช้ยาอื่นอยู่ ต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกร ห้ามรับประทานยาแก้หวัด หรือยาภูมิแพ้ที่มีน้ำตาล และแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ผู้ป่วยเบาหวาน ควรมีบัตรประจำตัวระบุชื่อนามสกุล ชื่อแพทย์ประจำตัว เบอร์โทรศัพท์ ชื่อชนิดและขนาดของอินซูลินที่ใช้ พกติดตัวเสมอ

เคล็ดลับเก็บรักษา

ตามปกติเก็บอินซูลินที่อุณหภูมิ 2 – 8 องศาเซลเซียส เก็บได้นานเท่ากับอายุยาข้างขวด แต่สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง (ประมาณ 25 องศาเซลเซียส) ได้นานประมาณ 1 เดือน อินซูลินที่เก็บในอุณหภูมิสูง เช่น กลางแดดจัด หรือที่อุณหภูมิต่ำมากๆ เช่น ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่ควรใช้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากยาเสื่อมคุณภาพ

ผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากการรับอินซูลินตามแพทย์สั่งแล้ว ควรหมั่นออกกำลังกาย ควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด และอย่าลืมทำจิตใจให้สบาย เพียงเท่านี้สุขภาพของท่าน ก็จะดีวันดีคืนขึ้นได้





Create Date : 13 มกราคม 2551
Last Update : 13 มกราคม 2551 5:00:59 น. 0 comments
Counter : 632 Pageviews.

rajathanee
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Be HaPPY All THe TiMe!!!



" ความรักคือ การให้ "


ถ้าคุณต้องการที่จะได้ความรัก สิ่งที่คุณต้องทำคือ รู้จักให้ด้วย ยิ่งให้ คุณก็ยิ่งได้รับสูตรลับของความสุข และทำให้มิตรภาพยืนยาว อย่าถามว่าคนอื่นให้อะไรคุณบ้าง แต่ให้ถามว่าคุณทำอะไรให้คนอื่นบ้างจะดีกว่า...




: Users Online
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add rajathanee's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.