เพราะความรัก ความจริงใจ อยู่ไม่ไกล เกินค้นหา
Group Blog
 
All Blogs
 

การฝึกฝนและปฏิบัติงานด้านการบำบัด

การฝึกฝนและปฏิบัติงานด้านการบำบัด


เราจะพูดถึงประเภทของผู้ให้การปรึกษาและหน่วยงานที่เขาทำงาน. การศึกษาที่มหาวิทยาลัยมอนทานาเมื่อเร็วๆนี้ พบว่า คนส่วนใหญ่ยังสับสนกับบทบาทและการฝึกฝนของผู้ช่วยเหลือบุคคลในเชิงวิชาชีพ (Warner & Bradley, 1991) เมื่อถามถึงความแตกต่างระหว่างนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ เป็นตัวอย่างซึ่งหลายคนยังไม่เข้าใจ. นักบำบัดวิชาชีพยังมีความหลากหลายอยู่มากที่ได้รับการฝึกฝนหลายระดับและทำงานในหน่วยงานที่แตกต่างกันไป. จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า นักศึกษาด้านการให้การปรึกษายังต้องการความเข้าใจที่ชัดเจนมากกว่านี้เกี่ยวกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต.
นักวิชาชีพให้คำปรึกษาหรือนักจิตบำบัดส่วนใหญ่จบการศึกษาปริญญาโทหรือปริญญาเอกด้านจิตวิทยาการปรึกษาหรือจิตวิทยาคลินิก. การให้การปรึกษามักจะเปิดสอนในระดับปริญญาโทโดยกลุ่มวิชาชีพเชี่ยวชาญพิเศษต่างๆ (Belkin, 1988; Christensen & Jacobson, 1994).
คณะที่เปิดสาขาวิชาการให้การปรึกษาอาจรวมถึง นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาให้การปรึกษา และผู้ให้คำปรึกษาโรงเรียนและครอบครัว นักสังคมสงเคราะห์ทางจิตเวช นักวัดและประเมินทางจิตวิทยา นักปรัชญาการศึกษา นักจิตวิทยาชุมชน ผู้ให้คำปรึกษาด้านวิชาชีพและนักสังคมสงเคราะห์.
คอร์เมียและคอร์เมียร์(1985) แนะนำว่า โดยปกติ ในการฝึกอบรม ผู้ให้การปรึกษาจะแสดงความงอกงามและความเชี่ยวชาญในการพัฒนาตนเอง (self-development) นั่นคือ การตระหนักรู้ในระดับสูงเกี่ยวกับทัศนคติ พฤติกรรมซึ่งอาจส่งเสริมหรือขวางกั้นสัมพันธภาพในการช่วยเหลือ ในการพัฒนาทักษะ อย่างเช่น ในเทคนิค แผนการ และรูปแบบการให้การปรึกษา และในกระบวนการพัฒนาทักษะ เช่น การตระหนักรู้ผลกระทบของการให้การปรึกษาที่มีต่อผู้รับการปรึกษา.
สาขาเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อประสิทธิภาพของการให้การปรึกษา และนี่คือเหตุผลที่ต้องให้ความสนใจกับโปรแกรมการฝึกฝนผู้ให้การปรึกษา. เพราะว่า ระดับและความเชี่ยวชาญพิเศษที่ได้จากโปรแกรมจะเป็นตัวกำหนดประเภทของวิชาชีพที่พวกเขาจะเป็น.
ด้วยเหตุที่มีความเหลื่อมซ้อนหลายประการที่น่าสนใจวิชาชีพด้านสุขภาพ สิ่งสำคัญคือความเข้าใจความแตกต่างทางกฎหมายและการปฏิบัติงานในแต่ละส่วน. โดยสรุปแล้ว ผู้ปฏิบัติงานทางด้านสุขภาพได้ถูกจำแนกด้วยคำอธิบายต่อไปนี้

จิตแพทย์(Psychiatrists) คือ แพทย์ซึ่งได้รับการฝึกอบรมเป็นพิเศษด้านสุขภาพจิตและพยาธิวิทยาทางจิต. จิตแพทย์บางคนมีความเชี่ยวชาญพิเศษในการสั่งรักษาอาการทางจิตเวชจะได้รับการฝึกฝนด้านจิตบำบัดและการให้การปรึกษาบ้างเล็กน้อย ขณะที่บางคนจะทำจิตบำบัดเพิ่มเติมหรือใช้ยาแทน. จิตแพทย์บางคนจะได้รับการฝึกฝนด้านจิตวิเคราะห์. ประกาศนียบัตรในด้านจิตเวชซึ่งออกให้โดยคณะกรรมการจิตเวชและประสาทวิทยาได้รับความนิยมแต่ก็ม่จำเป็นทุกสถานการณ์

นักจิตวิเคราะห์(Psychoanalysts) จะได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษด้านจิตวิเคราะห์ตามแนวคิดของฟรอยด์. สถาบันฝึกอบรมทางจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงต้องการจะใช้เวลาฝึกอบรม 3 ปี เพื่อรับรองผู้รับการฝึกฝนซึ่งได้รับใบประกอบวิชาชีพนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์มีความเชี่ยวชาญในการสั่งยา

นักจิตวิทยา(Psychologists) จะจบการศึกษา Ph.D. Ed.D. หรือ Psy.D. จากสถาบันชั้นสูงซึ่งได้รับการรับรอง. ใช่ว่านักจิตวิทยาทุกคนจะได้รับการฝึกฝนให้เป็นผู้ให้การปรึกษาหรือจิตบำบัด อย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยาจำนวนมากเชี่ยวชาญขอบเขตการศึกษาที่เกี่ยวข้อง รวมถึง พฤติกรรมสัตว์ จิตวิทยาสังคม การพัฒนาตลอดช่วงชีวิต อายุรศาสตร์ และจิตวิทยาองค์การ.

นักจิตวิทยาคลินิก(Clinical psychologists) ได้รับการฝึกฝนในการช่วยบุคคลให้แก้ปัญหาทางจิตวิทยาที่สำคัญ. งานที่ต้องทำขณะเรียนปริญญาเอกรวมถึง การฝึกปฏิบัติงานในการประเมินผลทางจิตวิทยา และจิตบำบัด. ถึงแม้ว่าข้อกำหนดในแต่ละรัฐจะแตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้ว นักจิตวิทยาคลินิกจะถูกกำหนดให้ผ่านการสอบประมวลวิชาและสอบปากเปล่า. รัฐที่เขาเหล่านั้นทำงานจะเป็นผู้ออกใบประกอบวิชาชีพให้ นักจิตวิทยาคลินิกจะทำงานในหลายหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล เรือนจำ หรือประกอบวิชาชีพส่วนตัว.

นักจิตวิทยาให้การปรึกษา(Counseling psychologists) มักจะได้รับการฝึกฝนในระดับปริญญาเอกเพื่อช่วยเหลือผู้คนแก้ไขปัญหาทางจิตวิทยาใจในด้านที่เกี่ยวข้องกับ การปรับตัว ชีวิตสมรส ครอบครัว อาชีพ และโรงเรียน. เขาได้รับใบประกอบวิชาชีพในทำนองเดียวกับนักจิตวิทยาคลินิก แต่โดยปกติแล้วจะไม่ทำงานกับปัญหาทางจิตวิทยาในระดับรุนแรง. นักจิตวิทยาให้การปรึกษามักจะทำงานในโรงเรียนและประกอบวิชาชีพส่วนตัว

นักจิตวิทยาโรงเรียน(School psychologists) มักจะได้รับการฝึกฝนในระดับปริญญาเอกและทำงานกับนักวิชาการศึกษาและอื่นๆเพื่อสนับสนุนความงอกงามของเด็กวัยเรียนด้านเชาว์นปัญญา สังคม และอารมณ์. เขาจะทำหน้าที่ประเมินและปฏิบัติการกับเด็ก ตามโปรแกรมทีกำหนดไว้ และปรึกษากับครูและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน. นักจิตวิทยาเหล่านี้มักทำงานในโรงเรียน โรงเรียนอนุบาล หรือศูนย์ดูแลเด็กกลางวัน.

นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ(Industrial/organizational psychologists) จะได้รับการฝึกฝนในระดับปริญญาเอกและทำหน้าที่ในการด้านพัฒนาทฤษฎีหรือรูปแบบที่จะเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรรับทราบถึง็รูปแบบที่สับสนและซับซ้อนของการสื่อสารในที่ทำงาน. พวกเขาจะใช้ทฤษฎีและประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงาน อย่างเช่น การขาดงาน หรือประสิทธิผลการทำงานต่ำจะได้รับการฝึกฝนในระดับปริญญาเอกและทำหน้าที่ในการด้านพัฒนาทฤษฎีหรือรูปแบบที่จะเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรรับทราบถึง็รูปแบบที่สับสนและซับซ้อนของการสื่อสารในที่ทำงาน. พวกเขาจะใช้ทฤษฎีและประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงาน อย่างเช่น การขาดงาน หรือประสิทธิผลการทำงานต่ำ

นักบำบัดคู่สมรสและครอบครัว(Marriage and family therapists) ได้รับปริญญาโทหรือเอกด้านจิตวิทยากาสมรสและครอบครัว และในหลายรัฐจะต้องได้รับใบประกอบวิชาชีพผู้ให้การปรึกษาคู่สมรส ครอบครัว และเด็ก. การฝึกฝนและประกอบวิชาชีพของเขาขึ้นอยู่กับทฤษฎีของระบบ(เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และสภาพแวดล้อมทางสังคม) มากกว่า การบำบัดรายบุคคล

นักสังคมสงเคราะห์(Social workers) มักจะได้จบปริญญาตรีด้านสังคมสงเคราะห์จากวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองและจากนั้นก็เรียนต่อปริญญาโทด้านสังคมสงเคราะห์. ในหลายรัฐ พวกเขาจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพนักสังคมสงเคราะห์ด้านคลินิก ความเชี่ยวชาญจะเน้นที่การทำงานกับบุคคลและครอบครัวเป็นหลัก. นักสังคมสงเคราะห์ มักจะทำงานในหลายหน่วยงาน เช่น หน่วยงานทางการแพทย์ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ ศูนย์แก้ไขการกระทำผิด ประกอบวิชาชีพส่วนตัว และทำงานกับปัญหาด้านร่างกายและจิตใจ.

พยาบาลจิตเวช(Psychiatric nurses) จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ผ่านการสอบประมวลวิชา และมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านงานจิตเวช. พวกเขาทำงานในโรงพยาบาลจิตเวช คลินิกสุขภาพจิตชุมชน หน่วยงานดูแลรักษาตามวันทำการ และอื่นๆ. ในหลายรัฐ พยาบาลต้องจบปริญญาโทด้านพยาบาลศาสตร์ และประกศนียบัตรจิตเวชหรือสุขภาพจิตและสามารถประกอบวิชาชีพส่วนตัว(ปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์ไม่สามารถทำได้).

ผู้ให้คำปรึกษาเชิงศาสนา(Pastoral counselors) คือบาทหลวงซึ่งได้รับการฝึกฝนทางเทววิทยาเป็นหลักแต่มีข้อกำหนดว่าจะต้องมีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการให้การปรึกษา. พวกเขาจะรักษาทัศนะเกี่ยวกับพระเจ้าซึ่งมีรากฐานในความเชื่อในพลังการเยียวยาของพระเจ้า. ปัจจุบันมีนักให้คำปรึกษาทางศาสนาประจำอยู่ในศูนย์การศึกษาทางศาสนาและคลินิก.

ผู้ให้คำปรึกษาด้านอาชีพ(Vocational counselors) โดยทั่วไปจะจบการศึกษาปริญญาโท. นักจิตวิทยาเหล่านี้ทำงานเกี่ยวกับการจับคุ๋บุคคลกับงานที่เหมาะสม โดยผู้ให้การปรึกษาจะทำงานด้านการช่วยเหลือบุคคลในการเลือก เข้าสู่วิชาชีพ และความก้าวหน้านในงาน.


ผู้ให้คำปรึกษาด้านอาชีพ(Occupational counselors) อาจจะได้รับปริญญาตรี(B.A.) หรือปริญญาโทและมีประสบการณ์การฝึกงานด้านคลินิก. พวกเขาจะช่วยเด็กและวัยรุ่นที่ประสบปัญหาด้านกายภาพเพื่อสร้างแหล่งข้อมูลที่เขามีอยู่.

นักจิตวิทยาโรงเรียน(School counselors) ได้รับปริญญาชั้นสูงด้านจิตวิทยาการให้การปรึกษาและทำงานกับบุคคลที่ต้องการทำความชัดเจนกับปัญหาทางการศึกษาและอาชีพเป็นหลัก. พวกเขาทำงานในโรงเรียนเป็นหลักมากกว่าในวงการธุรกิจ.

ผู้ให้คำปรึกษาผู้ติดยาเสพติด(Substance abuse counselors) จบปริญญาตรีหรือปริญญาโทและทำงานช่วยเหลือบุคคลที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการเสพสารเสพติดหรือแอลกอร์ฮอล. ปกติพวกเขาจะทำงานในศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด.

ผู้ให้การปรึกษากึ่งวิชาชีพ(Paraprofessional counselors) ได้รับการฝึกฝนทักษะการช่วยเหลืออย่างหนักในด้านใดด้านหนึ่ง. พวกเขาจะต้องมีประสบการณ์ซึ่งในได้รับการนิเทศในด้านใดด้านหนึ่งและมักจะทำงานภายใต้การนิเทศของวิชาชีพนั้นๆ.




 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2549    
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2549 3:21:21 น.
Counter : 2376 Pageviews.  

การปรึกษา(counseling) คือ อะไร ?

Counseling และ Psychotherapy มักถูกมองว่ามีความเหลื่อมซ้อนในทางวิชาชีพระหว่างกัน โดยประวัติความเป็นมา มักจะถูกอธิบายลักษณะด้วยคำพูดทางด้านการศึกษา การป้องกัน อาชีพ การสนับสนุน สถานการณ์ การแก้ปัญหา การตระหนักรู้อย่างมีสติ ความปกติ การพัฒนา ภาวะปัจจุบัน และระยะเวลาสั้น Counseling และ Psychotherapy มักถูกมองว่ามีความเหลื่อมซ้อนในทางวิชาชีพระหว่างกัน โดยประวัติความเป็นมา มักจะถูกอธิบายลักษณะด้วยคำพูดทางด้านการศึกษา การป้องกัน อาชีพ การสนับสนุน สถานการณ์ การแก้ปัญหา การตระหนักรู้อย่างมีสติ ความปกติ การพัฒนา ภาวะปัจจุบัน และระยะเวลาสั้น
Counseling ถูกมองว่า เป็นกระบวนการการช่วยเหลือคนที่มีสภาวะจิตปกติให้สามารถบรรลุถึงเป้าหมายและการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
Psychotherapy มักจะเกี่ยวกับการช่วยเหลือในภาวะวิกฤติ ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง เข้าถึงในระดับลึก ต้องใช้การวิเคราะห์ และให้มุ่งให้ความสนใจกับอดีต. เน้นการทำงานที่ผิดปกติ หรือปัญหาทางอารมณ์ที่รุนแรง Psychotherapy ยังถูกมองว่าเป็นการรักษาระยะยาวและเน้นกระบวนการเกี่ยวกับการลดปัญหาที่มีผลกะทบรุนแรงต่อการดำรงชีวิต
สำหรับนักจิตวิทยาคลินิก ความแตกต่างระหว่าง Counseling และ psychotherapy จะเป็นเรื่องของปริมาณมากกว่าคุณภาพ หมายความว่า มีลักษณะการทำงานที่คล้ายคลึงกัน นักวิชาชีพในหลายๆแขนงมักจะพบว่าพวกเขาให้บริการทั้ง counseling และ psychotherapy ตามการศึกษา การฝึกฝนและความต้องการของผู้รับริการ ดังนั้น counseling และ psychotherapy จึงใช้แทนกันได้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่ให้บริการ (Brammer,Abrego, Shostom, 1993).




 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2549    
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2549 19:50:54 น.
Counter : 786 Pageviews.  

ความแตกต่างระว่างทฤษฎีการให้การปรึกษาและจิตบำบัด

ความแตกต่างระว่างทฤษฎีการให้การปรึกษาและจิตบำบัด
การให้การปรึกษาและจิตบำบัดแตกต่างกันหรือไม่. บทความนี้จะพยายามพิสูจน์ว่าการให้การปรึกษาและจิตบำบัดมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ. ขณะที่การให้การปรึกษาและจิตบำบัดมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ข้อมูลต่อไปนี้จะพยายามแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่า บางส่วนของการให้การปรึกษาและจิตบำบัดมีความเหลื่อมซ้อนกันอยู่. ช่วงเวลาหนึ่ง เคยเกิดความสับสนสำหรับหัวข้อในการทำวิจัย. การที่ขีดเส้นแบ่งแยกหัวข้อทั้งสองนี้ออกจากกันเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยาก.

นิยามความหมายของการให้การปรึกษา
การสำรวจซึ่งกระทำโดยกัสตาด(Gustad) ได้แนะนำคำนิยามความหมายของการให้การปรึกษา(counseling)ว่ามีองค์ประกอบอยู่ 3 ประการด้วยกัน การให้การปรึกษา คือกระบวนการที่มีการเรียนรู้เป็นพื้นฐาน พูดง่ายๆก็คือ คนสองคนในสภาพแวดล้อมทางสังคมเดียวกัน คนหนึ่งคือผู้ให้กาปรึกษา(Counselor) บุคคลที่มีศักยภาพตามหลักวิชาชีพในการใช้ทักษะและความรู้ทางจิตวิทยา อีกคนหนึ่ง คือผู้รับบริการ(Client) ซึ่งเป็นผู้แสวงหาความช่วยเหลือตามวิธีการที่จะตอบสนองความต้องการของเขาได้อย่างเหมาสมและด้วยสภาพแวดล้อมของการทำงานกับผู้ให้การปรึกษาทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ตนเองมากขึ้น เรียนรู้วิธีการที่จะเข้าใจผลกระทบที่เกิดจากความสัมพันธ์อันจะทำให้เกิดรับรู้ได้ชัดเจนมากขึ้น มีเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้น และจบท้ายด้วยการเป็นสมาชิกที่มีความสุขและมีศักยภาพของสังคม(157, หน้า 36).
โดยทั่วไป คำว่า การให้การปรึกษา อาจอธิบายได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ใกล้ชิด(Face to Face Relationship) ที่มีจุดประสงค์เพื่อผู้รับการปรึกษาเรียนรู้ทักษะใหม่ๆที่จำเป็นเพื่อให้เขามีศักยภาพที่จะจัดการและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ในชีวิตได้อย่างเหมะสม. จุดประสงค์หลักของการให้การปรึกษาคือการช่วยให้บุคคลค้นพบบูรณภาพและศักยภาพในระดับที่สูงสุด และเปลี่ยนเป็นบุคคลปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์(Full Functioning Person).

นิยามความหมายของจิตบำบัด
จิตบำบัด คือกระบวนการซึ่ง ผู้บำบัด ช่วยเหลือผู้รับการบำบัดช่วยเหลือผู้รับการบำบัดในการจัดระเบียบบุคลิกภาพของของเสียใหม่. ผู้บำบัดยังมีบทบาทในการช่วยผู้รับการบำบัดเข้าใจพฤติกรรมในแต่ละวันของเขาเอง. จิตบำบัดจึงสามารถนิยามได้ว่าเป็น “การศึกษาใหม่อย่างคอบคลุมมากขึ้น(more inclusive re-education)ของบุคคล” (Brammer & Shostrom, 1977).

วัตถุประสงค์ของการให้การปรึกษา
การปรึกษาตามที่คณะกรรมการสาขาจิตวิทยาการปรึกษา สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน ได้นิยามวัตถุประสงค์ว่าเป็น “การช่วยให้บุคคลเอาชนะสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อความเจริญงอกงามของเขาในสถานการณ์ไหนก็ตามที่เขาอาจประสบเพื่อสร้างพัฒนาการด้านดีของทรัพยากรบุคคล “(Arbuckle, 1967)
ดร. ที. มิลลาร์ด ได้กล่าวไว้ในงานเขียนของเขาว่าว่า “การให้การปรึกษาจะสร้างความชัดเจนและเหตุผลเชิงบวกและมีโครงสร้างสำหรับบุคคลเพื่อตรวจสอบแรงจูงใจแบบเน้นสัญชาตญาณ-อารมณ์และเชิงเหตุผล(หรือไม่มีเหตุผล)ซึ่งเป็นตัวกำหนดแรงขับ, เนื้อหา, และรูปแบบพฤติกรรมของมนุษย์ ”. คำกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของการให้การปรึกษาในการดูแลรักษาผู้รับการปรึกษา

บทบาทของการบำบัด
ตามที่ เอเวอเร็ตต์ โชสตรอม(1967) กล่าวว่า เป้าหมายของการบำบัด คือ “การสร้างการเป็นผู้เข้าใจตนเอง อันหมายถึงบุคคลซึ่งเห็นคุณค่าของตนเองและบุคคลอื่นในฐานะบุคคลคนหนึ่งมากกว่าสิ่งของสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเป็นเปลี่ยนแปลงตัวตนเองจากคนที่คอยแต่จะทำร้ายตนเองไปสู่บุคคลที่มีศักยภาพสูง. โชสตรอม ยังรู้สึกว่า การตระหนักรู้คือเป้าหมายของการทำจิตบำบัด “เหตุผลก็คือว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นพร้อมกับการตระหนักรู้”(1967 น.3). โชสตรอมรู้สึกว่าการตระหนักรู้คือรูปแบบหนึ่งของการไม่ต้องดิ้นรนต่อสู้ ซึ่งเกิดจากการที่คุณเป็นตวของตัวเองในขณะนั้น ถึงแม้ว่า สิ่งที่คุณเป็นจะหมายถึง การเสแสร้งแกล้งทำซึ่งพวกเราแสดงออกเพื่อให้ได้การสนับสนุนจากคนอื่นในบางครั้ง(1967, น.103)

ความคิดเห็นเชิงวิชาชีพ
ใช่ว่านักบำบัดทุกคนที่รู้สึกว่า มีความแตกต่างระหว่างการให้การปรึกษาและจิตบำบัด. ซี. เอช. แพตเตอร์สัน รู้สึกว่าเป็นความเป็นไปได้ยากที่จะแยกแยะความแตกต่าง. เขารู้สึกว่า คำนิยามของการให้การปรึกษาและจิตบำบัดนั้นเหมือนกัน. โดนัล อาร์บักเกิล (1967) ที่กล่าวว่า การให้การปรึกษาและจิตบำบัดมีลักษณะที่สำคัญหลายอย่างที่คล้ายคลึงกันซึ่งหลายคนก็เชื่อเช่นนั้น. จิตบำบัดสนใจการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพขณะที่การให้การปรึกษาสนใจการช่วยให้บุคคลใช้ศักยภาพในการจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ. งานของโดนัล อาร์บักเกิลได้รวมเอาแนวคิดของเลโอนา ไทเลอร์เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการให้การปรึกษาและจิตบำบัด. เลโอนาได้พยายามแยกความแตกต่างระหว่างการให้การปรึกษาและจิตบำบัดโดยพูดว่าการย้ายความทุพลภาพหรือการขจัดข้อจำกัดทางร่างกายละจิตใจไม่ใช่งานของผู้ให้การปรึกษา แต่เป็นงานของนักบำบัดซึ่งมุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนมากกว่าการสร้างศักยภาพเป็นสำคัญ (Arbuckle 1967).


ความแตกต่างระหว่างการให้การปรึกษาและจิตบำบัด
ความแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่งระหว่างการให้การปรึกษาและจิตบำบัดก็คือจุดเน้น(focus). ในการให้การปรึกษา ผู้ให้การปรึกษาจะเน้น “ปัจจุบันขณะ(Here and Now)”ในสภาวการณ์จริง. ระหว่างการทำจิตบำบัด นักจิตบำบัดมักจะสนใจกับจิตไร้สำนึกหรืออดีต. นักจิตบำบัดจะมองหาความเกี่ยวข้องกับอดีตโดยไม่ให้ความสนใจกับปัญหาซึ่งเกิดขึ้นในปัจจุบันในโลกแห่งความเป็นจริงมากนัก. โดนัล อาร์บักเกิล กล่าวว่า ยังมีความแตกต่างอื่นๆนอกจากนี้. ความแตกต่างดังกล่าวนี้เกี่ยวกับธรรมชาติหรือสาระสำคัญของปัญหาที่เป็นเหตุให้ผู้รับการปรึกษามาพบผู้ให้การปรึกษา. ความแตกต่างดังกล่าวคือความพยายามจำแนกปัญหาที่มีพื้นฐานอยู่โลกแห่งความเป็นจริงและปัญหาที่มีต้นกำเนิดมาจากบุคลิกภาพของบุคคล (1967, p.145).
การให้การปรึกษาและจิตบำบัดมีความแตกต่างกันในระดับของการปรับตัวที่ปกติและผิดปกติ. การให้การปรึกษา จะเน้นกับ “คนปกติ”. คนปกติ ในที่นี้หมายถึงผู้ที่ไม่มีปัญหาด้านโรคประสาท แต่หากหมายถึงผู้ที่ตกอยู่ในภาวะกดดันจากสภาพแวดล้อมภายนอก. ขณะที่ จิตบำบัดเน้นไปที่ “โรคประสาท (neurotics)” หรือปัญหาทางอารมณ์ขั้นรุนแรงอื่นๆ.
การให้การปรึกษาอาจอธิบายได้ว่าเป็นการแก้ปัญหา ขณะที่จิตบำบัดจะเป็นการวิเคราะห์เสียมากกว่า. ในการให้การปรึกษา ผู้รับการปรึกษาอาจมีปัญหาซึ่งพวกเขายังไม่รู้ว่าจะจัดการกับมันอย่างไรดี. ปัญหามี 2 ชนิด คือ ปัญหาที่แก้ไขได้ และแก้ไขไม่ได้. ในกรณีที่เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ ผู้ให้การปรึกษาอาจช่วยเหลือผู้รับการปรึกษาให้มองไปที่ปัญหาและหาทางออกร่วมกันและเมื่อคิดถึงทางออกก็มักจะต้องคิดถึงผลลัพธ์ที่ตามมาด้วย.
ขณะที่การให้การปรึกษาจะเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา ส่วนจิตบำบัดจะเกี่ยวข้องกับการมองเชิงวิเคราะห์. นักจิตบำบัดจะมองหาสาเหตุของพฤติกรรมจากผลของพฤติกรรมนั้น. ยกตัวอย่าง การที่สามีภรรยาทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งอาจเป็นเพราะในอดีตเขาหรือเธอเคยถูกทำร้ายมาก่อน. สามีหรือภรรยาที่ทำร้าย อาจเคยเป็นเหยื่อของการทำร้ายเมื่อครั้งยังเด็ก การทำร้ายระหว่างที่ทั้งคู่ใช้ชีวิตด้วยกัน หรือตลอดจนถึงมีหลักฐานการทำร้าย. นักจิตบำบัดจะวิเคราะห์การกระทำนี้และพยายามเชื่อมโยงกับบางอย่างในจิตไร้สำนึกในอดีต.
การให้การปรึกษาและจิตบำบัดมีความแตกต่างกันในด้านของความยาวนานของระยะเวลา. การให้การปรึกษาจะใช้เวลาสั้นกว่าจิตบำบัด. เป้าหมายการบำบัดซึ่งตั้งโดยผู้รับการปรึกษาและผู้ให้คำปรึกษาจะเป็นตัวกำนดเวลาที่ใช้ในการปรึกษา. เมื่อเป้าหมายเหล่านี้บรรลุผลแล้ว ผู้รับการปรึกษาสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ. ขณะที่ จิตบำบัดมีแนวโน้มที่จะใช้เวลานานกว่านั้นมาก. ระยะเวลาของการบำบัดแต่ละครั้งอาจะใช้เวลาเพียงแค่สองครั้งหรืออาจใช้เวลายาวนานหลายปี. พูดสั้นๆก็คือจิตบำบัดเป็นการศึกษาใหม่(Re-education) ของผู้รับการบำบัด. ความเข้มข้นและยาวนานของการบำบัดขึ้นอยู่กับว่าผู้รับการบำบัดจะจัดการกับข้อมูลที่ค้นพบใหม่ทั้งหมดได้ดีแค่ไหน. การบำบัดอาจใช้เวลาสักระยะหนึ่งเพื่อให้ผู้รับการบำบัดสามารถที่จะอยู่กับความรู้สึกซึ่งเกิดจากประสบการณ์ในอดีตซึ่งมักจะเป็นประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวด. นักจิตบำบัดจะเป็นต้องใช้เวลายาวนานเพื่อปรับเปลี่ยนกลวิธานการป้องกันตัวที่มีอยู่ทั้งหมด.
การให้การปรึกษากับการทำจิตบำบัดยังมีความแตกต่างกันในด้านของหน่วยงานที่ให้บริการ. การให้การปรึกษามักจะเกิดขึ้นในหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยงานทางการแพทย์เช่น สำนักงาน. จิตบำบัดเป็นคำที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในหน่วยงานทางการแพทย์เช่น คลินิกและโรงพยาบาล.
ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งระหว่างการให้การปรึกษากับจิตบำบัดก็คือ ความรู้สึกเชื่อมโยงผูกพัน(Transference). บรามเมอร์และโชสตรอม(1977) กล่าวว่า “ผู้การปรึกษาจะพัฒนาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้รับการปรึกษา แต่เขาจะไม่ส่งเสริมหรือปล่อยให้ความรู้สึกเชื่อมโยงผูกพันมีกำลังกล้าแข็งขึ้นจนส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการให้การปรึกษา. ขณะที่ นักจิตบำบัดอาจรู้สึกว่าความรู้สึกเชื่อมโยงผูกพันนี้เป็นประโยชน์และผู้รับการบำบัดอาจมองเห็นสิ่งที่พวกเขาพยายามที่จะทำในระว่างที่มีความสัมพันธ์อยู่กับนักจิตบำบัด”. ผู้ให้การปรึกษาอาจมองความรู้สึกเชื่อมโยงผูกพันว่าเป็น “สัญญาณที่บ่งบอกถึงกระบวนการยังไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่” (Brammer & Shostrom, 1977) ขณะที่นักจิตบำบัดตีความหมายของความรู้สึกผูกพันเชื่อมโยงเหล่านี้ว่า เป็นธรรมชาติของความรู้สึกที่ออกมาจากจิตระดับไร้สำนึก
การต่อต้าน(Resistance) เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่การให้การปรึกษาและจิตบำบัดมีมุมมองที่แตกต่างกัน. ผู้ให้การปรึกษามองว่าการต่อต้านเป็นสิ่งที่ขัดขวางหรือกีดกั้นการแก้ไขปัญหา. ผู้ให้การปรึกษาจะพยายามที่จะขจัดความรู้สึกนี้ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้. นักจิตบำบัดกลับมองในทางตรงกันข้ามว่า การต่อต้านเป็นสิงที่สำคัญมาก. ถ้าผู้บำบัดสามารถเข้าใจการต่อต้านของผู้รับการบำบัดได้ เขาก็จะสามารถเข้าใจว่าจะช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเปลี่ยนบุคลิกภาพของเขาเองได้อย่างไร.

ความคล้ายคลึงกันของการให้ปรึกษาและจิตบำบัด
ขณะเดียวกัน ยังมีความแตกต่างที่ชัดเจนหลายประการระหว่างการให้การปรึกษาและจิตบำบัดและยังมีความคล้ายคลึงกันอีกด้วย.
ประการแรก ผู้รับบริการทั้งของการให้การปรึกษาและจิตบำบัดจะมาพบด้วยสาเหตุ มีความไม่สบายใจ ขาดทักษะ หรือิจตใจอ่อนแอ.
ประการที่สอง การให้การปรึกษาและจิตบำบัดในแง่ที่ทั้งสองใช้แนวทางการช่วยเหลือแบบผสมผสาน. ผู้ใหการปรึกษาและนักบำบัดจะไม่ใช้เทคนิคเพียงอย่างเดียวเท่านั้น พวกเขาจะยืมจากเทคนิคที่แตกต่างกันทั้งหมด.
อาร์บักเกิล แย้งว่า “การให้การปรึกษาและจิตบำบัดมีสิ่งที่คล้ายกันคือการที่ต้องให้ความเคารพเป็นพิเศษ” (1967, p.144) เขากล่าวว่า ธรรมชาติของความสัมพันธ์ซึ่งถูกมองว่าเป็นพื้นฐานของการให้การปรึกษาและจิตบำบัด คือสิ่งที่ทำให้ทั้งสองคล้ายคลึงกัน. ประการต่อมา อาร์บักเกิลกล่าวว่า กระบวนการของการให้การปรึกษาก็ไม่แตกต่างจากกระบวนการของการทำจิตบำบัด. ประการที่สาม เขารู้สึกว่า ทั้งสองอย่างมีวิธีการและเทคนิคที่คล้ายคลึงกัน. ประการสุดท้าย อาร์บักเกิลกล่าวว่า สาระสำคัญของเป้าหมายและผลลัพธ์ที่ได้แม้จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็ไม่ถือว่ามีนัยสำคัญ.
ความคล้ายคลึงประการหนึ่งระหว่างการให้การปรึกษาและจิตบำบัดคือองค์ประกอบซึ่งสร้างบุคลิกภาพของบุคคล. กระบวนการแต่ละอย่างเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับทัศนคติ ความรู้สึก ความสนใจ เป้าหมาย การยอมรับนับถือตนเอง และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รับผลกระทบจากการให้การปรึกษาและจิตบำบัด.

สรุป
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการให้การปรึกษาและจิตบำบัดมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ. ข้อแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดในความคิดเห็นของข้าพเจ้าคือเรื่องของเวลาและจุดเน้นของทั้งสองประเภท. การให้การปรึกษาเน้นการกับสถานการณ์ในชีวิตจริงส่วนจิตบำบัดเน้นอดีตที่ฝังอยู่ในจิตไร้สำนึก.ประการต่อมา การให้การปรึกษาถูกอธิบายว่าเป็นการช่วยให้บุคคลพัฒนาศักยภาพเพื่อให้จัดการกับสถานการณ์ในชีวิต ขณะที่การบำบัดเป็นการจัดระเบียบของบุคลิกภาพทั้งหมดของบุคคล. ประการสุดท้าย ความแตกต่างประการสุดท้ายก็คือผู้ให้การปรึกษาจะจัดการกับปัญหาการปรับตัว ส่วนนักจิตบำบัดจะจัดการปัญหาในอดีตที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข. นอกจากนี้ ยังมีลักษณะปลีกย่อยอีกหลายอย่างที่ทำให้ทำการให้การปรึกษาและจิตบำบัดมีความแตกต่างกัน.


หนังสืออ้างอิง
Arbuckle, D. S. (1967). Counseling and Psychotherapy: An Overview. New York: McGraw Hill.
Bettelheim, B. & Rosenfeld, A. (1993). The Art of the Obvious...Developing Insight For Psychotherapy and Everyday Life. New York: Knopf.
Brammer, L . & Shostrom, E. (1977). Theraputic Psychology: Fundamentals of Counseling and Psychotherapy Third Edition. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Rogers, C. (1951). Client Centered Therapy. New York: Houghton Mifflin.
Shostrom, E. (1967). Man the Manipulator. Nashville, Tennessee: Abingdon Press.




 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2549    
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2549 19:47:40 น.
Counter : 7054 Pageviews.  


Xomega
Location :
เพชรบูรณ์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add Xomega's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.