เพราะความรัก ความจริงใจ อยู่ไม่ไกล เกินค้นหา
Group Blog
 
All Blogs
 
ทักษะการสะท้อน(Reflecting skill )

การสะท้อน(reflecting)เป็นวิธีหนึ่งในการแสดงให้ผู้รับบริการทราบว่า ผู้ให้การปรึกษาเข้าใจผู้รับการปรึกษาอย่างแท้จริง. การสะท้อนอาจกระทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ การสะท้อนเนื้อความ(Content) ความรู้สึก(Feeling) และประสบการณ์(Experience) จุดประสงค์ของการสะท้อนก็เพื่อทราบประสบการณ์ของผู้รับการปรึกษาและแสดงให้ผู้รับบริการทราบว่าผู้ให้การปรึกษารับทราบประสบการณ์ของเขา

การสะท้อนเนื้อความ (Reflecting Content)การสะท้อนเนื้อหา เป็นการพูดซ้ำความคิดที่สำคัญที่ผู้รับการปรึกษาพูดไปและในรูปประโยคที่กระชับความมากว่า ลักษณะคล้ายกับการทวนความ(Paraphrasing).

จุดประสงค์ก็เพื่อทำให้ความคิดของผู้รับการปรึกษาที่ยังคลุมเครือ เนื่องจากผู้รับบริการไม่สามารถหาคำที่เหมาะสมมาอธิบายความคิดของเขาในขณะนั้นให้มีความชัดเจนขึ้น.
ในกรณีนี้ เมื่อผู้รับการปรึกษาสะท้อนเนื้อความ ผู้ให้การปรึกษาจะเลือกใช้ถ้อยคำที่สามารถอธิบายความคิดของผู้รับการปรึกษาได้ดีที่สุดเพื่อทำให้ความคิดของผู้รับการปรึกษามีความชัดเจนมากขึ้น

การสะท้อนความรู้สึก(Reflecting Feeling)
เป้าหมายของการสะท้อนความรู้สึก คือการมุ่งเน้นที่จะทำให้ความรู้สึกของผู้รับการปรึกษามีความเด่นชัดมากกว่าเนื้อหา เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาตระหนักรู้ความรู้สึกที่ยังไม่ชัดเจนมากขึ้น
ความชำนาญในการจับความรู้สึกขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ให้การปรึกษาในการไวต่อความรู้สึกและสัญญาณ(Cues) ที่ส่งที่ผู้รับการปรึกษาแสดงออกมาทางกายและวาจา

การสะท้อนประสบการณ์ (Reflecting Experience
การสะท้อนประสบการเป็นการสะท้อนพฤติกรรมการแสดงออกของผู้รับการปรึกษา

ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นเสมอเวลาสะท้อนความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นเสมอเวลาใช้ทักษะการสะท้อน คือ
1. การพูดซ้ำประโยคที่ผู้รับการปรึกษาพูดไปแล้ว โดยอาจเริ่มต้นด้วยคำขึ้นต้น เช่น “คุณรู้สึกว่า....” “ดูเหมือนว่าคุณ......” “คุณคิดว่า…….” การสะท้อนในลักษณะนี้จะดูเหมือนการสนทนาที่ไม่จริงใจ หรือแข้งทื่อไรชีวิตชีวา
2. ความผิดพลาดประการต่อมาคือ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสะท้อน. บ่อยครั้งที่ ผู้ให้การปรึกษามือใหม่ มักจะพยายามสะท้อนทุกประโยคที่ผู้รับการปรึกษาพูด หรือไม่เช่นนั้น ก็ปล่อยให้ผู้รับปรึกษาพูดจนยืดยาวเป็นเวลานาน แล้วจึงสะท้อนประโยคสักประโยคหนึ่ง. ในความเป็นจริง ผู้ให้การปรึกษาไม่จำเป็นต้องสะท้อนทุกประโยคที่ผู้รับการปรึกษาพูดเพราะจะเป็นการรบกวนความต่อเนื่องในการเล่าเรื่องราวของผู้รับการปรึกษา” ดังนั้น ในระหว่างการรับฟังผู้รับการปรึกษาเล่า ผู้ให้การปรึกษาอาจใช้การผงกศรีษะแล้วเปล่งเสียง “อือฮึ” หรือ “ครับ” “ค่ะ” เป็นสัญญาณให้ผู้รับปรึกษาทราบว่าผู้ให้การปรึกษากำลังรับฟังและเป็นหารกระตุ้นให้ผู้รับการปรึกษาเล่าเรื่องราวต่อไป จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมในการใช้ทักษะการสะท้อน
3. การตีความเกินความจริงไปนับเป็นความผิดพลาดอีกประการหนึ่ง ยกตัวอย่างถ้าผู้รับการปรึกษาพูดว่า “ผมไม่รู้เหมือนกันว่าถ้าต้องไปอยู่ต่างประเทศปีหนึ่งโดยไม่มีเธอไปด้วยจะเป็นอย่างไร” . ผู้ให้การปรึกษาที่ตีความความรู้สึกและเนื้อความลึกซึ้งเกินไปอาจสะท้อนว่า “คุณรู้สึกว่า คุณคงสับสนมากเมื่อคิดว่าจะทำอะไรไม่ได้เลยถ้าไม่มีเธออยู่”
4. ความผิดพลาดประการสุดท้ายที่ควรระวังคือ ภาษาที่ใช้ในการสะท้อน. ภาษาที่ใช้ในการสะท้อนต้องเหมาะสมกับวัฒนธรรมและระดับการศึกษาของผู้รับการปรึกษา

แนวทางโดยสรุปในการใช้ทักษะการสะท้อน
1. ทำความเข้าใจกับ เนื้อหาทั้งหมดที่ผู้รับการปรึกษาแสดงออก ความความรู้สึก ภาษากาย และเนื้อหาของเรื่องราว
2. เลือกเนื้อหาและความรู้สึกที่จะทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น3. สะท้อนสิ่งที่ผู้ให้การปรึกษารับรู้กลับไปยังผู้รับการปรึกษา
4. รอให้ผู้รับการปรึกษายืนยันหรือปฏิเสธการสะท้อนของผู้รับการปรึกษา


Create Date : 17 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2549 19:44:34 น. 0 comments
Counter : 14468 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Xomega
Location :
เพชรบูรณ์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add Xomega's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.