ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

ผีตากผ้าอ้อม ความหมายที่หลายคนยังไม่รู้จริง



ผีตากผ้าอ้อม เป็นคำเรียกของคนโบราณที่ใช้เรียกท้องฟ้าสีส้ม ในขณะที่กำลังจะตกดิน แสงประเภทนี้มีชื่อเรียกแบบอื่นด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นแสงโพ้ลเพ้ล แสงพลบค่ำ หรือแสงสนธยา ซึ่งช่วงระยะเวลาของ ผีตากผ้าอ้อม อยู่ที่ประมาณ 16.00 - 18.00 น.


สำหรับ ที่มาของชื่อนี้เกิดมาจากคนในสมัยก่อนที่เชื่อกันว่า ช่วงระยะเวลานี้จะเป็นช่วงที่เชื่อมต่อกันระหว่างโลกมนุษย์กับโลกที่สาม ภูติผี ปีศาจจะออกมาในช่วงนี้ ผีบางตนที่เป็นตายทั้งกลมหรือตายพร้อมลูก ก็จะพากันออกมาซักและตากผ้าอ้อมของลูก

//variety.teenee.com/foodforbrain/72697.html




 

Create Date : 21 ตุลาคม 2558   
Last Update : 21 ตุลาคม 2558 8:49:40 น.   
Counter : 1777 Pageviews.  

’กรู’ จะฮาก็ตรงคอมเม้นท์นี่ล่ะ’...



  เป็น1เพจในโลกออนไลน์ที่อ่านเมือ่ไหร่ ได้อมยิ้มเมื่อนั้น กับ  เพจ'กูจะฮาก็ตรงคอมเม้นต์นี่แหละ'ที่รวบรวมเอาหลากหลายคอมเม้นท์ฮาๆกวนโอ้ย จากหลากหลายที่มาให้อ่านกัน เรียกว่า อ่านๆไปนี่ขำจนปวดท้อง ฮาจนน้ำตาไหลไปตามๆกันเลยทีเดียว 


จะขำแค่ไหน จะฮายังไง ..ไปพิสูจน์กันเองเลย..















ที่มาภาพและข้อมูลจาก :: กูจะฮาก็ตรงคอมเม้นต์นี่แหละ

//variety.teenee.com/foodforbrain/72700.html





 

Create Date : 21 ตุลาคม 2558   
Last Update : 21 ตุลาคม 2558 8:47:54 น.   
Counter : 2026 Pageviews.  

รู้มั้ย!! องุ่นแต่ละสีมีประโยชน์ต่างกันนะ



องุ่นแต่ละสี มีสรรพคุณคนละแบบ ร่างกายก็ได้รับประโยชน์ที่แตกต่างกัน

องุ่นเขียว

องุ่นเขียว อุดมไปด้วยสารพฤษเคมี ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารแอนติออกซิแดนต์ เช่น คาเทชิน(Catechin) เทอโรสติลบีน(Petrostilbene)
องุ่นเขียวจึงช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ , มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ , มะเร็งต่อมลูกหมาก , มะเร็งเต้านม , โรคหลอดเลือกหัวใจ , โรคของระบบประสาท , โรคอัลไซเมอร์ และ ลูคิเมีย ตลอดจนป้องกันการติดเชื้อราและเชื้อไวรัสต่างๆ

องุ่นแดง

องุ่นแดง มีสารอาการสำคัญคือ เรสเวอราทรล(Resverratrol) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และช่วยชะลอวัย
นอกจากนี้ ยังมีสารซาโปนิน(Saponin) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านแบคทีเรียไวรัส ป้องกันเนื้องอก ลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ซึ่งส่งผลต่อการป้องกันโรคหัวใจเช่นกัน

องุ่นดำ

มีประโยชน์ในการช่วยการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้น แม้ว่าจะมีการใช้ เพื่อเป็นอาหารมาหลายศตวรรษก็ตาม
จากการวิจัยล่าสุด ได้ระบุถึงประโยชนืขององุ่นดำ ที่สัมพันธ์โดยตรงกับน้ำองุ่นดำว่า ช่วยเพิ่มระดับสารแอนตี้ออกซิแดนท์ในเลือด และลดอนุมูลอิสระ


ืัที่มา โรงพยาบาลพระรามเก้า
//variety.teenee.com/foodforbrain/72674.html




 

Create Date : 20 ตุลาคม 2558   
Last Update : 20 ตุลาคม 2558 8:48:50 น.   
Counter : 937 Pageviews.  

ตำหนักเย็น เหล้าพิษ แพรขาว กริช – ชีวิตนางในมีขึ้นก็มีลง

"หญิงแค้นมากล้น วังใน" (宫中多怨女:gong zhong duo yuan nu) เป็นคำกล่าวที่ลอยลมอยู่ในประวัติศาสตร์จีน ที่ใดหญิงอยู่รวมกันมากๆ ที่นั่นเป็นฉันใดนักเรียนโรงเรียนหญิงล้วนคงตอบได้ แล้วลองจินตนาการดูว่าจุดมุ่งหมายของทุกคน คือผู้ชายคนเดียวอีก การตบตีชิงดีชิงเด่นจึงดุเดือดไม่น้อย

ในสนามแห่งการประลอง บางคนชิงดีจนได้เด่น มีบารมีแผ่ปกไปทั้งวัง บังเกิดพระโอรส หรือพระธิดาส่งบุญส่งวาสนาให้ยาวไกล แล้วก็แก่ตายอย่างมีความสุข แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะมีจุดจบดีเช่นนี้ บางคนพลาดท่าระหว่างการต่อสู้ หรือไม่ก็ไม่ได้คิดจะสู้ สุดท้ายกลายเป็นคนไม่เด่นอยู่ในวัง เวลาผ่านไปถูกลืมสนิทเป็นคนแก่อีกคนในวัง กินดี อยู่ดี แต่ชีวิตไม่มีอะไรไปมากกว่ากินกับอยู่ เลยได้แต่กินกับอยู่รอความตายไปวันๆ ดูงิ้วดูละครเล่นไผ่ตองไปตามเรื่อง เลี้ยงนกเลี้ยงปลาเลี้ยงเต่าเลี้ยงสุนัข แมว จิ้งหรีด ฯลฯอะไรไปตามเรื่อง

อย่างไรก็ตามชีวิตที่ไม่เด่นนี้แม้ดูจะน่าเบื่อ แต่ก็มีความสุขดี ในวังไม่ได้น่าเบื่อเสียทีเดียว มีกิจกรรมเทศกาลให้ร่วมทุกวัน อาหารการกินก็บริบูรณ์ เปลี่ยนฤดูก็ไปพักที่พระราชวังตามแห่งต่างๆ เงินทองก็มีให้ตลอด ข้าหลวงขันทีก็เข้ามารับใช้ วันดีคืนดี ญาติจากนอกวังอาจจะได้รับอนุญาติให้เข้ามาเยี่ยมแก้เหงา คิดไปก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรเท่าไรนัก หิวๆอยากกินอะไรแปลกๆ สั่งข้าหลวงออกไปซื้อให้กินก็ได้ พ่อแม่ป่วยออกไปหาไม่ได้แต่สามารถส่งข้าหลวงขันทีไปรับใช้ได้เต็มอัตรา

นับว่าพลาดท่าแล้วไม่เด่นก็เป็นสุขได้

แต่พลาดท่าแล้วดับนี้สิ - น่ากลัว

ภาพนางในชมสวนสมัยราชวงศ์ชิง


เรื่องดับในวังนี้มีสองอย่าง คือ ดับทั้งๆที่ยังมีชีวิตอยู่ กับดับโดยดับชีวิตไปสนิทแล้ว ดับโดยมีชีวิตอยู่คือถูกส่งเข้าไปสู่ "ตำหนักเย็น" ตำหนักเย็นนี้ภาษาจีนเรียกว่า "เหลิ่งกง" (冷宫:leng gong) คนไทยแปลว่า "ตำหนักเย็น" ตรงๆเลย แต่ถ้าให้ข้าพเจ้าแปลควรจะแปลว่า "ตำหนักหนาว" มากกว่า เพราะคำว่า "เหลิ่ง" (冷: leng) ในภาษาจีน แปลว่า หนาวเหน็บ ใช้ในความหมายทางลบ เป็นความหนาวที่ไม่สบายตัว แต่ถ้า "เย็น" จะนิยมใช้คำว่า "เหลียง" (凉:liang) สื่อว่าเย็นสบาย ใช้ในความหมายทางบวก ตำหนักเย็นนี้จะใช้เป็นที่คุมขังนางในที่ต้องโทษ รวมไปจนถึงพระโอรส ธิดาที่ทำผิด พูดง่ายๆคือคุกในวังนั้น

ภาพตำหนักเย็นในจินตนาการ จากเรื่องราวของบูเช็กเทียน ที่จับหวางฮองเฮา และพระสนมซูเฟย ไปขังไว้ในตำหนักเย็น


"ตำหนักเย็น" คำๆนี้ปรากฎขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์หมิง โดยปรากฎในนวนิยายที่เขียนขึ้นช่วงปลายราชวงศ์ หมิง นิยายชื่อว่า "ตงโจวเลี่ยกั๋วจือ" (东周列国志:dong zhou lie guo zhi) เป็นนิยายใช้แสดงงิ้วบรรยายประวัติศาสตร์ตั้งแต่ราชวงศ์โจวไปจนถึงเริ่มยุคราชวงศ์ฉิน เขียนโดยเฟิง เหมิ่ง หลง (冯梦龙:feng meng long)

ภาพเฟิง เหมิ่ง หลง


แม้จะมีการใช้คำเรียกที่คุมขังในวังว่า "ตำหนักเย็น" ก็ตาม แต่ในประวัติศาสตร์จีน ภายในวังหลวงไม่ได้มีการสร้างตำหนักเย็นเพื่อใช้เป็นสถานที่จำคุก ที่ไหนในวังก็สามารถใช้เป็นตำหนักเย็นได้ แล้วแต่ฮ่องเต้จะโปรด ตำหนักนางในที่นางในผู้นั้นอยู่ จากเรือนหลวงก็สามารถกลายสภาพเป็นคุกหลวงได้ทันทีหากมีพระบรมราชโองการ หรือโองการจากใครก็ตามที่มีอำนาจเป็นใหญ่ในวัง หรืออาจจะให้เรือนเก่าๆโทรมๆเล็กๆสักเรือนเลือกมาเรือนใดเรือนหนึ่งแล้วให้ไปอยู่ นั้นแหละ เป็นตำหนักเย็น


ในประวัติศาสตร์มีบันถึงการส่งนางในเข้าไปอยู่ยังตำหนักเย็นประปราย อาทิ ในช่วงปลายราชวงศ์หมิง พระสนมเฉิงเฟย แห่งตระกูลลี้ (成妃李氏:cheng fei li shi) เกิดไปงัดข้อกับมหาขันทีผู้ทรงอำนาจเว่ยจงเสี่ยน (魏忠贤:wei zhong xian) เลยถูกส่งไปอยู่ตำหนักเย็น โดยตำหนักนั้นใช้หมู่เรือนหลวงในพระราชวังต้องห้ามที่ตอนแรกสร้างไว้ให้พระโอรสประทับ ท้าวนางชั้นสูงคุณพนักงานชั้นสูงอยู่ แต่ไม่มีใครอยู่เลยเปลี่ยนเป็นตำหนักเย็นไปพลางๆ ตำหนักนี้เรียกว่าหมู่ตำหนักตะวันตกห้าห้อง (亁西五所:gan xi wu suo) ที่เรียกอย่างนี้เพราะว่าสร้างเป็นเรือนแบบจีนที่เรียกกันว่า สี่เรือนล้อมลานสร้างติดกันทั้งหมดห้าหมู่ โดยมีทั้งทิศตะวันตกและทิศตะวันออก ตั้งอยู่ขนาบข้างพระที่นั่งเฉียนชิงกง (乾清宫:qian qing gong) พระสนมผู้นี้ถูกจำขังไว้แต่เพียงผู้เดียวเป็นเวลา ๔ ปี ก่อนหน้านั้นก็ยังมีพระสนมตำแหน่งเฟยอีกหนึ่งองค์ และตำแหน่งผินอีกสององค์ถูกขังไปก่อน หมู่เรือนนี้ในสมัยพระเจ้าเฉียนหลงได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อให้เป็นที่ประทับของพระธิดา และพระโอรส ปัจจุบันเรียกว่า "ชงหัวกง" (重华宫)

ภาพหมู่ตำหนักชงหัวกง ซึ่งในอดีตเคยเป็นตำหนักเย็นในสมัยราชวงศ์หมิง



ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงตำหนักเย็นก็เปลี่ยนสถานที่ไป บ้างก็ว่าใช้พระตำหนักฉางชุนกง (长春宫:chang chun gong) เป็นหลัก บ้างก็ว่าแล้วแต่พระอารมณ์ ว่าจะส่งไปอยู่ที่ไหน ตอนปลายราชวงศ์ชิง เมื่อพระนางซูสีไทเฮาลงโทษพระสนมเจินเฟย (珍妃:zhen fei) พระสนมคนโปรดของพระเจ้ากวงสู (光绪皇帝:guang xu huang di) พระนางโปรดให้ขังในหมู่เรือนน้อยสามหลังข้างๆพระตำหนักจิงชี่เก๋อ (景棋阁:jing qi ge) เรือนน้อยนี้ปัจจุบันถูกรื้อถอนไปแล้ว มีบันทึกไว้โดยท่านหญิงเต๋อหลิง (德龄公主: de ling gong zhu) นางพระกำนัลคนโปรดของซูสีไทเฮาว่าเป็นเรือนเล็กๆโทรมๆสกปรก ไม่มีถ่านให้ใช้ ฝนตกหลังคาก็รั่ว แถมมีขันทีเข้าไปตบหน้าเตือนความจำว่าพระสนมต้องโทษนะพะยะค่ะ...พั๊วะ ตบแล้วไม่พอต้องคุกเข่าถวายพระพรที่พระราชทานคนตบประจำให้อีก

ภาพของเจินเฟย พระตำหนักจิงชี่เก๋อ และบ่อน้ำข้างพระตำหนัก ซึ่งบ่อน้ำที่พระสนมถูกจับยัดลงไปจนตาย และภาพฐานเรือนน้อยสามหลังที่พระสนมเคยถูกคุมขัง



ในสมัยพระเจ้าปูยี (溥仪皇帝:pu yi huang di) พระองค์ลงโทษฮองเฮาหว่านหลง (婉容皇后: wan rong huang hou) ที่บังอาจไปคบชู้ให้ถูกขังในตำหนักเย็น ตำหนักเย็นที่ว่าก็คือห้องชุดที่ประทับของพระองค์ในพระตำหนักจีซีโหลว่ (辑熙楼:ji xi lou) ซึ่งอยู่ภายในพระราชวังหลวงแห่งแมนจูกั๊ว ขณะที่ถูกจำขังพระนางประทับไปสูบฝิ่นไป สุดท้ายก็สิ้นลงในห้องชุดสุดหรู ซึ่งเป็นคุกไปในตัวนั้นเอง

ภาพพระเจ้าปูยี และพระนางหว่านหรง

พระตำหนักจีซีโหล่ว และห้องชุดของพระนางที่่ถูกเปลี่ยนให้เป็นตำหนักเย็น

จากรูปเป็นหุ่นขี้ผึ้งจำลองวันสุดท้ายของพระนาง


การขังในตำหนักเย็นว่าร้าย แต่ก็ยังไม่ตาย แต่ว่าถ้าร้ายขึ้นมาก็คือโทษตาย เป็นการดับเพราะดับชีวิตจริงๆ การตายนั้นมีตั้งตายแบบศพสวยกับศพไม่สวย ตายช้าๆแต่ทรมานหรือตายเร็วให้มันจบๆ ตายแบบช้าๆและทรมานมีหลายวิธี อาทิ สมัยราชวงศ์ฮั่น หลู่ไท่เฮา (吕太后:lu tai hou) ลงโทษศัตรูหัวใจของตน พระสนมฉีฟู่เหริน (戚夫人:qi fu ren) ตัดหู ตัดปาก ตัดมือ ตัดเท้า ทิ้งไว้ในกองอาจม เรียกโทษนี้ว่า "เหรินจื่อ" (人彘:ren zhi) แปลว่า "คนหมู" ถือว่าสยองที่สุดในประวัติศาสตร์

ภาพจำลองหลู่ไทเฮากำลังสั่งคนจับพระสนมฉีฟู่เหรินไปลงโทษ


ในกระบวนของสามอย่าง เหล้าพิษถือว่าดีสุด ส่วนกริชถือว่าแย่สุด ปรกติแล้วขุนนางมักได้รับเหล้าพิษ นางในมักได้รับแพรขาว ส่วนกริชโหดหน่อยมักประทานให้นักรบ ในประวัติศาสตร์จีนนางในหลายคนจบชีวิตด้วยแพรขาว ที่ดังที่สุดคงไม่พ้นพระสนม หยางกุ่ยเฟยผู้ผูกคอตาย ขอแจ้งเพิ่มเติม ปรกติคำว่า แพรขาวนี้จะมีคำเรียกติดปากว่า "แพรขาวสามฉื่อ" (白绫三尺:bai ling san chi) เป็นแพรขาวยาว ๓ ฉื่อ (หน่วยวัดของจีน มีขนาดประมาณ ๑ ใน ๓ เมตรปัจจุบัน) หรือจะยาวกว่านั้นก็ได้ ราชวงศ์ชิงก็รับกฎนี้มาใช้ และได้พระทานของเหล่านี้ให้กับผู้ทำผิดเรื่อยๆ รวมถึงนางในที่ต้องโทษ แต่จะจำนวนมากเท่าใดก็ไม่ทราบ เพราะประวัติศาสตร์บันทึกไว้ประปรายเช่นกัน
แต่คงจะมีไม่น้อย

ไม่เช่นนั้นจะมีคำกล่าวว่า "หญิงแค้นมากล้น วังใน" ได้อย่างไรเล่า

จริงไหม

ภาพนางในได้รับพระราชทานสิ่งของสามอย่างให้เลือกว่าจะใช้สิ่งใดจบชีวิตตน จากละครชื่อดัง "เจินหวนจ้วน" (甄嬛传: zhen huan zhuan)



ที่มาจาก han_bing
//variety.teenee.com/world/72673.html




 

Create Date : 20 ตุลาคม 2558   
Last Update : 20 ตุลาคม 2558 8:46:42 น.   
Counter : 4147 Pageviews.  

อลิซาเบธ บาโธรี่ ผู้หญิงที่โหดที่ฆ่าสาวพรหมจารี 605 ศพ เธอฆ่าเพื่อ?



คาท์เตส อลิซาเบธ บาโธรี่ (Countess Elizabeth Báthory) เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1560 ในเมือง Nyírbátor ประเทศฮังการี เป็นคนในตระกูล บาโธรี่ ซึ่งมีความเกี่ยวดองกับกษัตริย์ฮังการีในสมัยนั้น
อลิซาเบธ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1614 (54 ปี) ในเมือง Čachtice ประเทศสโลวาเกีย
เคาท์เตส อลิซาเบธ บาโธรี่ เป็นหญิงสาวที่มีความเชื่อในเรื่องชีวิตที่เป็นอมตะ และต้องการคงร่างของตนเองให้คงดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ จึงมีความคิดที่ว่า หากได้อาบเลือดของหญิงสาวบริสุทธิ์แล้ว จะทำให้ตนเองดูอ่อนเยาว์ได้ตลอดไป เธอจึงสั่งให้คนรับใช้ไปเอาร่างของหญิงสาวบริสุทธิ์ มากรีดเอาเลือดใส่อ่างด้วยเครื่อง ไอรอน เมเดน (Iron maiden) แล้ว อาบต่างน้ำ โดยมีเหยื่อที่ต้องสังเวยชีวิตให้กับเธอไปไม่น้อยกว่า 600 คน กว่าที่เธอจะถูกคนจับไปขังในคุกมืดจนตาย เธอได้รับสมญานามว่า The Blood Countess และ Countess Dracula
เอลิซาเบธ เกิดในปราสาทเชิงเขาคาร์เทียนใกล้ๆ กับแคว้นทรานซิลวาเนีย ซึ่งเป็นของตระกูลบาโธรี่อันเป็นตระกูลขุนนางชั้นสูงของฮังการี่และสืบสายมา จากตระกูลแฮบสเบิร์กอันเก่าแก่ของยุโรป ตระกูลบาโธรี่จึงเป็นตระกูลที่เก่าแก่ร่ำรวย มีอำนาจล้นหลาม เป็นที่น่ายำเกรงของประชาชนทั่วไป และปกครองแคว้นทรานซิลวาเนียมาหลายต่อหลายยุคสมัย
ความจริงแล้ว เอลิซาเบธไม่ใช่เด็กหญิงที่สวยงาม เธอออกจะขี้เหร่ด้วยซ้ำแต่ด้วยความที่เป็นลูกผู้ดีมีตระกูล จนจักรพรรดิมาร์คมิชิเลียนที่ 2 เคยมาขอดูตัวด้วยซ้ำ เอลิซาเบธจึงมีทั้งความสวยทั้งหน้าตา รูปร่าง(เธอคิดเอาเอง) และชาติตระกูลสูงส่ง แต่มันเหมือนนรกจับยัดมาเกิด เพราะเธอกลับมีอาการบกพร่องทางจิตอย่างรุนแรง
เป็นเรื่องธรรมดาของตระกูลเก่าแก่ที่มีการแต่งงานกันเองในหมู่ญาติเพื่อ รักษาทรัพย์สมบัติและอำนาจเอาไว้ ทำให้ผู้สืบสายเลือดตระกูลนี้จำนวนมากมีอาการบกพร่องทางจิตอันเนื่องมาจาก ลักษณะทางพันธุกรรม เป็นต้นว่าโรคฮิสทีเรีย พฤติกรรมรักร่วมเพศ หรือแม้แต่การสืบทอดของสาวกลัทธิบูชาปีศาจ ผู้มักมากในกาม ฯลฯ เอลิซาเบธ ก็เช่นเดียวกัน
นิสัยเพี้ยนของเอลิซาเบธ ปรากฏตั้งยังเล็กๆ อยู่นั่นแหละ เอลิซาเบธนั้นแทนที่จะพอใจกับเกียรติยศที่ผู้คนเตรียมใส่พานทองมาประเคนให้ แต่เธอกลับใฝ่ต่ำ ทำท่าเบื่อหน่ายพวกพี่เลี้ยง ครูอาจารย์ที่มาอบรมสั่งสอน เธอกลับเกเรหนีเรียน แอบไปเที่ยวเล่นกับลูกชาวนา ชาวไร่ที่เป็นทาสติดที่ดิน เธอชอบเล่นสัปดนเสียจนท้องเมื่ออายุเพียง 13
ข่าวที่น่าอับอายถูกส่งไปบอกผู้เป็นมารดาอย่างเร่งด่วน และก่อนที่จะมีผู้ใดระแคะระคาย เธอก็ถูกส่งตัวไปไว้ในปราสาทแห่งหนึ่งของตระกลูบาโธรี่ที่ห่างไกลสายตาผู้คน ท่านแม่ของเธออ้างว่าลูกสาวไม่สบายต้องการอยู่ในที่สงบเพื่อรักษาตัว และเมื่อทารกเกิดมาก็อาจถูกฆ่าทิ้งหรือไม่ก็ถูกส่งไปที่ลับหูลับไม่ให้มีใคร รู้เด็ดขาดเลยว่าเจ้าสาวเคยมีลูกกับพวกไพร่ แต่ใครไม่รู้ว่า ทารกลูกคนแรกของเอลิซาเบธหลังจากลืมตามายังโลก สุดท้ายแล้วซะตากรรมเป็นเช่นใด
เมื่อเธอโตขึ้น เอลิซาเบธ เริ่มมีอาการป่วยเป็นโรคปวดหัวเรื้อรังจนตลอดชีวิตของเธอ มีหมอหลายคนทำการรักษาแต่ก็ไม่หาย จนกระทั่ง.........
มีเรื่องเล่ากันว่าในสมัยเด็กที่เธอเกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง จนกัดเนื้อไหล่ของสาวใช้ที่เข้ามาพยาบาล หลุดออกมา สาวใช้ร้องลั่น เอลิซาเบธได้ยินเสียงกรีดร้องของสาวใช้นั่นเอง น่าแปลกที่อาการปวดหัวของเธอกลับหายเป็นปลิดทิ้ง นับแต่นั้นมา เกิดอาการปวดหัว เธอก็จะทรมานสาวใช้เพื่อให้เสียงร้องเหล่านั้นเป็นยาระงับอาการของเธอ
ปี 1575 เมื่อเอลิซาเบธ อายุ 15 ปี เธอก็แต่งงานกับท่านเคานท์ฟีเรนซ์ นาดาสดี้ซึ่ง เป็นลูกพี่ลูกน้องที่อายุมากกว่า 11 ปี (หลังจากแต่งงานแล้ว เอลิซาเบธ ก็ยังคงใช้ชื่อตระกูลเดิม) ทั้งสองย้ายที่อยู่ไปยังปราสาทเซติซ ปราสาทกว้างใหญ่แต่มืดทะมึนดูน่าสยดสยองกลางป่าลึกบนภูเขาคาร์ลปาเชีย ในสโลวาเกีย เพื่อจะอบรมเตรียมรับตำแหน่งเคาน์เตส นายหญิงแห่งอาณาจักรอันไพศาล
ท่านเคานท์ฟีเรนซ์ นาดาสดี้ ไม่ใช่คนดีมากนัก ออกจะจิตวิตถารเช่นเดียวกับอลิซาเบธเสียด้วยซ้ำ สองสามีภรรยามักสนุกตื่นเต้น สนุกสนาน อยู่ด้วยกันเสมอกับการได้ทรมานบ่าวไพร่ ซึ่งเคาน์ฟีเรนซ์ มักจะเล่าให้อลิซาเบธฟังถึงการที่เขาเคยทรมานทรกรรมเชลยชาวเติร์กอย่างโหด เหี้ยม และอลิซาเบธเองก็สนองคิดค้นหาวิธีสยดสยองต่างๆนาๆมาทดลองใช้กับคนของตัวบ้าง
ทั้งสองมีความสุขกับรสนิยมที่ต้องกันอย่างนี้มากล้นจนมีบุตรธิดาด้วยกันถึง 4 คน
แต่ฟีเรนซ์มักจะไปออกรบตามที่ต่างๆจนไม่ค่อยอยู่ติดปราสาท ชีวิตสมรสของเอลิซาเบธ จึงไม่หวานชื่นเท่าใดนัก อาการปวดหัวของเธอกำเริบถี่ขึ้นและการทรมานสาวใช้ก็ค่อยๆหนักข้อขึ้นทุกที เป็นต้นว่า การแทงเข็มเข้าที่ปลายนิ้วของสาวใช้ หรือจับสาวใช้มาทาน้ำผึ้งทั่วตัวแล้วโยนลงไปในห้องใต้ดินที่เต็มไปด้วยมด
แต่นี่ก็ยังไม่นับเป็นการเปิดฉากตำนานเลือดของเธอเลยด้วยซ้ำ
อลิซาเบธ เริ่มหางานอดิเรกใหม่มาทดแทนชีวิตอันน่าเบื่อ ซึ่งก็คือมนต์ดำที่คนรับใช้เป็นผู้แนะนำนั่นเอง เธอมักจะลงไปหมกตัวอยู่ในห้องใต้ดินและประกอบพิธีกรรมประหลาดกับคนรับใช้ บ่อยครั้ง และในไม่ช้าเอลิซาเบธ ก็เริ่มมีชู้ ฟีเรนซ์รับรู้เรื่องนี้แต่ใจกว้างพอที่จะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น หากไม่นานนักแม่ของฟีเรนซ์ก็ย้ายมาอยู่ด้วย จึงเป็นการเปิดสงครามเย็นระหว่างแม่สามีลูกสะใภ้ในที่สุด
เอลิซาเบธมักประพฤติตัวเป็นภรรยาผู้เรียบร้อยต่อหน้าสามี แต่พอลับหลัง เธอก็ทำกระทั่งการจับสาวใช้ของแม่สามีมาทรมานจนตาย
จะอย่างไรก็ตาม เอลิซาเบธมีลูก 4 คน จึงทำให้สภาพครอบครัวยังไม่ถึงกับพังทลายลงในทีเดียว ชีวิตฆาตกรของเธอเริ่มต้นขึ้นหลังจากการตายของสามีเสียมากกว่า
ปี 1600 ในฤดูหนาว เอลิซาเบธอายุได้ 40 ปี ฟีเรนซ์สามีคู่ชีวิตซาดิสต์ได้เสียชีวิตลงในขณะอายุ เพียง 51 ปี ทิ้งสมบัติและอำนาจทุกอย่างไว้ในมือของภรรยา และแทบจะในวันเดียวกันนั้นเอง แม่ก็จากโลกนี้ตามลูกชายไปอีกคน มีข่าวลือภายหลังว่าเป็นการวางยาพิษ
ทีนี้ก็ไม่มีใครจะมาขวางทางเอลิซาเบธได้อีก เธอกลายเป็นราชินีในอาณาจักรของเธอ ชีวิตประชาชนก็เหมือนกับลูกไก่ในกำมือ จะบีบจะคลายก็ขึ้นอยู่กับใจเธออย่างเดียว จะมีก็แต่อย่างหนึ่งที่ไม่เป็นไปดังใจคิด เอลิซาเบธมีความภูมิใจในรูปโฉมของตัวเองมาก แต่ตัวเธอก็ไม่สามารถเอาชนะกาลเวลาได้ นับวันร่างกายเหี่ยวยานตามกาลเวลา เธอต้องการความสวย ความสวยที่เป็นอมตะตลอดกาล
มีการสั่งให้แม่มดหมอผีที่คุ้นเคยทำยาคืนความสาวมาใช้หลายขนาน แต่ไม่ว่าอันไหนก็ไม่ค่อยเห็นผลเท่าใดนัก
จนกระทั่ง.........
เช้าวันหนึ่ง เธอตื่นขึ้นมาล้างหน้าล้างตาแต่งองค์ทรงเครื่อง ทันใดนั้นขณะที่เธอส่องดูเงาตัวเองในกระจกเธอก็ต้องชะงักเพ่งมองแล้วมองอีก นี่ความชราย่างกรายเข้ามาทำร้ายตัวเธอแล้วหรือจริงซินะ.....เธอนึกได้ว่า อายุเธอปาเข้าไปตั้ง 45 แล้วนี่นา เอลิซาเบธใจหายวาบถึงจะไม่สวยแต่เธอก็ไม่อยากแก่และกลัวอย่างที่สุด เธอรู้สึกเหมือนความแก่เฒ่านั้นมันมีตัวตน เอาปากครีมมาหนีบดึงถึ้งเนื้อที่เต่งตึงผุดผ่องของเธอทีละชิ้นๆ เมื่อเธอหงุดหงิด ขัดข้องก็ยิ่งต้องหาเรื่องระบายอารมณ์และความบันเทิงใดเล่า จะเท่ากับการลากคนมาทรมาน
ขณะที่สาวใช้กำลังสางผมให้กับเอลิซาเบธ คงเพราะเกร็งไปหน่อยจึงออกแรงมากไป ดึงผมหลุดติดหวีมาหลายเส้น เอลิซาเบธระเบิดอารมณ์ทันที เธอใช้เชิงเทียนที่อยู่ใกล้มือทุบเด็กสาวอย่างไม่ยั้งมือ แล้วลงมือหวดแซ่หนังผูกปมโลหะใส่เนื้อหนังมังสาของทาสชะตาขาดนั้นอย่างเมา มัน ความรุนแรงของเธอทำเอาแซ้ตวัดเกี่ยวหนังของผู้เคราะห์ร้ายหลุดกระเต็นออกมา เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หยาดเลือดสาดกระเซ็นเป็นฝอยมาติดตามตัวของเธอ การโบยหฤโหดจบลงพร้อมๆ กับชีวิตของทาสที่เละเป็นหมูบะช่อแต่ทว่าเรื่องที่ร้ายที่สุดกำลังจะเกิด ขึ้นเคาน์เตส หอบเหนื่อยเกือบหมดแรงแต่ก็สนุกสมใจไม่น้อยเลย
ความอัจฉริยะบังเกิดขึ้นอีกแล้ว เอลิซาเบธตาวาวโรจน์เปี่ยมสุขขึ้นมาทันใด คราวนี้เธอค้นพบสูตรใหม่แห่งยาอายุวัฒนะ เธอนั่งลงเห็นและเห็นหยาดเลือดทาสที่กระเด็นมา จึงให้สาวใช้ต้นห้องเอาผ้าชุบน้ำมาเช็ดหน้า และแล้วความโหดเหี้ยมแปรเปลี่ยนเป็นความพิศวง เมื่อเคาน์เตสพบว่าใต้รอยเลือดนั้นผิวของเธอกลับนุ่มนวลผุดผ่องเป็นยองใยราว สาวแรกรุ่นอ่อนนุ่ม ละมุนละไม ผิดกับผิวเนื้อตรงอื่นอย่างเหลือเชื่อ เธอคิดได้ว่าเลือดสด ๆ มีคุณสมบัติพิเศษที่จะบันดาลให้เธอเป็นสาวอมตะได้ตลอดกาล เลือดนั้นจะต้องเป็นของสาวแรกรุ่นซินะ มันถึงจะได้ฤทธิ์ของน้ำแห้งชีวิตอย่างเต็มที่
และด้วยเหตุนี้เองโศกนาฏกรรมการฆ่าสังหารเด็กสาวกว่า 600 คนเพื่อประทังความงามของเอลิซาเบธ บาโธรี่จึงเริ่มต้นขึ้น
เหยื่อของเอริซาเบทส่วนใหญ่จะเป็นคนเลือกเหยื่อด้วยตนเองเธอต้องการเลือดของ เด็กสาวบริสุทธิ์ โดยเฉพาะสาวแรกรุ่นที่แสนสวยมีอกอวบอิ่ม
เธอสั่งให้เชือดและชำแหละเพื่อรีดเลือดทุกหยดออกมาให้ได้มากที่สุด เด็กหญิงคนแล้วคนเล่าต้องตายอย่างทุกทรมาน บางคนถูกกรีดร่างจนเป็นริ้วลึกถึงกระดูก ตัดเส้นเลือดทุกเส้นในร่างที่งดงาม หลายคนถูกแหวะอก ผ่าท้องกรีดหัวใจเลือดพุ่งไหลเป็นสายน้ำ แล้วให้เธออาบร่างนั้นอย่างมีความสุข
เมื่อลูกทาสของคนรับใช้และทาสในที่ดินตายหมดแล้ว เอริซาเบทก็ให้ลูกน้องบริวารไปล่อลวงหลอกเอาสาวชาวบ้านตามชนบทเข้ามา
เอลิซาเบทเริ่มทำการรวบรวมเด็กสาวจากที่ต่างๆในดินแดนของตน ชาวบ้านที่ยากจนต่างก็ยินดีที่จะส่งลูกสาวออกมาทำงานในปราสาทเพียงเพื่อแลก กับเสื้อผ้าไม่กี่ชุด เหล่าเด็กสาวพากันลอดประตูปราสาทเข้ามาด้วยใบหน้าร่าเริงราวกับจะไปปิกนิค แต่ไม่มีใครที่รอดกลับมาได้ พวกเธอถูกคั้นเลือดออกมาจนหยดสุดท้ายแล้วถูกฝังไว้ในสวนหลังปราสาทโดยที่พ่อ แม่พี่น้องก็ไม่มีโอกาสจะทราบข่าวถึง
วิธีการทรมานของเอลิซาเบธ ยิ่งยกระดับเสียยิ่งกว่าเก่า มีทั้งการใช้เหล็กร้อนเผาลำคอ ใช้เครื่องทรมานบีบหน้าอก บางครั้งเธอก็ใช้มือทั้งสองของตัวเองล้วงเข้าไปในปากและฉีกร่างของเหยื่อออก เป็นสองซีก เด็กสาวบางคนที่พยายามจะหนีก็ถูกตัดเท้าทิ้ง
มีบันทึกกล่าวถึงงานฉลองที่เอลิซาเบธ จัดขึ้น เธอได้รวบรวมเด็กสาวหน้าตาดีจำนวน 60 คนมาจัดงานเลี้ยง คนแคระพากันเต้นรำ แม่มดก็พ่นไฟ เมื่องานเลี้ยงดำเนินมาถึงจุดสูงสุดนั่นเอง ประตูถูกปิดตาย และทหารก็กรูกันเข้ามา เด็กสาวที่พากันหนีลนลานบ้างก็ถูกข่มขืนแล้วแทงด้วยมีดที่กลางอก บ้างก็ถูกตัดหัว บ้างก็ถูกตัดแขนตัดขาและเสียเลือดมากจนสิ้นลม
ศพและชิ้นส่วนต่างๆถูกรวบรวมมากรองเลือดใส่อ่าง และเอลิซาเบธก็เปลื้องผ้าลงแช่ในอ่างเลือด แต่การรอให้เลือดเต็มอ่างก็ยังไม่ทันใจเธออยู่ดี เอลิซาเบธจึงทดลองวิธีที่เร็วกว่าด้วยการปาดคอเด็กสาวให้เลือดกระฉูดออกมา ใส่ตนเองเหมือนฝักบัวเลือด แต่เนื่องจากเหยื่อกรีดร้องน่ารำคาญ เด็กสาวคนที่สองจึงถูกเย็บปากเพื่อรักษาสุขภาพหูของเอลิซาเบธ
อีกสิ่งหนึ่งที่เอลิซาเบธทิ้งไว้ในประวัติศาสตร์โลกก็คือ เครื่องมือทรมานที่มีชื่อเสียงที่สุดชิ้นหนึ่ง Iron Maiden นั่นเอง ช่างทำนาฬิกาถูกเรียกตัวมาจากเยอรมันเพื่อการนี้โดยเฉพาะ มีการบรรยายเกี่ยวกับสุภาพสตรีเหล็กตัวแรกสุดไว้ดังนี้
"ตุ๊กตาเหล็กนี้มีรูปร่างเป็นร่างเปลือยทาสีเนื้อ ส่วนใบหน้ามีการแต้มเครื่องสำอาง เมื่อกลไกขยับปาก ก็จะปรากฏรอยยิ้มอันเลื่อนลอยและเหี้ยมโหดขึ้นบนใบหน้า ที่อกมีพลอยประดับอยู่เป็นปุ่ม เมื่อกดปุ่ม ตุ๊กตาก็จะค่อยๆยกแขนขึ้น จากนั้นแขนก็จะเคลื่อนมาเป็นกอดอกซึ่งคนที่อยู่ในระยะรัศมีก็จะถูกแขนของ ตุ๊กตากอดไว้ พร้อมกันนั้น ส่วนตัวด้านหน้าก็จะเปิดออกเป็นบานประตู ภายในเป็นช่องกลวงและด้านหลังบานประตูมีเข็มแหลมยาวงอกอยู่ 5 เล่ม ผู้ที่ถูกตุ๊กตากอดไว้จะถูกขังอยู่ภายในตัวตุ๊กตาและถูกเข็มเหล่านี้แทง คั้นเลือดออกมาจนเสียชีวิต"
อย่างไรก็ตาม เครื่องทรมานดังกล่าวนี้ไม่ได้ถูกใช้งานจริงมากเท่าที่เข้าใจกัน เนื่องจากเข็มพากันทื่อเสียหมดเพราะเป็นสนิมจากเลือด เอลิซาเบธ จึงออกคำสั่งใหม่ให้สร้างกรงเหล็กขนาดใหญ่ซึ่งมีเข็มแหลมอยู่ภายใน กรงดังกล่าวจะถูกเฟืองโซ่ยกขึ้นสูงจากพื้นโดยมีเด็กสาวอยู่ข้างใน และเมื่อเขย่ากรง เลือดก็จะกระจายลงมาสู่เอลิซาเบธ ที่อยู่เบื้องล่างราวกับเป็นฝนเลือด
จนเวลาผ่านไปเกือบห้าปี ลูกสาวชาวไร่ชาวนาหายสาบสูญไปจนหมดสิ้น ความผิดพลาดเอลิซาเบธเกิดขึ้นเมื่อเธอไปเที่ยวที่เมืองวีน เหตุการณ์สยองจึงเริ่มเกิดต่อสาธารณชนรับรู้ครั้งแรก เมื่อมีผู้ได้ยินเสียงผู้หญิงร้องดังออกจากห้องพักของเอลิซาเบธ
เอลิซาเบทหันไปหาพวกธิดาของพวกผู้ดีมีตระกูล บางรายเป็นลูกของเพื่อนๆผู้สูงศักดิ์ของเธอด้วยซ้ำ ถึงตอนนี้บ่าวไพร่หมดปัญญาจะเอาศพไปทิ้งไม่ให้ใครเห็นเพราะมีเหยื่อมากมาย ก่ายกองจนต้องโยนออกมาในตอนกลางคืนเพื่อให้ฝูงหมาป่ารุมกินเป็นความเอร็ด อร่อยยามดึก แต่สุดท้ายแล้ว เมื่อฝูงหมาป่าก็กินไม่หมด คราวนี้ละพวกญาติๆที่มาตามหาสาวน้อยของพวกเขาก็ได้เห็นภาพอันสยองขวัญ ตอนแรกมีชาวบ้านมาพบกองซากศพที่ซีดเผือกไม่มีเลือดอยู่เหลือเลยแม้แต่หยด เดียว เลยเกิดล่ำลือไปว่าในป่านี้มีผีดิบดูดเลือดอยู่คนเลี้ยงสัตว์ของเอลิซาเบธจึงรีบไปตรวจดูและพบว่าเสียงนั้นเป็นเสียงของ นัก ร้องสาวของสมาคมแห่งหนึ่งในเมืองนั้น ภาพที่เห็น หญิงสาวถูกตัดมือ ตัดเท้า และเสียชีวิต ตายตรงหน้าเอลิซาเบธ เธอบอกกับคนเลี้ยงสัตว์ของเธอว่า นักร้องผู้นี้ทำความผิด จึงมีโทษต้องตาย และนี่คือความผิดพลาดของเอลิซาเบธเพราะคนเลี้ยงสัตว์คนนี้ก็ปากเปราะเสีย ด้วยสิ
ว่าแล้วกิตติศัพท์นี้ย่อมต้องกลายเป็นที่เลื่องลือในไม่ช้า ประชาชนก็เริ่มร้องเรียนเรื่องไปยังราชสำนักถึงเรื่องคนหาย และมีญาติของเด็กหลายรายยืนยันว่าเด็กสาวที่ตายกันเป็นกองๆใกล้ปราสาทของเอ ลิซาเบธ อยู่นั้นล้วนแล้วแต่ถูกล่อลวงให้มาที่ปราสาทเธอ
และแล้วพระเจ้าแมทเทียสที่ 2 ก็ทรงเข้ามาจัดการกับคดีนี้ด้วยพระองค์เอง .....เดือน ธันวาคมปี 1610 เมื่อมาร์ควิสเธอร์โซซึ่งเป็นญาติของเอลิซาเบธ ไปยังห้องใต้ดินของปราสาทเซติช เขาก็ต้องผงะกับสิ่งที่ตัวเองพบ เครื่องทรมานจำนวนนับไม่ถ้วน รอยเลือดที่ชโลมอยู่แทบทุกที่และศพที่กองเป็นภูเขา บางศพถูกตัดทรวงอก บางศพถูกเฉือนเนื้อ บางศพก็ศีรษะถูกทุบจนแหลก และบางศพก็เต็มไปรู กลิ่นเลือดตลบอบอวลไปทั่วทั้งห้อง มีเด็กสาวบางคนถูกช่วยออกมาได้ แต่ก็เกือบไม่รอดเหมือนกันเพราะพวกเขาพบเธอในขณะที่นอนหายใจรวยรินยังไม่ เสียชีวิต เธอเล่าว่าเธอถูกจับมาพร้อมเพื่อนสาวอีกเป็นจำนวนมากโดยมีสาวใช้สองคนของเอ ลิซาเบธคือ นางดอลค์และนางรีโอน่า เป็นคนสังหารนำเลือดมาให้ผู้เป็นนายชโลมผิว เพราะเชื่อว่าเลือดคือยาอายุวัฒนะ แต่ก็ยากที่บอกว่าพวกเธอปลอดภัยดี เพราะหลายคนถูกบังคับให้กินเนื้อจากศพของเด็กสาวคนอื่น จนบางคนกลายเป็นคนวิกลจริตด้วยซ้ำ เอลิซาเบธ บาโธรี่ ถูกสอบสวนในปี ค.ศ. 1610 อย่าว่าแต่พวกชาวไร่ชาวนาเลย บรรดาผู้ดีมีตระกูลทั้งหลายต่างอาฆาตแค้น และญาติสนิทของเธอเองก็โกรธเคืองอย่างหนักว่าเธอซาดิสต์ขนาดนี้ วงส์ตระกลูบาโธรี่เสื่อมเสียกันหมด ไม่มีอำนาจใดๆที่จะช่วยให้นางฟ้าหรือผีห่าซาตานตนนี้พ้นผิดไปได้แล้ว ลูกมือของเคาน์เตสเปิดปากสารภาพเล่าวิธีการ และบอกถึงรายนามเหยื่อเท่าที่พวกเขาจำได้เฉพาะที่จำได้ก็ปาเข้าไปตั้ง 160 ศพ เดือนมกราคมปี 1611 การตัดสินคดีของเอลิซาเบธถูกจัดขึ้นที่พิซเซ่ เอลิซาเบธได้รับอนุญาตให้ไม่ต้องมาขึ้นศาลด้วยตัวเอง และเนื่องจากฎีกาของตระกูลบาโธรี่ เธอก็รอดพ้นจากโทษประหารในขณะที่ผู้มีส่วนร่วมในการสังหารทุกคนต่างก็ถูก ตัดสินโทษเผาทั้งเป็น โดยผู้มีส่วนร่วมเป็นสาวใช้สองคนที่ทำหน้าที่ค้นหาและจับผู้หญิงสาวเคราะห์ ร้ายมาสังเวยแก่เธอถึง 605 คน
หลังการไต่สวนสมุนเอกของเคาน์เตสถูกลงโทษโดยการเผาทั้งเป็นในที่สาธารณะ เธอ ถูกลากกลับไปที่ปราสาทเซติซ ของเธอเอง ที่นั้นเธอถูกรุนเข้าไปอยู่ในห้องเล็กๆ ห้องหนึ่งแล้ว เจ้าหน้าที่ของบ้านเมืองก็ก่ออิฐปิดหน้าต่างและประตูทั้งหมด เหลือไว้เพียงชองเล็กนิดเดียวที่พอจะสอดอาหารและน้ำส่งให้เธอได้ ลองโดนขังไม่ได้เห็นเดือนเห็นตะวันขนาดนี้ เป็นคนอื่นล่ะตายไปนานแล้วแต่บาปหนาของเธอทำให้เธอยังมีชีวิตอยู่รู้รสความ ทรมานที่แสนสาหัสนานถึง 4 ปี
การตัดสินโทษของเอลิซาเบธ ถูกโอนให้เป็นอำนาจของตระกูลบาโธรี่ และโดยผลการประชุมของตระกูล เอลิซาเบธ ก็ถูกตัดสินให้ถูกจองจำอยู่ในปราสาทเซติชไปจนตลอดชีวิตในห้องขังอันมืดมิด ซึ่งประตูถูกโบกปูนปิดตายตลอดชิวิต ไม่ให้หลุดมาทำอันตรายใครได้อีก
21 สิงหาคม 1614 ก็เป็นวันที่ปราศจากสัญญาณชีวิตจาก เอลิซาเบธ บาโธรี่ ช่องเล็กๆ เพียงช่องเดียวก็ได้ถูกอิฐก่อปิดสนิทลง แต่มีบางตำนานกล่าวว่าเธอหนีออกไปได้และกลายเป็นผีร้ายอยู่ในป่าของฮังการี่ ทุกวันนี้ ปราสาทเซติซ บนภูเขาคาร์ลปาเชีย ในสโลวาเกีย ที่ซึ่งในอดีตเป็นสถานที่สังหารเหยื่อของเอลิซาเบธ ยังคงตั้งตระหง่านอยู่ที่นั่น แม้จะเหลือแต่ซากปรักหักพังแล้ว แต่มันก็ยังน่าสะพรึงกลัวอยู่เช่นเดิม



//variety.teenee.com/world/72671.html




 

Create Date : 20 ตุลาคม 2558   
Last Update : 20 ตุลาคม 2558 8:45:45 น.   
Counter : 1120 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  

tukdee
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 51 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add tukdee's blog to your web]