ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

พบ แบคทีเรีย-เชื้อโรค ในอ่าวไทยเพียบ คาดผลจากน้ำท่วม



รศ.ดร.วรวุฒิ
จุฬาลักษณานุกูล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในฐานะรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำและผู้ทำวิจัย เปิดเผยว่า


การ
ทำวิจัยโครงการศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิ กรด-ด่าง
ต่อแบคทีเรียก่อโรคในน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยกว่า 19
จุดเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา พบว่าพื้นที่ทะเลอ่าวไทย
ซึ่งได้รับผลกระทบจากมวลน้ำจืดจำนวนมหาศาลที่ไหลลงมาจากเหตุการณ์น้ำท่วม
พบเชื้อแบคทีเรียเชื้อสเตรปโตค็อกคัส (Staphylococcus aureus) และโคลิฟอร์ม
(coliform) ในระดับที่สูงกระจายอยู่ทั่วทะเลอ่าวไทย

เมื่อเทียบกับ
การตรวจสอบน้ำช่วงเดือนตุลาคมพบเชื้อน้อยกว่า
จึงสันนิษฐานว่าเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวมาจากมวลน้ำเน่าที่มากับเหตุการณ์น้ำ
ท่วม เนื่องจากมวลน้ำดังกล่าวไหลผ่านไปหลายพื้นที่
ซึ่งเป็นแหล่งของเชื้อโรคหลายชนิดอยู่แล้ว

กลุ่ม
แบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นดัชนีชี้วัดของจำนวนแบคทีเรียตัวอื่นๆด้วย คือ
หากพบว่ามี 2 ชนิดนี้อยู่ ก็หมายถึงว่า ยังมีแบคทีเรียชนิดอื่นๆ
รวมอยู่ในจำนวนมากด้วย โดยในกลุ่มแบคทีเรียโคลิฟอร์ม
เป็นเชื้อโรคที่มาจากมูลสัตว์และมูลมนุษย์
เมื่อพบในปริมาณที่มากจะส่งผลให้น้ำทะเลเสียได้


ส่วนกลุ่ม
เชื้อสเตรปโตค็อกคัส
เป็นเชื้อโรคที่มาจากน้ำเน่าเสียจากซากสัตว์ที่ตายจากน้ำท่วม เช่น
ฟาร์มไก่ที่
อำเภอบางปะอินตายจำนวนมากก็มีส่วนทำให้เชื้อโรคชนิดนี้ปนอยู่ในน้ำทะเลสูง
มาก ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารทะเล
หากนำอาหารทะเลมารับประทานสดหรือไม่ผ่านการปรุงสุก
จะทำให้ผู้บริโภคเป็นโรคอาหารเป็นพิษได้ภายใน 6 ชั่วโมง
ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องจากสารพิษ
และมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน

รศ.ดร.วรวุฒิ ยังกล่าวอีกว่า
แบคทีเรียทั้ง 2
ชนิดนี้ในงานวิจัยได้ใช้เป็นดัชนีชี้วัดปริมาณของเชื้อโรคที่มีอยู่ในจำนวน
มาก แต่ในความเป็นจริง ยังมีแบคทีเรียก่อโรคอื่นๆ
อีกที่มีอยู่ในมวลน้ำจากภาวะน้ำท่วมน้ำขังที่มีการไหลลงสู่ทะเล
และอาจมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับแบคทีเรีย 2 กลุ่มนี้
ซึ่งอาจจะกระทบกับสิ่งมีชีวิตในทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู และปลา
ที่อาจจะถูกเชื้อโรคดังกล่าวปนเปื้อนอยู่
โดยภายในเดือนนี้คณะทำงานวิจัยจะลงพื้นที่อ่าวไทย
เพื่อไปสำรวจผลกระทบและเก็บตัวอย่างน้ำทะเลมาตรวจสอบอีกครั้ง
เพื่อดูว่าเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดนี้ รวมถึงแบคทีเรียชนิดอื่นๆ
สามารถทนต่อความเค็มของน้ำทะเลหรือไม่

ข้อมูลจาก spring news

Mthai News


Create Date : 26 มกราคม 2555
Last Update : 26 มกราคม 2555 18:56:36 น. 0 comments
Counter : 1438 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tukdee
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 51 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add tukdee's blog to your web]