UPGRADE YOUR VOICE TO BE PROFESSIONAL SINGER.....
 
การทำงานของเส้นเสียง (Sound source generator )

**********เมื่อ airflow มาถึงกล่องเสียงซึ่งมีส่วนของสายเสียงที่นิ่ม สายเสียงจะถูกดูดเข้ามาสู่ ช่องว่างระหว่างสายเสียง (rima glottides)

(ในภาวะที่ไม่ได้มีการเปล่งเสียง ตามกฏทางฟิสิกส์ของของไหล (Bernoulli effect) ซึ่งทำให้เกิดเป็น Turbulent flow ซึ่งอาจทำให้เกิดเสียงหายใจได้หากหายใจแรงพอจนทำให้เกิดแรงดูดในช่องว่าง ทำให้เส้นเสียงทั้งสองข้างวิ่งเข้าหากัน)

**********ในภาวะที่มีการเปล่งเสียง สายเสียงจะถูกบังคับด้วยกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ปิดกล่องเสียง มาปิดกั้น airflow ทำให้เกิด แรงดันใต้กล่องเสียง (subglottic pressure) ขึ้น และบีบให้ลมลอดผ่านช่อง rima glottides ที่แคบเข้าเพื่อให้เกิดการสั่นไหวของสายเสียงตามทฤษฎี Cover-Body (ดูในหัวข้อกายวิภาคฯ)

**********โดยการเปิดของกล่องเสียงจะเป็นภาวะที่มีการปิดเปิดให้เสียงผ่านโดยมีทั้งจังหวะร่วม (convergent) และแยก (divergent) ของสายเสียง ซึ่งมีความถี่เท่ากับเสียงที่เปล่งออกมา ซึ่งการปิดเปิดนี้ไม่สามารถมองเป็นได้ด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องใช้การตรวจพิเศษ

เสียงที่ออกมาจากการสั้นไหวของสายเสียงมีความแตกต่างกัน โดยแยกได้หัวข้อดังนี้

1.Intensity (ความดัง)
ตัวแปรคือ subglottic pressure ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเกิดได้จาก 2 กรณี คือ
1.) การปรับเปลี่ยนแรงลมจากปอดเป็นการเพิ่มโดยตรง
2.) การเพิ่มแรง adduction ของสายเสียง โดย intrinsic laryngeal muscles
+++ซึ่งวิธีที่ 2 ไม่แนะนำในการร้องเพลงเพราะจะมีผลให้เกิดการบาดเจ็บของสายเสียงได้ง่าย นอกจากใช้กับ falsetto เท่านั้น
+++ดังนั้นการร้องเพลงที่ดีหากต้องการเพิ่มความดังของเสียงร้อง ควรแนะนำให้ฝึกการหายใจให้ดีขึ้นมากกว่าการเกร็งสายเสียง

2.Frequency (ความถี่)
เริ่มจากความถี่พื้นฐาน คือ ความถี่เฉพาะคิดเป็นรอบต่อวินาที (Hz) ที่เกิดจากสายเสียง
ความถี่เสียงสูงเกิดจากการสั่นไหวที่เร็วขึ้นของสายเสียงทีจะมีลักษณะบางลงและตึงขึ้น

ความถี่พื้นฐานนี่เองที่ในแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน ทำให้การร้องเพลงโดยเฉพาะในการแสดงอุปรากร (Opera) จึงแบ่งลักษณะของเสียงนักร้องเป็นหลายแบบ โดยดูจากข้อจำกัดทางความถี่ และเนื้อเสียงที่ต่างกัน (Fach) ในแต่ละเพศ ดังนี้

---1. เพศชาย ได้แก่ เสียง Tenor, Baritone, Bass, Counter Tenor, Heldentenor
---2. เพศหญิง ได้แก่ เสียง Soprano, Mezzo Soprano, Contralto (Alto)
---3. เพศชายที่ถูกตัดอัณฑะตั้งแต่เด็ก เพื่อรักษาเสียงเอาไว้ ได้แก่ เสียง Castrato

+++ซึ่งในแต่ละเสียงนั้นยังมีลักษณะการใช้เสียงได้หลายกลไก ซึ่งเรียกว่า Registers ของเสียง ซึ่งมีลักษณะการทำงานของกล่องเสียงต่างกันไปแม้จะในความถี่เดียวกัน ซึ่งปัจจุบันแบ่งได้ดังนี้

1. Glottic fry (vocal fry, creak)
เสียงที่ออกมาเกิดจากลมที่ผุดขึ้นจากสายเสียงที่ถูกบีบให้ชิดกันมาก
เสียงที่ออกมาจะคล้ายเครื่องจักร
พบได้ในการใช้เสียงร้องเพลงประเภท rock

ปัญหาของการใช้เสียงลักษณะนี้คือสายเสียงชิดกันเกินไป หากใช้ความถี่ที่สูงจะเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย
ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรใช้ และควรใช้เฉพาะกับความถี่ต่ำที่ไม่ดังเกินไปเท่านั้น

2. Modal (regular, chest tone)
เป็นเสียงปกติที่ใช้พูด และร้องเพลงทั่วไป ที่อยู่ในระดับความถี่พื้นฐาน
การทำงานของสายเสียงอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการทำงานของ TA (กล้ามเนื้อ thyroarytenoid) เป็นหลัก

3. Falsetto (head tone, light)
เป็นเสียงที่เกิดจากการคลายความตึงของ TA (กล้ามเนื้อ thyroarytenoid) แต่ปรับไปใช้ CT (กล้ามเนื้อ cricothyroid) ทำให้เกิดการตึงของสายเสียงแทน ซึ่งจะย่นระยะห่างของ thyroid cartilage กับ cricoid cartilage ด้วย ทำให้เสียงแหลมขึ้นโดยจะฟังได้ชัดเจนในเพศชายที่จะมีเสียงเลียนแบบคล้ายเพศหญิง

แต่จะมีเสียงลมหายใจรั่วออกมามาก เพราะสายเสียงจะไม่ชิดกันเท่ากับการ chest tone เสียงจะออกเกือบจะแหบ และถ้าควบคุมลมไม่ดีก็จะแหบเลย

สำหรับการสั่นไหวจะเกิดกับส่วน cover ที่ ส่วนหน้าของสายเสียงเท่านั้น
เสียงลักษณะนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในการร้องเพลงอุปรากรเพราะในระยะหลังไม่มีการตัดอัณฑะของเด็กชายเพื่อรักษาเสียงไว้ (นิยมในยุค Baroque) จึงต้องพัฒนาการใช้เสียงแบบ falsetto แทน โดยเฉพาะในการร้องแนว coloratura

สำหรับปัจจุบันในเพลงแนว pop ก็มีการใช้เสียง falsetto กันมากขึ้น อย่างไรก็ดีหากผู้ป่วยมาด้วยอาการพูดได้แต่เฉพาะ Falsetto ก็อาจจะแสดงถึงพยาธิสภาพของกล่องเสียง รวมไปถึงหากผู้ป่วยมีปัญหา "เส้นประสาทกล่องเสียงส่วนบนอัมพาต" ก็จะทำเสียง falsetto ไม่ได้เช่นกัน

ประโยชน์ของหนึ่งของ falsetto ในการร้องเพลงคือ การลด tension ที่เกิดจาก การร้องด้วย chest tone ในภาวะเสียงสูงมากๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บของสายเสียงได้ ดังนั้นในการฝึกร้องเพลงจึงมีการกำหนด range ของความถี่ ว่าจะใช้ modal หรือ falsetto ซึ่งก็จะมีบางส่วนคาบเกี่ยวกันซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามศักยภาพของนักร้องและอารมณ์เพลง

ข้อเสียของ falsetto คือคนที่เป็นโรคจมูกจะทำไม่ได้ และคนที่ร้อง falsetto มากๆ ก็จะเกิดภาวะแน่นจมูกหลังใช้เสียงได้

4. Whistle (flute, superhead)
เป็นเสียงความถี่สูงขึ้นกว่า Falsetto มีลักษณะแหลมเล็ก ใช้ในการร้องอุปรากร แนว coloratura เป็นส่วนใหญ่
การใช้เสียงมีการทำงานของ CT อย่างเต็มที่ และเสียงจะแบ่งไปจมูกมากกว่าแบบอื่น มักไม่ได้ใช้ในการร้องเพลงปกติ

+++จากการใช้ register ที่ต่างกันในการร้องเพลง ผู้ฝึกเบื้องต้นจะพบปัญหาเรื่องเสียงที่ขาดหายไป หรือได้ยินเสียงเปลี่ยนไปทันทีที่เปลี่ยน register ที่เรียกว่า register break

+++ซึ่งโดยความนิยมในการร้องเพลงอุปรากรนั้นจะต้องลดความติดขัดนี้ลง โดยจะต้องฝึกทั้งในส่วนที่เปลี่ยนจาก glottic fry เป็น modal และจาก modal เป็น falsetto ซึ่งเรียกเสียงที่เชื่อมต่อนี้ว่า Passagio ประกอบด้วย primary passagio และ secondary passagio ตามลำดับ

+++ซึ่งในแต่ละเนื้อเสียง เช่น tenor กับ baritone จะมีจุดเปลี่ยนต่างโน้ตกัน อย่างไรก็ดีเพลงบางประเภทก็นิยมให้เห็นการเปลี่ยน register อย่างชัดเจน เช่น เพลงประเภท yodel (ร้องคล้ายเสียงโห่ทาร์ซาน) หรือการใช้เสียงนาสิกในการเอื้อนของเพลงไทยเดิม เป็นต้น


Quality of Phonationในการร้องออกมาเป็นพยางค์นั้นต้องมีการเปล่งเสียงเป็นช่วงเสียง ซึ่งประกอบด้วย
เริ่มแรกเป็นการพบกับของสายเสียงกับลม เรียกว่า Attack
ต่อมามีการสั่นไหวต่อเนื่องของสายเสียง (sustaining phonation)
การสิ้นสุด คือ termination ซึ่งในแต่ละเสียงพยางค์ที่ออกมานั้นจะมีคุณภาพต่างกัน

**********โดยเฉพาะในส่วนของการ Attack ซึ่งมี 3 แบบ คือ
1.) airflow
มารอก่อนสายเสียงปิด เรียก breathing voice ซึ่งในการร้องเพลงจะทำให้เสียลมหายใจออกโดยไม่เกิดเสียง ซึ่งจะพบได้เช่นกันในผู้ป่วยที่มีโรคของกล่องเสียงบางชนิด
2.) สายเส้นปิดรอก่อน airflow จะมา เรียกว่า glottal attack พบได้ในการร้องเพลงโดยเสียง glottic fry และการกระซิบ ซึ่งการปิดเส้นเสียงไว้ก่อนจะทำให้การสั่นไหวแรกๆ ค่อยข้างรุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อสายเสียงได้
3.) สายเสียงและ airflow มาพร้อมกัน เรียก simultaneous attack เป็นสิ่งที่พึงประสงค์ในการร้องเพลง เพราะ ไม่ก่อการบาดเจ็บและใช้ airflow ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

**********ในการร้องเพลงอุปรากร เรียกคุณภาพของเสียงลักษณะนี้ว่า Timbre ซึ่งแบ่งได้หลายประเภท เช่น เสียงเข้ม เช่น dramatic tenor เสียงใส เช่น lyric soprano และอื่นๆ

ติดตามต่อตอนหน้านะครับ

หมายเหตุ เนื้อหาเรื่อง voice ทั้งหมดของผมเป็นลิขสิทธฺ์ของผมนะครับ ไม่ได้ลอกใคร เขียนจากความเชี่ยวชาญของผมทั้งหมดครับ ใครจะลอกไปเมล์มาหน่อย





Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2551 1:56:48 น. 7 comments
Counter : 4838 Pageviews.  
 
 
 
 
ปาดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด


อืมม ยิ่งอ่านยิ่งยากค่ะ

สติปัญญามีน้อยจึงต้องใช้สอยอย่างประหยัด
 
 

โดย: missingnatt วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:43:44 น.  

 
 
 
ตามมาอ่านต่อค่า
 
 

โดย: สัมปันนี วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:22:53:19 น.  

 
 
 
ผมมีคนรู้จักหลาคนเลยครับเป็นผู้ชายแต่มีเสียงพูดและเสียงร้องแบบผู้หญิง ชนิดที่เค้าเองก็ไม่ได้แกล้งดัด แต่มันออกมาแบบนั้น เหมือนว่าพูดและร้องด้วย falsetto ตลอดเวลา เพียงแต่มีความหนากว่านิดหน่อย มีทางแก้ไหมครับ
 
 

โดย: doo_wop_boy วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:23:40:06 น.  

 
 
 
โหยยย สุดยอดดด
 
 

โดย: กระจุกน้อย วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:0:47:07 น.  

 
 
 
เห็นคุณหมอไปคอมเมนต์ที่บล็อคผม และพูดคำว่า timbre จำไม่ได้จริงๆ ว่าหมายถึงอะไร ต้องมาคุ้ยค้นบล็อคคุณหมออีกที ถึงได้เจอ
 
 

โดย: doo_wop_boy วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:10:37:08 น.  

 
 
 
ว่าจะไปฝากคำถามไว้ที่หมวด "ฝากคำถาม" แต่คุณหมอคงลืมเปิดให้เข้าไปเขียนฝากน่ะครับ เลยฝากไม่ได้ งั้นขอถามไว้ตรงนี้เลยละกัน

เสียงอย่างผมนี่ เท่าที่คุณหมอได้ฟังเพลงสารพัดที่ผมร้องลงบล็อค พอจะบอกได้ไหมครับว่ามี timbre เป็นแบบไหน ผมวิเคราะห์ตัวเอง ไม่รู้ถูกไหม แต่คาดว่าเป็น lyric tenor รบกวนคุณหมอช่วยตัดสินทีสิครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
 
 

โดย: doo_wop_boy วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:10:41:31 น.  

 
 
 
Please tell me about voice or Sound technology byuse Microphone at
noynoynoy_2007@yahoo.com
 
 

โดย: noy IP: 202.137.157.66 วันที่: 29 กรกฎาคม 2551 เวลา:19:02:40 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kimanatomy
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Blog นี่สำหรับคนรักการร้องเพลงครับ โดยเฉพาะคนที่อยากรู้แบบเป็นวิชาการ
โดยอิงทฤษฎีการร้องเพลงคลาสสิกร่วมกับเวชศาสตร์การใช้เสียง
ถ้ายากไปแต่อยากเข้าใจก็ถามมาได้ครับ(e-mail,MSN)
zorroporn@hotmail.com

PRODUCED AND COPYRIGHT BY
SURAPORN KORNTONG,MD,FRCOT

ฺBEST VIEW BY INTERNET EXPLORER


ThaiBlog.info
[Add kimanatomy's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com