โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำความความเข้าใจ รักษาหายได้
โรคซิฟิลิส ทำความเข้าใจให้ดี รักษาให้หายได้

โรคซิฟิลิส

เป็นที่น่าตกใจว่า ปัจจุบันในประเทศไทยพบอัตราโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แพร่ระบาดมากขึ้น โดยเฉพาะ โรคซิฟิลิส (Syphilis) ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยติดเชื้อแบบไม่รู้ตัว เพราะระยะฟักตัวของ ซิฟิลิส จะไม่แสดงออกมาให้เห็น พบมากที่สุดในกลุ่มของวัยรุ่น ระดับมัธยมถึงมหาลัย ช่วงอายุระหว่าง 15 -24 ปี ที่มักเปลี่ยนคู่นอนและมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันตัวเอง เพื่อป้องกันการระบาดที่มากขึ้น และคลายข้อสงสัยว่า โรคซิฟิลิส เกิดจากอะไร ร้ายแรงขนาดไหน เรามีคำตอบมาฝากกัน

สาเหตุของโรคซิฟิลิส

สาเหตุของโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสเกิดจาก แบคทีเรียที่มีชื่อว่า ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) โดยเชื้อชนิดนี้มีขนาดเล็ก เข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผลบนผิวหนังและเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา โดยการแพร่กระจายของซิฟิลิส สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะแรก ซึ่งเป็นระยะที่มีแผลริมแข็ง (Chancre) หรือสามารถแพร่กระจายในระยะที่สอง โดยจะมีอาการแสดงที่เห็นชัดขึ้น คือมีผื่นขึ้น หรือแม้แต่ในช่วงแรกๆ ของระยะแฝง (Early latent phase) ซึ่งไม่มีอาการแสดงใดๆ เลยก็ตาม ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อไม่รู้ตัวและกลายเป็นพาหะของโรคไปโดยไม่ตั้งใจ

อาการของโรคซิฟิลิส

อาการของโรคซิฟิลิส

การติดเชื้อซิฟิลิสจะมีการดำเนินของโรคเป็นระยะๆ ดังนั้นแต่ละระยะจึงมีอาการแสดงที่ต่างกันไป ประกอบไปด้วย
  1. ระยะที่ 1 (Primary stage)
  2. ระยะที่ 2 (Secondary stage)
  3. ระยะแฝง (Latent stage) 
  4. ระยะที่ 3 (Tertiary stage)
โดยโรคซิฟิลิสมีระยะฟักตัวก่อนตั้งแต่ 3-21 วันหลังรับเชื้อ ส่งผลให้หลายคนติดโรคแต่ไม่มีอาการแสดงให้เห็น ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงค้นพบโรคเป็นซิฟิลิสระยะท้ายและมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตามาหากไม่ได้รับการรักษา และสิ่งที่ควรทราบอีกประการ คือ ลำดับการดำเนินโรคซิฟิลิส ในบางรายอาจไม่ดำเนินตามที่กล่าวมาเสมอไป อาจจะสลับระยะ หรือมีระยะทับซ้อนกันได้ ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยที่รับเชื้อซิฟิลิสมาเป็นปีๆ อาจไม่รู้ตัวเลย
  • ลักษณะอาการของโรคซิฟิลิส ระยะแรก (Primary stage)
เชื้อซิฟิลิสจะเข้าทางเยื่อบุ หรือรอยถลอก ในระยะแรกเริ่มผู้ป่วยอาจจะมีแผลบริเวณช่องคลอด ทวารหนัก องคชาติ หรือปาก และมักเป็นเพียงแผลเดียว ลักษณะเป็นแผลริมแข็ง ไม่เจ็บ แผลที่เห็นจะเป็นอยู่ 1 ถึง 5 สัปดาห์ แล้วจะหายไปเองได้ ต่อมน้ำเหลืองจะโต แต่เชื้อยังคงอยู่ แต่ในกรณีที่หากผู้ได้รับเชื้อซิฟิลิสเป็นโรคเอดส์อยู่เดิม แผลที่ปรากฎจะมีขนาดใหญ่ และกดเจ็บมาก
  • ลักษณะอาการของโรคซิฟิลิส ระยะที่สอง (Secondary stage
ในช่วงเวลานี้เชื้อซิฟิลิสจะเริ่มลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด และต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย ส่งผลให้มี ผื่นขึ้นตามตัว ฝ่ามือและฝ่า แต่ไม่มีอาการคัน รวมทั้งอาจพบผื่นสีเทาในช่องปาก คอ ปากมดลูก และอาจพบหูด Condylomata lata ในที่อับชื้น เช่น รักแร้ ทวารหนัก ขาหนีบ บางรายอาจไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามข้อ เพราะข้ออักเสบ หรือผมร่วงได้
  • ลักษณะอาการของโรคซิฟิลิส ระยะแฝง (Latent stage
อาการระยะแฝงของซิฟิลิสจะอยู่นานได้เป็นปีๆ เป็นระยะที่ไม่มีอาการใด ๆ แต่อาจจะเกิดผื่นได้เหมือนในระยะที่ 2 หากไม่ได้รับการรักษาเชื้อจะยังคงอยู่ในร่างกาย การเจาะเลือดไปตรวจเป็นทางเดียวที่จะตรวจสอบได้ว่า เป็นโรคซิฟิลิสหรือไม่
  • ลักษณะอาการของโรคซิฟิลิส ระยะที่สาม (Tertiary stage)
หลังได้รับเชื้อซิฟิลิสจนกินระยะเวลานานจนเข้าสู่ระยะที่ 3 เชื้อจะเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆ ภายร่างกาย เช่น ทำลายระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท บางคนตาบอด หูหนวก และกระดูกหักง่าย หากรักษาไม่ทันท่วงที จะทำให้อวัยวะต่าง ๆ ถูกทำลายจนไม่สามารถกลับเป็นปกติได้

ในกรณีเด็กในครรภ์ที่ได้รับเชื้อจากมารดาก็อาจเกิดความผิดปกติได้เช่นกัน คือ พิการ หรือเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ หรืออาจเสียชีวิตหลังคลอดได้

การรักษาโรคซิฟิลิส

การรักษาโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสสามารถรักษาได้ง่ายในระยะแรกด้วยยาฆ่าเชื้อ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว แต่ในรายที่มีเชื้อซิฟิลิสในร่างกายมานานเป็นปี อาจจะต้อง ฉีดยาเพิ่มมากกว่า 1 ครั้ง ทั้งนี้ระยะเวลาการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เป็น และผู้ป่วยจะต้องไปฉีดยาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง เพราะการขาดยาจะเป็นสาเหตุสำคัญทำให้โรคไม่หายขาด ประกอบต้องดูแลสุขภาพตนเอง งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลจะหาย และควรต้องแจ้งแก่คู่นอนให้ทราบเพื่อจะได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อรักษาหายแล้ว ก็ยังสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากไม่ลดพฤติกรรมเสี่ยง และควรกลับมาตรวจเช็คทุกปี

การป้องกันโรคซิฟิลิส

การป้องกันโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสจะสามารถรักษาให้หายได้ก็จริง แต่การป้องกันยังสำคัญกว่า เนื่องจากผลกระทบจากการทำลายของส่วนต่างๆ ในร่างกายจากเชื้อซิฟิลิส ไม่สามารถเรียกกลับคืนได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อตั้งแต่แรก สามารถทำได้โดย
  • งดเว้นการมีเพศสัมพันธ์เสี่ยง
  • มีเพศสัมพันธ์เฉพาะสามี-ภรรยา หรือคู่นอนของตนเองคนเดียวเท่านั้น
  • ใช้ถุงยางอนามัยระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมึนเมา หรือยาเสพติดประเภทต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันได้



Create Date : 23 ธันวาคม 2562
Last Update : 23 ธันวาคม 2562 14:50:23 น.
Counter : 690 Pageviews.

0 comment
ยา PrEP คืออะไร ช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้อย่างไร !

ยา PrEP คืออะไร

ยา PrEP เป็นชื่อย่อของ Pre-Exposure Prophylaxis  หรือการให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี ก่อนมีการสัมผัส ( pre-exposure ) ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ใช้สารเสพติดชนิดที่ใช่เข็มฉีดยาร่วมกัน ยา PrEP เป็นยาป้องกันป้องกัน HIV ( prophylaxis โดยให้ได้ทั้งในรูปยากิน หรือสารฆ่าจุลินทรีย์ ( microbicides )ในรูปเจลผสมยาต้านไวรัสใส่ในช่องคลอด หรือในทวารหนัก และห่วงบรรจุยาต้านใส่ในช่องคลอด
ปัจจุบัน ยา PrEP  ในรูปแบบกิน มีข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถป้องกันเชื้อ HIV ได้อย่างมีประสิทธิผล ส่วนแบบฉีดและแบบทานั้น ยังอยู่ระหว่างการวิจัย
 

ทำไมถึงต้องกิน ยา PrEP

จากสถิติในปัจจุบันยังพบว่ามีวัยรุ่นจำนวนมากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกแบบไม่ป้องกัน และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV นอกจากปัญหาการติดเชื้อเอชไอวีในวัยรุ่นแล้ว ยังมีอีกหนึ่งปัญหาคือ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ติดเชื้อและทารกเกิดมาพร้อมกับเชื้อเอชไอวี เนื่องจากมารดาไม่ตรวจร่างกายอย่างต่อเนื่องและไม่รับประทานยาต้านเชื้อHIV ประกอบกับมีข้อมูลคาดการสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2562  ระบุว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 2,053 ราย ต่อปี และเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ คิดเป็น 6 คนต่อวัน โดยเป็นกลุ่มชายรักชายมากที่สุด และสาวประเภทสองที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เรียกว่าในกลุ่มที่มีความเสี่ยง การใช้ยา PrEP ในการต้าน ก็จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้  และทำให้พวกเขามีอายุอยู่ได้ยืนยาวขึ้น
 

ยา PrEP สามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้กี่เปอร์เซ็นต์

ยา Prep สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV ก่อนสัมผัสความเสี่ยงมา สามารถป้องกันได้ถึง 96%  และขึ้นอยู่กับการมีวินัยในการรับประทาน คือรับประทานในเวลาเดียวกันในทุกๆวัน อย่างไรก็ตาม Prep ไม่สามารถป้องกันโรคติดทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆได้ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม หูด ดังนั้นยังคงแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
 

จะเริ่มกินยา PrEP ต้องทำอย่างไร

ก่อนที่จะเริ่มกิน ยา PrEP ควรงดมีเพศสัมพันธ์ 2 สัปดาห์และต้องไปพบแพทย์ที่มีประสบการณ์ด้านเอชไอวีเพื่อดูว่าคุณจะเหมาะสำหรับการใช้เพร็พ (PrEP) หรือไม่พร้อมทั้งตรวจ การทำงานของตับและไต เนื่องจากสามารถรับผลกระทบจากยาเพร็พ (PrEP) ได้ หากว่าเพร็พ (PrEP) เหมาะกับคุณ แพทย์จะออกใบสั่งยา โดยเฉลี่ยจะไม่ให้รับประทานนานเกิน 3 เดือน



Create Date : 18 กันยายน 2562
Last Update : 18 กันยายน 2562 13:45:57 น.
Counter : 230 Pageviews.

0 comment

สมาชิกหมายเลข 3961575
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



  •  Bloggang.com