All Blog
การช่วยเหลือเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม แฝดคนละใบของออทิสติก

ข้อมูลจาก หนังสือบันทึกคุณแม่
แอสเพอร์เกอร์เป็นกลุ่มอาการที่มีความคล้ายกับออทิสติก คือมีความผิดปกติในด้านสังคม ภาษาแต่ลักษณะเฉพาะจะไม่เหมือนกัน แต่ปัญหาของแอสเพอร์เกอร์ก็คือ เด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างหน้าปกติ และการแสดงออกแทบจะเหมือนกับเด็กส่วนใหญ่ แถมยังมีสติปัญญาปานกลางถึงดีมาก พูดเก่ง (แต่ไม่รู้จักการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น) ซึ่งถ้าหากพ่อแม่หรือผู้เกี่ยวข้องไม่มีความรู้ ก็คงยากที่จะสังเกตเห็นความผิดปกติของเด็ก
ลักษณะอาการของแอสเพอร์เกอร์
ความบกพร่องด้านสังคม
" เด็กขาดความเข้าใจกฎ ระเบียบ มารยาท และการปฏิบัติตัวทางสังคม ทำให้เด็กไม่สามารถตอบสนองต่อบุคคลหรือเหตุการณ์ได้อย่างถู฿กต้องและเหมาะสม เช่น พูดขัดจังหวะแสดงความคิดเห็นไม่ตรงกับเรื่องที่คนอื่นกำลังพูด แย่งของจากเพื่อน ไม่เข้าใจการทำงานเป็นทีม
" ไม่สนใจสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว หรือในช่วงเวลานั้น ๆ เช่น ไม่สนใจว่าเพื่อนทำอะไรคุยกันเรื่องอะไร รายการหรือเพลงไหนกำลังเป็นที่นิยม
" ขาดความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และไม่สามารถคิดกลับกันว่า ถ้าเขาถูกทำแบบนั้นบ้างจะรู้สึกอย่างไร
" สร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นไม่เป็น ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร และการแสดงออกแปลก ๆ เก้งก้างงุ่มง่าม
" เด็กมักจะซื่อ จริงใจ จังจัง และไม่ทันคนอ่านเจตนาของผู้อื่นไม่ออก
" ไม่ชอบให้สัมผัสตัว ถ้ามีคนพยายามเข้าใกล้เพื่อจับมือ หรือโอบไหล่ เด็กจะเดินออกห่างทันที
" แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับวัย เช่น กรีดร้อง ทำลายข้างของ บ่นเมื่อถูกขัดใจหรือเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างกระทันหัน
" จริงจังกับทุกเรื่องมากเกินไป แยกไม่ออกว่าเรื่องไหนจริงหรือหลอก เก็บความลับไม่เป็นเมื่อเห็นเพื่อนทำความผิด เด็กจะฟ้องครูทันที
วิธีช่วยเหลือ
" อธิบายกฎระเบียบและการปฏิบัติตัวให้เด็กเข้าใจเป็นเรื่อง ๆ รวมทั้งกฎ กติกา และการเล่นต่าง ๆ
" ใช้ท่าทางหรือภาพวาดแสดงเรื่องทางสังคมเพื่ออธิบายให้เด็กเข้าใจ เพราะเด็กจะเข้าใจการรับภาพและการแปลข้อมูลจากการมองเห็นได้มากกว่าการฟัง แล้วทบทวนความเข้าใจโดยการให้เด็กแสดงให้ดูหรือพูดทบทวนอีกครั้ง
" หลีกเลี่ยงการประชดประชันกับเด็ก แต่ควรจะบอกตรง ๆ ว่าคุณรู้สึกอย่างไร และต้องการให้เขาทำตัวอย่างไร
" หาโอกาสชวนเพื่อนของเด็กมาเที่ยวที่บ้านเพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพและอธิบายให้เพื่อน ๆ ของเด็กเข้าใจสิ่งที่เขาเป็น
" สอนให้เด็กแก้ไขพฤติกรรมที่เพื่อนไม่ยอมรับและอธิบายให้เขาเข้าใจเรื่องสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งเป็นมารยาททางสังคมที่จะต้องปลูกฝังแต่เนิ่น ๆ และสม่ำเสมอ
" ครูควรจะหาโอกาสให้เด็กแอสเพอร์เกอร์ได้แสดงความสามารถ เพื่อเพิ่มความมั่นใจของเขาและสร้างทัศนคติที่ดีให้กับเพื่อน ๆ
" พยายามอย่าปล่อยให้เด็กแยกตัวจากกลุ่มเพื่อนมากเกินไป
" ปลูกฝังให้เด็กเป็นคนมองโลกในแง่ดี เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
" อย่าลงโทษพฤติกรรมก้าวร้าวของเขาด้วยการทำร้ายร่างกาย แต่ให้ใช้วิธีอื่นแทน
" เพิกเฉยต่อพฤติกรรมไม่พึงประสงค์และให้ความสนใจต่อพฤติกรรมที่ดีของเด็กด้วยการกล่าวชมเชย หรือลูบศีรษะ
ความบกพร่องด้านภาษา
" เด็กมีปัญหาในการพูดคุยกับผู้อื่น การใช้ท่าทางและแสดงสีหน้าบอกความรู้สึกของตัวเองให้ผู้อื่นเข้าใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเด็กจะมีพัฒนาการทางภาษาได้เร็วกว่าเด็กออทิสติก (เมื่อได้รับการฝึกฝนพร้อม ๆ กัน)
" เด็กจะพูดแต่เรื่องที่ตัวเองสนใจ โดยไม่เลือกว่าจะพูดกับใคร นานแค่ไหน และผู้ฟังจะรู้สึกอย่างไร
" ในขณะที่พูดหรือเล่าเรื่อง เด็กจะไม่เน้นเสียงหรือแสดงสีหน้าประกอบ การพูดขาดจังหวะไม่เว้นวรรค ไม่มีท่วงทำนอง พูดเร็วและรัวบางคนใช้คำฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่เป็นธรรมชาติ
" เด็กไม่เข้าใจคำพูดที่เป็นนามธรรม คำที่มีความหมายหลายนับ หรือศัพท์แสดงต่าง ๆ รวมทั้งคำพังเพยด้วย
" มีปัญหาเรื่องการจับใจความ ทั้งจากหนังสือ ภาพยนตร์ ละคร ทำให้ไม่สามารถเล่าหรืออธิบายสิ่งที่ได้เห็น ได้ดูหรือได้อ่าน
" เด็กมักจะวิจารณ์คนอื่นต่อหน้าโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม
" เด็กไม่เข้าใจสีหน้า อารมณ์ และน้ำเสียงของผู้อื่น รวมทั้งไม่สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกของตัวเองได้ถูกต้อ (ยกเว้นดีใจและโกรธ) ส่วนอารมณ์ที่ซับซ้อนละเอียดอ่อน เช่น เจ็บปวด เศร้า กังวลใจ จะแสดงออกไม่ได้
" เด็กจะไม่สบตาคู่สนทนาในระหว่างการพูดคุย และมีบ่อยครั้งมีปัญหาในการปฏิบัติตามคำสั่ง
วิธีช่วยเหลือ
" พูดกับเด็กด้วยท่าทีที่เป็นมิตรและนุ่มนวลเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็ก
" ใช้คำพูดสั้น ๆ กระชับ และตรงประเด็นกับเด็ก หลีกเลี่ยงการใช้สำนวน คำแสลง และการเปรียบเทียบ
" พยายามอธิบายคำสุภาษิต คำพังเพย ที่เป็นที่นิยมให้เด็กเข้าใจ และให้เด็กฝึกฝนการตามความเหมาะสม
" เด็กจะปลคำพูดของทุกคนแบบคำต่อคำครูควรจะอธิบายให้เพื่อนในชั้นเรียนทราบ เพื่อไม่ให้มีใครกลั่นแกล้งหลอกให้เด็กทำในสิ่งทีเพื่อนพูด
" หากต้องการคุยกับเด็ก ควรจะแน่ใจว่าเด็กกำลังใจฟัง และใช้รูปภาพหรือแสดงท่าทางประกอบ หากว่าไม่สามารถอธิบายให้เด็กเข้าใจได้
" สอนให้เด็กชวนเพื่อนคุยหัวข้อทั่ว ๆ ไปบ้างถึงแม้จะเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็ดีกว่าปล่อยให้เด็กพูดแต่เรื่องที่ตัวเองสนใจตลอดเวลา และสอนให้เด็กรู้จักสร้างคำถามต่อเนื่องจากการสนทนาอย่าเปลี่ยนเรื่องทันที
" อธิบายให้เด็กเข้าใจว่าใครคือคนที่ควรพูดคุยปรึกษาเรื่องส่วนตัวได้ และใครที่ไม่ควรพูด รวมทั้งกำชับไม่ให้เด็กพูดกับคนแปลกหน้า
" หารูปภาพคนเแสดงสีหน้า ท่าทาง และอารมณ์ในลักษณะต่าง ๆ กันให้เด็กดู และเรียนรู้ความหมายของอารมรณ์ดังกล่าว
" อธิบายให้เด็กเข้าใจ ว่าคำพูดลักษณะใดบ้างที่สร้างความไม่พอใจให้กับผู้อื่น หรือว่าทำร้ายจิตใจผู้อื่น และสอนให้เขารู้จักเอ่ยคำขอโทษในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
" สอนให้เด็กรู้จักถาม เมื่อไม่แน่ใจหรือไม่เข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง
" บันทึกเสียงพูดของเด็กลงในเทปคลาสเซ็ตแล้วเปิดฟังพร้อม ๆ กัน ให้เขาวิเคราะห์น้ำเสียงและความชัดเจน ความเร็วในการพูดของตัวเองโดยมีผู้ใหญ่คอยให้คำแนะนำ
ความบกพร่องด้านสติปัญญา
" เด็กแอสเพอร์เกอร์ส่วนใหญ่มีระดับสติปัญญาปกติถึงดี (หลายคนสติปัญญาเลิศด้วย) แต่เขาจะมีปัญหาจดจำคำสั่งง่าย ๆ ไม่ได้บางครั้ง เด็กก็ยังทำข้อห้ามที่สอนหรือบอกไปแล้วอยู่เสมอ
" เด็กมีปัญหาเรื่องการจัดระบบ เช่น การเรียงลำดับความสำคัญ การแยกแยะความยากง่าย แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่เป็น
" มีปัญหาเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ หรือบุคคลที่ไม่คุ้นเคยไม่รู้จักพลิกแพลง ดัดแปลงหรือทำการทดลองใหม่ ๆ
" ความคิดและความสนใจของเด็กมีไม่กี่เรื่องซ้ำซาก และเปลี่ยนแปลงยาก
" เด็กมักจะทำผิดเรื่องเดียวกันซ้ำ ๆ
" มีปัญหาเรื่องสมาธิสั้น ไม่สามารถนั่งฟังครูหรือพ่อแม่พูดได้นานเท่าเด็กคนอื่น ๆ และถูกรบกวนจากสิ่งกระตุ้นได้ง่าย
วิธีช่วยเหลือ
" เขียนหรือติดคำสั่งที่เด็กมักจะลืม แปะไว้บริเวณต่าง ๆ ที่เห็นได้ง่าย หรือติดกับเครื่องใช้ที่ต้องการจะบอกกับเด็ก
" อธิบายการจัดระบบ และการจัดลำดับความยาก-ง่ายและจัดลำดับความสำคัญของงาน
" สนับสนุนการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องที่เด็กสนใจ และพยายามเชื่อมโยงความชอบนั้นไปสู่เรื่องอื่น ๆ
" หากเด็กทำผิดในเรื่องเดียวกันบ่อย ๆ ให้เขาเขียนลงกระดาษหลาย ๆ ครั้งเพื่อเตรียมไม่ให้ทำผิดซ้ำอีก
" สอนให้เด็กรู้จักการจดบันทึก และตรวจสอบความเข้าใจของเด็กจากสิ่งที่เขาได้อ่าน ว่าเขาเข้าใจมากน้อยแค่ไหน

ขอขอบคุณ : คุณงามตา พัวศิริรักษ์ ผู้เขียน และเรียบเรียงหนังสือ Asperger Syndrome และช่วยวตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลชมรมเพื่อบุคคลแอสเพอร์เกอร์ 127 ถ.สุขุมวิท 62 แยก 1 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม. 10250



Create Date : 27 มิถุนายน 2554
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 14:13:56 น.
Counter : 2000 Pageviews.

0 comment
ทำอย่างไรเมื่อลูกท้องเสีย และอาการอย่างไรจึงเรียกว่าท้องเสีย

อาการที่เด็กท้องเสียสังเกตได้จากการถ่ายอุจจาระเหลวมากว่า 3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายเป็นน้ำพุ่งหรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่า ยกเว้นเด็กที่ดูดนมแม่อาจถ่ายเหลวสีเหลืองวันละ 5-6 ครั้ง ไม่นับว่าเป็นท้องเสีย
สาเหตุ
มักเกิดจากการรับประทานอาหารไม่สะอาด ดื่มนม น้ำไม่สะอาด การเตรียมนมที่ไม่ถูกวิธี ส่วนใหญ่เชื้อมี่ทำให้เกิดท้องเสียได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ นอกจากนั้น อาจเกิดจากการแพ้นม แพ้อาหาร หรือได้ยาปฏิชีวนะบางตัว

เมื่อลูกท้องเสีย
ปกติแล้ว อาการท้องเสียไม่ใช่ภาวะที่ฉุกเฉิน หรือต้องให้การดูแลรักษาอย่างเร่งด่วนทันที แต่การท้องเสียมาก ๆ จะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก และต้องรับการรักษาอย่างทันท่วงที
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ เกิดจากการที่ต้องสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่จากการถ่ายเหลว ซึ่งสามารถที่จะป้องกันได้โดยการให้น้ำและเกลือแร่ทดแทนอย่างเพียงพอ

จะทำอย่างไรดีเมื่อลูกท้องเสีย
โดยทั่วไปการที่เด็กมีอาการท้องเสียถ่ายเหลว หรืออาเจียนเป็นกลไกของร่างกายอย่างหนึ่งที่พยายามที่จะขับเอาสารพิษหรือเชื้อโรคที่ได้รับออกไปจากร่างกาย ดังนั้นหลักการในการรักษาที่ถูกต้องคือการให้สารน้ำชดเชยส่วนที่เสียไปให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้เด็กมีอาการขาดน้ำและรอให้ลำไส้ค่อย ๆ ฟื้นตัวและกลับมาทำงานตามปาติ สำหรับการให้ยาแก้ท้องเสีย หรือยาที่ลดอาการบีบตัวของลำไส้เพื่อให้หยุดถ่ายโดยเร็วนั้น ไม่สามารถให้ในเด็กได้ เนื่องจากจะทำให้เกิดการคั่งค้างของเชื้อโรคอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน และอาจเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนเข้าไปในกระแสเลือดได้ โดยเฉพาะในเด็กทารกอายุต่ำกว่า 1-2 ปี และควรให้การดูแลเบื้องต้นดังต่อไปนี้
o พยายามให้เด็กดื่มน้ำและเกลือแร่ทดแทน ซึ่งจะเตรียมได้จากผงเกลือแร่สำเร็จรูปที่มีขายทั่วไป นำมาผสมน้ำในขนาดที่ระบุไว้หรือจะเตรียมเองโดยใช้น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ เกลือ ½ช้อนชา ผสมในน้ำต้มสุก 750 cc. ซึ่งน้ำเกลือแร่ที่ผสมแล้วควรดื่มให้หมดใน 1 วัน หรือดื่มไม่หมดให้ทิ้งไปแล้วผสมใหม่วันต่อวัน ในเด็กเล็กอาจผสมน้ำเกลือแร่แล้วใส่ขวดนมให้เด็กดูดแต่ถ้าเด็กโตแล้ว หรือไม่ยอมทานน้ำเกลืออาจผสมน้ำเกลือแร่ในน้ำอัดลมที่เปิดจนแก๊สหมดแล้ว เพราะถ้ามีแก๊สอยู่ เด็กดื่มแล้วอาจท้องอืดได้ แล้วเจือจางด้วยน้ำต้มสุก 1 เท่าตัว เพราะน้ำอัดลมมีประมาณน้ำตาลมากอยู่แล้ว ใส่เกลือในสัดส่วนครึ่งช้อนชาต่อปริมาณน้ำ 1 ลิตร จากนั้นให้เด็กดื่มทุกครั้งหลังถ่าย โดยปริมาณที่ให้ควรใกล้เคียงกับปริมาณของอุจจาระที่ถ่ายในแต่ละครั้ง
o ถ้าเด็กดื่มนมแม่ คุณควรให้นมต่อไปได้ แต่ในรายที่เป็นมาก มีอุจจาระเป็นฟอง ผายลมบ่อย ท้องอืด อาจแก้ไขโดยบีบน้ำนมแม่ส่วนต้นของเต้านมที่เด็กจะดูดทิ้งไปประมาณ 20-30 มิลลิลิตร เพื่อให้เด็กได้ดูดนมแม่ส่วนหลังซึ่งจะมีปริมาณไขมันมากกว่าน้ำนมแม่ส่วนต้น ทำให้เด็กอิ่มนานไม่หิวง่ายไม่ต้องดูดนมบ่อย และระยะเวลาที่นมผ่านออกจากกระเพาะอาหารลงไปที่ลำไส้ข้าลง ช่วยลดการกระตุ้นการบีบตัวของลำไล้ ทำให้เด็กหลับนานและ การถ่ายจะห่างขึ้น แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นอาจจะต้องปรึกษาแพทย์หรือใช้ยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์จับกับกรดน้ำดีเพื่อลดการบีบตัวของลำไส้ที่มากเกิน เช่น cholestyramine แต่ถ้าให้นมผสมและอาการถ่ายไม่ดีขึ้นหลัง 3 วัน อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นนมที่มีน้ำตาลแล็คโตสต่ำ เช่นนมวัวที่ไม่มีแล็คโตส คือ โอแล็ค อัลมิรอน หรือถ้าจำเป็นก็อาจเจือจางนมลงเท่าตัว แต่ไม่ควรให้นมที่เจือจางนานติดต่อกันเกินหนึ่งหรือสองวันเพราะจะทำให้เด็กขาดอาหารได้ สำหรับอาหารอื่น ๆ ก็รับประทานได้เช่นเดิม แต่ควรจะเป็นอาหารเหลว เพื่อจะได้ย่อยง่าย ท้องไม่อืด คุณอาจจะให้ข้าวต้ม โจ๊ก ก็ได้
o ในบางรายที่เป็นนาน ๆ การใช้น้ำข้าวชงนมและน้ำต้มสุกธรรมดาจะช่วยให้การดูดซึมของน้ำและเกลือแร่ในลำไส้ดีขึ้นได้ ในเด็กบางรายที่เบื่ออาหารมาก ๆ และไม่ยอมทานน้ำเกลืออาจยอมให้เด็กทานขนมปังกรอบ หรือมันฝรั่งทอดซึ่งมักจะใส่เกลือให้มีรสเค็ม ซึ่งจะทำให้เด็กหิวน้ำ และค่อยดื่มน้ำตามภายหลังก็พอช่วยให้ไม่ขาดน้ำได้
o ในการให้น้ำเกลือ หรือให้อาหารเด็กไม่ควรให้เด็กทานมาก ๆ ในทันที เพราะช่วงนี้ลำไส้จะมีความไวต่อการถูกกระตุ้นได้ง่าย และบีบตัวรุนแรงกว่าปกติ ดังนั้นการให้เด็กดื่มน้ำจากแก้วหรือดูดนมคราวละมาก ๆ จะกระตุ้นให้เด็กถ่ายเหลวหรืออาเจียนได้ง่าย จึงควรให้เด็กรับประทานโดยการใช้ช้อนตักป้อนทีละคำ แล้วรอดูสักพักถ้าไม่มีอาการปวดท้องหรืออาเจียนจากลำไส้บีบเกร็งก็ค่อยให้คำต่อไปได้
o หากเด็กท้องเสีย จากการแพ้อาหารหรือนม ควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารนั้นและถ้าจำเป็นแพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนนมให้เด็ก
o ห้ามซื้อยาแก้ท้องเสียให้เด็กเพราะถ้าท้องเสียจากติดเชื้อจะทำให้เชื้อโรคคั่งค้างในร่างกายได้
o กรณีที่ท้องเสียเป็นเวลานานๆ และเด็กมีน้ำหนักตัวลดลงมาก การรับประทานโจ๊กวิจัย ซึ่งเป็นผลการศึกษาของงานโภชนาการ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) กรมการแพทย์ พบว่าเป็นอาหารที่เหมาะสมมีราคาถูก สามารถเตรียมได้ง่าย ช่วยให้เด็กมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็ว และหายจากท้องเสียเร็วขึ้นโดยมีส่วนผสมดังนี้ 1.ข้าวสาร 100 กรัม 2.เนื้อไก่ล้วน 60 กรัม 3.น้ำมันพืช 3 ช้อนชา 4.เกลือป่น 2 ช้อนชา
วิธีทำ
ต้มข้าวใส่น้ำประมาณ 7 ถ้วยตวงเมื่อข้าวสุก ใส่เนื้อไก่ น้ำมันพืช และเกลือป่น ต้มอีก 10 นาที ถ้ามีเครื่องปั่น ให้นำเข้าเครื่องปั่นจนละเอียด ถ้าไม่มี ต้องต้มข้าวให้เปื่อย แล้วนำมาครูดผ่านกระชอน ส่วนผสมนี้จะได้โจ๊กข้นประมาณ 650 กรัม ให้พลังงานประมาณ 620 แคลอรี่ ส่วนผสมนี้ใช้รับประทานได้ทั้งวัน
การป้องกัน
ใคร ๆ ก็ไม่อยากให้ลูกท้องเสียเพราะต้องเสียสุขภาพเสียเวลาสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ คุณสามารถป้องกัน ไม่ให้ลูกท้องเสียได้ โดย
1.เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2.ถ้าจำเป็นต้องเลี้ยงเด็กด้วยนมผสมคุณต้องดูแลทำความสะอาดอุปกรณ์ในการเตรียมนมอย่างดี ล้างมือให้สะอาดก่อน เตรียมนม ไม่ใช้นมผสมที่เตรียมไว้นาน ๆ โดยมีแช่ตู้เย็น
3.เมื่อเตรียมอาหารและน้ำให้ลูก คุณควรดูแลความสะอาดของอาหาร น้ำ และภาชนะที่ใส่อย่างดีโดยเฉพาะผลไม้ เช่น ส้มคุณควรล้างให้แน่ใจว่าสะอาดจริง อาหารต้องปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ล้างมือของคุณให้สะอาดก่อนที่จะป้อนอาหารลูก
4.ดูแลความสะอาดของลูกให้ดี ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงที่ลูกหยิบของเข้าปาก ตัดเล็บให้สั้น
5.ดูแลทำความสะอาดที่พักอาศัย ของใช้ ของเล่น ของลูกอย่างสม่ำเสมอ ของเล่นควรล้างทำความสะอาดหรือเช็ดแล้วผึ่งแดดเป็นประจำถ้ามีสมาชิกในบ้านท้องเสีย คุณควรเข้มงวดในการดูแลความสะอาดภายในบ้านเพิ่มขึ้น

เมื่อไหร่ที่ควรพาลูกไปพบแพทย์
ท้องเสียนั้นป้องกันได้และคุณเองก็สามารถช่วยลูกให้หายได้ แต่หากลูกมีอาการเหล่านี้มากขึ้น คุณควรจะพาไปพบแพทย์
1.ท้องเสีย ถ่ายบ่อยมีมูกมาก อ่อนเพลีย
2.ท้องเสียรุนแรงนานเกิน 3 วัน
3.มีไข้สูง ถ่ายมีมูกปนเลือด
4.อาเจียน 2-3 ครั้ง ใน 2-3 ชั่วโมง หรืออาเจียนจนทำให้ดื่มสารละลายเกลือแร่ไม่ได้ไม่ถ่ายปัสสาวะมากกว่า 6-8 ชั่วโมง ลูกตาลึกโบ๋ ปากแห้ง หายใจเร็ว อ่อนเพลีย ซึมลง

โดย: พญ.วารุณี พรรณพานิช
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี



Create Date : 27 มิถุนายน 2554
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 14:13:27 น.
Counter : 17487 Pageviews.

0 comment
ท้องร่วง

ข้อมูลจากโรงพยาบาลรามาธิดี

อาการท้องเดินหรืออุจจาระร่วงหมายถึงการถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้ง หรือมากกว่าใน 1 วัน หรือถ้าถ่ายเหลวมีมูกมีเลือดปน 1 ครั้ง ก็ถือว่าผิดปกติ ต้องรับการรักษา
อาการท้องเดินเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย หรือสารจากเชื้อที่ทำให้อาหารบูดเสีย ถ้ามีไข้ตัวร้อนและถ่ายอุจจาระมีมูกมีเลือดปน แสดงว่าอาจเป็นบิดหรือลำไส้อักเสบ ต้องพาไปรับการรักษา เด็กบางคนอาจมีการอาเจียนร่วมด้วย ทำให้เด็กมีภาวะขาดน้ำมากยิ่งขึ้น เพราะสูญเสียทั้งทางอาเจียนและอุจจาระเหลว ถ้ามีภาวะขาดน้ำจะสังเกตเห็นว่าปากแห้ง ตาลึกลง อ่อนเพลีย และปัสสาวะสีเข้ม มีปริมาณน้อยหรือห่างกว่าปกติ ถ้ารุนแรงมากอาจถึงกับหมดสติ และตายจากภาวะขาดน้ำได้
ท้องเดินเรื้อรัง อาจเกิดจากพยาธิตัวเล็กที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มักมีอาการท้องอืด เลี้ยงไม่โต ถ่ายเหลวเป็นๆ หายๆ หรืออาจจะเกิดต่อเนื่องจากการมีอาการท้องเดินเฉียบพลัน ลำไส้สร้างน้ำย่อยนมวัวได้น้อยลง ย่อยอาหารไม่ได้ดี จึงมีอาการท้องเดินเป็นๆ หายๆ นานเป็นสัปดาห์หรือเดือน ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารเลี้ยงไม่โต
วิธีดูแลรักษา
" เมื่อลูกเกิดอาการท้องเดิน ให้สังเกตดูว่าลูกตัวร้อนหรือไม่ ลักษณะอุจจาระเป็นอย่างไร เช่น เหลว เป็นน้ำ มีมูกเลือด ถ้ามีลักษณะเหล่านี้ต้องพาลูกไปรับการรักษา
" ถ้าลูกถ่ายอุจจาระเป็นน้ำหลายครั้งและอาเจียนด้วย มีลักษณะซึม หรือถ่ายไม่หยุด ควรรีบพาส่งไปรับการรักษาที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล
" ถ้าลูกพอจะกินน้ำได้ ให้ละลายน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะและเกลือแกงครึ่งช้อนชากับน้ำ 1 ขวดกลมใหญ่ประมาณ 1 ลิตร จะใช้น้ำเปล่าต้มสุกหรือน้ำต้มเปลือกต้นฝรั่ง น้ำชา หรือน้ำมะตูมก็ได้ หากจะใช้น้ำข้าวก็ไม่ต้องเติมน้ำตาล คุณพ่อคุณแม่อาจจะละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ตามฉลากให้ลูกกิน เป็นการป้องกันการขาดน้ำและช่วยให้ลูกไม่อ่อนเพลียเกินไป หากลูกยังได้รับนมแม่อยู่ควรให้ต่อไป แต่ถ้าได้รับนมผสมควรผสมให้เจือจาง ให้อาหารอ่อนย่อยง่ายและไม่มันจนกว่าจะหาย หลังจากนั้นควรค่อยๆ เพิ่มอาหารและนมจนเป็นปกติ
" แยกทำความสะอาดเสื้อผ้าและสิ่งที่เปื้อนอุจจาระ โดยใช้ผงซักฟอก และยาฆ่าเชื้อถ้ามี อย่าเอาเสื้อผ้าที่เปื้อนลงล้างในตุ่มน้ำ เพราะเป็นการแพร่เชื้อโรคลงไปในน้ำ ที่คนอื่นอาจนำไปใช้ดื่มกินได้ ควรกำจัดอุจจาระลงส้วมหรือถัง และราดยาฆ่าเชื้อ
" ล้างมือก่อนหยิบจับอาหารและกินยา รักษาความสะอาดในการเตรียมอาหารและน้ำดื่ม ทำอาหารให้สุก ปิดฝาชีหรือใส่ตู้





Create Date : 27 มิถุนายน 2554
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 14:12:59 น.
Counter : 470 Pageviews.

0 comment
ไข้ผื่นดอกกุหลาบ

ข้อมูลจาก นิตยสารบันทึกคุณแม่

ส่าไข้ หรือ ไข้ออกผื่น หรือบางคนเรียกว่าไข้ผื่นดอกกุหลาบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ช่วงอายุประมาณ 6 เดือนถึง 3 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 6 เดือน - 1 ปีครึ่ง อาจจะพบบ่อยที่สุดเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเป็นเองหายเองได้ แต่อาการแทรกซ้อนของโรคเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ปกครองตกใจจนทำอะไรไม่ถูกได้ เราจึงควรทำความรู้จักกับโรคนี้ และหาทางป้องกันอาการที่จะทำให้ต้องตกอกตกใจ
ไข้ออกผื่นเกิดจากเชื้อไวรัส Herpes ชนิดที่ 6 ติดมาทางน้ำลายเช่นการดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน ทานอาหารช้อนเดียวกัน เป็นต้น เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะฟักตัวประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ ก็จะเริ่มมีการทำให้เด็กไข้สูงมากแบบทันทีทันใด และไม่ยอมลงแม้จะกินยา เช็ดตัวอย่างถูกวิธี ไข้ก็ยังสูงอยู่ อาจจะต่ำลงมาบ้าง ตอนที่กินยาลดไข้ใหม่ ๆ และเช็ดตัว พอหยุดเช็ดตัวไข้จะขึ้นสูงอีก กระหม่อมเด็กอาจจะโป่งตึงได้ อาการอื่น ๆ ไม่ค่อยชัดเจน ไม่ค่อยไอ น้ำมูกไม่ค่อยมีแม้เด็กจะไข้สูงมากแบบทันทีทันใด และไม่ยอมลง แม้จะกินยาเช็ดตัวอย่างถูกวิธี ไข้ก็ยังสูงลอย อาจจะต่ำลงมาบ้างตอนที่กินยาลดไข้ใหม่ ๆ และเช็ดตัว พอหยุดเช็ดตัวไข้จะขึ้นสูงอีก กระหม่อมเด็กอาจจะโป่งตึงได้ อาการอื่น ๆ ไม่ค่อยชัดเจน ไม่ค่อยไอ น้ำมูกไม่ค่อยมี แม้เด็กจะไข้สูงก็ยังดูไม่ซึม ยังเล่นได้กินได้ หลังจากมีไข้ประมาณ 3 - 4 วัน จะมีผื่นขึ้นเป็นจุดแดง ๆ เล็ก ๆ ไม่นูน ผื่นมักจะไม่ปรากฏที่ตักหน้า และคอ ที่แขนขามีน้อย เมื่อผื่นขึ้นวันแรกเด็กจะงอแง ร้องกวนมากกว่าตอนที่มีไข้ และอาจมีถ่ายเหลวสัก 1 - 2 วัน ผื่นจะค่อย ๆ จางลงในเวลาประมาณ 3 - 4 วัน และที่สำคัญผื่นพวกนี้จะไม่คัน
ข้อควรระวัง
โรคนี้มีข้อควรระวังที่ อาการแทรกซ้อนของโรค ที่สำคัญคือเรื่องชักจากไข้สูง เพราะเป็นโรคที่มีไข้สูงตลอด และชอบเป็นเด็กหลังอายุ 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงอายุที่จะชักได้ถ้าไข้สูงมากดังนั้น จึงพบเด็กที่เป็นโรคนี้ มีอาการชักได้บ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืนที่พ่อแม่เผลอหลับไป
ดังนั้น เมื่อมีเด็กเป็นโรคนี้หรือสงสัยว่าจะเป็น ควรให้ยาลดไข้และเช็ดตัวตลอด ใช้น้ำก๊อกธรรมดา เช็ดที่ตัว เว้นปลายมือปลายเท้าที่มักจะเย็นอยู่แล้ว เวลาเด็กมีไข้สูง การเช็ดตัวให้ถูแรงสักหน่อย ให้ผิวหนังแดง ๆ และที่สำคัญให้เน้นที่ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ บริเวณเหล่านี้มีเส้นเลือดขนาดใหญ่ จะช่วยให้ไข้ลดได้เร็วกว่าที่อื่น โดยโปะผ้าชุดน้ำเอาไว้ และเปลี่ยนบ่อย ๆ เมื่อไข่ลงแล้วให้เช็ดตัวให้แห้ง ใส่เสื้อผ้าบาง ๆ ให้ความร้อนระบายได้ง่าย เด็กสามารถนอนเปิดแอร์หรือเป่าพัดลมได้ จะช่วยให้ความร้อนระบายได้ดีขึ้น
ถ้าเผอิญเด็กเกิดชักขึ้นมา อาการชัดจากไข้สูงโดยทั่วไปจะหยุดได้เอง ภายในเวลาไม่เกิน 4 นาที จึงมักไม่กระทบกระเทือนต่อสมองของเด็ก แต่ก็ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองตกอกตกใจเป็นอันมาก ถ้าลูกชักให้ตั้งสติให้ดี ระวังอย่าให้เด็กได้รับอันตรายเช่นระวังอย่าให้ศีรษะกระแทกของแข็ง อย่าให้กัดลิ้นตัวเอง จับหน้าหันไปด้านข้าง จะได้ไม่สำลักอาหารแล้วรีบเช็ดตัวให้ไข้ลง พร้อมกับนำส่งโรงพยาบาล เพื่อให้การวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้องต่อไป



Create Date : 27 มิถุนายน 2554
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 14:12:32 น.
Counter : 959 Pageviews.

0 comment
เด็กปวดขา

บทความ จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด คอลัมน์ เพลินใจสบายกาย
โดบ น.พ.โอภาส ธรรมวานิช
ท่านผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่อยู่ในวัยเล่าเรียน คงประสบปัญหาเรื่องอาการปวดขาจากบุตรหลานของท่านบ่อยๆ อาการปวดขาเหล่านี้ฝรั่งเรียกว่า "โกรอิ้งเพน" (Growing Pain) หรือแปลตามศัพท์โดยตรงว่า "อาการปวดเนื่องจากการเจริญเติบโต" อาการปวดเช่นนี้มักเป็นๆ หายๆ และบางครั้งอาจรุนแรงจนเด็กไม่สามารถยืนหรือเดินได้ แต่ก็เป็นเพียงชั่วครู่ชั่วยาม มักเป็นบริเวณน่องและขาท่อนบน พบมากในเด็กที่มีเกณฑ์อายุระหว่าง 6 ถึง 12 ปี ไม่ใช่เป็นโรคปวดข้อ ไม่มีอาการแสดงของข้อบวม ส่วนบริเวณที่ปวดนั้น จะมีอาการปวดลึกๆ แต่ไม่เคยปรากฏว่ามีอาการกดเจ็บหรือบวมแดงของผิวหนังบริเวณกล้ามเนื้อเหล่านั้น โดยทั่วไปแล้วอาการปวดที่บริเวณขานั้นไม่มีส่วนสัมพันธ์กับการกระตุ้นโดยการเดิน เพราะส่วนมากท่าเดินของเด็กเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อาการปวดของเด็กเหล่านี้มักเป็นเวลาหัวค่ำ หรือกลางดึก และหายเป็นปลิดทิ้งในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น
ท่านผู้ปกครองบางคนอาจตระหนกตกใจเมื่อบุตรหลานของท่านหลับได้สบายตอนหัวค่ำ แล้วตื่นขึ้นมากลางดึก ร้องไห้เพราะปวดบริเวณขาจนกระดุกกระดิกไม่ได้ แต่เมื่อได้บีบนวด ประคบความร้อน หรือให้รับประทานยาแก้ปวดสำหรับเด็กเช่น แอสไพริน หรือ พาราเซตามอล อาการปวดก็ทุเลา แล้วหายเป็นปกติ นอนหลับต่อไปได้ อาการปวดเช่นนี้แหละที่ฝรั่งเรียกกันว่า "โกรอิ้งเพน"
ความเป็นจริงแล้ว คำว่า "โกรอิ้งเพน" หรือ ปวดเพราะการเจริญเติบโต นั้นเป็นคำที่ใช้ความหมายผิดไปตั้งแต่โบราณ เพราะสมัยนี้ เราทราบดีว่า อาการปวดขาดังกล่าวข้างต้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกายแต่ประการใด มักเกิดในช่วงอายุที่เด็กมีการเจริญเติบโตของร่างกายน้อย คือระหว่างอายุ 6 ถึง 12 ขวบ แต่ตรงกันข้าม ในช่วงระหว่างอายุของเด็กที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงกลับไม่พบอาการปวดเช่นนี้




Create Date : 27 มิถุนายน 2554
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 14:11:50 น.
Counter : 700 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

มนแพรวา
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]