เหตุที่หนูปฏิเสธนมขวด เพราะว่า…
เหตุที่หนูปฏิเสธนมขวด เพราะว่า…
จากปกติที่เคยลิ้มรสละมุนจากเต้าอุ่นๆของแม่ จู่ๆน้องหนูต้องเปลี่ยนมาดูดนมจุกเต้าพลาสติกแทนซึ่งทั้งแข็งและไม่ค่อยคุ้นลิ้นเท่าไรเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่น้องหนูต้องปฏิเสธนมจากขวด หรือแม้กระทั่งไม่ยอมดูดเลย ทำเอาคุณแม่ที่ฝึกลูกดูดนมขวดกลุ้มใจหนักหนา แต่ก็เป็นเพียงระยะแรกของการเริ่มดูดจากขวดเท่านั้นค่ะ เมื่อนานไปเขาจะเริ่มชิน และดื่มเอง แต่ส่วนหนึ่งต้องอยู่ที่การฝึกของคุณแม่ด้วยซึ่งการฝึกลูกให้ดื่มนมจากขวดนั้น ทำได้ดังนี้ค่ะ
1. สาเหตุแรกๆที่ลูกไม่ยอมดูดนมจากขวด ก็อย่างที่บอกไปเพราะคุ้นเคยกับเต้านมนิ่มๆของคุณแม่มานาน ดังนั้นตอนเลือกจุกนม ควรเลือกจุกนมที่มีความนิ่มและยืดหยุ่น ทำจากยางธรรมชาติซึ่งปัจจุบันหาซื้อได้ตามแผนกสินค้าเด็ก ในห้างสรรพสินค้าทั่วไป
2. ควรฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับจุกนมก่อนค่ะ โดยการช่วยเขานวดเหงือก ซึ่งใช้จุกนมที่ให้ลูกดูดนั่นละค่ะ วิธีคือ ให้คุณแม่เอาจุกนมหมุนไปรอบๆบริเวณเหงือกของลูกเบาๆเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้กับเหงือก อาจจะทำวันละ 2 ครั้งก็ได้ แต่ต้องเบามือหน่อยนะคะ
3. ช่วงแรกๆที่เพิ่งหัดให้ลุกทานนมขวด คุณลองบีบนมจากเต้าใส่ขวดให้ลูกดื่มก่อน หรืออาจจะผสมนมแม่กับนมผง เพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับรสชาติเดิมๆสักระยะ
4. ถ้าลูกไม่ยอมดูดนมจากขวด ลองเปลี่ยนให้เขาดื่มจากแก้วแทนดุสิคะ โดยใช้แก้วใบเล็กๆมีหูจับ ซึ่งช่วงแรกคุณแม่ควรช่วยป้อนให้เขาก่อนค่อยๆให้ดื่มที่ละน้อย แรกๆอาจจะหกเลอะเทอะบ้าง คุณแม่ก็ต้องใจเย็นๆ
5. เรื่องจิตใจก็สำคัญค่ะ หากคุณแม่ฝึกมาหลายวิธีแล้ว ลูกยังไม่ได้ดั่งใจ ก็อย่ากังวล และพาลโมโหบังคับลูกนะคะ ถ้าเขาร้องให้งอแง ก็ควรหยุด แล้วค่อยๆลองฝึกไปเรื่อยๆในวันต่อไปอย่างไรแล้วเขาก็จะค่อยๆทำได้เองค่ะ
ในวัยนี้นมยังเป็นสารอาหารหลักที่ลูกต้องการอยู่ แต่อย่างไรก็ดี อาหารเสริมก็สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะเด็กกำลังเจริญเติบโต อย่าลืมเลือกอาหารเสริมที่ดีและเหมาะสมให้กับลูกด้วยค่ะ

กระตุ้นแบบนี้ น้ำนมมาดีแน่นอน
1. ดูดเร็ว คือให้ลูกดูดทันทีหลังคลอด หรือภายใน 30 นาทีแรกหลังคลอด เพื่อให้เกิดการสร้างสายใยระหว่างแม่ลูก และเพื่อให้ลูกคงสัญชาตญาณของการกินนมแม่ไว้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมแม่ออกมาเร็วขึ้น เพราะช่วงนี้ลูกมีแรงดูดนมที่ดีมาก หันหาหัวนมและดูดนมแม่ได้เองธรรมชาติ ถ้าเราไปขัดขวางการดูดนมในระยะนี้ อาจต้องใช้เวลานานในการฝึกให้ลูกกลับมาดูดนมแม่ได้ดีเหมือนตอนแรก
2. ดูดบ่อย ให้ลูกดูดทุกครั้งที่ต้องการ ลืมเรื่องการดูนาฬิกาไปเลยนะคะ ไม่ต้องสนใจว่าลูกดูดนานแค่ไหน แล้วต้องดูดอีกเมื่อไร ในช่วงแรกเป็นระยะปรับตัวของทั้งคุณและลูก ซึ่งต้องใช้เวลาอีกสักพักว่าจะรู้ใจกันดี (ส่วนใหญ่จะเป็นตอนเข้าเดือนที่ 2 - 3 ) คุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่มักไขว้เขวในช่วงเดือนแรกนี่แหละค่ะ พอผ่านเดือนนี้ไปแล้ว ทุกอย่างจะเข้าร่องเข้ารอยมากขึ้น ใจเย็นๆนะคะ
3. ดูดถูกวิธี คือดูดให้ได้น้ำนมและแม่ต้องไม่เจ็บ เทคนิคเล็กๆคือต้องให้ลูกอมให้ลึกถึงลานนม โดยหันตะแคงตัวลูกเข้าหาเต้าแม่แบบทั้งตัวไม่ใช่หันแต่หน้าลูกเข้าหาแม่ แล้วตัวลูกกลับนอนหงาย คุณแม่ลองหันไปด้านข้างแล้วกลืนน้ำดุสิคะว่าลำบากขนาดไหน ลูกก็ลำบากเหมือนกันค่ะเพราะฉะนั้นใช้สูตรท้องลูกเพื่อให้ลูกอมลานนมได้ลึกและตัวเขาก็จะตะแคงหาตัวเรา หากให้นมไม่ถูกท่า คุณแม่ก็จะเจ็บหัวนม และหัวนมจะแตกในที่สุด
4. เชื่อมั่น หากคุณแม่เชื่อมั่นว่ากำลังทำในสิ่งที่ถูกและดีนั่นคือคุณแม่ชนะแล้วละค่ะ หากเชื่อมั่นว่าเรากำลังมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูก คุณแม่ก็จะมีกำลังใจให้ตัวเอง กำลังใจที่เข็มแข็งนั้นจะแผ่ซ่านไปถึงลูกด้วยค่ะ ดิฉันมีวิธีสร้างกำลังใจให้กับตัวเองที่ได้ผลชะงัดนัก คุณแม่ลองทำกันดูนะคะ “ให้คุณแม่หาที่สงบๆ(ตอนลูกหลับก็ได้) แล้วหลับตา เอามือทั้งสองมาประสานกันตรงหน้าท้องแล้วกำหนดลมหายใจ โดยหายใจเข้า (ท้องป่อง) ลึกๆ นับ 1 – 5 หายใจออก (ท้องแฟบ) ยาวๆ นับ 1 – 10 ประมาณ 5 รอบ แล้วพูด (เบาๆ) แต่สิ่งที่ดีหรือพูดในเชิงบวก เช่น ‘ฉันเป็นแม่ที่ดี ฉันมีความสุขเหลือเกินที่ได้เลี้ยง (ชื่อน้อง) ลูกก็เป็นสุขที่มีฉันเป็นแม่เพราะฉันรักเขาเหลือเกิน ฉันดูแลเขาเป็นอย่างดี ให้สิ่งที่ดีที่สุดกับเขานั่นก็คือน้ำนมที่กลั่นจากอกของฉันเอง ฉันมีน้ำนมมากพอให้เขากิน ฉันจะอดทนและตั้งใจทำสิ่งที่ดีเพื่อลูกที่ฉันรัก แม่รักลูกจ๊ะ....’ แล้วหายใจเข้าลึกๆ นับ 1 – 5 หายใจออกยาวๆ นับ 1 – 10 อีกครั้ง นับ 1 – 3 แล้วค่อยๆลืมตา..ถามใจตัวเองดูนะคะว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง ”
5. ตั้งใจ คุณแม่ต้องตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยค้นคว้าหาข้อมูล เมื่อมีปัญหาต้องรู้ว่าควรจะปรึกษาใคร และพาตัวเองไปหาแหล่งความรู้นั้นๆ เพราะทั้งหมดนี้จะนำพาคุณแม่ไปสู่ความสำเร็จได้โดยง่าย ดีกว่าการทนอยู่กับความไม่รู้และไม่มั่นใจ
6. อดทน คุณแม่ต้องอดทนให้ลูกดูดนมแม่จากอกบ่อยๆไม่ควรให้ลูกกินนมผสมหรือน้ำ แม้จะไม่มีน้ำใจนมแม่ให้เห็นในช่วง 3 – 4 วันแรกหลังคลอด เพราะลูกมีอาหารสะสมตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่มากพอ และต้องการนมเพียงมื้อละ 1 – 2 ช้อนชา (5-10 ซี.ซี) เท่านั้นซึ่งถ้าให้ลูกดูดนมแม่ ก็จะมีการสร้างน้ำนมแม่ออกมาเท่าที่ลูกต้องการและไหลเข้าปากลูกหมด ไม่มีน้ำนมแม่เหลือให้คัดและไม่มีน้ำนมไหลออกมาให้เห็น

7. พักผ่อนให้พอ ควรนอนพร้อมๆลูก ไม่ต้องกังวลอะไรมาก ปล่อยวางเสียบ้าง
8. ไม่เครียด ความเครียดเป็นตัวการสำคัญมากถึงมากที่สุดที่ ที่ทำให้น้ำนมน้อย เพราะเมื่อคุณแม่เครียด สมองจะสั่งให้ร่างกายคอยๆหยุดผลิตน้ำนมไปเอง บางครั้งความพยายามที่มากเกินไปกลับส่งผลในทางลบ ลองทำใจให้สบายแล้วคิดว่าเราทำดีที่สุดแล้วคิดเสมอว่า แม่ทุกคนย่อมมีน้ำนมมากพอสำหรับลูกของตัวเองอย่างแน่นอน
9. กินอาหารให้มากพอ ควรกินให้ได้ประมาณหนึ่งเท่าครึ่งของตนเองก่อนท้องนะคะ ไม่ต้องกลัวอ้วน เพราะส่วนเกินของคุณแม่จะไปอยู่กับลูก จะทำให้ลูกตัวฟูสมบูรณ์ดีค่ะ แต่ต้องให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ไม่ให้อาหารอื่นและไม่ให้น้ำเสริมเลย แล้วน้ำหนักของคุณแม่จะเข้าที่เข้าทางในเวลาประมาณ 6 เดือน กินอาหารที่มีประโยชน์และครบทั้ง 5 หมู่ อย่ากินของหมักดองหรืออาหารที่ปรุงสุกๆดิบๆนะคะ
10. ดื่มน้ำให้มาก ให้ได้วันละ 3 ลิตรนะคะ ไม่ว่าจะเป็นน้ำอุ่นๆน้ำขิงน้ำตะไคร้ น้ำใบเตย นมสด น้ำเต้าหู้ เต้าทึงร้อน ไมโล โอวัลติน หรือน้ำแกงอุ่นๆ
11. ปั้มและบีบให้บ่อย เหมือนกับการให้ลูกดูดนมให้บ่อยนั่นแหละค่ะ ถ้าร่างกายรู้ว่าเรามีความต้องการน้ำนมมาก ก็จะผลิตน้ำนมออกมามากขึ้น เราจึงต้องหลอกด้วยการปั๊มให้บ่อย ได้นิดได้หน่อยก็ไม่เป็นไร ค่อยๆเก็บสะสมไปไม่ต้องเครียดนะคะ
12. อย่าปล่อยให้คัดหน้าอกนาน หากร่างกายรู้ว่าผลิตออกมาแล้วไม่มีผู้บริโภคก็จะผลิตน้อยลง ดังนั้นเมื่อรู้สึกคัดต้องรีบระบายออกทันที เพราะยิ่งปล่อยไป รังแต่จะส่งผลร้าย คือ นอกจากแม่จะเจ็บปวดมากและปั๊มออกยากแล้ว เมื่อให้ลูกดูดก็จะงับไม่ค่อยติด เพราะลานนมรั้งหัวนม และหัวนมก็แข็งจนงับไม่ติดพองับได้ นมก็จะพุ่งจนเขาสำลัก บางครั้งต้องบีบทิ้งบ้างเพื่อทำให้กินได้ง่ายขึ้น
13. กินเต้าเดียว เก็บอีกเต้าไว้ปั๊ม คุณแม่ทำงานควรเตรียมสต๊อกตั้งแต่เนิ่นๆ พอเข้าเดือนที่สองก็เริ่มสะสมไปเรื่อยๆโดยให้ลูกดูดจากเต้าหนึ่ง แล้วพอดูดเสร็จก็ปั๊มจากอีกเต้าเก็บไว้เลย เพราะร่างกายจะสั่งให้ผลิตน้ำนมออกมามากๆและผลิตมาเลยทั้งสองเต้า
14. กินเต้าเดียวและปั๊มอีกเต้าในเวลาเดียวกัน อันนี้เหมาะกับคุณแม่มือเก๋าค่ะ คุณแม่มือใหม่จะลองทำก็ได้ค่ะ รับรองว่าได้ผลเกินคาดเลยเชียงละ
15. กินเสร็จแล้วปั๊มต่อให้เกลี้ยงทั้งสองเต้า เพื่อให้ร่างกายผลิตน้ำออกมามากๆอย่างสม่ำเสมอ
16. ประคบหน้าอกด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นพันเต้านมเป็นเลข 8 และหากรู้สึกว่ายังมีก้อนแข็งๆอยู่ แต่ก็ปั๊มและบีบไม่ออก ให้เอาผ้าขนหนูมามัดให้แน่นคล้ายลูกประคบแล้วชุบน้ำนมมาคลึงส่วนที่เรามักมองข้าม บางครั้งจะมีการก่อตัวเป็นก้อนตรงส่วนนี้ หากเราไม่เอาออกก็จะผลิตน้ำนมได้น้อยลง
17. เปิดทางระบายน้ำนมเวลาคัด ให้คุณแม่ลองใช้น้ำอุ่นราดที่เต้านม แล้วถ้ามีน้ำนมพุ่งออกมา อย่ารีบปิดเพราะเสียดาย ควรปล่อยให้น้ำนมไหลออกมาบ้าง เพื่อระบายและขยายเส้นทางเดินน้ำ
18. เมนูเด็ด เช่น แกงเลียง ยำหัวปลี ต้มโคล้งหัวปลีปลากรอบ ต้มยำหัวปลีกับไก่ ผัดขิงกับไก้ ดอกกุยช่ายต้มจืดกระดูกหมู ผัดใบกระเพรา(หมู เนื้อ ไก่) ขาหมูต้มยำ ขาหมูต้มถั่วลิสง ขาหมูกับน้ำจิ้มซีฟู้ด สเต๊ก (หมู เนื้อ ไก่ ) หมูย่าง หมูทอด ไก่ย่าง ไก่ทอด เมนูไข่ กล้วยน้ำว้า แก้วมังกร





Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2554 13:57:19 น.
Counter : 752 Pageviews.

0 comment
เด็กนอนยาก เด็กไม่หิว
เด็กนอนยาก เด็กไม่หิว
น.พ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์
การเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่วัยทารกจนเติบใหญ่ไม่ใช่ของง่าย แม้ว่าพ่อแม่จะมีความรัก มีความปรารถนาดีแต่เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ในระหว่างการเลี้ยงดู บ่อยครั้งต้องพึ่งพาสอบถามผู้ใหญ่ ปู่-ย่า-ตา-ยาย ของเด็ก แต่ในสมัยนี้ปู่-ย่า-ตา-ยายก็อาจจะไม่ได้อยู่ร่วมบ้าน คลินิกเด็กดีในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ แพทย์และพยาบาลที่ดูแลเด็กโดยเฉพาะน่าจะให้คำปรึกษาท่านได้ 2 ปัญหาที่พบบ่อยได้แก่ ทารกนอนยากและในบางช่วงของชีวิตเด็กไม่ยอมหิวเอาเสียเลย ทำให้พ่อแม่ต้องกังวลใจมากไม่สามารถแก้ไขได้ทันเวลา
ปัญหาเด็กนอนยาก เด็กทารกอายุ 0-4 เดือน การทำงานของระบบสรีรวิทยายังไม่คงที่ ดังนั้นเด็กจึงนอนหลับไม่เป็นเวลา อาจตื่นบ่อย ๆ ช่วงกลางดึก แต่หลังจากอายุ 4 เดือนไปแล้วเด็กสามารถนอนหลับได้ตลอดคืนประมาณ 6-8 ชั่วโมง เด็กที่ตื่นมาดึก ๆ และร้องกวนอาจมีสาเหตุหลายประการดังนี้ สาเหตุ ได้แก่
1. มดหรือแมลงกัดต่อย เด็กเล็กที่ยังต้องดูดขวดนมอาจมีมดหรือแมลงบนที่นอน ทำให้กัดเด็กเวลานอนได้
2. เจ็บเหงือกเวลาฟันงอก เด็กอายุประมาณ 4 เดือนจะเริ่มมีตุ่มฟันงอกออกมา ทำให้รู้สึกเจ็บและรำคราญ เด็กอาจร้องกวนและตื่นขึ้นมาตอนกลางคืน
3. นอนกลางวันนานเกินไป จะทำให้ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน
4. หิวนม อาจเป็นเพราะเด็กเคยชินกับการดูดนมทีละน้อยแต่บ่อย ๆ บางคนอาจดูดทุก 1-2 ชั่วโมง หรือพ่อแม่ฝึกให้เด็กดูดนมจนหลับคาขวดนม จนทำให้เด็กชินและกลายมาเป็นเงื่อนไข
5. เคยชินกับการที่พ่อแม่พูดคุย พ่อแม่บางคนมีความจำเป็นต้องกลับบ้านดึกหรือต้องออกจากบ้านตั้งแต่เช้าตรู่ จึงไม่ค่อยมีเวลาได้เล่นกับลูกจะชอบอุ้มลูกขึ้นมาเล่นด้วยทุกครั้งที่กลับมาถึงบ้านหรือจะอุ้มเด็กทุกครั้งที่ตื่นขึ้นมากลางดึกหรืออุ้มกล่อมและกกกอดจนเด็กหลับ เด็กจึงเคยชินไม่สามารถหลับได้เองเมื่อตื่นขึ้นมา
6. กังวลจากการพลัดพราก เด็กวัย 1-4 ขวบ จะกังวลกับการพลัดพราก ดังนั้นจึงไม่ค่อยอยากเข้านอนคนเดียว และเมื่อตื่นขึ้นมากลางดึกเด็กหันไปมองรอบ ๆ ไม่เห็นพ่อแม่จะรู้สึกกลัวได้
7. เป็นหวัด เด็กที่เป็นหวัด คัดจมูกและหายใจไม่โล่งจะทำให้นอนได้ยากแต่เด็กยังบอกไม่ได้ พ่อแม่อาจไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร
8. ยาหรือเครื่องดื่มบางชนิด ยาและเครื่องดื่มบางชนิด ได้แก่ ยาแก้หืดหอบ ยาหวัดบางชนิด ยาไทรอยด์ และเครื่องดื่มบางประเภทเช่น โค้ก เปŠปซี่ จะทำให้เด็กกวนและไม่ยอมนอนได้
9. กลัวและฝันร้าย บ่อยครั้งที่เด็กเล่นอย่างตื่นเต้นและหวาดกลัวในตอนกลางวัน จะทำให้นอนไม่หลับและฝันร้ายได้
วิธีแก้ไข
กรณีที่เด็กตื่นขึ้นมากลางดึก พ่อแม่ควรรอประมาณ 5-10 นาที ก่อนเพื่อให้เด็กหลับต่อได้เอง ถ้าเด็กยังร้องต่อก็เข้าไปดูว่ามีอะไรทำให้เด็กตื่นและหาทางแก้ไขตามสาเหตุ ดังนี้
1. สำรวจบริเวณเตียงนอนว่ามีมด แมลงหรือไม่ ควรทำความสะอาดเตียงนอนอย่างสม่ำเสมอ ๆ
2. ในเด็ก 4-8 เดือน อาจปวดเหงือกตอนฟันจะงอก อาจใช้วิธีปลอบ โดยไม่ให้ดูดนม
3. ไม่ควรปล่อยให้เด็กนอนกลางวันนานเกินไป
4.โดยปกติเด็กอายุมากกว่า 4 เดือนจะสามารถ นอนติดต่อตอนกลางคืนได้นาน 6-8 ชั่วโมง ดังนั้นไม่ควรปลุกเด็กขึ้นมาดูดนม หรือเมื่อเด็กตื่นขึ้นมากลางดึกก็ไม่ควรเอาขวดนมให้เด็กดูดทันที ควรรอสัก 5-10 นาที และปลอบเด็กด้วยวิธีอื่นก่อน กรณีที่เด็กยังดูดนมกลางคืนควรให้ดูดนมมากขึ้นในแต่ละมื้อตอนกลางวันและยืดระยะเวลาระหว่างมื้อนมออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งให้เด็กดูดนมเพียงมื้อเดียวในช่วงดึกและสามารถงดนมมื้อดึกได้ในที่สุด ไม่ควรให้เลิกดูดนมทันที เพราะเด็กจะหิวนม ร้องกวนมากและไม่ยอมนอนต่ออีก การงดนมควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยลดปริมาณนมลง 1-2 ออนซ์ทุก 2 คืน ควรใช้เวลาให้นมให้สั้นที่สุดไม่ควรเกิน 20 นาที และไม่กระตุ้นเด็กด้วยการหยอกล้อชวนเด็กเล่น ต่อมาเด็กก็จะหลับได้ตลอดคืน
5. โดยมากเด็กอายุ 1-3 ขวบจะกังวลจากการพลัดพรากจากพ่อแม่ ดังนั้นพ่อแม่อาจพาเด็กเข้านอนและอยู่เป็นเพื่อนจนเด็กหลับหรืออาจอุ้มโยกโดยไม่ให้เด็กตื่นจากนั้นจึงลงมาทำธุระของพ่อแม่ต่อ
6. กรณีที่เป็นหวัดคัดจมูก จำเป็นต้องให้ยาแก้หวัดชนิดที่ทำให้เด็กหลับได้
7. ถ้าสงสัยว่าจะเกี่ยวกับยา จำเป็นต้องปรึกษาหมอเด็ก เพื่อเปลี่ยนตัวยาหรือลดปริมาณยาลง จะทำให้เด็กหลับได้ และควรงดน้ำอัดลมเนื่องจากในน้ำอัดลมบางชนิดมีสารจำพวกกาเฟอีนปริมาณหนึ่งซึ่งอาจทำให้เด็กนอนไม่หลับได้
8. ถ้าเด็กฝันร้าย หรือกลัว พ่อแม่ควรเข้าไปกอดปลอบโยนเด็กที่เตียงของเขา และอยู่เป็นเพื่อนจนกระทั่งเด็กหายกลัวและรู้สึกดีขึ้น พ่อแม่ควรถามเด็กว่าจะให้ปิดไฟที่หัวเตียงหรือไม่ และเอาตุ๊กตาหรือหมอนข้างให้เด็กกอด
เด็กไม่หิวอาหาร เมื่อลูกเข้าขวบปีที่สองพ่อแม่มักหนักใจที่ลูกไม่ยอมกินอาหาร ลูกจะสนใจเล่นมากกว่ากินอาหาร แม้ว่าพ่อแม่จะหลอกล่ออย่างไรก็ตาม อาจใช้วิธีหลอกล่อด้วยของเล่น อุ้มเดินไปรอบ ๆ สนามหน้าบ้านแล้วตามป้อน หรือจะต้องขับรถตระเวนป้อนข้าวรอบหมู่บ้านก็ตาม บางครั้งอาจจะต้องคะยั้นคะยอ อ้อนวอนติดสินบนให้เด็กกินอาหาร หรือใช้วิธีขู่ ว่าจะไม่โต ไม่สบาย จนถึงขั้นบังคับยัดเยียดอาหารใส่ปากแล้วก็ยังไม่เป็นผล เด็กที่ปฏิเสธไม่ยอมกินอาหารอาจออกมาในรูปแบบของการกินอาหารช้า อมอาหารในปากจนหลับคาจาน เด็กบางคนอาจจะอาละวาดไม่ยอมกิน บ้วนอาหารทิ้ง ถ้าพ่อแม่บังคับให้กินมาก ๆ เด็กจะอาเจียนออกมา
สาเหตุที่เด็กปฏิเสธไม่ยอมกินอาหารมีดังนี้
1. พัฒนาการของเด็ก เด็กอายุ 1-2 ขวบที่เริ่มเดินได้ พูดได้ จะต้องการเล่น ต้องการสำรวจสิ่งแปลกใหม่มากกว่า อีกอย่างหนึ่งคือเด็กวัยนี้ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้อง การจับช้อนและหยิบอาหารเข้าปากเอง ถ้าพ่อแม่ห้ามปรามและดุว่าลงโทษเด็ก ๆ ก็จะอาละวาดไม่ยอมกินอาหารได้
2. ความต้องการอาหาร ปริมาณความต้องการอาหารและความอยากอาหารในแต่ละมื้อของแต่ละคนไม่เท่ากัน บ่อยครั้งที่ในตอนเช้าเด็กยังไม่อยากอาหาร แต่จะถูกพ่อแม่บังคับให้กินอาหาร
3. ความชอบและไม่ชอบอาหาร แม่มักจะเตรียมอาหารให้เด็กเล็กในแต่ละมื้อซ้ำ ๆ กัน เด็กจึงเบื่ออาหารในบางมื้อได้
4. ความเจ็บป่วย เมื่อเด็กเจ็บป่วยเด็กจะงอแงและเบื่ออาหารได้
5. ปัจจัยด้านพ่อแม่
ความกังวลของพ่อแม่ ผู้ใหญ่ที่เลี้ยงดูเด็กอาจกังวลอย่างมากว่าเด็กจะได้อาหารไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายและสมองไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร จึงบังคับให้เด็กกินอาหารเยอะ ๆ ทั้ง ๆ ที่เด็กได้อาหารเพียงพอแล้ว
พ่อแม่เอาใจใส่เรื่องน้ำหนักของเด็กมากเกินไป โดยปกติในขวบปีแรกเด็กจะเจริญเติบโตค่อนข้างมาก น้ำหนักเพิ่มเป็น 3 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด ส่วนสูงเพิ่มขึ้นถึง 25 ซม. แต่ในปีที่ 2 น้ำหนักเด็กจะเพิ่มขึ้นเพียง 3 กิโลกรัมใน 1 ปี และส่วนสูงเพิ่มเพียง 10-15 ซม. เท่านั้นจึงทำให้พ่อแม่รู้สึกไม่สบายใจคิดว่าลูกมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ
คำนึงถึงหลักโภชนาการมากเกินไป พ่อแม่บางคนพยายามให้เด็กได้รับอาหารครบทุกหมู่ในแต่ละมื้อตามหลักโภชนาการ จึงบังคับเคี่ยวเข็ญเด็กในเรื่องกินอย่างมาก
ขาดความเข้าใจพัฒนาการเด็ก เด็กอายุ 2-3 ขวบจะมีลักษณะเป็นตัวของตัวเอง ถ้าพ่อแม่บังคับเด็กก็จะต่อต้าน
ขาดทักษะในการเลี้ยงดู พ่อแม่บางรายไม่รู้จักวิธีเล่นหรือมีกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกับเด็กที่จะทำให้เด็กมีความสุข พ่อแม่จะคอยดูแลเอาใจใส่และสนใจเฉพาะเรื่องอาหารการกินเท่านั้น
อิทธิพลจากญาติพี่น้อง บางครั้งญาติผู้ใหญ่ผลักดันทั้งทางตรงและทางอ้อมให้พ่อแม่เคี่ยวเข็ญเรื่องอาหารกับเด็ก ทำให้เด็กเบื่อและต่อต้านผู้ใหญ่

วิธีแก้ไข
- ถ้าหากว่าเด็กมีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติ พ่อแม่ไม่ควรกังวลเรื่องนี้มากนัก
- ควรเตรียมอาหารให้เด็กเป็นเวลาและครบทุกมื้อ จัดอาหารให้เด็กที่โต๊ะอาหาร ไม่เคี่ยวเข็ญ บังคับหรือเสียงดังกับเด็กมากเกินไป และไม่ควรดึงดูดความสนใจเด็กจากการกินอาหาร เช่น ไม่เอาของเล่นมาล่อ ไม่เปิดการ์ตูนให้เด็กดูในเวลาอาหาร กำหนดเวลากินไม่ควรเกิน 30 นาที
- ตักอาหารให้เด็กในปริมาณน้อย ถ้าหมดแล้วค่อยเติมใหม่
- ให้เด็กลองใช้ช้อนตักอาหารกินเอง ถึงแม้จะเลอะเทอะบ้างก็ตาม
- ไม่ควรบังคับหรือเคี่ยวเข็ญถ้าเด็กไม่ยอมกินหรือกินน้อย ให้เก็บอาหารเมื่อหมดเวลาตามที่กำหนดแล้ว เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่า "ความหิว" เป็นอย่างไร พ่อแม่ส่วนมากมักจะให้อาหารอย่างอื่นทดแทนเมื่อเด็กไม่ยอมกินข้าวจึงทำให้เด็กไม่หิว ดังนั้นไม่ควรให้ขนม นม น้ำหวานหรือผลไม้ทดแทน นอกจากน้ำเปล่าจนถึงมื้อถัดไป
- ควรเปลี่ยนแปลงเมนูอาหารลูกรักบ้าง เพิ่มสีสันให้ดูน่ารับประทาน
- ถ้าเด็กเลือกกินและไม่ยอมกินผัก ควรจะผ่อนปรน ไม่ต้องบังคับเคี่ยวเข็ญแต่อาจเปลี่ยนรูปแบบอาหารทำเป็นผักชุบแป้งทอดให้เด็กลองชิมดู ถ้าเด็กชอบจึงเพิ่มปริมาณมากขึ้น เด็กบางคนอาจไม่ยอมเคี้ยวหมู จึงบ้วนคายทิ้ง อาจจะหั่นชิ้นเล็ก ๆ แบบลูกเต๋าให้ลองชิม
- พูดชมเชยถ้าเด็กกินได้ดีหรือลองชิมอาหารรสชาติใหม่ ๆ บางครั้งอาจต้องมีเทคนิคเล็กน้อยให้เด็กยอมกินยอมเคี้ยว เมื่อเด็กกินได้ดีควรชมเชย.


ขอขอบคุณบทความ จาก นสพ..เดลินิวส์ คอลัมน์ชีวิตและสุขภาพ





Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2554 13:55:31 น.
Counter : 1894 Pageviews.

0 comment
เจ้าตัวน้อยไม่ยอมนอนกลางวัน
เจ้าตัวน้อยไม่ยอมนอนกลางวัน

ลูกดิฉันไม่ค่อยยอมนอนกลางวันเลยค่ะ ติดแต่จะเล่นอย่างเดียว ทั้งๆที่รู้นะคะว่าเขามีอาการง่วงร้องโยแยต้องกล่อมตั้งนานกว่าจะนอนหลับ ทำอย่างไรดีคะ

การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเตาะแตะนั้นมีอยู่ตลอดเวลา จากเด็กทารกที่นอนหลายชั่วโมงในตอนกลางวัน เขาก็จะเริ่มนอนน้อยลง จากคำถามที่คุณแม่ถามเข้ามานั้นอธิบายได้ง่ายมากค่ะ การที่เจ้าตัวน้อยของคุณไม่ยอมนอนนั้นก็เพราะว่าเขารู้สึกว่ามีสิ่งที่น่าสนใจรอบๆตัวเขาอีกตั้งมากที่จะต้องสำรวจและศึกษา แล้วจะเสียเวลาไปกับการนอนไปทำไม
คุณลองนึกถึงเวลาเราอ่านหนังสือที่สนุกมาก อ่านแล้ววางไม่ลงแม้ว่าดึกดื่นแค่ไหนแต่เราก็ยังฝืนอ่านอยู่ เด็กๆก็มีความรู้สึกเหมือนกับเราค่ะ เด็กบางคนนั้นมีความอยากรู้อยากเห็นมาก ยังติดใจสิ่งที่ยังเล่นอยู่ แม้ว่าร่างกายเขาจะอ่อนเพลียแล้วแต่เขาก็ไม่อยากหลับ คุณอาจจะสังเกตว่าเขาหาว เอามือขยี้ตา หรือรู้สึกหงุดหงิด แต่ก็ไม่ยอมนอนเสียที แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี

ต้องเข้าใจธรรมชาติของเขาก่อน
ก่อนอื่นเราต้องมาเข้าใจธรรมชาติของเด็กว่าเด็กในวัยเตาะเตะ (1-3 ปี) นั้นจะนอนน้อยกว่าเด็กวัยทารก (1 ขวบปีแรก) เขาจะลดเวลานอนกลางวันเหลือ 1-2 ครั้งต่อวัน โดยส่วนใหญ่เขาจะไม่นอนในตอนเช้า คุณอาจจะต้องปรับเวลาการนอนกลางวันในตอนบ่ายให้เร็วขึ้นอีกนิดหนึ่ง อาจจะเป็นหลังอาหารกลางวัน เพราะถ้าเราให้เขานอนในตอนบ่ายแก่ๆเกินไปจะทำให้เขานอนดึกมากขึ้น

จัดตารางเวลานอนให้สม่ำเสมอ
การที่ให้เขานอนในเวลาเดียวกันทุกวันจะเป็นการสร้างนิสัยการนอนที่ดี เขาจะรู้แล้วว่าถึงเวลานอนแล้ว ร่างกายของเขาจะปรับตัวให้หลับได้เองง่ายขึ้น ควรให้เขานอนในที่นอนของเขาทุกๆครั้ง เพราะจะทำให้เขาหลับง่ายและหลับนาน การให้เขานอนในที่ต่างๆ เช่น โซฟา หรือ ฟูกกับพื้น อาจจะทำให้การนอนในหนต่อๆไปลดน้อยลงได้
หากเขามีตุ๊กตาหรือหมอนใบโปรด ให้เขากอดสิ่งเหล่านั้นก็จะทำให้หลับได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะถ้าแกต้องไปนอนในที่อื่นๆ เช่น เนอสเซอรี่ หรือบ้านญาติๆ

พยายามสร้างนิสัยให้เขานอนหลับได้ด้วยตัวเอง
การเลี้ยงลูกแบบไทยๆของเราบางครั้ง เช่น การอุ้มให้หลับ หรือ ไกวเปล นั้นอาจจะทำให้เราเหนื่อยมากเกินกว่าที่จำเป็น เราสามารถเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ได้โดยสร้างนิสัยการนอนที่ดีให้กับเขาตั้งแต่เริ่มต้น คุณควรจะฝึกให้เขานอนได้ด้วยตนเอง โดยให้เขานอนบนที่นอนของเขา พูดกับเขาว่า “ถึงเวลานอนแล้วนะลูก นอนได้แล้วจ๊ะ” จากนั้นคุณก็ควรจะทำกิจกรรมตามปกติของคุณต่อไป ให้เขาอยู่ในที่นอนเขาอย่างสงบ แต่หากว่าแกร้องอยากให้คุณกล่อม คุณก็สามารถไปกล่อมแกได้ เมื่อแกเริ่มสงบลงคุณก็ควรปลีกตัวออกมา การที่คุณอยู่จนแกหลับไปทุกครั้งจะเป็นการสร้างข้อแม้กับแกทำให้คุณต้องอยู่กั



Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2554 13:54:47 น.
Counter : 539 Pageviews.

0 comment
การฝึกนิสัยการนอนในเด็กวัยเตาะแตะ
การฝึกนิสัยการนอนในเด็กวัยเตาะแตะ

เคล็ดลับในการฝึกให้เด็กทารกและเด็กเล็ก มีนิสัยในการนอนที่ดี นอนเป็นเวลา และนอนได้นาน มีดังนี้

- กำหนดเวลานอนของเด็กให้เป็นเวลา เวลานอนควรกำหนดให้เป็นระยะหลังกินนม หลังจาก 16.30 น. ไม่ควรให้เด็กนอน แต่ควรหากิจกรรมอื่นๆ ให้เด็กทำ เช่น นอนเล่น พาไปเดินเล่นกลางแจ้ง เป็นต้น
- จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การนอน ห้องนอนต้องสงบเงียบ เด็กส่วนมากจะนอนหลับเมื่อพาเข้านอน ภายในเวลาประมาณ ฝ - 1 ฝ ชั่วโมง
- ให้เด็กได้เรียนรู้ว่า การนอนเป็นสิ่งที่ดี ไม่ใช่เรื่องฝืนใจกัน ก่อนถึงเวลานอน ผู้ใหญ่ควรเตือนเด็กล่วงหน้า และไม่ปล่อยให้เด็กเถลไถลนาน ควรจูงมือพาไปนอนทันที
- ก่อนนอนให้เด็กดื่มน้ำ และปัสสาวะให้เรียบร้อย
- ไม่ควรใช้การนอนเป็นการลงโทษเด็ก
- ถ้าเด็กชอบบางสิ่งบางอย่างเป็นพิเศษ ก็ให้เอาไปนอนด้วยได้ เพื่อความอบอุ่นทางใจ
- ไม่ควรให้เด็กตื่นเต้นก่อนนอน และไม่ควรหลอกเด็กหรือเล่าเรื่องน่ากลัว หรือขู่เด็กเกี่ยวกับการนอน เด็ก 1-4 ขวบ ควรมีเวลาพักผ่อนก่อนกินอาหารกลางวัน ควรให้ดูหนังสือเงียบๆ หรือฟังนิทานเบาสมอง เป็นต้น
- การเลี้ยงทารกในเวลากลางคืน โดยเฉพาะทารกแรกเกิด-6 เดือน ควรเปิดไฟ 5-10 แรงเทียน ไว้1 ดวง เพื่อความสะดวก ในการลุกขึ้นดูแลทารกในช่วงกลางดึก



Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2554 13:54:11 น.
Counter : 406 Pageviews.

0 comment
การฝึกนิสัยการนอนในเด็กเล็ก
การฝึกนิสัยการนอนในเด็กเล็ก
จากโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
เคล็ดลับในการฝึกให้เด็กทารกและเด็กเล็ก มีนิสัยในการนอนที่ดีนอนเป็นเวลา และนอนได้นาน มีดังนี้
กำหนดเวลานอนของเด็กให้เป็นเวลาเวลานอนควรกำหนดให้เป็นระยะหลังกินนม หลังจาก 16.30 น. ไม่ควรให้เด็กนอนแต่ควรหากิจกรรมอื่นๆ ให้เด็กทำ เช่น นอนเล่น พาไปเดินเล่นกลางแจ้ง เป็นต้น
จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การนอน ห้องนอนต้องสงบเงียบเด็กส่วนมากจะนอนหลับเมื่อพาเข้านอน ภายในเวลาประมาณ 0 - 1 ชั่วโมง
ให้เด็กได้เรียนรู้ว่า การนอนเป็นสิ่งที่ดี ไม่ใช่เรื่องฝืนใจกันก่อนถึงเวลานอน ผู้ใหญ่ควรเตือนเด็กล่วงหน้า และไม่ปล่อยให้เด็กเถลไถลนานควรจูงมือพาไปนอนทันที
ก่อนนอนให้เด็กดื่มน้ำ และปัสสาวะให้เรียบร้อย
ไม่ควรใช้การนอนเป็นการลงโทษเด็ก
ถ้าเด็กชอบบางสิ่งบางอย่างเป็นพิเศษ ก็ให้เอาไปนอนด้วยได้เพื่อความอบอุ่นทางใจ
ไม่ควรให้เด็กตื่นเต้นก่อนนอนและไม่ควรหลอกเด็กหรือเล่าเรื่องน่ากลัว หรือขู่เด็กเกี่ยวกับการนอน เด็ก 1-4 ขวบควรมีเวลาพักผ่อนก่อนกินอาหารกลางวัน ควรให้ดูหนังสือเงียบๆ หรือฟังนิทานเบาสมองเป็นต้น
การเลี้ยงทารกในเวลากลางคืน โดยเฉพาะทารกแรกเกิด-6 เดือนควรเปิดไฟ 5-10 แรงเทียน ไว้ 1 ดวง เพื่อความสะดวกในการลุกขึ้นดูแลทารกในช่วงกลางดึก



Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2554 13:53:40 น.
Counter : 507 Pageviews.

0 comment
1  2  

มนแพรวา
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]