พ่อนั้นสำคัญไฉน

บทความจากนิตยสาร healthtoday
หลายคนอาจเห็นใจว่าการเป็นแม่ และพ่อมือใหม่ที่ต้องเลี้ยงดู ลูกนั้น เป็นเรื่องที่น่าสะพรึงกลัว และควรกังวลอยู่ไม่น้อย กลัวว่าจะทำ อะไรไม่ถูก กลัวจะเลี้ยงลูกได้ไม่ดี ซึ่งถ้าอยากให้ลูกเติบโตขึ้นมามีความ สมบูรณ์แบบ ลูกก็ควรจะได้รับการดูแลทั้งจากพ่อ และแม่อย่างเต็มที่
มีการศึกษาพบว่าเด็กที่มีพ่ออยู่ดูแลใกล้ชิด มีเวลาให้ลูกมาก เด็กจะมี พัฒนาการ และความสามารถในการเรียนรู้ที่สมบูรณ์กว่า
พื้นอารมณ์ และนิสัยของพ่อ
ในชีวิตประจำวัน พ่อและแม่ย่อมเลี้ยงลูกต่างกัน แม่มักเป็นผู้ให้ความมั่นคง ความอบอุ่น และเตือน ให้ระแวดระวัง ส่วนพ่อมักให้อิสระ และโอกาส ลองทำสิ่งต่างๆ เมื่อลูกได้รับการเลี้ยงดูจากทั้งพ่อและแม่ ลูกย่อมมีความมั่นใจเพราะมีแม่เป็นที่พึ่ง ขณะเดียวกันก็มีพ่อเป็นกำลังใจ และเปิดโอกาสให้ค้นพบ ทดลอง ลองเล่นสิ่งใหม่ๆในชีวิต ทั้งสองประการเป็นสิ่งที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน ให้ลูกเกิดการเรียนรู้ที่ดี
พ่อจึงควรทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก ลูกจะเรียนรู้จากการกระทำของพ่อ มากกว่าคำสั่งสอน เช่น พ่อขี้โมโหควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ถึงจะพร่ำสอนให้ลูกอดทน ใจเย็น ท้ายที่สุดลูกมักจะเป็นคนอารมณ์ร้อนเหมือนพ่อ พ่อที่ร่วมรับผิดชอบในบ้าน ช่วยแม่ล้างจาน ดูแลต้นไม้ ไม่ใช่กลับถึงบ้านก็นั่งดูแต่ทีวี หรือนอน ไม่เป็นธุระในบ้านเลย ลูกก็จะได้นิสัยเหมือนกับพ่อ หรือนิสัยที่มีความกล้าก็ปลูกฝังให้แก่ลูกได้ เช่น แนะนำ ให้ลูกรู้จักกีฬาใหม่ๆ ลองทำกิจกรรมต่างๆ กล้าพูดคุย กล้าแสดงออกในเรื่องที่ถูกที่ควร ขอให้ลูกได้ทดลอง ลองทำดูก่อน หากชอบพ่อก็ส่งเสริม หากลูกไม่ชอบก็ไม่บังคับ ลูกจะโตขึ้นเป็นคนที่กล้าลอง และรู้จัก พิจารณาความต้องการของตนเอง รู้การประเมินจิตใจของตนเอง และเข้าใจตนเองว่าชอบ หรือไม่ชอบเพราะเหตุใด และกล้าตัดสินใจ
สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ลูกเลียนแบบ และมักจะโตขึ้นเป็นเหมือนพ่อ นั่นคือลักษณะพื้นอารมณ์ และ การแสดงความรู้สึก หากพ่อเป็นคนเก็บความรู้สึก ไม่เคยแสดงความรู้สึกใดๆ ออกมาเลย ลูกจะโตขึ้นเป็น เช่นนั้น แต่หากพ่อเป็นคนแสดงความรู้สึกออกมา ลูกก็จะรู้จักการแสดงอารมณ์ออกมาเช่นกัน เราคงต้อง การให้ลูกแสดงอารมณ์ความรู้สึกในขณะต่างๆ เพื่อจะได้เข้าใจว่าลูกคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร เพื่อจะได้ ให้การดูแล เอาใจใส่ ให้คำอธิบาย หรือให้การปลอบโยนเป็นไปอย่างเหมาะสม แต่หากคุณเป็นพ่อที่มีนิสัย เฉยๆ ไม่ค่อยแสดงออก คุณคงต้องพยายามปรับตัว พูดคุย แสดงความรู้สึกของคุณต่อแม่ และต่อลูก
ในมุมกลับกันพ่อ และแม่ก็ต้องให้ลูกรู้ว่าบางครั้งเราอาจเก็บความรู้สึกไม่แสดงออกมาก็ได้หากไม่เหมาะสม
แต่ทุกเวลาที่ลูกรู้สึกไม่สบายใจ พ่อและแม่จะต้องพร้อมรับฟังลูกเสมอ
พ่อ และแม่ย่อมมีวิธีการเลี้ยงลูกที่แตกต่างกัน
พ่อแต่ละคนย่อมมีวิธีการเลี้ยงลูกแตกต่างกันไป ตั้งแต่คุณพ่อที่ทำอะไรให้ลูกแบบเก้ๆ กังๆ จนถึง คุณพ่อที่เนี๊ยบทุกกระเบียดนิ้ว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแบบแรกมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับแม่แล้วจะเห็นได้ ชัดเจน เพราะโดยพื้นฐานผู้หญิงจะมีความละเอียดอ่อนนุ่มนวลกว่ามาก ลักษณะที่แสดงออกต่อลูกจึง แตกต่างกันแน่นอน
ในการเลี้ยงลูกไม่ใช่เรื่องแปลกที่แม่มักจะมีความรู้สึกว่าพ่อดูแลลูกได้ไม่ถูกใจ เพราะว่าปล่อยให้ พ่อเป็นคนดูลูกเมื่อไร ลูกมักจะมอมแมม เสื้อผ้าเปื้อนเลอะดูไม่ได้ แถมอาบน้ำให้ลูกก็ไม่เกลี้ยงอย่างที่คุณแม่ ต้องการ แต่พ่อทุกคนต่างต้องการที่จะเป็นพ่อที่ดีเสมอ พร้อมจะเสียสละความสุขส่วนตัว พร้อมที่จะเผชิญ กับความท้าทายทางอารมณ์ จิตใจ ทุ่มเททรัพย์สินเงินทอง รวมทั้งสติปัญญาให้กับลูก และครอบครัว แต่ สิ่งที่สำคัญคือพ่อกับแม่นั้นมีความสามารถในการเลี้ยงลูกแตกต่างกัน
พ่อมักจะเลี้ยงลูกแบบไม่ยึดติดกรอบระเบียบมากนัก และทำให้ทุกนาทีมีค่า แม้จะเป็นงานดูแลลูก ก็ยังทำให้เป็นเรื่องสนุกได้ เด็กเล็กๆ เมื่อเห็นหน้าแม่มักจะสงบ เงียบ รู้สึกผ่อนคลาย ตาปรือ ต่างกับเมื่อเห็น หน้าพ่อ เด็กมักจะขยับตัว ตื่นเต้น ทำตาโต หายใจเร็วขึ้น เหมือนเตรียมตัวให้พ่อเข้ามาอุ้ม และเตรียมพร้อมจะเล่นกับพ่อด้วยความตื่นเต้น
เด็กที่ใกล้ชิดพ่อจะโตขึ้นอย่างมั่นใจในตนเอง อยากรู้อยากเห็น ไม่ท้อถอยเมื่อเผชิญกับอุปสรรค หรือปัญหา สิ่งเหล่านี้จะเห็นได้ตั้งแต่เด็กอายุน้อยๆ เช่น เมื่อเด็กเริ่มรู้จักการคลาน จะกล้าผลัก หรือดัน หมอนที่มาขวางหน้า หรือหากไม่สำเร็จก็จะถอย แล้วอ้อมไปทิศใหม่เป็นต้น ขณะที่เด็กซึ่งถูกเลี้ยงโดยแม่ ตามลำพังมักจะส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือโดยไม่ลองแก้ไขเอาชนะอุปสรรคเอง
การเล่นกอดรัดฟัดเหวี่ยงเป็นการช่วยเตรียมใจให้เด็กพร้อมรับมือกับความเครียด หรือความ วุ่นวายใจได้ดีขึ้น เพราะเมื่อเด็กเล่นกับพ่อนั้น มักจะเล่นแรงกว่าแม่ แต่เมื่อลูกเจ็บพ่อจะช่วยปลอบโยน ซึ่ง จะช่วยให้เด็กรู้จักการปรับอารมณ์ ปรับความรู้สึกจากความเจ็บซึ่งกำลังจะร้องไห้ ให้สงบลงได้ เพราะพ่อ มักไม่ตกอกตกใจมากเหมือนแม่ และจะโอ๋ลูกมากกว่า ทำให้เด็กไม่อดทน และอ่อนไหวทางอารมณ์
นอกจากลูกจะได้ประโยชน์จากการที่ใกล้ชิดพ่อแล้ว พ่อเองก็ได้ประโยชน์จากลูกเช่นกัน พ่อที่ ใกล้ชิดลูกมักจะมีความอ่อนโยนในจิตใจ ไม่เรื่องมาก และมีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังมีแนวโน้ม ที่จะแยกกันอยู่กับภรรยา หรือหย่าร้างน้อยกว่าด้วย
ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าพ่อเลี้ยงลูกดีกว่าแม่ แต่วิธีการเลี้ยงที่ต่างกันนั้นทำให้ลูกได้รับ ประโยชน์สูงสุด
พ่อ คืออีกครึ่งหนึ่งในชีวิตของลูก
โปรดระลึกไว้ว่า เด็กจำสิ่งที่คุณสอนได้ไม่เกินร้อยละ 20 แต่เด็กจะจดจำสิ่งที่คุณทำได้มากกว่า
การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งสำหรับเด็ก พ่อที่ดีต้องสามารถเล่นกับลูกพร้อมกับสอดแทรกการสอน
การเรียนรู้เข้าไปในการเล่นนั้นๆ
เด็กที่มีพ่อดูแลใกล้ชิด จะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีความมุ่งมั่น และไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และให้เกียรติ ผู้อื่น เด็กแทบจะไม่เคยมองว่าพ่อที่ใกล้ชิดของตนเองเป็นวีรบุรุษ เพราะความคุ้นเคย แต่เด็กจะรู้สึกว่าพ่อ คือพ่อของเขาที่มีความใกล้ชิด และสื่อสารกันได้ง่าย ต่างจากเด็กที่ไม่ได้ใกล้ชิดพ่อ มักจะสร้างจินตนาการ ว่าพ่อเป็นวีรบุรุษ เป็นคนสำคัญ เพราะเด็กไม่มีความทรงจำของพ่อในชีวิตประจำวัน
พ่อนั้นมีบทบาทช่วยเติม และเสริมบทบาทของแม่ในการดูแลลูกให้เต็ม และสมบูรณ์ พ่อและแม่ ไม่สามารถทดแทนกันได้ เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีที่สุดเมื่อมีพ่อและแม่พร้อมหน้าในทุกวันของชีวิตวัยเด็ก และมีบทบาทร่วมกันในการดูแลลูก
บทบาทบางอย่างของพ่อ และแม่อาจคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีมุมมองของชีวิตที่แตกต่างกัน เด็กจึง ต้องการความสมดุลในชีวิต และการพัฒนา ซึ่งต้องอาศัยทั้งพ่อ และแม่ เด็กต้องการแม่เพื่อความอบอุ่น ความมั่นคง และความมั่นใจว่ามีที่พึ่งเสมอ เด็กก็ต้องการพ่อเป็นผู้ชี้นำ กระตุ้น ส่งเสริม หรือผลักดัน ให้ก้าวออกไปเผชิญชีวิตนอกบ้าน
เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่สังคมยุคใหม่เด็กต้องโตขึ้นโดยขาดพ่อมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังมี เด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่เพิ่มมากขึ้น คือเด็กที่พ่อยังมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าครอบครัว ยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่ได้ทำ หน้าที่ของพ่อในการเลี้ยงดูลูก ซึ่งมีหลักฐานมากมายแสดงให้ทราบว่า เด็กที่ขาดพ่อนั้นมีความเสี่ยงหลาย ประการในการพัฒนาเพื่อที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ เด็กที่ขาดพ่อ เมื่อโตขึ้นก็จะไม่เข้าใจว่าบทบาทของ พ่อนั้นคืออะไร เมื่อเด็กรุ่นนี้มีครอบครัว มีลูกของตัวเอง ก็ไม่สามารถทำหน้าที่ของพ่อได้อย่างเหมาะสม เป็นการสร้างปัญหาให้กับเยาวชนรุ่นต่อไปมากขึ้น




Create Date : 27 มิถุนายน 2554
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 22:07:50 น.
Counter : 639 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

มนแพรวา
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]