จุกนมยาง อันตรายที่ถูกมองข้าม
ถ้าคุณแม่จำเป็นต้องใช้จุกนมยาง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

AbcNEWS - เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านยังคงมีความเข้าใจผิดๆ คิดว่า การให้ทารกดูดจุกนมพลาสติกเป็นผลดีหลายอย่าง ทั้งทำให้ลูกหยุดร้องไห้เร็ว หย่านมเร็วและไม่ต้องวุ่นวายกับการให้นม แต่ความจริงแล้ว เป็นความคิดที่ผิดมหันต์ เพราะการทำดังกล่าวอาจทำให้ลูกมีปัญหาโดยไม่ได้ตั้งใจได้ ทั้งทางด้านโภชนาการและด้านอารมณ์

โรนัลด์ บาร์ ศาสตราจารย์ด้านกุมารเวชและจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ที่มอนทริอัล ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ได้ร่วมทำการศึกษาเรื่องนี้ กล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้ได้มีการวางแผนกันอย่างจริงจัง และได้ผลสรุป ออกมาว่า หัวนมพลาสติกที่คุณแม่นิยมให้ลูกๆ ดูด ไม่ได้มีผลเกี่ยวข้องอะไรกับระยะเวลาที่จะทำให้ลูกหย่านม หรือความสามารถในการอดนมของเด็กๆ เลย ยิ่งเมื่อมีการจับเวลาที่เด็กร้องไห้ ผลปรากฏว่า ไม่มีความแตกต่างทางด้านเวลาใดๆ ระหว่างเด็กที่ใช้จุกนมยางกับเด็กที่ไม่ได้ใช้ นอกจากนั้นยังอาจนำมาสู่ผลเสียที่คาดไม่ถึงอีกด้วย
ผลเสียประการแรก คือ อาจทำให้เด็กๆ มีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการพูด นายแพทย์โจเซฟ แซงกา หัวหน้าแผนกกุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลโลยีให้ข้อมูลว่า เมื่อให้เด็กๆ ดูดจุกนมยางบ่อยๆ จะทำให้เด็กติดเป็นนิสัย จนต้องดูดอยู่เรื่อยๆ และปัญหาจะปรากฏเมื่อฟันเริ่มขึ้น และเริ่มหัดพูด เนื่องจากการอมจุกนมอยู่ตลอดเวลา จะส่งผลให้เพดานแข็งและฟันที่กำลังงอกเจริญเติบโตผิดรูป นอกจากนั้น ยังทำให้เด็กๆ ไม่สามารถหัดออกเสียงสระ ซึ่งเป็นเสียงแรกของพัฒนาการด้านการพูดด้วย
ผลเสียอีกประการหนึ่ง คือ ผลกระทบด้านจิตใจและอารมณ์ของทารก บาร์กล่าวว่า ไม่แปลกใจเลยที่การใช้จุกนมยางเลี้ยงเด็กส่งผลกระทบด้านอารมณ์และจิตใจด้วย เพราะว่าช่วงที่คุณแม่ให้ทารกดูดจุกนมยาง หมายถึง ช่วงเวลาที่แม่ห่างเหินจากลูก ยิ่งให้ลูกดูดจุกนมยางบ่อยๆ ความใกล้ชิดของแม่ซึ่งทารกจะสัมผัสได้เต็มที่ตอนให้นมลูกแนบอก ก็ยิ่งน้อยลง นั่นอาจทำให้ลูกมีความรู้สึกขาดความใกล้ชิดแม่และขาดความอบอุ่นได้
อย่างไรก็ตาม ก็ใช่ว่าจุกนมยางจะไม่มีประโยชน์ อย่างน้อยก็สามารถช่วยคุณแม่ที่ ไม่สามารถให้นมลูกด้วยตัวเองได้ ด้วยอาจจะมีปัญหาสุขภาพหรือมีความจำเป็นต้องทำงานนอกบ้าน ทำให้ไม่สามารถเลี้ยงลูกในที่ทำงานได้ แต่บาร์ก็เตือนว่า หากมีความจำเป็นต้องใช้จุกยางดังกล่าว ควรจะมีการปรึกษาแพทย์ด้วย ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังที่กล่าวมา



ข่าวจากผู้จัดการรายวัน



Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2554 13:45:29 น.
Counter : 863 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

มนแพรวา
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]