Group Blog
All Blog
<<< “ความหมายจิตตานุปัสสนา” >>>










“ความหมายจิตตานุปัสสนา”

คือการเห็นจิตในจิต ก็เห็นอารมณ์ในจิตไง

ตอนนี้อารมณ์ในจิตเราเป็นอย่างไร

เศร้าหมองหรือเบิกบาน โกรธ หรือเสียใจ หรือดีใจ

 นี่คืออารมณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในจิต

ท่านให้ดูให้เห็นว่ามันไม่เที่ยง

อารมณ์เหล่านี้ มันมาแล้วเดี๋ยวก็ไป

อย่าให้มันมามีอิทธิพลต่อการกระทำของเรา

 มีอารมณ์ไม่ดี เราก็อย่าให้มันบีบเรา

ให้ไปทำในสิ่งที่ไม่ดี พูดไม่ดี

ให้รู้ว่าเดี๋ยวมันก็ผ่านไป

 ถ้าตอนนี้พูดดีไม่ได้ก็เฉยๆ ไว้ก่อนก็แล้วกัน

หุบปากไว้ก่อน อารมณ์ไม่ดี พูดไม่ดีไม่ได้

 แต่ก็อย่าไปกังวลกับมัน

เดี๋ยวอารมณ์ไม่ดีมันก็ผ่านไป

ไว้รออารมณ์ดีแล้วค่อยพูดก็แล้วกัน

 ถ้าต้องพูด ให้เข้าใจว่า

จิตเรามันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา

ตามเหตุการณ์ ตามอะไรที่มาสัมผัสรับรู้

 มันก็มีเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา

ให้เรารู้ทันแล้วเราอย่าไปหลง

ไปติดกับอารมณ์เหล่านั้น

 หรืออยากไปให้อารมณ์เหล่านั้น

อารมณ์ที่ไม่ดีหายไป

 หรืออยากให้มีแต่อารมณ์ดีอยู่ไปเรื่อยๆ

 เพราะความอยากมันจะสร้างความทุกข์ใจ

ขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ที่เราไม่จำเป็นจะต้องสร้าง

 ถ้าเราไม่มีความอยาก แล้วใจเราจะเย็น

 จะอยู่กับอารมณ์ต่างๆได้ อยู่กับอารมณ์ดีก็ได้

 อยู่กับอารมณ์ไม่ดีก็ได้

นี่คือความหมาย จิตตานุปัสสนา.

พระอาจารย์สุชาติ อภิขาโต

..............................

สนทนาธรรมบนเขา

วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๑







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 17 พฤศจิกายน 2561
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2561 9:02:58 น.
Counter : 445 Pageviews.

0 comment
<<< "อุปาทาน" >>>









"อุปาทาน "

ให้พวกเราหมั่นอบรมจิตใจ

พระพุทธเจ้าสอนให้อบรมจิตใจให้ดี

ให้สงบเสียก่อน

 เพราะจิตใจที่สงบตั้งมั่นแล้ว

 เป็นบาทของวิปัสสนา

 จิตตั้งมั่นแล้ว ปัญญามันเกิดขึ้น

มันจึงรู้เท่าสิ่งทั้งปวง บรรดาสิ่งทั้งปวงในโลก

 มันตกอยู่ในไตรลักษณ์หมดทั้งนั้น

 รู้เท่าอันนี้ รู้เท่าสิ่งทั้งปวงแล้ว

เราจะปล่อยวางอัตตภาพ

สิ่งทั้งปวงก็แม่นก้อนธรรมนั่นแหละ

 ก็เรานั่นแหละไม่ใช่อื่น ก้อนสมมุติหมดทั้งนั้น

 ว่าผู้หญิง ว่าผู้ชาย ว่าผู้ดี สมมุติหมดทั้งนั้น

 จริงก็จริงสมมุติ สมมุติไม่พอ

 พระพุทธเจ้าบัญญัติทับลงอีก เรียกว่าธาตุ

ธาตุ ๔ รูปธาตุ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

พระพุทธเจ้าบัญญัติทับลงไปอีกว่า

อายตนะ จักขุวิญญาณัง โสตวิญญาณัง

 ฆานวิญญาณัง ชิวหาวิญญาณัง

กายวิญญาณัง มโนวิญญาณัง

เรามาหลงสมมุติ จกฺขํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ

เพราะมันหลงสมมติ ว่าผู้หญิง ว่าผู้ชาย

 ว่าตัว ว่าตน ว่าเรา ว่าเขา แล้วเข้าใจว่า

 ตาเป็นที่รักใคร่พอใจของตน

 โสตะ หูก็เป็นที่รักของตนในโลก

ฆานะ จมูกเป็นที่รักของตน

 ชิวหะ ลิ้นเป็นที่รักของตน

สัมผัส เย็นร้อนอ่อนแข็งก็ดี เป็นที่รักของตน

 ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ เกิดขึ้น

อดีต อนาคตมารวมอยู่ในปัจจุบันนั่นแหละ

 ตัณหาคือสมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

 ตัวสมุทัยเราไม่รู้เท่ามัน

จึงเป็นเหตุให้เกิดกิเลสมารขึ้น

ความไม่รู้เท่าสังขาร มันจึงทำให้เกิดกิเลสมาร

 ครั้นเกิดกิเลสมารเป็นทุกข์ ความทุกข์มาจากไหน

 มาจากตัณหา ตัณหา ความใคร่ในรูปเสียง

เรียกว่า กามตัณหา เป็นสิ่งที่มีวิญญาณก็ตาม

 ความใคร่ ความพอใจ รักใคร่พอใจ

เกิดแล้วก็อยากได้ อยากเป็น อยากมี

 อยากดี อยากเด่น อยากเป็นนั่นเป็นนี่

 เรียกว่า ภวตัณหา ความไม่พอใจ

เหมือนผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยว

ความแก่งอมแห่งชีวิตอินทรีย์ของขันธ์

 มีรูป มีนาม เกิดขึ้น ไม่พอใจ เกลียดชัง ไม่ชอบ

เรียกว่าวิภวตัณหา

 ตัณหาทั้งสามนี่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เผามัน

ในเบื้องต้นมันจะเกิดเป็นรูปเป็นนาม

ปฏิสนธิ มันก็อาศัยกาม จึงเรียกกามตัณหา

 ความรักใคร่ ความพอใจ มันเป็นเหตุ

ให้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารจักร์

 เพราะความรักใคร่ในกาม

 จึงเกิดเป็นรูปเป็นนามขึ้นมา

 แล้วก็ได้รับทุกข์ต่างๆ นานา

ความทุกข์เกิดขึ้นในกาย

ความไม่ดีเกิดขึ้นในกาย

 เวทนาไม่ดีเกิดขึ้นทางสัมผัสทางกาย

 นี่เรียกว่าความทุกข์กาย

ความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจ ความไม่ดีเกิดขึ้นในใจ

เวทนาไม่ดีเกิดขึ้นแต่สัมผัสทางใจ

อันนี้เรียกว่าโทมนัส ความเสียใจ

 เกิดมีแก่สัตว์ทั้งหลาย มันเฉพาะที่ตัณหา ๓

มันเป็นเหตุให้มีความปรุงความแต่ง

 คือสังขารปรุงแต่งขึ้น

ขึ้นชื่อว่าสังขารแล้ว

จะเป็นสิ่งที่มีวิญญาณอยู่ก็ตาม

 ไม่มีวิญญาณก็ตาม

มันจะตกอยู่ในไตรลักษณ์ทั้งนั้น

พระพุทธเจ้าเรียกว่าขันธ์ ขันธ์ ๕ เป็นรูป เป็นขันธ์

 เรียกว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่แน่นอน

ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา รูปเป็นอุปาทานขันธ์

ถือว่าเป็นตัวตน จึงเป็นทุกข์

ปัญจุปาทานักขันธา อนัตตา

 ขันธ์ทั้งหลายไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์

ท่านให้พิจารณาให้รู้เท่า รู้เท่าอย่างนี้แล้ว

 เห็นชัดอยู่ที่จิตแล้ว จิตมันจะได้ไม่ยึดถือ

 มันจะปล่อยวาง มีความคลายกำหนัด

 ไม่ถือว่าเราว่าเขา ไม่ยึดในอุปาทานขันธ์

ปล่อยวางอุปาทานขันธ์

สิ่งทั้งปวงนั่นน่ะ ก็เพราะว่าจิตนั่นแหละ

ไปยึดไปถือเอา ทุกสิ่งทุกอย่าง

ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

มันถือเอาเป็นของเราหมดทั้งนั้น

 ให้รู้เท่าว่าเป็นของอสุภะอสุภัง

 ของไม่สวยไม่งาม เป็นของปฏิกูลน่าเกลียด

แล้วจิตมันจะมีความเบื่อหน่าย รู้เท่าทัน

จิตเบื่อหน่ายแล้ว จิตวางขันธ์ วางก้อนนี้ว่า

 ไม่ใช่ผู้หญิงผู้ชาย พิจารณาให้มันเห็นลงไป

 ไม่ใช่เขาไม่ใช่เรา เป็นของกลาง

 จิตเป็นผู้จัดการ เป็นผู้บัญชาการ เอาอยู่อย่างนั้น

 เพราะมันเข้าใจว่าเป็นตัวเป็นตน

มันบัญชาการว่าเป็นตัวเป็นตน

 มันอยากได้อยากมี ทะเยอทะยาน

 เมื่อมันวางแล้ว จิตว่าง จิตว่างจากคนจากสัตว์

 จิตว่างจากคน จิตก็ร่าเริงบันเทิง จิตผ่องใส

 จิตเบา จิตควรแก่การงาน ควรแก่กรรมฐาน

 พิจารณากรรมฐานให้มันไม่ยึดไม่ถืออะไร

 แล้วจิตว่าง มันเห็นว่าไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์แล้ว

 แต่เราทำไปเพราะต้องอาศัยก้อนนี้

 ก้อนธรรมอันนี้ทำไป เลี้ยงมันไป ปฏิบัติมันไป

 พระอริยเจ้าอาศัยสร้างบารมีเท่านั้น

 ครั้นไม่มีก้อนอันนี้แล้ว มีแต่ดวงจิตเท่านั้น

จะไม่สำเร็จอะไรหมดทั้งนั้น เพราะมันมีแต่จิต

รูปอันนี้เหมือนกันกับกระบอกเขาโฆษณา โว้ๆๆ น่ะ

 เหมือนกันนั่นแหละ มันมีรูปอันนี้

เสียงอันนั้น มันก็ดังออก

 ผู้นั้นไม่มีอยู่แต่กำลังจิตนั่น

 พูดไม่ออก ขอยืมเครื่องมาพูดกันหน่อยเถอะ

ว่ายังงั้น มันไม่มีรูปแล้วมันก็พูดไม่เป็น จิตนั่นน่ะ

 ดวงวิญญาณน่ะ มันพูดไม่เป็น

 พูดไม่ออก ไม่มีเสียง

ถ้ามีก้อนอันนี้ มันจึงออกเป็นเสียงดังก้องออกไป

ต้องอาศัยมันนั่นแหละ

มนุษย์เป็นชาติอันสูงสุด ได้อัตภาพมาดีแล้ว

พวกเราไม่ควรประมาท ไม่ควรนอกใจ

ในความเป็นอยู่ของสังขาร ว่ามันจะมั่นคง

 คงทนไปอีกเมื่อไร เราไม่รู้ ถ้าปัญญาไม่ฉลาด

 มัจจุราชคืบคลานเข้ามา

พระยามัจจุราชจะมาคว้าคอเราอยู่แล้ว

 แน่นอนทีเดียว ความตายไม่ต้องสงสัย

เป็นแต่ตายก่อนตายหลังกันเท่านั้น ไม่เลือกสักคน

 ผลที่สุดกลับเป็นดินไปหมด

 อัตภาพว่าเป็นของเราแล้ว

 เมื่อสิ้นลมหายใจแล้วก็นอนทับแผ่นดิน

 เอาไปไม่ได้ด้วยซ้ำ

เพราะจิตมันเป็นบ้า มันหลง หลงร่างกาย

 พอได้ความนอบน้อมสรรเสริญก็ดีใจ

ผู้อื่นเขาติฉินนินทา ก็ยุบลง

 จิตไม่รุ้เท่าตามความเป็นจริงของสังขาร

มันจะได้ความสุขมาจากไหน

พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้

 คนตาบอดยากที่จะบำบัดโรคตาบอด

ให้มันตาแจ้ง ก็มีอยู่คือปัญจกรรมฐาน

 กรรมฐาน ๕ พระพุทธเจ้าให้น้อมเข้ามา

ค้นคว้ากรรมฐาน ๕ นี้

เกศา ผม โลมา ขน นขา เล็บ

 ทันตา ฟัน ตะโจ หนัง ตจ ปริยนฺโต

หนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

ปุโร นานัปปารัสสะ อสุจิโน

 เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ นั่น

นี่แหละ ลืมตาขึ้นมาให้มันเห็น

 แล้วตั้งใจทำอยู่อย่างนั้น

ไม่ใช่ทำวันเดียว เดือนหนึ่ง

 หรือปีหนึ่ง ทำเอาตาย

 เอาชีวิตเป็นแดน เรื่องทำความเพียร

ถ้าดีแล้วก็ไม่เหลือวิสัย ความจะพ้นทุกข์มันมีน้อย

 มีอยู่ในอัตภาพนี้แหละ ไม่ได้อยู่ที่อื่น

 จิตว่างเท่านั้นแหละ ว่างโม๊ด

ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่ได้เกี่ยวข้อง

ไม่ใช่ตัวตนของตน มันไม่ยึด มันก็พ้นทุกข์

 ก็มีสุข จิตอบรมดีแล้ว มันก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง

เป็นจิตเลื่อมประภัสสร จึงเห็นชัดว่าดี

แล้ว จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตฝึกดีแล้วนั้น

นำเอาความสุขมาให้ไม่มีที่สิ้นสุด

 นี่เรามันตามืด ตามัว ตาบอด ตาขุ่น ตามัว

 มันไม่เห็นหนทาง มันก็งมๆ ไป

 ตกหลุมเสีย งูเห่ามันอยู่ในหลุมนั่น

ตกลงไปงูเห่ากัดตาย อยู่อย่างนั้นไม่มีที่สิ้นสุด

 เทียวเกิดเทียวตาย

จงตั้งใจพิจารณา ธาตุก้อนอันนี้แหละ

 พิจารณาเข้า เป็นธาตุหรือ หรือสัตว์ หรือคน

 ก้อนนี้น่ะ หลอกลวงเรา กัดเรา ไม่มีความสุข

 เพราะเหตุนั้น หัวใจมันจึงขุ่นมัว

เมื่อมันรู้เท่า มันปล่อยวางแล้ว

 นั่นแหละจิตมันจึงจะลืมตาได้ เห็นความสว่าง

 เหมือนกับดวงจันทร์ ถ้าถูกเมฆครอบงำแล้ว

 ก็มืด ไม่เห็นฟ้า เห็นสิ่งทั้งปวง

เมื่อก้อนเมฆผ่านไป ลมตีไปแล้ว

ไม่มีอะไรปิดบังดวงจันทร์แล้ว

 ดวงจันทร์ก็แจ่มจ้า สว่างไสว

ฉันใด ท่านผู้มีความเพียร

ฝึกอยู่จนเป็นนิสัยของตนแล้ว

เห็นตามความจริงของสังขารแล้ว

ว่ามีความเกิดขึ้นในเบื้องตน

 มีความแปรปรวนในท่ามกลาง

มีความแตกสลายไปในที่สุด

ไม่มีอะไรเป็นสาระแก่นสาร

พอจิตว่าง จะมีแต่ความสว่างไสว

มันก็มีแต่ความสุข ไม่มีอะไรจะเปรียบ

 เอาอะไรที่เป็นแก่นสาร

ไม่มีอะไรที่จะเป็นแก่นสารแล้ว

จิตมันก็ไม่มีตนมีตัว เมื่อมันว่าตนว่างตัวแล้ว

ก็เป็นจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ให้ตั้งใจทำความเพียร

 อย่าไปนอนใจว่าเราจะยืนไปอีกเท่านั้นเท่านี้

 ไม่มีรู้ กาลโน้น กาลนี้ เวลาใดไม่มี

 เวลามันต้องเป็นไปตามกรรม

สุดแต่กรรมจะเทไป. 

  พระอาจารย์ขาว อนาลโย

.......................................

คัดลอกมาจาก ::
หนังสืออนาลโยวาท
พระธรรมเทศนาของ

  พระอาจารย์ขาว อนาลโย






ขอบคุณที่มา fb. ไม้ขีดครับ
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 06 พฤศจิกายน 2561
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2561 9:13:29 น.
Counter : 464 Pageviews.

0 comment
<<< " นั่งสมาธิที่ถูกต้อง" >>>










“นั่งสมาธิที่ถูกต้อง”

ถาม : เรียนถามพระอาจารย์ครับ

 การนึกพุทโธถี่ๆ เป็นการเพิ่มสติหรือสมาธิครับ

พระอาจารย์ : อ๋อ สติ

 คือ บางทีสติช้าๆมันยังแวบไป

คิดถึงคนนั้นคนนี้ได้ เรื่องนั้นเรื่องนี้ได้

ก็ให้มันถี่ขึ้น เหมือนขับรถนี่

ถ้าเราไม่อยากให้รถที่เขามาแทรกมาปาดหน้าเรา

 เราต้องขับให้มันติดกับท้ายรถของคันหน้าเลย

 อย่างนี้ รถที่จะมาแทรกเข้ามาก็เข้ามาไม่ได้

 ดังนั้น พุทโธก็ต้องถี่หน่อย

มันก็จะแทรกไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ได้

 แต่ถ้าพุทโธ พุทโธ เดี๋ยวมันก็แวบไปได้

 แต่มันเหนื่อยหน่อยนะถ้าถี่ๆนี่

 มันอาจจะใช้ได้เป็นพักๆ

เดี๋ยวมันเหนื่อยก็ต้องหยุด

แล้วก็กลับมาพุทโธ พุทโธ ตามธรรมดา

 หรืออาจจะถ้าเหนื่อยทางพุทโธ

ก็มาดูลมหายใจแทนต่อ

 แต่อย่านั่งเฉยๆต้องมีพุทโธหรือมีลมหายใจ

 ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจิตมันจะเถลไถล

ไปผลิตรายการที่เราไม่ต้องการให้มันผลิตขึ้นมา

 เราต้องการให้มันผลิตความสงบ

 เดี๋ยวมันก็ไปผลิตคนนั้นคนนี้

 สิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้นมาให้เราดูกัน

ถ้าไม่มีสติ ไม่มีลมหายใจ หรือไม่มีพุทโธ

 ดังนั้น นั่งสมาธิที่ถูกต้อง

 ต้องมีพุทโธหรือมีการดูลมหายใจ.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

..................................

สนทนาธรรมบนเขา

วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๑







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 29 ตุลาคม 2561
Last Update : 29 ตุลาคม 2561 8:56:08 น.
Counter : 539 Pageviews.

1 comment
<<< "การปฎิบัติเบื้องต้น" >>>









“การปฏิบัติเบื้องต้น”

สมาธิมีสองมีสามลักษณะด้วยกัน

 ลักษณะที่หนึ่ง สงบ แต่สงบแบบนกกระจอกกินน้ำ

 รวมปั๊บแล้วก็ถอยออกมาแบบงูแลบลิ้น

แต่ความรู้สึกมหัศจรรย์ใจนี้เหมือนกับอัปปนาสมาธิ

 คือมีความรู้สึกเบาอกเบาใจ สบายอกสบายใจ

สักแต่ว่ารู้อยู่เพียงแป๊บหนึ่ง

 อันนี้เปรียบเหมือนกับดูหนังตัวอย่าง

 สมาธิตัวอย่างคือ ขณิกสมาธิ เข้าไปได้ชั่วครา

แต่จะเป็นหนังตัวอย่างที่ทำให้

อยากจะซื้อตั๋วจองตั๋วดูหนังจริง คือดูอัปปนาสมาธิ

พอได้ขณิกสมาธิแล้วทีนี้ความเพียรมันจะมาเอง

 ศรัทธาจะมาเอง ฉันทะ วิริยะจะมาเอง

ทีนี้จะไม่อยากทำอะไรอยากจะเข้าสมาธิ

 อยากจะเดินจงกรม อยากเจริญสติ อยากจะนั่งสมาธิ

 ถ้าทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ได้อัปปนาสมาธิ

 ต่อไปก็จะสงบนาน ๕ นาที ๑๐ นาที ๒๐ นาที

 ๓๐ นาที ชั่วโมงหนึ่ง ถ้ามีสติมากๆ ฝึกบ่อยๆ

 ฝึกแบบไม่หยุดไม่หย่อน เดินแล้วก็นั่ง นั่งแล้วก็เดิน

 อันนี้มันจะทำให้เข้าสมาธิได้

 แต่จะเข้าสมาธิบางทีก็นอกจากมีหนังตัวอย่าง

แล้วบางทียังต้องมีตั๋วพิเศษถึงจะได้เข้าดูก่อนคนอื่น

ถ้าเป็นตั๋วธรรมดาอาจจะต้องรอหลายเดือน

เพราะคิวยาว วิธีที่จะลัดคิวก็คือ

ต้องมีมาตรการเสริมความเพียร เช่นการอดอาหาร

 การอดอาหารนี้มันจะทำให้เราหิวทำให้เราทุกข์

 เมื่อมันหิวมันทุกข์มันก็จะทำให้

เราต้องภาวนาต้องนั่งสมาธิ

 เพราะนั่งสมาธิแล้วใจจะหายหิว อันนี้มันเป็นตัวเร่ง

การอดอาหารนี้มันเป็นตัวเร่ง

 หรือไปอยู่ที่มันน่ากลัวหวัดเสียว

ถ้าไม่ภาวนาแล้วใจมันจะเสียวมันจะหวาดกลัว

ถูกบังคับให้นั่ง คือต้องหามาตรการ

ที่จะมาบังคับให้เรานั่งให้มากให้เข้าสมาธิให้บ่อย

 การอดอาหารก็วิธีหนึ่ง การไปอยู่ที่น่ากลัวก็วิธีหนึ่ง

 ไปอยู่ในป่าช้า ไปอยู่ในป่าที่มีสิงสาราสัตว์

 ได้ยินเสือคำรามนี้ อันนี้มันจะบังคับให้ต้องนั่งสมาธิ

 ไม่เช่นนั้นใจมันจะสั่นใจมันจะกลัว

 แล้วอาจจะอยู่ไม่ได้ อันนี้คือมาตรการที่มาช่วยเสริม

 ถ้าอยู่แบบสบายๆ มันขี้เกียจ นั่งวันละหนก็พอ

 แต่ถ้ามันหิวข้าวนี้มันต้องนั่งอยู่เรื่อยๆ

พอออกมาก็จะเริ่มหิวอีกแล้ว

 เดี๋ยวคิดถึงข้าวก็หิวอีกแล้ว ก็ต้องกลับไปนั่งใหม่

 เดินจงกรมควบคุมความคิดไม่ให้มันคิด

หรือบังคับให้มันคิดไปในทางที่ไม่หิว

ให้นึกคิดถึงอาหารที่อยู่ในปาก

 อาหารที่อยู่ในท้อง อาหารที่ออกมาจากทวารหนัก

 ให้ดูอาหารเหล่านี้มันก็จะช่วยคลายความหิวได้

 อันนี้ก็เป็นวิปัสสนาปัญญา เพื่อระงับความหิว

 แล้วก็เข้าไปนั่งสมาธิ

นี่แหละนอกจากที่เราได้ขณิกมาธิแล้ว

 มีกำลังใจที่อยากจะปฏิบัติแล้ว

 แต่มันก็ยังขี้เกียจได้ มันจะปฏิบัติน้อย

 อาจจะปฏิบัติแค่นั่งครั้งสองครั้ง

เดี๋ยวก็ไปนอนดีกว่า

 กินอิ่มแล้วมันสบายมันก็หาหมอน

 แต่ถ้าไม่กินนี้มันหิว มันไม่นอน

มันจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิ

เนี่ยการอดอาหารมีประโยชน์อย่างนี้

การไปอยู่ที่น่ากลัวเป็นมาตรการ

ที่จะเสริมความพากเพียร

เสริมการปฏิบัติให้ไปได้อย่างรวดเร็ว

 นี่คือช่วงที่เจริญสติสมาธินะ

ถ้าได้ขณิกแล้วมันจะมีกำลังที่จะอดอาหารได้

มันจะไปอยู่ที่น่ากลัวได้ เพราะมันรู้วิธีแก้ปัญหา

เวลาเกิดความกลัวหรือเวลาเกิดความหิว

มันจะใช้การเข้าสมาธิ แต่ถ้ายังเข้าสมาธิไม่ได้

 ใช้มาตรการเหล่านี้แล้วไม่ได้ ควบคุมใจไม่ได้

 เดี๋ยวใจหิวก็อดไม่ได้เดี๋ยวต้องออกไปกิน

 ไปอยู่ที่น่ากลัวเดี๋ยวหยุดความกลัวไม่ได้

เดี๋ยวก็ต้องเปลี่ยนที่อยู่

 อันนี้คือเรื่องของการปฏิบัติเบื้องต้น

 เบื้องต้นถ้ายังไม่มีขณิก

อันนี้ต้องเจริญสติให้มาก

 คอยควบคุมความคิดตลอดเวลา

แล้วพยายามนั่งเรื่อยๆ ถ้าไม่นั่งก็เดิน

อย่าไปทำภารกิจที่ต้องใช้ความคิดต่างๆ

 เช่นไปอ่านหนังสือธรรมะอะไรนี้

ก็ถ้าอ่านก็อ่านเพียงพอประมาณก็พอ

 เช่นวันละชั่วโมงนี้ก็พอ ฟังเทศน์ฟังธรรม

หรืออ่านหนังสือธรรมะเพื่อให้เกิดความกระจ่าง

ความเข้าใจในกิจที่เรากำลังปฏิบัติอยู่

ในขั้นที่เรากำลังปฏิบัติอยู่

 อย่าไปอ่านธรรมะแบบครอบคลุม

ไปถึงขั้นนิพพานเลย มันไกลเกินไป

 เราอยู่ระดับปริญญาตรี

อย่าไปอ่านระดับปริญญาเอก

 เอาแค่ระดับปริญญาตรีให้เรารู้ว่า

วิธีทำใจให้สงบนี้ทำอย่างไรก่อน

นี่ก็คือขั้นที่หนึ่งขั้นสติ

 ต้องคอยควบคุมใจให้อยู่ในปัจจุบัน

 ปัจจุบันก็คือร่างกาย

 ร่างกายนี้มันอยู่ในปัจจุบันตลอดเวลา

 มันไม่ได้ไปอดีตมันไม่ได้ไปอนาคต

 แต่ใจเรามักจะทิ้งร่างกายแล้วก็ไปอดีตกัน

 คิดถึงเมื่อวานนี้เมื่อคืนนี้ คิดถึงพรุ่งนี้เดือนหน้าปีหน้า

 จองตั๋วไว้แล้วจะไปไหน ไปนู่นมานี่ จะไปทำอะไร

 คิดไปนู่นหรือว่าคิดกลับไปอดีต

วันก่อนไปทำอะไรมา

อันนี้แหละเป็นตัวที่จะทำให้จิตเข้าสู่สมาธิได้

เหมือนกับเวลาที่เราร้อยด้ายเข้าเข็มเนี่ย ใช่ไหม

 เข้าไปทางซ้ายของรูก็ไม่เข้า

 ไปทางขวาของรูเข็มก็ไม่เข้า มันต้องอยู่ตรงกลาง

 อยู่ตรงรู อันนี้จิตเวลาจะเข้าสมาธิ

ก็เหมือนกับเอาด้ายเนี่ยเข้ารู้เข็ม

จะส่ายไปทางซ้ายก็ไม่ได้ส่ายไปทางขวาก็ไม่ได้

 จะคิดอดีตก็ไม่ได้ คิดอนาคตไม่ได้

 ต้องคิดปัจจุบัน คิดอยู่กับลม คิดอยู่กับร่างกาย

 คิดอยู่กับพุทโธแล้วมันก็จะเข้าสู่สมาธิได้

 พอเข้าได้แล้วก็อย่าไปพิจารณาทันที

เวลาเข้ามันไม่คิดอะไร ปล่อยมันนิ่งไป

 ให้มีสติรู้ว่ามันนิ่งรู้ว่ามันสงบแล้วก็ให้มันนิ่งอย่างนี้

ไปจนกว่ามันจะเริ่มคิดปรุงแต่ง

 ถ้าสมาธิยังไม่แข็งก็อย่าพึ่งไปคิด

ถ้านั่งต่อไปได้ก็พุทโธใหม่ดูลม

 เอารอบสองรอบสาม

 ถ้านั่งไม่ไหวเมื่อยลุกขึ้นมาเดิน

 ก็สติใหม่ฝึกสติต่อไปพุทโธไปดูร่างกายไป

ดูเท้าก้าวเท้าซ้ายก้าวเท้าขวาไป

 เดินไปจนเมื่อยอยากจะนั่งกลับมานั่งใหม่

ดูลมพุทโธใหม่ให้มันจิตนิ่งสงบเป็นอัปปนาใหม่

ทำอย่างนี้ไปก่อนในช่วงที่เรากำลังฝึกสมาธิ

 ไม่ใช่พอสงบปั๊บก็จะพิจารณาปัญญา

 ไม่ต้องรีบร้อน ปัญญาเรามีเยอะแยะอยู่แล้ว

 เรารู้ไตรลักษณ์กันอยู่แล้ว

 เรารู้เกิดแก่เจ็บตายกันอยู่แล้ว

 แต่ทำใจกับมันไม่ได้เท่านั้นเอง

 รับมันไม่ได้เพราะเราไม่มีอุเบกขา

 ทีนี้เราต้องฝึกอุเบกขาบ่อยๆ ให้มันมีกำลังมาก

 เพราะต่อไปเราจะใช้อุเบกขา

สู้กับตัณหาความอยาก

 ความอยากไม่แก่ ความอยากไม่เจ็บ

 ความอยากไม่ตาย ความอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้

ความอยากมีสิ่งนั้นสิ่งนี้อะไรต่างๆ เหล่านี้

ถ้าไม่มีอุเบกขาสู้มันไม่ได้ ถึงแม้จะมีปัญญา

รู้ว่ามันเป็นไตรลักษณ์ รู้ว่าเป็นทุกข์

ก็ยังอดที่จะอยากได้มันไม่ได้

 แต่พอมีอุเบกขาแล้ว

ปัญญาบอกว่าเป็นทุกข์ก็ไม่เอาดีกว่า

 มันอยากบอกเป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตา

ก็ไม่เอาดีกว่า.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.....................................

สนทนาธรรมบนเขา

วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑





ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 07 กันยายน 2561
Last Update : 7 กันยายน 2561 11:16:13 น.
Counter : 372 Pageviews.

0 comment
<<< "ขั้นตอนการเข้าสู่อัปนาสมาธิ" >>>







“ขั้นตอนของการเข้าสู่อัปนาสมาธิ”

คำสอนในสติปัฏฐานสูตร

เป็นคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติจิตตภาวนา

 คือ สมถะภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา เป็นขั้นเป็นตอน

เป็นเหมือนกับการศึกษาในมหาวิทยาลัย

จะศึกษาก็ต้องศึกษาเป็นระดับ ปัญญามีแบ่งเป็น

ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

 การปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา

ก็เหมือนกับการศึกษาร่ำเรียน

ที่จะต้องทำเป็นระดับ ระดับ ๔ ระดับด้วยกัน คือ

 โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์

นี่คือปริญญาทางพระพุทธศาสนา

 มีอยู่ ๔ ระดับด้วยกัน ความจริงมันก็ ๓ ระดับ

 แต่ท่านแยกระดับที่ ๒ ที่ ๓ ออกจากกัน

 ความจริงจะถือ ๒ กับ ๓ นี้เป็นระดับเดียวกันก็ได้

 ระดับที่ ๓ ก็คือ พระอรหันต์

 การที่จะบรรลุปริญญา

ทางพระพุทธศาสนาทั้ง ๔ ระดับนี้

 ก็จำเป็นที่จะต้องมีการเจริญสติเพื่อให้ได้สมาธิ

 เมื่อได้สมาธิแล้วถึงจะมีกำลังที่จะเจริญปัญญา

เพื่อตัดตัณหาความอยาก ที่เป็นตัวสร้างความเครียด

สร้างความทุกข์ต่างๆ ให้แก่จิตใจ

ดังนั้น ในสติปัฏฐานสูตร ถ้าอ่านเบื้องต้นนี้

พระพุทธเจ้าก็บอกว่าให้ลองไปนั่งสมาธิดู

นั่งที่โคนต้นไม้ นั่งหลับตา

แล้วก็มีสติรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก

 ลองนั่งดูว่านั่งได้หรือไม่

 ถ้านั่งไม่ได้แสดงว่าสติยังไม่มี

 ก็ให้หยุดการนั่งก่อน แล้วมาฝึกสติก่อน

ให้มาเจริญสติที่เรียกว่ากายคตาสติ

 คือให้มีสติรู้อยู่กับการเคลื่อนไหว

กับการกระทำของร่างกาย

ถ้าอ่านในสติปัฏฐานท่านบอกว่า

ทำอะไรขอให้รู้ว่าร่างกายกำลังทำอะไร

ให้เฝ้าดูอย่าส่งใจไปที่อื่น ให้รู้ว่าเรากำลังยืน

 เรากำลังเดิน เรากำลังนั่ง เรากำลังนอน

 เรากำลังทำอะไรอยู่ เรากำลังรับประทานอาหาร

กำลังตักอาหารเข้าปาก กำลังเคี้ยว กำลังกลืน

ให้รู้ทุกขั้นตอนของการกระทำของร่างกาย

 เช่นถ้าหันหน้าไปทางซ้ายก็ให้รู้ว่าหันหน้าไปทางซ้าย

 หันหน้าไปทางขวาก็ให้รู้ว่าหันหน้าไปทางขวา

 ยกมือซ้ายขึ้นก็ให้รู้ว่ายกมือซ้ายขึ้น

 ยกมือขวาขึ้นก็ให้รู้ว่ายกมือขวาขึ้น

 ไม่ว่าจะทำอะไร ปัดกวาดลานวัด

 เดินบิณฑบาตนี้ ท่านสอนพระ

กิจวัตรของพระให้รู้อยู่แต่กิจวัตรเหล่านั้น

 ถ้าเป็นฆราวาสญาติโยมก็เหมือนกัน

 เพราะต้องมาอยู่วัดปฏิบัติถึงจะได้ผล

 ในชีวิตประจำวันของผู้ครองเรือนนี้

จะไม่เอื้อต่อการเจริญสติ เพราะจะต้องใช้ความคิด

เกี่ยวกับเรื่องการงานต่างๆ ส่วนงานของนักบวช

งานของผู้ที่อยู่วัดนี้จะไม่ต้องใช้ความคิดมาก

การเจริญสตินี้เป็นเป้าหมาย

เพื่อหยุดความคิดนั่นเอง

 หยุดความคิดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะได้

 แล้วเวลามานั่งสมาธิก็จะสามารถหยุดความคิด

หยุดจิตได้อย่างเต็มที่ จิตก็จะเข้าสู่สมาธิได้

 นี่คือขั้นที่ ๑ คือเจริญสติแล้วก็ไปนั่งสมาธิ

สลับกันไปสลับกันมา

จนกว่าจะได้สมาธิขึ้นมา ไม่ใช่ของง่าย

 จะได้จิตรวมเป็นอัปปนาสมาธินี้ไม่ใช่ของง่าย

ขนาดหลวงตาท่านบวชเป็นพระอยู่ ๖ ปีท่านว่า

จิตรวมแค่ ๓ ครั้งเท่านั้นเอง

 เป็นพระแต่ท่านยังไม่ได้ปฏิบัติ

ท่านยังเรียนหนังสืออยู่ ยังอยู่วัดบ้าน

ไปเรียนหนังสือก็เหมือนอยู่ในบ้านในเมือง

ก็ยังใช้ความคิดอยู่มาก

ใช้ความคิดอยู่กับการท่องจำคำสอนต่างๆ

พอตอนกลางคืนจะมานั่งสมาธิก็สงบได้ยาก

ท่านบอกว่าท่านจิตเคยรวมแค่ ๓ ครั้งด้วยกัน ๖ ปี

ระยะ ๖ ปีที่บวชที่ศึกษาก่อนที่จะออกปฏิบัติ

แล้วหลังจากที่ท่านจบเปรียญสาม

ท่านบอกพอแล้ว เรียนไปก็ไม่ได้รู้อะไรมากขึ้น

ไม่ได้เป็นการเรียนคำสอนธรรมะ

 เป็นการเรียนวิธีอ่านภาษาบาลีวิธีเขียนภาษาบาลี

ท่านก็เห็นว่าไม่ได้ทำให้พัฒนาขึ้นทางด้านจิตใจ

 ท่านก็อยากจะออกปฏิบัติ

ท่านก็เลยมุ่งไปหาหลวงปู่มั่น

เพื่อให้ท่านได้ศึกษากับหลวงปู่มั่น

ตอนที่ท่านพบหลวงปู่มั่นครั้งแรก

ไปขออยู่กับหลวงปู่มั่น

 ท่านก็บอกว่าโชคดีพอดีมีกุฎิว่าง

 ท่านก็ได้อยู่ และหลวงปู่มั่นท่านก็แนะนำว่า

 ความรู้ที่ได้เรียนมาถึงเปรียญสามนี้

อย่าพึ่งเอามาใช้เพราะไม่เป็นประโยชน์

มันไม่มีความสามารถที่จะมาทำลายกิเลสตัณหาได้

 ตอนนี้ให้มาพุ่งไปที่การทำใจให้สงบก่อน

 คือฝึกสติกับสมาธิก่อน นี่ขนาดหลวงปู่มั่นสอน

ตรงกับหลักของสติปัฏฐาน ๔

สอนว่าอย่าเพิ่งไปทางปัญญา

ปัญญามีอยู่เยอะแล้ว

 เรียนจบนักธรรมตรีโทเอก รู้หมด

รู้ว่าคำสอนพระพุทธเจ้ามีอะไรบ้าง

กิเลสตัณหามีชนิดไหนบ้าง รู้หมด

 แต่ทำอะไรมันไม่ได้ ไม่มีกำลัง

 ขอให้มาฝึกสตินั่งสมาธิก่อน

 ความรู้ที่ได้เรียนมานี้ให้ยกไว้บนหิ้งก่อน

 อย่าไปคิดถึงมันเป็นอันขาด

เพราะคิดแล้วจะทำให้ใจไม่สงบ

นี่คือปัญหาของคนที่เรียนรู้มาก

 พอมาปฏิบัติแล้วมันอดคิดไม่ได้

 ชอบคิดว่าตอนนี้อยู่ฌานที่เท่าไรแล้ว

 ฌานหนึ่ง ฌานสอง ฌานสาม

คิดไปแทนที่จิตมันจะรวมมันก็เลยไม่รวม

 เพราะมันนั่งคิดอยู่กับฌาน

เวลานั่งสมาธิจริงๆ นี้ห้ามคิด

 ให้เพ่งดูลมอย่างเดียว

 รู้ลมเข้าออกเท่านั้นพอ อย่าไปคิดว่า

ตอนนี้กำลังเกิดปีติหรือยัง เกิดสุขหรือยัง

ขนลุกหรือยัง เกิดความสว่างขึ้นมาหรือยัง

 หรือเกิดนู่นเกิดนี่ขึ้นมาก็ไปหลงติดตามดู

 อันนี้ไม่ใช่เป็นวิธีฝึกสมาธิ

 อย่าคิดอย่าไปรับรู้อะไร

 สิ่งที่มาให้รับรู้อย่าไปสนใจ

ให้สนใจอยู่กับสิ่งที่เราต้องรู้

ถ้านั่งอานาปานสติก็ต้องรู้ลม รู้ลมอย่างเดียว

 อย่างอื่นอย่าไปรู้อย่าไปสนใจ

 เสียงเข้ามาอย่าไปสนใจ

 แสงสว่างเข้ามาอย่าไปสนใจ

อาการเจ็บปวดทางร่างกายเข้ามาอย่าไปสนใจ

ให้อยู่กับลมไปอย่างเดียว

 หรือพุทโธๆ ไปอย่างเดียว

 แล้วจิตมันก็จะขยับเข้าไป

 แต่การเข้าบางทีมันก็ไม่ได้เข้าตามตำรา

ทีละขั้นทีละตอน

 บางทีมันพรวดเข้าไปเลย จาก ๑ เข้าไป ๔ เลย

 เหมือนเกียร์ออโต้ มันผ่านไป

 ฉะนั้น อย่าไปกังวลว่ามันไปยังไง

 บางครั้งมันก็ไปทีละขั้น

 ลงไปทีละนิด สงบไปทีละนิด

 สงบไปทีละหน่อยเป็นขั้นๆ บันไดก็มี

 บางทีก็เป็นแบบสไลเดอร์ลงพรวดลงไปเลย

ที่เรียกว่าตกหลุมตกบ่อตกเหว

 แต่มันจะเป็นแบบไหนไม่สำคัญ

 ขอให้มันถึงจุดที่เรียกว่าอุเบกขาก็แล้วกัน

 จิตหยุดคิดปรุงแต่ง สักแต่ว่ารู้

จิตเฉยต่ออารมณ์ทั้งปวง

 รักชังกลัวหลงนี้จะหายไป

จะรับรู้อะไรได้ยินอะไร

จะมีเวทนาแบบไหนก็จะเฉย

 ไม่มีความรู้สึก ไม่มีอารมณ์กับสิ่งที่ได้รับรู้

สักแต่ว่ารู้ นี่คือขั้นตอนของการปฎิบัติ

 ควรที่จะทำเป็นขั้นไป

ไม่เช่นนั้นถ้าจะเอามาปนกัน

 นั่งวิปัสสนา พอนั่งสมาธิปั๊บพิจารณากาย

 พิจารณากายก็ไม่เห็นว่ามันเป็นนู่นเป็นนี่

 จะให้เห็นมันไม่เห็นหรอก

มันเรื่องการพิจารณานี้มันไม่ได้เป็นเรื่อง

ที่จะให้มันปรากฏขึ้นมาตามที่เราพิจารณา

 มันเป็นการพิจารณาแบบวิเคราะห์ศึกษา

ไม่ได้เป็นแบบว่านั่งแล้วเดี๋ยวพอจิตสงบแล้ว

จะมีภาพของปัญญาโผล่ขึ้นมา ไม่ใช่

 เราต้องวิเคราะห์ต้องแยกแยะ

 เช่นร่างกายมันรวมกันมันมีอาการ ๓๒

 เราก็ต้องแยกวิเคราะห์

ว่ามันมีอะไรบ้าง แยกออกมา

ร่างกายมีผม มีขน มีเล็บ มีฟัน

อันนี้เราแยกออกมา

 แยกด้วยความนึกคิด เอามากองเป็นกองๆ ก็ได้

 เอาผมกองไว้กอง เอาขนกองไว้กอง

 เอาเล็บกองไว้กอง เอาฟันกองไว้กอง

 เอาหนังกองไว้กอง อย่างนี้กอง ๓๒ กอง

 อันนี้ถึงเป็นการเรียกว่าเจริญวิปัสสนา

 แต่เราไม่ต้องการเจริญตอนที่เรานั่งสมาธิ

 ตอนนั่งสมาธินี้ห้ามเจริญวิปัสสนา

 ห้ามพิจารณา ถ้าต้องการความสงบ

ถ้าต้องการอัปปนาสมาธิ

อย่าไปพิจารณาเป็นอันขาด

 พิจารณาแล้วจิตจะไม่มีวันรวมได้

ต้องเพ่งอย่างเดียว

 เพ่งอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง

 ในสติปัฏฐานท่านก็สอน

ลมหายใจเข้าออกเป็นหนึ่งใน ๔๐ กรรมฐาน

 เราจะเอาอย่างอื่นแทนลมหายใจเข้าออกก็ได้

 เช่นบางคนอยากจะเพ่งโครงกระดูกก็ได้

 นึกถึงภาพโครงกระดูกแล้ว

ก็เพ่งให้เห็นแต่โครงกระดูก

 บางคนจะเอาสีก็ได้ สีเขียวก็เพ่งดูสีเขียว

 สีแดงก็เพ่งดูสีแดง

อันนี้อยู่ในกรรมฐาน ๔๐ กสิณ ๑๐

 บางคนจะใช้พุทธานุสติ พุทโธๆ ไปก็ได้

บางคนจะเอาธรรมานุสติ ธัมโมๆ ไปก็ได้

 บางคนจะเอาสังฆานุสติ ก็สังโฆๆ ไปก็ได้

 นี่เป็นขั้นตอนของการเข้าสู่อัปนาสมาธิ.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

...............................

สนทนาธรรมบนเขา

วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 06 กันยายน 2561
Last Update : 6 กันยายน 2561 5:38:41 น.
Counter : 395 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ