Group Blog
All Blog
<<< " ธรรมเนียมประเพณี" >>>










" ธรรมเนียมประเพณี"

ถาม : อย่างเวลาที่นั่งสมาธิหรือว่าเจอพระสงฆ์นี้ครับ

 บางทีนั่งขัดสมาธิกับนั่งพับเพียบอะไรอย่างนี้ครับ

นั่งขัดสมาธิจะถือว่าไม่เรียบร้อยหรือเปล่าครับ

หรือว่าจริงๆ แล้วอย่างตัวผมเองผมนั่งขัดสมาธิแล้ว

รู้สึกสบายกว่าครับ

พระอาจารย์ : ก็คือโดยมารยาทเขาถือท่านั่ง

 คนโบราณนี้เขามีท่านั่งอยู่สองท่า

คือขัดสมาธิกับพับเพียบ เวลาเขาพบปะกัน

 เวลาทำกิจร่วมกันเขาจะนั่งพับเพียบ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้น้อยไปหาผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่นี้จะนั่งขัดสมาธิได้ แต่ผู้น้อยต้องนั่งพับเพียบ

 เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ แต่ถ้าเวลานั่งสมาธินี้

เขาอนุญาตให้นั่งขัดสมาธิได้ เพราะเป็นท่าที่นั่งปฏิบัติ

 แต่ถ้าไม่ได้นั่งสมาธิ เช่นเวลาครูบาอาจารย์

ท่านแสดงธรรมนี้ครูบาอาจารย์ท่านก็นั่งพับเพียบ

 เราก็ต้องนั่งพับเพียบตาม แต่ถ้าเวลารับประทานอาหาร

ท่านอนุญาตให้นั่งขัดสมาธิได้นั่งท่าสบายได้

 แต่ถ้าเวลาสนทนากันอะไรกันนี้ ธรรมเนียมประเพณี

เขาให้นั่งพับเพียบกัน อันนี้ต้องว่าไปตามประเพณี

 แต่ไม่ได้มีความเสียหายร้ายแรงอะไร

เพียงแต่ว่าจะทำให้เรากลายเป็นคนเชยไป

เป็นคนไม่รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควรเท่านั้นเอง

ญาติโยมส่วนใหญ่มาฟังธรรมที่นี่

เขาก็คิดไปในแง่ว่าเวลาเขาฟังธรรม เขานั่งสมาธิกัน

 เขาก็เลยนั่งขัดสมาธิกัน (หัวเราะ) เราก็ไม่ถือสาหรอก

 เราก็ไม่ว่าอะไร ท่านั่งไม่สำคัญหรอกสำหรับเรา

สำคัญที่สติแค่นั้น เวลาฟังแล้วใจตั้งใจฟังหรือเปล่า

 ถ้าตั้งใจฟังแล้ว อันนี้แหละเป็นตัวสำคัญกว่าท่านั่ง

 แต่ท่านั่งนี้มันเป็นเรื่องของสมมติบัญญัติ

 เป็นเรื่องของประเพณี ที่เขาทำกันมา

ก็เลยก็ต้องมีท่านั่งในท่าต่างๆ เหมือนการแต่งกาย

 เราก็มีการแต่งกายหลายแบบใช่ไหม

 ไปงานศพเราก็แต่งกายแบบหนึ่ง

ไปงานแต่งงานเราก็แต่งกายแบบหนึ่ง

 ไม่ใช่ไปงานศพก็แต่งสีฉูดฉาด

 เวลาไปงานแต่งงานก็ไปใส่ชุดดำอย่างนี้

 อย่างนี้มันก็ผิดกาลเทศะ

ท่านั่งนี้ก็เหมือนกับกาลเทศะเท่านั้นเอง เข้าใจหรือยัง

ถาม : เข้าใจแล้วครับ นั่งพับเพียบเหน็บชอบกิน

อย่างงั้นเราสลับไปสลับมาได้นะครับ

พระอาจารย์ : (คนอื่นเขานั่งได้) ได้ๆ

 หรือเราจะฝึกทนไปเพื่อจะได้ฝึกจิตให้แข็งขึ้น

เขาถือว่าเป็นการฝึกจิตไปในตัว

เวลานั่งแล้วมันไม่สบาย ใจก็ต้องพยายามมีสติ

ควบคุมใจให้มันนิ่ง แล้วต่อไปเราก็จะอยู่กับ

ความไม่สบายของร่างกายได้ ถ้าเราต้องขยับอยู่เรื่อยๆ

 ต่อไปถ้าเกิดเวลาไม่สบายเราขยับไม่ได้จะทำยังไง

ใจเราก็จะทรมาน แต่ถ้าเรารู้จักทำใจ

ตอนที่ร่างกายไม่สบาย เราก็ทำใจให้นิ่งให้สงบ

ใจเราก็จะไม่ทรมาน แล้วเวลาต่อไปเจ็บไข้ได้ป่วย

เราก็จะไม่ทรมานกับความเจ็บไข้ได้ป่วย.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

...........................

สนทนาธรรมบนเขา

วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๐









ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 31 สิงหาคม 2560
Last Update : 31 สิงหาคม 2560 10:12:04 น.
Counter : 534 Pageviews.

0 comment
<<< "สาเหตุของความโกรธ" >>>










"สาเหตุของความโกรธ"

ถาม : คนที่เคยมีปัญหากัน มาพบเจอกันใหม่

ตัวเราคิดว่าเราให้อภัย เขานำเรื่องเก่ามาตอกย้ำ

 เรายังโกรธอยู่ ซึ่งเราคิดว่าให้อภัย

แต่ในใจเรายังไม่สามารถลืมเรื่องเก่าๆ ได้

 ต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะสามารถละกิเลสตัวนี้ได้คะ

พระอาจารย์ : ก็ต้องใช้สติ

เบื้องต้นเราต้องหยุดความโกรธ

 เวลาเราโกรธเราก็บริกรรมพุทโธๆๆ ไป

 อย่าไปสนใจกับเรื่องที่เขากำลังพูดอยู่

อย่าไปคิดถึงเขา อย่าไปคิดถึงเรื่องที่ทำให้เราโกรธ

ให้อยู่กับพุทโธๆๆ ไป เดี๋ยวเราก็จะลืม

เรื่องที่ทำให้เราโกรธได้

เราก็จะหยุดความโกรธได้ชั่วคราว

ถ้าอยากจะให้หายโกรธอย่างถาวร

 เราก็ต้องค้นหาสาเหตุของความโกรธว่าเกิดจากอะไร

 สาเหตุของความโกรธก็คือ ความอยากนี่เอง

อยากให้เขาทำอะไรให้เรา พอเขาไม่ทำให้เรา

 เราก็โกรธเขา อยากให้เขาดีกับเรา เขาไม่ดีกับเรา

เราก็โกรธเขา เราก็เลิกความอยากนี้ก็แล้วกัน

ก็อย่าไปหวังอะไรจากเขา

 เขาจะด่าเราก็ปล่อยให้เขาด่าไป

 เขาจะร้ายกับเราก็ปล่อยให้เขาร้ายไป

เราก็จะไม่โกรธเขา

หยุดความอยาก ความอยากนี้เป็นต้นเหตุ

ของความโกรธของเรา ไม่ใช่การกระทำของคนอื่น

ที่ทำให้เราโกรธ การกระทำของคนอื่นเป็นเพียงจุดชนวน

 เป็นเหมือนไม่ขีด แต่ระเบิดมันอยู่ในใจเราอยู่แล้ว

 เขาเพียงแต่มาจุดระเบิดที่มีในใจเรา

 ถ้าเราไม่มีระเบิด ต่อให้เขามาจุดไม้ขีดยังไง

 มันก็ไม่ระเบิด เราต้องถอนระเบิดออกจากใจเรา

 คือความอยาก อยากให้เขาดีกับเรา

อยากให้เขาชมเรา อยากให้เขาทำโน่นทำนี่ให้กับเรา

 พอเขาไม่ทำก็โกรธเขา ก็เท่านั้นเอง

ก็เลิกความโกรธซะ พอเราเลิกความโกรธแล้ว

 เขาจะทำอะไรไม่ทำอะไรเราก็ไม่เดือดร้อน

ฉะนั้นอย่าไปโทษเขาว่าเขาเป็นคนทำให้เราโกรธ

โทษเรานี่ ความอยากของเราเอง

 ไปอยากให้เขาทำโน่นทำนี่

 พอเขาไม่ทำเราก็โกรธขึ้นมา

 เราต้องเอาระเบิดออกจากใจเรา คือความอยาก

ถ้าไม่มีความอยากเราจะไม่โกรธใคร.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.....................................

สนทนาธรรมบนเขา

วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 25 สิงหาคม 2560
Last Update : 25 สิงหาคม 2560 10:08:12 น.
Counter : 758 Pageviews.

1 comment
<<< "อภิญญาไม่สามารถสู้กิเลสได้" >>>











"อภิญญาไม่สามารถสู้กิเลสได้"

ถาม : ไม่เข้าใจว่าทำไมพระปฏิบัติดี

น่าเลื่อมใสในระดับหนึ่ง ต้องมาสึกเพราะสตรีคนเดียว

พระอาจารย์ : เพราะว่าท่านยังไม่ได้เจริญอสุภกรรมฐาน

 ท่านอาจจะอยู่ในขั้นสมาธิ อาจจะมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์

อภิญญานี้ไม่สามารถที่จะสู้กิเลสได้

เวลากิเลสมันออกฤทธิ์นี้ต่อให้เหาะเหินเดินอากาศได้

 ก็ร่วงได้ ร่วงลงมาได้ อย่างที่มีนิทานในพุทธประวัติมั้ง

ที่ท่านเล่าว่ามีฤาษีรูปหนึ่ง ท่านเก่งทางด้านสมาธิ

 ท่านมีอภิญญาเหาะเหินเดินอากาศได้

มีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งเคารพนับถือ

 เวลาเข้าวังท่านก็บินเข้าไป เหาะเหินเดินอากาศเข้าวัง

 วันหนึ่งเหาะผ่านทางห้องบรรทมของพระราชินี

เห็นท่านเปลือยกายอยู่ ก็เกิดกามารมณ์ขึ้นมา

 แล้วก็ไปขอเสพกามกับท่านหรืออย่างไรนี่

 แล้วก็ไปร่วมเสพกัน พระเจ้าแผ่นดินทราบทีหลัง

ก็เสียพระทัยเสียศรัทธา อันนี้ก็เป็นเพราะว่า

เอาแต่สมาธิไม่เอาทางปัญญา

คือถ้าได้สมาธิชำนาญทางสมาธิแล้ว

ต้องออกทางปัญญา พิจารณาอสุภะ

 ถ้าเป็นนักบวช พิจารณาร่างกาย

 พิจารณาดินน้ำลมไฟ อาการ ๓๒

 เพื่อให้เห็นว่าร่างกายนี้แท้จริงแล้วไม่น่าดูน่าชม

 น่าดูแต่เฉพาะภายนอก แต่พอมองเข้าไปใต้ผิวหนัง

 ก็จะเห็นสิ่งที่ไม่น่าดูน่าชม มันก็จะไม่หลง

 มันก็จะตัดกามารมณ์ได้.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.........................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐








ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 23 สิงหาคม 2560
Last Update : 23 สิงหาคม 2560 5:29:30 น.
Counter : 495 Pageviews.

0 comment
<<< "ทุกข์ทางใจกับทุกข์ทางกายเป็นคนละเรื่องกัน" >>>











"ทุกข์ทางใจกับทุกข์ทางกาย

เป็นคนละเรื่องกัน"

ถาม : พระโสดาบันตัดกามตัณหาได้ ๑๐ เปอร์เซ็นต์

 พระสกิทาคามี ๕๐ เปอร์เซ็นต์

พระอนาคามี ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

ในส่วนของภวตัณหาและวิภวตัณหาเล่าครับ

พระอาจารย์ : อันนี้เป็นความอยาก

ในความสุขทางความสงบ อยากในรูปฌาน

อยากในอรูปฌาน ก็เรียกเป็นวิภวตัณหา

ถาม : ทุกขเวทนาทางกาย

 ถือเป็นทุกข์ในอริยสัจหรือไม่ครับ

หรือแค่ทุกขเวทนาทางใจครับ

พระอาจารย์ : อ๋อ ทุกขเวทนาทางร่างกายนี้

เป็นเวทนา ไม่ได้เป็นอริยสัจ ไม่ได้เป็นทุกข์ในอริยสัจ

 เพราะไม่ได้เกิดจากความอยาก

ทุกข์ในอริยสัจนี้ เกิดจากความอยาก

 เช่นร่างกายสุขสบาย แต่พอได้ยินข่าวไม่ดี

ก็เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

 เพราะว่าใจไม่อยากจะรับข่าวไม่ดี

พอรับข่าวไม่ดีก็เลยเกิดความทุกข์ขึ้นมา

 อยากจะได้รับแต่ข่าวดีๆ

พอได้รับข่าวไม่ดีใจก็ทุกข์ขึ้นมา อันนี้เป็นทุกข์ทางใจ

 ทุกข์ที่เกิดจากความอยาก

แต่ทางร่างกายนี้สุขสบายดี

ร่างกายไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่เจ็บตรงนั้นไม่ปวดตรงนี้

 ก็ถือว่าไม่มีทุกขเวทนาทางกายในตอนนั้น

ฉะนั้นทุกข์ทางงใจกับทุกข์ทางกายนี้เป็นคนละเรื่องกัน

 เพราะใจกับร่างกายนี้เป็นคนละคนกันนั่นเอง

 คนหนึ่งเจ็บ อีกคนหนึ่งไม่เจ็บ เช่นเป็นฝาแฝด

 แฝดพี่แฝดน้อง แฝดน้องไม่เจ็บ

 แต่แฝดพี่เจ็บอย่างนี้ ไม่เกี่ยวกัน.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

............................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๐








ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 20 สิงหาคม 2560
Last Update : 20 สิงหาคม 2560 9:34:13 น.
Counter : 818 Pageviews.

0 comment
<<< "สร้างสัญญาใหม่ให้กับใจ" >>>











"สร้างสัญญาใหม่ให้กับใจ"

ถาม : สัญญาเก่าข้ามภพชาติ คือสิ่งใด

 แล้วหากมีอยู่จริง มีวิธีการปฏิบัติ

ในการรื้อถอนสิ่งเหล่านี้อย่างไรครับ

พระอาจารย์ : ก็ของที่เราเห็นแล้วเราชอบไม่ชอบนี้

ก็เป็นสัญญาเก่าทั้งนั้นแหละ

ทำไมชอบสีเขียวทำไมไม่ชอบสีแดง

อันนี้ก็สัญญาเก่า ชาติก่อนเคยชอบสีเขียว

เคยไม่ชอบสีแดง ชาตินี้พอมาเจอสีเขียวก็ชอบ

 สีแดงก็ไม่ชอบ นี่ความชอบไม่ชอบของเรากับสิ่งต่างๆ

 นี้เป็นสัญญาทั้งนั้นแหละ เป็นความจำที่ฝังลึก

จนเป็นอัตโนมัติไป เห็นอะไรปั๊บรู้เลยว่าชอบไม่ชอบ

 เพราะว่านี่เป็นสิ่งที่เราฝังมา วิธีที่จะแก้ก็คือ

ต้องฝืนมัน ถ้าเรารู้ว่าสิ่งที่เราชอบไม่ดี

เราก็เปลี่ยนมันได้ เช่นชอบดื่มสุรา

และมาทราบทีหลังว่าดื่มแล้วมันเป็นอันตราย

เป็นโทษกับเรา เราก็ต้องฝืนมัน พยายามอย่าไปทำมัน

ทุกครั้งที่เราอยากจะดื่มสุราเราก็ไม่ดื่ม

เดี๋ยวต่อไปความอยากดื่มมันก็จะหายไป

 หรือเราต้องให้สัญญาใหม่กับใจ

สร้างสัญญาใหม่คือ สร้างความหมายใหม่ว่า

สุรานี้เป็นพิษ ดื่มแล้วทำให้ร่างกายตายเร็ว

 สุขภาพเสื่อมโทรม ตับไตไส้พุงนี้จะถูกทำลาย

 เสียเวลา เสียเงินเสียทอง เสียสติ

 เวลาดื่มสุราแล้วเมาไม่มีสติยับยั้งการกระทำ

ที่ไม่ดีต่างๆ เสียเวลา แทนที่จะเอาเวลา

เอาไปทำงานทำการทำประโยชน์

ก็มาเสียเวลากับการดื่มสุรา ดื่มแล้วก็เมา

 ทำอะไรไม่ได้ ต้องหลับต้องนอนอย่างเดียว

 ถึงเวลาตื่นไปทำงานก็อาจจะตื่นไปไม่ทัน

 ก็อาจจะตกงานได้ นี่คือเราสร้างสัญญาใหม่

ให้เห็นว่าสุรานี้มันเป็นโทษเป็นภัยกับเรา

 เมื่อเรารู้ว่ามันเป็นอันตรายอราก็จะได้ไม่ไปเสพมันได้.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.............................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๐







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 19 สิงหาคม 2560
Last Update : 19 สิงหาคม 2560 6:33:17 น.
Counter : 549 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ