Group Blog
All Blog
### ความเป็นมาของรูปบนไพ่ ###













การออกแบบหน้าไพ่

....................

King โพดำ คือ กษัตริย์ David จากพระคัมภีร์ไบเบิ้ล

King โพแดง คือกษัตริย์ Charlemagne ที่7 แห่งฝรั่งเศส

 King ข้าวหลามตัด แทนกษัตริย์ Julius Caesar

 และ King ดอกจิก หมายถึง พระเจ้า Alexander the Great

ไพ่ชุด Qeen ได้แก่ Pallas เทพธิดาแห่งนักรบ

 Judith, Rachel ,Argine

และไพ่ชุด Jack ได้แก่ Hogier, La Hire , Hector)

และ Judas Maccabeus ตามลำดับ

ชื่อต่าง ๆ เหล่านี้ คือชื่อที่ตั้งขึ้นในสมัยก่อน


ไพ่ Jack เป็นไพ่ตัวต่ำที่สุด

 มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า Knave แปลว่าคนใช้

 เมื่อปี พ.ศ 2100 คำว่า Knave ได้เปลี่ยนเป็น Jack

คำนี้เป็นคำที่ยืมมาจาก เกมไพ่ชั้นต่ำที่ชื่อว่า All Fours

ดังนั้น Jack จึงกลายเป็นชื่อของไพ่ต่ำสุดไปด้วย

ไพ่ Ace นั้น ในยุดแรก เป็นไพ่ที่มีแต้มต่ำสุด

 ไพ่ King เป็นไพ่ที่มีแต้มสูงสุดเสมอ

 ประมาณปี พ.ศ. 2200 ในสมัยปฏิวัติ ฝรั่งเศส

มีการเล่นเกมไพ่ที่ให้แต้ม Ace เป็นแต้มสูงสุด

เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของ การที่คนชั้นต่ำกว่า

ได้ทำการปฏิวัติ และมีอำนาจเหนือกษัตริย์

คำว่า Ace เป็น ภาษาละติน มาจากคำว่า Ac

 หมายถึงหน่วยเงิน ที่เล็กที่สุดของเงินเหรียญ

ไพ่ Ace โพดำ มีลักษณะแตกต่าง ไปจากไพ่ Ace ตัวอื่น

 นั่นคือ เครื่องหมาย Ace โพดำที่มีขนาดใหญ่

 ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเมื่อสมัย พ.ศ. 2158

พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ทรงเห็นว่า

ไพ่เป็นรายได้ดีจึง ได้ออกกฎหมายเก็บภาษี จากคนทำไพ่

ผู้ขายไพ่ต้องขายไพ่ ที่เสียภาษีแล้วอย่างถูกต้อง

ผู้ผลิตไพ่จึงได้ติดแสตมป์ ที่ไพ่ Ace โพดำ

ซึ่งเป็นไพ่แต้มใหญ่สุด ในสำรับ

 เพื่อแสดงให้คนซึ่งเห็นว่า ไพ่สำรับนี้ได้เสียภาษีแล้ว

ต่อมาภายหลังการติดแสตมป์

ที่หน้าไพ่ Ace โพดำเปลี่ยนแปลงไป

แต่ผู้ผลิตไพ่ยังคงออก แบบไพ่ Ace โพดำ

ให้มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษกว่า Ace ตัวอื่นๆ

 พร้อมกับพิมพ์ชื่อ ผู้ผลิตและตราเครื่องหมายอยู่ข้างในนั้น

ความน่าสนใจของวิธีการออกแบบไพ่

ที่เหมาะกับการเล่น คือ การออกแบบไพ่แบบสมมาตร

เมื่อมองด้านไหน ก็จะเห็นเป็นภาพเดียวกัน

จึงไม่ต้องกังวล การกลับหัวสลับหางของไพ่

ทำให้ไม่ต้องเสียเวลา เรียงไพ่ตามแนวตั้ง

 การเล่นไพ่ไปได้อย่างไหลลื่น

ความสมมาตรของไพ่ ที่คำนึงข้อมูลที่เป็นตัวเลข- อักษร

 และ ดอกของไพ่ ที่วางไว้มุมซ้ายบนและมุมล่างขวา

 นอกจากจะไม่มีปัญหา เรื่องการจัดไพ่ในแนวตั้งแล้ว

ยังทำให้การจัดเรียงไพ่จากซ้ายไปขวา ของผู้เล่น

เห็นข้อมูลทั้งหมดของไพ่

จากการใช้พื้นที่ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

 ผู้ถือไพ่สามารถถือไพ่ ได้ใกล้ขึ้น และใช้เพียงมือเดียว

 ในการจัดการทั้งหมด

พื้นที่ตรงกลางภาพ ที่พยายามวางจำนวนดอก ของไพ่

ตามเลขที่สื่อ และไพ่ขอบ หรือ “court card”

ที่เป็นรูป “คน” ในไพ่ นักออกแบบ ก็พยายามให้มันสมมาตรด้วย

 เพื่อให้คนดูรู้สึกเนียนตา และเข้าใจ สาระบนหน้าไพ่ได้ในเวลาอันสั้น


ไพ่จะมี 4 ดอกต่างๆกัน หมายถึงฤดู ทั้ง 4 ของทวีปยุโรป

และจะมี 2 สี คือ สีแดง หมายถึงกลางวัน

ส่วนสีดำ หมายถึงกลางคืน

และมีจำนวน 52 ใบ หมายถึง 52สัปดาห์ใน 1 ปี









ขอบคุณที่มาของเรื่องราวดีๆจาก  fb. Siriwanna  Jill




Create Date : 24 มีนาคม 2558
Last Update : 26 มีนาคม 2558 22:13:42 น.
Counter : 7010 Pageviews.

0 comment
### ตราสัญญลักษณ์ ฉลอง 60 พรรษา สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ###















นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร

เปิดเผยเมื่อวันที่ 25 ก.ย. ว่า

ตามที่คณะกรรมการอำนวยการ จัดงานเฉลิมพระเกียรติ

สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ

 2 เมษายน 2558 ได้มอบหมายให้กรมศิลปากรออกแบบ

ตราสัญลักษณ์ การดำเนินงานเฉลิมพระเกียรติ

เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ นั้น

กรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่

ได้จัดทำตราสัญลักษณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว

 ออกแบบโดยนายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร

นายช่างศิลปกรรมอาวุโส

 และได้ส่งตราสัญลักษณ์ไปยังสำนักราชเลขาธิการ

เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย

เมื่อทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานตราสัญลักษณ์แล้ว

 สำนักราชเลขาธิการจะพิจารณาการขออนุญาต

ใช้ตราสัญลักษณ์ กรณีที่มีหน่วยงานแจ้งความประสงค์

ขอใช้ตราสัญลักษณ์เพื่อประดับในโครงการ

และกิจกรรมต่างๆต่อไป

อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวต่อว่า

รายละเอียดรูปตราสัญลักษณ์ มีดังนี้

 อักษรพระนามาภิไธย ส.ธ.

ภายในกรอบสุพรรณเบญจเพชรรัตน์

อักษร ส. สีม่วงชาดแก่ อักษร ธ. สีขาวบนพื้นสีม่วงครามอ่อน

 เป็นสีวันพระราชสมภพ

ดวงเพชรรัตน์ 5 ดวงหมายถึง ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ

 อักษรนามาภิไธย ส.ธ. อยู่ภายใต้

พระชฎาพระกลีบปักพระยี่ก่าทอง ไม่ประกอบพระกรรเจียกจร

 เบื้องหลังพระชฎามีพระบวรเศวตฉัตร

 (พระสัตตปฎลเศวตฉัตร) คือ ฉัตรขาว 7 ชั้น

แต่ละชั้น มีระบายขลิบทองแผ่ลวด 3 ชั้น

ชั้นล่างสุด ห้อยอุบะจำปาทอง

เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ

 สมเด็จพระบรมราชกุมารีทั้งสองข้าง

กรอบพระนามาภิไธย มีรูปเทพยดา

 พระกรหนึ่งประคองเชิญพระสัตตปฎลเศวตฉัตร

 พระกรหนึ่งกระชับเถาว์บัวทองไว้ ขัดพระขรรค์

 ทรงเศวตพัสตราภรณ์เขียนทอง เทพยดาข้างเลข 6

(ด้านซ้าย)ทรงพระชฎาเดินหน ปักพระยี่ก่าดอกไม้ทอง

ทัดพระกรรเจียกจร และเทพยดาข้างเลข 0

(ด้านขวา) ทรงพระชฎามหากฐิน (พระชฎาห้ายอด)

ปักพระยี่ก่าดอกไม้ทอง ทัดพระกรรเจียกจร

หมายถึง เทพยดาทรงมาบริรักษ์เฉลิมฉลองในมหามงคลกาลนี้

 ให้ทรงเจริญพระสิริสวัสดิ์ ภูลพิพัฒน์พระเกียรติยศยิ่ง

 พ้นสิ่งสรรพทุกข์โรคันตรายทั้งปวง

อนึ่งเถาว์บัวทอง หมายถึง ทรงเนาวนิเวศน์ นามว่า “สระปทุม”

ใต้กรอบพระนามาภิไธย มีเลข มหามงคล ว่า

 ทรงพระเจริญ พระชนมายุ 60 พรรษา

บนพื้นสีหงสบาท (ส้มอ่อนหรือสีเท้าหงส์)

 เป็นสีวันพฤหัสบดี

 ในคัมภีร์พระไสยศาสตร์ ว่าเป็นมงคลอายุ

ของวันพระราชสมภพ

 ถัดลงมา มีเชิงลายถมสีหงชาด (ชมพู)

เขียนอักษรไทยยอดสีทองว่า “ฉลองพระชนมายุ 5 รอบ”

และ “2 เมษายน 2558” บนห้องลาย พื้นสีขาวถัดลงมา

 สะท้อนถึงทรงเชี่ยวชาญด้านอักษรโบราณ

และการโบราณคดีทั้งปวงด้วย

นายเอนกกล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้

สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรยังได้ดำเนินการแกะสลักแพะไม้

 เนื่องจากแพะเป็นสัตว์ประจำปีพระราชสมภพ

เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย

สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ที่จะเสด็จฯไปทรงเปิดงาน

ในวันที่ 2 ต.ค. ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

 โดยไม้มงคลที่นำมาใช้ แกะสลัก เป็นไม้สักทอง

ไม้ชัยพฤกษ์ และไม้พระยางิ้วดำ

ส่วนฐานใช้ไม้พะยูง มีความหมายถึงการพยุงเสริมพระบารมี

 ให้มีความมั่นคงแข็งแรง

ด้านหน้าของฐานประกอบด้วยตัวอักษรฉลุโลหะ

 (เงินชุบทอง) คำว่า “เฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา

 2 เมษายน 2558” และดวงตราสัญลักษณ์ฉลอง 60 พรรษา

 ความสูงของฐาน 5 ซม. เท่ากับ 5 รอบพระชนมายุ

ความกว้าง และยาว ของฐานขนาด 60 ซม.

 เท่ากับพระชนมายุ 60 พรรษา

ขณะที่ส่วนเครื่องทรงของแพะ ประกอบด้วย

เชือกห้อยคอ ทำด้วยทองคำ

กระพวนและรัดข้อเท้าสลักดุ้นทองคำ

พุ่มข้าวบิณฑ์สลักดุ้นทองคำฝังพลอยสีฟ้า

ประดับในส่วนต้นขาทั้ง 4 ด้าน

และดวงตาของแพะทั้ง 2 ข้าง ประดับด้วยนิล.
















ขอบคุณที่มาข้อมูล ข่าวไทยรัฐออนไลน์




Create Date : 20 มีนาคม 2558
Last Update : 20 มีนาคม 2558 12:13:59 น.
Counter : 2353 Pageviews.

0 comment
### วันนี้เป็นวันตรุษไทย วันแรม 15 ค่ำเดือน 4 ###
















วันนี้วันตรุษไทย แรม 15 ค่ำ เดือน 4

......................



ตรุษไทย เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตรตามหลักโหราศาสตร์ไทย

 โดยคำว่าตรุษนั้น เป็นภาษาทมิฬ แปลว่าตัด หรือการสิ้นไป

 วันตรุษจึงถือเป็นวันสิ้นปีของคนไทยมาแต่โบราณ

 โดยประเพณีนี้สืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

คู่กับประเพณีสงกรานต์ จึงมักเรียกรวมกันว่า

 ประเพณีตรุษสงกรานต์

โดยประเพณีตรุษไทย มีกำหนดคือ วันแรม 14-15 ค่ำ เดือน 4

 ถือว่าเป็นวันสิ้นปี และวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย

 ทั้งนี้คนไทยแต่โบราณเชื่อว่าในวันนี้ประตูนรกและสวรรค์

จะเปิดให้บรรพบุรุษออกมารับส่วนบุญได้

 จึงมีการจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร

 เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับในวันดังกล่าว


ประวัติ


 ตามจารีตประเพณีแต่ดั้งเดิมของไทย

ถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่

 แต่ต่อมาในสมัยสุโขทัย ได้ถือว่า

วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้าเป็นวันขึ้นปีใหม่ (ตรุษไทย)

 ซึ่งถึอตามปฏิทินทางจันทรคติ ซึ่งได้รับคติมาจากศรีลังกา

ที่รับประเพณีวันตรุษซึ่งเป็นประเพณีเดิมของชนชาติทมิฬ

และมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนกลายเป็นงานนักขัตฤกษ์ใหญ่

 เพื่อสร้างสวัสดิมงคลแก่บ้านเมือง

โดยราชสำนักไทยเรียกประเพณีตรุษนี้ว่า

 พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์

โดยมีการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล

และบำเพ็ญกิจโดยเอนกปริยาย เพื่อขับไล่อัปมงคล

และสร้างสิริมงคลแก่พระนครเนื่องในการขึ้นปีใหม่

โดยพระราชพิธีนี้ได้ปฏิบัติสืบมา

 และยกเลิกลงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากทรงเห็นว่า

ไทยได้ติดต่อกับประเทศต่าง ๆ มากขึ้น

 การใช้ปฏิทินทางจันทรคติไม่เหมาะสมและไม่สะดวก

 เพราะไม่ลงรอยกับปฏิทินสากล

จึงประกาศให้ราชอาณาจักรสยามกำหนดวันขึ้นปีใหม่

 โดยใช้วันทางสุริยคติตามแบบสากลแทน

ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา

 และถือเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ด้วย

ประเพณีตรุษไทยในปัจจุบัน

และเนื่องด้วยประเพณีตรุษ

กำหนดวันโดยใช้ปฏิทินทางจันทรคติ

ทำให้ส่วนใหญ่วันตรุษจะกำหนดลงในช่วงเดือนมีนาคม

 ซึ่งใกล้กับเทศกาลสงกรานต์

ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยเช่นเดียวกัน

ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่ทราบความสำคัญของวันตรุษไทยนี้

อย่างไรก็ตามวัดตามภาคกลางในประเทศไทย

ยังคงนิยมจัดประเพณีตรุษไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

โดยประเพณีตรุษไทยในปัจจุบัน

ยังคงจัดเป็นสอง หรือสามวัน

 ตามแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น

ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการทำบุญตักบาตรบำเพ็ญกุศล

เพื่ออุทิศให้บรรพชนผู้ล่วงลับ

โดยมีรูปแบบการบำเพ็ญกุศลเหมือนกับในวันธัมมัสวนะอื่น ๆ

แต่ที่ต่างออกไปคือ พุทธศาสนิกชนที่มาบำเพ็ญกุศล

 มักนำขนมไทยคือข้าวเหนียวแดง ข้าวต้มมัด

หรือกาละแม มาถายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ

ซึ่งเป็นความเชื่อที่มีมาแต่โบราณว่า

ในช่วงเทศกาลวันตรุษไทย ยมบาลจะเปิดประตูนรกและสวรรค์

ให้บรรพชนผู้ล่วงลับออกมารับส่วนกุศลที่ญาติมิตร

บำเพ็ญให้ในช่วงเทศกาลนี้ได้











ขอขอบคุณที่มา fb. นวพร สุปิงคลัด




Create Date : 19 มีนาคม 2558
Last Update : 19 มีนาคม 2558 13:03:11 น.
Counter : 2382 Pageviews.

0 comment
### ว่าด้วยวัฒนธรรมการนอนกลางวัน ###











 วัฒนธรรมการนอนกลางวัน

..................


หลานชายตัวน้อยงอแง ไม่อยากนอนกลางวัน

อ้างว่าไม่เห็นใครนอนเลย ยายเลยต้องเล่าเรื่อง

วัฒนธรรมการนอนกลางวัน

ของหลายประเทศในโลกให้ฟังว่า

ประเทศดังอย่าง ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี อเมริกาใต้

 เพื่อนบ้านอย่าง เขมร ลาว เวียดนาม

และ บางส่วนในจีน และอินเดีย ยังนอนกลางวันกันอยู่เลย

 นอนกันทั้งประเทศ ปิดทำงาน ค้าขาย นอน

 เรียกการนอนนี้ว่า siesta มาจากภาษาสเปน

มีรากศัพย์ มาจากภาษาละตินว่า sixth hour

โดยนับจากเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ชั่วโมงที่หก

 ก็ตรงกับตอนกลางวันพอดี เหตุผลของ siesta คือ

อากาศในตอนบ่ายร้อน จนทำงานไม่ได้ จึงต้องนอนพัก


siesta เป็นพฤติกรรมเก่าแก่

ที่มนุษย์ทั้งในเขตร้อน และเขตหนาวนอนกัน

มายาวนานนับร้อย ๆ ปี ประเทศแถบตะวันออกกลาง

หลายประเทศอย่างอียิปต์ กลางวันตลาดร้านค้าจะปิดร้านนอนกัน

 เหตุผลคืออากาศร้อนมาก จะเปิดร้านตอนเย็น

เพื่อผู้คนจะได้กลับบ้าน ไปทานอาหารกลางวัน กันนาน ๆ

และหลับงีบใหญ่ ก่อนที่จะกลับมาทำงานจนถึงค่ำมืด

 ช่วงเวลาของ siesta ที่เหมาะสมที่สุดคือ

ในช่วงเวลา บ่ายโมง- 16.00 น..

ชาวฝรั่งเศสและชาวอิตาเลี่ยน ปฏิบัติกันเป็นเรื่องธรรมดา

ที่อิตาลีร้านค้าเปิดเวลา 09.00. ถึง 13.00 น.

เปิดอีกที 15.30 ถึง 19.30 น

การนอนถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก

เราทุกคนต้องนอนให้เพียงพอ

เพื่อที่จะได้มีแรงทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน

เด็กเล็ก ควรนอนหลับกลางวัน หลังกินอาหาร

 อย่างน้อย สัก 1 ชม. จะช่วยให้สมองดี

มีความจำติดแน่นขึ้น . ...ไปนอนได้แล้วจ๊ะ




ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณภาพถ่ายเด็กน้อยน่ารักค่ะ









Create Date : 13 มีนาคม 2558
Last Update : 13 มีนาคม 2558 11:40:20 น.
Counter : 5479 Pageviews.

0 comment
### เบญจราชกกุธภัณฑ์ ###











เบญจราชกกุธภัณฑ์

.................

 เครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี

ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประกอบด้วย 5 สิ่ง

ซึ่งประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ วาลวิชนี

พระแส้และพระจามรี พระแสงขรรค์ชัยศรี

ธารพระกร และฉลองพระบาท

สมัยอยุธยาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ จะใช้เมื่อ

เวลาที่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน สิ้นรัชกาลลง

 และพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่เสวยราชย์

 และเมื่อเราเสียกรุงศรีอยุธยา ในปีพุทธศักราช 2310

คาดว่าสิ่งของเหล่านี้ได้สูญหายไป

ฉะนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 ทรงสถาปนากรุงเทพฯ ขึ้นเป็นนครราชธานี

พระองค์ได้ทรงสร้างเบญจราชกกุธภัณฑ์สำรับใหม่ขึ้น

และได้มีพระราชพิธีบรมราชาพิเษกในปี 2328

พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ จะต้องผ่านกระบวนการพิธี

 ที่เรียกว่า “บรมราชาภิเษก”

 ในพิธีจะมีการถวาย เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์

เช่นเดียวกับชาวยุโรปที่สวมมงกุฎ

แต่ของไทยจะไม่ใช้ วิธีการสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ

เนื่องจากหัวใจสำคัญของ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

อยู่ที่การถวายน้ำอภิเษก

 หลังการถวายน้ำอภิเษกแล้ว จึงถวายสิ่งของเหล่านี้

นับเป็นของสำคัญสำหรับบ้านเมืองมาโดยตลอด

หากพระเจ้าแผ่นดิน ยังไม่ได้ทำ พิธีบรมราชาภิเษก

 หรือยังไม่ได้รับเบญจราชกกุธภัณฑ์ พระเกียรติยศจะยังไม่เต็มที่

โดยจะยังไม่ออกพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 เรียกเพียงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉัตรก็เพียง 7 ชั้น

 เพราะฉัตร 9 ชั้น จะถวายในพิธีบรมราชาภิเษก

คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน จะเรียกเพียงพระราชโองการ

 ไม่ใช้พระบรมราชโองการ

 ด้วยเหตุนี้พระปฐมบรมราชโองการ

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม

 เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 นั้น

 เป็นพระราชกระแสรับสั่ง หลังจากผ่านพิธีเหล่านี้แล้ว

จึงเรียกว่า พระปฐมบรมราชโองการ

เพราะเป็นพระบรมราชโองการองค์แรก

ก่อนหน้านั้นเป็นเพียงแต่ พระราชโองการ

องค์ประกอบของเบญจราชกกุธภัณฑ์ ประกอบด้วย

พระมหาพิชัยมงกุฎ วาลวิชนี พระแส้และพระจามรี

พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร และฉลองพระบาท

"พระมหาพิชัยมงกุฎ "

สูง 66 เซนติเมตร หนัก 7,300 กรัม

 สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1

สำหรับเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 ทำด้วยทองคำ ลงยาราชาวดี สองข้างมีจอนหู

ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดี เช่นกัน

แต่ละชั้นประดับด้วยดอกไม้เพชร

 เดิมยอดพระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นยอดแหลม

 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชสมบัติ

ไปหาซื้อเพชร จากเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย

 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ติดไว้ ที่ยอดพระมหามงกุฎ

 โดยพระราชทานนามว่า “มหาวิเชียรมณี”

พระมหาพิชัยมงกุฎนี้ แต่เดิมเวลาทำพิธีบรมราชาภิเษก

 พระมหากษัตริย์ก็ทรงรับ จากพราหมณ์แล้วทรงใช้

ต่อมาในรัชกาล พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จึงทรงอนุโลมตามแบบประเทศตะวันตก ให้ถือว่า

 ขณะที่สวมพระมหามงกุฎ เป็นตอนสำคัญที่สุดของพิธี

พราหมณ์เป่าสังข์ ไกวบัณเฑาะว์มีการประโคม ยิงสลุต

 และพระสงฆ์สวดชัยมงคลทั่วราชอาณาจักร









"วาลวิชนี "

แปลกันเป็น 2 อย่าง คือ เป็นพัด แส้

เดิมเป็นพัดใบตาล ที่เรียกว่าพัชนีฝักมะขาม

ทำขึ้นครั้งรัชกาลที่ 1

ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงพระราชดำริเห็นว่า พัดใบตาลไม่ถูกต้อง

 เพราะพระบาลี แปลว่า วาลวิชนี

วาลเป็นขนโคชนิดหนึ่ง ซึ่งฝรั่งเรียก Yak

จึงทรงทำแส้ขนจามรีขึ้น

แต่ไม่ทรงอาจให้เปลี่ยนพัดของเก่า จึงใช้ไปด้วยกัน

ปัจจุบันใช้พระแส้ขนหางช้าง ด้ามทองคำแทน

พระแส้จามรี ที่ชำรุดมาก

วาลวิชนีมีลักษณะเป็นพัด ทำด้วยใบตาลปิดทอง มีขอบ

และด้ามเป็นทองคำลงยา

 ส่วนแส้ ในที่นี้ เป็นของที่ทำมาแทนแส้จามรี

ของรัชกาลที่ 4 ที่ด้ามเป็นแก้วผลึก


















"พระแสงขรรค์ชัยศรี"

ยาวเฉพาะองค์ 65 เซนติเมตร ด้าม 25.5 เซนติเมตร

ฝัก 75.5 เซนติเมตร ยาวตลอดองค์ 101 เซนติเมตร หนัก 1900 กรัม

พระขรรค์องค์นี้ใบพระขรรค์เป็นของเก่า ชาวประมงทอดแห่ได้

ที่ทะเลสาบนครเสมราฐ เมื่อพุทธศักราช 2327

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์(แบน) ให้พระยาพระเขมร

เชิญเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย

 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 โปรดเกล้าฯให้ทำด้ามและฝัก ขึ้น

ด้วยทองคำลงประดับอัญมณี

ใช้เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์สืบมา

พระขรรค์นี้เมื่อเชิญมาถึงกรุงเทพฯ มือสนีบาตตกถึง 7 แห่ง

 จำนวนนี้ มีตกในพระบรมมหาราชวังถึง 2 แห่ง

 คือที่ประตูวิเศษชัยศรี และพิมานชัยศรี

ซึ่งเป็นเหตุให้ประตูทั้งสอง ได้สร้อยชัยศรี

ตามชื่อพระขรรค์องค์นี้ด้วย

พระแสงขรรค์ชัยศรี มีลักษณ์ดังนี้

ตัวพระขรรค์เป็น เหล็กแหลมกล้ามีสองคม

โคนพระขรรค์คร่ำทอง จำหลักรูปเทพเจ้าในศาสนาฮินดู

 ประกอบด้วยพระนารายณ์ทรงครุฑ อยู่เบื้องล่าง

ถัดมา เป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

แต่ละองค์อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วแล็กๆ ที่เรียงซ้อนขึ้นไปอีกทีหนึ่ง

ด้ามของพระขรรค์ เป็นทองคำลงยาประดับพลอย

ส่วนบนของด้าม ทำเป็นลายกลีบบัว

 และส่วนบนของกลีบบัว เป็นครุฑแบก

ตรงกลางด้ามทำเป็นลาย หน้าสิงห์ก้านแย่ง

 และที่สันด้ามทำเป็นเทพพนม ซ้อนกันในรูปของหัวเม็ด

 ฝักทองคำลงยาที่โคน และปลายฝัก

 ส่วนลายตรงกลางนั้น เป็นเงินฉลุประดับพลอย











"ธารพระกร "

ตัวธารพระกรเป็นไม้ชัยพฤกษ์ปิดทอง

 ปลายทั้งสองข้าง เป็นเหล็กคร่ำทองข้างหนึ่ง

และเป็นซ่อมข้างหนึ่ง

 ของเดิมทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ปิดทอง

 หัวและส้นเป็นเหล็กคร่ำทองที่สุดส้นเป็นซ่อม

 ลักษณะเหมือน กับไม้เท้าพระภิกษุ

ที่ว่าใช้ในการชักมหาบังสุกุล

ธารพระกรองค์นี้มีชื่อเรียกว่า ธารพระกรชัยพฤกษ์

ครั้นถึงรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างธารพระกรองค์ใหม่องค์หนึ่งด้วยทองคำ

 ภายในมีพระแสงเสน่า (ศาสตราวุธคล้ายมีดใช้ขว้าง)

 ยอดมีรูปเทวดา เรียกว่า ธารพระกรเทวรูป

 แต่ที่แท้ลักษณะเป็น พระแสงดาบมากกว่าธารพระกร

และทรงใช้แทนธารพระกรชัยพฤกษ์

ครั้งตกถึงรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ

ให้กลับเอาธารพระกรชัยพฤกษ์

ออกใช้อีก และคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ธารพระกรนี้ ไทยได้ถือเอามาแทนฉัตร หรือพระมหาเศวตฉัตร

ซึ่งเป็นฉัตรผ้าขาว 9 ชั้น มีระบายขลิบทองแผ่ลวด

และมียอดเป็นราชกกุธภัณฑ์ ของพระมหากษัตริย์

มีที่ใช้คือ ปักที่พระแท่นราชอาสน์ ราชบัลลังก์

 กางกั้นเหนือพระแท่นที่บรรทม ปักพระยานมาศ

 และแขวงกางกั้นพระโกศ ทรงพระบรมศพ

 แต่โบราณมาไทยถือเศวตฉัตร เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด

 เศวตฉัตร หมายถึง ว่าเป็นพระราชามหากษัตริย์

 เช่นเดียวกับมงกุฎของชาวยุโรป

 สมัยรัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯ

ให้เอาฉัตรพระคชาธาร มายื่นถวายได้

 ทำเช่นนั้นต่อมาถึงรัชกาลที่ 6 จึงได้โปรดเกล้าฯ

ให้ทำฉัตร 9 ชั้นเล็กขึ้น ถวายด้วย

 สำหรับฉัตรพระคชาธารมีเพียง 7 ชั้น











"ฉลองพระบาท "

คือ ฉลองพระบาทเชิงงอน ซึ่งมีน้ำหนัก 650 กรัม

เป็นราชกกุธภัณฑ์สำคัญองค์หนึ่ง ตามแบบอินเดียโบราณ

ในทศรถชาดก ซึ่งเป็นต้นฉบับโบราณ ของนิทานพระราม เล่าว่า

 เมื่อพระภรตไปวิงวอนพระราม ในป่าให้กลับมาทรงราชย์นั้น

พระรามไม่ยอมกลับ จึงประทานฉลองพระบาท

ซึ่งพระภรตเชิญมาประดิษฐานไว้ แทนองค์พระราม

 บนราชบัลลังก์ในกรุงอโยธยา

ฉลองพระบาท ทำด้วยทองคำทั้งองค์

ที่พื้นภายในบุกำมะหยี่ ลวดลายเป็นทองคำสลัก

 ประดับพลอย และทองคำลงยา สีแดง เขียว ขาว

ลายช่อหางโต ใบเทศ ปลายฉลองพระบาททำงอนขึ้นไป

มีส่วนปลายเป็นทรงมณฑป











ที่มา : วารสารทองคำ
ขอบคุณ fb. Anna Jill




Create Date : 03 มีนาคม 2558
Last Update : 3 มีนาคม 2558 11:26:11 น.
Counter : 2649 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ