Group Blog
All Blog
### อย่าละเลยเมื่อปวดหลัง ###













“อาการปวดกล้ามเนื้อหลัง”

เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยที่สุดในโรคปวดหลัง

สาเหตุเกิดจากเส้นใยกล้ามเนื้อหลัง

หรือเอ็นที่ยึดระหว่างข้อกระดูกสันหลังถูกยืดออกมากเกินไป

 หรือมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อเส้นใย

ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ และนำไปสู่อาการปวดหลัง

 กล้ามเนื้อหลังหดเกร็ง มีการเคลื่อนไหวลำบาก

และจะปวดมากเมื่อพยายามขยับตัว

อาการปวดมักจะรุนแรงและทรมานมาก

ผู้ที่เคยเป็นมักจะจดจำประสบการณ์นั้นได้เป็นอย่างดี

ยากที่จะลืมเลือน

มีคำกล่าวกันว่าคนเราทุกคนจะต้องเคยปวดกล้ามเนื้อหลัง

อย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต

คนที่ไม่เคยปวดหลังเลยถือได้ว่าเป็นคนที่โชคดีมากๆ

จากสถิติพบว่าโรคปวดหลังถูกระบุเป็นสาเหตุ

ของการลาหยุดงานมากที่สุด

การที่กล้ามเนื้อหลังเกิดการอักเสบได้บ่อย

 เนื่องจากกระดูกสันหลังส่วนเอว

เป็นตำแหน่งที่มีการเคลื่อนไหวมากในกิจวัตรประจำวัน

ตั้งแต่การก้มหลัง แอ่นหลัง เอี้ยวตัว หมุนตัว

ดังนั้นร่างกายจึงต้องมีมัดกล้ามเนื้อขนาดใหญ่อยู่ข้างๆ

 กระดูกสันหลัง และมีเอ็นยึด

ระหว่างปล้องกระดูกสันหลังจำนวนมาก

การเคลื่อนไหวซ้ำๆ บ่อยๆ ในแต่ละวัน

จึงมีโอกาสสูงที่จะเกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อหลัง

และเอ็นรอบกระดูกสันหลังได้

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการใช้งานในท่าที่ไม่ถูกต้อง

หรือใช้งานมากเกินกำลัง

 มีบางส่วนเกิดจากอุบัติเหตุโดยตรง

 เช่น บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

ส่วนในกรณีของหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนหรือเสื่อม

 ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังได้เช่นกัน

 และบางครั้งจะแยกจากกันได้ยาก

ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

 อย่างไรก็ตามการรักษาเบื้องต้นในทั้งสองกรณี

จะเหมือนกัน และสามารถทำได้ด้วยตนเอง

ลักษณะอาการคือ จะปวดหลังอย่างรุนแรงบริเวณบั้นเอว

 กระเบนเหน็บ อาจจะร้าวมาที่สะโพกทั้งสองข้างก็ได้

ถ้ามีอาการปวดมากๆ จะมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง

 แข็งเป็นลำสองข้างของกระดูกสันหลัง

 ทำให้ขยับเคลื่อนไหวได้ลำบาก

เวลาลุกยืน ไม่สามารถเหยียดหลังให้ตรงได้

หรือที่เรียกว่าหลังยอก หลังแข็ง

วิธีการรักษาอาการปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบ

สามารถทำได้เอง โดยให้นอนพักบนเตียงนอนในท่านอนหงาย

ใช้หมอนข้างสอดใต้ขาพับทั้ง 2 ข้าง หรือวางขาบนม้าเตี้ยๆ

 เพื่อให้เอวเหยียดตรง ราบไปบนที่นอน

ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 1-2 วัน

ซึ่งแนะนำไม่ให้นอนพักเกิน 2 วัน ควรรับประทานยาแก้ปวด

 เช่น พาราเซตามอล ด้วย ช่วยให้หายปวดได้เร็วขึ้น

 ส่วนยาต้านอักเสบสามารถลดอาการปวดได้อย่างรวดเร็ว

มีหลายชนิด ผู้ที่เป็นโรคไต ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

และยาต้านอักเสบเกือบทุกตัวจะกัดกระเพาะ

 ยาคลายกล้ามเนื้อสามารถใช้ได้แต่มักจะมีผลข้างเคียง

 ทำให้มึนงงหรือง่วง หากจะเลือกใช้ต้องระมัดระวัง

การขับขี่รถยนต์และการทำงานกับเครื่องจักรด้วย

การทำกายภาพบำบัด สามารถช่วยให้อาการปวดหายเร็วขึ้น

ลดระยะเวลาการพักฟื้นให้น้อยลง

 เช่น การประคบร้อนด้วยเครื่องมือเฉพาะต่างๆ

การนวดอย่างถูกวิธี รวมทั้งการฉีดยาเฉพาะที่ การฝังเข็ม

แต่ต้องมีค่าใช้จ่าย และต้องรักษากับผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาล

ภายหลังจากอาการปวดเฉียบพลันลดลงแล้ว

ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เกิน 1-2 วัน ผู้ป่วยควรจะทำกายบริหาร

เพื่อเหยียดกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรง

ให้กล้ามเนื้อทุกส่วนอยู่ในสภาพสมดุล

ซึ่งรวมทั้งกล้ามเนื้อที่ควบคุมการทำงานของข้อสะโพก

และเชิงกรานด้วย นั่นคือ

นอกจากจะทำกายบริหารกล้ามเนื้อหลังแล้ว

 ยังต้องทำกายบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง

กล้ามเนื้อสะโพก และกล้ามเนื้อต้นขาด้วย

 ควรจะทำกายบริหารสม่ำเสมอ ต่อเนื่องตลอดไป

 เพื่อป้องกันการปวดเรื้อรัง หรือการเกิดเป็นซ้ำบ่อยๆ

ส่วนการนอนพักนานเกินไปจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี

ส่วน การหยุดเคลื่อนไหวนานๆ กล้ามเนื้อจะไม่ยืดหยุ่น

อ่อนกำลังลง กล้ามเนื้อจะลีบเล็กลง

และกลายเป็นเนื้อเยื่อพังผืดในที่สุด

เหตุใดบางคนจึงปวดหลังบ่อย

หรือปวดประจำจนกลายเป็นปวดเรื้อรัง

จากการศึกษาวิจัย แพทย์พบว่า

มีปัจจัยบางอย่างที่เป็นสาเหตุร่วมของอาการปวดหลังบ่อยๆ

เช่น ภาวะอ้วนลงพุง การสูบบุหรี่จัด และการไม่ออกกำลังกาย

ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้ออยู่ในสภาพไม่สมดุล

นอกจากนั้นยังรวมถึงการใช้งานไม่ถูกต้อง

ทั้งจากความประมาท ไม่ระมัดระวัง

 หรือไม่มีความรู้มาก่อน เช่น การก้มยกของหนัก

การนั่งกับพื้น เป็นต้น

วิธีป้องกันจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว

 หากไม่อยากเกิดอาการปวดหลังอีก

ต้องกำจัดปัจจัยดังกล่าว เช่น งดสูบบุหรี่

ควบคุมน้ำหนักตัว และที่สำคัญ

คือการออกกำลังกายสม่ำเสมอ

เพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

และปรับสภาพกล้ามเนื้อให้สู่สภาพสมดุล

 กีฬาที่แนะนำ คือว่ายน้ำ

จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยปวดหลังเรื้อรัง

 หรือปวดบ่อยๆ มากที่สุด

ส่วนวิธีบริหารร่างกาย เมื่อมีอาการปวดกล้ามเนื้อหลัง

 ส่วนใหญ่จะเป็นการเหยียดกล้ามเนื้อ

และเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อรอบๆ กระดูกส่วนหลัง

รวมถึงกล้ามเนื้อท้อง และกล้ามเนื้อต้นขา

ดังนั้น อาการปวดหลังเมื่อเกิดขึ้นแล้ว อย่าปล่อยทิ้งไว้

 อย่าละเลยคิดว่าเดี๋ยวก็หาย

เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาเรื้อรัง

ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

- กายบริหารสำหรับกล้ามเนื้อท้องและต้นขา
ชันเข่าขึ้น 2 ข้าง ยกขาข้างหนึ่ง เหยียดตรง

ถ้าไม่ปวดคอ ให้ยกหัวขึ้นเล็กน้อยเกร็งค้างไว้ 5 วินาที

และทำซ้ำ 5-15 ครั้ง

- กายบริหารสำหรับกล้ามเนื้อท้องและสะโพก
ชันเข่าขึ้น 2 ข้าง แขม่วท้อง กดหลังให้แนบกับพื้น

 ขมิบก้น พร้อมกับยกสะโพกให้ลอยสูงขึ้นเล็กน้อย

เกร็งค้างไว้ 5 วินาที และทำซ้ำ 5-15 ครั้ง

- กายบริหารสำหรับเหยียดกล้ามเนื้อหลัง

และกล้ามเนื้อต้นขาทั้งด้านหน้าและหลัง

ใช้มือ 2 ข้างดึงเข่ามาชิดแนบอก

 ขณะเดียวกันกดขาข้างตรงข้ามให้แนบกับพื้น

 เกร็งค้างไว้ 5 วินาที และทำซ้ำ 5-15 ครั้ง

ขอบคุณข้อมูลจาก รศ.นพ.วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

#‎RamaChannel‬







Create Date : 05 กันยายน 2557
Last Update : 5 กันยายน 2557 10:50:08 น.
Counter : 1021 Pageviews.

2 comment
### กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม ###




ปัสสาวะเล็ดราด ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม









ความผิดปกติในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ

 มีปัสสาวะเล็ดราดออกมา ในเวลาที่ไม่เหมาะสม

เช่น ปวดปัสสาวะแล้วไปห้องน้ำไม่ทัน ไอ จาม หรือหัวเราะ

 แล้วมีปัสสาวะเล็ดราด เหล่านี้ถือว่าผิดปกติ

เพราะส่งผลต่อการดำเนินชิวิตประจำวัน

ทำให้ไม่สามารถเดินทางตามใจชอบได้

เพราต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆ

เกิดปัญหาในการดูแลสุขอนามัยส่วนตน

 เกิดผื่น มีกลิ่นไม่พึงประสงค์

นอกจากนี้ยังต้องตื่นขึ้นมาถ่ายปัสสาวะ

ตอนกลางคืนอยู่บ่อยครั้งจนขาดการพักผ่อน

 ส่งผลเสียต่อการทำงานในตอนกลางวัน

 ผู้สูงอายุหลายรายสะดุด หกล้ม จนกระดูกหัก

ในขณะที่ตื่นมาถ่ายปัสสาวะจนเป็นอันตรายได้

ในสภาวะปกติ คนเราจะต้องกลั้นปัสสาวะได้

ไม่มีปัสสาวะเล็ดราดออกมาเมื่อยังไม่ถึงเวลา

ในการขับถ่ายปัสสาวะ

 ถึงแม้ว่าจะปวดปัสสาวะมากแค่ไหนก็ตาม

หากยังไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ เช่น ห้องน้ำไม่ว่าง

หรือกำลังเดินทาง ก็ต้องกลั้นได้

ทั้งนี้เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะมีความสามารถ

ในการขยายตัวออกเพื่อเก็บน้ำปัสสาวะมากขึ้น

 และกลไกหูรูดที่ควบคุมไม่ให้ปัสสาวะไหลออกมาจะปิดสนิท

ในผู้หญิงจะแตกต่างจากในผู้ชาย

 เนื่องจากเพศชายมีต่อมลูกหมาก

อยู่ถัดจากกระเพาะปัสสาวะ

ซึ่งช่วยในการกลั้นปัสสาวะได้

การควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ

และหูรูดเป็นการทำงานที่มีความซับซ้อน

ในความควบคุมกำกับของระบบประสาท

อันประกอบด้วยสมอง ก้านสมอง ไขสันหลัง

และบรรดาเส้นประสาทต่างๆ ที่มาหล่อเลี้ยงกระเพาะปัสสาวะ

 หากมีความผิดปกติในระดับใดระดับหนึ่ง

ก็จะส่งผลให้มีปัสสาวะเล็ดราดควบคุมไม่ได้

ซึ่งอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

สามารถแบ่งเป็นอาการหลักๆ ได้ดังนี้ 

ปวดปัสสาวะรุนแรง แล้วมีปัสสาวะราดออกมา

ไม่สามารถไปถ่ายปัสสาวะได้ทัน

มักพบได้บ่อยในผู้หญิง ผู้สูงอายุ

และในผู้ชายที่มีต่อมลูกหมากโตร่วมด้วย

อาการเด่นชัดคือ ปัสสาวะจะเล็ดราดออกมา

ก่อนที่จะไปถึงห้องน้ำ

ยิ่งมองเห็นห้องน้ำ หรือกำลังจะเปิดประตูห้องน้ำ

 จะยิ่งปวดรุนแรงและราดออกมา

ไม่สามารถควบคุมไว้ได้

 สาเหตุเกิดจากกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวกว่าปกติ

บีบตัวรุนแรงกว่าปกติ ซึ่งอาจจะเป็นความผิดปกติ

ในกระเพาะปัสสาวะเอง หรืออาจจะผิดปกติ

ในการทำงานของระบบประสาทควบคุมก็ได้

ไอ จาม มีปัสสาวะเล็ดราด ผู้ป่วยที่พบมักจะเป็นผู้หญิง

 ส่วนผู้ชายจะมีอาการนี้ได้เช่นกัน

หากได้รับการผ่าตัดรักษาต่อมลูกหมากมาก่อน

 สาเหตุของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบนี้

เกิดจากการทำงานของหูรูดหย่อน

เมื่อมีการเพิ่มแรงดันจากช่องท้องลงมากดกระเพาะปัสสาวะ

 หูรูดก็ไม่อาจทัดทานไว้ได้ ปล่อยให้ปัสสาวะเล็ดราดออกมา

 การเพิ่มแรงดันจากช่องท้องที่พบบ่อยได้แก่

การไอ จาม หัวเราะ หรือการออกกำลังกาย

ส่วนสาเหตุชักนำได้แก่ การคลอดบุตร

วัยหมดประจำเดือน การตัดมดลูกเป็นต้น

ปัสสาวะไหลรินออกมาโดยไม่รู้ตัว

ไม่มีอาการปวดปัสสาวะ

บางครั้งอาจไหลตอนขยับตัวจากนอนเป็นนั่ง

หรือลุกขึ้นยืน สาเหตุเกิดจาก

มีปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะ

 ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะออกมาได้หมด

เช่น ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี

จนส่งผลให้การทำงานของกระเพาะปัสสาวะเสื่อม

 กระเพาะปัสสาวะบีบตัวน้อย

 ถ่ายปัสสาวะออกมาแล้วยังมีตกค้างในกระเพาะปัสสาวะอีก

 ในผู้ชายอาจเกิดจากต่อมลูกหมากโต

ถ่ายปัสสาวะไม่หมด มีปัสสาวะตกค้างเป็นระยะเวลานานๆ ก็ได้

 ส่วนการปัสสาวะรดที่นอน เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก

ซึ่งเป็นตามวัย เมื่อเด็กมีพัฒนาการ

ในการขับถ่ายปัสสาวะดีขึ้น ก็

จะสามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้เอง

 นอกจากนั้นหากพบในวัยผู้ใหญ่

มักจะมีความผิดปกติในระบบประสาทควบคุม

การตรวจวินิจฉัย ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นี้

แพทย์ อาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย

 ตรวจปัสสาวะเป็นหลัก หากซักประวัติได้มากพอ

ร่วมกับผู้ป่วยสามารถให้ข้อมูลการดื่มน้ำ

และประมาณปัสสาวะ โดยการจดบันทึก

มาให้แพทย์เป็นระยะเวลา 3-4 วัน จ

ะทำให้ได้ข้อมูลที่นำไปสู่การวินิจฉัยได้มาก

 กล่าวคือ ให้ผู้ป่วยจดบันทึกปริมาณน้ำ

เครื่องดื่มต่างๆ เวลาที่ดื่ม แยกเป็นเวลากลางวัน

ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน

และเวลากลางคืน ตั้งแต่เข้านอนแล้วจนตื่นเช้า

ร่วมกับจดปริมาณปัสสาวะที่ถ่ายออกมาด้วย

 ซึ่งเครื่องดื่มบางชนิดอาจมีส่วนกระตุ้น

ให้การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เช่น กาแฟ

และการดื่มน้ำมากเกินไปก็อาจทำให้ปัสสาวะบ่อย

 ส่วนการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การตรวจทางรังสี

การตรวจการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ

 หรือการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะนั้น

มีความจำเป็นน้อย

แพทย์จะพิจารณาทำในบางรายที่มีข้อบ่งชี้เท่านั้น

การพิจารณาให้การรักษา

เนื่องจากภาวะปัสสาวะเล็ดราด

เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพชีวิต

การจะพิจารณาให้การรักษา ในรูปแบบใด

 จึงขึ้นกับแต่ละบุคคลเป็นหลัก

 ว่าในแต่ละวันมีกิจวัตรอะไรบ้าง

 การมีปัสสาวะเล็ดราดสร้างปัญหามากน้อยประการใด

 ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาวิธีการรักษา มีมากมายหลายประการ

 เช่น การปรับปรุงพฤติกรรมบางอย่าง การดื่มน้ำ

หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มบางอย่าง

ที่กระตุ้นให้มีการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นต้น

การใช้ยารักษา ในปัจจุบันมียาชนิดใหม่

ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถ

ลดอัตราการมีปัสสาวะเล็ดราดได้ดีพอสมควร

 ซึ่งยาดังกล่าว จะให้ผลดี

กับผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดปัสสาวะรุนแรง

แล้วไม่สามารถไปห้องน้ำทัน เล็ดราดออกมาก่อน

ส่วนกลุ่มที่มีไอ จาม ปัสสาวะเล็ดราด

นอกจากจะสามารถใช้การฝึกกล้ามเนื้อเชิงกราน

ให้มีความแข็งแรงแล้ว

การผ่าตัดก็เป็นอีกวิธีการรักษาหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ

 ในปัจจุบันการผ่าตัดทำได้ไม่ยาก

มีแผลผ่าตัดเล็กมาก เพียงวันเดียวก็สามารถกลับบ้านได้

และผลจากการผ่าตัดได้ผลดี

สามารถกลับมากลั้นปัสสาวะได้กว่าร้อยละ 90

ดังนั้น ปัญหาการมีปัสสาวะเล็ดราด ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไป

 จึงสมควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุ

และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์วชิร คชการ

ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

 มหาวิทยาลัยมหิดล
‪#‎RamaChannel‬








Create Date : 19 สิงหาคม 2557
Last Update : 20 สิงหาคม 2557 11:32:18 น.
Counter : 979 Pageviews.

0 comment
### การรักษาอาการปวดหลังและกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทขา ###














การรักษาอาการปวดหลัง

และกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทขา

โดยการส่องกล้องแผลเล็กกว่า 1 เซนติเมตร

 ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องดมยาสลบ ไม่ต้องเปิดแผลกว้าง

อาการปวดหลัง เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง

ในผู้ป่วยที่มีปัญหาของระบบกระดูกและข้อ (Orthopedic)

 โดยสาเหตุมักจะเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อ

และกระดูกสันหลังส่วนเอวที่ผิดวิธี

ทำให้เกิดภาวะเสื่อมหรือเคลื่อนของกระดูกสันหลัง

หรือหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทขา

ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง

การรักษา

โดยปกติอาการปวดหลังรักษาได้โดยวิธีการพัก

และรับประทานยา ร่วมกับการทำกายบริหารร่างกาย

ที่ถูกวิธี (Conservative treatment)

ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 95 อาการจะดีขึ้น

ดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถรับการรักษา

ด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด อย่างไรก็ตาม

จะมีผู้ป่วยประมาณร้อยละ 1-3 ที่ยังคงมีอาการปวดมาก

หรืออาการไม่ทุเลา ไม่สามารถทำงานได้

หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ขาอ่อนแรง เดินลำบาก

กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้ อาการเหล่านี้เป็นข้อบ่งชี้ว่า

 ผู้ป่วยควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจ

วินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี

ปัจจุบันวิทยาการผ่าตัดกระดูกสันหลังได้รับการพัฒนา

จนได้มาตรฐานระดับสูงเป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย

ทั้งในระดับประเทศ เอเชีย และระดับโลก

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิคส์ของทุกโรงพยาบาล

ผ่าตัดด้วยวิธีมาตรฐาน (Standard surgery)

ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าได้ผลการรักษาที่ดีและปลอดภัย

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการรักษาทางเลือกหลาย ๆ วิธี

 ซึ่งในที่นี้ไม่สามารถอธิบายได้ครบ

การรักษาทางเลือกเหล่านี้ได้รับการพัฒนาเทคโนโลยี

การผ่าตัดอันทันสมัยทำให้สามารถให้การรักษา

ด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด หรือผ่าตัดแผลเล็ก 0.9 เซนติเมตร

 ภายใต้การให้ยาชาเฉพาะที่ (Local Anesthesia)

 โดยไม่ต้องดมยาสลบ

ประกอบกับมีการพัฒนากล้องส่องกระดูกสันหลัง

ขนาดเล็ก 6.9 มิลลิเมตร และล่าสุดขนาด 2 มิลลิเมตร

ทำให้การผ่าตัดเล็กลงมาก ผู้ป่วย

จะได้รับการพักฟื้นสังเกตอาการ 1-2 ชั่วโมง

ก็สามารถกลับบ้านได้ด้วยวิธี Selective Nerve Root Block

 หรือ 1-2 วัน (1 คืน) ด้วยวิธี

Percutaneous Full Endoscopic Lumbar discectomy (PELD)

ภายใต้การให้ยาชาเฉพาะที่การรักษาอาการปวดหลัง

ด้วยวิธีการฉีดยาระงับปวดบริเวณเส้นประสาทหลัง

โดยไม่ต้องผ่าตัด (Selective Nerve Root Block)

ภาวะปวดหลังเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด

อาการหนึ่งในผู้ป่วยทั่วไป

ทั้งนี้สาเหตุอาจเกิดได้จากโรคต่าง ๆ

 เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทขา

กระดูกสันหลังเสื่อมตีบแคบทับเส้นประสาทขาในผู้สูงอายุ

 ในโรคเหล่านี้ผู้ป่วยมักมีอาการปวดหลัง ขาชา

ขาอ่อนแรง เดินลำบาก ในบริเวณขาข้างใดข้างหนึ่ง

หรือทั้งสองข้าง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 95

สามารถรักษาได้โดยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด

เช่น การใช้ยาลดการอักเสบ การทำกายภาพบำบัด

ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงท่าทางในชีวิตประจำวัน

ซึ่งการรักษาเหล่านี้ได้ผลในผู้ป่วยส่วนมาก

 แต่อย่างไรก็ตามจะมีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง

ที่อาการปวดหลังไม่ดีขึ้นจากการรักษาดังกล่าวข้างต้น

 ทำให้แพทย์ต้องพิจารณาผ่าตัด

แต่ผู้ป่วยบางรายอาจอยู่ในภาวะไม่พร้อมทางร่างกาย

หรือไม่ยินดีเข้ารับการผ่าตัด

ทำให้ไม่สามารถรักษาอาการปวดหลังได้

เป็นเหตุให้ผู้ป่วยต้องทนต่ออาการเจ็บปวด

และทรมานจากอาการปวดหลัง

ซึ่งในปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีการฉีดยาระงับปวด

บริเวณเส้นประสาทหลัง (Selective Nerve Root Block)

เป็นวิธีที่สามารถทำให้ผู้ป่วยลดอาการเจ็บปวดได้

ถึงร้อยละ 70-80 ซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่ง

ก่อนที่จะเลือกเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้ผลการรักษาดีและพึงพอใจ

ในการระงับความเจ็บปวดจากการทำวิธีนี้

อาจหลีกเลี่ยงการรักษาโดยการผ่าตัดได้

โดยแนะนำวิธีนี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงสูง

หากมีการผ่าตัด เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว

อันได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

โรคหัวใจชนิดต่าง ๆ ผู้ป่วยที่มีประวัติ

แพ้ยารุนแรงหลายชนิด

อาการที่สามารถเข้ารับการรักษา

โดยการฉีดยาระงับปวดบริเวณเส้นประสาทหลัง

 ได้แก่

1.มีอาการปวดหลัง

2.โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทขาข้างใดข้างหนึ่ง

หรือมีอาการปวดร้าวลงขาทั้งสองข้าง (Herniated disc)

3.โรคกระดูกสันหลังเสื่อมทับเส้นประสาทขาข้างใดข้างหนึ่ง

 หรือปวดขา ชาขาทั้งสองข้าง (Lumbar stenosis)

4.ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ปวดขาจากโรคต่าง ๆ

เช่น เนื้องอก ผู้ป่วยมะเร็งกดทับเส้นประสาท

วิธีนี้จะช่วยผู้ป่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้มาก

 และอาจลดปริมาณยาที่ใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดลงได้

5.ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดบริเวณกระดูกสันหลัง

แล้วอาการดีขึ้นไม่มาก ยังคงมีอาการอักเสบ

อาการปวดหลังเหลืออยู่หลัง

การผ่าตัด

วิธีการฉีดยาระงับปวดบริเวณเส้นประสาทหลัง

 (Selective Nerve Root Block)
1.เป็นการใช้ยาฉีดเฉพาะที่

ผู้ป่วยไม่ต้องดมยาสลบ

หรือระงับความรู้สึกทางประสาทไขสันหลัง

2.ใช้เครื่องมือเอกซเรย์นำร่อง

เพื่อบอกตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง

ซึ่งจะทำในห้องผ่าตัดใช้ เวลาประมาณ 20 นาที

3.ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวหรือเดินได้ทันที

หลังการฉีดยาระงับปวดเสร็จ

4.หลังทำวิธีนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

 ยกเว้นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

 แนะนำนอนโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 1 วัน

ผลการรักษา

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดหลัง, ขาชา

ร้อยละ 80 จะดีขึ้นภายใน 1-3 วัน

หลังได้รับการฉีดยาโดยวิธีนี้

และแพทย์จะใช้เวลา ติดตามผลการรักษาต่อเนื่อง

อีกอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ ผู้ป่วยร้อยละ 20

ที่อาการยังไม่ดีขึ้นชัดเจน อาจพิจารณาฉีดยาระงับปวดซ้ำได้

เนื่องจากความเสี่ยงต่ำกว่าการผ่าตัด

แต่หากติดตามแล้วอาการปวดหลังไม่ดีขึ้น

แพทย์จะพิจารณาการรักษาโดยการผ่าตัด

ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการรักษาโดยการผ่าตัดส่องกล้อง

กระดูกสันหลัง หรือผ่าตัดด้วยวิธีอื่น

ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยแต่ละราย

กล่าวโดยสรุป

วิธีการรักษาอาการปวดหลังด้วยวิธีการฉีดยาระงับปวด

บริเวณเส้นประสาทหลังเป็นวิธีที่ปลอดภัยได้ผลดี

ไม่ต้องผ่าตัดหรือดมยาสลบ

 สามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการระงับอาการปวดหลัง

ที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก รองศาสตราจารย์ธเนศ วัฒนะวงษ์

 หน่วยกระดูกสันหลัง ภาควิชาออร์โธปิดิคส์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

 มหาวิทยาลัยมหิดล

#Ramachannel







Create Date : 15 สิงหาคม 2557
Last Update : 15 สิงหาคม 2557 22:39:05 น.
Counter : 1378 Pageviews.

0 comment
### โรคกระดูกคอเสี่อม ###














ภาวการณ์เจ็บป่วยอันเกิดจากกระดูกนั้น

 มักจะมีหลายสาเหตุที่เป็นปัจจัยสำคัญ

ของการเกิดความเจ็บปวดของกระดูก

“โรคกระดูกคอเสื่อม”

ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้ในปัจจุบัน

เมื่ออายุมากขึ้น และร่างกายมีการใช้งานมากขึ้น

สาเหตุสำคัญคือ เมื่ออายุมากขึ้น

ข้อต่อต่าง ๆ ระหว่างกระดูกคอแต่ละปล้อง

ได้รับแรงกระแทกมานาน

จึงมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างไป

เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังมีส่วนประกอบของน้ำ

เปลี่ยนจาก 88% ในเด็ก เป็น 70% ในคนอายุ 72 ปี

ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังแฟบลง

 (คนอายุมากจึงเตี้ยลงกว่าเดิม)

และมีความยืดหยุ่นลดลง

ส่งผลให้ส่วนอื่นที่อยู่รอบข้าง

ต้องรับแรงกระแทกมากขึ้น

จึงมีหินปูนมาเกาะกระดูกและเอ็นพังผืดต่าง ๆ

ทำให้หนาตัวขึ้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

จะช่วยกันกดเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ

 ปรากฏการณ์นี้มักเกิดตรงบริเวณ

ที่มีการเคลื่อนไหวมากคือที่ หลังคอ และ หลังเอว

เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนขึ้นไป

ก็มักจะมีการเสื่อมที่กระดูกสันหลังขึ้นได้

 หากใครเกิดมามีช่องที่เส้นประสาทกว้างมากเป็นทุนเดิม

 แม้มีการเสื่อมขึ้นมา ก็ไม่มีอาการอะไร

 เพราะเส้นประสาทไม่ถูกกดมาก

แต่ถ้าทุนเดิมแคบพอดี ๆ อยู่แล้ว

เมื่อมีการเสื่อมเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเกิดอาการได้

เราพบว่าอัตราการพบเจอโรคนี้

จากภาพรังสีของคนทั่วไปพบว่า

คนอายุ 50 ปี ร้อยละ 50 มีอาการกระดูกคอเสื่อม

 และคนอายุ 65 ปี พบเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 75-85

ทุกคนคงเคยมีอาการปวดคอ

ซึ่งส่วนมากเกิดจากกล้ามเนื้อหรือเอ็นรอบคอ

 เกิดอาการเคล็ด ขัด ยอก ซึ่งมักไม่รุนแรงและหายไปได้เอง

 แต่ไม่แน่ว่าอาการเหล่านี้อาจเกิดจากกระดูกคอเสื่อมก็ได้

เมื่ออายุมาก ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ทุกคน

ลักษณะอาการของโรคกระดูกคอเสื่อม

เมื่อกระดูกคอเสื่อม หินปูนที่เกาะกระดูกและเอ็น

จะไปกดเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการที่พบบ่อย

คือ ปวดคอร้าวไปยังแขนและชาที่แขน

 มักปวดหลังคอบริเวณ 2 ข้างของกระดูกสันหลัง

อาจปวดร้าวขึ้นไปถึงท้ายทอยหรือลงมาบริเวณสะบัก

 และปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือออกแรง

 ถ้าไม่มีการปวดร้าวมาที่แขน แสดงว่ายังไม่มีการกดเส้นประสาท

แต่ปวดกระดูกและข้อต่าง ๆ

ในกระดูกสันหลัง ซึ่งมีการเสื่อมสภาพไป

ถ้ามีการกดเส้นประสาทใด

 จะมีอาการปวดร้าวไปตามบริเวณที่เส้นประสาทซึ่งถูกกด

วิ่งไปเลี้ยง อาการนี้มักจะเป็น ๆ หาย ๆ แบบเรื้อรัง

 โดยระดับกระดูกคอที่มีการเสื่อมบ่อยมากคือ

 กระดูกข้อที่ 5-6 และ ข้อที่ 6-7

ดังนั้นเส้นประสาทที่ถูกกดคือ เส้นประสาทคอเส้นที่ 6

และเส้นประสาทคอเส้นที่ 7

ซึ่งกระดูกข้อที่ 5-6 กดเส้นประสาทคอเส้นที่ 6

และข้อที่ 6-7 กดเส้นประสาทคอเส้นที่ 7

ส่วนอาการเส้นประสาทคอเส้นที่ 6 ถูกกด

 คือปวดหลังคอร้าวไปแขนตรงกล้ามเนื้องอแขน

 และอาจปวดร้าวไปถึงแขนท่อนล่าง จนถึงนิ้วโป้งและนิ้วชี้

 และอาการเส้นประสาทคอเส้นที่ 7 ถูกกด

คือปวดหลังคอร้าวไปด้านหลังของไหล่

ไปหลังแขนตรงกล้ามเนื้อเหยียดแขน

และอาจปวดร้าวไปถึงด้านหลังของแขนท่อนล่าง จนถึงนิ้วกลาง

ถ้ามีการกดประสาทไขสันหลังขึ้น

จะมีอาการแบบค่อย ๆ อ่อนแรงลงเรื่อย ๆ

ใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปี จนกระทั่งเดินไม่ได้

แต่ในระยะเริ่มต้นมักมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น เดินไม่คล่อง

ทำของหล่นจากมือบ่อย ๆ เมื่อเป็นมากขึ้น จะเดินขากาง

โน้มตัวไปข้างหน้า ในที่สุดจะเดินไม่ได้ ต้องนั่งรถเข็น

กลัดกระดุมเสื้อไม่ได้ เขียนหนังสือลายมือไม่เหมือนเดิม

 ต้องเปลี่ยนลายเซ็นกับธนาคาร ซึ่งเมื่อทำการตรวจร่างกาย

 ก็จะพบกล้ามเนื้อมือลีบลงและอ่อนแรงลง

กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง มีอาการปวดแบบไฟฟ้าช็อต

หรือชาซู่ซ่าไปกลางหลังเวลาก้มคอ

สำหรับการวินิจฉัยเพื่อรักษานั้น

เมื่อคนอายุมากส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกคอ

ที่เห็นได้จากภาพรังสี แต่ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีอาการ

ดังนั้นการวินิจฉัยโรคนี้ต้องซักประวัติและตรวจร่างกายให้ดี

อาการทุกอย่างต้องเข้าได้กับภาพทางรังสี

และภาพทางคอมพิวเตอร์แม่เหล็ก (MRI)

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.นพ.ทวีศักดิ์ จันทร์วิทยานุชิต

ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

#RamaChannel







Create Date : 09 สิงหาคม 2557
Last Update : 9 สิงหาคม 2557 19:51:12 น.
Counter : 1193 Pageviews.

0 comment
### วิธีป้องกันมะเร็งมดลูกและมะเร็งรังไข่ ของหญิงที่ยังไม่มีบุตร ###














ในผู้หญิง เมื่อมีการเจริญเติบโตขึ้น

 ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง

ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงด้านสังคม

การพัฒนาของระบบเจริญพันธุ์

 เกิดการตกไข่และมีประจำเดือน

สามารถตั้งครรภ์และมีบุตรได้

 กระบวนการเจริญสู่วัยสาว

 ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย

ที่เด็กหญิงไม่เคยประสบมาก่อน

เช่น อาการคัดตึงของเต้านม

 จากการกระตุ้นของฮอร์โมนที่สร้างจากรังไข่

อาการปวดท้องน้อยข้างเดียวจากการตกไข่

อาการปวดหน่วงขณะมีประจำเดือน

อันเกิดจากมดลูกบีบตัว

ในแต่ละรอบเดือน รังไข่จะสร้าง

ฮอร์โมนเพศหญิงปริมาณมหาศาล

ฮอร์โมนเหล่านี้จะไปกระตุ้นอวัยวะของความเป็นหญิง

เช่น เต้านม มดลูก ปีกมดลูก และอวัยวะในอุ้งเชิงกราน

ในสตรีบางคนการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศหญิง

 ทำให้เกิดภาวะบางอย่าง

เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ซึ่งมักร่วมกับอาการปวดประจำเดือนอย่างมาก

 ฮอร์โมนอาจกระตุ้นการเจริญ

ของเนื้องอกในตัวมดลูกและเต้านม

ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาขึ้นจนกลายเป็นมะเร็งได้

การกระตุ้นให้เนื้องอกในมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น

หรือในรายที่เป็นมะเร็งเต้านม

อาจกระตุ้นให้มะเร็งแพร่กระจาย

สภาวะเหล่านี้จะลดน้อยลง หรือหายไปได้

หากปราศจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศหญิง

ในรายที่เป็นมะเร็งมดลูก หรือเต้านมจำ

เป็นต้องกำจัดแหล่งที่มาของฮอร์โมนเพศหญิงให้หมด

และอาจจำเป็นต้องผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง

หรือให้ยาต่อต้านฮอร์โมนเพศหญิง

ในสตรีโสดการทำงานของรังไข่

จะเป็นไปตามรอบเดือนอย่างต่อเนื่อง

 จึงมีความเสี่ยงจะเกิดภาวะ

อันเกิดจากฮอร์โมนเพศหญิงได้สูง

 เช่น เกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

เยื่อบุโพรงมดลูกหนา

 เป็นถุงน้ำหรือก้อนที่เต้านม ติ่งเนื้อ

หรือเนื้องอกของตัวมดลูก

ซึ่งภาวะเหล่านี้จะพบมากขึ้นตามอายุ

 ในสตรีโสดที่อายุเกิน 40 ปี

อาจตรวจพบเนื้องอกตัวมดลูกได้ถึงร้อยละ 30-50

มะเร็งสตรีที่ร้ายแรง คือ มะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านม

 พบในสตรีโสดมากกว่าสตรีที่เคยตั้งครรภ์คลอดบุตร

มีที่มาจากการที่รังไข่ทำงานและตกไข่ทุกเดือน

ทำให้มีการบาดเจ็บซ้ำซ้อนที่เปลือกของรังไข่

และเชื่อว่าเป็นการกระตุ้น

ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เปลือกรังไข่

จนกลายเป็นมะเร็งได้ การตั้งครรภ์และคลอดบุตร

จึงเป็นการให้รังไข่ได้พักงาน

 เพราะระหว่างการตั้งครรภ์

จะไม่มีการตกไข่ ไม่มีประจำเดือน

อาการเจ็บปวดจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

 ก็จะทุเลาจนหายไปในระหว่างตั้งครรภ์

หลังจากการคลอดแล้วการให้นมบุตรเป็นเวลานานๆ

ก็ถือว่าเป็นการทำให้รังไข่ได้พักงาน

สตรีส่วนใหญ่ที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาเป็นเวลานาน

มักอยู่ในภาวะไม่มีประจำเดือน

 ซึ่งถือเป็นการคุมกำเนิดโดยธรรมชาติ

เพื่อให้แม่ได้พักมดลูก

และลูกมีโอกาสได้รับการดูแลเต็มที่

จนเติบใหญ่พอที่จะอยู่รอดได้เอง ภาวะเช่นนี้พบได้

ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป เช่น อุรังอุตัง

เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นเวลาหลายปี

ดังนั้น ลูกตัวต่อไปจึงมีระยะห่างจากลูกตัวแรกหลายปี


นอกจากตั้งครรภ์และการเลี้ยงบุตร

ด้วยนมมารดาอย่างเดียว

เป็นเวลานาน (เหมือนลิง) แล้ว

 สตรีอาจทำให้รังไข่และมดลูก

ได้พักงานด้วยการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด

การกินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม

 สามารถคุมกำเนิดโดยยับยั้งการตกไข่

สตรีที่ใช้ยาฉีดคุมกำเนิดมักไม่มีประจำเดือน

 เนื่องจากรังไข่และมดลูกหยุดทำงาน

 ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพอย่างมาก

เช่น ไม่มีอาการปวดท้องจากการตกไข่ หรือรอบเดือน

ไม่มีภาวะโลหิตจาง (เนื่องจากเลือดประจำเดือนออกน้อย

หรือไม่มีประจำเดือน)

 ลดอุบัติการณ์ของการเกิดเนื้องอกตัวมดลูก

และถุงน้ำในเต้านม ลดอุบัติการณ์ของมะเร็งรังไข่

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ผลดีต่อสุขภาพเหล่านี้

ขึ้นกับระยะเวลาการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด

 ถ้าใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ

อาจไม่ได้รับผลดีเท่ากับการใช้ระยะเวลานานๆ

สรุป การให้รังไข่และมดลูกได้พักงาน

 มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก

เพราะช่วยลดการเจ็บปวดอันเกิดจากรอบเดือน

 และลดความเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกและมะเร็งในสตรี

ดยสตรีที่แต่งงาน ตั้งครรภ์ คลอดบุตร

และเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดานานๆ

 ถือเป็นการพักงานรังไข่และมดลูก

ตามธรรมชาติ ส่วนสตรีโสด

อาจใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดเป็นเวลานาน

ก็ถือเป็นการพักงานรังไข่และมดลูกได้เช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.สัญญา ภัทราชัย

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

#RamaChannel








Create Date : 01 สิงหาคม 2557
Last Update : 1 ตุลาคม 2561 18:37:51 น.
Counter : 1145 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ