Group Blog
All Blog
### ท่านเชื่อเรื่องปีชงหรือไม่ ? ###












ชะตาชีวิตของเราเราลิขิต
อย่าได้คิดเชื่อคำนำให้เขว
อย่าลุ่มหลงคำทำนายให้รวนเร
เขาใช้เล่ห์หลอกหลงกลจนคนกลัว
จะดีชั่วอยู่ที่กรรมกระทำไว้
อย่าใส่ใจคำทำนายให้ปวดหัว
ทำแต่สิ่งดีไว้ให้คุ้มตัว
ละความชั่วทำความดีไม่มีชง

Tangkay Sriracha









Create Date : 05 มกราคม 2558
Last Update : 6 มีนาคม 2558 19:26:18 น.
Counter : 1577 Pageviews.

1 comment
### การรักษาอุโบสถศีล ###



การรักษาอุโบสถศีล 

  บันทึกโดย Danai Chanchaochai








อุโบสถศีล คือการรักษาศีล ๘ ข้อ

 วันอุโบสถหรือวันพระนั้น เป็นวันที่เราจะต้องอยู่เยี่ยงพระ

คือบำเพ็ญเนกขัมมะนั่นเอง 

 ศีลแปดที่รักษากันในวันพระ เรียกว่า อุโบสถศีล

ผู้ครองเรือนทั่วไปไม่สะดวกถือศีล ๘ ได้ทุกวัน

ก็จะหาโอกาสมาถือศีลกันเฉพาะวันพระ

 จึงเรียกว่ารักษาอุโบสถศีล


ความเหมือนและความแตกต่าง

ระหว่างอุโบสถศีลกับศีล 8

  1. อุโบสถศีล กับ ศีล 8 มีข้อห้าม 8 ข้อเหมือนกัน
  2. คำอาราธนา (ขอศีล) แตกต่างกัน
  3. อุโบสถศีล มีวันพระเป็นแดนเกิด 
  4. สมาทานรักษาได้เฉพาะวันพระเท่านั้น 
  5. ส่วนศีล 8 สมาทานรักษาได้ทุกวัน
  6. อุโบสถศีล มีอายุ 24 ชั่วโมง 
  7. (วันหนึ่งคืนหนึ่ง) ส่วนศีล 8 
  8. ไม่มีกำหนดอายุในการรักษา
  9. อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน
  10.  หรือเป็นศีลของชาวบ้านผู้บริโภคกาม
  11.  (กามโภคี) ส่วนศีล 8 เป็นศีลสำหรับชาวบ้าน
  12. ผู้ไม่ครองเรือน เช่น แม่ชี [1]


คำอาราธนานอุโบสถศีล (คนเดียว)

อะหังภันเต ติสะระเณนะะสะหะ

อัฎฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถังยาจามิ

ทุติยัมปิ อะหังภันเต ติสะระเณนะะสะหะ

อัฎฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถังยาจามิ

ตะติยัมปิ อะหังภันเต ติสะระเณนะะสะหะ

 อัฎฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถังยาจามิ

ข้าพเจ้าขอสมาทานอุโบสถศีล

 อันประกอบด้วยองค์ 8 ประการ

 ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

จะถือไว้มิให้เสื่อมมิให้ทำลาย 

สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เวลานี้


จะต้องรักษา นับจากที่เราสมาทาน

 ไปจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่

ที่มีแสงสว่างของธรรมชาติ 

จนสามารถมองเห็น

ลายมือของตนเองได้ 

 ก็จะหมดไปโดยอัตโนมัติ



ศีลอุโบสถนั้น

 มีองค์ประกอบทั้งหมด ๘ ข้อ

ถ้าขาดไปข้อใดข้อหนึ่ง 

ก็ไม่เรียกว่าศีลอุโบสถ

ตามพุทธบัญญัติ เพราะฉะนั้น

การล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อใดข้อเดียว

ก็ถือว่าขาดศีลอุโบสถ พูดง่ายๆ ว่า 

ขาดศีลข้อเดียวก็ขาดศีลอุโบสถ

ผู้ที่รักษาอุโบสถศีล

จึงต้องสำรวมระวัง เป็นพิเศษ



การอดอาหารหลังเที่ยง 

ควรรับประทานช่วง 11 โมง ให้เต็มที่เลย


หากรู้สึกหิวในช่วงเย็น สามารถดื่มน้ำปานะ

น้ำผลไม้ที่ผลไม้ใหญ่กว่ากำมือได้

ให้งดดื่มโอวัลติน โกโก้ นมถั่วเหลือง นมวัว

หรือ น้ำเต้าหู้ ถือว่าเป็นอาหาร

อุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ ๘ มีดังนี้ คือ

๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี 

งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป

งดเว้นจากการเบียดเบียนสัตว์

๒. อทินนาทานา เวระมะณี

งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้

๓. อพรหมจริยา เวระมะณี

งดเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึก

ต่อการประพฤติผิดพรหมจรรย์

(การร่วมประเวณี

รวมถึงการทำ Masturbation)

๔. มุสาวาทา เวระมะณี

งดเว้นจากการกล่าวเท็จ 

รวมถึงวจีกรรมในรูปแบบต่างๆ

คือ เว้นการพูดส่อเสียด นินทาว่าร้าย

๕. สุราเมรยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี

งดเว้น จากการดื่มสุราและเมรัย 

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

๖. วิกาละโภชนา เวระมะณี

งดเว้นจากการบริโภค อาหารในเวลาวิกาล

 คือหลังเที่ยงวันเป็นต้นไป

๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา

 มาลาคันธะวิเลปะนะ-ธาระณะมัณฑะนะ

วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี

ดเว้นจากการฟ้อน รำ ขับร้อง ประโคมดนตรี

และดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล

ลูบทาทัดทรงประดับ

ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้

ของหอม เครื่องย้อม  เครื่องทา

อันจัดว่าเป็นการแต่งตัว

๘. อุจจาสะยะนะมหาสะยะนา เวระมะณี

งดเว้นจากการนั่ง 

และการนอนบนที่นอนสูงใหญ่

อันยัดด้วยนุ่นและสำลี

(สูงใหญ่ หมายถึง 

เมื่อนั่งแล้วหย่อนขาลงไม่ถึงพื้น)

เป้าหมายหลักในการรักษาอุโบสถศีลนั้นก็

 เพื่อทำให้จิตใจสงบ

ไม่กวัดแกว่งฟุ้งซ่านไปในเรื่องกามารมณ์

แต่ยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์

ถือ เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ของคฤหัสถ์

ผู้ที่ยังไม่ปรารถนาออกบวช

โดยปกติวันพระ พุทธศาสนิกชน ที่สะดวก

ก็จะพากันแต่งชุดขาวไปสมาทานอุโบสถศีล

และฟังธรรมที่วัด

 แล้วพักอาศัยอยู่ที่วัด จนกว่าจะครบกำหนด

ถ้าไม่ได้ไปวัด ก็จะตั้งใจสมาทานศีล 

ด้วยตนเองที่บ้าน


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสอุปมาถึงอานิสงส์

ของการรักษาอุโบสถศีลไว้ว่า

ถ้าจะนำมาเปรียบกับสมบัติของพระราชา

 ที่แม้จะครองความเป็นใหญ่ถึง ๑๖ แคว้น 

ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวของผลบุญ

อันเกิดจากการรักษาอุโบสถเลย

เพราะสมบัติมนุษย์เป็นสมบัติหยาบ 

เหมือนสมบัติของคนกำพร้า

มีความสุขได้ไม่กี่ร้อยปีก็ต้องพลัดพราก

นั่นคืออยู่บนโลกมนุษย์ไม่กี่ปีก็ตาย

ซึ่งเทียบไม่ได้กับการได้เสวยทิพยสมบัติ

อันยาวนานในสวรรค์

ที่เกิดจากอานิสงส์ของการรักษาอุโบสถ

การรักษาอุโบสถศีลนี้ 

แม้ว่าจะมีโอกาสรักษาได้ไม่นาน

แต่กลับสามารถส่งผล

ให้มีอานิสงส์มากมายเกินควรเกินคาดได้ 


ขอขอบคุณ บทความบันทึกของ

 คุณ Danai Chanchaochai







Create Date : 18 สิงหาคม 2557
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2557 9:57:10 น.
Counter : 1450 Pageviews.

0 comment
### ข้อควรระวังจากการนิมนต์พระมาฉันภัตตาหารที่บ้าน ###


















ข้อควรระวัง หากเรานิมนต์พระมาฉันที่บ้าน

เรื่องน่ารู้มากๆ ในการถวายภัตตาหารพระภิกษุ

สิ่งที่ประเคนแล้วเป็นอนุโลม

จากพุทธฎีกาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า

 ถ้าหากญาติโยมจะนิมนต์พระภิกษุ

ไปฉันที่บ้านของตน

หรือตามสถานที่ต่างๆ นั้น 

ห้ามออกชื่อโภชนะทั้งห้า

(โภชนะทั้งหาได้แก่ อาหารชนิดต่างๆ

 เช่น เผือก มัน ข้าว ข้าวสาลี

ขนมต้ม ขนม เนื้อสัตว์ หรือผักผลไม้ต่างๆ)

เช่น โยมพูดกับพระภิกษุไว้ก่อนว่า

จะทำอาหารชนิดนั้นชนิดนี้ถวาย

เช่น จะทำข้าวต้ม ขนม จะทอดกล้วยแขก 

จะทำก๋วยเตี๋ยวถวาย ฯลฯ

อย่างนี้ ถ้าโยมออกชื่อโภชนะทั้งห้าแล้ว

 พระภิกษุก็จะฉันไม่ได้เลย

เพราะถ้าพระภิกษุฉัน ก็จะต้องอาบัติ

 ผิดศีลทุกคำกลืน

การนิมนต์พระภิกษุไปฉัน

แล้วกล่าวไว้เช่นนี้ ไม่ถูกต้อง

ตามพระธรรมวินัย

เหตุที่ไม่ควรออกชื่อโภชนะทั้งห้า 

ยกตัวอย่างเช่น

ถ้านิมนต์พระภิกษุมาฉันที่บ้าน 

และได้ออกชื่อโภชนะไว้แล้ว

อย่างบอกพระภิกษุไว้ว่า

จะซื้อกล้วยไข่กำแพงเพชรมาถวาย

หรือจะนำกล้วยไข่จากกำแพงเพชร

มาทำขนมแบบนั้นแบบนี้

ทำอาหารชนิดต่างๆ ถวายท่าน 

ครั้งเมื่อถึงเวลาไปซื้อของแล้ว

ไม่มีกล้วยไข่กำแพงเพชรขาย 

จะไปหาซื้อที่ไหนก็ไม่มี

ก็ทำให้โยมเกิดความลำบากยากเย็น 

เกิดความทุกข์ขึ้น

เพราะเสียสัจจะที่ตนเองได้พูด 

ได้สัญญากับพระภิกษุไว้แล้ว

โยมจะเกิดความลำบากอย่างนี้เอง

และโยมก็จะไม่ได้บุญเต็มที่

ทำให้มีทุกข์เกิดขึ้นแก่ตน

เพราะโยมไปแสวงหา

สิ่งที่ตนเองสัญญาเอาไว้ไม่ได้ 

เป็นเรื่องอย่างนี้

ถ้าเราไม่ได้บอกชื่อโภชนะทั้งห้าไว้

 เราจะซื้อกล้วย ซื้อผลไม้

 หรือซื้ออาหาร จากที่ไหนก็แล้วแต่

ที่พอหาซื้อได้

เราก็ซื้อมาถวายท่านได้สบาย

 ผู้มีศรัทธาก็ไม่เดือดร้อน

ไม่ต้องเกิดทุกข์ พระภิกษุก็ไม่ผิดศีล

ดังนั้นเมื่อเรานิมนต์พระภิกษุไปฉันที่บ้าน

หรือตามสถานที่ต่างๆ

ให้ถูกต้องตามพระพุทธศาสนา 

ถูกต้องตามพระธรรมวินัย

 ก็ไม่ควรออกชื่อโภชนะทั้งห้า

 เพราะจะเรียกว่าเป็น "มังสะอุทิศ"

 หมายถึง เป็นของอุทิศต่อพระภิกษุ

หรือ เป็นอาหารที่ญาติโยมพูดไว้ว่า

จะทำเพื่อถวายให้พระภิกษุ

 เมื่อพระภิกษุได้ยินเสียงพูด 

และได้เห็น ก็จะรังเกียจอาหารที่ทำมา

เพื่อถวายเฉพาะตน 

ทำให้ผู้อื่นต้องเกิดทุกข์กับตน

 เพราะพระภิกษุไม่ควร

ให้ญาติโยมมาทุกข์กับตน

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

ให้พระภิกษุปฏิบัติตนเป็นโสวะจะสัตตา

คือ เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย

 เป็นสุภะรัตตา คือ เป็นผู้เลี้ยงง่าย

พระภิกษุต้องไม่เป็นผู้เลี้ยงยาก 

ถ้าโยมไปคิดให้ตนเองเกิดทุกข์ยาก

กับการเลี้ยงอาหารพระ 

หรือพระภิกษุจะไปบอกญาติโยมว่า

อยากฉันอาหารอย่างโน้นอย่างนี้

ก็ไม่ได้ ผิดศีลอีก

ญาติโยมถวายสิ่งใดมาก็ให้ฉันสิ่งนั้น 

ถ้าฉันไม่ได้ก็ไม่ต้องฉัน

ถ้าฉันแล้วปวดท้อง ฉันแล้วไม่ค่อยสบาย 

เป็นของแสลง เราก็ไม่จำเป็นต้องฉัน 

แต่เรารับประเคนได้

พระภิกษุควรเลือกในสิ่งที่ฉันแล้วถูกกับธาตุขันธ์

 ถูกกับร่างกายของเราก็ให้ฉันได้ 

ถ้าพระภิกษุจะฉันอาหารมังสวิรัติ

ก็ให้เลือกฉันเอาเอง

ไม่ต้องพูดบอกโยมให้ถวายแต่อาหารมังสวิรัติ 

ถ้าโยมถวายเนื้อสัตว์มา

ก็รับประเคนไว้แล้วเลือกฉัน

สิ่งที่ถูกกับร่างกายของเราเท่านั้นก็ได้

ยกเว้นมังสะ 10 อย่าง

ที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้รับประเคน

และห้ามไม่ให้พระภิกษุฉัน ได้แก่

1. เนื้อมนุษย์
2. เนื้อช้าง
3. เนื้อม้า
4. เนื้อเสือเหลือง
5. เนื้อเสือโคร่ง
6. เนื้อเสือดาว
7. เนื้อหมี
8. เนื้อราชสีห์
9. เนื้อสุนัข
10. เนื้องู

เนื้อทั้งหมดนี้พระพุทธองค์ทรงห้าม

ไม่ให้รับทั้งสุกหรือดิบ

เพราะทุกอย่างมีเหตุ ดังนี้
เหตุที่พระพุทธองค์ทรงห้าม

ไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้อมนุษย์

เพราะมีเรื่องดังนี้คือ นางสุปปิยาอุบาสิกา

 ไปเที่ยวชมวัดดูพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย

และไปพบพระภิกษุอาพาธองค์หนึ่ง

ก็เลยถามพระภิกษุองค์นั้นว่า 

"ท่านฉันภัตตาหารอะไรจึงจะสบาย"

พระภิกษุองค์นั้นตอบว่า

"อาตมาฉันแกงเนื้อจึงจะสบาย"

ดังนั้นนางสุปปิยาอุบาสิกา

ก็เลยปวารณาพระภิกษุไว้ว่า

"ข้าพเจ้าจะทำแกงเนื้อ

มาให้ท่านฉันในวันพรุ่งนี้"

เมื่อนางสุปปิยาอุบาสิกากลับบ้านไป 

ก็สั่งให้บริวารไปหาซื้อเนื้อ

ในหมู่บ้าน บังเอิญวันนั้นเป็นวันขึ้น 14 ค่ำ 

ซึ่งในสมัยครั้งพุทธกาล

จะฆ่าสัตว์เฉพาะวันขึ้น 2 ค่ำ

ถึงขึ้น 13 ค่ำเท่านั้น

และจะไม่ฆ่าสัตว์ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ 

และแรม 1 ค่ำ

ดังนั้นใน 3 วันนี้จะหาซื้อเนื้อสัตว์ไม่ได้เลย

เมื่อนางสุปปิยาอุบาสิกาไม่ได้เนื้อมา

ก็กลัวจะเสียสัจจะ

ที่ได้ปวารณากับพระภิกษุไว้แล้ว 

และเหตุที่นางสุปปิยาอุบาสิกา

เป็นพระโสดาบันบุคคล 

เป็นผู้ที่มีหิริโอตตัปปะ

และเป็นผู้ที่รักษาสัจจะ

 จึงตัดสินใจใช้มีดหั่นเนื้อที่ต้นขาของตนเอง

เพื่อนำมาให้บริวารแกง

แล้วก็นำไปถวายพระภิกษุที่อาพาธองค์นั้น

เมื่อพระภิกษุฉันแกงที่นำมาถวาย

ก็เกิดความเหนื่อยและอ่อนเพลียมาก

จนทำให้นอนไม่อยากลุก 

เมื่อเพื่อนพระภิกษุทั้งหลายมาเยี่ยม

พระภิกษุอาพาธองค์นั้นก็เล่าให้เพื่อนฟังว่า

 วันนี้ได้ฉันแกงเนื้อแล้วรู้สึกอ่อนเพลีย

ไม่อยากลุกเลย

วันต่อมา เศรษฐีผุ้เป็นสามี

อยากเลี้ยงภัตตาหารพระภิกษุสงฆ์

จึงได้นิมนต์พระพุทธองค์

พร้อมทั้งพระภิกษุทั้งหลาย

มาฉันภัตตาหารที่บ้านของตน 

เมื่อพระพุทธองค์

เสด็จขึ้นไปบนบ้านเศรษฐี

และทรงทอดพระเนตร

ไม่เห็นนางสุปปิยาอุบาสิกาออกมาต้อนรับ

 มีแต่เศรษฐีสามีมาต้อนรับ

 พระพุทธองค์จึงตรัสถามถึง

นางสุปปิยาอุบาสิกาว่าไปที่ใด

ไม่เห็นมาต้อนรับอาตมาภาพ 

เศรษฐีผู้เป็นสามีจึงตอบพระพุทธองค์ว่า

ภรรยาไม่ค่อยสบาย

นอนอยู่ในห้องนอนพระเจ้าค่ะ 

พระพุทธองค์จึงให้บริวาร

ไปประคองนางสุปปิยาอุบาสิกา

ออกจากห้องมาพบพระพุทธเจ้า

พอได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จประทับยืนอยู่ที่บ้านของตน

ก็เกิดความสุขใจมากที่ได้เห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้า

จนลืมความเจ็บปวดที่แผลของตน 

แล้วก็นั่งลงกราบนมัสการ

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยความเรียบร้อย

เมื่อพระพุทธองค์

ทรงเสด็จไปประทับนั่งบนอาสนะ

ที่จัดไว้สำหรับพระพุทธองค์

 เศรษฐีและภรรยาก็จัดภัตตาหาร

เพื่อน้อมนำไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า

และพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย

ที่ได้นิมนต์มาฉันภัตตาหารที่บ้าน

เมื่อได้ประเคนสิ่งของเสร็จเรียบร้อยแล้ว

พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ก็ฉันภัตตาหาร

นางสุปปิยาอุบาสิกา

ก็กราบนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วเดินเข้าไปในห้องนอน

เพื่อเปิดดูแผลที่เอาผ้าพันไว้นั้น

เนื้อที่ต้นขาก็งอกขึ้นมาเต็มอย่างเดิม

เหมือนไม่มีบาดแผล

และไม่มีความเจ็บปวด รู้สึกสบายเป็นปกติ 

จึงกลับออกมานั่งอยู่ห่างๆ

ดูพระผู้มีพระภาคเจ้าฉันภัตตาหารจนเสร็จ

แล้วพระพุทธองค์ก็กระทำอนุโมนทา

ให้แก่สามีภรรยา

 เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว

พระพุทธองค์ก็เสด็จกลับวัด

พร้อมทั้งพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย 

และในตอนค่ำวันนั้น

เมื่อพระพุทธองค์เทศนาอบรม

พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายจบแล้ว

พระพุทธองค์ทรงมีญาณหยั่งรู้ดีว่า 

พระภิกษุที่อาพาธองค์นั้นฉันเนื้อมนุษย์ 

พระพุทธองค์จึงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายได้ฟังว่า

พระภิกษุอาพาธองค์นั้นฉันเนื้อมนุษย์

ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะฉัน

 พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า

 "ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ห้ามไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ 

และไม่ให้รับประเคนทั้งสุกและทั้งดิบ"

 ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นต้นเหตุพุทธฎีกา

ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้อย่างนี้

เหตุที่พระพุทธองค์ทรงห้าม

ไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้อช้าง

 เพราะเมื่อพระภิกษุ

ไปเจริญสมณธรรมในป่าในเขา

และถ้าพระภิกษุองค์ใดเคยกินเนื้อช้างมาก่อน

ตั้งแต่เป็นฆราวาสนั้น

หากช้างได้กลิ่นตัวของพระภิกษุ

ที่เคยฉันเนื้อช้างมาก่อน

ช้างก็จะเข้าไปทำร้ายพระภิกษุนั้น

ให้มรณภาพไป

 แต่ถ้าองค์ไหนไม่ได้ฉันก็ไม่เป็นไร 

ไม่ถูกช้างทำร้าย

พระภิกษุทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่

กลับมากราบนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า 

พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสถามว่า

"พระภิกษุเพื่อนของพวกเธอหายไปไหน" 

พระภิกษุเหล่านั้นตอบว่า

"ถูกช้างทำร้ายจนมรณภาพไปพระเจ้าค่ะ"

พระพุทธองค์จึงทรงตรัส

แก่พระภิกษุทั้งหลายว่า

ห้ามไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้อช้าง 

และไม่ให้รับประเคนเนื้อช้าง

ทั้งสุกและทั้งดิบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 ด้วยเหตุอย่างนี้

เหตุที่พระพุทธองค์ทรงห้าม

ไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้อม้า

เพราะถ้าพระภิกษุเคยกินเนื้อม้ามาก่อน

ตั้งแต่ยังเป็นฆราวาส

เมื่อมาบวชเป็นพระภิกษุ 

เวลาเดินเข้าไปบิณฑบาตในบ้านในเมือง

และม้าได้กลิ่นตัวพระภิกษุ

 ม้าก็จะใช้สองขาหลังดีดตัวพระภิกษุล้มลง

จนบาตรหลุดมือไปทำให้พระภิกษุเจ็บตัว

 ดังนี้เป็นต้นเหตุ

ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสห้าม

ไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้อม้า

 และไม่ให้รับประเคนเนื้อม้า

ทั้งสุกและทั้งดิบ

เหตุที่พระพุทธองค์ทรงห้าม

ไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้อเสือเหลือง เสือโคร่ง

 เสือดาว เนื้อราชสีห์ เนื้อหมี 

เพราะถ้าพระภิกษุเคยกินเนื้อต่างๆ

 ดังกล่าว ตั้งแต่ครั้งยังเป็นฆราวาส

 เมื่อมาบวชเป็นพระภิกษุแล้ว

ไปเจริญภาวนาในป่าในเขา

และสัตว์ต่างๆ เดินมาได้กลิ่น

ก็จะมาตะครุบกัดพระภิกษุให้มรณภาพไป

แต่ถ้าพระภิกษุองค์ไหน

ไม่เคยฉันเนื้อสัตว์ต่างๆก็ปลอดภัย

 พระภิกษุทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่กลับมา

นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า

 พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสถามว่า

 "เพื่อนของพวกเธอหายไปไหน" 

พระภิกษุเหล่านั้นตอบว่า

"ถูกสัตว์ต่างๆ ทำร้ายจนมรณภาพไป"

 ดังนี้จึงเป็นต้นเหตุ

ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสห้าม

ไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้อเสือเหลือง เสือโคร่ง

เสือดาว ราชสีห์ หมี และไม่ให้รับประเคน

เนื้อสัตว์ต่างๆ ดังกล่าว

ทั้งสุกและทั้งดิบ

เหตุที่พระพุทธองค์ทรงห้าม

ไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้อสุนัข

เพราะถ้าพระภิกษุเคยกินเนื้อสุนัชมาก่อน

ตั้งแต่ครั้งเป็นฆราวาส

เมื่อเวลาพระภิกษุไปบิณฑบาต 

หรือไปไหนก็ดี สุนัขก็จะเห่า

 จะกัดพระภิกษุองค์นั้น 

แต่องค์ไหนไม่เคยกินเนื้อสุนัขมาก่อน

 สุนัขก็ไม่เห่าและไม่กัด 

ดังนี้จึงเป็นเหตุที่พระพุทธองค์ทรงตรัสห้าม

ไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้อสุนัข 

และไม่ให้รับประเคนเนื้อสุนัข

ทั้งสุกและทั้งดิบ

เหตุที่พระพุทธองค์

ทรงห้ามไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้องู

เพราะพญานาค

เข้ามากราบนมัสการพระพุทธเจ้า

บอกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

 ขอไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้องูทุกชนิด

เพราะงูเป็นตระกูลเดียวกับพญานาค 

ถ้าพระภิกษุองค์ไหนฉันเนื้องู

แล้วลงไปสรงน้ำในแม่น้ำต่างๆ 

พวกพญานาคก็อาจจะโกรธ

และมาทำร้าย มาฆ่าพระภิกษุ

ที่ไปสรงน้ำให้มรณภาพไป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

พระพุทธองค์จึงทรงตรัสห้าม

ไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้องูทุกชนิด

 และไม่ให้รับประเคนเนื้องู

ทั้งสุกและดิบ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

นอกจากเนื้อสัตว์ทั้ง 10 อย่าง

ดังที่ได้กล่าวมานั้น

พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามให้ฉัน 

แต่ต้องทำให้สุกดี

ถ้าหากพระภิกษุองค์ไหนฉันเนื้อสัตว์แล้ว

ไม่สบายก็ไม่ควรฉัน

ให้ฉันผักผลไม้ชนิดต่างๆ 

หรือสิ่งที่ไม่แสลงต่อร่างกาย

กรณีของเนื้อสัตว์ที่ต้องทำให้สุกนี้ 

ขอย้ำว่าแม้กระทั่งไข่ที่

เป็นตานี (ไม่สุก) ก็ถือว่า

เป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่สุกนะคะ

อันนี้เราเองก็เพิ่งทราบ

ตอนไปปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อสงบ

วัดป่าสันติพุทธาราม จ.ราชบุรีนี่แหละค่ะ

ว่า ถ้าทำไข่เป็นตานีไป

ท่านก็รับประเคน หรือฉันไม่ได้เลยค่ะ

 เพราะฉะนั้นถ้าใครจะต้มไข่

ยำไข่ดาว ฯลฯ ก็ต้องทำไข่ให้สุกจริงๆ นะคะ

 เป็นตานีไม่ได้ค่ะ

หรืออย่างกะปิ ซึ่งทำจากเคย

หากจะตำน้ำพริกถวาย

ก็ต้องทำให้สุกก่อน 

(จะย่าง จะคั่วก็แล้วแต่ค่ะ)

หรือแหนมซึ่งเป็นเนื้อไม่สุก

ก็ต้องทำให้ผ่านไฟก่อนนะคะ

 ไม่สามารถจะถวายทั้งดิบๆ ได้ค่ะ

อย่างยำแหนมโดยไม่ลวกแหนมให้สุกก่อน 

อย่างนี้ท่านก็ฉันไม่ได้ค่ะ



ขอบคุณที่มา fb. นวพร สุปิงคลัด








Create Date : 05 สิงหาคม 2557
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2557 9:49:19 น.
Counter : 1559 Pageviews.

0 comment
### พระสยามเทวาธิราช ###













พระสยามเทวาธิราช
นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมา
ตั้งแต่สมัย
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
รัชกาลที่ ๔
โดยในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระองค์มีพระราชดำริว่า
ประเทศไทยมีเหตุการณ์
ที่เกือบจะ
ต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง
 แต่บังเอิญมีเหตุ
ให้รอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ
ชะรอยคงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์
คอยอภิบาลรักษาอยู่
สมควรที่จะทำรูป
เทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
 ให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ
ปั้นรูปสมมติขึ้น 
แล้วหล่อด้วยทองคำแท่ง
มีลักษณะแบบเทวรูป 
มีความสูง ๘ นิ้ว
 ทรงเครื่องอย่างเทพารักษ์
ทรงมงกุฎ ประทับยืน 
พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์
พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นในท่าจีบ
เสมอพระอุระ ประทับในเรือนแก้ว
ทำด้วยไม้จันทน์
 มีลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน
และถวายพระนามว่า
 พระสยามเทวาธิราช
โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ 
ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
ในพระบรมมหาราชวัง



พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเคารพบูชา
พระสยามเทวาธิราชเป็นอย่างสูง
ทรงถวายเครื่องสักการะเป็นประจำทุกวัน
และทรงถวายเครื่องสังเวยทุกวันอังคาร
และวันเสาร์ก่อนเวลาเพล
กับโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสังเวยเทวดา
ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕
อันตรงกับวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ
แบบโบราณด้วย
ทั้งเป็นที่ร่ำลือกันว่า
พระสยามเทวาธิราชนั้นศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก



พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก็ทรงเคารพนับถือพระสยามเทวาธิราช
 เช่นเดียวกับพระราชบิดา
นอกจากจะโปรดเกล้าฯ 
ให้สร้างพระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพรจอมเกล้าฯ
ในเครื่องทรงแบบ
พระสยามเทวาธิราชขึ้นองค์หนึ่ง
ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
พระราชวังดุสิต เพื่อทรงสักการะแล้ว
 ยังโปรดเกล้าฯ ให้นำรูปพระสยามเทวาธิราช
ประทับนั่งใส่ในด้านหลังของ เหรียญกษาปณ์
 ราคาเสี้ยว อัฐ และโสฬส
ซึ่งออกใช้ในรัชสมัยของพระองค์ด้วย



คาถาบูชาพระสยามเทวาธิราช

สยามะเทวาธิราชา เทวาติเทวา มหิทธิกา
เทยยรัฏฐัง อนุรักขันตุ อาโรคะเยเนะ สุเขนะ จะ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา
สยามะเทวานุภาเวนะ สยามะเทวะเตชะสา
ทุกขะโรคะภะยา เวรา โสกา สัตตุ จุปัททะวา
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต
ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสตถิภาคะยัง สุขัง พะลัง
สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒี จะ ยะสะวา
สะตะวัสสา จะ อายุ จะ ชีวะสิทธี ภะวันตุ เม


คำแปล คาถาบูชาพระสยามเทวาธิราช

พระสยามเทวาธิราช เป็นจอมเทวดา 
ยิ่งใหญ่กว่าเทวดาทั้งหลาย
 ทรงมี มหิทธิฤทธิ์
ขอจงอภิบาลรักษาประเทศไทย
โดยให้ปราศจากโรคาพาธ
อุปะทวะอันตราย ความพินาศทั้งหลาย
ขอให้ประเทศไทยมีความร่มเย็นเป็นสุข 
โดยประการทั้งปวง
ด้วยอำนาจสัจจะวาจาที่อ้างถึง
พระสยามเทวาธิราชนี้
ขอจงประทานความสุขสวัสดี 
จงบังเกิดแก่ประเทศไทยด้วยประการทั้งปวง 
ด้วยอานุภาพพระสยามเทวาธิราช
และเดชพระสยามเทวาธิราช 
ขอจงขจัดทุกข์ โรคภัย ความโศก
ศัตรู อุปัทวะ และอันตรายมิใช่น้อย 
ให้พินาศไปโดยไม่เหลือ
ขอชัยชนะความสำเร็จแห่งกิจการ 
ทรัพย์ ลาภ ความสวัสดี ความมีโชค ความสุข 
กำลัง ศรี อายุ วรรณะ โภคสมบัติ
ความเจริญ และยศ 
มีอายุยืนตลอดหนึ่งร้อยปีขึ้นไป
ความสำเร็จแห่งกิจการงานในความเป็นอยู่
จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ



ขอขอบคุณ fb ราชบัลลังค์และจักรีวงค์ 
ผู้นำมาเผยแพร่ให้ได้รู้








Create Date : 09 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2557 9:21:42 น.
Counter : 1349 Pageviews.

0 comment
### หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก ###










หลวงพ่อจงวาจาศักดิ์สิทธิ์

หลวงพ่อจงเป็นผู้เคร่งครัดต่อการรักษาความสะอาด
มีจิตใจเป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ บริเวณในวัดนอกวัด
หากท่านอยู่ไม่ไปไหนจะต้องทำการปัดกวาดขัดเกลาด้วยตนเองเสมอ
และไม่ชอบใช้ใครทำ หากใครจะช่วยทำก็ให้มาทำเองด้วยความสมัครใจของเขา
ทั้ง ๆ ที่ท่านมีศิษย์ไม่ต่ำกว่าห้าคนอยู่ประจำเสมอ

ตั้งแต่วัดหน้าต่างนอกเคยมีงานพิธีใด ๆ มา มีผู้มาร่วมชุมนุมสมทบการกุศล
ชมงานวัด ไม่เคยมีสักครั้งเดียวที่จะเกิดเรื่องทะเลาะวิวาท
แต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้มีทหารยศนายสิบผู้หนึ่ง เกิดอาการมึนเมาครองสติไม่อยู่
ได้อาละวาดไล่ตีผู้คนและชักปืนยิงวุ่นวาย
มีผู้ไปนิมนต์หลวงพ่อจงขอให้ไปห้ามระงับเหตุ ท่านหัวร่อ พลางบอกว่า
ไม่ต้องห้ามเดี๋ยวก็หยุดไปเอง หากอาละวาดจนหยุดไม่ได้ ก็เห็นจะต้องตาย

มันช่างเป็นความอัศจรรย์อะไรเช่นนั้น หลวงพ่อจงพูดขาดคำไปไม่ถึงสิบนาที
มีคนวิ่งกระหืดกระหอบไปแจ้งท่านว่า นายสิบทหารผู้นั้นตายเสียแล้ว
โดยอยู่อยู่ก็อวดศักดาเอาปืนจ่อขมับตนเอง อวดใครต่อใครว่า
เป็นผู้ศักดาอาคมขลัง ปืนยิงไม่เข้า

และอีกครั้งหนึ่ง มีนายทหารชั้นร้อยโทผ่านศึกอินโดจีน เป็นคนพิการขาขาด
ได้ไปขออาศัยอยู่ด้วย หลวงพ่อจงก็ไว้วางใจ มอบให้เป็นผู้เก็บรักษาเงินของวัด
อยู่มาสองปีเศษ เงินของวัดก็สูญหายไปเรื่อย ๆ มากบ้างน้อยบ้าง
แต่หลวงพ่อจงก็ไม่เคยเป็นห่วงเอาธุระซักไซ้ดูว่าอย่างไร สืบมาไม่นาน
หลวงพ่อจงได้เงินมาหมื่นเศษก็มอบให้ไว้อีก โดยบอกว่า
เงินนี่จะเอาไว้ทำโบสถ์ให้รักษาไว้ให้ดีหน่อย

ต่อมาถึงเวลาต้องการใช้เงิน คนผู้นั้น กลับตอบปฏิเสธว่าเงินไม่มีเสียแล้ว
หลวงพ่อจงกล่าวซักว่า ...ก็ให้เก็บไว้บอกว่าจะเอาทำโบสถ์ ทำไมว่าเงินไม่มี
พูดเป็นคนเสียสตินี่...

อีกสี่วันต่อมา บุรุษพิการขาขาดผู้นั้นได้กลายเป็นคนบ้า บ้าขนาดหนัก
 และมีชีวิตอยู่ได้ไม่ถึงเจ็ดวันก็เกิดมีอาการคลุ้มคลั่งขนาดตรีทูต
จนป่วยเป็นไข้อย่างแรงถึงเสียชีวิต

หลวงพ่อจงมีกิตติคุณอีกทางหนึ่งในการใช้น้ำมนต์
น้ำมันมนต์ของท่าน ท่านสร้างเองโดยหุงเดือดแล้วบริกรรมด้วยอาคมขลัง
 แล้วเอามือคนไปจนได้ที่ น้ำมันนี้มีสรรพคุณกินแก้ปวดท้อง
หยอดยาแก้เจ็บ ตาแดง ตาต้อ ทานวดแก้เมื่อยขบ





หลวงพ่อจงอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมด้วยสง่าราศี


หลวงพ่อจงขึ้นชื่อว่า เป็นอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมด้วยสง่าราศีมาก
ผิวพรรณวรรณะของท่านผ่องใส ดวงหน้าผุดผ่องด้วยละอองเลือด
และเมลืองเรื่อไปด้วยรัศมีแห่งพระ แห่งความเมตตาฉายกราดอยู่ตลอดเวลา
สายตาของท่านมองทุกคนไม่ว่ายากดีมีจน ผู้องอาจมีสง่าหรือผู้อาภัพหม่นหมอง
ท่านมองทุกคนด้วยสายตาของมิตรผู้พร้อมจะเข้าช่วย
และโดยมากผู้ที่วิงวอนขอให้ท่านช่วยปลดเปลื้องทุกข์
แม้ท่านเองต้องเสียสละเพียงไร ท่านก็ไม่เคยทำให้ผู้ขอผิดหวัง
นอกจากสิ่งที่ท่านไม่มีและไม่อาจแสวงหาให้ได้
หรือหมดหนทางช่วยเพราะผิดศีลผิดธรรม

ยิ่งกว่านั้น ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนโยน พอใจในความอะลุ้มอล่วย
ไม่ต้องการให้ใครทะเลาะเบาะแว้งวิวาทแก่งแย่งชิงดีกันในทางผิดศีลธรรม
 หลวงพ่อจงถือว่าเป็นภารกิจอันหนักอึ้งซึ่งท่านจะต้องแบกไว้เสมอ
แม้ว่าบางครั้งท่านจะต้องลำบากยากกาย เพื่อเสียสละ
ในการเข้าโอบอุ้มช่วยคนทำถูก สิ่งที่ท่านหมั่นกระทำไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยก็คือ
พอใจเกลี้ยกล่อมให้โอวาทแก่ผู้ประสบทุกข์ร้อน
ด้วยการแนะแนวทางที่ชอบที่ควรให้เอาไปมั่นประพฤติปฏิบัติ
ท่านเป็นผู้มีภูมิปฏิภาณสูงส่ง สามารถรอบรู้จิตใจผู้ที่เข้าหาท่าน
และรู้ว่าท่านพูดอย่างไรจึงจะเป็นที่สบอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของเขา
ประกอบกับท่านมีความรู้ในการดูลักษณะคนเป็นอย่างเยี่ยมยอด
เพียงแต่เห็นดวงหน้า ท่าทางเดินเหินยืนนั่ง และพูดจาฟังน้ำเสียง
ท่านก็จะหยั่งทราบได้ทันทีว่าบุคคลผู้นั้นมีสภาพฐานะเป็นอย่างไร
 และควรจะยึดถืออาชีพเป็นหลักธำรงชีวิตอย่างไร
จึจะมีฐานะมั่นคงสถาวรตามสมควรแก่อัตภาพ
บุคคลนับเรือนหมื่นแสนที่ได้รับคำชี้แจงแนะนำจากหลวงพ่อจง
แล้วเชื่อถือเอาไปปฏิบัติตามไม่ทอดทิ้ง
ปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีอาชีพหลักแหล่งเป็นหลักฐานทำมาหากินคล่อง
มีความสุขกายสบายใจตามอัตภาพอันสมควร







หลวงพ่อจงบังคับเครื่องบิน


หลวงพ่อจงชอบขึ้นเครื่องบิน ท่านมักถูกนิมนต์
จากนายทหารชั้นผู้ใหญ่ในบางโอกาสเสมอ
ท่านเคยพูดว่า เมื่อได้เหาะขึ้นเบื้องสูงแล้วหายใจสบาย
มองอะไรก็เห็นเป็นธรรมชาติสวยงาม

และได้มีนักบินผู้หนึ่งเล่าว่า ครั้งหนึ่งหลวงพ่อจงได้ขึ้นเครื่องบินสองที่นั่ง
ไปกับจ่าอากาศเอกผู้หนึ่ง ขณะเครื่องบินวนไปทางอยุธยา
หลวงพ่ออยากดูวิววัดหน้าต่างนอกของท่านทางอากาศ
จึงชี้ทิศทางบอกให้นักบินพาไป
เมื่อถึงแล้วนักบินจึงแจ้งให้ทราบ ตอนนั้นเองหลวงพ่อจงนึกสนุกขึ้นมา
 เพราะมองเห็นวัดของท่านมีขนาดเล็กนิดเดียว
จึงกล่าวแก่นักบินว่าจะหยุดสักครู่ได้ไหม
นักบินตอบว่า หยุดนั้นเห็นจะไม่ได้เพราะไม่มีสนามลง
นอกจากทำได้ก็เพียงแต่เบาเครื่องโฉบลงไปต่ำหน่อย

หลวงพ่อจงหัวเราะหึหึ พูดทำนองปรารภขึ้นว่า เอ๊ะน่าจะได้นะ
พลางชี้นิ้วไปที่คันบังคับและเครื่องบิน
ทันใดนั้นเครื่องบินมีสภาพคล้ายตกหลุมอากาศมหึมา
ไม่มีอาการพุ่งไปข้างหน้า แต่หล่นวูบลง
นักบินตกใจเป็นอย่างมากและยังคิดไม่ออกว่าจะแก้ไขอย่างไรดี
ด้วยไปคิดสงสัยในด้านว่าเครื่องบินอาจมีอุบัติเหตุเครื่องเสีย
ในใจก็ให้นึกเป็นห่วงหลวงพ่อจง ครั้นเหลียวมามองดู
ก็เห็นท่านหลับตาเฉยราวเกือบสิบวินาที
ท่านจึงลืมตาขึ้นในขณะที่นักบินก็ง่วนอยู่กับการตรวจดูนั่นนี่
หาทางแก้ไขเพื่อความปลอดภัย
แล้วก็ได้ยินหลวงพ่อจงพูดยิ้ม ๆ ขึ้นว่า ลงมามากโขพอแล้ว
เครื่องบินบินต่ำแบบนี้หัวใจมันวูบวาบชอบกล

ท่านพูดสิ้นคำ เครื่องบินก็ครางกระหึ่ม ทรงตัวเคลื่อนลำพุ่งหน้าออกไป
พ้นจากภาวะดั่งราวถูกดูดดึงอยู่กลางหลุมอากาศ




วิธีอาราธนาปลุกเสกอธิษฐาน การใช้เครื่องรางของขลังหลวงพ่อจง


ต่อไปนี้เป็นคำเฉลยอรรถาธิบายวิธีอาราธนาปลุกเสกอธิษฐาน
การใช้เครื่องรางของขลังต่าง ๆ (ซึ่งเวลานี้ของแท้หายากอยู่เหมือนกัน
แต่ที่มีอยู่แล้วก็มีเป็นจำนวนแสน ๆ ล้าน ๆ)...แต่อย่างไรก็ดี
ก็ใช้ได้กับรูปปั้นและรูปบูชาด้วย... ให้สวดภาวนาอธิษฐานดังนี้

ตั้ง นะโมสามจบ
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธรรมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ต่อจากนี้ สวดบทอิติปิโส อีกสามจบ แล้วจึงตั้งบทว่า...
พุทธัง อาราธนานัง ธรรมมัง อาราธนานัง สังฆัง อาราธนานัง

จึงอธิษฐานดังนี้ ต่อไป
ขอบารมีพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์เจ้า และหลวงพ่อจง (พุทธสโร)...
และถ้ามีเสื้อยันต์ ตะกรุดโทน ตะกรุดชุด 16 ดอก
และของอื่น ๆ ให้ระบุชื่อของนั้น ๆ เวลารำลึกใช้

จงดลบันดาลให้ข้าพระพุทธเจ้า จงประสบความเป็นผู้คงกระพันชาตรี
แคล้วคลาดจากมหาอำนาจร้ายสรรพโพยภัยภยันอันตรายไม่ให้เข้าใกล้ทำร้าย
และจงบังเกิดเป็นมหาเสน่ห์ มหานิยม จิตคิดเมตตาจากจิตใจผู้อื่น
พึงมีต่อข้าพระพุทธเจ้า โดยอำนาจบารมีของพระคุณเจ้า
ที่ข้าพระพุทธเจ้าน้อมรำลึกบูชาโดยบริสุทธิ์ใจ
ขออาราธนาจงดลบันดาลให้บังเกิดผลเป็นไปดังอธิษฐาน โดยพลันทันที

หากมีเหตุฉุกเฉิน ให้รีบอธิษฐานภาวนา ดังนี้

พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา พระบิดารักษา พระมารดารักษา พระอินทร์รักษา พระพรหมรักษา พระครูบาอาจารย์รักษา อิมังอังคพัน ธนังอธิถามิ

แล้วปลุกเสกต่อไป ดังนี้
อิติสุคโต อุสุวิหิสุ พุทธะสังมิ มออุ อุกันหะเนหะ
อุตะธัง โธอุตะ ธังอะตะ หังระอะ อะนะปัสสะ

(ภาวนาทบทวน ตั้งแต่ 3 ถึง 7 จบ)

การใช้คำอธิษฐานภาวนาบทปลุกเสก ต้องจำให้แม่นยำคล่องแคล่ว
ตึ้งจิตคิดรำลึกถึงพระบารมีคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
 และท่านอาจารย์หลวงพ่อจงโดยแน่วแน่

หากใช้ตะกรุดโทน (มหารูดมงคลชาตรี) หรือใช้ตะกรุดชุด 16 ดอกติดตัวไป
เมื่อจะเข้าโรมรันรบประจัญบาน ให้เอามือรูดพระตะกรุดไว้เบื้องหน้าสะดือ
จะแคล้วคลาดคงทนต่อปืนผาหน้าไม้ สรรพสาตราวุธ แหลนหลาว หอกดาบ
ขวากหนาม ของแหลมของคมทุกชนิด
แต่ยามคิดหนีศัตรู ให้รูดพระตะกรุดไว้เบื้องหลัง จะแคล้วคลาดอันตราย
ไม่มีผู้ติดตามทำร้าย หรือไม่ขัดขวาง แม้จะไล่ติดตามก็ให้มีเหตุไล่ไม่ได้ไล่ไม่ทัน

แต่ถ้าจะใช้เข้าหาเจ้านายผู้ใหญ่ ท้าวพระยาผู้มีอำนาจบารมียิ่งใหญ่
ให้รูปพระตะกรุดทั้งสองประเภทที่มีอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง รูดไปเบื้องขวาตน
ถ้าเข้าหาท้าวพระยากษัตริย์หรือนางผู้สูงศักดิ์ ให้รูดไปเบื้องซ้าย

ถ้าจะทำการแข่งขัน แข่งเรือ แข่งม้า วัวควาย วิ่งแข่ง ตอนจะเริ่มออกแข่งขัน
ให้ภาวนารูดพระตะกรุดไว้ใต้สะดือ แลเมื่อสามารถออกเลยล้ำหน้าเขาไปแล้ว
จึงรูดพระตะกรุดกลับไปไว้เบื้องหลัง คู่แข่งขันจะไม่มีโอกาสไล่ตามทัน

ผู้ใดหมั่นบูชาหลวงพ่อจง (พุทธสโร) และบรรดาเครื่องรางของขลัง
ซึ่งตนมีศรัทธาเลื่อมใสเชื่อมั่นในพระคุณอิทธิบารมีของท่าน ซึ่งมีได้แก่

เสื้อพระยันต์ราชสีห์มหาอำนาจ (สีแดง) คงกระพันชาตรี
พระเครื่อง ทุ่งเศรษฐี (ดำใหญ่ และ แดงเล็ก)
พระยันต์มหาอำนาจ (มหานิยมแคล้วคลาด)
พระตะกรุดชุด 16 ดอก (แคล้วคลาด คงกระพัน เมตตา มหานิยม
มหาเสน่ห์ มหาลาภ)
ธนบัตรขวัญถุง (เรียกเงินตราไหลมาเทมาหา)
พระตะกรุดโทน (เช่นเดียวกับพระตะกรุดชุด 16 ดอก
แต่มีอิทธิบารมีแก่กล้าทางคงกระพัน ค่าพันตำลึงทอง)
รูปปั้น (หล่อ) ของหลวงพ่อจงเอง
พระยันต์ต่าง ๆ เขียนลงบนผืนผ้าขาว
เหรียญกลมรูปหลวงพ่อจง (สำหรับเด็ก)
รักยม (เมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์)
ยันต์พระฉิม (มหาลาภ ค้าขายเป็นมหานิยม)

โดยเฉพาะ พระยันต์ พระตะกรุด หากใช้ในการเดินทางและบังเกิดเมื่อยล้า
หรือเกรงว่าจะเหน็ดเหนื่อยจะปลุกเสกภาวนาป้องกันเสียก่อนก็ได้
โดยทำพิธีภาวนาอธิษฐานปลุกดังข้างต้นแล้ว ให้ยกมืออธิษฐานเสกซ้ำต่อไปอีกว่า

เสกขาธัมมา อเสกขาธัมมา เนวเสกขาธัมมา ธัมมาเสกขาธัมมา
ากนี้เอามือลูบแข้งขามือและร่างกายให้ทั่ว ให้คิดเชื่อว่า
ต่อไปนี้ตัวเราเดินวิ่งเท่าไร ๆ เป็นไม่มีเมื่อย ไม่มีเหนื่อยอีกแล้วอย่างเด็ดขาด
 เพราะพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์และท่านอริยสงฆ์หลวงพ่อจง
ท่านดลใจประสิทธิพรประเสริฐป้องกันแก่ตัวเราได้แล้ว
จึงกราบสามครั้งบนพื้นธรณีลงไป

สำหรับการปลุกเสกเครื่องรางของขลังทุกชนิด ควรกระทำทุกเช้าค่ำ
 โดยวิธีตั้งบทสวด ดังนี้
คือจุด ธูป เทียน บูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
และหลวงพ่อจง (พุทธสโร) เสียก่อน

จากนั้น ตั้งนะโม สามจบ (กราบ) จึงปลุกเสกด้วยพระคาถาว่า

พุทโธ พุทธัสสะ อิทธิฤทธิ์ พุทธะ นิมิตตัง

การปลุกเสกนี้ จะทำให้บังเกิดอิทธิบารมีเข้มขลังเพิ่มขึ้นทับทวี
ทั้งจะดลบันดาลสุขแก่ผู้เป็นเจ้าของ กระทำการบูชาตลอดนิจกาล
มิว่าจะมีประสงค์ปรารถนาสิ่งใด ก็จะมักได้สมปรารถนาไม่เคลื่อนคลายไม่หลุดจากมือ

เห็นสมควรแจ้งรายนามพระมหาตะกรุดชุด 16 ดอกไว้แต่ละดอก
เพื่อความรู้อันสมบูรณ์ของท่านผู้ศรัทธา ดังนี้
1. เกราะเพชร 2. พรหมสี่หน้า 3. มหานิยม 4. คงกระพัน
5. ป้องกันเขี้ยวงา 6. เมตตา 7. แคล้วคลาด 8. ปกป้องภัยจากผี "คุณ"
9. ปกป้องปัด "สะบัด" อัคคีพ่าย 10. มหาอุด (สรรพอาวุธไม่ระคายผิว)
11. ป้องกันภัย ขีปณาวุธนานา 12. เดินทางไกลไม่เหนื่อยไม่เมื่อย
13. กระทู้เจ็ดแบก 14. ปกป้องภัยจากฟ้าผ่า 15. นะจังงัง บังตาผู้อื่น
16. มหารูดวาระสุดท้าย



ขอขอบคุณที่มา  fb ตามหลวงพ่อไปนิพพาน







Create Date : 08 ธันวาคม 2556
Last Update : 6 สิงหาคม 2557 12:48:01 น.
Counter : 3210 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ