Group Blog
All Blog
<<< "ปัญญาในพระพุทธศาสนา" >>>









“ปัญญาในพระพุทธศาสนา”

คนทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้

มีความปรารถนาอยากจะเป็นคนฉลาด

 เป็นคนมีความรู้มีปัญญาด้วยกันทุกคน

 แต่ความฉลาดความรู้มีปัญญา

ไม่ได้เกิดจากความปรารถนาโดยถ่ายเดียว

 แต่เกิดจากการกระทำของแต่ละคน

 เกิดจากความขยันหมั่นเพียร ความอดทน

 ความใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษาหาความรู้ต่างๆที่มีอยู่ในโลกนี้

 ถ้ามีความขยันหมั่นเพียร มีความอดทน

มีความใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา พยายามแสวงหา

ความรู้จากผู้รู้ทั้งหลายแล้ว

ในที่สุดก็จะเป็นคนฉลาดได้ 

ความรู้ที่มีในโลกนี้แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ๆ

 คือความรู้ทางโลกและความรู้ทางธรรม

 ความรู้ทางโลกได้แก่เรื่องราวต่างๆ ภายนอกตัวเรา

 เช่นวิชาวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ พาณิชยศาสตร์

 หรือความรู้อะไรก็ตามที่เกี่ยวกับ

เรื่องราวภายนอกทั้งหลายเรียกว่าวิชาทางโลก

 ส่วนวิชาทางธรรมจะเกี่ยวข้องกับ

ความรู้ทั้งสองประเภท

 คือทั้งเรื่องในตัวเราและเรื่องนอกตัวเรา

 เรื่องราวอะไรก็ตามที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับจิตใจ

 มาสัมผัสกับจิตใจ และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ

 เช่น สุขทุกข์เป็นต้น เรียกว่าวิชาทางธรรม

ถึงแม้จะได้ศึกษาวิชาทางโลกมามากมายเพียงไรก็ตาม

 แต่ความรู้ทางโลกกลับไม่สามารถใช้

เป็นเครื่องดับความทุกข์ในจิตใจได้เลย

สังเกตดูได้กับคนบางคนที่ได้เรียนสูงๆ

จนสำเร็จปริญญาตรี โท เอก เวลามีความทุกข์ขึ้นมา

กลับไม่รู้จักวิธีระงับดับความทุกข์นั้นๆ มักจะใช้วิธีผิดๆ

 เช่นฆ่าตัวตายเป็นต้น โดยคิดว่าการฆ่าตัวตายนั้น

เป็นการดับทุกข์ ถ้าหากได้ศึกษาวิชาทางธรรม

จะรู้ว่าความทุกข์เกิดขึ้นในจิตใจ ไม่ได้เกิดที่ร่างกาย

ทำลายร่างกายไม่ได้ดับทุกข์ในจิตใจไปด้วย

 จิตใจก็ยังทุกข์อยู่ เพราะว่าร่างกายและจิตใจ

เป็นคนละอย่างกัน ร่างกายเป็นอย่างหนึ่ง

 จิตใจเป็นอย่างหนึ่ง จิตใจเป็นนาย ร่างกายเป็นบ่าว

จิตใจเป็นผู้สั่งการให้ร่างกายไปกระทำสิ่งต่างๆ

 ให้พูดก็ดี ให้เดินก็ดี จิตใจเป็นผู้สั่งงาน

และเป็นผู้รับผล ถ้าทำในสิ่งที่ดีงามก็เกิดความสุขใจ

ถ้าทำในสิ่งที่ไม่ดีไม่งามก็เกิดความทุกข์ใจ

การที่จะแก้ปัญหาความทุกข์ของจิตใจ

จึงต้องหาสาเหตุว่า ความทุกข์ของจิตใจ

เกิดขึ้นมาจากอะไร ร่างกายไม่ใช่ต้นเหตุ

ของความทุกข์ทางจิตใจ หลักธรรมแสดงไว้ว่า

ความทุกข์ของจิตใจเกิดจากตัณหาความอยากทั้งหลาย

 ตัณหามีอยู่ ๓ ประเภท

 คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

 กามตัณหาคือความอยากในกาม

หมายถึงกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

 เป็นสิ่งที่จิตใจปรารถนาอยากที่จะได้สัมผัสอยู่เสมอๆ

 ถ้าไม่ได้สัมผัสจะเกิดอาการทุกข์ใจขึ้นมา

 อย่างเวลาที่อยู่บ้านเฉยๆ จิตใจจะมีความหงุดหงิด

 มีความกระวนกระวาย ไม่ค่อยมีความสุขเท่าไร

แต่ถ้าได้ออกไปนอกบ้าน ได้ไปดู ได้ไปฟัง

ได้ไปดมกลิ่น ได้ไปลิ้มรส ได้ไปสัมผัสกับอะไรต่างๆ

 จิตใจจะมีความเบิกบาน มีความสุขใจ

เป็นการติดกามสุข มีกามตัณหาเป็นต้นเหตุ

 ถ้าไม่ได้สัมผัสก็เกิดความทุกข์ขึ้นมา

ต่างกับคนที่ไม่มีความอยากในกาม

ไม่มีกามตัณหา สามารถอยู่บ้านได้ อยู่เฉยๆได้

 ไม่ต้องดูหนังดูละคร ไม่ต้องฟังเพลงก็มีความสุขได้

 เพราะจิตใจไม่มีความอยากในเรื่องกามทั้งหลาย

 ไม่มีกามตัณหาก็ไม่มีความทุกข์

 ถ้ามีกามตัณหาก็ต้องมีความทุกข์

วิชาทางธรรมสอนว่า

 ความสุขความทุกข์ที่แท้จริงอยู่ที่ใจ ไม่ได้อยู่ภายนอก

 ภายนอกนั้นเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความทุกข์

หรือความสุขขึ้นมาภายในใจ ถ้าใจไม่อยาก ใจก็สุข

ถ้าใจอยาก ใจก็ทุกข์ วิชาทางโลกเป็นความรู้

ที่ใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากิน เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

 เพราะว่าร่างกายต้องอาศัยปัจจัย ๔ คืออาหาร

 เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค

 ถ้าขาดปัจจัย ๔ ร่างกายก็อยู่ไม่ได้

 เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องศึกษาวิชาทางโลก

เพื่อจะได้มีวิชาไว้ใช้ประกอบสัมมาอาชีพ

 อาชีพที่สุจริต เพื่อจะได้มีปัจจัย ๔

ไว้เยียวยาดูแลร่างกาย แต่วิชาทางโลกโดยลำพัง

ไม่เพียงพอกับการดูแลรักษาจิตใจ

 จึงต้องศึกษาวิชาทางธรรมด้วย

 โดยเข้าหาพระพุทธศาสนาเพื่อศึกษาให้เกิดปัญญา

ปัญญาทางพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ระดับ คือ

๑. สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการได้ยินได้ฟัง

 เช่นการฟังเทศน์ฟังธรรม เรื่องเหตุเรื่องผล

 เรื่องบาปเรื่องบุญ เรื่องคุณเรื่องโทษ

 เรื่องนรกเรื่องสวรรค์ เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด

 เรื่องกรรมเรื่องวิบาก เป็นปัญญาความรู้

 เมื่อเกิดความเข้าใจขึ้นมา

ก็สามารถใช้แก้ปัญหาระงับดับทุกข์ได้ในระดับหนึ่ง

๒. จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจาก

การคิดพิจารณาไตร่ตรอง เช่นเวลาไปทำอะไรไม่ดีมา

 ไปพูดโกหกหลอกลวง ก็เกิดรู้สึกไม่สบายใจขึ้นมา

เลยนั่งคิดว่าวันนี้ไม่สบายใจเพราะอะไร

ที่ไม่สบายใจเพราะไปพูดโกหกหลอกลวง

 เลยเกิดความกังวลว่าจะถูกเขาจับได้

ก็เลยเกิดความไม่สบายใจ เมื่อพิจารณาดูแล้ว

เห็นว่าการโกหกหลอกลวงเป็นการกระทำที่ไม่ดี

 เพื่อเป็นการระงับดับความไม่สบายใจ

 จึงต้องไปสารภาพบาป เมื่อได้สารภาพขออภัยแล้ว

ใจก็สบายเพราะไม่มีความกังวลอีกต่อไป

การคิดพิจารณาว่าการกระทำทางกายวาจาใจ

เป็นเหตุของความสุขความทุกข์ในจิตใจ

 เรียกว่าจินตามยปัญญา คือคิดไปในทางเหตุทางผล

 เป็นปัญญาใช้ระงับดับทุกข์ภัยในใจได้

๓. ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจาก

การปฏิบัติจิตตภาวนา

 เป็นปัญญาที่ระงับดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง

 ปัญญาระดับนี้ต้องมีความสงบเป็นพื้นฐาน

เพราะว่าความสงบเป็นที่ปลง ที่ปล่อยวาง

ที่ดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง ถ้าไม่มีความสงบ

 ก็จะไม่สามารถปลงและปล่อยวางได้อย่างสิ้นเชิง

 ภาวนามยปัญญาจะต้องเกิดจากการปฏิบัติ

โดยอาศัยการได้ยินได้ฟังมาก่อน

ให้รู้จักว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกที่ผิด อะไรเป็นสิ่งที่ดีที่ชั่ว

 เมื่อรู้แล้วก็เอามาสั่งสอนจิตใจด้วยการใคร่ครวญ

คิดพิจารณาอยู่เรื่อยๆ เช่นการไปโกหกหลอกลวง

ไปคดไปโกงเป็นสิ่งที่ไม่ดี

ทำไปแล้วก็เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

 จึงพยายามละเสียด้วยการทำจิตใจให้สงบ

 ไหว้พระสวดมนต์ บริกรรม พุทโธ พุทโธ พุทโธ

 โดยมีสติระลึกรู้อยู่อย่างต่อเนื่อง

 ไม่ให้จิตไปคิดเรื่องอื่น

ให้อยู่กับพุทโธ พุทโธ พุทโธ อย่างเดียว

 ถ้าดูลมหายใจเข้าออก

 ก็ให้รู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว

 อย่าไปคิดเรื่องอื่น ถ้าไปคิดเรื่องอื่นจิตจะไม่สงบ

 นั่งไปนานสักเท่าไรก็ไม่เกิดผลอะไรขึ้นมา

 ผลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีสติควบคุมใจ

ให้รู้อยู่กับงานที่ทำอยู่เท่านั้น

 ถ้ากำหนดรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก

ก็ให้รู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว

ถ้าใช้คำบริกรรมพุทโธ ก็กำหนดรู้

อยู่กับพุทโธ พุทโธ พุทโธ อย่างเดียว

 อย่าไปคิดเรื่องอื่น ถ้าสามารถทำอย่างนี้ได้แล้ว

 ไม่ช้าก็เร็ว จิตจะรวมลงเป็นสมาธิ จิตจะตั้งมั่น

 ไม่ลอยไปไหน มีความสงบ มีความนิ่ง มีความอิ่ม

 มีความพอ มีความสุข เมื่อมีความสุขแล้ว

 เวลาจิตจะไปทำอะไรในทางที่ไม่ดีไม่ชอบ

จะเห็นความทุกข์ใจเกิดขึ้นมาทันที

เมื่อเห็นทุกข์ก็จะละการกระทำที่ไม่ดีนั้นทันที

 นี่คือการทำงานของภาวนามยปัญญา

เวลาจิตมีความสงบจิตจะไม่ไปก่อกรรมก่อเวรกับใคร

 เพราะจิตมีความสุข

เป็นความสุขที่เหนือความสุขทั้งหลาย

เป็นความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่มีอยู่ในจิตที่สงบ

 ไม่เหมือนกับความสุขที่เกิดจากการได้รับ

 ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข

 ซึ่งเป็นความสุขที่ปนไปด้วยความทุกข์

 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ไม่น่าพิศวาส ไม่น่าปรารถนา

 จึงควรตัดความยินดี ความอยาก

ใน ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ให้หมดไป

ด้วยการเจริญจิตตภาวนา จะได้อยู่เย็นเป็นสุข

หมดเวรหมดกรรม

เพราะไม่ก่อเวรก่อกรรมกับใครอีกต่อไป

ดำรงชีวิตอยู่ในศีลในธรรม

 ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นโดยถ่ายเดียว

 ดังพระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญประโยชน์

ให้กับโลกตลอดเวลา ๔๕ พรรษา

 โดยการประกาศพระศาสนาให้กับสัตว์โลกทั้งหลาย

 เป็นคุณเป็นประโยชน์ให้กับโลกมาจนถึงทุกวันนี้

 นี่คือปัญญาในพระพุทธศาสนา

 สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา

 เป็นธรรมอันประเสริฐที่ได้รับการสืบทอดกันมายาวนาน

 ขอให้ทุ่มเทชีวิตจิตใจสร้างปัญญานี้ให้เกิดขึ้นเถิด

 เพราะปัญญานี่แหละคือสรณะที่แท้จริง

 เป็นที่พึ่งที่แท้จริง จะพ้นทุกข์ได้ด้วยปัญญา.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.....................................

กำลังใจ ๓, กัณฑ์ที่ ๓๙

วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๔๔






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 30 มกราคม 2562
Last Update : 30 มกราคม 2562 8:21:58 น.
Counter : 413 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ