Group Blog
All Blog
<<< "เรื่องการพิจารณาร่างกาย" >>>









"เรื่องการพิจารณาร่างกาย"

ถาม : การพิจารณากายกับการพิจารณาเวทนา

 มีความแตกต่างกันอย่างไร ใช้ควบคู่กันได้ไหมครับ

พระอาจารย์ : ก็มันเป็นข้อสอบกันคนละข้อไง

 ร่างกายเราต้องการศึกษาร่างกาย

 เพราะตอนนี้เราหลงและคิดว่า

ร่างกายเป็นตัวเราของเรา แต่พระพุทธเจ้าบอกว่า

มันไม่ใช่เป็นตัวเราของเรา เราก็ต้องพิจารณาดูว่า

 มันเป็นตัวเราตรงไหน เรามีตัวเราอยู่ตรงไหนบ้าง

 เราอยู่ที่ไหน อยู่ที่ผมหรือเปล่า หรืออยู่ที่ขน

 เวลาตัดผมไปตัวเราหายไปกับผมหรือเปล่า

 อยู่ที่เล็บ อยู่ที่หนัง อยู่ที่เนื้อหรืออยู่ทีเอ็นหรือเปล่า

 ถ้าเราค้นหาไปทั้งร่างกาย

เราจะไม่พบตัวเราอยู่ในร่างกายเลย

ก็แสดงว่าเราไม่มีอยู่ในร่างกาย

เราหลงไปคิดเองว่า

 เหมือนกับเราหลงคิดว่าเราเก็บของไว้ที่ตู้ ในตู้

 แล้วก็ไปค้นหาทั้งตู้เลย ตู้เสื้อผ้า

 ลืมกุญแจไว้คิดว่าอยู่ในตู้

ก็เลยรื้อเสื้อผ้าออกมาใช่ไหม

รื้อเสื้อผ้าหรือข้าวของในตู้ออกมา รื้อมาหมด

ก็ไม่เห็นมีกุญแจที่เราคิดว่ามันอยู่ในนั้น

ก็แสดงว่ากุญแจไม่ได้อยู่ในตู้นี้

แล้วอันนี้ก็เหมือนกัน เรามีความเห็นว่า

ร่างกายนี้เป็นตัวเรา เราอยู่ในร่างกายนี้ใช่ไหม

 ทุกคนคิดอย่างนั้นหรือเปล่าใช่ไหม

ก็ลองค้นหาดูสิ ลองค้นหาเข้าไปในอาการ ๓๒ นี้

 เอาออกมาทีละอาการ แล้วดูซิว่า

ตัวเราอยู่ตรงไหนหรือเปล่า

เหมือนกับเสื้อผ้า กับข้าวของ แล้วอาจจะคิดว่า

เงินเราอาจจะเก็บอยู่ในกระเป๋าเสื้อผ้าก็ได้

 เข้าไปค้นมันออกมาดูกุญแจอยู่ในนั้นหรือเปล่า

 ค้นออกมาก็ไม่มี อยู่ในกล่องหรือเปล่า

 ค้นหาออกมาก็ไม่มี ค้นหมดในตู้ไม่เห็นมีกุญแจ

 ก็แสดงว่ากุญแจไม่ได้อยู่ในตู้

ร่างกายนี้เหมือนกัน เราไปคิดว่า

เราอยู่ในร่างกายนี้ใช่ไหม แต่ค้นมันดูสิ

 ผมหรือเปล่า อยู่ที่ขนหรือเปล่า

อยู่ที่เล็บหรือเปล่า อยู่ที่ลำไส้หรือเปล่า

 อยู่ที่ปอดหรือเปล่า อยู่ที่ไตหรือเปล่า

เวลาที่เขาบริจาคไตไปนี้ เราไปกับไตหรือเปล่า

 เราบริจาคเลือดนี้เราไปกับเลือดหรือเปล่า ใช่ไหม

 นี่แหละคือการพิจารณาร่างกาย

 ให้เห็นว่ามันไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา

ไม่ใช่ของเราเพราะอะไร

 เพราะเราห้ามมันไม่ได้

 สั่งมันไม่ได้ สั่งให้มันไม่แก่ได้หรือเปล่า

 สั่งให้มันไม่เจ็บได้หรือเปล่า

 สั่งให้มันไม่ตายได้หรือเปล่า

นี่ก็คือการพิจารณาร่างกาย

 เพื่อเห็นความจริงว่า

ร่างกายไม่ใช่ตัวเราของเรา

 เรามันเที่ยงหรือเปล่า

 มันเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หรือเปล่า

มันเหมือนเดิมหรือเปล่า

ทุกวันหน้าตาแบบนี้หรือเปล่า

 ถ้าเราดูทุกวันในกระจก

 มันก็รู้สึกว่ามันไม่เปลี่ยนนะ

แต่ถ้าเราถ่ายรูปไว้แล้วอีกสักสิบปี

กลับมาดูใหม่ว่ามันเปลี่ยนไหม

นี่เราดูทุกวันมันไม่เปลี่ยน เพราะมันเปลี่ยนน้อย

 เหมือนกับไอ้ตัวที่มันคลาน

ดูมันคลาน เต่าคลานรู้สึกมันไม่ได้ไปไหนเลย

 แต่สักครึ่งชั่วโมงมาดู เอ๊ะมันหายไปไหนแล้ว

อันนี้ก็เหมือนกัน ร่างกายมันก็เปลี่ยนตลอดเวลา

 เพียงแต่มันเปลี่ยนช้า แล้วก็เราเห็นมันทุกวัน

 เราก็เลยคิดว่ามันไม่เปลี่ยน

 ฉะนั้นเราต้องดูว่าตอนที่เราออกมาจากท้องแม่

 ร่างกายเราเป็นอย่างไรบ้าง

แล้วสิบปีต่อมามันเป็นอย่างไร

ตอนที่เราไปโรงเรียนนี้

กับร่างกายตอนที่เราอยู่ในท้องแม่

 เหมือนกันหรือเปล่า

แล้วตอนที่เราจบเรียนรับปริญญา

เหมือนกับตอนที่เราไปเรียนอนุบาลหรือเปล่า

 นี่เขาเรียกว่าพิจารณาอนิจจัง

ให้เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลง

มันเกิดแล้วมันก็เจริญเติบโต

 แล้วต่อไปมันก็ต้องแก่ แก่แล้วเดี๋ยวมันก็ต้องเจ็บ

 แล้วเดี๋ยวมันก็ต้องตาย

 เพื่อให้เห็นว่าร่างกายมันไม่เที่ยง

อย่าไปยึดไปติด อย่าไปอยากให้มันเที่ยง

 เพราะความอยากจะทำให้เราทุกข์เข้าใจไหม

 ถ้าเราไม่อยากเราก็จะไม่ทุกข์

ทำไมเราจะไปอยากให้ร่างกายมันเที่ยง

 เพราะเราไปคิดว่ามันเป็นตัวเรา

 พอเราพิจารณาด้วยปัญญาว่า มันไม่ใช่ตัวเรา

 แล้วก็ห้ามมันไม่ให้แก่ไม่ให้เจ็บไม่ให้ตายไม่ได้

 แล้วจะไปอยากให้มันไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายได้อย่างไร

 อยากไปก็ทุกข์เปล่า การพิจารณานี้

เพื่อทำให้เราไม่ทุกข์กับร่างกาย

ก็ปล่อยให้มันแก่ให้มันเจ็บให้มันตายไป

อย่าไปอยากให้มันไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย

อย่าไปอยาก อย่าไปคิดว่ามันเป็นของเรา

 นี่คือการพิจารณาร่างกาย

การพิจารณาเวทนา ก็ดูเวทนาคือความรู้สึก

ความรู้สึกทางร่างกายมันก็มีสามอันใช่ไหม

 เวลาเจ็บก็นึกว่าทุกข์ใช่ไหม เจ็บไข้ได้ป่วยก็ทุกข์

 เวลากินข้าวอิ่มเป็นยังไง สุขไหม

เวลาหิวนี่ทุกข์ใช่ไหม เวลากินข้าวอิ่มก็สุข

 ระหว่างที่ไม่หิวกับไม่อิ่ม ก็เรียกว่า

ไม่สุขไม่ทุกข์ใช่ไหม เวทนามันก็มีสามอัน

เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา มันก็เป็นอนัตตา

 เราห้ามมันไม่ได้ สั่งมันไม่ได้

สั่งให้มันไม่เจ็บได้ไหม

เวลามันนึกอยากจะเจ็บขึ้นมามันก็เจ็บขึ้นมา

 สั่งให้มันหายได้ไหม เวลามันเจ็บแล้ว

 หายไปเดี๋ยวนี้ มันก็ไม่หาย

 แสดงว่ามันไม่ได้เป็นของเรา เราสั่งมันไม่ได้

 แล้วมันเที่ยงไหม มันไม่เที่ยงใช่ไหม

 มันเปลี่ยนไปเดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์

เดี๋ยวไม่สุขเดี๋ยวไม่ทุกข์กัน

 เราไปสั่งให้มันสุขอย่างเดียวได้หรือเปล่า ก็ไม่ได้

แล้วถ้าเราสั่งไม่ได้เราก็ต้องปล่อยมันสิ

ถ้าไปอยากให้มันสุขอย่างเดียว

เดี๋ยวเวลามันทุกข์เราก็จะทุกข์ขึ้นมา

 เพราะเราไม่อยากให้มันทุกข์ไง

 ฉะนั้นเราอย่าไปอยากให้มันไม่ทุกข์

 เราต้องปล่อย มันจะสุขก็ปล่อยมันสุขไป

 มันจะทุกข์ก็ต้องปล่อยมันทุกข์ไป

 เราต้องทำใจเฉยๆ นี่ปล่อยวาง

 แล้วเราจะไม่ทุกข์กับเวทนาของร่างกาย

 นี่คือเรื่องการพิจารณา

เพื่อให้ใจเราไม่ทุกข์กับร่างกาย

ไม่ทุกข์กับเวทนา.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

..............................

สนทนาธรรมะบนเขา

วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๐






ขอบคุณที่มา fb.พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 28 มิถุนายน 2560
Last Update : 28 มิถุนายน 2560 5:09:49 น.
Counter : 409 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ