Group Blog
All Blog
### ของคู่กัน ###











“ของคู่กัน”

ความทุกข์เป็นสิ่งที่ดับได้

 ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้

ถ้าปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน

ของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด

 เช่นมาวัดทุกๆวันพระวันเสาร์หรือวันอาทิตย์

 เพื่อสร้างบุญกุศล บุญคือความสุขใจ

กุศลคือ ความฉลาด ถ้ามีทั้งบุญและกุศลแล้ว

 จะมีอาวุธไว้ต่อสู้กับความทุกข์

ความวุ่นวายใจต่างๆ

บุญหรือความสุขใจเป็นเหมือนความเย็น

 ถ้ามีมากเพียงไรก็จะให้ความร่มเย็นเป็นสุข

กับจิตใจมากเพียงนั้น

ส่วนความทุกข์เป็นเหมือนความร้อน

ถ้ามีมากเพียงไรก็จะสร้างความรุ่มร้อน

ให้กับจิตใจเพียงนั้น

เราจึงต้องเอาความเย็นคือความสุขใจ

ที่เกิดจากการทำบุญมาต่อสู้กับความร้อน

ของความทุกข์

 ถ้ามีบุญมากจะมีความเย็นมาก

ความร้อนของความทุกข์

 ก็จะไม่สามารถเข้ามา

เหยียบย่ำทำลายจิตใจได้

ถ้ามีบุญมีความเย็นใจน้อย

ความทุกข์ร้อนก็ยังจะเข้ามาในใจได้

 เพราะความสุขความเย็นใจ

กับความทุกข์ความร้อนใจ เป็นคู่ต่อสู้กัน

 เหมือนกับเครื่องปรับอากาศ

 ถ้ามีความเย็นมาก ความร้อนจากภายนอก

ก็จะไม่สามารถเข้ามาได้

ถ้ามีความเย็นน้อยความร้อนจากภายนอก

ก็ยังจะเข้ามาได้

เวลาเครื่องปรับอากาศไม่ทำงานเต็มที่

 เพราะเสื่อมหรือเสีย

ก็เหมือนกับไม่มีเครื่องปรับอากาศ

 เปิดไปก็มีแต่ลมร้อนพัดเข้ามา

ใจที่ทุกข์ร้อนก็เป็นเพราะ

เครื่องปรับอากาศของใจไม่ทำงาน

 หรือไม่มีเครื่องปรับอากาศติดตั้งในใจ

 คือบุญและกุศลนี้เอง

 ถ้าติดตั้งบุญและกุศลไว้ในใจ

 จะมีความร่มเย็นเป็นสุข

ไม่ทุกข์วุ่นวายกับเรื่องราวต่างๆ

 ที่เข้ามากระทบตลอดเวลา

เพราะในชีวิตของเราในแต่ละวัน

จะต้องเจอกับเรื่องราวต่างๆมากมาย

 ทั้งดีและไม่ดี ถ้าดีก็ไม่เป็นปัญหาอะไร

 เพราะไม่สร้างความทุกข์ให้กับจิตใจ

ถ้าไม่ดีก็จะสร้างความทุกข์ให้กับจิตใจ

 แต่เราไม่สามารถเลือกเอาแต่สิ่งที่ดีอย่างเดียว

 ไม่สามารถกีดกันสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้มากระทบ

เพราะสิ่งที่ไม่ดีและดีเป็นของคู่กัน

 เหมือนกับเหรียญที่มี ๒ ด้าน มีหัวมีก้อย

 ถ้าจะเอาหัวก็ต้องเอาก้อยด้วย

 ได้ทั้งหัวและก้อย

ถ้าไม่อยากได้หัวหรือก้อย

ก็ต้องไม่เอาเลย

 ฉันใดสุขทุกข์ที่มีอยู่ในโลกนี้

ก็เป็นของคู่กัน

 เป็นโลกของความสุขและความทุกข์

ถ้าไม่ต้องการความทุกข์

ก็ต้องไม่ต้องเอาความสุขทางโลก

 ที่ออกบวชกันเพราะเห็นความสุขทางโลก

มีความทุกข์ติดมาด้วย เป็นของคู่กัน

จึงสละความสุขทางโลก ไม่เอาเลย

เพราะไม่ต้องการความทุกข์ที่ตามมาด้วย

ความสุขทางโลกก็คือ

การเจริญในลาภยศสรรเสริญกามสุข

 แต่อยู่ภายใต้กฎของอนิจจังไม่เที่ยง

 มีเจริญมีเสื่อมเป็นธรรมดา

เวลาเจริญเราก็ชอบ ดีอกดีใจ

 เวลาเสื่อมเราก็เสียใจ

เพราะหลงไปยึดไปติด ไม่รู้ว่าเป็นอย่างนี้

มีทั้งสุขและมีทั้งทุกข์

มีทั้งเจริญมีทั้งเสื่อม

 เพราะไม่มีกุศลคือความฉลาด

ไม่มีบุญคือความสุขใจไว้คอยป้องกัน

พอเกิดความเสื่อมขึ้นมา

ใจก็รุ่มร้อนด้วยความทุกข์

อาลัยอาวรณ์ เสียดาย เศร้าโศกเสียใจ

กินไม่ได้นอนไม่หลับ

เพราะไม่มีบุญกุศลมากพอที่จะกั้น

ไม่ให้ความทุกข์ร้อนเข้ามาในใจ

พระพุทธเจ้าทรงเห็นความสำคัญ

ในการสร้างบุญกุศลอย่างสม่ำเสมอ

 จึงทรงสอนให้พุทธศาสนิกชนเข้าวัดกัน

 อย่างสม่ำเสมอ

เพราะเป็นเหมือนกับการติด

เครื่องปรับอากาศนั่นเอง

เมื่อติดแล้วจะร่มเย็นเป็นสุขตลอดเวลา

 ไม่ว่าจะพบกับสภาพอะไรในโลกนี้

เจริญหรือเสื่อม จะไม่สร้างความรุ่มร้อน

ความทุกข์ให้กับใจได้

นี้คือบุญและกุศลที่พวกเราได้มาทำกัน

อย่างสม่ำเสมอ เกิดจากการให้ทาน

 รักษาศีล ภาวนา นั่งสมาธิ เจริญปัญญา

เป็นการสร้างบุญและกุศล

ความร่มเย็นให้กับจิตใจ

 การให้ทานก็สร้างความร่มเย็น

 เป็นสุขได้ระดับหนึ่ง

 การรักษาศีลก็ให้มากขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

การภาวนาก็ให้อย่างเต็มที่เลย

 เหมือนกับเครื่องปรับอากาศ

ที่มีปุ่มปรับความเย็นได้ มีตั้งแต่เลข ๑ ถึงเลข ๕

 หรือเลข ๑๐ ถ้าหมุนไปที่เลขต่ำความเย็นก็น้อย

ถ้าหมุนไปที่เลขสูงๆ ความเย็นก็จะมาก

ฉันใดการทำบุญให้ทาน

การรักษาศีล การภาวนา

 ก็เป็นเหมือนกับปุ่มควบคุมความเย็นของจิตใจ

ถ้าต้องการความเย็นมาก ให้ได้เต็มร้อย

ก็ต้องภาวนาไหว้พระสวดมนต์

นั่งสมาธิ เจริญปัญญา ถ้าทำทานอย่างเดียว

 ไม่รักษาศีลหรือภาวนา

ก็จะได้ความเย็นน้อย

ถ้าร้อนมากๆก็จะไม่ทำให้จิตใจร่มเย็นได้

ถ้าความทุกข์ไม่มาก

ก็พอจะรับได้ในระดับของทาน

ถ้ารักษาศีลด้วยก็เท่ากับปรับปุ่มให้สูงขึ้น

 ปรับความเย็นใจให้มีมากขึ้น

ก็จะรับกับความทุกข์ที่ร้อนมากขึ้นได้

 ถ้าปรับปุ่มไปที่สูงสุดของความเย็นได้

ก็จะรับกับความทุกข์ร้อนต่างๆ

ได้อย่างเต็มที่เลย

ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์

ที่เกิดจากความแก่เจ็บตาย

 พลัดพรากจากกัน ถ้ามีภาวนา

รับรองได้ว่าจะไม่ทุกข์วุ่นวาย

กับความแก่เจ็บตายพลัดพรากจากกันเลย

 เพราะใจจะเย็นอย่างเต็มที่จ

นความรุ่มร้อนต่างๆ

 ไม่สามารถทำให้ใจร้อนขึ้นมาได้เลย

 จึงไม่ควรทำแต่ทานอย่างเดียว

 รักษาศีลอย่างเดียว

ต้องภาวนาด้วย ต้องฝึกทำจิตใจให้สงบ

วิธีที่ง่ายที่สุด ก็คือการสวดมนต์ด้วยสติ

 สวดบทไหนก็ได้ไม่สำคัญ

บทต่างๆเป็นอุบาย เป็นเครื่องมือ

ที่จะทำให้จิตสงบ

 จะสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกก็ได้

อิติปิโสก็ได้ แผ่เมตตาก็ได้

 ธรรมจักรก็ได้ แล้วแต่จะจำบทไหนได้

ก็สวดบทนั้นไป ไม่เปิดหนังสือดูได้จะดีกว่า

 เพราะจะได้ไม่ต้องเพ่งดูตัวอักษร

 สวดบทที่จำได้

ถ้าจำบทไหนไม่ได้เลย

 ก็สวดแต่พุทโธๆไปเรื่อยๆก็ได้

 พุทโธธัมโมสังโฆไปเรื่อยๆก็ได้

 ข้อสำคัญอยู่ที่เวลาสวด ไม่ให้ไปคิดเรื่องอื่น

 จะสวดบทไหนก็ได้ สวดอะไรก็ได้

แต่ต้องไม่ไปคิดเรื่องอื่น

คืออยู่กับบทสวดอย่างเดียว

ต้องมีสติ ต้องรู้อยู่ทุกขณะว่า

ขณะนี้กำลังอยู่กับการสวดมนต์

หรือกำลังคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่

 ถ้าปล่อยให้ไปคิดแล้วสวดไปพร้อมๆกัน

 สวดไปนานสักเท่าไร ใจก็จะไม่สงบ

 เพราะใจยังแกว่งไปแกว่งมา

 กับเรื่องนั้นเรื่องนี้

ถ้าไม่อยู่กับบทสวดมนต์

ก็จะไม่นิ่งไม่สงบ

 ต้องจ่ออยู่กับบทสวดมนต์อย่างเดียว

สวดไปเรื่อยๆ แต่อย่าไปคิดไปคาดคะเน

ว่าสวดแล้วจะได้ผลอย่างไรเมื่อไหร่

อย่าไปคิดเป็นอันขาด

 เพราะคิดแล้วก็จะไม่เป็น

 ต้องไม่คิดเรื่องอะไรทั้งสิ้น

 อยู่กับบทสวดมนต์ไปเรื่อยๆ

รับรองได้ว่าไม่ช้าก็เร็ว

จิตก็จะรวมตัวเข้าสู่ความสงบ

 จะเป็นเหมือนกับตกหลุมตกบ่อตกเหว

 วูบลงไป แล้วก็นิ่งเบาสบาย มหัศจรรย์ใจ

ถ้าลงลึกๆร่างกายจะหายไปจากความรู้สึก

 เหลือแต่ความรู้ เหลือแต่ผู้รู้อยู่ตัวเดียว

 ที่เรียกว่าสักแต่ว่ารู้

 เป็นผลที่เกิดจากการสวดมนต์

จากการบริกรรมพุทโธธัมโมสังโฆ

 เมื่อจิตรวมลงแล้ว จะพบกับความสุข

ที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์

ที่ไม่เคยพบมาก่อน ไม่มีความทุกข์

 ไม่มีอะไรอยู่ในใจเลย

 ไม่มีเรื่องราววุ่นวายต่างๆไม่มีอะไรทั้งสิ้น

 เหมือนกับลอยอยู่ในอวกาศคนเดียว

 แสนจะสุขแสนจะสบาย

แล้วจะเข้าใจถึงคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า

 ไม่มีความสุขอื่นใดจะเหนือกว่า

ความสุขที่เกิดจากความสงบ

ความสงบใจนี้แลเป็นสุดยอดของความสุข

เป็นเหตุทำให้พระพุทธเจ้า

สละความสุขทางโลกได้

 เพราะทรงได้สัมผัสกับความสุขแบบนี้

มาก่อนที่จะออกบวช จนมีความเชื่อมั่นว่า

 ไม่มีความสุขอื่นใดจะดีเท่ากับความสุขนี้

จึงกล้าสละความสุขทางโลก

ในฐานะของราชกุมาร

 มีปราสาท ๓ ฤดู มีทรัพย์ มีลาภ

 มียศ มีสรรเสริญ

มีความสุขที่ได้จากการเสพ

รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

เพราะทรงเห็นว่าเป็นความสุข

ที่มีความทุกข์ควบคู่ไปด้วย

 เทียบกับความสุขที่ได้จากความสงบใจไม่ได้

 เพราะไม่มีความทุกข์มาเกี่ยวข้องเลย

 เป็นความสุขที่ดับความทุกข์ได้

ความสุขอย่างอื่นดับความทุกข์ไม่ได้

เวลาไปเที่ยวก็มีความสุข

 พอกลับมาบ้านพบว่าขโมยได้ขึ้นบ้าน

 ขโมยข้าวของไป

 ความสุขที่ได้จากการไปเที่ยวก็หายไป

 เกิดความเสียใจ เสียดายสมบัติ

ข้าวของเงินทองที่ถูกขโมยไป

 จึงควรสร้างบุญและกุศลกัน

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.....................

กัณฑ์ที่ ๓๑๘ วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๐

 (กำลังใจ ๓๓)

“ของคู่กัน”






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 21 ตุลาคม 2559
Last Update : 21 ตุลาคม 2559 6:39:23 น.
Counter : 668 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ