Group Blog
### ตับอักเสบเรื้อรังและตับแข็งเป็นอย่างไร ###





วันนี้เราก็ยังคงนำเสนอบทความของท่านอาจารย์หมอ
 นพ.ดร.ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์ต่อ เป็นตอนที่สอง
การนำเสนอบทความและข้อเขียนของคุณหมอนั้น
ก็เพื่อนำความรู้ที่ท่านต้องการจะให้พวกเราได้รับรู้
มาช่วยสานเจตนารมย์ของท่าน
เพราะสิ่งที่ท่านได้บอกให้รู้นั้น มันเรื่องจริง
ที่อาจจะเกิดกับพวกเราทุกคนได้
 รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม รู้สักนิดชีวิตจะยืนยาวนะจ๊ะ
ในบทนี้ท่านจะบอกกับเราว่าตับอักเสบเรื้อรังและตับแข็งเป็นอย่างไร
 หากเรายังรู้ไม่จริงอย่าคาดเดาหรือวินิจฉัยโรคเองนะ
เพราะเราไม่ใช่หมอ และการบอกต่อ
หากเขียนเองคิดเองก็ไม่รู้จริงเท่ากับ
คุณหมอผู้คร่ำหวอดกับการรักษาโรคนี้ได้หรอก
ดังนั้นเพื่อไม่ประมาทและรักษาชีวิตร่างกายเรา
ให้อยู่คู่กับโลกศิวิไลนี้ต่อไปอีกนาน  ก็ควรอ่านกันนะจ๊ะ





ตับอักเสบเรื้อรังและตับแข็งเป็นอย่างไร

โดย นพ.ดร. ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์
  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย


เมื่อกล่าวถึงคำว่า "ตับอักเสบ" และ "ตับแข็ง" 
 หลายคนจะทำท่างงๆ บ้างก็ทำท่าว่ารู้ดี
 ถามไปก็รู้บ้างไม่รู้บ้างหลายคนก็ว่าเข้าใจ 
 พอกลับถึงบ้านก็เครียด เพราะหมอพูดอะไรก็ไม่รู้ 
 ภาษาแพทย์ฟังแล้วดูหรู แต่เราฟังแล้วไม่เข้าใจ
อันดับแรกเรามีข้อตกลงกันตามนี้ 
 ไม่ว่าท่านจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม
ท่องไว้ก่อนว่า "ตับอักเสบ" และ "ตับแข็ง" ไม่ใช่มะเร็งตับ
ฉะนั้นห้ามคิดมาก คิดให้พอประมาณ


ลองนึกภาพเวลาที่ท่านหกล้มเป็นแผลที่ขา 
 จะเห็นว่าบริเวณที่เป็นแผลนั้นจะบวม แดง
 สัมผัสดูจะรู้สึกร้อนทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า "อักเสบ"
 แผลที่อักเสบเมื่อผ่านไปหลายวัน หลายอาทิตย์
จะค่อยๆเริ่มมีแผลเป็นหรืออาจจะใช้คำว่าพังผืด 
 ดึงให้แผลมาติดกัน นานเข้าแผลก็หาย
แต่ยังมีร่องรอยของแผลเป็นนูนๆ


ในตับก็เช่นกันเวลาดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปมากๆ 
 หรือติดเชื้อไว้รัสตับอักเสบ
 หรือไปทานยาสุ่มสี่สุ่มห้าก็เป็นเหตุให้อักเสบในเนื้อตับ 
 บวม แดง ร้อน ในเนื้อตับ
 แต่ขอโทษส่วนใหญ่แล้วท่านอาจจะไม่รู้สึกอะไรมากมาย
เพราะตับอยู่ในท้องมองไม่เห็น
ตับไม่ค่อยจะมีเส้นประสาทเหมือนที่ผิวหนังจึงไม่มีอาการเจ็บ
ฉะนั้นต่อให้ตับอักเสบมากมายร่างกายก็เฉยๆ
  ถ้าเป็นมากๆเข้า บางคนจะมีคลื่นใส้ อาเจียน เพลีย 
แน่นท้องส่วนบนแบบตื้อๆ ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้มขึ้น
 พอไปตรวจเลือดดูค่าการทำงานตับ จะพบว่า
มีค่าการอักเสบของตับสูงขึ้น(SGOT หรือ SGPT) 
 จึงค่อยทราบว่ามีตับอับเสบ









เมื่อตับเกิดการอับเสบไปนานๆด้วยเหตุอะไรก็ตาม 
 ถ้าเมื่อไหร่ผ่านหกเดือนไปแล้วไม่หายแพทย์ก็จะเติมคำว่า"เรื้อรัง"
ไว้ข้างหลังคำว่าอักเสบ เรียกว่า "ตับอักเสบเรื้อรัง"
 เดี๋ยวเราจะค่อยตามกันต่อไปว่า อะไรเป็นเหตุให้เกิด
"ตับอักเสบเรื้อรัง"ได้บ้าง


เมื่อตับอักเสบร่างกายก็พยายามทำให้เกิดการหาย
  คล้ายๆกับแผลที่ผิวหนัง
ตับก็จะมีการสร้างพังผืดทั่วๆบริเวณของตับ
ถ้าสาเหตุของการอักเสบไม่ได้รับการแก้ไข
 ในที่สุดแผลเป็นก็จะกระจายไปทั่วตับ 
 ถึงตรงนี้แพทย์จะใช้คำเรียกว่า "ตับแข็ง"
เมื่อมีแผลเป็นเพิ่มมากขึ้น พังผืดจะค่อยๆดึงรั้งให้ตับเสียรูปร่าง
 ท่านรู้หรือไม่ตับเราเหมือนหางจิ้งจก ถูกทำลายไปก็งอกใหม่ได้
พอเกิดการอักเสบ การทำลายเนื้อตับกระจายไปทั่ว
 เนื้อตับบางส่วนก็งอกกลับขึ้นมาใหม่
แทรกไปแทรกมากับบริเวณที่เป็นพังผืด
จนในที่สุุดตับเลยมีรูปร่างเป็นตะปุ่มตะป่ำ
 เสียรูปนานๆเข้าก็หดเล็กลงจนตับทำงานไม่ได้
ผู้ป่วยก็จะเริ่มมีอาการของภาวะแทรกซ้อนต่างๆเกิดขึ้น
ถึงตรงนี้แพทย์จะใช้คำว่า
ตับแข็งระยะท้าย (Decompensated cirrhosis)
ซึ่งเราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของตับแข็งในบทที่ ๔









ส่งท้ายบทนี้ขอแถมอีกเรื่อง เมื่อตับเกิดพังผืด 
 เมื่อมีการงอกซ่อมแซมตับส่วนที่เสียไป
วนไปเวียนมาอย่างนี้หลายๆปีเข้า 
 ก็จะมีเซลล์ตับจำนวนหนึ่งเกิดอาการเพี้ยน
 แบ่งตัวเพิ่มจำนวนแล้วควบคุมตัวเองไม่ได้  
 เลยโตไม่หยุดเกิดเป็นก้อนโตขึ้นหรือโตแทรกไปรอบๆ
อย่างนี้เราเรียกว่า "มะเร็งตับ" หรือเป็นก้อนเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย


คนที่เป็นตับแข็งแล้วมีโอกาสเป็นมะเร็งตับได้มากขึ้น
  แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นตับแข็งจะต้องเป็นมะเร็งตับ
อ่านทบทวนตรงนี้หลายๆรอบเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง









ขึ้นต่อมา แพทย์และผู้ป่วยจะทราบได้อย่างไร
ว่าเกิดมีมะเร็งมาแอบซ่อนอยู่ในตับ
 ก็เป็นข้อตกลงกันไว้เลยว่าอย่างน้อยทุก ๖ เดือน
จะต้องมาตรวจเลือดหาค่ามะเร็งตับ ที่เรียกว่า "AFP" 
 และตรวจตับด้วยคลื่นเสียงหรือที่เรียกว่า อัลตราซาวนด์
 เป็นการตรวจเบื้องต้นที่ไม่เจ็บตัว
และที่ต้องมาตรวจกันทุก ๖ เดือนก็เพราะว่า
มะเร็งที่โตขยายขนาดเร็ว ถ้าก้อนมะเร็งเริ่มเกิดนับจากวันนี้
 อีก ๖ เดือนข้างหน้าก็อาจจะขนาดไม่เกิน ๕ - ๖ เซนติเมตร
ซึ่งยังพอจัดการได้ รักษาได้ แต่ถ้าหายตัวไปนาน 
 ปีหนึ่งมาพบกันครั้งหนึ่ง  มะเร็จอาจจะโตเต็มตับจนรักษาไม่ได้แล้ว
ถ้าหมอลืมก็ต้องเตือนหมอ ผลัดกันเตือน เพื่อตับของท่านเอง......




บทนี้ท่านอ่านแล้วคงจะเข้าใจดี 
 คุณหมอท่านเขียนให้เราอ่านเข้าใจได้ง่ายๆ
 มักจะหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ทางการแพทย์ 
 เพราะท่านรู้ว่าเราจะเบื่อและไม่สนใจจะอ่าน
เพราะอ่านไปก็ไม่เข้าใจเพราะไม่ใช่หมอ 
 เรื่องนี้เราต้องยกความเป็นอัจฉริยะให้แก่ท่าน
จะเห็นว่าตับเรานั้นจะรู้ได้ว่าเธอยังปกติดีอยู่หรือเปล่า
ก็ต้องทำการตรวจเลือด
 อย่าคอยอาการเพราะนานวันคุณมะ(เร็ง)จะมาเยี่ยมท่านได้


ท้ายนี้เราขอเป็นตัวแทนของท่านผู้อ่านทุกท่าน
ขอบคุณคุณหมอ นพ.ดร.ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์
ขอบคุณที่คุณหมอมีน้ำใจเผื่อแผ่มายังพวกเราผู้ไม่รู้
  น้ำใจของท่านประเสริฐยิ่งนัก
 เราตื้นตันและขอให้ท่านและครอบครัว คนรอบข้าง
พบแต่ความสุข สมหวังในทุกสิ่งที่ปรารถนา
 ขอให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป







Create Date : 19 กรกฎาคม 2556
Last Update : 7 สิงหาคม 2557 12:17:35 น.
Counter : 1711 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ