Group Blog
All Blog
<<< "ขันธ์ ๕" >>>









"ขันธ์ ๕"

ชีวิตของพวกเรานี้ คือชีวิตของมนุษย์นี้

มีส่วนประกอบอยู่ ๕ ส่วนด้วยกัน

เรียกว่าขันธ์ ๕ แบ่งเป็นสองส่วน

ส่วนที่เห็นด้วยตาเรียกว่ารูปขันธ์

ส่วนที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเรียกว่านามขันธ์

 รูปขันธ์นี้มีหนึ่งส่วนคือร่างกาย

 นามขันธ์นี้มีอยู่ ๔ ส่วน

เรียกว่าเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

 นี่คือส่วนประกอบของชีวิตของมนุษย์

และของสัตว์เดรัจฉาน มีส่วนประกอบเหมือนกัน

 มีขันธ์ ๕ เหมือนกัน มีรูปขันธ์ มีเวทนาขันธ์

 มีสัญญาขันธ์ มีสังขารขันธ์ มีวิญญาณขันธ์

ถ้าเราได้ศึกษาความจริง

ถ้าเราได้ศึกษาความจริงของส่วนประกอบเหล่านี้

 เราจะได้ปัญญา แล้วเราจะได้ไม่ต้องมาทุกข์

กับส่วนประกอบทั้ง ๕ ส่วนนี้

 เพราะเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า

ส่วนประกอบทั้ง ๕ ส่วนนี้ไม่มีตัวเราอยู่ในนั้นเลย

 แต่ถ้าเราไม่ศึกษาก็จะถูกความหลงหลอก

ให้เราคิดไปว่าเรามีอยู่ในขันธ์ ๕

มีเราอยู่ในขันธ์ ๕ มีตัวเรา อยู่ในขันธ์ ๕

คือ มีตัวเราอยู่ในรูปคือร่างกาย

มีตัวเราอยู่ในความรู้สึกคือเวทนา

มีตัวเราอยู่ในความจำได้หมายรู้คือสัญญา

 มีตัวเราอยู่ในสังขารความคิดปรุงแต่ง

 มีตัวเราอยู่ในวิญญาณ

คือผู้รับรู้รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

 ความจริงถ้าเราศึกษากันแยกแยะออกมา

 เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า

ไม่มีตัวเราอยู่ในขันธ์ ๕ นี้เลย

 เช่นถ้าเราศึกษาดูรูปขันธ์ร่างกาย

เราก็จะเห็นว่าร่างกายนี้มีแต่อาการ ๓๒ เท่านั้น

เราลองแยกแยะอาการต่างๆ ในร่างกายดู

ค้นหาดูว่ามีตัวเราอยู่ในร่างกายหรือไม่

เช่น ผม มีเราอยู่ในผมหรือเปล่า

ขน มีเราอยู่ในขนหรือเปล่า ค้นหาทั้ง ๓๒ อาการดู

 เราต้องศึกษาดูอาการ ๓๒

แล้วก็แยกมันออกมาทีละอาการ

ศึกษาว่าร่างกายนี้มีอะไรบ้าง ก็มี ผม ขน เล็บ

ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก

ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ใส้ใหญ่ ใส้น้อย

 อาหารใหม่ อาหารเก่า เยื่อในสมองศรีษะ

 น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ

 น้ำมันข้น น้ำตา น้ำมัน เหลว น้ำลาย

น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร นี่คืออาการ ๓๒

อาการที่เป็นส่วนประกอบของร่างกาย

 เราแยกอาการเหล่านี้ออกมา

แล้วแยกไปทีละอาการดูว่า

ผมนี้มีเราอยู่ในผมหรือเปล่า เราเป็นผมหรือเปล่า

 ผมเป็นเราหรือเปล่า ขนเป็นเราหรือเปล่า

 เล็บเป็นเราหรือเปล่า เราเป็นเล็บหรือเปล่า

ไล่มันไปแต่ละอาการ แยกมันออกไป

ศึกษาให้เห็นอย่างถ่องแท้ว่าร่างกายนี้

มีแต่เพียงอาการ ๓๒ เท่านั้น

ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้นหรือน้อยไปกว่านั้น

 ถ้าเราศึกษาพิจารณาบ่อยๆ อยู่เรื่อยๆ

ความหลงที่หลอกให้เราไปคิดว่า

ร่างกายเป็นตัวเราของเรานี้มันก็จะถูกกำจัดไป

 แล้วเราก็พิจารณาดูว่ามันเป็นอย่างนี้ไปตลอด

หรือว่ามันมีการเปลี่ยนแปลง มันเป็นอย่างไร

มันเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เกิด

หรือว่ามันจะเป็นอย่างนี้ไปจนไม่มีวันสิ้นสุดหรืออย่างไร

 ถ้าเราศึกษาดูเราก็จะเห็นว่ามันเป็นเด็กทารก

 ตอนที่คลอดออกมาจากร่างกายของแม่

ออกมาจากท้องแม่ แล้วเมื่อมันได้รับอาหาร

ได้รับน้ำได้รับอากาศมันก็ค่อยเจริญเติบโตขึ้นมา

ทีละเล็กทีละน้อย จนโตเป็นผู้ใหญ่หลักผู้ใหญ่

แล้วมันก็โตไปเรื่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ

จนกลายเป็นคนแก่คนชรา

 แล้วก็เกิดมีการเจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่เกิดใหม่ๆ

 ก็มีความเจ็บไข้ได้ป่วยน้อย

แต่พอมีความชราภาพมากขึ้น

ความเจ็บไข้ได้ป่วยก็เริ่มมีมากขึ้นไป

และรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ

จนในที่สุดก็ถึงขั้นที่รักษาไม่ได้

ร่างกายนี้ก็หยุดทำงาน

 ไม่สามารถทำงานได้หมดสมรรถภาพ

 เหมือนกับรถยนต์ที่เราใช้ไปเรื่อยๆ

มันก็จะเก่าลงไปเรื่อยๆ แล้วมันก็จะเริ่มเสีย

 ต้องซ่อมต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ

จนในที่สุดก็อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถใช้งานได้ต่อไป

ร่างกายก็เช่นเดียวกัน ท่านจึงเรียกว่ามันไม่เที่ยง

 เป็นอนิจจัง มันไม่เป็นเหมือนเดิมวันนี้มันเป็นอย่างนี้

 มันไม่เป็นอย่างนี้ในวันพรุ่งนี้

 พรุ่งนี้มันก็จะแก่ลงไปอีกวันหนึ่ง

 วันต่อไปมันก็จะแก่ลงไปอีกวันหนึ่ง

 เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แก่ลงไปเรื่อยๆ

หรือตอนที่เป็นเด็กมันก็โตขึ้นไปเรื่อยๆ

 มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ท่านจึงเรียกว่าอนิจจัง

ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่คงเส้นคงวา ไม่เหมือนเดิม

สรุปแล้วก็คือรูปขันธ์คือร่างกายนี้

มันไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง มันเป็นทุกข์เพราะอะไร

มันเป็นทุกข์เพราะเราคือใจไปอยากให้มันเที่ยงนั่นเอง

 ไปอยากให้มันเป็นของเราอยู่กับเราไปตลอด

 แต่มันไม่อยู่กับเราไปตลอด มันสักวันหนึ่ง

มันก็จะต้องแยกทางจากเราไป แยกจากใจผู้รู้ไป

ถ้าใจผู้รู้ไม่รู้ความจริงนี้

ก็จะเกิดความอยากให้ร่างกายนี้เที่ยง

คืออยากจะให้ร่างกายนี้ดี สมบูรณ์แข็งแรง

 มีอายุยืนยาวนานไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่ตาย

 แต่ความอยากเหล่านี้แหละ

ที่เป็นตัวที่จะทำให้ใจทุกข์

 เพราะเวลามันไม่ได้ดั่งใจอยาก ใจก็ต้องทุกข์ขึ้นมา

 ถ้าได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของร่างกาย

 ไม่หลงไม่ลืมใจก็จะไม่อยาก

ไม่กล้าอยากให้ร่างกายไม่แก่

ไม่กล้าอยากให้ร่างกายไม่เที่ยง

ต้องยอมรับว่าร่างกายต้องไม่เที่ยง

ต้องยอมรับว่าร่างกายต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย

พอใจยอมรับความจริงได้ ความทุกข์ใจก็จะไม่มี

เพราะความอยากที่จะให้ร่างกาย

ไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายนั้น จะไม่ปรากฏขึ้นมาในใจ

ใจเห็นโทษของความอยากไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย

 เลยหยุดความอยากนี้ ใจก็เลยไม่ทุกข์กับความแก่

ความเจ็บความตายของร่างกาย

นี่คือเรื่องของการศึกษารูปขันธ์

เราต้องศึกษาให้เห็นว่าร่างกายนี้

เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.....................................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๘

"ขันธ์ ๕"






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 19 มิถุนายน 2560
Last Update : 19 มิถุนายน 2560 9:04:29 น.
Counter : 799 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ