Group Blog
All Blog
### ประกันภัยทางโทรศัพท์จะยกเลิกอย่างไร ###


















ประกันภัยทางโทรศัพท์ยกเลิกอย่างไร

..............

 ด้วยความต้องการให้ธุรกิจประกันภัยขยายตัวได้รวดเร็ว

จึงมีการอนุญาตให้มีการขายประกันภัยทางโทรศัพท์ได้

 ความเสี่ยงจึงตามมาที่ผู้บริโภค

เมื่อเผลอตกลงรับปากทางโทรศัพท์โดยไม่ตั้งใจไปแล้ว

อยากจะเปลี่ยนใจยกเลิก มักถูกปฏิเสธ

“ไม่สามารถยกเลิกได้”

ทำให้จำยอมต้องจ่ายค่าประกันไป

ความจริงแล้ววิธีการบอกเลิกสัญญาประกันทำได้ไม่ยากตามนี้

1.หากไม่ต้องการทำประกันให้ขอวางสายทันที


2. หากตัวแทนประกันยังตื๊อ ไม่ยอมวางสาย

ให้ขอชื่อ-นามสกุล เลขที่ใบอนุญาต และชื่อบริษัทประกัน

เพื่อแจ้งต่อคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม

การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

3. ก่อนวางสายผู้บริโภคมีสิทธิสอบถามตัวแทนประกัน

ว่าได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคมาได้อย่างไร

ซึ่งตัวแทนประกันต้องตอบ

(ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม

การประกอบธุรกิจประกันภัย

เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย

 ผ่านทางโทรศัพท์ พ.ศ.2552 ข้อ 9.2)

กรณีเผลอตกลงทำสัญญาไปแล้วทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ

แต่ต้องการบอกเลิกสัญญาขอเงินคืนในภาย หลัง

1. ถ้ายังไม่ได้รับกรมธรรม์ สามารถบอกเลิกได้ตลอดเวลา

2. ถ้าได้รับกรมธรรม์มาแล้ว สามารถขอยกเลิกกรมธรรม์ได้

ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์

 (ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม

การประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์

วิธีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย

 ผ่านทางโทรศัพท์ พ.ศ.2552 ข้อ 9.4.5)

3. วิธีการบอกเลิกกรมธรรม์ที่ได้ผล อย่าใช้ทางโทรศัพท์

 ต้องทำเป็นจดหมายบอกเลิกสัญญา

ส่งเป็นไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ

ไม่ควรบอกเลิกทางโทรศัพท์ทางเดียว

เพราะส่วนใหญ่มักไม่ได้ผล

(ดูแบบฟอร์มการบอกเลิกสัญญา)

4. หากชำระเป็นเงินสดผู้บริโภคจะต้องได้รับเบี้ยประกันภัยคืน

เต็มจำนวน ภายใน 30 วันนับจากวันที่บอกเลิก4.

หากชำระเบี้ยประกันภัยด้วยบัตรเครดิต

หรือหักเงินผ่านบัตรเครดิตไปแล้ว

ให้ทำจดหมายขอปฏิเสธการชำระหนี้

และขอเงินที่ได้ชำระไปแล้วคืน ไปยังบริษัทบัตรเครดิต

หรือธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต

พร้อมแนบสำเนาจดหมายบอกเลิกสัญญากรมธรรม์

ส่งไปให้ด้วย โดยส่งเป็นไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ

(ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

 เรื่อง ให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา

พ.ศ. 2542 ข้อ 7 (ข))

5. ผู้บริโภคมีสิทธิร้องเรียน ตัวแทนหรือนายหน้าประกัน

และบริษัทประกัน กับ คณะกรรมการกํากับ

และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ให้เพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต

หรือใบอนุญาตเป็น นายหน้าประกันชีวิต

 ตามมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

(ประกาศคณะกรรมการกํากับ

และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย

ผ่านทางโทรศัพท์ พ.ศ.2552 ข้อ 6)



Cr:ไทยอินโฟเน็ต





ขอบคุณที่มา fb. Ampaipan Wachaporn
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ























Create Date : 09 มิถุนายน 2558
Last Update : 9 มิถุนายน 2558 13:08:17 น.
Counter : 8880 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ