Group Blog
### พระศรีสรรเพชญ์ ###














พระศรีสรรเพชญ์

พระมหาพุทธปฏิมากรที่มีพระพุทธานุภาพ เป็นหลักกรุง ๘ องค์

ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานยืนยันหรือข้อสรุปที่แน่ชัดว่า

พระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระประธานของวัดพระศรีสรรเพชญ์

ในเขตพระราชฐาน พระนครศรีอยุธยา

 จะเป็นพระพุทธปฏิมายืนทอดพระหัตถ์ ทั้งสองข้างพระอูรุ

 หรือยืนยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัย (ปางห้ามญาติ)

 หรือยกพระหัตถ์ซ้าย ประทานอภัย (ปางห้ามพระแก่นจันทน์)

 ตามที่เคยมีผู้วิเคราะห์กัน (Woodward 1997, 228)

แต่ผู้เขียนสันนิษฐานว่า พระศรีสรรเพชญ์น่าจะเป็นพระพุทธปฏิมายืน

 ยกพระหัตถ์ขวาประทานอภัยหรือปางห้ามญาติ

เพราะเป็นรูปแบบซึ่งเป็นที่แพร่หลายมากที่สุดในช่วงเวลานั้น

และจากทฤษฎีของการจำลอง พระพุทธรูป

ที่จะจำลองเฉพาะพระพุทธรูปสำคัญ

จึงทำให้สามารถตั้งข้อสันนิษฐานได้อีกว่า

 พระพุทธปฏิมาปางห้ามญาติส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นในช่วงวงราชธานีนั้น

ก็น่าจะจำลองพุทธลักษณะมาจากพระศรีสรรเพชญ์นั่นเอง

 ส่วนพระพุทธปฏิมายืนทอดพระหัตถ์ทั้งสองข้างพระอูรุนั้น

 แทบจะไม่ปรากฏในเขตวงราชธานีเลย

ยกเว้นในกรณีของพระพุทธปฏิมาปูนปั้น

ที่ใช้เป็นส่วนตกแต่งคูหาของพระเจดีย์ราย

 เช่นที่ วัดเจดีย์เจ็ดแถว อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

(สันติ ๒๕๔๐, ๗๔)

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา

ฉบับหลวงประเสริฐฯ (พ.ศ. ๒๒๒๓ / ค.ศ. 1680)

และ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา

 ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) (พ.ศ. ๒๓๓๘ / ค.ศ. 1795)

ให้ส่วนสัดของ พระศรีสรรเพชญ์ ที่ตรงกันว่า...

"แต่พระบาทถึงยอดพระรัศมีนั้นสูงได้ ๘ วา (16 เมตร)

 พระพักตร์นั้นยาวได้ ๔ ศอก (2เมตร)

กว้างพระพักตร์นั้น ๓ ศอก (1.5 เมตร)

 และพระอุระนั้นกว้าง ๑๑ ศอก (5.5 เมตร)

(ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ ๒๕๐๖, ๑๔๐;

ประชุม พงศาวดาร เล่ม ๓๘ ๒๕๑๒, ๒๒)

ซึ่งจากการเทียบเคียงกับภาพร่างจากส่วนสัดที่ได้ให้ไว้

ในพระราชพงศาวดาร กับ พระพุทธปฏิมายืน

พระหัตถ์ขวาประทานอภัยในพระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

 ปรากฏว่าพระพุทธปฏิมาองค์นี้มีส่วนสัดที่ใกล้เคียงกับ

ภาพร่างเค้าโครงของพระศรีสรรเพชญ์

นอกจากนั้นแล้ว ยังได้มาจากวัดใหม่ประชุมพล

อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 ซึ่งสนับสนุน ข้อสันนิษฐานว่า พระศรีสรรเพชญ์นั้น

สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

 (พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๑๙๘ / ค.ศ. 1629 – 1656)

 (พิริยะ ๒๕๔๕, ๑๕๓ – ๑๕๘) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูล

จาก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา

 ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่กล่าวว่า...

ในปีสร้างพระนครหลวงนั้น (พ.ศ. ๒๑๗๔ / ค.ศ. 1631)

 ก็สถาปนาวัด พระศรีสรรเพ็ชญ์เสร็จ

และทำการฉลอง (ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๙ ๒๕๑๒, ๑๑๓)

จึงเป็นได้ว่า พระพุทธปฏิมา

ที่พระระเบียงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามองค์นี้

เป็นพระศรีสรรเพชญ์จำลอง

โดยจำลองลดขนาด ๑ ใน ๘ ของพระศรีสรรเพชญ์

พระศรีสรรเพชญ์ จัดเป็น ๑ ใน ๗ พระพุทธปฏิมาสำคัญ

ของกรุงศรีอยุธยา (คำให้การชาว กรุงเก่า ๒๔๕๗, ๑๙๐)

 และใต้พระนาม

"พระพุทธศรีสรรเพชรดาญาณ ยืนสูง ๘ วา หุ้มทองคำทั้งพระองค์

 อยู่ในพระมหาวิหารวัดพระศรีสรรเพชร

เป็น ๑ ใน พระมหาพุทธปฏิมากรที่มีพระพุทธานุภาพ

 เป็นหลักกรุง ๘ องค์ "

ในบัญชีรายพระนามของขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม

(คำให้การขุนหลวงวัด ประดู่ทรงธรรม ๒๕๓๔, ๒๔)

จึงน่าจะเป็นต้นแบบให้กับพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในเมืองชั้นเอก

 เช่น พิษณุโลก อันเห็นได้จากพุทธลักษณะ

ของพระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร

ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงอัญเชิญมาจากวัดวิหารทอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก

 มาประดิษฐานในพระวิหารวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร

 (ดำรงราชานุภาพ ๒๔๙๔, ๔ – ๕) ซึ่งรูปแบบของชายจีวร

ที่ผายออกทางด้านข้าง และชายสบงด้านล่าง

ใกล้เคียงมากกับพระศรีสรรเพชญ์จำลอง

เดิมอยู่ที่วัดใหม่ประชุมพล อำเภอนครหลวง

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน

รวมทั้งพระอัฏฐารส ในพระวิหารด้านทิศตะวันออก

 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก

ก็สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระศรีสรรเพชญ์จำลองเช่นกัน

 (พิชญา ๒๕๔๘, ๑๖๘)

ส่วนพระพุทธปฏิมายืนปางห้ามญาติ ที่พบในภาคใต้ที่สำคัญได้แก่

พระพุทธปฏิมาที่วัดเขาอ้อ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

 เป็นตัวอย่างของพระพุทธปฏิมายืน พระหัตถ์ขวาประทานอภัย

 ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ

โดยเห็นได้จากพระเมาลีขนาดใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลวสูง

ขอบจีวรด้านข้างผายออกตอนปลายและห้อยลงเป็นมุมแหลม

 นอกจากนั้นแล้ว ในรัชกาลนี้ยังได้มีการ

บูรณปฏิสังขรณ์วัดเขาอ้อ เป็นพระอารามขนาดใหญ่

รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าบรมโกศยังพระราชทาน

พระพุทธปฏิมาให้กับวัดเขาอ้ออีกด้วย

พระศรีสรรเพชญดาญาณ

เป็นพระประธานแห่งวัดพระศรีสรรเพชญ์

พระอารามในพระบรมมหาราชวังกรุงศรีอยุธยา

สร้างในปี พ.ศ. ๒๐๔๓ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

 แห่งกรุงศรีอยุธยา ตามตำนานระบุว่า

ทรงหล่อพระพุทธรูปยืน สูง ๘ วา (ประมาณ ๑๖ เมตร)

หุ้มด้วยทองคำหนัก ๒๗๖ ชั่ง (ประมาณ ๑๗๑ กิโลกรัม)

 ประดิษฐานไว้ในวิหาร ถวายพระนามว่า

พระศรีสรรเพชญดาญาณ

พระศรีสรรเพชญดาญาณ ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๔๓

โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดให้สร้างขึ้น

หลังจากการสร้างพระวิหารหลวงในปี พ.ศ. ๒๐๔๒

 ครั้นถึงปีต่อมาก็ทรงหล่อพระพุทธรูปยืนสูง ๘ วา (๑๖ เมตร)

 พระพักตร์ยาว ๔ ศอก (๒ เมตร) กว้าง ๓ ศอก (๑.๕ เมตร)

พระอุระกว้าง ๑๑ ศอก (๕.๕ เมตร)

ใช้ทองสำริดหล่อเป็นแกนในน้ำหนัก ๕,๘๐๐ ชั่ง (๓,๔๘๐ กิโลกรัม)

 หุ้มทองคำน้ำหนัก ๒๘๖ ชั่ง (๓๔๗.๗๗๖กิโลกรัม)

แล้วถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ

 โดยทองคำที่ใช้หุ้มองค์พระนั้น

ด้านหน้าเป็นทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา

 ด้านหลังองค์พระเป็นทองเนื้อหกน้ำสองขา

 (สมัยนั้นถือว่าทองนพคุณเก้าน้ำหรือทองเนื้อเก้า

เป็นทองคำบริสุทธิ์กว่าทองเนื้ออื่นน้ำอื่น)

ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาทำลาย

พระศรีสรรเพชญดาญาณ ถูกเผาเอาทองคำที่หุ้มอยู่ออก

เหลือเพียงแกนสำริด

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

มหาราชทรงสถาปนาราชอาณาจักรอยุธยาขึ้นใหม่

ที่กรุงรัตนโกสินทร์ ก็โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปเก่า

ตามหัวเมืองเหนือและกรุงเก่า มาประดิษฐาน ณ พระนครแห่งใหม่

 ปรากฏว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ

ได้รับความเสียหายอย่างหนักมิอาจซ่อมแซมได้

ทรงปรารถนาจะยุบหุ่นแล้วหล่อใหม่ แต่สมเด็จพระสังฆราชห้ามไว้ว่า

"เมื่อเป็นองค์พระอยู่แล้วจะเอาไฟเผาอีกไม่ควร"

จึงโปรดให้สร้างเจดีย์แบย่อไม้ ๑๒ สูงเส้นเศษ

 บรรจุหุ่นพระศรีสรรเพชญ์ ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

พระราชทานนามว่า "พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ"

ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วิหารทิศ ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม









ขอบคุณที่มา fb. นิทรรศการพลังแผ่นดิน
อัศจรรย์งานศิลปแผ่นดินสยาม




Create Date : 03 มีนาคม 2558
Last Update : 3 มีนาคม 2558 12:59:31 น.
Counter : 3551 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ