Group Blog
All Blog
<<< "เราควรทำบุญทำทานอย่างสม่ำเสมอ" >>>









“เราควรทำบุญให้ทานอย่างสม่ำเสมอ”

การทำบุญนี้เป็นประโยชน์อย่างมาก

 ต่อจิตใจของพวกเราทุกคน เป็นที่พึ่งของจิตใจ

 เหมือนกับปัจจัย ๔ ที่เป็นที่พึ่งของร่างกาย

 ร่างกายจะอยู่อย่างสุขอย่างสบาย

 ร่างกายต้องมีปัจจัย ๔ ที่สมบูรณ์

 คือมีอาหาร มีเครื่องนุ่งห่ม มีที่อยู่อาศัย มียารักษาโรค

 ร่างกายถึงจะอยู่อย่างเป็นปกติสุข ไม่อดอยากขาดแคลน

ไม่ทุกข์ยากลำบาก ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย

 ฉันใด จิตใจก็เป็นเหมือนร่างกาย ที่ต้องมีที่พึ่งคือมีปัจจัย ๔

เช่นเดียวกับร่างกาย ปัจจัย ๔ ของใจ

เรียกว่า “บุญชนิดต่างๆ”

อาหารของใจก็คือบุญที่เกิดจากการทำทาน

 เครื่องนุ่งห่มของใจก็คือบุญที่เกิดจากการรักษาศีล

ที่อยู่อาศัยของใจก็คือบุญที่เกิดจากนั่งสมาธิทำใจให้สงบ

 และยารักษาโรคของใจก็คือบุญที่ได้จากการเจริญปัญญา

นี่คือบุญชนิดต่างๆ ที่เปรียบเหมือนปัจจัย ๔

ที่จิตใจต้องพึ่งพาอาศัย เหมือนกับร่างกาย

ที่ต้องพึ่งพาอาศัยอาหาร เครื่องนุ่งห่ม

 ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค

 ดังนั้นการทำบุญจึงเป็นภารกิจที่สำคัญ

 และสำคัญมากกว่าภารกิจของการเลี้ยงดูร่างกาย

 เพราะร่างกายกับจิตใจนี้มีความแตกต่างกันมาก

ในเรื่องของอายุขัย ร่างกายนี้มีอายุที่ไม่เกินร้อย

 ส่วนมากไม่ถึงร้อย เกินร้อยก็มีบ้าง แต่ไม่มาก

 พอถึงอายุขัยของร่างกาย ร่างกายก็หมดสภาพไป

ทำอะไรดีขนาดไหนให้แก่ร่างกาย

ก็ไม่สามารถยับยั้งการตายของร่างกายได้

ส่วนจิตใจนี้ดีกว่าร่างกายหลายเท่า

 เพราะจิตใจไม่มีวันตาย ปัจจัย ๔ ที่เราหาให้แก่จิตใจ

 จะอยู่กับจิตใจไป จะดูแลรักษาจิตใจ

ให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขไปตลอดอนันตกาล

ปัจจัย ๔ ของร่างกายหามามากน้อยเพียงใดก็ตาม

ในที่สุดมันก็ไม่สามารถรักษาดูแลร่างกายได้

ร่างกายก็ต้องหมดสภาพไป

ปัจจัย ๔ ที่หามาได้มากน้อยเพียงใด

ก็จะกลายเป็นของผู้อื่นไป แต่ปัจจัย ๔ ของใจนี้

ใจจะเป็นผู้ครอบครองไปตลอด

 ปัจจัย ๔ ของใจ คือทาน ศีล สมาธิ ปัญญา

 จะรักษาใจให้อยู่อย่างมีความสุขไปตลอด

 กำจัดความทุกข์ต่างๆ ภัยต่างๆ ไม่ให้เข้ามาทำลายจิตใจ

 มาเบียดเบียนจิตใจ มากระทบกับจิตใจ

ดังนั้น การทำบุญจึงเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง

ที่พวกเรามักจะไม่เข้าใจกัน

กลับไปให้ความสำคัญกับภารกิจทางร่างกายกัน

 อาทิตย์หนึ่งมี ๗ วัน เรานี้ใช้เวลาไป

กับการดูแลเลี้ยงดูร่างกายถึง ๕ วันด้วยกัน

ไปทำงานกันเพื่อไปหาปัจจัย ๔ กัน

ส่วนจิตใจที่มีความสำคัญ มีคุณค่ามากมาย

 เรากลับไม่ค่อยให้เวลากับการหาปัจจัย ๔ ให้แก่จิตใจ

เพราะว่าจิตใจของพวกเราถูกความหลงครอบงำ

 ทำให้เรามองไม่เห็นความสำคัญของจิตใจไป

 กลับไปมองเห็นความสำคัญของร่างกาย

เพราะร่างกายนี้เป็นสิ่งที่เราจับต้องได้ เห็นได้

 แต่จิตใจนี้เป็นสิ่งที่เราจับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น

 เราเลยไม่รู้ความจริงของจิตใจว่าเป็นอะไรกันแน่

เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย

หรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย

 ส่วนใหญ่ความหลงก็จะบอกให้เราคิดว่า

จิตใจนี้เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย

ถ้าเราเลี้ยงดูร่างกายดี จิตใจก็จะดีตามไปด้วย

 ถ้าร่างกายมีความสุข จิตใจก็จะมีความสุขไปด้วย

แต่นักปราชญ์อย่างพระพุทธเจ้า

และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ท่านได้พิสูจน์แล้วว่า

จิตใจกับร่างกายนี้เป็นคนละส่วนกัน เป็นคนละคนกัน

 การเลี้ยงดูร่างกายให้อยู่อย่างสุขสบาย

ไม่ได้ทำให้จิตใจสุขสบายตามร่างกายไป

จิตใจจะสุขสบาย จิตใจต้องมีบุญ

ร่างกายจะสุขสบาย ร่างกายต้องมีปัจจัย ๔

ร่างกายของพวกเราทุกคนนี้มีปัจจัย ๔ เหลือเฟือ

มีความสุขสบายกันทุกคน

 แต่ทำไมจิตใจของพวกเรายังวุ่นวายกัน

 ยังไม่มีความสุขเหมือนกับร่างกาย

 ก็เพราะว่าจิตใจนั้นเป็นคนละคนกับร่างกาย

 เราไปคิดว่าเราไปดูแลจิตใจด้วยการดูแลร่างกาย

 ร่างกายเราจึงสุขสบาย ปลอดภัยจากภัยต่างๆ

แต่ใจของพวกเรากลับทุกข์กัน กลับไม่สบายใจกัน

กลับมีเรื่องวุ่นวายใจต่างๆ

 มาคอยเบียดเบียนอยู่ตลอดเวลา

 นั่นเพราะว่าเราไม่ได้มาให้เวลากับการทำบุญ

 สร้างปัจจัย ๔ ให้แก่ใจนั่นเอง

นี่แหละคือสิ่งที่คนทั่วไป ปุถุชนทั่วไปนี้จะไม่รู้เรื่องนี้กัน

ไม่รู้ว่าใจกับร่างกายเป็นคนละคนกัน เป็นคนละส่วนกัน

 และเหตุที่ทำให้ร่างกายและจิตใจมีความสุขไม่มีความทุกข์

ก็เป็นคนละเหตุกัน นี่จึงเป็นโชคเป็นวาสนาของชาวพุทธ

ที่ได้มาพบกับพระพุทธศาสนา

มีพระพุทธศาสนาเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง

 ให้ความจริงแก่พุทธศาสนิกชน

ให้รู้ว่าร่างกายกับจิตใจนี้เป็นคนละส่วนกัน

 ร่างกายก็ต้องดูแลตามความเหมาะสมของร่างกาย

 แต่การดูแลร่างกายเพียงอย่างเดียวนี้ ไม่พอเพียง

เพราะจิตใจไม่ได้รับการดูแลด้วย

 จิตใจนี้ต้องมีบุญเป็นผู้ดูแล เป็นผู้สนับสนุน

นี่คือสิ่งที่เราจะได้รับจากพระพุทธศาสนา

 พระพุทธศาสนาจึงสอนให้เราทำบุญกัน

 คำว่า “บุญ” ก็แปลว่า

“ความอิ่มใจ ความสุขใจ ความสบายใจ”

ความสุขใจ ความสบายใจ ความอิ่มใจ

ก็เกิดจากการกระทำชนิดต่างๆ เช่น ทาน คือการให้

ก็เรียกว่าบุญอย่างหนึ่ง ทำทานแล้วใจจะมีความสุขใจ

อิ่มใจ สบายใจ รักษาศีลก็จะทำให้ใจปลอดภัยจากภัยต่างๆ

และทำให้จิตใจสวยงาม นั่งสมาธิทำใจให้สงบ

ก็เหมือนสร้างบ้านให้แก่จิตใจ

ให้จิตใจมีที่หลบเวลามีพายุต่างๆ เหมือนกับร่างกาย

ถ้าไม่มีที่หลบร่างกายก็เดือดร้อนได้

จิตใจก็มีมรสุมทางชีวิต เหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆ

 ถ้าจิตใจไม่มีที่หลบภัย จิตใจก็เดือดร้อนได้

โรคภัยไข้เจ็บของจิตใจก็คือความเครียดต่างๆ

ความทุกข์ต่างๆ ก็ต้องอาศัยปัญญาที่เป็นเหมือนยา

 ที่เรียกว่า “ธรรมโอสถ” ธรรมโอสถคือยาที่จะมารักษาใจ

ให้หายจากความทุกข์ ความเครียด ความวุ่นวายใจต่างๆ

พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เรามาทำบุญกัน

ทำบุญ ๔ ชนิดนี้ ทำบุญข้อที่ ๑ ก็คือให้ทำทาน

การทำทานนี้เป็นเหมือนกับการให้อาหารแก่จิตใจ

เวลาเราทำทานคือเราเสียสละแบ่งปันข้าวของเงินทอง

 สิ่งของที่เรามีเกินที่เราต้องเก็บเอาไว้ใช้

ส่วนเกิน เราเก็บไว้เฉยๆ ก็ไม่เป็นประโยชน์

ถ้าเอาไปใช้ก็อาจจะเกิดโทษกับจิตใจ ถ้าใช้ไม่เป็น

 เช่นเอาไปใช้ตามความอยากต่างๆ

เอาไปใช้เพื่อหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย

 การใช้เงินทองแบบนี้เป็นโทษกับจิตใจ

 เพราะเป็นเหมือนกับการไปซื้อยาเสพติดมาเสพนั่นเอง

 เพราะถ้าเราใช้เงินไปกับการหาความสุข

ทางตาหูจมูกลิ้นกาย เช่นไปเที่ยวกัน

ไปซื้อของไม่จำเป็น ของฟุ่มเฟือยต่างๆ

 พอใช้แล้วมันก็จะติด มันจะต้องใช้อยู่เรื่อยๆ

เวลาไม่มีเงินใช้ ไม่มีเงินไปเที่ยว

 ไม่มีเงินไปหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย

ใจก็จะมีความทุกข์เหมือนกับคนติดยาเสพติด

 ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนว่า

ถ้าเรามีเงินเหลือเกินที่เราใช้กับร่างกายของเรา

 ถ้าจะใช้ก็เอามาทำบุญทำทาน เอามาเลี้ยงดูจิตใจ

เราเอาเงินส่วนหนึ่งเลี้ยงดูร่างกาย

ซื้ออาหาร ซื้ออะไรต่างๆ ที่ร่างกายต้องการ

ซื้ออาหาร ซื้อเสื้อผ้า ซื้อที่อยู่อาศัย ซื้อยารักษาโรค

ให้แก่ร่างกาย มีพอเพียง ปัจจัย ๔ มีพอเพียง

 มีเหลือเฟือ แล้วยังมีเงินทองเหลืออยู่อีก

ก็ให้เอามาเลี้ยงดูจิตใจบ้าง เอามาทำทาน

การทำทานนี้เป็นเหมือนกับการซื้ออาหาร

 ไม่ใช่ซื้อยาเสพติด ทำทานแล้วจะทำให้ใจมีความอิ่ม

 มีความสุข มีความพอ

จะไม่ติดกับการที่จะไปซื้อของต่างๆ

 ซื้อความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย

เพราะว่าการทำทานนี้เป็นอาหารของใจ

 ไม่ได้ทำให้ใจหิว แต่ทำให้ใจอิ่ม

 ทำบุญทำทานแล้วใจจะมีความอิ่ม

อยู่เฉยๆ ก็ไม่เดือดร้อน ถ้าเอาเงินไปซื้อสิ่งของต่างๆ

 ซื้อความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย จะสุขเดี๋ยวเดียว

 สุขตอนที่ได้ซื้อสิ่งต่างๆ แล้วเดี๋ยวผ่านไปไม่นาน

ก็เกิดความหิว อยากจะซื้อของอีก อยากจะไปเที่ยวอีก

 อยากจะไปหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายอีก

ถ้าไม่ได้ทำก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมา

 เกิดความไม่สบายใจขึ้นมา นี่คืออาหารของใจ

คือการทำทานนี่เอง ทุกครั้งที่เราทำบุญทำทานนี้

เท่ากับเราซื้ออาหารมาให้แก่จิตใจ

ทำให้จิตใจมีความสุขมีความอิ่ม

 มีพลังที่จะเดินไปข้างหน้า

ที่จะไปเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ

 นี่คือสิ่งที่ชาวพุทธเราถูกสอนให้ทำกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ

 ควรจะทำเหมือนกับการรับประทานอาหารของร่างกาย

 ร่างกายเราก็รับประทานอาหารกันอย่างสม่ำเสมอ

เราก็ควรจะทำบุญให้ทานกันอย่างสม่ำเสมอ

 เราจึงมีพระสงฆ์มาบิณฑบาต

อันนี้เป็นอุบายความคิดของพระพุทธเจ้า

 ที่จะทำให้เกิดประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย

 ประโยชน์ทั้งผู้ให้และประโยชน์ทั้งผู้รับ

 ผู้ใส่บาตรก็จะได้ทำทาน จะได้อาหารแก่ใจ

ผู้บิณฑบาตก็จะได้ไม่ไปเสียเวลากับการไปทำมาหากิน

 เพราะพระภิกษุที่มาบวชในพระพุทธศาสนา

 มีเป้าหมายอยู่ที่การหลุดพ้นจากความทุกข์ต่างๆ

 มีหน้าที่ๆ จะต้องศึกษาและปฏิบัติธรรม

ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติ

ถ้าต้องไปทำมาหากินก็จะไม่มีเวลาพอ

ที่จะมาศึกษามาปฏิบัติธรรม เพื่อให้จิตหลุดพ้น

จากกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดไปได้

พระพุทธเจ้าเลยสอนให้พระภิกษุทุกรูปนี้ออกบิณฑบาตกัน

 ไปโปรดสัตว์ โปรดญาติโยม ญาติโยมจะได้ทำบุญ

 ญาติโยมจะได้มีอาหารให้แก่จิตใจของญาติโยม

 ส่วนพระภิกษุก็จะได้อาหารทางร่างกายของพระภิกษุ

 เพื่อที่ร่างกายของพระภิกษุจะได้อยู่สุขสบาย

 นอกจากบิณฑบาตก็ถวายผ้าจีวร สร้างกุฏิที่อยู่อาศัย

 ยารักษาโรคต่างๆ ให้แก่พระภิกษุนักบวช

 เพื่อพระภิกษุจะได้ไม่ต้องมาวุ่นวาย

 มาเสียเวลากับการเลี้ยงดูร่างกาย หาเงินหาทอง

 ทำงานทำการเพื่อมาเลี้ยงดูร่างกาย

 เพราะถ้าต้องทำงานทำการเหมือนกับญาติโยม

 พระภิกษุก็จะไม่มีเวลาพอที่จะมาศึกษา มาปฏิบัติธรรม

 เพื่อมาบรรลุธรรม และหลังจากบรรลุธรรมแล้ว

จะได้เป็นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชน คือญาติโยม

เพราะญาติโยมถ้าไม่มีพระภิกษุที่บวช ศึกษา ปฏิบัติ

 และบรรลุเป็นอริยบุคคล ก็จะไม่มีที่พึ่งที่สั่งสอน

 คือ ไม่มีพระอริยสงฆ์สาวกมาเป็นผู้สอนผู้บอก

 ให้รู้จักวิธีเลี้ยงดูจิตใจ ให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข

 แคล้วคลาดปลอดภัยจากความทุกข์ต่างๆ

 นี่ก็เป็นประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย ประโยชน์ผู้ให้

ผู้ให้เสียเงินทองข้าวของไป

 แต่ได้รับอาหารที่เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อจิตใจ

 ส่วนพระภิกษุก็ได้อาหารทางร่างกายไป

ได้ปัจจัย ๔ ทางร่างกาย จะได้มีเวลาไปปฏิบัติ ไปศึกษา

 ไม่ต้องมาทำงานทำการ

 เพื่อที่จะได้เป็นที่พึ่งของญาติโยมต่อไป

 หลังจากที่ได้บรรลุธรรมแล้ว

ก็จะมาเป็นผู้สอนคอยสอนคอยบอกให้ญาติโยม

 ให้รู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เช่น วันนี้

พระภิกษุก็มาสอนญาติโยม

 มาสอนญาติโยมให้มาทำบุญทำทาน

ให้มาสร้างปัจจัย ๔ ให้แก่จิตใจ

ถ้าจิตใจมีปัจจัย ๔ ครบบริบูรณ์

 จิตใจก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ต่างๆ

 หลุดพ้นจากปัญหาต่างๆ หลุดพ้นจากภัยต่างๆ

 จะมีแต่ความสุขไปตลอดไม่มีวันสิ้นสุด.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.............................

ธรรมะบนเขา
วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๑








ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 02 มีนาคม 2562
Last Update : 2 มีนาคม 2562 13:34:40 น.
Counter : 650 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ