just can't {imagine} our ends
Group Blog
 
All blogs
 
xx...คนตั้งชื่อหนัง...xx

อิๆ
ขโมยมาจากด้านล่างนี่ล่ะค่ะ
เชิญทัศนาตามอัธยาศัย

นามนั้นสำคัญไฉน หรือ แปลอย่างไรให้น้ำเน่า
คอลัมน์ คุยความคิด

โดย มุกหอม วงษ์เทศ

"ชู้รักเรือล่ม" นำแสดงโดย ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ และเคท วินส์เลต

ข้าพเจ้าได้ยินมาว่าฮอลลีวู้ดเรียกภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า "Titanic"

"ไททานิค" เป็นชื่อเรือโดยสารเดินสมุทร

เรือที่ล่มอับปาง

เรือที่ล่มอับปางที่มีคนเป็นชู้รักกันอยู่ในนั้น

"ไททานิค" จึงเป็นหนังเกี่ยวกับ "Lovers on the Sinking Ship"!

แต่ข้าพเจ้าสงสัยว่าฝรั่งจะสามารถตั้งชื่อหนังเรื่องเดียวกันนี้ว่า "Lovers on the Sinking Ship" ได้หรือไม่? เป็นไปได้ไหม ที่วัฒนธรรมทางภาษาของตะวันตกจะทำให้ชื่อนี้เป็นชื่อที่ "เป็นไปได้" และเป็นไปได้อย่างลื่นเนียนไร้ตะเข็บ?

ในทำนองเดียวกัน เป็นไปได้ไหมที่ลาว หรือไทย ประเทศเพื่อนบ้านมหาอำนาจที่รักสงบของลาวจะ "ตั้ง" หรือ "แปล" ชื่อภาพยนตร์ว่า "นักเปียโน" (The Pianist), "งานแต่งงานสี่งานกับงานศพหนึ่งงาน" (Four Weddings and a Funeral), "ฆ่าบิล" (Kill Bill), "ผู้ป่วยชาวอังกฤษ" (The English Patient) ฯลฯ

ง่ายมากที่เราจะรู้สึกว่าเป็นไปไม่ได้และ "ทนไม่ได้"! แต่ยากมากที่จะอธิบายว่าทำไมมันถึงเป็นไปไม่ได้หว่า...อะไรทำให้ชื่อเรื่องเหล่านี้ฟังประดักประเดิกและทื่อๆ ในภาษาไทย

ข้าพเจ้าคิดเอาเองว่า ยกเว้นคำศัพท์เกี่ยวกับศาสนาความเชื่อแล้ว วัฒนธรรมภาษาไทย (ไท-ลาว+เขมร+บาลี-สันสกฤต+ฯลฯ) ไม่ใช่ภาษาที่มีประเพณีการสร้างมโนทัศน์รวบยอด(conceptualization) แต่เป็นวัฒนธรรมภาษาที่ให้ความสำคัญกับการสร้างจินตภาพและสุนทรียศาสตร์ของเสียง

ชื่อที่แสดงคอนเซ็ปต์รวบยอดอันฟังดูสามัญธรรมดาในภาษาตะวันตก เช่น The Game, The Hospital, The Postman มักเป็นชื่อที่แปลยากที่สุดในภาษาที่ให้คุณค่ากับการใช้โวหาร หรือการสร้างความวิจิตรพิสดารของภาษาและภาพพจน์ หากชื่อเรื่องเหล่านี้ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของตลาดการแปลแล้ว ข้าพเจ้านึกได้แต่ชื่ออย่าง "เกมล่ามรณะเขย่าขวัญ", "คุณหมอกุ๊กกิ๊ก คนไข้กิ๊กก๊อก" หรือ "เล่ห์จดหมายลวงสวาท"

ชื่อ "สามัญ" แบบตะวันตกมักเป็นชื่อที่ต้องการสื่อถึง "ความคิดรวบยอด" หรือ "การซ่อนนัย" อันมีนัยถึงวัฒนธรรมทางภาษาที่ระมัดระวังการใช้คำขยาย(adj/adv) หรือจงใจที่จะสื่อความเป็นภววิสัย(objectivity) แต่ชื่อสามัญในบริบทของไทยกลับจะถูกมองว่าแสดงถึงความไร้ทักษะเชิงวรรณศิลป์ การตั้งชื่อผลงานด้วยคำดาดๆ ว่า "โรงแรม", "งานศพ", "ชาวกรุงเทพฯ", "ความกลัว" จึงต้องนับเป็นข้อยกเว้นที่พอเจอได้ยาก มากกว่าจะเป็นขนบ

ทั้งหมดนี้ฟ้องว่าการ "แปลชื่อ" เป็นภารกิจที่ยากมหาโหด ความสำเร็จในการแปลชื่อที่ไม่ใช่การทับศัพท์จึงต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ชั้นสูง ไม่ใช่ชั้นต่ำๆ หรือเน่าๆ เพราะการแปลชื่อเป็นสมรภูมิอันคุกรุ่นด้วยความยอกย้อนในและข้ามภาษาหลายชั้น

ถ้าดูอย่างหยาบๆ แล้ว ข้าพเจ้ารู้สึกว่าการแปลชื่อเรื่องในเมืองไทยมักจะแปลกันตามเกณฑ์ใหญ่ๆ สองเกณฑ์ คือ แปลตรงตามตัวอักษร และ "แปล-แปร-แปลง" ตามจินตนาการของผู้แปล ไม่ว่าจะเพื่อให้เข้าใจใน "สัญลักษณ์" ของชื่อ หรือเพื่อ "เพิ่มเติม" ความหมายให้ "โจ่งแจ้ง" ยิ่งขึ้นตามเจตนารมณ์ของผู้แปลหรือผู้ที่มีอำนาจกว่าผู้แปล

การแปลชื่อนวนิยายแนว Socialist Realism เรื่อง "Mother" ของแมกซิม กอร์กี้ นักประพันธ์รัสเซียนามอุโฆษว่า "แม่" จึงเป็นการแปลที่แสดงการยึดมั่นซื่อตรงต่อต้นฉบับดั้งเดิม และน่าจะรวมถึงการตริตรองมาอย่างลึกซึ้งแล้วว่า "Mother" ควรจะแปลว่า "แม่" ...เท่านั้น

ในขณะที่หากข้าพเจ้าถูกวิญญาณคนแปลชื่อหนัง/หนังสือในตลาดเมืองไทยเข้าสิงแล้ว มีความเป็นไปได้สูงที่ข้าพเจ้าจะพ่นคาถาปลุกเสกแม่ "ธรรมดาๆ" ของกอร์กี้ให้มีไตเติ้ลในภาคภาษาไทยว่า "ยอดคุณแม่ทรหดสู้เพื่อฝันสังคมนิยม" หรือ "อยากจะกู่ก้องบอกโลกถึงแม่ผู้ยิ่งใหญ่" หรือมิฉะนั้นอย่างเบาะๆ ก็ต้อง "แม่ข้าหัวใจไม่ยอมแพ้"!

วัฒนธรรม(และการตลาด) การแปลทั่วๆ ไปของไทยจึงมีความโน้มเอียงกระเท่เร่ที่จะโปะคำขยายหวือหวาเว่อร์ๆ ซึ่งมักจะเป็นการประดิดประดอยโวหารรุงรังผิดที่ผิดทางบ้าง เพ้อเจ้อเลอะเทอะบ้าง ให้กับชื่อดั้งเดิม ราวกับมีความหวาดหวั่นพรั่นพรึงกันว่าความห้วน คลุมเครือ กำกวม หรือซ่อนนัย จะเป็นสัญญาณของความไร้ประสิทธิภาพของการแปลแบบไทยๆ ทั้งยังจะทำให้ "ขาย" ไม่ได้อีกด้วย

วัฒนธรรมการแปลชื่อหนัง หนังสือ หรือบทละครแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นผลงานระดับมาสเตอร์พีซหรือจังค์พีซ ไม่ว่าจะมุ่งขายตลาดชนชั้นกลางหรือตลาดล่าง ข้าพเจ้าขนานนามเล่นแก้กลุ้มว่า "Melodramatization" หรือ "การทำให้เป็นน้ำเน่า"

เช่น Japanese Story = "เรื่องรักในคืนเหงา", Sylvia = "บทกวีรักก้องโลก", Closer = "ขอหยุดไฟรักไว้ที่เธอ", Pride and Prejudice = "สาวทรงเสน่ห์", Sense and Sensibility = "เหตุผลที่คนเรารักกัน", The Count of Monte Cristo = "ดวลรัก...ดับแค้น", Birth = "ปรารถนา...พยาบาท", Cold Mountain = "วิบากรักสมรภูมิรบ", Being John Malkovich = "ตายละหว่า...ดูดคนเข้าสมองคน", Lost in Translation = "หลง-เหงา-รัก", Heaven = "ฉุดรักหนีนรกถึงสวรรค์", City of Angels = "สัมผัสรักจากเทพ...เสพซึ้งถึงวิญญาณ", ฯลฯ

ความมหัศจรรย์พันลึกจะคละคลุ้งออกมาเองเมื่อเราลองแปลชื่อเหล่านี้กลับไป อาทิ "Love story in a lonely night", "Just Want to Stop My Burning Passion at You", "Charming Lady", "Reasons that People are in Love", "Troubled Love in the Battle Field" …Ooooo! My God!!!

ข้าพเจ้าอยากจะตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ถึงขนาดหนังฮอลลีวู้ดเกรดบีห่วยๆ เป็นพันๆ เรื่อง ส่วนใหญ่แล้วกลับมีภาษาของ "ไตเติ้ล" ที่ไม่ต่างจากหนังดีๆ เลย ถ้าดูแค่ "ชื่อหนัง" อย่างเดียว จะไม่มีใครสามารถบอกได้เลยว่านี่คือหนังเกรดเอหรือหนังตลาด ขนาดหนังเข้าขั้น "ขยะ" ยังมีชื่อเรื่องยังกับวรรณคดีชั้นสูง! เช่น Anatomy = "จับคนมาเป็นศพ", Eulogy = "รวมญาติป่วยร่วมอาลัยปู่", Malice = "ร้อนผู้หญิง ร้ายผู้ชาย", The Crow = "อีกาพญายม"

วัฒนธรรมการแปลที่ไม่รู้สำนึก(unconscious) ถึงการลดทอนความหมาย (trivialize) ด้วยการเพิ่มระบายลูกไม้ cheap ตามอำเภอใจแบบนี้ ดูจะแทงลึกลงไปถึงมโนทัศน์และรสนิยมทางภาษาของสังคม ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่ที่ตัวผู้แปล(ง) เท่านั้น



ที่มาค่ะ
//www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01fun07190648&day=2005/06/19

อ่านกันแล้ว
อ่านกันจนจบรึป่าว
อย่าเพิ่งเบื่อนา
แต่ทั้งหมดเราก็แค่อยากตั้งข้อสังเกตว่า
เค้ามีหลักเกณฑ์เลือกคนตั้งชื่อหนังยังไง
ทำไมมันออกมาแบบที่เป็นอยู่นี่
งง งง

เห็นด้วยกับคุณมุกหอมเค้าน่ะค่ะ
ใครมีความเห็นก็เชิญได้เลยค่า


Create Date : 19 กรกฎาคม 2548
Last Update : 30 กรกฎาคม 2548 20:55:10 น. 7 comments
Counter : 1327 Pageviews.

 
เข้าใจล่ะ


โดย: Bluejade วันที่: 19 กรกฎาคม 2548 เวลา:19:55:46 น.  

 
อึ้งและเห็นด้วยค่ะ อืมมมๆๆ มันก็จริงนะ


โดย: Hachimitsu วันที่: 2 สิงหาคม 2548 เวลา:13:20:36 น.  

 
เข้ามาอ่านอย่างเดียวเลย ความรู้แยะดีจัง


โดย: รักบังใบ วันที่: 18 มกราคม 2549 เวลา:8:11:56 น.  

 


โดย: เย็ส IP: 58.147.116.115 วันที่: 6 กรกฎาคม 2550 เวลา:19:32:32 น.  

 


โดย: มาส่ IP: 61.7.132.126 วันที่: 11 กรกฎาคม 2550 เวลา:13:02:14 น.  

 
สวานนย


โดย: นรีคั้ IP: 124.157.150.135 วันที่: 10 เมษายน 2551 เวลา:14:25:31 น.  

 
rtyeyretyttyt


โดย: ree IP: 117.47.180.35 วันที่: 30 สิงหาคม 2551 เวลา:11:45:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

quin toki
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




everything has a begining , has an end.

link to my thought
~~*http://pompom67.bloggang.com*~~




บล็อกน้อยอิเหละเขะขะ
เก็บ+กระจุกของไว้สารพัด
สารบัญก็ไม่มีให้กดง่ายๆ ขออภัยด้วยเน้อ




เคยมีคนบอกกับเราว่า
ถ้าเราไม่ได้ดูหนัง
คงหายใจไม่ออกสินะ

...
ขาดหนัง
ก็ขาดใจ
(ไอ้บ้าเอ๊ย!)

เข้าใจพูดนะเนี่ย
>_<








นิตยสารดีโอ DE.O. Magazine E-Book

issue 6

L.O.V.E.







คุณป้าสุวคนธ์ ไม้แดง

และหมาแมวจรนับร้อย

ที่กำแพงเพชร



เล่นกับแกรี่ได้นะจ๊ะ (แต่แกรี่ตัวนี้ไม่มีเขี้ยวเท่านั้นแหละ)
Friends' blogs
[Add quin toki's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.