blog pompitrk
Group Blog
 
All blogs
 

การ์ตูนพัฒนาการเรียนรู้



1. ความหมายของการ์ตูน

นักวิชาการเห็นความสำคัญของการใช้การ์ตูนในการเรียนการสอ น และการ์ตูนมีบทบาทในชีวิตประจำวัน จึงมีผู้สนใจศึกษา และให้ความหมายของการ์ตูนไว้ดังนี้เกษมา จงสูงเนิน ( 2533 : 17 ) ไห้ความหมายไว้ว่า การ์ตูน คือ ภาพวาดแทนสัญลักษณ์ที่แสดงออกมาซึ่งความตลกขบขัน หรือล้อเลียนสังคม ทั้งนี้อาจเกินเลยไปจากความเป็นจริง เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ หรือแสดงแนวคิดต่างๆ
คินเดอร์ (kinder . 1959 : 399 ) กล่าวไว้ว่า การ์ตูนคือภาพที่ผู้ดูสามารถจะตีความหมายได้จากสัญลักษณ์ที่มีอ ยู่ และส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่เกินจริงเพื่อสื่อความหมายหรือเสนอความ คิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ทันสมัย ตัวบุคคล หรือสถานการณ์ต่าง ๆ กันได้ทันที
ไพเราะ เรืองศิริ ( 2524 : 12 ) การ์ตูนคือภาพวาดง่าย ๆ ที่มีแบบเฉพาะตัวไม่เหมือนภาพธรรมดาทั่วไป ภาพการ์ตูนอาจมีรูปร่างที่เกินความเป็นจริงหรือลดรายละเอียดที่ ไม่จำเป็นออก เพื่อจุดมุ่งหมายในการบรรยายการแสดงออกมุ่งให้เกิดความตลกขบขัน ล้อเลียน เสียดสีการเมืองและสังคม ตลอดจนใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้หน้าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนั้นอาจจะใช้ประกอบการเล่าเรื่องบันเทิงคดี สารคดีได้อีกด้วย และที่สำคัญก็คือใช้ประกอบการเรียนการสอน ภาพวาดนี้อาจจะเป็นตอนเดียวจบหรือเป็นเรื่องสั้นๆ 2-3 ตอนจบ
วิชิต ศรีทอง ( 2526 : 21) ให้ความหมายของการ์ตูนไว้ว่าการ์ตูนคือ ภาพวาดที่เป็นสัญลักษณ์ จำลองมาจากความคิด อาจจะเป็นภาพที่เกินความจริง ภาพล้อเลียน หรือภาพที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน สำหรับใช้ในการสื่อความหมายหรือเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง ราว เหตุการณ์ตัวบุคคลหรือสถานที่
ดังนั้น จึงอาจสรุปความหมายของการ์ตูนได้ว่า การ์ตูน คือ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ที่เกิดจากการวาด เพื่อสร้างความตลกขบขัน สื่อความหมาย หรือล้อเลียนสังคม ซึ่งอาจมีลักษณะเกินความจริง เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ หรือแสดงแนวคิดต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
การ์ตูน นอกจากเป็นเรื่องราว หรือกรอบสั้น ๆ ในหนังสือแล้ว ปัจจุบันการ์ตูนนิยมสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดความเข้ าใจมากขึ้น แต่สำหรับการ์ตูนที่นำเสนอเรื่องราวในหนังสือนิยมสร้างสำหรับกา รเรียนรู้ เพิ่มทักษะการอ่าน ไปในตัวได้ด้วย

2. ลักษณะของการเขียนการ์ตูน
การ์ตูน สามารถสร้างอารมณ์ให้ผู้อ่านได้ดี ผู้เขียนจะต้องมีทักษะในการวาด สามารถสร้างจินตนาการได้ดี มีอารมณ์ขบขัน ลักษณะของการเขียนการ์ตูนของผู้มีทักษะมักมีเอกลักษณ์ในการเขีย นเป็นของตนเอง การเขียนการ์ตูนที่เขียนในหนังสือในปัจจุบันมีหลายลักษณะ
สมพงษ์ ศิริเจริญ และ คณะ (2506 : ๕๙)ได้แบ่งการ์ตูนตามวิธีการเสนอเรื่องราวในหนังสือได้ทั้งหมด 2 แบบ คือ
1. การ์ตูนเป็นตอน (comic strip) คือ การ์ตูนเรื่องที่เสนอออกมาในลักษณะเป็นตอนๆ ตอนละ 2-5 กรอบ ลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันติดต่อกันไป
2. หนังสือการ์ตูน (comic book) คือ การ์ตูนเรื่องที่มีความยาวพิมพ์เป็นเล่ม มีเรื่องราวคล้ายละคร นวนิยาย หรือนิทานฯลฯ
การ์ตูนที่สร้างขึ้นในรูปหนังสือ เอกสาร หรือสิ่งพิมพ์เพื่อใช้ในการเรียนรู้ของนักเรียน ส่วนมากเป็นรูปภาพชี้นำ ประกอบเป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับลักษณะการ์ตูนที่ผูกเป็นเรื่อง ราว ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตาม มีอารมณ์ร่วมในบทบาทของตัวการ์ตูน และเชื่อมโยงสู่ชีวิตของตนเอง จึงจัดอยู่ในการ์ตูนที่มีคุณค่าในการเรียนรู้ ซึ่งทำให้ผู้เรียนสนใจ ดัง Larrick ( 1964 : 90 - 92) ได้ให้

คุณลักษณะของการ์ตูน และสาเหตุที่ทำให้เด็กอ่านหนังสือการ์ตูน ดังนี้
1. หนังสือการ์ตูนให้ความพึงพอใจ สนองตอบความชอบความต้องการของเด็กในด้านการดำเนินพฤติการณ์ และการผจญภัย
2.เหตุการณ์ในเรื่อง ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว แต่ละบทตอนสั้นกระทัดรัด สร้างความพึงพอใจให้แก่เด็กได้เร็ว

3. อ่านง่าย คนที่อ่านไม่คล่องก็สามารถเข้าใจเนื้อหาเรื่องได้โดยการดูรูปภา พ

4. หาอ่านได้โดยทั่วไป

5. การ์ตูนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป เป็นที่ยอมรับของทุกกลุ่ม ทุกวัย ไม่สร้างให้เกิดจุดด้อยที่ทำให้อยู่นอกสังคม
6. เด็กหลายคนไม่มีหนังสืออ่าน จึงหันมาอ่านหนังสือการ์ตูน

ลักษณะของการ์ตูนในปัจจุบัน พัฒนารูปแบบออกไปมากขึ้น บางครั้งเป็นจินตนาการสู่อนาคต แปลกใหม่ เร้าใจ และเสนอเรื่องราวที่ลึกซึ้งได้ สร้างจินตนาการให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้เร็ว การ์ตูนถูกสร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ นอกจากหนังสือเรียนแล้ว ในรูปแบบอื่นเช่น ภาพยนตร์ ภาพอินิเมชันที่ใช้สำหรับ web page เป็นต้น ทั้งในรูป 2 มิติ และพัฒนาขึ้นเป็น 3 มิติ ที่สามารถสร้างภาพจำลอง นำเรื่องราวเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ได้ดีขึ้น



3. ประโยชน์ของการ์ตูนต่อการเรียนการสอน

มีผู้นำการ์ตูนมาใช้ประโยชน์ ต่อการเรียนการสอน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากการ์ตูนมีลักษณะที่น่าสนใจ คณะนิสิตปริญญาโทเทคโนโลยีทางการศึกษา (2522 : 204) ได้รวบรวมประโยชน์ของการ์ตูนเรื่องที่มีต่อการเรียนการสอน ดังนี้
1. ทำให้นักเรียนสนใจเนื้อหาวิชามากขึ้น
2. ให้สอนเด็กเป็นรายบุคคล และทำให้การเรียนดีขึ้น
3. ฝึกการอ่านได้ดี
4. ทำให้นักเรียนสนใจในการอ่านมากขึ้น
ประโยชน์ต่อการเรียนรู้เนื้อหาวิชา สามารถนำการ์ตูนเป็นสื่อ ดังเช่น สมหญิง กลั่นศิริ (2521 : 74) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการ์ตูนต่อการเรียนการสอน ไว้ดังนี้
1. การ์ตูนช่วยส่งเสริมการสอนของครู ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจและทำให้ผู้เรียนเรียนโดยไม่น่าเบื่อหน่าย
2. การ์ตูนช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเร็วยิ่งขึ้น เพราะการ์ตูนช่วยสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจได้เร็วยิ่งขึ้น
3. การ์ตูนช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ สนุกสนานและติดตามการสอนของครูโดยตลอด
4. การ์ตูนช่วยผ่อนคลายอารมณ์เครียด ทำให้บทเรียนสนุกสนานและน่าติดตามโดยไม่เบื่อในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
5. สามารถนำการ์ตูนมาใช้ได้ ตั้งแต่เด็กในระดับชั้นต้นๆ จนกระทั่งเด็กโต และสามารถใช้ได้กับผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน ดังนั้น
จึงอาจกล่าวถึงประโยชน์ของการ์ตูน ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ดังดังนี้
1. สร้างบทเรียนให้มีความสนใจมากขึ้น
2. นำเสนอ และการ์ตูนชี้นำให้เข้าใจบทเรียนมากขึ้น
3. ทำให้บทเรียนสนุกสนาน และน่าติดตาม
4. สร้างภาพจำลอง และมีการสื่อความหมายแปลกใหม่
5. ช่วยพัฒนาด้านการอ่าน เป็นขั้น เป็นตอน โยงกรอบความรู้ได้ดี



4. โทษของการ์ตูน

ความทันสมัย และยุคโลกาภิวัฒน์ ความคิดของคนเขียนการ์ตูน เปลี่ยนแปลงไป การเขียนการ์ตูนทำเพื่อในเชิงธุรกิจ เนื้อหาและรูปแบบการ์ตูนจึงปลูกฝังทางลบกับผู้อ่าน เช่นการ์ตูนที่มีภาพลักษณะลามก ผิดศีลธรรม และใช้วาจาหรือคำอธิบายไม่สุภาพ เป็นต้น ทำให้เกิดผลเสีย สร้างพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ให้กับผู้อ่าน เช่น

การ์ตูนลามก ทำให้เกิดการฆาตกรรม และพฤติกรรมอื่นๆ ที่ผิดศีลธรรม
ภาษาที่ไม่เหมาะสม เป็นต้นแบบของผู้อ่าน นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
เนื้อหาไม่เหมาะสม ทำให้ผู้อ่านเก็บกด และเกิดการเลียนแบบ เป็นต้น
5. หลักในการเลือกการ์ตูนในการเรียนการสอน

การเลือก หรือเขียนการ์ตูนเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ควรจะต้องให้สอดคล้องกับวัย และธรรมชาติของผู้เรียน สามารถเป็นสื่อนำได้ดี และควรคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ ดังเช่น
บุญเหลือ ทองเอี่ยม และคณะ ( 2520 : 13-14 ) ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการเลือกการ์ตูนไว้ดังนี้
1. การ์ตูนที่ใช้ควรเหมาะสมกับประสบการณ์ ของผู้เรียน โดยต้องคำนึงถึงว่า ผู้เรียนเคยศึกษาหรือมีขั้นพื้นฐาน ในสิ่งนั้นๆบ้างหรือไม่
2. การ์ตูนที่ใช้ไม่ควรเป็นนามธรรมมาก เกินไป ควรเลือกแบบง่ายๆ มีสัญลักษณ์ ที่สื่อความหมายได้ชัดเจน
3. การ์ตูนที่ใช้ควรมีสัญลักษณ์เฉพาะเรื่อง เช่นอาจเป็นการ์ตูนเสียดสีบ้านเมืองหรือเป็นการ์ตูนโน้มน้าวจิตใจ ไม่ให้เด็กไปสนใจอบายมุข เป็นต้น
4. ภาพการ์ตูนนั้นควรมีขนาดเหมาะสม คือเหมาะสมทั้งขนาดของภาพสีสัน ความยาวของเรื่อง วัยของผู้เรียนและระดับของผู้ดูเป็นสำคัญ
ยุพิณ พิพิธกุล และคณะ ( 2531 : 302-306) กล่าวถึงการใช้การ์ตูนประกอบการสอนคณิตศาสตร์ ซึ่งอาจนำมาใช้ได้ดังนี้
1. การ์ตูนที่เป็นภาพลายเส้น ครูควรจะค่อย ๆ เขียนภาพไปขณะที่เขียนโจทย์ไม่ควรเขียนจนจบแล้วจึงอธิบาย
2. การ์ตูนที่เป็นภาพสำเร็จ ( ภาพเดี่ยว )
3. การ์ตูนที่เป็นภาพสำเร็จที่แต่งเป็นเรื่องราว
จึงอาจสรุปวิธีเลือก หรือเขียนการ์ตูนเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. การ์ตูนที่ใช้ควรเหมาะสมกับวัย และธรรมชาติของผู้เรียน
2. เป็นภาพจำลองสถานการณ์ สื่อนำเพื่อให้ค้นพบความคิดรวบยอด ได้ชัดเจน
3. ควรมีสัญลักษณ์ดึงดูด โน้มน้าวจิตใจ ให้อยากเรียนรู้ในกรอบต่อ ๆ ไ
4. ภาพการ์ตูนนั้นควรมีขนาด และภาพสีสรรที่เหมาะสม
5. ความยาวของเรื่องไม่มากเกินไป และผูกเรื่องราวให้ผู้เรียนมีอารมณ์กับเนื้อหา
6. ไม่ควรมีเนื้อหาวิชาอื่นเข้ามาเป็นจุดเด่นมากกว่าเนื้อหาที่ต้อ งการให้นักเรียนได้รู้

6. โครงสร้างและส่วนประกอบของหนังสือการ์ตูนประกอบการสอน

หนังสือการ์ตูน อาจประกอบด้วยส่วนสำคัญคล้ายกับหนังสือทั่วไป กรณีนำมาใช้ในการเรียนการสอน หรือเรียกว่าบทเรียนการ์ตูน อาจมีโครงสร้างและส่วนประกอบคล้ายบทเรียนสำเร็จรูป แต่บทเรียนการ์ตูน จะน่าสนใจกว่า เนื่องจากภาพการ์ตูนเป็นสิ่งเร้าได้ดี และสามารถชี้นำได้ดีกว่า
หทัย ตันหยง ( 2529 : 155 - 158) ไดสรุปถึงส่วนประกอบของหนังสือการ์ตูนเรื่องประกอบบทเรียน ดังนี้
1. ส่วนนอกของหนังสือ ประกอบด้วย ปกหน้า ปกหลัง หน้าคำนำ
2. ส่วนในของหนังสือ ประกอบด้วย บทเนื้อเรื่อง



การวางเค้าโครงต้นฉบับ มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ดังนี้

1. รูปแบบ (Format) อาศัยพื้นฐานทางจิตวิทยา และศิลปกรรม เพื่อให้หนังสือมีลักษณะเร้าใจน่าอ่าน เช่น การตั้งชื่อเรื่อง ลักษณะรูปเล่ม ปก ภาพ สีสัน และสาระบันเทิงใจของเนื้อหา
2. เนื้อเรื่อง (Mastery of Content ) มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ภาษา ซึ่งใช้บรรยายเรื่อง ทั้งสาระและแนวคิดและฉากชีวิตภายมนขอบเขตของเค้าโครงตามแนวของโ ครงเรื่อง
3. มโนทัศน์ (Concept) เป็นความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจของมนุษย์เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นภา พในใจ หรือความรู้สึกอันเป็นมโนภาพประทับอยู่ในใจ มโนทัศน์ในหนังสือที่ดีย่อมมีลักษณะทางคุณธรรม สร้างสรรค์จิตใจคนมากกว่าทำลายจิตใจคน
4. ข้อมูลหลักฐาน (Fact) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้หนังสือมีมูลค่า ประกอบด้วยข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับจำนวนตัวเลข เหตุการณ์ แหล่งวิชาการ ความรู้ที่อ้างอิงบุคลิกภาพของตัวละคร ภาษา และเหตุผลในเชิงตรรกศาสตร์
5. ภาษาหนังสือ (Wording) ภาพพจน์หนังสือที่จะสื่อไปถึงผู้อ่านด้วยภาษา ถ้อยคำ สำนวน โวหาร ซึ่งเรียกว่าภาษาหนังสือ หนังสือสำหรับเด็กส่วนมากจะใช้ภาษากึ่งแบบแผน ซึ่งมีโครงสร้างที่ง่ายไม่ซับซ้อน

7. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการได้ศึกษาการใช้การ์ตูนเป็นสื่อการสอน มีดังนี้
โซนส์ (Sones. 1944:238-239) ทดลองกับนักเรียนเกรด 6 และ 7 ชั้นละ 400 คน โดยให้กลุ่มทดลองอ่านการ์ตูนเรื่อง Wonder Woman ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตและงานของ Glara boton และให้กลุ่มควบคุมอ่านหนังสือเรียนธรรมดาผมการทดลองปรากฏว่าในก ารสอบครั้งแรกคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของกล ุ่มควบคุมอยู่ร้อยละ 10-30แต่เมื่อให้กลุ่มควบคุมได้อ่านหนังสือการ์ตูนบ้างปรากฏว่า คะแนนการสอบครั้งที่สองสูงกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มที่ให้อ่านแบบเรียนธรรมดากลับทำคะแนนได้ไม่สูงกว่าครั ้งแรกมากนัก และเขาได้สรุปผลการทดลองไว้ประการหนึ่งว่า กลุ่มทดลองได้เรียนรู้ไปมากที่สุดเท่าที่จะสามารถเรียนได้ แล้วจากการอ่านหนังสือในครั้งแรก การอ่านแบบเรียนครั้งหลังจึงไม่มีผลต่อการเรียนรู้และการเรียนแ ละการทดสอบครั้งที่สองมากนัก ในขณะที่กลุ่มควบคุมยังเรียนรู้ได้ไม่ถึงจุดอิ่มตัว แต่สามารถไปถึงจุดนั้นได้เมื่อได้อ่านหนังสือการ์ตูน แสดงให้เห็นว่าหนังสือการ์ตูนช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีกว่าการอ ่านแบบเรียนธรรมดา
สุรางค์รัตน์ ณ พัทลุง (2521 : 37-37 ) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาสุขศึกษาของนักเรี ยนชั้นประถมปีที่ 7 โดยใช้หนังสือการ์ตูนประกอบการสอนกับการสอนแบบเดิมทดลองกับนักเ รียน 60 คน กลุ่มทดลองเรียนจากหนังสือการ์ตูน กลุ่มควบคุมเรียนจากการสอนแบบเดิม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ใช้หนังสือการ์ตูน ในการเรียนการสอนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนโดยใช้การสอนแบบเดิม
มณีรัตน์ พรหมสุวรรณศิริ (2521 : 180 ) ทำการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ในการเรียนวิชาการใช้ห้องสมุดของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้บทเรียนโปรแกรมการ์ตูนสี กับการสอนตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา ปีที่ 4-5 จำนวน 60 คนกลุ่มทดลองสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรมการ์ตูนสี กลุ่มควบคุมวิธีบรรยาย อภิปราย และอุปกรณ์อื่นๆ ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนโปรแกรมการ์ตูน และนักเรียนที่เรียนจากการสอนตามปรกติไม่แตกต่างกัน
ประเสริฐ มาสุปรีดิ์ ( 2522 : 31-32 ) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของ
นักเรียนชั้นประถมปี่ที่ 2 โดยการสอนด้วยหนังสือการ์ตูน กับการสอนตามปกติ พบว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนโดยใช้หนังสือการ์ตูน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนต ามปกติ
มนตรี แยมกสิกร (2523 : 56-165) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัยในวิชาสุขศึกษา ของนักเรียน ป.4 ที่เรียนจากแบบเรียนสำเร็จรูปเชิงเส้นการ์ตูน แบบเรียนสำเร็จรูปเชิงเส้นธรรมดา ทดลองกับนักเรียน 135 คน ปรากฏว่าแบบแรกมีปริมาณการเรียนรู้ พฤติกรรมด้านความรู้ความจำ ความเข้าใจ สูงกว่า
สุนทร เชยชื่น ( 2524 : 144) ทดลองกับนักเรียน 60 คน โดยใช้หนังสือการ์ตูน กับกลุ่มควบคุม ผลปรากฏว่า กลุ่มนักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสือการ์ตูนประกอบการเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้หนังสือการ์ตูน
เกษม จงสูงเนิน ( 2533 : 68 ) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่เรียนด้วยการใช้ กับไม่ใช้หนังสือการ์ตูน ประกอบการเรียน ในการสอนตามคู่มือครู สสวท. พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางกานเรียนแตกต่างกัน โดยแบบใช้การ์ตูน คะแนนเฉลี่ยสูงกว่า
จากผลการวิจัยของนักการศึกษาทั้งใน และต่างประเทศ พบว่าการนำบทเรียนการ์ตูนมาใช้ประกอบการเรียนการสอน จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าแบบธรรมดา แต่งานวิจัยบางฉบับพบว่าไม่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงสร้างบทเรียนการ์ตูนมาใช้ประกอบการเรียนการส อน




 

Create Date : 12 ตุลาคม 2550    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 11:42:20 น.
Counter : 4287 Pageviews.  


pompitrk
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ธีรพล พรหมพิทักษ์

Friends' blogs
[Add pompitrk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.