blog pompitrk
Group Blog
 
All blogs
 

ความสัมพันธ์ระหว่าง Object

ความสัมพันธ์ระหว่าง Object

ความสัมพันธ์ระหว่าง Object ประกอบด้วย

1.Association
2.Aggregation
3.Composition
4.Generalization


















 

Create Date : 14 มกราคม 2551    
Last Update : 14 มกราคม 2551 13:12:56 น.
Counter : 2711 Pageviews.  

ศัพท์ Object

ศัพท์ Object

Object – oriented = โปรแกรมเชิงวัตถุ

Encapsulation = การจัดกลุ่มองค์ความคิดที่คลายคลึงเข้าเป็นหน่วยเดียวกัน

Polymorphism = การเปลี่ยนรูปร่างของออบเจ็กต์ในเชิงโปนแกรมมื่ง

Inheritance = เป็นวิธีการสร้างคลาสใหม่ จากคลาสเดิมที่มีอยู่

Object life cyele = วงจรชีวิตเชิงวัตถุ

Abstractian = การสืบทอดจากคลาส เช่น คุณสมบัติ

Classe = คือแม่พิมพ์ที่ประกอบด้วย ชื่อของคลาส และโอเปอร์เรชั่น

Method = คือการกระทำของคลาส

Message = การเริ่มเรียกใช้งานโอเปอร์รั่น และออบเจ็กต์นั้นเอง

Actor = คือสิ่งใดก็ตามที่อยู่ภายนอกระบบที่กำลังพัฒนา

Use case = คือเอกสารที่บรรยายถึงลำดับเหตุการณ์

Object = สิ่งที่จับได้และไม่ได้ เช่น บัญชี ปุ่ม ฐานข้อมูล เหตุการณ์ ฯ ลฯ

Behavior = การกระทำ

Attribute = คุณสมบัติ (Property) ของออบเจ็กต์ หรือใช้แสดง ถึงสถานะ

Clloabration = ใช้ในการติดต่อระหว่างบุคคล

Association role = คือการเขียน role กำกับเส้นความสำพันธ์

Actirity = คือกิจกรรมภายในคลาส

Data type = ชนิดข้อมูล เช่น char , integer , duble

UML = เป็นการออกแบบในรูปเชิงวัตถุ เช่น การออกแบบโครงสร้าง

Modeling Language = คือภาษาที่เป็นลักษณะรูปร่าง โดยประกอบด้วย

โปรแกรม 3 หมวด คือ
- โคร้งสร้างโปรแกรม
- แสดงพฤติกรรมระบบ
- แสดงการจัดการโมเดล




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2550 10:49:35 น.
Counter : 541 Pageviews.  

โครงสร้างข้อมูล



โครงสร้างข้อมูล (Data Structure) คืออะไร ?

คือ ลักษณะเฉพาะของชุดข้อมูลที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ ที่นำชนิดของข้อมูลที่มีลักษณะพื้นฐานที่แตกต่างกันมาประกอบกันเข้า ซึ่งจะเป็นชุดของข้อมูลชนิดเดียวกันหรือไม่ก็ได้ เช่น โครงสร้างข้อมูลประเภทอะเรย์ โครงสร้างข้อมูลประเภทพอยต์เตอร์ โครงสร้างข้อมูลประเภทเรคคอร์ด เป็นต้น ลักษณะของข้อมูลที่เราเคยเรียนมานั้นไม่เพียงพอ เมื่อต้องมีการนำไปใช้งานจริง ๆ นั่นก็เพราะลักษณะของงานที่มีการใช้ข้อมูลในลักษณะเฉพาะเจาะจงลงไปนั่นเอง

อัลกอริทึม (Algorithm) คืออะไร ?

คือ ขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนซึ่งจะมีเป้าหมายและมีแนวทางในการปฎิบัติอย่างชัดเจนโดยมีเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็คือ การแก้ปัญหานั้น ๆ ได้อย่างเป็นมีประสิทธิภาพ อัลกอริทึมนั้นมีด้วยกันอยู่มากมายหลายแบบซึ่งก็แล้วแต่ลักษณะของแนวทางในการแก้ปัญหานั้น ๆ ซึ่งอัลกอริทึมที่เรามักจะพบเห็นกันบ่อย ๆ คือ

1. อัลกอริทึมแบบแตกย่อย (Divide-and-conquer)

เป็นอัลกอริทึมที่จะมีการนำปัญหาหลักที่ได้มาทำการแยกออกเป็นปัญหาย่อย ๆ แล้วนำคำตอบที่ได้จากปัญหาย่อยต่าง ๆ มารวมกันเข้าด้วยกันโดยอัลกอริทึมนี้เราสามารถ หาคำตอบของปัญหาได้ง่ายขึ้นจากการรวมคำตอบของปัญหาหลักนั่นเอง

2. อัลกอริทึมแบบเคลื่อนที่ (Dynamic Programming)

ปัญหาที่เราได้รับมานั้นบางครั้งไม่สามารถแบ่งปัญหาออกเป็นปัญหาย่อย ๆ ได้ ซึ่งถ้าเราพยายามจะแบ่งปัญหานั้น ๆ ออกเป็นปัญหาย่อยที่เล็กที่สุด อัลกอริทึมของเราอาจจะใช้เวลาทำงานเป็นแบบทวีคูณ (Exponential) ได้ แต่เวลาที่เราแก้ปัญหาต่าง ๆ เรามักจะ พบว่าบางครั้งเราต้องแก้ปัญหาย่อย ๆ ที่เหมือนกันซ้ำไปซ้ำมา โดยการหลีกเลี่ยงการคำนวณเพื่อหาคำตอบซ้ำ ๆ ซาก ๆ นี้ Dynamic Programming จะแก้ปัญหาย่อย ๆ เหล่านั้นเพียง ครั้งเดียวแล้วเก็บผลลัพธ์ไว้ ซึ่งถ้าหากพบว่าต้องมีการแก้ปัญหาย่อยนั้นซ้ำอีกเราก็สามารถนำ คำตอบมาจากคำตอบที่เคยคำนวณเก็บไว้มาใช้ได้

3. อัลกอริทึมแบบทางเลือก (Greedy Algorithm)

เป็นอัลกอริทึมที่จะหาคำตอบโดยการเลือกทางออกที่ดีที่สุดที่พบได้ในขณะนั้นเพื่อให้ได้คำตอบ ที่ดีที่สุด แต่ในบางครั้ง Greedy Algorithms อาจจะไม่สามารถหาคำตอบของปัญหาที่ดีที่สุดได้เสมอไป


โครงสร้างแบบลำดับ

เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะการทำงานแบบเรียงลำดับ คือ จะทำงานตั้งแต่ต้นจนกระทั่งจบโปรแกรมโดยไม่มีการข้ามขั้นตอนใด ๆ โดยมีลักษณะทางโฟล์ชาร์ต


โครงสร้างแบบทางเลือก

เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะของเงื่อนไขเข้ามาช่วย เพื่อทำให้โปรแกรมสามารถตัดสินใจเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการได้ โดยผลลัพธ์ของเงื่อนไขที่ได้นั้นจะมีค่าของความเป็นได้อยู่แค่ 2 ลักษณะคือ จริงและเท็จ เท่านั้น


โครงสร้างแบบวงจร

เป็นโครงสร้างการทำงานของโปรแกรมมีลักษณะการทำงานแบบวงกลม คือ จะมีการวนกลับไปทำตามคำสั่งเดิมอีกที่จุดใดจุดหนึ่งของโปรแกรม หรือการทำซ้ำนั่นเอง โดยโครงสร้างลักษณะนี้นิยมนำไปใช้เขียนโปรแกรมที่ต้องมีการทำงานซ้ำกันหลายรอบจนกว่าจะเสร็จ เช่น การเรียงลำดับข้อมูล การออกเอกสารหลาย ๆ ชุดในคราวเดียว เป็นต้น โดยโครงสร้างแบบวงจรมีลักษณะการทำงานอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ

1 ตรวจสอบเงื่อนไขก่อน จึงมีการกระทำคำสั่งในวงจร

2 กระทำคำสั่งในวงจรก่อน จึงค่อยตรวจสอบเงื่อนไข






 

Create Date : 11 ตุลาคม 2550    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 13:00:53 น.
Counter : 2688 Pageviews.  

HTML



HTML คืออะไร

HTML (HyperText Markup Language) เป็นภาษาหลักของเวิร์ลไวด์เว็บ (WWW เป็นบริการหนึ่งที่ใช้ในอินเตอร์เน็ต) ปัจจุบันมาตรฐาน HTML ถูกดูแลภายใต้องค์กร W3C (//www.w3c.org) ซึ่งมาตรฐานเวอร์ชั่นล่าสุดคือ HTML 4.01 (//www.w3.org/TR/html4) แต่เดิม HTML ถูกใช้สำหรับสร้างทุกส่วนประกอบของเว็บเพจ ตั้งแต่การกำหนดสี สร้างเฟรม สร้างตาราง สร้างฟอร์ม กำหนดขนาดอักษร ฯลฯ แต่ปัจจุบันมาตรฐาน HTML ถูกปรับแต่งใหม่ให้ทำหน้าที่อย่างจำกัดมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเฉพาะการกำหนดโครงสร้างของเว็บเพจเท่านั้น เช่น การกำหนดส่วนหัว HEAD และ BODY หรือ การสร้างตัวเชื่อม (นิยมเรียกกันว่าลิงค์) เป็นต้น ส่วนหน้าที่อื่นๆ ได้ถูกโอนไปเป็นมาตรฐานหรือภาษาตัวใหม่แทน เช่น CSS และ XForms

คำสั่ง HTML แต่ละตัวนิยมเรียกกันว่า "แท็ก" ซึ่งแท็กทุกตัวจะมีเครื่องหมาย < และ > ปิดหัวท้าย ตัวอย่างเช่น
,

, ฯลฯ ลักษณะการทำงานของคำสั่ง HTML ส่วนใหญ่จะต้องมีการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดลงท้าย เช่น หากต้องการทำให้อักษรแสดงผลเป็นตัวหนาเราต้องใช้คำสั่ง แล้วพิมพ์ข้อความที่ต้องการทำให้เป็นตัวหนา จากนั้นปิดคำสั่งด้วย เช่น สยามไอที Siam-iT เว็บไซต์ เป็นต้น ปัจจุบันคำสั่ง HTML มีอยู่เป็นร้อยๆ คำสั่ง แต่บราวเซอร์หลักอย่างเน็ตสเคปและอินเตอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ยังไม่สามารถแสดงคำสั่งได้ทั้งหมด นอกจากนี้ในบางคำสั่งบราวเซอร์ทั้งสองตัวยังแสดงผลแตกต่างกันไปอีกด้วย

HTML ถือได้ว่าเป็นภาษาที่ง่ายที่สุดบนเว็บ ผู้ศึกษาไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านโปรแกรมมิ่งใดๆ ทั้งสิ้น คำสั่งก็จดจำง่ายและสื่อความหาายได้ในตัวเองเป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญปัจจุบันมีเครื่องมือทั้งที่ต้องเสียเงินและแจกฟรีบนอินเตอร์เน็ตมากมายให้ได้ทดลองใช้ ซอฟต์แวร์เหล่านี้ช่วยให้การเขียนเว็บเพจด้วย HTML เป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น และไม่ต้องไปวุ่นวายกับโค้ด HTML เลยเพราะแค่ลากวัตถุที่ต้องการไปวางตำแหน่งที่ต้องการ พิมพ์ข้อความลงไป แค่นี้ซอฟต์แวร์เหล่านั้นก็จะสร้างโค้ด HTML ให้อัตโนมัติ สำหรับส่วนขยายไฟล์ HTML นั้นนิยมใช้กันทั้ง .htm และ .html





 

Create Date : 11 ตุลาคม 2550    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 12:10:40 น.
Counter : 622 Pageviews.  

เทคโนโลยีสารสนเทศ



เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที (IT) รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที

เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่นคือมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน เช่น เราจะเห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่างๆ มีการส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับมือถือ เช่น มีการส่งข้อมูลผ่านทางมือถือ มีการดาวโหลดข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเพลงผ่านมือถือ มีการสืบค้นข้อมูลหรือเล่นเกมผ่านมือถือ เป็นต้น ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานด้านธุรกิจเพื่อทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยสามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ทันทีทั้งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและข้อมูลสรุป และช่วยในการสนับสนุนการตัดสิน บริษัทที่ทันสมัยทุกบริษัทต้องมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร ในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส (Ubiquitous) คือคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดการระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่ง นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือ นักธุรกิจด้านไอที ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไอทีได้เป็นศาสตร์ที่รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต

เทคโนโลยีสารสนเทศเรียนเกี่ยวกับอะไร

ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จะศึกษาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับข้อมูลข่าวสาร ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยจัดเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้คือ

เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่งภาษาที่ศึกษาหลักๆ ได้แก่ ภาษาซี ภาษาจาวา ภาษาพีเฮชพี และภาษาเอส คิวแอล เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาถึงหลักการเขียนโปรแกรมหรืออัลกอริธึม และศึกษาว่ามีโครงสร้างข้อมูลอะไรบ้างที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม รวมทั้งศึกษาว่า ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร และศึกษาวิธีการแปลงภาษาระดับสูงที่มนุษย์เข้าใจ ไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ รวมทั้งศึกษาวิธีการเขียนออกแบบระบบ


เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการควบคุมคอมพิวเตอร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาว่า คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าแบบดิจิตอลอย่างไร และศึกษาว่าคอมพิวเตอร์มีโครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมเป็นแบบใด และศึกษาว่านอกจากฮาร์ดแวร์แล้วคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมพื้นฐาน ไว้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการหรือโอเอส รวมทั้งศึกษาวงจรคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน ที่เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ และการนำไมโครโปรเซสเซอร์ไปประยุกต์ใช้งานต่างๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นที่กล่าวถึงกันอยู่ในปัจจุบันก็คือ ระบบสมองกลฝังตัวซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น รถยนต์ โทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เป็นต้น


เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง พื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล โครงสร้างและโปรโตคอลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค) การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเพื่อใช้งานร่วมกัน รวมทั้งศึกษาถึง การนำคอมพิวเตอร์ไปให้บริการต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีสารสนเทศบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เช่น มือถือ เครื่องปาล์ม เป็นต้น


เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านกราฟิก มัลติเมเดีย
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง การประยุกต์คณิตศาสตร์ไปใช้กับการออกแบบชิ้นงานที่มีรูปร่างต่างๆ ซึ่งศาสตร์ด้านนี้รู้จักในชื่อของ ซอฟต์แวร์ประเภทแคด/แคม รวมทั้งการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับภาพและเสียง


เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานที่ชาญฉลาด
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการสร้างระบบสารสนเทศที่มีความชาญฉลาด หรือศาสตร์ที่ชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่เลียนแบบมนุษย์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบวิเคราะห์ภาพ ระบบวิเคราะห์เสียง เป็นต้น


เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึงระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี ระบบพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ และลักษณะการลงทุนด้านธุรกิจไอที

เทคโนโลยีสารสนเทศต่างกับวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างไร

คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ ข้อหนึ่งก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศต่างกับวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างไร ที่จริงแล้วสองสาขานี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก โดยวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นถือกำเนิดมาก่อนเทคโนโลยีสารสนเทศ และจะเน้นด้านทฤษฏีเป็นหลัก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ โครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การผลิตซอฟต์แวร์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานชั้นสูงที่มีความซับซ้อนมาก จุดเด่นของวิทยาการคอมพิวเตอร์คือ เน้นศึกษาวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีสมรรถนะที่สูงขึ้น และศึกษาวิธีการผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด

สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีนั้น ได้ถูกกล่าวถึงกันมากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เองหลังจากอินเตอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลาย โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านธุรกิจ งานด้านการสื่อสาร งานในสายการผลิต งานด้านบริการ เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จุดเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศคือ เน้นศึกษาวิธีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน จัดการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ ซึ่งรวมไปถึงเทคโนโลยีระบบเคลื่อนที่ เช่น มือถือ และการจัดการธุรกิจและการลงทุนที่เกี่ยวกับสารสนเทศ

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง

หลังจบสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาสามารถทำงานหรือศึกษาต่อระดับสูงได้ทั้งที่เป็นด้านเทคนิคและด้านการบริหารจัดการ โดยถ้าผู้สำเร็จการศึกษาสนใจด้านการบริหารจัดการนั้น การเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีข้อได้เปรียบกว่าสาขาอื่นๆ คือ นักศึกษาจะมีความรู้ในเชิงเทคนิคที่แน่นพอ โดยเฉพาะ องค์กรเกือบทุกองค์กรในปัจจุบันใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ ดังนั้นนักศึกษาที่จบจะมีพื้นฐานที่ดีต่อการประกอบอาชีพในบริษัทหรือ องค์กรที่นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการ การจัดการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมด้านการบริหารจัดการทำให้สามารถทำงานด้านการให้คำแนะนำแก่บริษัทต่างๆ ได้ นักศึกษาที่จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะสามารถทำงานได้ทั้งด้านเทคนิคและด้านการบริหารจัดการดังนี้

1. งานด้านเทคนิคหรืองานผู้เชี่ยวชาญ

ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ
ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ
ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบงาน หรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์
ผู้ออกแบบสร้างและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานในทุกองค์กร
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบสารสนเทศอัจฉริยะ
ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบกราฟิกหรืออะนิเมชั่น
2. งานด้านการบริหารจัดการหรืองานให้คำปรึกษา

ผู้ประสานงานในโครงการต่างๆที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
ผู้จัดการแผนก ส่วนหรือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร
ผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่องค์กรต่างๆ
ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง

จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว เราสามารถทำงานได้ในทุกองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศอยู่ ซึ่งในปัจจุบันเกือบทุกองค์กรไม่ว่าที่เป็นของรัฐหรือเอกชน จะมีระบบสารสนเทศใช้งานอยู่แล้ว จึงทำให้ผู้จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นที่ต้องการมาก อย่างไรก็ตามการทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรมีสองประเภท คือ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลัก และ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่แกนหลัก

ธุรกิจที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลักได้แก่ ธุรกิจผลิตซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขาย ธุรกิจบริการด้านข้อมูลข่าวสาร ธุรกิจด้านการให้บริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ตหรือระบบเครือข่ายมือถือ ธุรกิจให้บริการด้านพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรียกว่าธุรกิจคอนซัลแตนต์

ธุรกิจที่เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้เป็นแกนหลัก ได้แก่

ธุรกิจผลิตสินค้าหรือโรงงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านรถยนต์ ด้านน้ำมัน ด้านไฟฟ้าและพลังงาน ด้านสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ ด้านผลิตเครื่องจักรกล ด้านผลิตภาพยนตร์ เป็นต้น
ธุรกิจเชิงบริการ ได้แก่ ด้านการธนาคาร ด้านบัญชี ด้านขนส่ง ด้านโรงภาพยนตร์ ด้านค้าปลีกหรือร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น

เรียนต่อด้านไหนได้บ้าง

จบสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว สามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งทางด้านเทคนิค และด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจ ทางด้านเทคนิค ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งที่เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยตรง เช่น ด้านระบบฐานข้อมูลในองค์กร ด้านเน็ตเวิร์ค ด้านความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ด้านระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะหรือปัญญาประดิษฐ์ และที่นำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ในงานสาขาอื่น เช่น ด้านสื่อสารมวลชน ด้านมัลติเมเดีย ด้านอะนิเมชั่น ด้านสารสนเทศเพื่อการแพทย์ ด้านสารสนเทศชีววิทยา ด้านการสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ทางเคมีและฟิสิกส์ เป็นต้น

ส่วนด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถศึกษาต่อด้านการบริหารจัดการหรือเอ็มบีเอ ด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการลงทุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านระบบสารสนเทศเพื่อบริหารงานบัญชี ด้านระบบสารสนเทศเพื่องานบุคคล ด้านระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร ด้านการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจ เป็นต้น





 

Create Date : 11 ตุลาคม 2550    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 12:19:52 น.
Counter : 960 Pageviews.  

1  2  

pompitrk
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ธีรพล พรหมพิทักษ์

Friends' blogs
[Add pompitrk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.