Group Blog
 
All Blogs
 
ทำดี กับ ทำบุญ

จากกระทู้นอกเรื่อง

ทำดี กับ ทำบุญ

คำสอนของพระพุทธเจ้ามีอยู่ว่า

ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
ทำความดีให้ถึงพร้อม
รักษาจิตให้บริสุทธิ์

อยากทราบความคิดเห็นของเพื่อนว่า

การทำความดี และการทำบุญ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรครับ.

จากคุณ : เจียวต้าย - [ 13 ธ.ค. 51 08:16:27 ]






Create Date : 12 พฤษภาคม 2559
Last Update : 12 พฤษภาคม 2559 13:51:30 น. 1 comments
Counter : 407 Pageviews.

 
ความคิดเห็นที่ 1

มารออ่านความคิดเห็นของท่านๆครับ

จากคุณ : GTW - [ 13 ธ.ค. 51 08:36:01 ]


ความคิดเห็นที่ 2

ไม่เหมือนมั้งครับ

เก็บขยะหนึ่งชิ้นบนพื้นถนนใส่ถังขยะเป็นการทำดี แต่น่าจะไม่ใช่การทำบุญมั้ง

เอ ไงแน่ รอท่านอื่นละกัน

จากคุณ : KTH (KTHc) - [ 13 ธ.ค. 51 12:14:02 ]


ความคิดเห็นที่ 3

จะว่าเหมือนก็เหมือน จะว่าต่างก็ต่างครับ

แต่ตามที่ผมเข้าใจ พออธิบายง่ายๆว่า

การทำบุญเป็นสับเซตของการทำความดี

การทำความดีให้ความหมายที่กว้างมากกว่าการทำบุญ

การทำบุญ ถือว่าเป็นกรรมดี ก็เท่ากับการทำความดี

แต่ทำความดีบางครั้ง อาจไม่ได้บุญ เช่น ตย.ของ คห 2

คนอื่นแตกต่างกันอย่างไรครับ??

จากคุณ : สานฝัน ป.อนุกูล - [ 13 ธ.ค. 51 16:55:14 ]


ความคิดเห็นที่ 4

อย่างน้อยการทำดีก็ถือว่าเป็นการทำบุญกับตัวเองกระมังครับ

จากคุณ : ธามาดา - [ 14 ธ.ค. 51 13:42:09 ]


ความคิดเห็นที่ 5

เจอที่เว็บวิกิพิเดียไทย เลยคัดมาฝากครับ





บุญกิริยาวัตถุ (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

บุญกิริยาวัตถุโดยย่อมี 3 ประการคือ

1. ทานมัย การให้ทาน
2. ศีลมัย การักษาศีล
3. ภาวนามัย การอบรมจิตใจ

บุญกิริยาวัตถุโดยพิสดาร มี 10 ประการ คือ

1. ทานมัย การให้ทาน
2. ศีลมัย การักษาศีล
3. ภาวนามัย การอบรมจิตใจ
4. อปจายนมัย การอ่อนน้อมถ่อมตน
5. เวยาวัจมัย การช่วยเหลือผู้อื่น
6. ปัตติทานมัย การแผ่ส่วนบุญ
7. ปัตตานุโมทนามัย การอนุโมทนาบุญ
8. ธัมมัสสวนมัย การฟังธรรม
9. ธัมมเทสนามัย การแสดงธรรม
10 .ทิฏฐุชุกรรม การทำความเห็นให้ตรง

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B8

จากคุณ : คุณพีทคุง (พิธันดร) - [ 14 ธ.ค. 51 17:33:53 ]


ความคิดเห็นที่ 6

อาจารย์จีอมภูมิหรือครับ

ตัวอย่างที่คุณKTH ยกมา น่าจะถูกต้องนะครับ

ตามที่คุณสานฝันฯว่ามา คือการทำบุญกว้างกว่าการทำดี
อย่างให้เขายืมเงิน เวลาเขาขัดสน น่าจะเป็นการทำดี ไม๋ใช่ทำบุญ
ถ้าให้เขาไปเลย ไม่คิดทวงคืน จึงจะเป็นบุญ อย่างนี้ใช่ไหมครับ

ส่วนคุณธามาดา เห็นว่า การทำดีกว้างกว่าการทำบุญ
การทำบุญเป็นส่วนหนึ่งของการทำดี อย่างนี้ใช่ไหมครับ

ทำไปทำมาคนถามชักจะสับสนครับ.

คุณพีทยกเอาตำรามาวาง คงไม่มีใครเถียง แล้วการทำดีล่ะครับ
ต่างกับการทำบุญอย่างไรครับ.

จากคุณ : เจียวต้าย - [ 14 ธ.ค. 51 19:09:27 ]


ความคิดเห็นที่ 7

งึมงำๆ

เอาเป็นว่า ผมคิดว่าการทำดีนี่ มีแนวโน้มทำให้เราสบายใจ เป็นผลดีต่อตัวเรา
วส่วนทำบุญ มีแนวโน้มในการทำให้เกิดผลดีต่อคนอื่น เรียกว่าต่างที่ผลของมันนั่นล่ะครับ

แต่ทั้งสองอย่างก็มีส่วนสัมพันธ์กัน


อธิบายเพิ่มเติมดังนี้

ผมเคยจำคำขวัญวันเด็กยุคหนึ่งได้
เขาว่า

จงทำดี จงทำดี จงทำดี

(แต่ไม่เคยได้ยินว่า

จงทำบุญ จงทำบุญ จงทำบุญ)

ดี มีความเป็นลักษณะนามที่ชัดกว่าบุญ

เช่น

วันนี้อากาศดีจังเลย
(ไม่เคยได้ยินใครว่า วันนี้อากาศบุญจังเลย)

หรือ

รูปร่างดีจัง
(ไม่เคยได้ยินว่า รูปร่างบุญจัง)

แต่ก็เคยได้ยินว่า
ท่าทางคนนี้เป็นคนมีบุญ
และก็เคยได้ยิน่ว่า

คนนี้ท่าทางดีนะ

ประมาณนี้

แฮ่ะๆๆ

ยิ่งพูดยิ่งรู้สึกเหมือนคัวเองไม่ค่อยมีดีอย่างไรชอบกล
^___^..........

จากคุณ : GTW - [ 15 ธ.ค. 51 14:06:33 ]


ความคิดเห็นที่ 8

คห 6 ถูกรึเปล่า ผมไม่กล้าคอนเฟริม แต่ผมเข้าใจเช่นนั้นครับ อิอิ

จากคุณ : สานฝัน ป.อนุกูล - [ 15 ธ.ค. 51 15:11:31 ]


ความคิดเห็นที่ 9

พระท่านย้ำอยู่เสมอว่า ทำดีได้ คือได้ความดีแก่ตนเอง

ถ้าอย่างนั้น ทำบุญก็คงได้บุญ เป็นบุญของตนเอง

อย่างนี้น่าจะถูกเป๋งเลยนะครับ.

จากคุณ : เจียวต้าย - [ 15 ธ.ค. 51 19:14:36 ]


ความคิดเห็นที่ 10

ทำดีได้แก่ตนเอง

ทำบุญได้แก่ตน แต่สามารถอุทิศเผื่อผู้อื่นได้

สาธุ

:-)

จากคุณ : สานฝัน ป.อนุกูล - [ 15 ธ.ค. 51 19:25:08 ]


ความคิดเห็นที่ 11

ทำดีนั้น นอกจากตัวเองจะรู้สึกชื่นชมตัวเองไปเนิ่นนานแล้ว
มาตรวัดทางสังคม ก็ยังยอมรับด้วย เพราะ
สังคมก็สบายใจที่มีคนร้ายน้อยลง
แต่เกิดทำไป เขาว่า ไม่ดี ขึ้นมา คนทำก็ทุกข์ใจไปเหมือนกัน


ทำบุญนั้น ที่คุณพืท ยกมาก็ถูกแล้ว อะไร อะไร หากคิดดีไว้ ก็ได้บุญ
ทั้งนั้น ช่วยเขา ฟัง ธรรม พูดธรรม ล้วนแต่เป็นบุญ ยกระดับจิตใจตนให้ชุ่มชื่น
ใจ แต่ใครเขาจะไม่รุ้สึกถึง บุญ ไปกับเราด้วย ก็ไม่เห็นจะสนใจ..เพราะบุญมัน
ไม่อาจวัดกันได้ ที่ ดี หรือ ไม่ดี ในสายตาคนอื่นด้วยเหมือนกัน...

ตัวอย่าง
บริจาคทาน โยนเหรียญสิบไปสักสามเหรียญ คนข้าง เราอาจสะดุ้งแล้ว " ว้า" ให้ว่า
" นี่ จะบ้าเหรอ ให้ขอทานทีละ สามสิบสี่สิบอย่างเนี้ย "

แล้วจะได้บุญมั้ยจ๊ะ คนทำ ?

เขียนเล่น ๆ ละนะ อย่าถือกันเลยค่ะ คุณ เจียวต้าย

จากคุณ : tiki_ทิกิ - [ 15 ธ.ค. 51 23:54:52 ]


ความคิดเห็นที่ 12

เอาของท่าน ว. วชิรเมธีให้อ่านดีกว่าค่ะ

-------------------------------------------------------------------------

ปัจจุบันภาพของการทำดีได้แคบลง
เพราะมัวไปยึดติดกับการทำตามแบบแผน
นึกถึงภาพของพระสงฆ์ ภาพของสังฆทาน-ถังเหลือง
และการทำบุญนั้นก็นึกถึงภาพของการให้ทาน นึกถึงเงิน
เมื่อพูดถึงการทำดี- ทำบุญก็มักจะนึกถึงเรื่องเงิน
คิดว่าเมื่อช่วงไหนที่ไม่มีเงินก็ทำดี หรือทำบุญไม่ได้

“จริง ๆ แล้วการทำดีแบบกว้างขวางตามหลักพระพุทธศาสนานั้น
ทำได้ทั้ง 4 ทางคือ กาย ศีล จิต และปัญญา” ...
พระมหาวุฒิชัยระบุ พร้อมทั้งขยายความว่า...
ทางกาย คือการดูแลกาย ทางด้านกาย หู จมูก ลิ้น ใจ ให้มีสติ
ไม่เป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์
ส่วนศีล คือการตั้งตนอยู่ในระเบียบวินัย
ด้านจิต คือการพัฒนาจิตใจให้สงบ สดชื่น และบริสุทธิ์
ส่วนปัญญานั้น คือการมีความรู้เท่าทันทางโลก ทางธรรม กิเลส และคน

การทำบุญนั้นทำได้หลายทางแบบกว้างขวาง
อาทิ การเป็นผู้ให้ การรักษาศีล การภาวนา เจริญสมาธิ
การอ่อนน้อมถ่อมตน การอุทิศตนเป็นประโยชน์สาธารณะ
การแสดงธรรม การมีความคิดในทางที่ถูกต้อง คือเชื่อในกฎแห่งกรรม
เชื่อในหลักของเหตุ-ผล ฯลฯ
ดังนั้น การทำดีในความหมายจึงมีหรือทำได้อย่างกว้างขวาง
และมิได้จำกัดเพียงแค่ทำกับพระสงฆ์ วัด รวมไปถึงเรื่องของการใช้เงินเท่านั้น

ในโอกาสวันมาฆบูชา ซึ่งพูดแบบอินเทรนด์ก็ว่า
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าปฐมนิเทศพระสงฆ์เป็นครั้งแรก
เป็นวันเกิดของพระธรรม คือ โอวาทปาฏิโมกข์
ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญในทางพระพุทธศาสนา
จึงอยากจะฝากแง่คิดการทำดีไปยังพุทธศาสนิกชนคนไทยรุ่นใหม่
ที่อยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

“คือให้ทุกคนมีวินัยในตัวเอง มีจิตใจที่เปิดกว้าง ไม่เห็นแก่ตัว
มีความซื่อสัตย์ ไม่คอร์รัปชั่น มีจิตสาธารณะ
และใช้ปัญญาในการช่วยเหลือสังคม”

ที่มา : //www.aksorn.com/article/article_detail.php?content_id=361
แก้ไขเมื่อ 16 ธ.ค. 51 01:57:40

จากคุณ : ปิยะรักษ์ - [ 16 ธ.ค. 51 01:57:02 ]



ความคิดเห็นที่ 13

ขอบคุณคุณปิยะรักษ์ สำหรับธรรมะของท่านอาจารย์

ผมชอบทำดีครับ ทำแล้วชื่นใจ ถึงผู้รับจะไม่สนใจก็ไม่เป็นทุกข์

ทำบุญผมก็ชอบที่จะทำ ส่วนทำแล้วจะได้บุญหรือเปล่า
จะได้แค่ไหนก็ไม่ว่า

ท่านพุทธทาสบอกไว้ว่า ข้าวช่วยคนได้ลิ้มให้อิ่มเอง
หมายความว่าถ้าลงได้กินข้าวแล้ว ท้องมันก็ต้องอิ่มไปเอง
ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ก็ตามครับ.

จากคุณ : เจียวต้าย - [ 21 ธ.ค. 51 08:55:08 ]


โดย: เจียวต้าย วันที่: 12 พฤษภาคม 2559 เวลา:13:52:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เจียวต้าย
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




เชิญหารายละเอียดได้ ที่หน้าบ้านชานเรือนครับ
Friends' blogs
[Add เจียวต้าย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.