Group Blog
 
All blogs
 
มาทำความเข้าใจเพิ่มเติม เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะกับปลาครับ

อันนี้ผมนำมาให้อ่านนะครับ

ต้องยกความดี ความชอบให้พี่ต้น แห่งเวป //www.genepoolaquarium.com/

ขอขอบคุณพี่ที่ให้ความรู้ดี ดี เสมอมาครับ

ไปอ่านกันเลย
v
v
v


การดื้อยา นั้น จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีที่เราใช้ยา ที่เป็น ยาประเภท ยาปฏิชีวนะ กับ แบคทีเรียซะส่วนใหญ่ครับ เพราะยาพวกนี้มีกลไกการทำงาน ที่ละเอียดซับซ้อนมาก ความละเอียดซับซ้อนในที่นี้ หมายถึง ลงลึกในระดับโมเลกุล
และในเมื่อมันลงลึกในระดับโมเลกุล การปรับตัวของแบคทีเรีย ในการต้านยาพวกนี้จึงเกิดได้ง่ายมาก เพราะแค่กลายพันธุ์นิดเดียว ก็อาจจะสามารถต้านยาปฏิชีวนะใดๆได้แล้วครับ
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การเกิดการดื้อยา และการกลายพันธุ์ ถึงแม้ว่าจะเกิดขึ้นง่าย แต่คำว่าง่ายและเร็วในที่นี้นั้น ก็กินเวลานานมากๆครับ ไม่ได้เกิด ปุบปับ อย่างที่เข้าใจกันแน่นอน ต้องมีการใช้ยาซ้ำๆซากๆกันเป็นเวลานานพอสมควรครับ ไม่ใช่ครั้งสองครั้ง แน่นอน อย่างน้อยๆก็เป็นปีๆ จึงจะพบเชื้อดื้อยาได้

แต่ในความเป็นจริง ที่คนใช้ยาปฏิชีวนะมักไม่เข้าใจกันก็คือ การใช้ยาปฏิชีวนะกับปลานั้น เราจะเลือกใช้แต่ยาเจนเนอเรชั่นเก่าๆ แก่ๆ ทั้งนั้น ในการเริ่มต้นครับ ไม่ว่าจะเป็น เตทตร้า ออกซี แอมม๊อกซี่ ฯลฯ ที่เรารู้จักกันนี่แหละครับ จริงๆแล้ว มันเป็นยา ที่ผลิตค้นพบขึ้นมา นานมากๆแล้ว นานซะจน ฝุ่นจับแล้วครับ ตอนนี้ มียาใหม่ๆ กว่ายาพวกนี้ เยอะมากๆ เป็นร้อยๆชนิด สาเหตุที่มียาใหม่ๆก็เพราะว่า เชื้อโรค ณ. ปัจจุบันนี้นั้น มีวิวัฒนาการไปไกล และเกิดการดื้อยาพวกนี้มานานมากๆแล้ว เราจึงต้องพัฒนายาหนีมันให้พันไปเรื่อยๆครับ

แล้วทำไม เราจึงต้อง ใช้ยาเก่าๆ ที่ตอนนี้ไม่ทันสมัย เหตุผลง่ายๆ ก็เพราะว่า ในความเป็นจริงนั้น ในธรรมชาติ เราจะพบเชื้อโรคที่ดื้อยาได้น้อยอยู่ครับ บางทีก็น้อยซะจนไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ จึงทำให้ยาเจนเนอเรชั่นเก่าๆพวกนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นบรอดสเปตรัม หรือออกฤทธิ์ได้วงกว้างทั้งแกรมบวกและลบ ยังคงใช้การได้อยู่ครับ
และที่สำคัญ การที่เราเลือกใช้ยาเก่าๆ ก่อน ก็เพราะว่า ถ้าในกรณีเหตุการณ์จริง เกิดเชื้อโรคดื้อยาเก่าขึ้นจริงๆ และถูกคัดกรอง โดยยาเก่าๆเรียบร้อยแล้ว เราก็ยังเหลือยาใหม่อีกมากมายหลายร้อยชนิด คอยจัดการกับมันอยู่ครับ ยังไงมันก็ไม่รอดแน่นอน
ในทางกลับกัน ถ้าเราดันไปใช้ยา ที่ใหม่ที่สุด แล้วเกิดไม่หายขึ้นมา แบบนี้ ก็หลอน ครับ ขนาดให้ยาดีที่สุดแล้ว ใหม่ที่สุดแล้ว มันยังทนได้ แล้วจะหาอะไรมาสู้กับมันอีก คำตอบมีเพียงอย่างเดียว คือ ก็ต้องถอยลงไปใช้ยาเก่าตัวอื่นจนกว่าจะเจอยาที่มันแพ้นั่นแหละครับ

ดังนั้น ถ้าใครได้อ่านถึงตรงนี้ คงจะจับไอเดียได้ว่า การดื้อยานั้น คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และเราในตอนนี้ ใช้ยาเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ?
ไอ้ดื้อน่ะ มันดื้อไปไกลแล้วครับ สำหรับยาโบราณเช่น แอมม๊อกซี่ฯ ดังนั้น ไม่ต้องกลัวว่ามันจะมาดื้อเอาตอนนี้ครับ

ประเด็นจริงๆก็คือ การใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อนั้นเราไม่ค่อยกลัวการดื้อยาเท่าไรครับ เพราะเรามีตัวเลือกอีกเยอะดังที่อธิบายไปแล้ว แต่การทำเช่นนั้น คือการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำครับ สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และที่สำคัญก็คือ มันทำลายระบบกรอง และแบคทีเรียที่มีประโยชน์ซะหมดสิ้น การเลี้ยงปลา ไม่ใช่การดองปลาครับ ไม่มีอะไรตายตัว ไม่มีของวิเศษใดๆวิเศษไปกว่า ความรู้และความเข้าใจในการเลี้ยงอย่างแท้จริง

ส่วนในการใส่ยา หรือดองยาเพื่อป้องกันโรค ตามฟาร์มใหญ่ๆ นั้น เค้าจะใช้สารเคมี ที่มีฤทธิวงกว้าง ที่ไม่ใช่สารปฏิชีวนะครับ จึงไม่เกิดการดื้อยา เมื่อใช้ซ้ำๆซากๆกันเป็นระยะเวลานานๆ เปรียบเสมือนเรา เอาแอลกอฮอลฆ่าเชื้อโรคบนแผล นั่นแหละครับ ทำไมไม่เห็นมีใครบอกเลยว่า ใชแอลกอฮอลฆ่าเชื้อ มาตั้งแต่โบร่ำโบราณแล้วไม่ยอมเปลี่ยน เชื้อโรคมันจะดื้อยา จริงป่าวครับ

อ้อ ลืมบอกไปว่า
ยาปฏิชีวนะตัวใหม่ๆ ที่ใชกับปลาได้ผลตอนนี้
เอาที่ใหม่ล่าสุด คือ เซปฟาโลสปอริน เจนเนอเรชั่นทรี
และ มาโบฟอกซาซิน ครับ



Create Date : 30 ตุลาคม 2551
Last Update : 30 ตุลาคม 2551 11:56:24 น. 0 comments
Counter : 740 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลายเส้นหลังเขา
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




กี่โมงกันแล้วหน๋อ..... หลงเข้ามาแล้วอยู่นานๆ หน่อยนะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add ลายเส้นหลังเขา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.