Group Blog
 
All Blogs
 
มองมุมใหม่ : แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต้นเหตุวิกฤตอาร์เจนตินาจริงหรือ?


รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในการเคลื่อนไหวคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ และนักฉวย
โอกาสทางการเมืองของไทยชูกรณีวิกฤตอาร์เจนตินาปี 2544 เป็นตัวอย่างว่า เกิดจาก
นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลอาร์เจนตินา นำมาซึ่งการล่มสลายทางเศรษฐกิจ
อย่างทั่วด้าน ข่มขู่ให้คนไทยหวาดกลัวว่า หากประเทศไทยเดินตามแนวทางแปรรูปรัฐ
วิสาหกิจ ก็จะต้องมีชะตากรรมเช่นเดียวกับอาร์เจนตินา แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการบิดเบือน
ความจริง เพื่อปลุกปั่นความกลัวในหมู่ประชาชนอันเป็นวิธีที่พวกเขาถนัดอย่างยิ่ง

อาร์เจนตินาเคยเป็นประเทศร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ด้วย
เศรษฐกิจส่งออกสินค้าเกษตรไปป้อนตลาดยุโรปและสหรัฐอเมริกา แต่จุดหักมุมเกิดขึ้นใน
ช่วงปี 2489-2495 เมื่อผู้นำเผด็จการฮวน เปรอง ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ปลุกอารมณ์ชาตินิยม
ต่อต้านสหรัฐอเมริกา และทุนต่างชาติ ทั้งดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่กลายเป็นมรดกอัน
เลวร้ายมาถึงปัจจุบันคือ การแพร่ขยายรัฐวิสาหกิจและนโยบายประชานิยม

รัฐบาลเปรอง เข้ายึดทรัพย์ธุรกิจของต่างชาติ แปรเป็นรัฐวิสาหกิจ แล้วปกป้องคุ้มครองด้วย
การขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าสูงลิบ กีดกันการค้าต่างประเทศ ห้ามการแข่งขันทั้งใน และต่าง
ประเทศ รวมทั้งดำเนินนโยบาย "ประชานิยม" แจกจ่ายเม็ดเงิน และผลประโยชน์ให้กับกลุ่ม
พลังต่างๆ ทั้งสหภาพแรงงาน เกษตรกร กลุ่มธุรกิจ และทหาร

เศรษฐกิจอาร์เจนตินาเกิดวิกฤตชะงักงัน เงินเฟ้อพุ่งเพราะรัฐบาลใช้จ่ายเงินมหาศาลเพื่อ
อุ้มรัฐวิสาหกิจ และนโยบายประชานิยม กระทั่งเปรองถูกคณะทหารยึดอำนาจในปี 2498
แต่อนิจจา ระบอบรัฐวิสาหกิจและประชานิยมกลับยืนยงต่อมา

การเมืองอาร์เจนตินาผ่านการเมืองแบบเลือกตั้งสลับกับเผด็จการทหารขณะที่เศรษฐกิจ
เผชิญเงินเฟ้อพุ่งสลับกับภาวะตกต่ำตลอดสี่สิบปี รัฐบาลทุกยุคสมัยต้องพิมพ์ธนบัตรและ
กู้หนี้ต่างประเทศเพื่ออุ้มรัฐวิสาหกิจทั้งระบบที่ขาดทุนอย่างหนัก และใช้จ่ายในโครงการ
ประชานิยมต่างๆ ทำให้เงินเฟ้อพุ่งไม่หยุด บางครั้งสูงถึง 4,000% ต่อปี กระทั่งปี 2525-
2526 อำนาจคณะทหารก็ล่มสลายจากการพ่ายแพ้ในสงครามหมู่เกาะโฟล์คแลนด์
มีการฟื้นประชาธิปไตย และประธานาธิบดีพลเรือนจากการเลือกตั้ง

ถึงปี 2534 เศรษฐกิจอาร์เจนตินาถึงวิกฤติสุดขีด เงินเฟ้อสูงถึง 20,000% ต่อปี หนี้ต่าง
ประเทศที่เกิดจากการอุ้มรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนมีสูงถึง 64,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ
38.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเกือบ
เป็นศูนย์ รัฐบาลจำต้องปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความอยู่รอด เริ่มจากการลดอัตราภาษีศุลกากร
ลดการคุ้มครองธุรกิจในประเทศ ให้สินค้านำเข้ามาแข่งขันได้ และแก้ไขกฎระเบียบส่งเสริม
การส่งออก

รัฐบาลยังประกาศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ผูกติดปริมาณเงินเปโซไว้กับเงินดอลลาร์
สหรัฐที่ไหลเข้าออกประเทศ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้จ่ายได้ตามใจ
ชอบอีกต่อไป

ระบบรัฐวิสาหกิจหยั่งรากลึกในเศรษฐกิจอาร์เจนตินา มีกิจการทุกประเภท ตั้งแต่สาธาร-
-ณูปโภค เชื้อเพลิง ขนส่ง ไปถึงห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ บาร์ ไนท์คลับ คณะ
ละครสัตว์ และโบสถ์คริสต์ เกือบทั้งหมดขาดทุนอย่างหนัก เป็นภาระที่รัฐบาลต้องหาเงิน
มาหล่อเลี้ยงจำนวนมหาศาลทุกปี และเป็นรากเหง้าของปัญหาเงินเฟ้อ รัฐบาลจึงเร่งแปรรูป
รัฐวิสาหกิจ มีทั้งยุบเลิกและแปลงสภาพเป็นบริษัทขายให้เอกชนไปดำเนินการ แล้วนำเงิน
ไปใช้หนี้ต่างประเทศ

ผลก็คือ เงินเฟ้อลดต่ำกว่า 10% ขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัวเติบโตในอัตรา 7.9% ต่อปีในช่วง
2536-37 แต่ปัญหาใหญ่กลับยังไม่ได้รับการแก้ไขคือ หนี้ต่างประเทศลดลงไม่มาก รวมทั้ง
การใช้จ่ายเกินตัวทั้งของรัฐบาลกลางและท้องถิ่น

เมื่อเกิดวิกฤตเม็กซิโกปี 2537-2538 เจ้าหนี้ต่างชาติแตกตื่น เงินทุนไหลออก เศรษฐกิจ
ถดถอย คนว่างงานพุ่ง ตั้งแต่ปี 2539 รัฐบาลกลับมาใช้จ่ายเกินตัวอีก แต่ไม่สามารถพิมพ์
ธนบัตรได้ จึงหันไปกู้หนี้ด้วยการออกพันธบัตรขายในประเทศ และต่างประเทศเพื่อนำเงิน
มาใช้จ่าย งบประมาณรายจ่ายเพิ่มไปถึง 21% ของจีดีพีขณะที่หนี้ต่างประเทศพุ่งขึ้นเป็น
172,200 ล้านดอลลาร์หรือ 64.1% ของจีดีพีในปี 2544

แล้ววันแห่งชะตากรรมก็มาถึงในปี 2542 เมื่อเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ทำให้เงินเปโซแข็งตาม
ไปด้วย ซ้ำเติมด้วยบราซิลประเทศคู่ค้ารายใหญ่ประกาศลดค่าเงินเรียลถึง 40% ทำให้การ
ส่งออกของอาร์เจนตินาตกต่ำ การนำเข้าพุ่ง ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เศรษฐกิจถดถอยต่อ
เนื่องหลายปี ผู้คนตกงานถึง 21% ท้ายสุดปี 2544 รัฐบาลไม่สามารถลดการใช้จ่ายได้ตาม
แผน เจ้าหนี้ต่างชาติแตกตื่นปฏิเสธให้เงินกู้เพิ่ม รายจ่ายรัฐบาลสะดุด ค่าเงินเปโซในตลาด
มืดตกฮวบ ผู้คนแห่กันไปถอนเงินดอลลาร์จากธนาคาร เกิดจลาจลทั่วประเทศ ธุรกิจชะงัก
และรัฐบาลประกาศพักชำระหนี้ ตามมาด้วยการลอยค่าเงินเปโซในปี 2546 และการตัดลด
งบประมาณรายจ่ายของรัฐจำนวนมหาศาล เศรษฐกิจจึงค่อยๆ ฟื้นและขยายตัวดีในอัตรา
เฉลี่ย 8% ช่วง 2546-2548

เห็นได้ว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจไม่ใช่สาเหตุให้เศรษฐกิจอาร์เจนตินาล่มสลายดังที่กลุ่ม
ต่อต้านโลกาภิวัตน์และนักฉวยโอกาสทางการเมืองได้บิดเบือนมาตลอด แต่เป็นตรงข้ามคือ
ระบบรัฐวิสาหกิจที่ทุจริต ไร้ประสิทธิภาพ และขาดทุนต่างหากที่เป็นรากเหง้าของปัญหา
ทั้งหมด ก่อเป็นหนี้สินของรัฐบาลสั่งสมมาหลายสิบปีเป็นจำนวนนับแสนล้านดอลลาร์ถึง
ปัจจุบัน

ซ้ำเติมด้วยการขาดวินัยทางการคลังของรัฐบาลกลางและท้องถิ่นที่ใช้จ่ายโดยไม่สัมพันธ์กับ
การจัดเก็บภาษี แล้วหาทางออกง่ายๆ ด้วยการกู้หนี้สาธารณะเพิ่ม

บทเรียนสำคัญจากอาร์เจนตินาคือ "ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ" กำกับดูแลไม่ให้มีการผูกขาด
ส่งเสริมการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพ ยกภาระหนี้สินและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจออกไป
จากการค้ำประกันและงบประมาณของรัฐบาล ในขณะที่รัฐบาลก็ต้องรักษาวินัยทางการคลัง
อย่างเข้มงวด ใช้จ่ายให้สัมพันธ์กับรายรับภาษี และระวังให้หนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำและ
มีเสถียรภาพ


Create Date : 13 กันยายน 2549
Last Update : 19 กันยายน 2549 11:30:53 น. 4 comments
Counter : 836 Pageviews.

 
เข้ามาทักทาย กับ บทความดีๆ หามาลงเยอะๆนะครับ


โดย: bob_bob (bob_bob ) วันที่: 14 กันยายน 2549 เวลา:11:23:34 น.  

 
ยินดีต้อนรับครับ


โดย: my-op (my-op ) วันที่: 14 กันยายน 2549 เวลา:14:50:16 น.  

 
แวะมาเยี่ยมครับ และก็จะแวะมาอ่านบ่อยๆนะครับ


โดย: คนผ่านทาง (คนผ่านทางV.mem ) วันที่: 16 กันยายน 2549 เวลา:0:27:57 น.  

 

...ป๋มพาพี่สาวคนสวยมาแนะนำตัวฮ้าบ...

...ซาหวัดดีค่ะ หนูชื่อ"น้องมีโอ"ค่ะ...

...พี่สบายดีไหมคะ ทานข้าวยังคะเอ!,มื้อไหนเนียะมาทานฟิกกี้กะน้องมั้ยคะ...

...ดูแลสุขภาพด้วยนะคับ ฝนฟ้าตกอย่างงี้...

...แล้วมาชวนไปเที่ยวบ้านหนูด้วยอะคะ อย่าลืมน้าาา...

...พี่คับม่ามี้เค้าให้พี่ขวัญก๊อบปี้ไว้อ่านเลยละคับ เพราะม่ามี้เค้าฟามจำสั้นคับ...



โดย: "ดำเกิง"ของป้าหู้ฮับ (fifty-four ) วันที่: 18 กันยายน 2549 เวลา:23:58:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

my-op
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add my-op's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.