|
||||
ถ้าไม่เชื่อว่าทำได้ คนจะไม่เริ่มทำ
วันนี้ผมได้เจอรุ่นน้องแถวบ้านคนหนึ่งโดยบังเอิญ พอน้องท่านนี้นึกขึ้นได้ว่าผมเป็น HR จึงเข้ามาคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานกับผม แต่ที่ผมแปลกใจเหลือเกินคือตลอดระยะเวลาที่คุยกันผมรู้สึกว่าเขาพูดถึงแต่เรื่องความขาดอยู่เสมอ ประเด็นคือน้องเขาจบด้านบัญชีมาจากมหาวิทยาลัยที่ไม่ดังแห่งหนึ่ง ปัจจุบันทำงานด้านการบัญชีเบื้องต้น แต่ดันอยากทำงานด้านการตลาด น้องเขาบอกว่าจบไม่ตรงบ้าง ไม่มีประสบการณ์บ้าง อะไรอีกไม่รู้เยอะไปหมดที่สรุปว่าเขาจะหางานด้านการตลาดทำไม่ได้ ผมฟังดูแล้วผมรู้สึกว่ามันไม่เป็นเหตุเป็นผลเอาเสียเลย น้องเขาพูดแต่ข้อจำกัดที่มันไม่จริงทั้งนั้นเลย จริงๆสิ่งที่เขาพูดมามีข้อดีอยู่อย่างหนึ่งคือ เขารู้ว่าเขาอยากทำอะไร ซึ่งจริงๆข้อนี้หลายคนยังหาไม่เจอเลย ผมจึงแนะนำเขาไปว่าไอ้เรื่องความขาดที่เขาพูดถึงจริงๆมันเรื่องเล็กมากนะ จบไม่ตรงไม่มีประสบการณ์แล้วยังไงวะ สมัยนี้ความรู้ต่างๆทั้งฟรีและไม่ฟรีมีอยู่เต็มไปหมดหาทางเอาดิ อย่าใช้ความขาดเป็นข้ออ้างในการไม่ทำอะไร แต่ขาดอะไรนั้นไม่แย่เท่ากับไม่เชื่อว่าตัวเองจะทำได้ ผมอยากบอกว่าแค่คนอื่นๆแม่งบอกว่าเราอะไรได้ไม่ได้นี่มันก็เยอะมากพอแล้ว ถ้าตัวเราเองยังไม่เชื่ออีกแล้วมันยังเหลืออะไรให้เราพอเป็นหลักในการไปต่อบ้าง ผมว่าปัญหานี้คนส่วนมากเป็นกันเยอะ คือเชื่อแม่งทุกอย่างยกเว้นตัวเอง ผมบอกน้องเขาไปว่าอย่างแรกเชื่อก่อนเลยว่าเป็นไปได้ ถ้าไม่เชื่อเราจะไม่เริ่มทำอะไรก็ตามเพื่อจะให้ได้สิ่งที่ต้องการมา และนี่คือขั้นตอนง่ายๆในการจะไปสมัครงานที่ไหนก็ได้ในโลก 1. ดูว่างานนั้นต้องการคนที่มีคุณสมบัติแบบไหน (job specification) อันนี้สามารถหาดูได้ในประกาศรับสมัครงานของทุกงานที่สนใจได้เลย 2. ประเมินว่าคุณสมบัติของตำแหน่งงานนั้นๆที่อยากทำ กับความสามารถที่เรามีมันต่างกันตรงไหนและเรายังขาดอะไรบ้าง ในวงการ HR เรียกว่า Competency Gap 3. จากนั้นก็ไปพัฒนาทักษะและความรู้นั้นมาจนในระดับที่คิดว่าเราพร้อมกับการจะรับงานมาทำ 4. ไปสมัครงาน อันนี้สำคัญมากหลายๆคนเตรียมตัวมาดีแล้ว แต่พอสมัครงานที่แรกไม่ได้เลิกเลย จริงๆผมอยากบอกว่าการที่เราไม่ได้งานไม่ได้หมายความว่าเราไม่ดีหรือขาดอะไร มันเป็นเรื่องแค่ความต้องการขององค์กรกับของคุณไม่ตรงกันเท่านั้นเอง ดังนั้นอย่าเลิกให้มันง่ายไปนัก ผมให้แนวทางสำหรับคนที่คิดว่าตัวเองขาดไปแล้วนะครับ แต่อยากย้ำอีกครั้งว่าการที่คุณจะคว้าอะไรในชีวิตไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่แค่ไหน มันสำเร็จได้หรือไม่ได้ตั้งแต่ความเชื่อแล้ว คุณจะไม่มีทางได้อะไรที่คุณไม่เชื่อว่าควรได้แน่นอน จำไว้ว่าอะไรที่คุณคิดได้มันเป็นไปได้ ของทุกอย่างในโลกมันเกิดขึ้น 2 ครั้งเสมอในความคิดคุณและในความเป็นจริง อย่างน้อยถ้ามันเกิดในความคิดคุณแล้วก็ต้องเป็นจริงได้ ขอให้กำลังใจทุกคนครับ ยิ่งทำงานหนัก โชคก็จะยิ่งวิ่งเข้าหา
THE HARDER I WORK, THE LUCKIER I GET. SAMUEL GOLDWYN ผมเคยได้ยินคนพูดเสมอๆนะครับว่า โชคไม่ดีเลย,ทำไมถึงเป็นแบบนี้ หรือ ฟ้าไม่เป็นใจเลยที่งานออกมาเป็นแบบนี้ หลากหลายคำพูดที่ถูกยกขึ้นมาเพื้อเป็นข้ออ้างให้กับความล้มเหลวในงานที่หลายๆคนทำ ถามว่าเรื่องโชคชะตานั้นมีจริงไหม ผมยอมรับนะครับว่ามันมีจริงๆ เพราะทุกสิ่งที่เราทำมันต้องมีบางอย่างบ้างล่ะครับที่เราควบคุมมันไม่ได้ ซึ่งมันมักจะถูกแทนที่ด้วยคำว่าโชค แต่จะเชื่อไหมครับว่าคนที่ประสบความสำเร็จและคนที่ล้มเหลวนั้นเชื่อเรื่องโชคเหมือนกัน แต่มองแตกต่างกันคนละมุมเท่านั้นเอง คนที่ประสบความสำเร็จจะมองเรื่องโชคเป็นส่วนเติมเต็มของการทำงานหนักของพวกเขา ยิ่งทำงานหนักเท่าไร โชคก็จะวิ่งเข้าหามากขึ้นเท่านั้น ทำให้คนเหล่านี้ทำงานเหมือนมีพลังหนุนอยู่ตลอดเวลา และในทางกลับกันคนที่มองเรื่องโชคเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เป็นเรื่องที่ได้มาโดยบังเอิญทั้งที่ไม่ต้องทำอะไร คนพวกนี้ก็คงต้องรอไปตลอดแม้กระทั่งความสำเร็จ ลองถามตัวเองดูนะครับ พวกคุณมองเรื่องโชคในลักษณะไหน ถ้ายังไม่แน่ใจก็ลองทำงานให้หนักขึ้นดูครับ โชคก็จะเข้าข้างคุณมากขึ้นเอง ผมขอยืนยัน ราคาเรา เท่าไรดี
ผมเคยได้ยินคนพูดกันเสมอๆว่าช่วงนี้ของแพง ทำไมของแพงจังวะ? แต่ในความเป็นจริง มันไม่ใช่ช่วงไหนทั้งนั้นหรอกครับ ของมันแพงขึ้นตลอดแหล่ะครับ และมันก็เป็นแบบนี้ของมันมานานแล้วด้วย ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำไม่ใช่คือการบ่นว่าของแพง แต่เป็นการเพิ่มมูลค่าตัวเราให้มากขึ้นแข่งกับราคาของนั่นเอง ถ้าเราพัฒนาตัวเองเสมอ ต่อให้ของมันจะแพง ผมว่าเราก็ยังซื้อมันได้อยู่ดี ถ้าคิดได้อย่างนี้ เราคงต้องมาถามตัวเราแล้วล่ะครับว่า ตัวเราราคาเท่าไรกันแน่ ยังไงยังมีช่วงโปรอยู่
ตลอดชีวิตการทำอาชีพฝ่ายบุคคลของผม สิ่งที่ผมให้ความสำคัญที่สุดคือ การสรรหาและคัดเลือกพนักงาน เพราะมันคือจุดเริ่มของหลายๆอย่างในการพัฒนาบุคลากร และนั่นทำให้ตลอดชีวิตการทำงานของผมไม่เคยให้พนักงานคนไหนไม่ผ่านโปร(ทดลองงาน) ผมถือว่านี่คือสถิติที่ต้องรักษาต่อไปให้ได้ แต่ในทางกลับกันกลับมีคนที่ไม่ใส่ใจในการเลือกคนที่มากพอ โดยพูดว่าไม่เป็นไรยังมีช่วงโปรอยู่ ผมเคยมีน้องในแผนกมีความคิดแบบนี้เช่นกัน ผมจึงบอกเขาไปตรงๆว่าในการทำงานกับผมนั้น ผมไม่ยอมรับความคิดนี้เด็ดขาด เราต้องเลือกคนที่มีโอกาสพัฒนาได้ในอนาคต การเลือกคนเพียงคิดว่าเอามาลองทำดูสำหรับผมแล้วถือเป็นเรื่องใช้ไม่ได้ เพราะมันจะนำมาซึ่งผลเสียดังนี้ 1. เสียต้นทุนในการพัฒนาทั้งเวลาและงบประมาณ 2. เสียความเป็นทีมในหน่วยงานที่ได้คนไป 3. เสียความรู้สึก (อันนี้เสียหายมากสุด) ของทั้ง HR หัวหน้างาน และ หน่วยงานต้นสังกัด เลือกคนที่ใช่ แม้ต้องใช้เวลาจะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ ทิศทางที่ชัดเจน
จากประสบการณ์ที่ผมได้สัมผัสกับคนทำงานตั้งแต่ระดับการสัมภาษณ์คนเข้างานจนถึงระดับพัฒนาบุคลากร สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นได้ชัดเจนและผมคิดว่ามันเป็นตัวชี้วัดว่าพนักงานคนนั้นเป็นดาวเด่นหรือพนักงานธรรมดานั้น จริงๆแล้วมันต่างกันเพียงวิธีคิดนิดเดียวแต่ผลลัพธ์นั้นต่างกันมหาศาลนั่นคือ ทิศทางของการคิดและเป้าหมายที่ชัดเจน คนบางคนทำงานมาเป็นเวลานานแต่ยังตอบโจทย์ด้านสายอาชีพของตัวเองไม่ได้ แต่บางคนกลับรู้จักและเข้าใจมันเป็นอย่างดีจนต่อยอดเป็นความสำเร็จในสายอาชีพของตนเองได้ คน 2 แบบนี้ต่างกันแค่วิธีคิดครับ คนที่มีทิศทางความต้องการและเป้าหมายที่ชัดเจน เขาย่อมรู้ว่าต้องการอะไรและเขาจะตอบสนองความต้องการของตัวเองได้อย่างไร กับอีกคนที่ทำงานไปตามจังหวะของชีวิต ชอบถามคำถามปลายเปิดที่หาคำตอบไม่ได้ งานมีก็ทำ ไม่มีก็พัก การพัฒนาตัวเองจึงน้อยตามไปด้วย เพราะความไม่ชัดเจนในทางเลือกของตัวเอง ดังนั้นความสำเร็จของคนทำงานมันจึงชี้ชัดตั้งแต่วิธีคิดแล้ว ถ้าคุณยังไม่มีเป้าหมายหรือภาพของตัวเองในจินตนาการ ก็ถามตัวเองดูครับ ว่าตัวเองต้องการเป็นอะไร จากนั้นพัฒนาตัวเองเป็นมืออาชีพในด้านนั้น ไม่ใช่แค่มีอาชีพนะครับแต่ต้องเป็นมืออาชีพ และเมื่อเป็นเช่นนั้นอย่างน้อยที่สุดคุณจะเลือกสิ่งที่คุณอยากเป็นได้เองครับ
|
Peach Silencer
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Group Blog
All Blog Friends Blog |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |