SuperPimper - Text Generators SuperPimper - Text Generators
glitter-graphics.com
Group Blog
 
All blogs
 

บ่อกรอง

ระบบการกรองน้ำของบ่อเลี้ยงปลานี้ดัดแปลงมาจากระบบการกรองน้ำของญี่ปุ่น เป็นการกรองด้วยกรรมวิธีทางเคมีซึ่งจะดูดน้ำให้ไหลวนผ่านแผ่นใยกรองและปะการังหรืออาจจะมีถ่านเพื่อดับกลิ่นอีกชั้นก็ได้ เมื่อใช้บ่อไปได้ระยะหนึ่งก็ต้องคอยสังเกตุในบ่อปลาและบ่อกรอง ถ้าสกปรกมากจึงทำการล้างบ่อกรองเสียครั้งหนึ่ง แล้วจับเวลาดูก็จะทราบได้ว่าจะต้องล้างบ่อกรองทุกๆ 2-3 หรือ 4 เดือน เพราะทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของปลาที่เลี้ยงด้วย
ลักษณะของบ่อกรองจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดกว้างยาวหรือพื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของบ่อที่เลี้ยงปลา ส่วนความลึกของบ่อกรองนั้นจะต้องมีขนาดเท่ากับบ่อเลี้ยงปลาหรือลึกกว่านิดหน่อย จึงจะทำความสะอาดได้ดี
วัสดุที่เป็นสารที่ใช้ในการกรองนั้น เราอาจใช้อิฐหัก หินผุ กรวด ทราย ปะการัง และถ่าน ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่ายในบ้านเราและมีประสิทธิภาพต่อการกรองสูง ราคาก็ถูก แต่ถ้าใช้หินกรองชนิดหนึ่งชื่อ Zeolite ซึ่งเป็นหินผุชนิดที่มีคุณภาพดูดซึมแอมโมเนียได้ดีกว่าสารกรองชนิดอื่นๆ แต่ราคาสูงกว่าวัสดุที่กล่าวมาก ถ้าบ่อเลี้ยงมีระบบการกรองที่ดี ปลาจะแข็งแรง โตเร็ว สีสวย และไม่ต้องเปลี่ยนน้ำเป็นระยะเวลาหลายปีก็ได้
ตำแหน่งที่ควรวางบ่อกรองนั้นควรจะอยู่ใกล้ฐานหัวน้ำตกและหลบมุมให้ดี ถ้ามีพื้นที่จำกัดอาจจะดัดแปลงเป็นศาลานั่งพักบนบ่อกรองได้ ฝาของบ่อกรองมักจะเป็นตะแกรงไม้โดยใช้ไม้ระแนงเป็นแท่งๆแล้วตีบ่าตรงหัวและท้ายระแนงทุกอัน โดยให้บ่ากว้าง 1 นิ้ว เมื่อจะใช้งานก็จะวางไม้เหล่านี้บนบ่อกรอง เรียงเป็นแถวไปซึ่งสะดวกในการใช้มาก



บ่อกรอง
ภายในบ่อกรองจะแบ่งเป็น 4 ห้องโดยมีความลึกเท่ากับบ่อเลี้ยงปลาหรือลึกกว่านิดหน่อย ส่วนขอบของบ่อกรองจะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเช่นกัน (ดูภาพประกอบ)
ห้องที่ 1 ปั๊มน้ำจะดูดน้ำจากบ่อเลี้ยงปลาเข้าหาบ่อกรอง ห้องนี้จะไม่มีอะไรนอกจากที่โล่งสำหรับพักน้ำที่ถูกดูดมาจากบ่อใหญ่ แต่จะมีขอบบ่อแบ่งช่องเพื่อกั้นระหว่างห้องที่ 1 และห้องที่ 2 โดยเป็นผนังอิฐก่อ สูงจากพื้นก้นบ่อกรองขึ้นมาเหลืออีก 40 ซม.ก็จะถึงปากขอบบ่อ
ห้องที่ 2 น้ำจะถูกดูดจากห้องที่ 1 ไหลวนข้ามกำแพงตกลงมายังช่องที่ 2 ระหว่างช่องที่ 2 และช่องที่ 3 จะมีขอบคอนกรีตซึ่งลอยสูงจากพื้นบ่อประมาณ 20 ซม. แต่ผนังคอนกรีตนี้ช่วงบนจะเสมอกับขอบบ่อกรองพอดี
ห้องที่ 3 น้ำจะถูกดูดจากห้องที่ 2 ไหลมายังห้องที่ 3 โดยจะไหลลอดผ่านไม้รวกกลมเป็นท่อนที่วางไว้บนบ่าคอนกรีตข้างบ่อ และผ่านใยกรอง ปะการังหยาบ, ปะการังละเอียด ซึ่งวางซ้อนอยู่บนไม้รวกนั้น




น้ำที่ไหลผ่านแผ่นใยกรองและปะการังนี้จะถูกดูดให้ผ่านห้องที่ 3 ขึ้นไปยังห้องที่ 4 ส่วนห้องที่ 3 นั้นที่ก้นบ่อจะเป็นที่เก็บเศษอาหารและขี้ปลา บางส่วนก็จะไปติดอยู่ตามซอกของปะการัง เมื่อนานวันเข้าก็ต้องล้างบ่อกรองครั้งหนึ่ง ปะการังที่ใช้นั้นจะหนาประมาณ 30 ซม. ถ้ามีปะการังสองชนิด ควรเอาตะแกรงลวดวางคั่นระหว่างชั้นเสียก่อนเมื่อเวลาทำความสะอาดจะได้แยกมาล้างได้ง่ายไม่ปนกัน ถ้าหากมีพื้นที่กว้างพอในการทำบ่อกรอง อาจจะทำบ่อกรองห้องที่ 3 สองครั้งก็ได้เพื่อให้การกรองมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ห้องที่ 4 น้ำจะไหลผ่านห้องที่ 3 ข้ามกำแพงมายังห้องที่ 4 ซึ่งเป็นที่เก็บปั๊มเอาไว้เพื่อดูดน้ำไหลเวียนผ่านน้ำตกและบ่อเลี้ยงมายังบ่อกรองนั่นเอง



การทำความสะอาดบ่อ
เมื่อสร้างบ่อเสร็จแล้ว และปล่อยให้ปูนแห้ง 1 วัน ให้ใช้น้ำส้มสายชูทาผนังและพื้นภายในให้ทั่ว 1 ครั้งปล่อยทิ้งไว้ 10 นาที ให้ทำซ้ำอีกครั้ง จากนั้นให้ทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมงจึงปล่อยน้ำสะอาดลงไปให้เต็มบ่อ แช่ทิ้งไว้ 3 วันจึงปล่อยน้ำทิ้งหมด ทำเช่นนี้ 2 ครั้ง ส่วนครั้งที่ 3 ใส่น้ำสะอาดลงไปแช่ทิ้งไว้ 3 วันเช่นกัน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไปก่อนจึงปล่อยปลาลงบ่อได้ หรือหากจะสูบน้ำผ่านบ่อกรองเปล่าๆก่อนอีก 1 วันก็จะยิ่งเป็นการดีต่อสุขภาพปลา
ภายในระยะ 2-3 สัปดาห์น้ำจะใส ถ้าบ่อเลี้ยงปลาและน้ำตกได้รับแสงประมาณ 30%
เมื่อน้ำในบ่อใสแล้วจะมีตะไคร่น้ำเขียวๆขึ้นที่พื้นบ่อ นานเข้าจะเป็นสีเขียวเข้มเกือบจะดำยิ่งทำให้มองเห็นปลาได้ชัดขึ้น ไม่ควรที่จะไปขัดตะไคร่ที่จับก้นบ่อออกเพราะตะไคร่พวกนี้จะทำหน้าที่ดูดแอมโมเนียและสิ่งสกปรกและเมือกปลาไว้ด้วย ทำให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น
อุปกรณ์สำหรับบ่อเลี้ยงปลา เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องทำออกซิเจน ควรติดตั้งให้เสร็จเรียบร้อยเพื่อที่จะเปิดใช้ได้ทันทีเมื่อบ่อเสร็จแล้ว

หมายเหตุ:จากหนังสือเทคนิคการทำน้ำตกและลำธาร




 

Create Date : 31 ธันวาคม 2547    
Last Update : 31 ธันวาคม 2547 11:17:49 น.
Counter : 5379 Pageviews.  


Patunga
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




น้าทู...เป็นวิศวกรโยธา ม.เกษตรศาสตร์ เข้าทำงานกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างเอกชนตั้งแต่จบใหม่ๆจนถึงปัจจุบัน งานที่รับผิดชอบเป็นงานภาคสนามจึงได้เร่ร่อนไปที่ต่างๆตามแต่หน้างานจะขึ้นที่ไหน หน้าที่ก็เป็นตั้งแต่วิศวกรสนาม นายช่างโครงการ จนถึงผู้จัดการโครงการในปัจจุบัน ผลงานก่อสร้างเด่นๆ ได้แก่
อุโมงค์ส่งน้ำประปา ประดิพัทธ์-สะพานควาย
ท่อส่งน้ำมันบางจาก-บางปะอิน
โครงการเสริมเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
ท่อส่งน้ำดิบดอกกราย-มาบตาพุด
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 2
ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง phase2 ระยะที่ 1
สถานีสูบจ่ายน้ำประปา สนามบินสุวรรณภูมิ
โรงบำบัดน้ำเสีย สนามบินสุวรรณภูมิ
เหมืองทองคำและทองแดงที่ สปป.ลาว

glitter-graphics.com
Myspace Layouts


glitter-graphics.com
glitter-graphics.com
Friends' blogs
[Add Patunga's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.