Group Blog
 
All Blogs
 
Phalaenopsis cornu-cervi เขียนอย่างไร



Phalaenopsis cornu-cervi เขียนอย่างไร


เนื่องจาก P. cornu-cervi (Breda) Bl. & Rchb. f. (1860) ส่วนชื่อชนิด epitet นี้มีการใช้สับสนอยู่มาก ว่ามีหรือไม่มี – (hyphen)

เมื่อปี ค.ศ. 1827 Breda ได้ บรรยายไม้ชนิดใหม่จาก เกาะชวา อินโดนีเซีย ในสกุล Polychilos ให้ชื่อว่า Polychilos cornu-cervi Breda (1827) ต่อมาในปี ค.ศ. 1860 Blume และ Reichenbach ผู้ลูก ได้ย้ายสกุล ไม้ชนิดนี้ไปอยู่ สกุล Phalaenopsis โดยยังคง –ไว้ดังเดิม หนังสือเกี่ยวกับกล้วยไม้ภาษาอังกฤษทั่วไปรวมทั้ง (IPNI) The International Plant Name Index ก็ยังคงมี – อยู่ แต่เหตุใดเล่าหนังสือกล้วยไม้ในเมืองไทยหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นของ อ.อบฉันท์ ไทยทอง อ.นันทิยา และ คุณสลิล เครื่องหมายขีดจึงได้หายไปได้ จากการสืบค้น การอ้างอิงของผู้แต่งหนังสือในเมืองไทยนั้น ทุกท่านล้วนอ้างอิง ท่านเอกอัครราชทูตเดนมาร์คประจำประเทศไทย นักพฤกษศาสตร์วงศ์กล้วยไม้ ที่ได้เขียนหนังสือชุด orchid genera of Thailand ถึง 14 เล่ม และ contributions to the orchid flora of Thailand ถึง 13 เล่มด้วยกัน นับว่าเป็น Flora ที่สมบูรณ์ด้วยภาพประกอบทางพฤกษศาสตร์ที่สวยงามมากครับและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ในหนังสือชุดนี้นั้น ได้ใช้ P. cornucervi ซึ่งไม่มี – จึงน่าจะเป็นแหล่งต้นกำเนิดของการไม่ใช้ – ในเมืองไทย


แล้วตกลงที่ถูกต้องแล้ว ชื่อนี้ต้องใส่ – หรือเปล่า เราจะหาคำตอบได้ก็ต้องไปดูหลัก ICBN ซึ่งเป็นกฎสากลการตั้งชื่อพฤกษศาสตร์ โดยดูที่ article 23.1 และ 60.9

23.1. The name of a species is a binary combination consisting of the name of the genus followed by a single specific epithet in the form of an adjective, a noun in the genitive, or a word in apposition, or several words, but not a phrase name of one or more descriptive nouns and associated adjectives in the ablative (see Art. 23.6(a)), nor certain other irregularly formed designations (see Art. 23.6(c)). If an epithet consists of two or more words, these are to be united or hyphenated. An epithet not so joined when originally published is not to be rejected but, when used, is to be united or hyphenated, as specified in Art. 60.9.

แปลได้คร่าวๆว่า
ชื่อชนิดแบ่งเป็นสองส่วนโดยจะขึ้นต้นด้วยชื่อสกุล แล้วตามด้วยส่วนชื่อชนิด (specific epithet) ซึ่งอาจจะเป็นคำคำเดียว โดยที่อาจจะอยู่ในรูปของคำคุณศัพท์ หรือเป็นคำนามในรูปการกเจ้าของ (Genitive case) หรือเป็นคำในหน่วยอ้างอิงถึงสิ่งเดียวกัน, หรือ อาจจะประกอบด้วยกลุ่มคำ แต่ว่ากลุ่มคำนามและคำคุณศัพท์เหล่านี้ จักต้องไม่อยู่ในรูปการกแหล่งที่มา (Ablative case) และจักต้องไม่ตั้งชื่อที่เข้าเกณฑ์ ในมาตรา 23.6 ซึ่งจัดว่าไม่ใช่ส่วนชื่อชนิด (specific epithet). ถ้าส่วนชื่อชนิดประกอบด้วยคำตั้งแต่สองคำขึ้นไป ให้รวมคำเหล่านี้ติดกันเลย หรือเชื่อมด้วยเครื่องหมายขีด – (Hyphen). ถ้าหากส่วนชื่อชนิดนั้นไม่ได้เชื่อมกลุ่มคำเข้าไว้ด้วยกันตั้งถูกตีพิมพ์ครั้งแรกนั้น ชื่อนี้จะไม่ถูกปฏิเสธ ยังคงใช้ได้อยู่ แต่ให้เชื่อมติดกัน หรือใส่ขีดเชื่อม โดยจะเลือกใช้ตามมารตรา 60.9


60.9. The use of a hyphen in a compound epithet is treated as an error to be corrected by deletion of the hyphen, unless the epithet is formed of words that usually stand independently or the letters before and after the hyphen are the same, when a hyphen is permitted (see Art. 23.1 and 23.3).

การใช้ขีด (Hyphen) แทรกกลางส่วนชื่อชนิดที่เป็นคำประสม (คล้ายสมาส และสนธิ)นั้น ถือว่าผิด และต้องแก้ไขโดยตัดขีดออก, ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ส่วนชื่อชนิดนั้น จักต้องเป็นรูปแบบคำที่มักจะอยู่อิสระเว้นวรรคแยกกันตามปกติ หรือไม่คำประสมนั้นจักต้องมีอักษรก่อนและหลังขีดเป็นตัวเดียวกัน (เพื่อให้เห็นรากศัพท์เดิมได้ง่าย) สองกรณีหลังนี้ใช้ขีด (hyphen)ได้

Ex. 16. Hyphen to be omitted: Acer pseudoplatanus L. (1753), not A. "pseudo-platanus"; Eugenia costaricensis O. Berg, not E. "costa-ricensis"; Ficus neoëbudarum Summerh. (1932), not F. "neo-ebudarum"; Lycoperdon atropurpureum Vittad. (1842), not L. "atro-purpureum"; Croton ciliatoglandulifer Ortega (1797), not C. "ciliato-glandulifer"; Scirpus sect. Pseudoëriophorum Jurtzev (in Bjull. Moskovsk. Obšc. Isp. Prir., Otd. Biol. 70(1): 132. 1965), not S. sect. "Pseudo-eriophorum".

ตัวอย่างนี้เป็นกรณีที่งดใช้ขีด (Hyphen)จะเห็นได้ว่าตัวอย่างนี้เป็นคำประสม คล้ายสมาส สนธิในภาษาบาลีสันสกฤต จึงต้องเขียนเชื่อกันเลยให้เป็นไปตามหลักภาษา (การที่จะทราบได้คำเหล่านี้อยู่ในรูปสมาสสนธิหรือไม่จำเป็นต้องตรวจสอบจากหนังสืออ้างอิง)

Ex. 17. Hyphen to be maintained: Aster novae-angliae L. (1753), Coix lacryma-jobi L. (1753), Arctostaphylos uva-ursi (L.) Spreng. (1825), Veronica anagallis-aquatica L. (1753; Art. 23.3), Athyrium austro-occidentale Ching (1986).


ตัวอย่างนี้เป็นกรณีที่ให้คงขีดไว้ จะเห็นว่า novae-angliae, lacryma-jobi, uva-ursi และ anagallis-aquatica เป็น วลีคำนาม (Noun Phrase) ในภาษาละติน ส่วน austro-occidentale เป็นคำประสมสนธิ แต่ยังคงขีดไว้เนื่องจากสระที่เชื่อเป็นตัว o เหมือนกันหากไม่ขีดแยกไว้อาจจะดูรากศัพท์ และออกเสียงได้ยาก จึงยังคงขีดไว้ไม่ตัดออก

กฎทั้งสองข้อนี้มีโครงสร้างประโยคที่ค่อนข้างเข้าใจยาก และคลุมเครือ เนื่องจากวลี ‘united or hyphenated’ เนื่องจากการใช้ or นั้นอาจจะทำให้เข้าใจไปได้ว่า ใช้สลับกันได้ทั้งสองแบบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งตามหลักภาษาและตัวอย่างที่แนบท้ายมา บอกให้รู้ว่าการใส่หรือไม่ใส่ขีดนั้นมีกฎตายตัว ไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปมาได้ แต่สามารถแก้ไขจากการบรรยายในครั้งแรกได้
ซึ่งสรุปได้ว่า ถ้า epitet มักจะเป็นคำคำเดี่ยว เป็นคำประสมนั้นต้องเขียนติดกันไปเลย แต่กลุ่มคำนั้นต้องไม่อยู่ในรูป ablative และเชื่อมด้วย –


เราสามารถแยกได้เป็น 2 กรณีที่สามารถทำคนท่านที่ไม่เข้าใจหลักไวยากรณ์ภาษาละตินเข้าใจผิดได้ดังนี้

1. กลุ่มคำ หรือ วลี words that usually stand independently
cornu = horn เป็นคำนาม เพศกลาง ในการกประธาน neut. sing. nom.
cervi = deer, stag เป็น คำนาม เพศชาย ในการกขยาย mus. sing. gen. (cervus = mus. sing. nom.)
รวมเป็นวลี หรือกลุ่มคำ cornu cervi = horn of deer

2. คำประสม compound epithet (สมาสสนธิ)
corn- รากศัพท์ ของ cornu
-i- เสียงเติมใช้เชื่อมคำ
cerv- รากศัพท์ ของ cervus
-us = noun suffix (mus. sing. nom.)
corn-+ i + cerv+ us = cornicervus เป็น คำนาม เพศชาย ในการกประธาน
แต่เมื่อใช่เป็น specific epitet ต้องเปลี่ยน เป็น การกขยาย gen. = cornicervi

สรุปว่า specific epitet ที่เป็นไปได้คือ cornu-cervi หรือ cornicervi

แต่เนื่องจากไม่มีกฎ ICBN ข้อใดอนุญาตให้เปลี่ยนการเขียนคำในลักษณะนี้ได้ จึงยังคงต้องชื่อเดิมที่ถูกต้องคือ Phalaenopsis cornu-cervi (Breda) Bl. & Rchb. f. (1860)

References

-Stearn. Botanical latin. Timber press, 1992
-International Botanical Congress. International Code of Botanical Nomenclature (ST LOUIS CODE),1999




Create Date : 08 มิถุนายน 2549
Last Update : 8 มิถุนายน 2549 23:25:54 น. 10 comments
Counter : 932 Pageviews.

 
เออ ให้มันได้งี้ดิ เยี่ยม


โดย: jungle man IP: 203.118.82.77 วันที่: 8 มิถุนายน 2549 เวลา:23:29:37 น.  

 
พัน ไปเป็นอาจารย์ เหอะ จะสมัครเป็นศิษย์ ทำฟันก็ได้ ๕๕๕


โดย: ลุงหนวด IP: 58.136.99.230 วันที่: 9 มิถุนายน 2549 เวลา:13:53:10 น.  

 
ยอดเยี่ยม อ่านแล้วกระจ่างดี


โดย: น้าโหด วันที่: 10 มิถุนายน 2549 เวลา:12:52:12 น.  

 
ขอบคุณครับ พี่คนป่า น้าโหด

ลุงหนวดจะเรียนไรดีครับ


โดย: Paphmania IP: 124.120.184.133 วันที่: 11 มิถุนายน 2549 เวลา:23:47:04 น.  

 
เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ


โดย: เง็กเอ็ง (เง็กเอ็ง ) วันที่: 14 กันยายน 2549 เวลา:14:25:57 น.  

 
ยินดีครับ


โดย: Paphmania IP: 124.120.184.147 วันที่: 27 กันยายน 2549 เวลา:23:40:34 น.  

 
อ่านไม่หมดแต่รู้ว่า เขียนอย่างไร อิอิ


โดย: jeab (jeabnun ) วันที่: 13 ตุลาคม 2549 เวลา:8:59:03 น.  

 
อิๆ ดีครับพี่เจี๊ยบ


โดย: Paphmania วันที่: 18 มิถุนายน 2550 เวลา:22:15:11 น.  

 
ก๋ง เข้ามาหาความรู้
ก๋ง เข้ามาสวัสดีปีใหม่ไทยไทยด้วยครับ
.....................................
ขอขอบคุณ/แล้วจะเข้ามาหาความรู้อีกเรื่อยๆ
รักษาสุขภาพ/โชคดี


ก๋ง เจ้าเก่า


โดย: ก๋งแก่(หง่อมจริงๆ) วันที่: 13 เมษายน 2551 เวลา:20:38:22 น.  

 
ขอบคุณครับ ก๋ง


โดย: Paphmania วันที่: 27 เมษายน 2551 เวลา:22:48:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Paphmania
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Paphmania's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.