ฝันอยู่ไกลแค่ไหนฉันจะไปให้ถึง
Group Blog
 
All blogs
 
ความเป็นมาของการปลูกยางพาราในประเทศไทย



ยางพารา (Hevea brasiliensid) เป็นพืชป่าพื้นเมืองแถบลุ่มน้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ 2419 เซอร์ เฮนรี วิคแฮม (Sir Henry Wickham) ได้นำเมล็ดไปเพาะที่สวนพฤกษศาสตร์คิวในประเทศอังกฤษ ได้กล้าจำนวน 2800 ค้น แล้วส่งต้นกล้ายางพาราไปปลูกในประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รวมทั้งมาเลเซียหรือมลายูในสมันนั้น จำนวน 22 กล้า ในปี พ.ศ. 2420 ด้วย
สำหรับประเทศไทย พระยารัษฏานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรัง ซึ่งเป็น " บิดาแห่งยางพาราไทย" ได้นำต้นยางพาราจากมาเลเซียเข้ามาปลูกที่ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ปี พ.ศ. 2442 ซึ่งถือว่าเป็นยางพาราต้นแรกของประเทศไทย ก่อนที่จะได้มีการปลูกเป็นสวนยางพาราที่อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โดยชาวเดนมาร์ก ในปี พ.ศ. 2445 และหลวงราชไมตรี (ปุณ ปุณศรี) ได้นำไปปลูกที่จังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2454 จนแพร่กระจายเป็นพีชเศรษฐกิจสำคัญรองจากข้าวในทุกวันนี้


อนุสาวรีย์พระรัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ นคร)

อนุสาวรีย์ตั้งอยู่ในบริเวณสวนสาธารณะ ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร เส้นทางถนนตรัง-พัทลุง พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ได้สร้างความเจริญแก่จังหวัดตรังเป็นอย่างมาก เช่น การคมนาคม เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ การศึกษา การปกครอง และเป็นผู้นำต้นยางต้นแรกมาปลูกในจังหวัดตรัง จนแพร่หลายไปทั่วภาคใต้


พื้นที่ปลูกยางพาราในประเทศไทย

ข้อมูลสถิติการเกษตรของประเทศไทยของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่าในปี พ.ศ. 2547 มีเนื้อที่สวนายางพารทั่วทั้งโลกประมาณ 58.46 ล้านไร่ โดยประเทศอินโดนีเซียมีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดคือ 20.39 ล้านไร่ รองลงมาคือไทย (13.02 ล้านไร่) มาเลเซีย (8.01 ล้านไร่) แค่เป็นที่น่าภาคภมิใจว่าผลผลิตน้ำยางต่อไร่ของไทยมีปริมาณสูงที่สุด (231 กิโลกรัมต่อไร่) รองลงมาคือ อินเดีย (206 กิโลกรัมต่อไร่) มาเลเซีย (147 กิโลกรัมต่อไร่) และจีน (126 กิโลกรัมต่อไร่) ในขณที่อินโดนีเซีย ซึ่งมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในโลกนั้นกลับให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำที่สุด คืดเพียงไร่ละ 101 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีเท่าทั้น ไทยจึงเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำยางที่สูงที่สุดในโลกในขณะนี้

ในรอบสามทศวรรษที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกยางพาราของไทยเพิ่มมากขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละประมาณ หนึ่งแสนห้าหมื่นไร่ กล่าวคืดเพิ่มจาก 8.5 ล้านไร่ในปี พ.ศ.2517 ขึ้นมาเป็น 10.3 ล้านไร่ในปี 2527 11.9 ล้านไร่ในปี 2537 และ 13.0 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2547 รวมทั้งมีแนวโน้มว่าเนื้อที่ปลูกจะเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็วในอนาคตอันใกล้นี้ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ ราคาน้ำยางขยับตัวสูงขึ้นเกือบ 3 เท่า ตัวในช่วงเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา และความต้องการไม้ยางพารา ซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งไม้สักขาวหรือ white teak ของตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนือง จนทำให้การเหมาซื้อไม้ยางพาราจากสวนของเกษตรกรในขณะนี้ขยับตัวสูงขึ้นถึงไร่ละ 40000 - 60000 บาท ส่งผลให้พื้นปลูกยางพาราทั้งใน "เขตการปลูกยางเดิม" (ภาคใต้และภาคตะวันออก) และ "เขตการปลูกยางใหม่" (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ขยายตัวไปทั้วประเทศอย่างกว้างขวาง รวดเร็ว และต่อเนือง
ยางพาราเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ลึก มีสัดส่วนดินเหนียวและดินทรายใกล้เคียงกัน คืออย่างละประมาณ 30-35 เปอร์เซ้นต์ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดี มีค่า ph 4.5-5.5 อากาศชชุ่มชื้นตลอดปี ฝนตกปีละประมาณ 175 วัน ปริมณน้ำฝนเฉลียประมาณ 2000 - 2500 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภมเฉลี่ย 20 - 30 องศาเซลเวียส แต่เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในช่วงอุณหภมิเฉลี่ย 26- 27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีไม่น้อยกว่า 65 % ความเร็วลมเลี่ยตลอดปีไม่เกิน 1 เมตรต่อวินาที ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางจนถึงระดับความสูง 1000 เมตร แต่ในที่สูงอายุการเริ่มกรีดางจะช้ากว่าในพื้นที่ต่ำราว 1 - 2 ปี ระยะปลูกมาตรฐานคือ 3*8 เมตร คือ 66 ต้นต่อไร่ ซึ่งจะเริ่มเปิดกรีดได้ครั้งแรกเมื่อยางมีอายุประมาณ 5 ปี โดยก่อนหน้านี้เกษตรกรจะมีรายได้จากพืชแทรก นั้นคือ เกษตรกรควรปลูกยางพาราตามระบบวนเกษตรโดยมีสับปะรด ถั่ว ข้าวไร่ หรือ ข้าวโพด เป็นพืชควบ


การปลูกยางพารา เพื่อน้ำยางและเนื้อไม้ในอนาคต
ในปัจจุบันเกษตรกรไทยให้ความสนใจกับการปลูกยางพารากันมาก เพราะน้ำยางและยางแผ่นมีราคาสูง ทว่าราคายางมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงมากและบ่อยเช่นเดียวกัยราคาพืชผลเกษตรแทบทุกชนิดปีนี้ราคาสูง ปีหน้าอาจจะต่ำก็ได้ เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงให้แก่เกษตรกรและความยั่งยืนของระบบ นั่นคือ แสดงให้เห็นว่าการปลูกยางพาราเป็นการเกษตรยั่งยืนที่แท้จริง เกษตรกรชาวสวนยางต้องไม่ปลูกยางเพื่อหวังน้ำยางแต่เพียงอย่างเดียวในอนาคตจะต้องปลูกยางพาราเพื่อเนื้อไม้ด้วย โดยน้ำยางอาจจะเป็นเป้าหมายหลัก เนื้อไม้เป็นเป้าหมายรอง หรือจะปลูกโดยหวังเนื้อไม้เป็นเป้าหมายหลัก น้ำยางเป็นเพียงวัตถุประสงค์รองก็ได้
หากปลูกโดยมีเน้อไม้เป็นเป้าหมายหลักเกษตรกรจะต้องปรับลดระยะปลูกจากเดิมคือ 3*8 เมตร ลงเมาเป็น 3*7 เมตร (76 ต้นต่อไร่) หรือ 2.5*7.5 เมตร ( 85 ต้นต่อไร่) หรือแม้แต่ 2*8 เมตร คือ 100 ต้นต่อไร่ ตามมาตรฐานความหน่าแน่นของหมู่ไม้ในสวนป่าก็ได้ ที่สำคัญกว่าระยะปลูกก็คือการปลูกยางพาราเพื่อเนื้อไม้จะต้องมีการคัดเลือกสายต้นที่มีลำต้นตรง เปลา มีความเรียวต่ำ ลำต้นไม่คดงอบิดโค้ง และ ต้องมีการลิดกิ่งให้สูงกว่าที่กระทำอยู่ในปัจจุบันนี้ โดยไม้ยางพาราทุกต้นในสวนจะต้องทำการลิดกิ่งให้สูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 5 เมตร แทนที่จะเป็นเพียง 3 เมตร ดังที่ผ่านมา อันจะทำให้ลำต้ตไม้ยางพาราตรงเปลา ได้เนื้อไม้ที่เป็นท่อนซุงและไม้แปรรูปสูง แม้อาจจะทำให้ผลผลิตของน้ำยางต่อต้นลดต่ำลงไปบ้าง แต่ก็ได้เนื้อไม้ขึ้นมาชดเชยแทน
ในอดีตประเทศไทยถือว่า ยางพาราเป็นพืชป่าเพราะเคยอยู่ในสังกัดของกรมป่าไม้ ต่อมาได้ย้ายมาอยู่กรมกสิกรรมหรือกรมวิชาการเกษตรในปัจจุบัน แต่วันนี้ นับตั้งแต่วันที่ร้ฐบาลประกาศปิดป่าในปี พ.ศ 2532 ยางพาราเป็นทั้งพืชเกษตรและพืชป่าไม้ เพราะยางพาราไม่ได้ถูกโค่นเผาทิ้งเหมือนในอดีตต่อไปอีกแล้ว ไม้ยางพาราทำเงินให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางไม่ด้อยไปกว่าน้ำยาง และนำรายได้เข้าประเทศปีละนับหมื่น ๆ ล้านบาท โดยมีอายุรอบหมุนเวียนในการตัดฟัน 25 ปี แต่ความยาวของรอบตัดฟันดังกล่าวสามารถลดลงให้เหลือเพียง 15-20 ปี หากมีการคัดเลือกสายต้นและการจัดการที่เหมาะสมดังกล่าวมาแล้ว
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางและสถาบันวิจัยยางได้ประมาณการโดยกคร่าว ๆ ว่าสวนยางพาราที่อายุครบ 25 ปีที่จะต้องตัดฟันในช่วงปี พ.ศ. 2545-2549 มีเฉลียปีละ 414793 ไร่ ในช่วงปี พ.ศ. 2550-2554 ตัดฟันได้ปีละ 479177 ไร่ ให้ปริมาณไม้ท่อนไร่ละ 25 ลูกบาศก์เมตร โดยแยกเป็นไม้ฟืน 5 ลูกบาศก์เมตร ไม้ท่อนสำหรับแปรรูป 20 ลูกบาศก์เมตร
อย่างไรก็ตาม สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทยได้กล่าวในการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ยางพาราอย่างครบวงจร" ว่าการสงเคราะห์ตัดโค่นเพื่อปลูกยางทดแทนที่ผ่านมาเฉลี่ยปีละ 200000 ไร่ หากจัดการด้านการใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะได้ไม้ท่อนเฉลีย ไร่ละ 25 ลูกบาศก์เมตร รวม 5 ลานลูกบาศก์เมตรต่อปี แยกเป็นไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางโตกว่า 8 นิ้ว สำหรับอุตสาหกรรมไม้บางและไม้อัดคืดเป็นปริมาตรเท่ากับ 0.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ไม้ขนาดกลางที่มีเส้นผ้าศูนย์กลาง 5-8 นิ้วสำหรับอุตสาหกรรมไม้แปรรูป 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร และไม้ขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 5 นิ้ว สำหรับอตุสาหกรรมช้นไม้สับ ฟืน และ ถ่าน 1000000 ล้านลูกบาศก็เมตร
เกษตรกรผู้เป็นเจ้าของสวนยางพาราราย่อยของไทยมีพื้นที่สวนยางเฉลี่ย รายละ 13 ไร่ หากโค่นขายไม้ยางแบบเหมาจ่ายได้เงินไร่ละ 50000 บาท ก็จะได้รายได้จากไม้ยางพารา 650000 บาท
การใช้ประโยชน์ไม้ยางพาราในปัจจัปันไม้ท่อน (6 ล้านลบม..)



เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 8 นิ้ว (0.5 ล้าน ลบ.ม.)

  • ไม้บาง
ไม้อัด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 นิ้ว (3.5 ล้าน ลบ.ม.)
  • ไม้แปรรูป (Lumber)
วัสดุก่อสร้าง (Building Materials)
  • เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (Furniture&Parit)
ของเล่น (Toy)
  • กรอบรูป (Frame)
ของที่ระลึก(Souvenir)
  • ไม้รองยกและลังไม้ (Pallet&Crates)
อื่น ๆ เช่น ไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยัน
ผ่าศูนย์กลาง 2-5 นิ้ว (1 ล้าน ลบ.ม.)
  • แผ่นชิ้นไม้อัด (Particle Board)
แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง(Meaium Density Fibreboard ;MDF)
  • เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม (Pirewood)
ไม้พลาสติก (Wood Plastic Composit; WPC)
  • เผาทิ้ง





    สวนยางพารา








    เฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากไม้ยางพารา







    วันนี้แค่นี้ก่อนนะจ๊ะจะมา up ใหม่ เร็ว ๆ นี้


    Create Date : 25 กรกฎาคม 2550
    Last Update : 18 สิงหาคม 2550 14:47:29 น. 2 comments
    Counter : 2452 Pageviews.

 
เจอเพื่อนร่วมขบวนการ แวะมาเยี่ยมครับ

//bungkanyangpara.blog.sanook.com


โดย: น้าหลุยส์ IP: 222.123.230.103 วันที่: 16 ธันวาคม 2550 เวลา:0:28:24 น.  

 
ใช้ได้


โดย: นาถ พิพิธ IP: 122.154.14.18 วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:14:42:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ตะวันยิ้มร่า
Location :
ตรัง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ตะวันยังส่องแสง
Friends' blogs
[Add ตะวันยิ้มร่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.