We're ready to share our life together.
 

กว่าจะเป็นดนตรีตอนที่ 3: รู้จักกับตัว น.โน๊ต

บทเรียนที่ผ่านมา ครูส้มสอนให้หลายคนได้เริ่มต้นเตรียมที่จะรู้จักกับการเล่นดนตรี โดยได้ให้เตรียมหลายๆ อย่างด้วยกันนะคะ อย่างแรกก็คือ เตรียมหัวใจที่รักดนตรี ต่อมาก็เตรียมเรื่องการเล่นดนตรีอย่างไรให้ถูก
จังหวะ สำหรับบทเรียนนี้ก็เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่สำคัญมากค่ะ เรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานของการเรียนดนตรีอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ การรู้จักเจ้าตัว น.โน๊ต ต่างๆ นั่นเอง

จริงๆ แล้ว ครูส้มนับถือนักดนตรีหลายๆ ท่านที่ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางดนตรีโดยเฉพาะ หลายคนอ่านโน๊ตไม่ได้ แต่สามารถเล่นดนตรีได้อย่างเยี่ยมยอด บางคนสามารถแต่งเพลงหลายเพลง ซึ่งชนะใจคนฟังหลายคน
มาแล้วก็มีค่ะ แต่สำหรับผู้เริ่มต้นหรือผู้ที่ต้องการมีพื้นฐานนั้น ครูส้มขอแนะนำว่า ให้เริ่มสนใจจากตรงนี้ก่อนจะเป็นประโยชน์มากในอนาคตค่ะ หลายคนบอกว่า การอ่านโน๊ต เป็นเรื่องยาก น่าเบื่อ อันนี้เรื่องจริงค่ะ เพราะได้
ยินมาจากปากของลูกศิษย์หลายต่อหลายคน บางคนท้อ บางคนเบื่อการเรียนดนตรีไปเลยก็มีค่ะ แต่ครูส้มพยายามบอกให้ทุกคนอดทน แล้วสิ่งที่เรากลัว...เบื่อ...ไม่คิดว่า จะทำได้ ก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปค่ะ


เรามาเริ่มกันเลยนะคะ จริงๆ แล้วเจ้า น.โน๊ต (Note) ตัวนี้...ถ้าเราดูกันดีๆ แล้วก็จะมีลักษณะคล้ายๆ กันค่ะ คือ มีหัวกลมๆ 1 หัว และหางอีก 1 หาง แต่ลักษณะรูปร่างจะแตกต่างกันไปตามชนิดของโน๊ตนั้น (ได้กล่าวไว้
แล้วในบทเรียนที่ผ่านมา) เสร็จแล้วก็จะถูกนำไปวางไว้บนเส้น...ดูแล้ว..เจ้าเส้นเหล่านี้ล่ะค่ะ ที่ทำให้ตัวโน๊ตมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เค้าเรียกเจ้าเส้นเหล่านั้นว่า "บันทัด 5 เส้น" ค่ะ ซึ่งองค์ประกอบของบันทัด 5 เส้นนี้ ก็จะ
ประกอบไปด้วย เส้น (line) จำนวน 5 เส้น และช่องว่าง (Space) จำนวน 4 ช่อง ซึ่งโน๊ตแต่ละตัวจะถูกนำหัวของโน๊ตมาวางบนช่องและเส้นบนบันทัดสลับกันไป ทำให้เกิดตัวโน๊ตชื่อต่างๆ ขึ้น มาดูภาพประกอบกันนะคะ


ภาพส่วนประกอบของตัวโน๊ตและบันทัด 5 เส้น


การเขียนหางของโน๊ตในตำแหน่งต่างๆ



หลังจากที่เรารู้จักส่วนประกอบและการเขียนตัวโน๊ตที่ถูกต้องแล้ว ก่อนจะจบบทเรียนนี้ Mama ขอแนะนำชื่อตัวโน๊ตพื้นฐาน 7 ตัว ที่ทุกคนรู้จักกันดี โดยสามารถอ่านได้ 2 แบบ แล้วแต่ความนิยมของแต่ละชาติ เช่น ถ้าเป็นญี่ปุ่นส่วนใหญ่ จะสอนให้อ่าน "โด เร มี" แต่ถ้าเป็นฝรั่ง มักจะสอนให้อ่านแบบสากล คือ "C D E"


ซึ่งตัวโน๊ตเหล่านี้คือ ชื่อพื้นฐานทั้ง 7 ตัวที่ใช้ในการอ่านโน๊ต แต่ในการเล่นดนตรีจริงๆ เมื่อนำโน๊ตไปวางบนบันทัด 5 เส้น จะทำให้เจ้าโน๊ตพื้นฐานทั้ง 7 ตัวเกิดเสียงสูงต่ำที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะสอนเพิ่มเติมในบทต่อไป

ใจเย็นๆ นะคะ...ในบทต่อไปนั้น เราจะเริ่มอ่านโน๊ตกันจริงๆ แล้วนะคะ นอกจากนี้ เราก็จะได้รู้ด้วยค่ะว่า นอกจากตัวโน๊ตแล้ว บนบันทัด 5 เส้นยังมีตัวอะไรที่มีความสำคัญกันอีกบ้าง ก็คอยติดตามกันนะคะ




 

Create Date : 07 สิงหาคม 2551    
Last Update : 7 สิงหาคม 2551 5:12:40 น.
Counter : 1857 Pageviews.  

กว่าจะเป็นดนตรีตอนที่ 2: สนุกสนานกับจังหวะของดนตรี

"เอาล่ะ นับนะ 1...2..3..4.." สำหรับผู้มีดนตรีในหัวใจหลายๆ คนคงคุ้นเคยกับประโยคนี้กันบ้างนะคะ หลายคนอาจมีวิธีการต่างๆ กันไป จริงๆ แล้วครูส้มกำลังจะนำเข้าเรื่องของ "จังหวะของดนตรี" ค่ะ

"จังหวะดนตรี" นับว่าได้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับนักดนตรีทุกคนเลยก็ว่าได้นะคะ หากจะเล่นดนตรีให้ไพเราะ เราก็ต้องเล่นให้ถูกจังหวะด้วย ยิ่งในวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีหลายชิ้นแล้ว การกำกับ
จังหวะยิ่งมีความสำคัญมากค่ะ เพราะจะต้องพยายามเล่นดนตรีให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน ดังนั้น "จังหวะ" จึงนับว่า เป็นพื้นฐานของการเรียนดนตรีอันดับแรกที่ควรให้ความสำคัญค่ะ


มีลูกศิษย์ของครูส้มหลายคน อ่านโน๊ตได้คล่องทุกตัวเลยนะคะ แต่ยังฟังไม่เป็นเพลง เพราะขาดทักษะเรื่องจังหวะ ดังนั้น จึงพยายามปลูกฝังให้เด็กเรียนดนตรีโดยเน้นเรื่องการเล่นให้เข้าจังหวะเป็นอันดับแรกค่ะ

สำหรับผู้เรียนเปียโน, คีย์บอร์ด, อิเล็กโทน หรือเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ หากเตรียมเครื่องดนตรีไว้พร้อมแล้ว สิ่งหนึ่งที่ครูส้มคิดว่า เป็นสิ่งที่จำเป็นมากนะคะ คือ เครื่องกำกับจังหวะ (Metronome) ค่ะ เดี๋ยวนี้มีหลายราคาค่ะ บางรุ่นก็ไม่กี่ร้อยบาทค่ะ สามารถหาซื้อได้ง่าย และยังเก็บไว้ใช้ได้ตลอดไปด้วยนะคะ มีประโยชน์มาก และหากใครที่เครื่องดนตรีเป็นอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในตัวเครื่องจะมีเครื่องกำกับจังหวะมาให้ด้วยก็สามารถใช้จากตรงนี้ได้ค่ะ อยากให้ทุกคนลองเริ่มต้นจากการใช้เจ้าอุปกรณ์นี้ในการช่วยกำหนดให้เราเล่นดนตรีให้ถูกต้องในเบื้องต้นก่อนค่ะ และเมื่อเราเล่นได้ดีขึ้นแล้ว ต่อไปก็อาจจะไม่ต้องใช้เจ้าอุปกรณ์นี้ก็ได้ค่ะ

หากมองกันในแง่ของทฤษฎีดนตรีแล้ว ตัวโน๊ตแต่ละตัวก็มีจังหวะในตัวของมันเองนะ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรให้ความสนใจในส่วนนี้ด้วย เพราะยิ่งถ้าเป็นเพลงที่คนอื่นแต่งไว้ และเราต้องไปเล่นให้เหมือนเจ้าของเพลงแล้วนั้น การอ่านโน๊ตโดยคิดถึงจังหวะของโน๊ตแต่ละตัว ถือว่าสำคัญค่ะที่ทำให้เราเล่นได้เหมือนเพลงต้นตำรับเลยก็ว่าได้ค่ะ ครูส้มขอฝากทฤษฎีเบื้องต้นไว้เพื่อเป็นความรู้สำหรับทุกคนเล็กน้อยนะคะ รับรองไม่ยาก






เห็นไหมคะว่า โน๊ตทุกตัว มีจังหวะในตัวเอง จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญไงคะ ดังนั้น ในบทเพลงแต่ละเพลงจึงมีท่วงทำนองเร็วช้าที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงแนวการเล่นด้วยค่ะ ซึ่งเหตุผลหนึ่งก็มาจาก "จังหวะ" ของโน๊ตเหล่านี้ด้วยล่ะค่ะ

อธิบายมาซะยืดยาวเลยค่ะ จริงๆ แล้วหลายคนอาจเคยเรียนเรื่องนี้มาบ้างแล้วนะคะ เพราะเป็นพื้นฐานแรกสำหรับการเรียนวิชาดนตรีเลยค่ะ ครูส้มเลยขอยกมาเป็นบทเรียนแรกของการเรียนดนตรีค่ะ




 

Create Date : 04 สิงหาคม 2551    
Last Update : 7 สิงหาคม 2551 5:13:43 น.
Counter : 1887 Pageviews.  

กว่าจะเป็นดนตรีตอนที่ 1: เริ่มดนตรีด้วยใจรัก

ก่อนอื่น...ขอเรียกตัวเองว่า "ครูส้ม" ตามที่เด็กๆ เรียกละกันนะคะ ซึ่งเมื่อพูดถึง "ดนตรี" หลายคนอาจมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป บางคนนึกถึงบทเพลงบรรเลงอันแสนไพเราะ, บางคนนึกถึงนักดนตรีคนโปรด,หรืออาจจะเป็นภาพที่ตนเองกำลังเล่นดนตรีอย่างมีความสุขอยู่ก็เป็นไปได้

"ดนตรี" เป็นอีกศิลปะหนึ่งที่งดงามและมีคุณค่าในตัวเอง สามารถดึงดูดใจให้หลายคนหลงไหลในความไพเราะของดนตรีนั้น สำหรับตัวเองแล้ว อาจเรียกได้ว่า เป็นอีกคนหนึ่งชอบดนตรีมาตั้งแต่เด็ก จนถึงปัจจุบันนี้ ชีวิตก็ยังผูกพันอยู่กับเจ้าดนตรีนี้เรื่อยมา



มีหลายคนค้นหาคำตอบอยู่ว่า จะเริ่มต้นทำความรู้จักและเข้าถึงดนตรีที่ตนเองชอบนั้น ต้องทำอย่างไรบ้างคำตอบนี้คงไม่ยากนัก...และคงมีอีกหลายต่อหลายคนที่เห็นด้วยกับครูส้มว่า การเริ่มต้นที่ดีนั้น... อยู่ที่สิ่งสำคัญที่สุดสิ่งเดียวคือ หัวใจที่รักดนตรี เพราะเมื่อรักแล้ว เราจะเข้าใจถึงคุณค่าของสิ่งนั้นได้โดยง่ายรวมถึงได้รู้จักกับความสุขที่เกิดจากการได้สัมผัสดนตรีด้วยใจรักว่าเป็นเช่นไร

มีพ่อแม่จากหลายครอบครัวที่พยายามสนับสนุนให้ลูกเรียนดนตรี อยากให้ลูกเล่นดนตรีเป็น...อยากให้ลูกเล่นดนตรีเก่งเหมือนนักดนตรีชื่อดังหลายคนที่พ่อหรือแม่เคยประทับใจ จนบางครั้งลืมไปว่า เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีความชอบและไม่ชอบอะไรที่แตกต่างกันออกไป จากประสบการณ์ที่เคยสัมผัสเหตุการณ์ต่างๆ มาทำให้ครูส้มเอง ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการสอนให้เด็กรักดนตรีเป็นอันดับแรก...จึงอยากจะฝากข้อเสนอแนะนี้ไปยังอีกหลายๆ ครอบครัวด้วยนะคะ...


สำหรับเนื้อหาในหัวข้อต่อไปนั้น ครูส้มได้จัดทำความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับดนตรีไว้บางส่วนค่ะ ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการรู้ทฤษฎีและเทคนิคการเล่นดนตรี โดยจะแนะนำในแนวดนตรีที่ตนเองถนัดคือเปียโนค่ะ เป็นทฤษฎีที่ไม่ยากค่ะสำหรับผู้ที่สนใจอยากมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีขั้นพื้นฐาน

อย่าลืมนะคะว่า ก่อนที่เราจะเล่นดนตรีนั้น..ขอให้เริ่มเตรียมใจให้รักดนตรีนั้นๆ กันก่อนดีที่สุดนะคะ แล้วดนตรีก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปค่ะ




 

Create Date : 04 สิงหาคม 2551    
Last Update : 7 สิงหาคม 2551 5:13:18 น.
Counter : 573 Pageviews.  

 
 

papamamaonline
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add papamamaonline's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com