สมาคมครูหนุ่มหล่อแห่งประเทศไทย
Group Blog
 
All Blogs
 

หน่วยการวัด

หน่วยการวัด
ในปี พ.ศ. 2503 ได้มีการประชุมร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์ จากหลาย ๆ ประเทศเพื่อตกลงให้มีระบบการวัดปริมาณต่าง ๆ เป็นระบบมาตรฐาน ที่เรียกว่า หน่วยระหว่างชาติ (International System of Unit หรือ System - International d' Unit) และกำหนดให้ใช้อักษรย่อแทนชื่อระบบนี้ว่า "SI" หรือ หน่วย เอสไอ (SI Unit) เพื่อใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์
ระบบหน่วยระหว่างชาติ หรือ เอสไอ ประกอบด้วย
1. หน่วยฐาน
2. หน่วยเสริม
3. หน่วยอนุพัทธ์
4. คำอุปสรรค์




 

Create Date : 11 เมษายน 2553    
Last Update : 11 เมษายน 2553 20:28:54 น.
Counter : 826 Pageviews.  

ตัวอย่างแบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ เซลล์ ส่วนประกอบของเซลล์

ตัวอย่างแบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ เซลล์ ส่วนประกอบของเซลล์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1



1. ถ้าโลกของเราไม่มีบรรยากาศแล้ว โลกจะมีลักษณะตามข้อใด

ก ไม่มีแสงแดด

ข โลกจะมืดตลอดเวลา

ค ลมพัดแรงจัดตลอดเวลา

ง กลางวันร้อนจัด กลางคืนหนาวจัด

2. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของบรรยากาศที่มีต่อโลก

ก ช่วยกั้นรังสีคลื่นสั้น

ข ช่วยลดความร้อนให้แก่โลก

ค ช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเลต

ง ดูดกลืนและทำลายวัตถุต่าง ๆ ที่พุ่งเข้าหาโลก

3. ถ้ารังสีอัลตราไวโอเลตสามารถผ่านบรรยากาศของโลกได้มากขึ้นแล้วจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยทำให้เกิดโรคตามข้อใด

ก โรคไข้ดำ ข โรคลูมาติซัม

ค โรคโปลิโอ ง โรคเกรียมแดด

4. อากาศที่อยู่รอบตัวเราอยู่ในสถานะใด

ก แก๊ส ข ของแข็ง

ค ของเหลว ง สารแขวนลอย

5. ส่วนประกอบของอากาศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อใด

ก เวลาและสถานที่ ข เวลาและปริมาตร

ค เวลาและความดัน ง สถานที่และความดัน

6. ส่วนประกอบของอากาศที่เรียงจากน้อยไปหามากถูกต้อง คือข้อใด

ก O2 CO2 Ar N2 ข CO2 Ar O2 N2

ค Ar N2 O2 CO2 ง N2 O2 CO2 Ar

7. แก๊สชนิดใดเป็นส่วนประกอบของอากาศ ที่มีจำนวนน้อยที่สุด

ก อาร์กอน ข ออกซิเจน

ค ไนโตรเจน ง คาร์บอนไดออกไซด์

8. แก๊สที่ช่วยให้ไฟติดและทำให้เหล็กเป็นสนิมได้ คือข้อใด

ก ฮีเลียม ข ออกซิเจน

ค ไนโตรเจน ง คาร์บอนไดออกไซด์

9. แก๊สไนโตรเจนเป็นแก๊สเฉื่อยที่มีประโยชน์ในเรื่องใด

ก ช่วยให้ไฟติด

ข ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์

ค เป็นฉากกั้นความร้อนจากดวงอาทิตย์

ง ทำให้อากาศเจือจางพอเหมาะสำหรับมนุษย์และสัตว์

10. บรรยากาศชั้นใดมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต มากที่สุด

ก เอกโซสเฟียร์ ข โทรโพสเฟียร์

ค สตราโตสเฟียร์ ง ไอโอโนสเฟียร์

11. บรรยากาศชั้นใดของโลกที่เมื่อได้รับรังสี คอสมิกจากอากาศแล้ว จะทำให้อนุภาคของอากาศเปลี่ยนสภาวะเป็นอิออนอิสระที่มีประจุไฟฟ้าบวกหรือลบ

ก เอกโซสเฟียร์ ข โทรโพสเฟียร์

ค สตราโตสเฟียร์ ง ไอโอโนสเฟียร์

12. บรรยากาศชั้นที่สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุความถี่ไม่สูงนักและเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารระยะไกลคือข้อใด

ก เอกโซสเฟียร์ ข โทรโพสเฟียร์

ค สตราโตสเฟียร์ ง ไอโอโนสเฟียร์

13. ชั้นบรรยากาศของโลกไม่ฟุ้งกระจายออกไปสู่อวกาศเพราะเหตุใด

ก ชั้นโอโซนกั้นไว้ ข แรงดึงดูดของโลก

ค แรงผลักจากดวงอาทิตย์ ง ชั้นคาร์บอนไดออกไซด์กั้นไว้

14. บรรยากาศชั้นที่มีการแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาคือข้อใด

ก เอกโซสเฟียร์ ข โทรโพสเฟียร์

ค สตราโตสเฟียร์ ง ไอโอโนสเฟียร์

15. บรรยากาศชั้นเอกโซสเฟียร์มีแก๊สชนิดใดมากที่สุด

ก ออกซิเจน ข ไนโตรเจน

ค ไฮโดรเจน ง คาร์บอนไดออกไซด์



16. นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าอากาศมีความ
หนาแน่นโดยใช้ความสัมพันธ์ข้อใด

ก อัตราส่วนระหว่างมวลกับปริมาตรของอากาศ

ข อัตราส่วนระหว่างมวลและความดันของอากาศ

ค อัตราส่วนระหว่างความดันกับปริมาตรของอากาศ

ง อัตราส่วนระหว่างปริมาตรของอากาศกับความสูง

17. ข้อใดแสดงว่าอากาศมีความหนาแน่น

ก อากาศสามารถสัมผัสได้

ข ใบไม้ไหวเมื่อใช้มือโบกไปมา

ค น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำกว่า

ง ลูกโป่งบรรจุแก๊สลอยขึ้นไปบนอากาศ

18. สถานที่ใดมีความหนาแน่นของอากาศ
น้อยที่สุด

ก ในถ้ำ ค ในเหวลึก

ข ชายทะเล ง บนยอดเขา

19. ข้อใดคือกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความสูงกับความหนาแน่นของอากาศ ถ้ากำหนดให้แกนตั้งเป็นความหนาแน่นของอากาศ และแกนนอนเป็น ความสูง

ก ข

ค ง

20. ข้อใดคือ ความหมายของความดัน 1 บรรยากาศ

ก ความดันอากาศที่ดันปรอทให้อยู่สูง 76 มิลลิเมตร

ข ความดันอากาศที่ดันปรอทให้อยู่สูง 76 เซนติเมตร

ค ความดันอากาศที่ดันปรอทให้อยู่สูง760 เซนติเมตร

ง ความดันอากาศที่ดันปรอทให้อยู่สูง 760 เมตร

21. ความกดอากาศกับความสูงจากระดับน้ำทะเลมีความสัมพันธ์กันตามข้อใด

ก ความสูงลดลง ความกดอากาศคงที่

ข ความสูงลดลง ความกดอากาศลดลง

ค ความสูงเพิ่มขึ้น ความกดอากาศลดลง

ง ความสูงเพิ่มขึ้น ความกดอากาศเพิ่มขึ้น

22. บริเวณที่สูง ๆ จะมีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณที่ต่ำ ๆ เนื่องจากอะไร

ก บริเวณที่สูง ๆ อากาศเบาบางกว่าที่ต่ำ

ข บริเวณที่สูง ๆ อากาศเคลื่อนไหวเร็วกว่าบริเวณที่ต่ำ

ค อากาศบริเวณที่สูง ๆ เบากว่าอากาศบริเวณที่ต่ำ

ง บริเวณที่ต่ำๆมีฝุ่นละอองปนในอากาศมาก อากาศจึงหนัก

23. ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของอากาศกับความกดอากาศตรงกับข้อใด

ก ความกดมาก ความหนาแน่นน้อย

ข ความกดคงที่ ความหนาแน่นน้อย

ค ความกดมาก ความหนาแน่นมาก

ง ความกดน้อย ความหนาแน่นมาก

24. ในตอนกลางคืนอากาศเหนือพื้นน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศเหนือพื้นดิน เนื่องจากสาเหตุใด

ก น้ำคายความร้อนได้ช้ากว่าพื้นดิน

ข น้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าดินมาก

ค พื้นดินเป็นของแข็งรับความร้อนได้เร็ว

ง น้ำเป็นของเหลวทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

25. ในช่วงเวลาก่อนฝนจะตก อากาศร้อนอบอ้าว และอุณหภูมิสูงกว่าปกติเกิดจากสาเหตุใด

ก พื้นดินคายความร้อน

ข อากาศคายความร้อน

ค ก้อนเมฆคายความร้อน

ง ไอน้ำในอากาศคายความร้อน

26. ข้อใดถูกต้อง

ก ความกดอากาศต่ำ อุณหภูมิสูง

ข ความกดอากาศต่ำ อุณหภูมิต่ำ

ค ความกดอากาศสูง อุณหภูมิต่ำ

ง ความกดอากาศสูง อุณหภูมิสูง

27. จากรูป แสดงผลของเครื่องบารอกราฟวัดความกดอากาศในตอนกลางวัน อากาศมีความกด สูงเมื่อเวลาประมาณเท่าใด

ก 08.00 น. ข 10.00 น.

ค 14.00 น. ง 18.00 น.

28. ลักษณะสำคัญของบรรยากาศที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ คือข้อใด

ก อุณหภูมิคงที่ตลอดเวลา

ข อุณหภูมิเพิ่มเมื่อความสูงเพิ่ม

ค อุณหภูมิลดลงเมื่อความสูงลดลง

ง อุณหภูมิลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น

29. คำว่า“อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ”หมายถึงข้อใด

ก ในอากาศมีแต่น้ำไม่มีสิ่งอื่นเจือปน

ข ในอากาศมีไอน้ำ 100 เปอร์เซ็นต์

ค ไอน้ำไม่สามารถระเหยไปในอากาศได้อีก

ง ในอากาศมีไอน้ำอยู่ 100 กรัม ต่อ ลูกบาศก์เมตร

30. ความชื้นสัมพัทธ์เกิดจากการเปรียบเทียบปริมาณใดของไอน้ำที่มีอยู่จริงกับไอน้ำอิ่มตัว

ก มวล ข น้ำหนัก ค ปริมาตร ง อุณหภูมิ

31. ความชื้นสัมบูรณ์มีความหมายตรงกับข้อใด

ก อัตราส่วนระหว่างมวลของอากาศกับความกดอากาศ

ข อัตราส่วนระหว่างมวลของอากาศกับปริมาตรของอากาศ

ค อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำใน

อากาศกับปริมาตรของอากาศ

ง อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำใน

อากาศกับความหนาแน่นของอากาศ







32. ถ้าอากาศมีไอน้ำมากแล้ว จะเกิดผลตาม ข้อใด

ก อากาศจะมีความกดต่ำ เพราะไอน้ำหนักกว่าอากาศ

ข อากาศจะมีความกดสูง เพราะไอน้ำเบากว่าอากาศ

ค อากาศจะมีความกดต่ำ เพราะไอน้ำเบากว่าอากาศ

ง อากาศจะมีความกดสูง เพราะไอน้ำหนักกว่าอากาศ

33. ไฮโกรมิเตอร์แบบเส้นผมใช้หลักการตามข้อใด

ก เส้นผมแห้งหดตัว เวลาชื้นจะยืดตัว

ข เส้นผมแห้งขยายตัว เวลาชื้นจะหดตัว

ค เส้นผมมีความคงที่ เมื่อความชื้นเปลี่ยนแปลง

ง เส้นผมมีความคงที่ เมื่ออุณหภูมิ เปลี่ยนแปลง

34. ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิความหนาแน่นของอากาศและความกดอากาศข้อใดถูกต้องที่สุด

ก อุณหภูมิต่ำ ความหนาแน่นมาก ความกดสูง

ข อุณหภูมิต่ำ ความหนาแน่นน้อย ความกดสูง

ค อุณหภูมิสูง ความหนาแน่นน้อย ความกดสูง

ง อุณหภูมิสูง ความหนาแน่นมาก ความกดต่ำ

35. ถ้ามวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศขณะนั้นเท่ากับมวลของไอน้ำในอากาศที่ อิ่มตัว ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีค่าเท่าไร

ก 50% ข 60%

ค 80% ง 100%

36. อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดเมฆ

ก ไอน้ำในอากาศอิ่มตัว

ข ไอน้ำในอากาศมีอุณหภูมิลดลง

ค ไอน้ำในอากาศเย็นตัวลงรวมตัวเป็นกลุ่มละอองน้ำ

ง อากาศเย็นลอยต่ำลงอากาศร้อนลอยขึ้นไปกระทบความเย็น

37. เมฆส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นใด

ก เอกโซสเฟียร์ ข โทรโพสเฟียร์

ค สตราโตสเฟียร์ ง ไอโอโนสเฟียร์

38. เมฆที่ก่อตัวในแนวดิ่ง มีลักษณะคล้ายกับสำลีก้อนใหญ่ ๆ ฐานแบนซ้อนจากระดับต่ำขึ้นไปในระยะสูงมาก ๆ คือเมฆชนิดใด

ก คิวมูลัส ข เซอร์รัส

ค สเตรตัส ง อัลโตสเตรตัส

39. เมฆที่เกิดในระดับสูงมีลักษณะคล้ายขนนก คือเมฆชนิดใด

ก คิวมูลัส ข เซอร์รัส

ค สเตรตัส ง นิมโบสเตรตัส

40 เมฆฝนมีลักษณะเป็นก้อนหนาทึบคล้ายภูเขา มีสีดำหรือเทา เกิดในระดับต่ำเป็นเมฆชนิดใด

ก คิวมูโลนิมบัส

ข เซอร์โรคิวมูลัส

ค นิมโบสเตรตัส

ง อัลโตสเตรตัส

41 หลักการของการทำฝนเทียม ข้อใดเรียงลำดับได้ถูกต้อง

ก เมฆ–ความชื้น–ฝน ข เมฆ–ฝน–ความชื้น

ค ฝน–ความชื้น–เมฆ ง ความชื้น–เมฆ–ฝน

42 สารเคมีชนิดใดที่นิยมใช้ทำฝนเทียม

ก โซเดียมคลอไรด์ ข คอปเปอร์ซัลเฟต

ค แมงกานีสคลอไรด์ ง โซเดียมไฮดรอกไซด์

43 อุณหภูมิที่ไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ เรียกว่าอะไร

ก จุดน้ำค้าง ข จุดกลั่นตัว

ค จุดเยือกแข็ง ง จุดหลอมเหลว

44 ก่อนฝนตกเราจะมีความรู้สึกว่าอากาศร้อนอบอ้าว มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติเกิดจากสาเหตุใด

ก ไอน้ำคายความร้อน

ข อากาศคายความร้อน

ค พื้นดินคายความร้อน

ง ก้อนเมฆคายความร้อน

45 ถ้าเราวัดความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศได้ค่าเท่ากับ 98% แล้ว เราจะอธิบายการเกิดฝนได้ตามข้อใด

ก ฝนไม่ตก

ข ฝนมีโอกาสตกมาก

ค ฝนมีโอกาสตกปานกลาง

ง สรุปไม่ได้





46 ถ้าวัดระดับน้ำฝนได้ 30 มิลลิเมตรใน 24 ชั่วโมงแล้ว ในประเทศไทยถือว่าเป็นเกณฑ์ตรงกับข้อใด

ก ตกเล็กน้อย

ข ตกปานกลาง

ค ตกหนัก

ง ตกหนักมาก

47 การวัดปริมาณน้ำฝนที่เราได้ยินว่า “มิลลิเมตร” เราวัดตามข้อใด

ก ความสูงเป็นมิลลิเมตร

ข วัดเป็นมิลลิเมตรปรอท

ค ความยาวเป็นมิลลิเมตร

ง ปริมาตรเป็นลูกบาศก์มิลลิเมตร

48 ขณะที่เรากำลังจะเดินทางไปท่องเที่ยว ณ ชายทะเลแห่งหนึ่ง เราได้ทราบข่าวพยากรณ์ อากาศว่า บริเวณที่เราจะไปนั้นมีฝนตก เป็นแห่ง ๆ คำพยากรณ์นี้ตรงกับข้อใด

ก มีฝนไม่เกิน 20% ของพื้นที่

ข มีฝนเกิน 20% แต่ไม่เกิน 40% ของพื้นที่

ค มีฝนเกิน 40% แต่ไม่เกิน 60% ของพื้นที่

ง มีฝนเกิน 60% แต่ไม่เกิน 80% ของพื้นที่

49 สาเหตุที่ทำให้เกิดลม คือข้อใด

ก ความแตกต่างของแรงดันอากาศ

ข ความแตกต่างของปริมาตรอากาศ

ค ความแตกต่างของความกดอากาศ

ง ความแตกต่างของความหนาแน่น ของอากาศ





50 การเคลื่อนที่ของอากาศอย่างรุนแรง เนื่องจากความกดอากาศสองบริเวณมีความแตกต่างกันมากทำให้เกิดฝนตกหนัก เป็นสาเหตุของการเกิดอะไร

ก พายุไต้ฝุ่น ข พายุดีเปรสชัน

ค พายุไซโคลน ง พายุเฮอร์ริเคน

51เครื่องมือวัดความเร็วลม คือข้อใด

ก แบริง ข ศรลม

ค ไฮโกรมิเตอร์ ง อะนิโมมิเตอร์

52ปัจจัยใดที่เป็นสาเหตุทำให้บรรยากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง

ก ลมและพายุ

ข ลมและอุณหภูมิ

ค ลมและความกดดัน

ง อุณหภูมิและความกดดัน

53เพราะเหตุใดก่อนฝนตกบรรยากาศเหนือพื้นดินจึงรู้สึกร้อนอบอ้าว

ก พื้นดินคายความร้อน

ข พื้นน้ำคายความร้อนแฝง

ค เม็ดฝนคายความร้อนแฝง

ง ก้อนเมฆคายความร้อนแฝง

54พายุไต้ฝ่นที่เกิดในประเทศไทยนั้นมักจะพัดมาจากทิศใด

ก ใต้ ข เหนือ

ค ตะวันตก ง ตะวันออก

55 เพราะเหตุใดในเวลากลางคืนหลังจากฝนตกใหม่ ๆ แสงไฟจากรถที่วิ่งอยู่บนถนนจะมองเห็นไม่ค่อยชัด

ก อากาศยังไม่แห้ง

ข อากาศมีความชื้น

ค ไม่มีไอน้ำในอากาศ

ง ไม่มีฝุ่นละอองในอากาศ

56 การพยากรณ์อากาศ หมายถึงข้อใด

ก การสรุปการเปลี่ยนแปลงของอากาศ

ข การคาดคะเนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับอากาศ

ค การรายงานเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอากาศ

ง การรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ

57ในแผนที่อากาศ อักษร H หมายถึงอะไร

ก บริเวณพื้นที่ราบสูง

ข บริเวณที่มีความสูง

ค หย่อมความกดอากาศสูง

ง หย่อมความกดอากาศต่ำ

58หย่อมความกดอากาศต่ำในแผนที่อากาศ ควรมีความดันอากาศประมาณกี่มิลลิเมตร ของปรอท

ก 750 ข 760

ค 762 ง 763

59เมื่อมีประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาว่าพายุไต้ฝุ่นเกย์ได้กลายเป็นพายุโซนร้อนเกย์ไปแล้ว ประกาศดังกล่าวหมายถึงข้อใด

ก ความเร็วลมคงเดิม แต่พายุผ่านมหาสมุทร

ข ความเร็วลมคงเดิม แต่พายุผ่านเข้าสู่แผ่นดิน

ค ความเร็วลมช้าลงน้อยกว่า 118กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ง ความเร็วลมมากขึ้นมากกว่า118กิโลเมตรต่อชั่วโมง

60จากภาพถ่ายดาวเทียม เราเห็นพายุเป็นกลุ่มกลมสีขาว สิ่งที่เราเห็นคืออะไร

ก เมฆ ข ลม

ค แสง ง คลื่นวิทยุ

61 ในแผนที่อากาศมีอักษร H และ L บริเวณ ดังกล่าวลมจะพัดในลักษณะใด

ก พัดจาก H ไปหา L

ข พัดจาก L ไปหา H

ค พัดเข้าหา H และ L

ง พัดออกจาก H และ L

62จากแผนที่อากาศเราจะเห็นหย่อมความกดอากาศมีเส้นลากเป็นวงกลมล้อมรอบ หลาย ๆ วงซ้อน ๆ กัน วงกลมแต่ละวงนี้ แสดงว่าบริเวณนั้นเป็นอย่างไร

ก มีอุณหภูมิเท่ากัน ข มีปริมาณไอน้ำเท่ากัน

ค มีความกดอากาศเท่ากัน ง มีความชื้นสัมพัทธ์เท่ากัน

63ในแผนที่อากาศใช้เครื่องหมายแบบใดที่แสดงว่ามีลมตะวันออก

ก ข

ค ง

64เส้นในแผนที่อากาศที่แสดงว่าลากผ่าน บริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากันคือเส้นอะไร

ก ละติจูด ข ไอโซเทอร์ม

ค ไอโซบาร์ ง มิลลิบาร์

65 สารซีเอฟซี (CFC) ที่ทำลายแก๊สโอโซนนั้นมีธาตุใดเป็นองค์ประกอบ

ก C, F, C ข Cl, F, C

ค Ca, Fe, C ง Co, Fe, C

66สารซีเอฟซีสามารถทำลายแก๊สโอโซนได้ด้วยวิธีใด

ก รวมตัวกับโอโซน

ข ปล่อยคลอรีนมารวมตัวกับโอโซน

ค ปล่อยฟลูออรีนมารวมตัวกับโอโซน

ง ปล่อยคาร์บอนมารวมตัวกับโอโซน

67สารซีเอฟซีส่งผลร้ายต่อบรรยากาศระดับพื้นดินเนื่องจากอะไร

ก แก๊สออกซิเจนลดลง

ข รังสีอัลตราไวโอเลตน้อยลง

ค รังสีอัลตราไวโอเลตมากขึ้น

ง แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์เพิ่มขึ้น

68ปรากฏการณ์เรือนกระจกเป็นปรากฏการณ์ ที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดจากการสะสมของแก๊สใดในบรรยากาศเหนือพื้นโลก

ก โอโซน ข ไนโตรเจน

ค คาร์บอนไดออกไซด์

ง คาร์บอนมอนอกไซด์

69 สาเหตุที่อุณหภูมิของบรรยากาศภายในโลกร้อนขึ้นทุกปีและมักไม่เป็นไปตามฤดูกาลนั้น นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเกิดจากสาเหตุใด

ก ป่าไม้มีปริมาณลดลง

ข โลกหมุนรอบตัวเองเร็วขึ้น

ค โลกเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น

ง แหล่งอุตสาหกรรมปล่อยแก๊สพิษมากขึ้น

70กิจกรรมใดที่ไม่ได้ช่วยป้องกันให้บรรยากาศเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกของโลกลดลง

ก ปลูกต้นไม้ ข งดใช้สารซีเอฟซี

ค ควบคุมการใช้เชื้อเพลิง

ง เพิ่มปริมาณไอน้ำในอากาศ

71 เหตุผลข้อใดที่สนับสนุนว่าการปลูกป่าเป็นการอนุรักษ์น้ำ

ก ป่าไม้ช่วยให้ฝนตก

ข ใบไม้คายน้ำให้บรรยากาศ

ค ต้นไม้เก็บสะสมน้ำไว้ในลำต้น

ง ต้นไม้ช่วยชะลอการระเหยของน้ำ







72การรณรงค์ให้ปลูกต้นไม้ตามถนนหรือสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดจะเกิดผลดีตามข้อใด

ก เพิ่มความร่มเย็น

ข อนุรักษ์ธรรมชาติ

ค เพิ่มปริมาณออกซิเจน

ง ลดควันพิษและไอตะกั่ว

73 ในบริเวณที่มีการจราจรคับคั่งและแออัดจนเกิดปัญหามลพิษทางอากาศ เนื่องจากมีแก๊สใดมาก

ก มีเทน ข อะเซทิลีน

ค ไนโตรเจน ง คาร์บอนมอนอกไซด์

74 กระบวนการใดในธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยว
ข้องกับการใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

ก การคายน้ำของพืช

ข การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

ค การเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน

ง การหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจนของ

แบคทีเรีย

75โรงงานที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ทำให้สภาพแวดล้อมของบริเวณใกล้เคียงเป็นพิษเนื่องจากโรงงานปล่อยแก๊สอะไร

ก ไฮโดรฟลูออริก ข ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ค คาร์บอนไดออกไซด์ ง คาร์บอนมอนอกไซด์

76สิ่งใดเป็นเกณฑ์การจำแนกสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์

ก จำนวนเซลล์

ข ขนาดของเซลล์

ค รูปร่างของเซลล์

ง ส่วนประกอบของเซลล์

77สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ มีสิ่งใดที่เหมือนกัน

ก ขนาดของเซลล์

ข รูปร่างของเซลล์

ค ความแข็งของเซลล์

ง ส่วนประกอบพื้นฐานของเซลล์

78ส่วนประกอบของเซลล์ที่พบในเซลล์พืช แต่ไม่พบในเซลล์สัตว์คืออะไร

ก นิวเคลียส

ข เยื่อหุ้มเซลล์

ค ไซโทพลาซึม

ง คลอโรพลาสต์

79ส่วนประกอบของเซลล์ที่พบเฉพาะในเซลล์พืชคืออะไร

ก ผนังเซลล์

ข นิวเคลียส

ค เยื่อหุ้มเซลล์

ง ไซโทพลาซึม

ดูภาพแล้วตอบคำถามข้อ 5–8

80หมายเลข 1 ในภาพคืออะไร

ก ไรโบโซม ข นิวเคลียส

ค กอลจิบอดี ง ไมโทคอนเดรีย

81หมายเลข 2 ในภาพคืออะไร

ก ไรโบโซม

ข นิวเคลียส

ค กอลจิบอดี

ง ไมโทคอนเดรีย

82หมายเลข 3 ในภาพคืออะไร

ก ไรโบโซม

ข นิวคลีโอลัส

ค ไซโทพลาซึม

ง ไมโทคอนเดรีย



83 หมายเลข 4 ในภาพคืออะไร

ก ไรโบโซม

ข กอลจิบอดี

ค คลอโรพลาสต์

ง ไมโทคอนเดรีย

84ส่วนประกอบของเซลล์พืชส่วนใดที่ทำ หน้าที่คล้ายยาม

ก ผนังเซลล์

ข นิวเคลียส

ค เยื่อหุ้มเซลล์

ง ไซโทพลาซึม

85เซลล์ข้อใดที่ไม่มีนิวเคลียสเป็นส่วนประกอบ

ก เซลล์ประสาท

ข เซลล์กล้ามเนื้อ

ค เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม

ง เซลล์เม็ดเลือดแดง

86จากรูปอนุภาคใดที่แพร่เข้าสู่ลำต้นได้

ก น้ำ น้ำเกลือ

ข น้ำ น้ำตาลทราย

ค น้ำ น้ำตาลกลูโคส

ง น้ำ น้ำเกลือ น้ำตาลกลูโคส

87ขนรากดูดซึมแร่ธาตุเข้าสู่เซลล์โดยวิธีการใด

ก การไหล ข การแพร่

ค การลำเลียง ง การออสโมซิส

88อัตราการแพร่จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยข้อใด

ก ชนิดของสาร

ข ชนิดของเยื่อกั้น

ค ขนาดอนุภาคของสาร

ง ความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของสาร 2 บริเวณ

89การแพร่ของสารที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้แก่ข้อใด

ก การฉีดน้ำรดต้นไม้

ข การพ่นยากำจัดศัตรูพืช

ค การกระจายของน้ำเข้าสู่ราก

ง การกระจายของฝุ่นละอองในอากาศ

90เมื่อหย่อนเกล็ดด่างทับทิมลงในน้ำในบีกเกอร์จะเกิดการแพร่กระจายขึ้น นักเรียนคิดว่าถ้ามีการเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น อัตราการแพร่จะเป็นอย่างไร

ก ช้าลง

ข เร็วขึ้น

ค เท่าเดิม

ง ไม่มีผลต่ออัตราการแพร่

ใช้ภาพต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 6_7







91จากรูปต้องการทดลองเรื่องใด

ก การแพร่

ข การออสโมซิส

ค การดูดซึมของน้ำ

ง การกระจายอนุภาคของน้ำตาล

92ถุงกระดาษแก้วมีคุณสมบัติเหมือนกับสิ่งใด

ก ผนังเซลล์

ข เซลล์เมมเบรน

ค ไซโทพลาซึม

ง เม็ดคลอโรพลาสต์

ใช้ภาพต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 8–9

93ทิศทางของการออสโมซิสจากการจัดอุปกรณ์ดังรูปคือข้อใด

ก Y X ข X Y

ค Y X Y ง X Y



94 ทิศทางของการแพร่จากการจัดอุปกรณ์ ดังรูปคือข้อใด

ก Y X ข X Y

ค Y X Y ง X Y

95 รูปภาพ

จัดอุปกรณ์การทดลองดังรูป เมื่อเวลาผ่านไป 35 นาที พบว่า น้ำในบีกเกอร์มีสีฟ้า แต่ระดับน้ำไม่เพิ่มขึ้น ข้อใดผิด

ก อัตราการแพร่ของจุนสีมากกว่าน้ำ

ข อัตราการแพร่ของน้ำและจุนสีเท่ากัน

ค น้ำแพร่จากภายนอกเข้าสู่ภายในถุงเซลโลเฟน

ง อนุภาคของจุนสีแพร่ออกมาสู่ภายนอกถุงเซลโลเฟน

96กลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงน้ำพบได้ในส่วนใดของพืช

ก เฉพาะราก

ข รากและลำต้น

ค ราก ลำต้น และกิ่ง

ง ราก ลำต้น กิ่ง และใบ

97ท่อลำเลียงน้ำในลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่จะมีลักษณะอย่างไร

ก เรียงกันอยู่เป็นวง

ข กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป

ค อยู่เป็นกลุ่มตรงกลางลำต้น

ง อยู่เป็นหย่อม ๆ ระหว่างเซลล์

98โครงสร้างที่พืชใช้ในการลำเลียงน้ำและ แร่ธาตุขึ้นสู่ลำต้น กิ่ง และใบคืออะไร

ก ไซเลม ข โฟลเอ็ม

ค ระบบราก ง แคมเบียม

99การศึกษาท่อลำเลียงน้ำของพืชต้องใส่หมึกแดงลงไปในน้ำที่แช่ต้นพืชด้วย เพราะเหตุใด

ก ช่วยให้พืชลำเลียงน้ำได้ดีขึ้น

ข ช่วยให้พืชสังเคราะห์ด้วยแสงดีขึ้น

ค ช่วยให้เห็นเซลล์ที่เป็นท่อลำเลียงน้ำชัดเจน

ง ช่วยให้เห็นเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของลำต้นชัดเจน

100จากรูปเป็นลำต้นของพืชชนิดใด

ก อ้อย ข ปาล์ม

ค กล้วย ง มะม่วง

101อความเกี่ยวกับการคายน้ำข้อใด ไม่ ถูกต้อง

ก พืชคายน้ำได้เฉพาะที่ใบ

ข การคายน้ำของพืชเกิดขึ้นได้ตลอด
เวลา

ค การคายน้ำช่วยให้พืชลำเลียงแร่ธาตุ

ได้ดีขึ้น

ง การคายน้ำของพืชช่วยให้การลำเลียงน้ำดีขึ้น





102พืชชนิดใดไม่มี การคายน้ำ

ก บัว ข กล้วยไม้

ค สาหร่าย ง กระบองเพชร

103. ภาวะใดที่พืชคายน้ำได้ดี

ก มีแสงแดดจ้า

ข มีพายุพัดแรงมาก

ค อุณหภูมิของอากาศต่ำ

ง ความชื้นในอากาศมีมาก

104จากการทดลองนี้สรุปได้ว่าอย่างไร

ก แสงสว่างมีอิทธิพลต่อการคายน้ำ ของพืช

ข พืชคายน้ำออกทางใบมากกว่าส่วนอื่น ๆ

ค พืชจะคายน้ำได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความชื้นของอากาศ

ง แสงสว่าง ความชื้น และอุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการคายน้ำของพืช

105. ข้อใดไม่ใช่ ประโยชน์ของการคายน้ำของพืช

ก ช่วยให้การลำเลียงน้ำดีขึ้น

ข ช่วยให้ใบของพืชมีความชุ่มชื้น

ค ช่วยลดอุณหภูมิภายในลำต้นและที่ใบ

ง ช่วยให้การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นตลอดเวลา

106. กลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารของพืช เรียกว่าอะไร

ก ไซเลม ข โฟลเอ็ม

ค แคมเบียม ง คลอโรฟิลล์

107. การลำเลียงอาหารของพืชจะลำเลียงในรูปของสารใด

ก แป้ง ข เกลือแร่

ค น้ำตาลกลูโคส ง น้ำตาลและเกลือแร่

108. อัตราการลำเลียงอาหารของพืชเกี่ยวข้องกับข้อใดน้อยที่สุด

ก ชนิดของพืช

ข ความชื้นในอากาศ

ค ชนิดของสารที่ถูกลำเลียง

ง ช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืน

109. ทิศทางการลำเลียงอาหารของพืชส่วนใหญ่มีทิศทางอย่างไร

1 จากราก ลำต้น กิ่ง ใบ

2 จากใบ กิ่ง ลำต้น ราก

3 จากใบ กิ่ง ลำต้น กิ่ง ดอก

ก 1 และ 2 ข 2 และ 3

ค 1 และ 3 ง เฉพาะ 2

110. พืชลำเลียงอาหารไปใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง

ก สร้างพลังงาน

ข สร้างเซลล์ใหม่

ค สะสมไว้ในรูปของแป้ง

ง ถูกทุกข้อ

111. แร่ธาตุที่พืชต้องการมากที่สุดคือข้อใด

ก แคลเซียม แมกนีเซียม ไนโตรเจน

ข ไนโตรเจน โพแทสเซียม แคลเซียม

ค โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน

ง แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส



112. ถ้าลำต้นพืชเปราะและหักง่าย ใบด้านล่างมีสีเขียวเข้มผิดปกติ แสดงว่าขาดแร่ธาตุชนิดใด

ก แคลเซียม ข ไนโตรเจน

ค ฟอสฟอรัส ง โพแทสเซียม

113. ข้อใดไม่ใช่ ธาตุอาหารเสริมของพืชซึ่งพืชต้องการน้อยมาก แต่ขาดไม่ได้

ก เหล็ก ข สังกะสี

ค ทองแดง ง แมกนีเซียม

114. การที่น้ำและแร่ธาตุออกจากท่อลำเลียงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช เกิดจากความแตกต่างของสิ่งใด

ก อุณหภูมิของน้ำและแร่ธาตุ

ข ปริมาตรของน้ำและแร่ธาตุ

ค ความหนาแน่นของน้ำและแร่ธาตุ

ง ความเป็นกรด–เบสของน้ำและแร่ธาตุ

115. ต้นไม้ที่ขาดธาตุแคลเซียมจะมีอาการอย่างไร

ก ใบยอดม้วนเข้าหากัน

ข ใบมีสีเขียวเข้มผิดปกติ

ค ใบเหลืองระหว่างเส้นใบ

ง ปลายใบไหม้เกรียมไปถึงโคนใบ

116. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

ถ้า B เป็นสารที่เข้าทางปากใบของพืช A และ B คืออะไร

ก น้ำ และแก๊สออกซิเจน

ข แก๊สออกซิเจน และน้ำ

ค แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ

ง น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

117. สาร G จากข้อ 1 คืออะไร

ก น้ำ ข แป้ง

ค แก๊สออกซิเจน ง น้ำตาลกลูโคส

118. ข้อใดไม่ใช่ ปัจจัยที่สำคัญในกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง

ก น้ำ ข แสง

ค ออกซิเจน ง คาร์บอนไดออกไซด์

119. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช สิ่งแรกที่ได้คืออะไร

ก น้ำ ข แป้ง

ค น้ำตาล ง แก๊สออกซิเจน

120. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คือข้อใด

ก น้ำตาล แป้ง น้ำ

ข น้ำตาล แก๊สออกซิเจน น้ำ

ค แป้ง น้ำตาล คลอโรฟิลล์ น้ำ

ง น้ำตาล แก๊สออกซิเจน คลอโรฟิลล์

121. จากรูป ตัวแปรที่ควบคุมคืออะไร

1 ชนิดของต้นไม้

2 ปริมาณแสง

3 สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์

4 ระยะเวลาที่ให้ต้นไม้ถูกแสง

ก 3 ข 1 และ 2

ค 1, 2 และ 3 ง 1, 2 และ 4

122. จากข้อ 6 ผู้ทดลองใส่สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในถุงเพื่ออะไร

ก ดูดน้ำ ข ดูดพลังงานแสง

ค ดูดแก๊สออกซิเจน

ง ดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

123. ตัวแปรตามคืออะไร

ก ปริมาณน้ำตาลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง

ข ปริมาณน้ำที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสง

ค ปริมาณแป้งที่พบในใบพืชจากการสังเคราะห์ด้วยแสง

ง ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง

124. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงมีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด

ก ปริมาณแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นในพื้นดิน

ข ปริมาณอาหารที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

ค จำนวนพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณต่าง ๆ

ง การหมุนเวียนของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน



125. “ในบรรยากาศที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์น้อยหรือไม่มีเลยจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช” นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวข้างต้น

ก เห็นด้วย เพราะพืชใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการหายใจ

ข เห็นด้วย เพราะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

ค ไม่เห็นด้วย เพราะพืชต้องการแก๊ส ออกซิเจนช่วยในการเจริญเติบโตของพืช

ง ไม่เห็นด้วยเพราะการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชไม่

จำเป็น ต้องใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

156. ข้อใดเป็นพฤติกรรมการตอบสนองของพืช ที่เกิดจากแสงสว่าง

ก การผลัดใบของพืชในเขตหนาว

ข การที่รากพืชชอนไชลงไปในพื้นดิน

ค การหุบหรือบานของดอกไม้บางชนิด

ง การงอกของเมล็ดในบริเวณที่มี

สิ่งแวดล้อมเหมาะสม

127. อะไร ไม่ใช่ สิ่งเร้าที่ทำให้รากของพืชเคลื่อนที่ลงไปในพื้นดิน

ก ความชื้นใต้พื้นดิน

ข อุณหภูมิของพื้นดิน

ค แรงโน้มถ่วงของโลก

ง แร่ธาตุที่อยู่ในพื้นดิน

128. พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของพืชที่เกิด จากการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่งภายใน เซลล์ ใช้กระบวนการในข้อใด

ก กระบวนการแพร่

ข กระบวนการคายน้ำ

ค กระบวนการออสโมซิส

ง กระบวนการรักษาสมดุลของน้ำ

129. ข้อใดอธิบายพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อการสัมผัสของกลุ่มเซลล์บริเวณโคนใบ ที่เรียกว่าพัลไวนัส (Pulvinus) ได้ถูกต้อง

ก เซลล์คายน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้ใบพืชหุบได้

ข เมื่อถูกสัมผัสหรือกระทบกระทั่งอย่างแรงผนังเซลล์จะหดตัวทำให้ใบพืชหุบได้

ค ใบพืชปล่อยเอนไซม์บางชนิดออกมาทำให้เซลล์บริเวณนั้นหดตัว ใบพืชจึงหุบได้

ง เกิดการสูญเสียน้ำให้แก่ช่องว่างระหว่างเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ทำให้ใบหุบทันที

130. พฤติกรรมการตอบสนองของพืชที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอกมีความสัมพันธ์กับกระบวนการในข้อใดมากที่สุด

ก การหายใจ

ข การคายน้ำ

ค การสังเคราะห์ด้วยแสง

ง การลำเลียงน้ำและอาหาร

131. ข้อใดมีผลต่อการงอกของเมล็ดน้อยที่สุด

ก น้ำ ข อากาศ

ค อุณหภูมิ ง แสงสว่าง

132. ขณะที่เมล็ดงอกจะได้อาหารจากหมายเลขใด

ก 1 ข 2

ค 3 ง 4

133. ขณะที่เมล็ดยังไม่งอก ส่วนใดของพืชที่ช่วย ให้เมล็ดมีความชุ่มชื้น

ก รูไมโครไพล์ ข รากแรกเกิด

ค เอนโดสเปิร์ม ง เปลือกหุ้มเมล็ด

134. ในขณะที่เมล็ดกำลังงอก ส่วนที่โผล่พ้น เมล็ดออกมาก่อนคืออะไร

ก ใบเลี้ยง

ข รากแรกเกิด

ค ยอดแรกเกิด

ง ลำต้นแรกเกิด

135. ส่วนใดของพืชที่ใช้ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

ก ใบ ข ดอก

ค ราก ง ลำต้น

136. พืชในข้อใดมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

ก ขิง ข อ้อย

ค มะละกอ ง มันสำปะหลัง

137. ข้อต่อไปนี้เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัย เพศ ยกเว้น ข้อใด

ก การปักชำ

ข การต่อกิ่ง

ค การแตกหน่อ

ง การเพาะเมล็ด

138. ปัจจัยที่ ไม่ เกี่ยวข้องกับการงอกของเมล็ด

พืช คือข้อใด

ก น้ำ ข อุณหภูมิ

ค แสงสว่าง ง แก๊สออกซิเจน



139. ข้อใดคือประโยชน์ของน้ำต่อการงอกของ เมล็ด

ก ทำให้เอ็มบริโออ่อนตัว

ข ทำให้รูไมโครไพล์ใหญ่ขึ้น

ค ทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว

ง ทำให้รอยแผลเป็นขยายขนาดใหญ่ขึ้น

140. การขยายพันธุ์พืชที่มีโอกาสทำให้พืชกลายพันธุ์ได้มากที่สุด คือข้อใด

ก การตอน

ข การทาบกิ่ง

ค การปลูกด้วยเมล็ด

ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

141. ข้อใดคือพืชที่มีการขยายพันธุ์โดยใช้ราก

ก กล้วย กล้วยไม้

ข มันเทศ กระชาย

ค มันฝรั่ง พุทธรักษา

ง โคมญี่ปุ่น กุหลาบหิน

142. การขยายพันธุ์พืชโดยวิธีใดทำให้ได้พืชที่มีลักษณะดีและได้จำนวนมากในระยะ เวลาสั้น ๆ

ก การตอน ข การทาบกิ่ง

ค การเพาะเมล็ด

ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

143. ส่วนใดของพืชที่สามารถนำมาใช้เพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อได้ดีที่สุด

ก ราก

ข ดอก

ค ลำต้น

ง ตาอ่อน

144. พืชลำเลียงอาหารที่รากดูดจากพื้นดินไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชด้วยกระบวนการใน ข้อใด

ก การแพร่

ข การออสโมซิส

ค การสั่นของอนุภาค

ง การรักษาสมดุลของน้ำ

145. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ต้องการสิ่งใดจากรากของพืชมากที่สุด

ก น้ำ ข แป้ง

ค น้ำตาล ง แร่ธาตุ

146. ส่วนใดของพืชที่นิยมนำมาใช้ในการ

เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ก ใบแก่ ๆ ข กิ่งแก่ ๆ

ค รากอ่อน ง ปลายยอดอ่อน

147. เอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมมีประโยชน์ในเรื่องใด

ก เร่งปฏิกิริยา

ข ยับยั้งปฏิกิริยา

ค แยกผลิตผลต่าง ๆ

ง ละลายสารชนิดอื่น

148. การตัดแต่งจีน (Gene) สำหรับพืชบางชนิด เพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชนั้น ฝ่ายที่

ต่อต้านการดำเนินงานลักษณะดังกล่าวนี้ มีข้อห่วงใยในเรื่องใดมากที่สุด

ก การกลายพันธุ์ของพืช

ข วัฏจักรการเจริญเติบโต

ค ผลข้างเคียงต่อผู้บริโภค

ง การขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิต

149. ข้อใดคือจุดเด่นที่สำคัญของการใช้พืชที่ได้ จากการตัดแต่งจีนในการเพาะปลูก

ก ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง

ข เพิ่มผลผลิตต่อไร่มากกว่าพันธุ์ดั้งเดิม

ค ราคาต่อหน่วยถูกกว่าการใช้พันธุ์ดั้งเดิม

ง ได้พืชพันธุ์ใหม่ที่ทนต่อทุกสภาพภูมิอากาศ

150. ข้อห่วงใยของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ ปรับปรุงพันธุ์สัตว์คืออะไร

ก ปัญหาการกลายพันธุ์ของสัตว์

ข ปัญหาด้านจริยธรรมในการทดลอง

ค ปัญหาด้านการเพิ่มผลผลิตของสัตว์แต่ละประเภท

ง ปัญหาด้านพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของสัตว์ที่ใช้ในการทดลอง





 

Create Date : 31 มีนาคม 2553    
Last Update : 31 มีนาคม 2553 14:30:26 น.
Counter : 5473 Pageviews.  

4521002064 นายชาตานนท์ ตากลม

4521002064 นายชาตานนท์ ตากลม




 

Create Date : 02 ตุลาคม 2552    
Last Update : 2 ตุลาคม 2552 23:30:34 น.
Counter : 695 Pageviews.  

ฟิสิกส์

//thaiphysics.blogspot.com/




 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 23 กรกฎาคม 2552 20:24:00 น.
Counter : 690 Pageviews.  

1  2  3  4  

hangclub
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 29 คน [?]




Friends' blogs
[Add hangclub's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.