Group Blog
 
All Blogs
 
เหนือกว่าเมกะโปรเจ็กส: คิดใหม ทําใหม่

โดย: ดร. อนันตโชค โอแสงธรรมนนท

เมกะโปรเจ็กส กับเรื่องน่าปวดหัว
โครงการลงทุนขนาดใหญของภาครัฐ หรือเรียกกันติดปากว่าโครงการเมกะโปรเจ็กส เป็นสิ่งที่หลายคนคาดหวังว่าจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางราคานน้ำมันที่อยูในระดับสูง ท่ามกลางกระแสวิพากษวิจารณที่แสดงถึงความกังวลต่อโครงการเมกะโปรเจ็กส หากไม่นับฝูงบินใหมของบมจ.การบินไทยแล้ว รัฐยังไมเริ่มโครงการลงทุนใดๆ ตามแผนเลย ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาความกังวลเกี่ยวกับเมกะโปรเจ็กสปรากฎทั้งในเชิงวิชาการและนัยทางธุรกิจ

ที่ผ่านมามักมีคําถามเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการดังกล่าวต่อเสถียรภาพภายนอกและการจัดหาเงินลงทุนในโครงการเหล่านี้ เป็นที่น่าสนใจยิ่งว่าไมมีใครสามารถระบุประโยชนของโครงการเหล่านี้ในระยะยาว และวิธีจัดการการลงทุน ที่จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพภายนอก หรือดุลบัญชีเดินสะพัดได ที่เลวร้ายไปกว่านั้นบางคนยังเข้าใจผิดว่าโครงการเหล่านี้เป็นรากฐานที่ก่อใหเกิดภาวะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่สูงมากในช่วงครึ่งแรกของป48 ด้วย ซ้ำอย่างไรก็ดี ในความเป็นจริงขนาดของการลงทุนค่อนข้างยืดหยุ่นและอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได ดังนั้นงบประมาณลงทุน 1.7 ล้านล้านบาท จึงยังไม่ใช่ตัวเลขสุดท้ายในบทความนี้ เราจะแสดงถึงความจําเป็นที่ภาครัฐต้องลงทุนขนาดใหญ อีกรอบหลังโครงการเมกะโปรเจ็กส์เสร็จสิ้น รอบนี้ต้องมุ่งไปที่ความสามารถทางด้านการสรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

เรื่องจริงที่ต้องรู้เมกะโปรเจ็กส เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานหลัก ซึ่งจะช่วยปรับปรุงระบบลอจิสติกส อันจะนํามาสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย อย่างไรก็ตามการลงทุนเหล่านี้กลับมิได้แก้ปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แต่อย่างใด

เป็นเวลากว่า 30 ปที่ประเทศไทยประสบความสําเร็จอย่างมากจากการดําเนินกลยุทธกระตุ้นการเติบโตของประเทศด้วยภาคการส่งออก ซึ่งกลยุทธดังกล่าวถือว่าล้าสมัยไปแล้วในปัจจุบัน อุตสาหกรรมไทยกําลังสูญเสียตําแหน่งให้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่น ประเทศจีนและเวียดนาม ซึ่งมีต้นทุนค่าแรงที่ต่ำากว่ามาก ในอีกด้านหนึ่งประเทศไทยก็ ถูกกดดันจากการไม่สามารถก้าวตามประเทศอุตสาหกรรมใหม่อื่นๆ ได้ทัน อันเนื่องมาจากขาดแคลนความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา ก่อนหน้านี้ประเทศไทยไม่เคยตระหนักเรื่องเหล่านี้มาก่อนจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้

ในอดีตอุตสาหกรรมไทยจะพึ่งพิงเฉพาะสินค้าทุ น (เช่นเครื่องจักร) และสินค้าขั้นกลางอื่นๆ จากต่างประเทศ เมื่อสินค้าทุนซื้อขายกันที่ราคาสากล ความสามารถในการแข่งขันจึงมาจากการมีค่าแรงที่ถูกกว่า หากค่าแรงต่ำมากพอก็ไม่มีความจําเป็นที่จะต้องสร้างนวัตกรรมใหมๆ เพื่อให้กําไรเติบโต แต่หากไม่เป็นเช่นนั้นเราจําเป็นจะต้องมีนวต
กรรมใหมเพื่อที่จะรักษาความสามารถในการแข่งขัน และนี่คือแนวทางที่ประเทศไทยจะต้องปฏิบัติ

เศรษฐกิจไทย : คิดใหม ทําใหม
การประชุมอินโนเวเซีย 2005 ที่จัดขึ้นเมื่อปลายเดือนที่แล้ว มีหัวข้อหลักในการเน้นบทบาทของนวัตกรรมในเศรษฐกิจโลกในยุคใหม ทั้งนี้เนื่องจาก 1)การแข่งขันในกลุ่มผู้มีต้นทุนต่ำ ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และ 2)การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง ซึ่งมีรสนิยมที่แตกต่างกัน ข้อสรุปที่ได้คือ มีช่องว่างอีกมากมายที่สามารถใช้นวัตกรรมใหม่ๆในการสร้างตลาดเฉพาะ ในปัจจุบันการค้าโลกได้มีการผนวกเข้าหากันมากยิ่งขึ้นทุกประเทศจึงแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศในการสร้างนวัตกรรมซึ่งจําเป็นต้องพึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสําคัญ

ความสามารถในการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยจัดอยู่ในระดับธรรมดาโดยเฉพาะในภาคธุรกิจ จากการสํารวจประจําปีของกระทรวงอุตสาหกรรม พบว่าค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของอุตสาหกรรมไทยส่วนใหญ่ต่ำกว่า 1% ของยอดขายและจํานวนบริษัทที่เข้าไปเกี่ยข้องกับธุรกรรมด้านการวิจัยและพัฒนาก็น้อยมาก เนื่องด้วยไม่มีความต้องการที่เด่นชัด สําหรับงานด้านวิจัยและพัฒนา ความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยในเชิงสาธารณะจึงอ่อนแอมาก ผลงานวิจัยที่ออกมาจึงไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการและเป็นผลให้ไม่มีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย ยิ่งไปกว่านั้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจต้องช่วยให้เกิดการปรับปรุงต่ออุตสาหกรรมในปัจจุบัน รวมไปถึงดูแลอุตสาหกรรมใหม เช่นซอฟท์แวร์และไบโอเทคโนโลยี ซึ่งจําเป็นต้องใช้นักวิทยาศาลตร์และวิศวกรใหม่จํานวนมาก ด้วยเหตุที่ภาคเอกชนยังไม่พร้อมที่จะเป็นผู้นําเรื่องดังกล่าว ณ ขณะนี้จึงจําเป็นที่รัฐต้องรับผิดชอบแทน พร้อมทั้งสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ และนี่เป็นเบื้องหลังความสําเร็จในอดีตของประเทศอย่างญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งจีนและเวียดนามก็ดําเนินรอยตามมาในแบบเดียวกัน

สําหรับประเทศไทย รัฐบาลได้เริ่มจุดกระแสหลายๆ ด้านที่จะพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจนโยบาย การเสริมสร้างความสามารในการแข่งขันยังไม่ผลิดอกออกผล เนื่องจากงบประมาณ ด้านนี้ยังมิได้มีการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นรัฐยังเริ่มที่จะปรับการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทางอุปสงค์ มาเป็นนโยบายการจัดการด้านอุปทาน เริ่มต้นด้วยโครงการเมกะโปรเจ็กส์รวมไปถึงการเน้นการเติบโตที่ขับเคลื่อนด้วยการปรับปรุงคุณภาพ

ในท้ายที่สุด รัฐจะต้องให้ความสําคัญกับการปรับโครงสร้ างทางเศรษฐกิจ หลังการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคบรรลุผลสําเร็จแล้ว แม้อาจจะถูกรบกวนจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น, เหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดในภาคใต้และภัยแล้งไปบ้างก็ตาม อย่างไรก็ดีรัฐบาลไม่เคยเปิดเผยกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและกลยุทธ์การสร้างขีดความสามารถทางด้านนวัตกรรม ทั้งที่ 2 เรื่องนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก

เรายังมีความหวังที่จะเห็นรัฐบาลไทยกําหนดใหแผนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นวาระแห่งชาติ ครั้งหนึ่งประเทศไทยเคยประสบความสํ าเร็จในการเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรมและส่งออกเมื่อ 30 ปีมาแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดๆที่ ไทยจะไม่ใชโอกาสนี้เพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญอีกครั้งภายใต้การสนับสนุนเป็นอย่างดีจากรัฐบาล ทั้งนี้ทั้งนั้นการปรับตัวครั้งนี้มีนัยสําคัญอย่างมาก ถ้าคนไทยไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรคในการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงใดๆแล้ว ประเทศไทยก็ยากที่จะมีอนาคตที่สดใสได



Create Date : 09 ตุลาคม 2548
Last Update : 9 ตุลาคม 2548 15:57:59 น. 0 comments
Counter : 356 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nut_siri
Location :
Koriyama, Fukushima Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add nut_siri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.