เงินบาทลอยตัว และการเกิดขึ้นของปรส. บบส. บสท. บสก.ทั้งหลาย

ขอโทษครับที่เขียนล่าช้าไปมาก จากที่เขียนค้างไว้คราวก่อนเมื่อมีคนรับเคราะห์มากมาย จากไฟแนน และทรัสต์ต่าง ๆ ล้ม แต่ปัญหาทั้งหลายยังไม่สิ้นสุดครับ มันเพิ่งเริ่มแสดงผลของมันเท่านั้น จากนั้นประมาณปีเศษ ในเดือนกรกฎาคม ปี40 มีการประกาศเงินบาทลอยตัวขึ้น ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น ในยุครัฐบาล พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ จุดแตกหักของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เกิดขึ้นตอนเช้าตรู่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เมื่อรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างทันทีทันใด จากเดิมประมาณ 25.60 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ เป็น 28.75 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง และค่าเงินบาทอ่อนลงตามลำดับ ในช่วงต่ำสุดเคยตกลงถึง 55 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ

วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ นอกจากทำให้ธุรกิจเอกชน เช่น บริษัทบ้านจัดสรร อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง สถาบันการเงิน ธนาคาร ธุรกิจการพิมพ์การโฆษณา ถูกกระทบอย่างรุนแรง หลายแห่งต้องปิดกิจการ หลายแห่งมีหนี้ท่วมตัว พนักงานจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน และรัฐบาลถูกกดดันให้ลาออกแล้ว วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ยังส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศมาเลย์เซีย อินโดนีเซีย เกาหลี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ รัสเซีย และประเทศอื่นๆ มากบ้างน้อยบ้าง

ความพยายามของธนาคารแห่งประเทศไทยในการพยุงค่าเงินบาท ทำให้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศหมดคลังจนต้องขอกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศจำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพยุงฐานะทางการเงินของประเทศ และรัฐบาลไทยจำต้องยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนดขึ้น เช่น งบประมาณแผ่นดินจะต้องตั้งเกินดุล 1 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ภาษี มูลค่าเพิ่มจะต้องเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ เข้าใจกันว่าเกิดจากการดำเนินนโยบายผิดพลาดที่สำคัญ 2 ประการของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่

1) การใช้เงินกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไปช่วยเหลือสถาบันการเงินจนเกิดความเสียหายเกินที่จะเยียวยา และจำต้องปิดบริษัทไฟแนนซ์ 56 แห่ง

2) การสูญเสียเงินสำรองระหว่างประเทศในการปกป้องการโจมตีค่าเงินบาท จนนำไปสู่วิกฤตเงินทุนสำรอง ทำให้เงินบาทขาดเสถียรภาพนับตั้งแต่การตัดสินใจเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตะกร้าเงินมาเป็นระบบลอยตัว

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 สาเหตุ 2 ประการข้างต้นมีที่มาจากการเร่งรัดเปิดระบบวิเทศธนกิจ หรือ BIBF (Bangkok International Banking Facility) เมื่อปี 2536-2537 ทำให้เกิดการก่อหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนจำนวนมหาศาลถึง 70,000 ล้านบาท ในขณะที่ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐถูกตรึงค่าอยู่ที่ 25.60 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่เมื่อปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐสูงถึง 45-50 บาท ต่อดอลล่าร์สหรัฐในช่วงหลังวิกฤตได้ไม่นาน ทำให้หนี้เงินกู้ของบริษัทเอกชนเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว และพากันล้มละลายหรือมีหนี้ท่วมตัว

และยังเป็นสาเหตุให้ธนาคารหลายแห่งต้องปิดกิจการ และอีกหลายแห่งต้องควบรวมกิจการ หรือขายหุ้นให้ต่างชาติอีกด้วย

ช่วงเวลานั้นเป็นยุคตกต่ำของอสังหาริมทรัพย์อย่างแท้จริง ที่ดิน, บ้าน, คอนโดขายไม่ออกเป็นจำนวนมาก หลายแห่งสร้างไม่เสร็จและถูกทิ้งไว้อย่างนั้น เนื่องจากธนาคารต่าง ๆ ไม่ให้สินเชื่อต่อ ยิ่งถ้ากู้กับไฟแนน หรือธนาคารที่ถูกควบรวมยิ่งไม่มีสิทธิได้สินเชื่อเพิ่มเติม

NPL ล้นตลาด NPL คือทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทรัพย์พวกนี้แต่ก่อนเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันลูกหนี้ธนาคาร ก็ก่อให้เกิดรายได้เป็นดอกเบี้ยให้กับธนาคาร แต่พอเกิดเหตุขึ้น สถาบันการเงินต่าง ๆ ดำเนินการแบบตัวให้ตัวเผือกเพื่อความอยู่รอด หยุดการต่อท่อน้ำเลี้ยง กว่าจะดำเนินการต่ออีกทีคนรอก็ตายเกือบหมด NPL เลยล้นตลาด

ทางรัฐบาลซึ่งตอนนั้นเป็นรัฐบาลประชาธิปัตย์ ได้จัดตั้งองค์กรหนึ่งไว้จัดการปัญหา NPL โดยเฉพาะ องค์กรณ์นั้นคือ ปรส. แล้วไอ้เจ้าปรส. มีบทบาทอย่างไร และมีเหตุการณ์เกี่ยวเนื่องกับอะไรอีกบ้าง ไวติดตามตอนหน้าคร้าบ ต้องการสอบถามเพิ่มเติมกดที่คอมเม้นท์ใต้บทความ หรือ ที่อีเมล์ numsodonsales@gmail.com ครับ



มุมสุขกันเถิดเรา (แนวความคิดสร้างความสุขในชีวิตที่ไม่ต้องรอแม้วินาทีเดียว)

เรามาต่อตอน2 กันต่อครับ

2.3 เขี่ยนิสัยขี้กังวลออกไปซะ

พวกเราส่วนใหญ่เป็นคนขึ้กังวล
เรากังวลเรื่องงาน เรื่องลูก ๆ...และเรื่องที่ว่า เพื่อนบ้านจะคิดอย่างไร
บางคนถึงกับบอกคุณเลยว่า "คุณควรจะกังวลนะ!"
แต่การคิดวิตกกังวลนั้น นอกจากไร้ประโยชน์แล้ว ยังมีส่วนแย่กว่านั้นอีกครับ

ข้อแรกคือ มันจะชักนำโชคร้ายเข้ามาสู่ชีวิตคุณ
ข้อสอง มันเป็นโทษต่อสุขภาพของคุณเองครับ
แล้วเราควรทำยังไงกับเจ้าความกังวลนี้ดี ก็เลื่อนมันออกไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีกำหนดครับ
คนที่มีประสิทธิภาพทำแบบนั้นแหละครับ
เมื่อใดที่คุณอยากกลุ้มใจ ให้ถามตัวคุณเองว่า
"ปัญหา ณ วินาทีนี้คืออะไรกันแน่"

ลองเดาคำตอบที่คุณจะพบสิครับ...ถ้าคุณไม่ได้กำลังอยู่ในสถานการณ์คับขันสุด ๆ ของชีวิตแล้วละก็ คำตอบคือ คุณไม่ได้มีปัญหาอะไรเลย!

แน่นอนว่า ภัยพิบัติ ความเจ็บปวด วิกฤตการเงิน ต่างก็เกิดขึ้นได้ แต่ก็ไม่มีเหตุผลที่จะต้องมีชีวิตแบบกระต่ายที่ตื่นกลัวตลอดเวลาเลยนี่ครับ
เมื่อวิกฤติมาถึง คุณสามารถรับมือกับมันให้ผ่านพ้นไป ทีละขณะ การที่คุณมัวคิดวิตกไปถึงอนาคตก่อนนั่นแหละ วิกฤติชีวิตมันจะทำร้ายคุณได้ และความคิดของคุณก็ชอบดึงคุณให้คิดไปถึงอนาคตอยู่เสมอด้วย!

ขอให้อยู่กับปัจจุบันครับ! ทำสิ่งที่คุณทำได้ในวันนี้ และปล่อยเจ้าความกังวลทิ้งไป อย่าสนใจมันครับ
ลองมองดูชีวิตของคุณ เคยมีสถานการณ์ไหนที่คุณเอาตัวไม่รอดบ้างไหมครับ ไม่เคยมีเลย!
คุณรับมือกับปัจจุบันได้ครับ อนาคตเท่านั้นแหละที่ก่อปัญหาให้คุณเอง!


พูดง่าย ๆ ก็คือ

เมื่อคิดจะกลุ้มใจ ให้เลื่อนเวลากลุ้มใจไปก่อนครับ
เมื่อมีคนถามว่า "คุณไม่กังวลเรื่องนั้นเลยเหรอ" ให้ตอบเขาไปว่า "ฉันก็คิดจะกังวลในเรื่องนั้นอยู่เหมือนกันแหละ แต่ก็ไม่มีเวลาซะที!" ยังมีต่อครับ


Create Date : 07 มีนาคม 2555
Last Update : 7 มีนาคม 2555 20:57:58 น. 1 comments
Counter : 526 Pageviews.  

 
แวะเข้ามาดู เข้ามาเยี่ยมชมครับ ^^


โดย: BoonsermLover วันที่: 18 มีนาคม 2555 เวลา:5:53:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนุ่มโสด onsales
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add หนุ่มโสด onsales's blog to your web]