ถ้าความคิดบังคับไม่ได้ งั้นคุกมีเท่าไหร่ก็ต้องไม่พอขังคนทำผิดสิ

ความคิด เป็นอาการของจิต ที่เกิดขึ้นเมื่อ

๑.จิตนึกคิดปรุงแต่งอารมณ์ภายในใจ (ธัมมารมณ์)
ที่ได้จดจำไว้ทางใจ

๒.จิตนึกคิดปรุงแต่งหลังจากรับรู้อารมณ์ภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส)
ที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย


ดังนั้น ความคิดจึงเกิดขึ้นที่จิตทุกครั้ง
ที่มีอารมณ์(รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์)
มากระทบจิต(ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ภายนอก(รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส)
หรืออารมณ์ภายใน(ธัมมารมณ์) ก็ตาม

โดยธรรมชาติแล้ว จิตมีปกติตกไปในอารมณ์และปรุงแต่งไปตามอารมณ์
ดังนั้นความคิดจึงเกิดขึ้นที่จิตตลอดเวลา ความคิดแล้ว ความคิดเล่า
สับเปลี่ยนหมุนเวียน ทับถมทวีคูณ ตลอดชีวิต โดยไม่สิ้นสุด

เมื่อความคิดเกิดขึ้น ก็จะมีการตอบสนอง
โดยการแสดงออกทางกาย หรือ วาจา ครบ ๓ ทวาร กาย วาจา ใจ


● ในพระพุทธศาสนา ความคิด ก็คือ สังขารขันธ์ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕
เป็นอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์


ดังนั้น ความคิด จึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

โดยอธิบายว่า

สังขารขันธ์-ความคิด ไม่เที่ยง
คือ ความคิดจะแปรเปลี่ยนตลอดเวลาไปตามอารมณ์ที่มากระทบจิต

สังขารขันธ์-ความคิด เป็นทุกข์
คือ เพราะความคิดเกิดจากจิตนึกคิดปรุงแต่งไปตามอารมณ์

ดังนั้น ถ้าเป็นอารมณ์ดี ก็จะมีความคิดพอใจ
ปรารถนาจะครอบครองรักษาอารมณ์นั้นๆไว้ให้อยู่นานๆ
ทุกข์ก็เกิดขึ้นเพราะไม่สามารถครอบครองอารมณ์นั้นๆได้นานๆตามปรารถนา

ถ้าเป็นอารมณ์ไม่ดี ก็จะมีความคิดไม่พอใจ
ปรารถนาจะผลักไสให้พ้นจากอารมณ์นั้นออกไปให้ไวๆ
ทุกข์ก็เกิดขึ้นเพราะไม่สามารถผลักไสอารมณ์นั้นๆออกไปให้ไวๆตามปรารถนา

สังขารขันธ์-ความคิด เป็นอนัตตา
คือ เพราะความคิดไม่เที่ยง มีความปรวนแปรไปตลอดเวลาตามอารมณ์
และความคิด เป็นทุกข์
ดังนั้นความคิดจึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่อาจพึ่งพาอาศัยได้

เนื่องจากสังขารขันธ์-ความคิด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ดังนั้นจึงมีผู้บัญญัติคำสอนใหม่ขึ้นมา ด้วยความเข้าใจผิดว่า
ความคิดห้ามไม่ได้ บังคับไม่ได้ จะคิดอะไร ปล่อยให้คิดไป จนหยุดคิดเอง
เราแค่ตามดูไปเฉยๆ ห้ามแทรกแซง ห้ามเพ่ง


จึงเกิดคำถามตามหัวเรื่องว่า
ถ้าความคิดห้ามไม่ได้ งั้นคุกมีเท่าไหร่ก็ต้องไม่พอขังคนทำผิดสิ

ความคิดเป็นขันธ์ ๕ ก็จริงอยู่
ขันธ์ ๕ นั้นบังคับไม่ได้ในส่วนที่เกี่ยวกับความเก่าแก่ชราคร่ำคร่า

แต่จิตสามารถบังคับตนเอง
ไม่ให้นึกคิดปรุงแต่งอารมณ์ไปในทางอกุศลได้

และจิตสามารถบังคับตนเอง
ไม่ให้ถืออาวุธไปทำร้ายผู้อื่นก็ได้

ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นกับความยับยั้งชั่งใจที่มีอยู่ประจำใจของแต่ละคน

บางคนเมื่อจิตกระทบอารมณ์ เกิดความคิดไม่พอใจขึ้นมา
ก็จะคิดทำร้ายผู้อื่น แล้วลงมือกระทำทันที
เมื่อทำไปแล้ว ก็ไม่รู้สึกละอายใจเลยสักนิด คิดว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้องสาสมแล้ว

ในกรณีเดียวกันนี้ สำหรับบางคนที่ได้ลงมือทำร้ายผู้อื่น
เมื่อทำไปแล้ว ก็จะค่อยระลึกขึ้นได้ว่าสิ่งที่ทำไปนั้นไม่ถูกไม่ควร

และอีกหลายๆคน เมื่อเกิดความคิดไม่พอใจขึ้นมา
และเมื่อคิดจะทำร้ายผู้อื่น ก็จะคิดพิจารณาก่อนถึงความควรไม่ควร
เมื่อเห็นว่าไม่ควร ก็ไม่ลงมือกระทำ


จากตัวอย่างเล็กๆที่ยกมา แสดงให้เห็นชัดเจนว่า
เราสามารถบังคับจิตไม่ให้นึกคิดปรุงแต่งไปตามอารมณ์
และไม่ให้ลงมือกระทำตอบต่ออารมณ์ได้
ทั้งนี้ขึ้นกับ การอบรมจิต

จิตที่ไม่ได้รับการอบรม ย่อมปรุงแต่งไปตามอารมณ์
เกิดความนึกคิดปรุงแต่ง และแสดงการกระทำตอบโต้ต่ออารมณ์ในทันที

แต่จิตที่ได้รับการอบรม ย่อมมีพลังสติ(มากน้อยตามการอบรม)
ที่จะไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ ไม่แสดงการตอบโต้ต่ออารมณ์ในทันที
และรู้จักปล่อยวางอารมณ์ออกไปได้ในที่สุด



● การอบรมจิตในพระพุทธศาสนาที่ทรงเมตตาสอนให้ปฏิบัติตาม ก็คือ
การปฏิบัติอริยมรรค ๘ หรือ การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง

เป็นการอบรมจิตให้มีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติอย่างต่อเนื่อง
เมื่อมีอารมณ์มากระทบจิต ก็ให้รีบยกจิตเข้าไปตั้งไว้ที่ฐานที่ตั้งสติ
(สติปัฏฐาน) อันเป็นการเปลี่ยนอารมณ์จิต

เพราะจิตมีธรรมชาติชอบตกไปในอารมณ์และปรุงแต่งไปตามอารมณ์
การเปลี่ยนอารมณ์จิต ให้ไปตั้งไว้ในอารมณ์ในสติปัฏฐาน ๔ นั้น
เพราะอารมณ์ในสติปัฏฐาน เป็นอารมณ์ที่ปราศจากกาม
เป็นไปเพื่อการเบื่อหน่ายคลายละในที่สุด


● ดังนั้นจึงขอสรุปว่า

จิตสามารถห้ามตนเองไม่ให้ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ได้
นั่นคือ เราสามารถห้ามความคิดได้ เราบังคับจิตได้

ไม่ใช่จะคิดอะไร ปล่อยให้คิดไป จนหยุดคิดเอง
ไม่ใช่แค่ตามรู้ตามดูความคิดไปเฉยๆ

ต้องแทรกแซงจิตโดยการเพ่ง
คือ ต้องให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่อย่างต่อเนื่องที่ฐานที่ตั้งสติ (สติปัฏฐาน ๔)



ยินดีในธรรมทุกๆท่านครับ






Create Date : 15 ธันวาคม 2552
Last Update : 15 ธันวาคม 2552 6:48:39 น. 10 comments
Counter : 740 Pageviews.  

 
จุดประสงค์ของการเจริญสติ..ไม่ว่าหมวดไหน..ก็เพื่อถอดถอนความเป็นเรา..กำจัดอวิชาที่เห็นผิดว่าสภาพธรรมเป็นเรา..

การที่เห็นว่าสภาพธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น..แล้วเกิดสติขึ้นทำให้กุศลธรรมเกิดขึ้นตามมา..อกุศลธรรมดับไป..

ด้วยความไม่รู้(อวิชชา) ทำให้เข้าใจผิดเข้าไปยึดถือว่าสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นเป็นเรา..เกิดตัวเราขึ้น..มีตัวเราเข้าไปห้ามความคิด..

แท้จริงไม่ว่าจะเป็นกุศลหรือกุศลที่เกิดขึ้นมาล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น

ความโกรธเกิดขึ้น..หากได้สะสมการเจริญสติมา..สติก็จะเกิดขึ้นมา..ทำให้ความโกรธดับไป..

ไม่ใช่ความโกรธเกิดแล้วมีตัวเราเข้าไปบังคับให้ความโกรธดับ...นี่เป็นความไม่รู้(อวิชชา)..ในความจริงของธรรม..ว่าเป็นอนัตตา


โดย: palmgang IP: 119.42.103.240 วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:9:59:07 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: itoursab วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:10:00:53 น.  

 
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น....
ตัวเราเข้าใจว่า คำว่าความคิดห้ามไม่ได้ หมายถึงความคิดแรกที่เกิดขึ้น เราไม่สามารถห้ามไม่ให้จิตคิดได้ แต่เมื่อเกิดแล้ว เราห้ามได้ เช่นจิตคิดทำร้ายผู้อื่น (จิตอันนี้ห้ามไม่ได้ ห้ามไม่ให้คิดอย่างนี้ไม่ได้ เมื่อเกิด ก็ดับลงทันที) จิตคิดต่อเนื่องใหม่ขึ้น นั่นหมายถึง จิตห้ามความคิดต่อจากนี้ได้ (จิตเกิดดับเร็วมาก จนยากที่เห็นลำดับการเกิด ดับ จึงดูเหมือนมีความคิดเดียว) จิตจึงห้ามไม่ให้ลงมือกระทำ (ทำร้ายผู้อื่น) เป็นต้น


โดย: เพื่อนธรรม IP: 118.173.86.73 วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:15:07:21 น.  

 
จุดประสงค์ของการเจริญสติ..ไม่ว่าหมวดไหน..ก็เพื่อถอดถอนความเป็นเรา..กำจัดอวิชาที่เห็นผิดว่าสภาพธรรมเป็นเรา..
การที่เห็นว่าสภาพธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น..แล้วเกิดสติขึ้นทำให้กุศลธรรมเกิดขึ้นตามมา..อกุศลธรรมดับไป..
ด้วยความไม่รู้(อวิชชา) ทำให้เข้าใจผิดเข้าไปยึดถือว่าสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นเป็นเรา..เกิดตัวเราขึ้น..มีตัวเราเข้าไปห้ามความคิด..
แท้จริงไม่ว่าจะเป็นกุศลหรือกุศลที่เกิดขึ้นมาล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น
ความโกรธเกิดขึ้น..หากได้สะสมการเจริญสติมา..สติก็จะเกิดขึ้นมา..ทำให้ความโกรธดับไป..
ไม่ใช่ความโกรธเกิดแล้วมีตัวเราเข้าไปบังคับให้ความโกรธดับ...นี่เป็นความไม่รู้(อวิชชา)..ในความจริงของธรรม..ว่าเป็นอนัตตา

โดย: palmgang IP: 119.42.103.240 วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:9:59:07 น.

^
จุดประสงค์ของการเจริญสติ..ไม่ว่าหมวดไหน..
ก็ต้องเจริญที่จิต คือ อบรมจิตให้มีสติตั้งอยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สติปัฏฐาน ๔)อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
ก็เพื่อถอดถอนความ เห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นเรา(จิต)..
กำจัดอวิชาที่ จิต เห็นผิดว่าสภาพธรรม(ขันธ์ ๕) เป็นเรา(จิต)..
เพราะขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่อัตตาตัวตนของเรา

การที่ เรา(จิต) เห็นว่าสภาพธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น..
แล้วเกิดสติขึ้นที่จิต ทำให้กุศลธรรมเกิดขึ้นที่จิตตามมา..อกุศลธรรมดับไปจากจิต ..

ด้วยความที่จิตไม่รู้อริยสัจ ๔(อวิชชา)
ทำให้จิตเข้าใจผิด จิตเข้าไปยึดถือว่าสภาวธรรม(ขันธ์ ๕) ที่เกิดขึ้นเป็นเรา(จิต)..
เกิดตัวเรา(ขันธ์ ๕ ของเรา) ขึ้น..มีตัวเรา(ขันธ์ ๕ ของเรา)เข้าไปห้ามความคิด..

แท้จริงไม่ว่าจะเป็นกุศลหรือกุศลที่เกิดขึ้นมาล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น
เหตุปัจจัยที่ว่า ก็คือ การที่จิตไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
จิตหลงผิดหลงยึดขันธ์ ๕ เป็นเรา เป็นของเรา


ความโกรธเกิดขึ้น ที่จิต..หากจิตได้สะสมการเจริญสติมา..
สติก็จะเกิดขึ้นมาที่จิต..ทำให้ความโกรธดับไปจากจิต..

ไม่ใช่ความโกรธเกิดขึ้นที่จิตแล้ว จิตค่อยเข้าไปบังคับให้ความโกรธดับ... อย่างนี้ไม่ทันการ เพราะปรุงแต่งอารมณ์ไปแล้ว
นี่เป็นความที่จิตไม่รู้อริยสัจ ๔ (อวิชชา)..ในความจริงของธรรม(ตามความเป็นจริง)..
ว่า ขันธ์ ๕ หรืออารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ เป็นอนัตตา



ยินดีในธรรม



โดย: หนูเล็กนิดเดียว วันที่: 16 ธันวาคม 2552 เวลา:7:10:33 น.  

 

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น....
ตัวเราเข้าใจว่า คำว่าความคิดห้ามไม่ได้ หมายถึงความคิดแรกที่เกิดขึ้น เราไม่สามารถห้ามไม่ให้จิตคิดได้ แต่เมื่อเกิดแล้ว เราห้ามได้ เช่นจิตคิดทำร้ายผู้อื่น (จิตอันนี้ห้ามไม่ได้ ห้ามไม่ให้คิดอย่างนี้ไม่ได้ เมื่อเกิด ก็ดับลงทันที) จิตคิดต่อเนื่องใหม่ขึ้น นั่นหมายถึง จิตห้ามความคิดต่อจากนี้ได้ (จิตเกิดดับเร็วมาก จนยากที่เห็นลำดับการเกิด ดับ จึงดูเหมือนมีความคิดเดียว) จิตจึงห้ามไม่ให้ลงมือกระทำ (ทำร้ายผู้อื่น) เป็นต้น

โดย: เพื่อนธรรม IP: 118.173.86.73 วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:15:07:21 น.

^
เพราะไม่ได้อบรมจิตให้มีสติตั้งอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายที่ฐานที่ตั้งสติ (สติปัฏฐาน ๔)
เมื่อจิตกระทบอารมณ์ จิตก็จะปรุงแต่งไปตามอารมณ์ในทันทีทันใด
ตามธรรมชาติของจิตที่มีปกติตกไปในอารมณ์และปรุงแต่งไปตามอารมณ์

แต่ถ้าได้อบรมจิต ให้มีสติตั้งอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายที่ฐานที่ตั้งสติ (สติปัฏฐาน ๔)
อารมณ์จะแทรกตัวเข้ามาไม่ได้ เมื่อแทรกตัวเข้ามาไม่ได้
ความคิดก็ไม่เกิดขึ้นที่จิต ไม่ว่าจะความคิดแรกหรือความคิดตามมา

จิตไม่ได้เกิดดับ ที่เกิดดับคืออารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์
หรือ ขันธ์ ๕ นั่นเองที่เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต

เพราะจิตมีอวิชชาครอบงำ ไม่รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
หลงยึดขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน
เมื่อขันธ์ ๕ เกิดดับ ก็หลงเข้าใจว่าตนเอง(จิต)เกิดดับตามขันธ์ ๕ ที่เกิดดับ

จึงต้องปฏิบัติอริยมรรค ๘ ตามเสด็จ
เพื่อให้จิตเกิดปัญญาญาณ รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
ไม่หลงผิดยึดขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน
เพราะจิตรู้อยู่ เห็นอยู่ ว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา(ไม่ใช่ตน พึ่งพาอาศัยไม่ได้)
จิตแยกออกจากขันธ์ ๕ จิตก็อยู่ส่วนจิต ขันธ์ ๕ ก็อยู่ส่วนขันธ์ ๕
ถึงขันธ์ ๕ จะเกิดดับ จิตผู้รู้ตามความเป็นจริงก็ไม่เกิดดับตามขันธ์ ๕ ที่เกิดดับ



ยินดีในธรรมครับ



โดย: หนูเล็กนิดเดียว วันที่: 16 ธันวาคม 2552 เวลา:8:49:25 น.  

 

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น..
แม้แต่จิตอกุศลที่เกิดขึ้น..แล้วมีจิตกุศลเกิดตามมา..(ถ้าจิตกุศลนี้มีการเข้าไปยึดถือว่าเป็นเรา..)ก็จะทำให้เข้าใจผิดคิดไปว่า(มี)เรา(เข้าไป)บังคับจิตอกุศลได้..

ซึ่งมันเป็นแต่เพียงการเกิดของจิตที่เป็นอกุศลและจิตกุศล.ที่เกิดขึ้นไปตามเหตุปัจจัยเท่านั้น..หามีเราไม่

เรื่องวิธีปฏิบัติขอยกไว้..ให้เป็นไปตามจริตของแต่ละคน..

สุดท้ายก็คงเพื่อถอดถอนความเห็นผิดที่เห็นว่าสภาพธรรมท้งปวงเป็นตัวเรา..

...สัพเพ ธัมมา อนัตตา...

ขออนุโมทนาครับ....








โดย: palmgang IP: 119.42.70.227 วันที่: 16 ธันวาคม 2552 เวลา:9:58:42 น.  

 
เราคงเข้าใจคนล่ะระดับแล้วค่ะ ของดิฉันเป็นเพียงเบื้องต้น
ในการตามรู้จิตคิด แต่เมื่อปฎิบัติจนสติต่อเนื่อง ก็จะเป็นอย่างที่จขกท.แนะนำ ขอบคุณค่ะที่ให้ความกระจ่าง


โดย: เพื่อนธรรม IP: 118.173.79.60 วันที่: 16 ธันวาคม 2552 เวลา:21:21:37 น.  

 
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น..
แม้แต่จิตอกุศลที่เกิดขึ้น..แล้วมีจิตกุศลเกิดตามมา..(ถ้าจิตกุศลนี้มีการเข้าไปยึดถือว่าเป็นเรา..)ก็จะทำให้เข้าใจผิดคิดไปว่า(มี)เรา(เข้าไป)บังคับจิตอกุศลได้..
ซึ่งมันเป็นแต่เพียงการเกิดของจิตที่เป็นอกุศลและจิตกุศล.ที่เกิดขึ้นไปตามเหตุปัจจัยเท่านั้น..หามีเราไม่
เรื่องวิธีปฏิบัติขอยกไว้..ให้เป็นไปตามจริตของแต่ละคน..
สุดท้ายก็คงเพื่อถอดถอนความเห็นผิดที่เห็นว่าสภาพธรรมท้งปวงเป็นตัวเรา..
...สัพเพ ธัมมา อนัตตา...

ขออนุโมทนาครับ.

โดย: palmgang IP: 119.42.70.227 วันที่: 16 ธันวาคม 2552 เวลา:9:58:42 น.

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น..
เหตุปัจจัยที่ว่า ก็คือ อวิชชาที่จิต คือ ความที่จิตไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
จิตหลงผิดหลงยึดอารมณ์ ซึ่งไม่เที่ยง ว่าเป็นตน
ด้วยความเข้าใจผิดว่าเที่ยงและมีแก่นสาร เนื่องจากไม่รู้จักตนเองที่แท้จริง

จิตไม่รู้ว่า อารมณ์เป็นเพียงเงาหรือความรู้สึกของจิตที่มีต่อวัตถุ หรือสิ่งที่อาศัยวัตถุเกิดขึ้นทั้งนั้น
ล้วนแต่เกิดจากการประชุมของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
จิตเมื่อยึดถืออารมณ์และปรุงแต่งไปตามอารมณ์ ย่อมทำให้เกิดทุกข์ขึ้นที่จิต

เช่น จิตอกุศล เกิดจาก จิตผสมกับอารมณ์อกุศล
จิตก็จะเกิดการปรุงแต่งไม่พอใจอารมณ์อกุศลนั้นๆ
ปรารถนาจะผลักไสให้พ้นจากอารมณ์อกุศลนั้นๆไวๆ
ทุกข์ก็เกิดขึ้นเพราะไม่สามารถผลักไสอารมณ์นั้นๆออกไปให้ไวๆตามปรารถนา

จิตกุศล เกิดจาก จิตผสมอารมณ์กุศล
จิตก็จะเกิดการปรุงแต่งพอใจอารมณ์กุศลนั้นๆ
ปรารถนาจะครอบครองรักษาอารมณ์กุศลนั้นๆไว้ให้อยู่นานๆ
ทุกข์ก็เกิดขึ้นเพราะไม่สามารถครอบครองอารมณ์นั้นๆได้นานๆตามปรารถนา

ทั้งนี้ทั้งนั้น เพราะอวิชชาความไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ที่มีอยู่ประจำจิตของสามัญสัตว์โลกนั่นเอง
จิตหลงยึดถืออารมณ์ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตนของเรา

พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติอย่างต่อเนื่อง(สติปัฏฐาน ๔)
อารมณ์ใดๆก็ไม่สามารถแทรกเข้ามาที่จิตได้
เมื่อแทรกเข้ามาไม่ได้ จิตก็อยู่ส่วนจิต อารมณ์ก็อยู่ส่วนอารมณ์
ถึงอารมณ์ใดๆจะไม่เที่ยง จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไป
อารมณ์นั้นก็สักแต่เป็นอารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ของจิตดวงนี้ของผู้ปฏิบัติ

สุดท้าย จิตผู้ปฏิบัติก็จะถอดถอนความเห็นผิดที่มีมานานว่า
ธรรมทั้งหลาย (ขันธ์ ๕ หรือ อารมณ์และอาการของจิต) เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตนของเรา

เพราะจิตรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ธรรมทั้งหลาย (ขันธ์ ๕ หรือ อารมณ์และอาการของจิต) ไม่ใช่เรา
ธรรมทั้งหลาย (ขันธ์ ๕ หรือ อารมณ์และอาการของจิต) ไม่เป็นเรา
ธรรมทั้งหลาย (ขันธ์ ๕ หรือ อารมณ์และอาการของจิต) ไม่ใช่ตนของเรา

เรา คือ จิตผู้ปฏิบัติ ต้องรู้ ต้องเห็นตลอดสายของการปฏิบัติ
ไม่ว่าอารมณ์ใดจะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไปจากจิต



ยินดีในธรรมครับ



โดย: หนูเล็กนิดเดียว วันที่: 17 ธันวาคม 2552 เวลา:7:19:35 น.  

 

เราคงเข้าใจคนล่ะระดับแล้วค่ะ ของดิฉันเป็นเพียงเบื้องต้น
ในการตามรู้จิตคิด แต่เมื่อปฎิบัติจนสติต่อเนื่อง ก็จะเป็นอย่างที่จขกท.แนะนำ ขอบคุณค่ะที่ให้ความกระจ่าง

โดย: เพื่อนธรรม IP: 118.173.79.60 วันที่: 16 ธันวาคม 2552 เวลา:21:21:37 น.


อนุโมทนาครับ

การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ คือ การสร้างสติให้เกิดขึ้นที่จิตอย่างต่อเนื่องเนืองๆไม่ขาดสาย
ในการเริ่มต้นนั้น ต้องให้จิตมีฐานที่ตั้งสติก่อน
ซึ่งครูบาอาจารย์บางท่านเรียก ฐานของจิต หรือ ฐานของใจนั่นเอง

บาทฐานสำคัญที่สุดที่เป็นพื้นฐาน อันดับแรกที่ต้องฝึกให้ชำนาญ
แล้วจึงนำมาใช้เจริญสติในชีวิตประจำวันได้ คือ อานาปานสติกรรมฐาน
การมีสติระลึกรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก นั่นเอง

ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวว่า
ถ้าเราระลึกรู้อยู่ที่ลมหายใจตลอดเวลา กิเลสจะเข้ามาได้ยังไง จะเข้ามาตอนไหน

ฝากให้พิจารณาครับ


ยินดีในธรรมครับ




โดย: หนูเล็กนิดเดียว วันที่: 17 ธันวาคม 2552 เวลา:7:29:57 น.  

 
คำว่านิพพานแห้งคืออะไรครับช่วยตอบที เจริญพร


โดย: เณรน้อย IP: 114.128.176.246 วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:21:58:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนูเล็กนิดเดียว
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




พระพุทธศาสนา
มีหลักการที่ตั้งอยู่บนเหตุ-ผล

อริยสัจ ๔
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


เหตุ-จิตชอบแส่ส่ายออกไปหาเรื่อง
(สมุทัย)
ผล-ทุกข์โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ
(ทุกข์)

เหตุ-ปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักมรรค ๘
ให้จิตระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ
ไม่แส่ส่ายออกไปหาเรื่อง

(มรรค)
ผล-จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ทุกข์ไม่โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ

(นิโรธ)

เหตุ-รู้อยู่ที่เรื่อง (สมุทัย)
ผล-เป็นทุกข์ (ทุกข์)

เหตุ-รู้อยู่ที่รู้ (มรรค)
ผล-ไม่ทุกข์ (นิโรธ)



ธรรมบรรยาย โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์


[Add หนูเล็กนิดเดียว's blog to your web]