สติ สมาธิ ปัญญาเป็นอริยมรรค ฝ่ายโลกุตตรธรรม
สติ สมาธิ ปัญญาเป็นอริยมรรค ฝ่ายโลกุตตรธรรม


อนัตตลักขณสูตร

ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า


^
^

มักมีพวกนักตำรานิยมที่ชอบแอบอ้างเอาพระสูตรนี้ มาเป็นอาวุธเพื่อสัปยุทธกับคู่กรณีให้ดูน่าเชื่อถือ แบบที่เจ้าตัวคิดเองเออเองตามมติของตน โดยไม่มีหลักฐานมารองรับใดๆทั้งสิ้น เป็นเพียงจินตนาการล้วนๆว่า

สังขารขันธ์ที่แปลว่าการปรุงแต่ง เป็นขันธ์ ๑ ในรูป-นามขันธ์ ๕ นั้น ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตนของเรา (แต่ก็ลืมคิดถึงที่ใช่ตนอันเป็นที่พึง ต้องมีเป็นของคู่กันเสมอ) จึงได้เดาสวดเหมารวมเอาทั้งสติ สมาธิ และปัญญา เป็นสังขารขันธ์ที่หมายถึงที่สิ่งปรุงแต่งจิตให้เสียคุณภาพเข้าไปด้วย และถูกจัดเป็นฝ่ายอนัตตาธรรมไปโดยปริยาย โดยที่ไม่เคยได้พิจารณาให้ถ่องแท้รอบคอบเลยว่า

สติ สมาธิ ปัญญานั้น เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก เป็นโลกุตตรธรรมฝ่ายอริยมรรค จึงยังจิตของผู้ปฏิบัติให้ไปสู่ความก้าวหน้าเพื่อความหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย

ซึ่งตรงกันข้ามกับ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสั่งสอนให้ละฉันทราคะในธรรมเหล่านั้นเสีย

ในอนัตตลักขณสูตรนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงเรื่อง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นขันธ์ ๕ เท่านั้น ซึ่งล้วนเป็นอารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ เป็นสิ่งที่จิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นแล้วแสดงอาการออกมาสนองตอบต่ออารมณ์ออกมา ทำให้จิตเสียคุณภาพไป ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ติดข้องในทุกๆอารมณ์ที่จิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นและแสดงอาการของจิตออกมาให้เห็น

เมื่อเอาเฉพาะคำว่า "สังขาร" คือการปรุงแต่งมาพิจารณาให้ดีๆ จะเห็นนัยยะสำคัญได้ชัดๆว่า สิ่งใดที่ถูกการปรุงแต่งเกิดขึ้นมาจากอารมณ์กิเลส ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม ย่อมเกิดการยึดมั่นในอารมณ์เหล่านั้น


สติ สมาธิ ปัญญา เป็นองค์ธรรมที่ให้ผลตรงข้ามกับสังขารธรรมทั้งหลายที่นำพาให้จิตเสียคุณภาพด้อยค่าลงไป

การสร้างจิตให้มีกำลังสติ สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก เป็นอริยมรรค เป็นฝ่ายโลกุตตรธรรม ไม่ใช่ฝ่ายอนัตตาธรรม

สติ สมาธิ ปัญญา เป็นไปเพื่อโลกุตตรธรรมที่ทำให้จิตรู้จักปล่อยวางอารมณ์ และต้านทานต่ออารมณ์ที่ถูกปรุงแต่ง (สังขาร) ขึ้นมา



ในส่วนพระพุทธพจน์ อนัตตลักขณสูตร นั้น พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงตรัสไว้ตรงไหนเลยว่า สติ สมาธิ ปัญญา นั่นไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตนของเรา อันเป็นที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้ ไม่มีในพระสูตรใช่หรือไม่?

ฉะนั้นอย่าทำตัวเก่งเกินพระบรมศาสดา ที่พยายามยัดเยียดในส่วนที่พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงตรัสไว้ จะเข้าข่าย "เนรคุณ" ได้ง่ายๆ

เพราะว่าสติ สมาธิ ปัญญา ไม่ใช่เป็นฝ่ายอนัตตาธรรม แต่เป็นอริยมรรคที่เป็นยอดแห่งสังขตธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น

ในส่วนอนัตตาธรรมนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสสั่งนักสั่งหนาว่า สิ่งใดเป็นอนัตตาธรรม ให้พวกเธอพึงละความพอใจ (ฉันทราคะ) ในสิ่งนั้นเสีย


ส่วนสติ สมาธิ ปัญญา (อริยมรรค) เป็นยอดแห่งสังขตธรรม เป็นธรรมที่มาปรับปรุงและพัฒนาจิตให้เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น (เป็นพระอริยเจ้า) จากการปรุงแต่ง

ส่วนนักตำราทั้งหลายที่หลงไหลได้ปลื้มไปกับความคิดนิยมที่ตกผลึก พอเห็นคำว่า "สังขตะ" แปลว่าต้องมีเหตุปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิด เห็นด้วยตา โดยไม่ได้สัมผัสเข้าถึงธรรมเหล่านั้น เห็นด้วยตาเพียงแค่นั้นจริงๆ โดยไม่มีวิจารณญาณใดๆ ที่จะช่วยทำให้พิจารณาอะไรๆได้รอบคอบขึ้นมาเลย

แม้ว่าอริยมรรคหรืออนัตตาธรรม ล้วนอยู่ในฟากสังขตธรรมเช่นเดียวกันก็จริงอยู่ ไม่อาจปฏิเสธได้ แต่เป็นธรรมคนละฝ่าย ที่จะนำมาผสมปนเปปะปนกันไม่ได้

เพราะฝ่ายอริยมรรค เป็นการปรุงแต่งเพื่อจะปล่อยความยึดมั่นออกไปในที่สุด เป็นโลกุตตรธรรม เป็นธรรมที่ต้องกระทำให้มาก เจริญให้มาก เพื่อความหลุดพ้น

ส่วนฝ่ายอนัตตาธรรมนั้น เป็นการปรุงแต่งเพื่อจะยึดเข้าเป็นของๆตน เป็นโลกียธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสให้ละฉันทราคะในธรรมเหล่านั้น ...ซึ่งเป็นความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง


เพียงเห็นคำว่า "ปรุงแต่ง" ก็เดาสวดอวดภูมิรู้กระโดดเข้าใส่ทันทีว่า เหมือนกันหมด เป็นสังขารขันธ์ที่ปรุงแต่งให้จิตเสียคุณภาพไป

โดยข้อเท็จจริงแล้ว เป็นการเหมือนโดยพ้องรูปที่เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ลักษณาการโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถปนเปกันได้ เพราะฝ่ายหนึ่งเพื่อสลัดออก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อยึดมั่นเข้ามา

เหตุที่สติ สมาธิ ปัญญาได้ชื่อว่าอริยมรรคนั้น เพราะเป็นทางเดินอันเอก ทางเดียวเท่านั้น ที่จะนำจิตไปสู่ความเป็นอริยบุคคลนั่นเอง

และอริยมรรคก็เป็นสังขตธรรมที่เลิศกว่าสังขตธรรมทั้งหลาย เป็นองค์แห่งโลกุตตรธรรม ที่เป็นเหตุนำให้เกิดการปล่อยวางการปรุงแต่งอารมณ์ เพราะความสิ้นไปแห่งกิเลสอาสวะทั้งหลาย มีพระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์รับรองไว้ชัดๆในพระสูตร ยังจะกล้าเถียงพระพุทธองค์คอเป็นเอ็นโดยไม่เกรงกลัวต่อบาปกรรมใดๆเลย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่ากระทำถูกหน้าที่ในแพนั้น แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมมีอุปมาด้วยแพ เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือ ฉันนั้นแล


ปารสูตร
ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (นิพพาน)

[๙๗] กรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง (นิพพาน) จากที่มิใช่ฝั่ง (วัฏฏะ) ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน?

คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ
เลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ
ธรรม ๘ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๕๒๘ - ๕๔๖ หน้าที่ ๒๓

*

การที่พระพุทธองค์ทรงเปรียบอริยมรรคเหมือนแพนั้น เพื่อเป็นที่พึ่งที่อาศัยในการข้ามฟากฝั่งแห่งภพเท่านั้น เมื่อข้ามได้สำเร็จแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแบกแพไปด้วยใช่หรือไม่?

สติ สมาธิ ปัญญานั้น เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก เพื่อปรับปรุงจิตให้ดีมีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไป จนกระทั่งจิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายได้

การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนานั้น เพื่อให้จิตมีกำลังสติ สมาธิ ปัญญา นำพาให้จิตหลุดพ้นจากการปรุงแต่งทั้งหลายโดยสิ้นเชิงใช่หรือไม่?

พระพุทธพจน์ เรื่องสมาธิและสติ

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ยังมิได้บรรลุอรหัตตผล เมื่อปรารถนาธรรมอันยอดเยี่ยม อันปลอดโปร่งจากโยคะ (เครื่องผูกมัด) อยู่

สมาธิที่มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน)"


สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๓

*

[๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อมตะๆ ดังนี้ อมตะเป็นไฉน? ทางที่จะให้ถึงอมตะเป็นไฉน?

พ. ดูกรภิกษุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอมตะ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
นี้แลเรียกว่าทางที่จะให้ถึงอมตะ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๕๙ - ๑๗๓ หน้าที่ ๗ - ๘.

*

เมื่อหลักฐานชัดขนาดนี้ยังจะเถียงเพื่อเอาชนะให้ได้ ก็ควรรู้จักอายศาสนาอื่นบ้าง พวกเค้ายังพยายามยืนอยู่บนหลักเหตุผล ถ้าเป็นชาวพุทธแล้วไม่เชื่อพระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ ที่เป็นพระบรมศาสดา ก็หมดกันแล้วพระพุทธศาสนา

แม้ท่านอาจริยวาท (พระพุทธโฆษาจารย์) ท่านเองยังรจนาไว้ว่า เรื่องฌานในสัมมาสมาธิเลยว่า

"ผู้ที่ไม่มีฌานย่อมไม่มีปัญญา ผู้ที่ไม่มีปัญญาย่อมไม่มีฌาน ผู้ที่มีทั้งฌานและปัญญา ย่อมได้ชื่อว่าเข้าใกล้พระนิพพาน"


เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว ผู้อ่านควรเลือกเชื่อเอาเองว่า จะเชื่อพระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ที่ยังเหลือเค้าเงื่อนอยู่ หรือจะเลือกเชื่ออาจริยวาทที่ท่านรจนาเพิ่มเติมเสริมแต่งขึ้นมาโดยอาศัยเค้าเงื่อนนั้นอีกทีในภายหลัง

ปล. ไม่เคยพูดไว้ที่ไหนเลยว่าไม่เอาตำราอภิธรรมให้คัดทิ้งซะ แต่มักพูดเสมอๆว่าเอาไว้เรียนกัน ที่ดีก็เยอะ ที่เลอะเทอะก็ไม่น้อยเช่นกัน.


เจริญในธรรมทุกๆท่าน
ธรรมภูต






Create Date : 19 กันยายน 2554
Last Update : 19 มกราคม 2558 16:26:48 น.
Counter : 569 Pageviews.

4 comments
  
โดย: imagewing_zero วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:7:05:28 น.
  
โดย: shadee829 วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:10:52:07 น.
  
นี้เป็นแบบอ่านดีจริงๆสำหรับฉัน ต้องยอมรับว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของ Blogger เด็ดสุดที่ผมเคยเห็น ขอบคุณสำหรับการโพสต์นี้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ นี้เป็นเพียงสิ่งที่ฉันถูกเกี่ยวกับการมองหา ฉันจะกลับมาที่บล็อกนี้อีกแน่นอนalu.com">Wall Clock Home Clock
โดย: HP Air compressor (watseo ) วันที่: 26 กันยายน 2554 เวลา:8:00:08 น.
  



สวัสดีปีใหม่ 2555
เริ่มต้นชีวิตด้วยความดี คิดดี พูดดี ทำดี ตลอดปีและตลอดไป ชีวีรุ่งเรืองสดใส
ภยันตรายใดไม่แผ้วพาน สุขกาย สุขใจ สุขภาพแข็งแรงตลอดไปค่ะ

~*~ H a P P y N e W Y e a R 2012 ~*~

โดย: พ่อระนาด วันที่: 2 มกราคม 2555 เวลา:19:40:50 น.

ในความฝันของใครสักคน
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สารบัญ Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์



หน้าแรก Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์