มาค้นหาเพื่อให้บรรลุถึงมรรคผลนิพพาน ให้ถูกที่ถูกทางกันเถอะ (จบ)
มาค้นหาเพื่อให้บรรลุถึงมรรคผลนิพพาน ให้ถูกที่ถูกทาง (ต่อ) กันเถอะ (ตอนแรก) (ตอนสอง)

ถูกทางอย่างไรหละ?

ก็ทางเดินของจิตไปสู่ความเป็นอริยะบุคล (โลกุตตรจิต) นั่นไง หรือเรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘

เมื่อพูดถึงถูกทาง ทุกคนย่อมรู้ดีด้วยกันทั้งสิ้นว่า ต้องทางนี้เท่านั้น เป็นทางที่เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย คืออริยมรรคมีองค์ ๘ หรือสติปัฏฐาน ๔ หรืออริยสัจ ๔

หลายคนคงจะงงว่า สัตว์มาเกี่ยวข้องอะไรด้วยหละ?

คำว่าสัตว์หมายถึง จิตที่ติดข้องอยู่ในอารมณ์ทั้งหลายนั่นเอง มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ว่า "โลกคือหมู่สัตว์ที่มีอวิชชานำพาไปในที่ต่างๆ" อวิชชานำพาไป เพราะจิตมีอวิชชาครอบงำอยู่นั่นเอง


เมื่อกล่าวถึงเส้นทางนำพาไปสู่ความพ้นทุกข์นั้น มักมีตำราอาจารย์ต่างๆ ที่ชี้นำไปคนละทิศคนละทาง บ้างว่าต้องมีสัมมาทิฐินำ บ้างให้รู้ทันกายใจก็พอ บ้างก็ว่าต้องวิปัสสนา (การรู้เห็นอย่างวิเศษ) เท่านั้น ฯลฯ มีมากมายตามมติของตนเองที่คิดว่าถูกต้อง

ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่ผิดตรงไหนเลย ถ้าได้ปฏิบัติตามคำสอนเหล่านั้น เพราะสามารถช่วยให้จิตใจของตนพัฒนาได้ตามกำลังคำสอนเหล่านั้น ที่ให้รู้จักสังวรอินทรีย์ของตน ที่ก่อนหน้านั้นตนเองก็ไม่เคยสนใจมาก่อนเลย พอทำตามนั้น ก็เหมือนกับตนเองที่กำลังแบกของหนักอยู่ และได้วางของที่หนักนั้นลง ทำให้รู้สึกเบากายเบาใจไปได้ในชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็กลับมาแบกต่อโดยไม่รู้ตัว และย่อมให้ผลเป็นที่น่าพอใจได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะไม่รู้จักวิธีละวางภาระที่ถูกต้อง


การที่จะพัฒนาคุณภาพของจิตให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไปได้ หรือเรียกว่าอธิจิตสิกขานั้น ต้องมีแบบแผนที่ควรต้องเดินตามรอยพระบาทของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เพื่อเป็นการเสริมสร้างจิตให้มีกำลังสติสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายให้ได้ก่อน

เพราะอะไร? เพราะจิตที่สับสนวุ่นวาย กวัดแกว่ง เปลี่ยนแปลง แส่ส่ายอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดนั้น ย่อมเป็นเป็นจิตที่ขาดคุณภาพไม่เป็นสมาธิ แข็ง กระด้าง คุ้นชินกับอารมณ์ ไม่ควรแก่การงานใดๆทั้งสิ้น

การที่จิตจะมีสัมมาทิฐิ รู้ทัน หรือเกิดวิปัสสนาขึ้นมาได้นั้น ย่อมต้องมีพื้นฐานจากการฝึกฝนอบรมจิตให้สำเร็จมาก่อนแล้วเท่านั้น สิ่งดังกล่าวเหล่านั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย หากไม่มีพื้นฐานการพัฒนาคุณภาพทางจิตมาก่อน

ดังมีพระพุทธพจน์รับรองไว้ดังนี้ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นดีแล้วย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงดังนี้" และมีพระพุทธพจน์ที่เชื่อมโยงกันรับรองไว้ว่า การรู้เห็นตามความเป็นจริงนั้นก็คือ รู้เห็นอริยสัจ ๔ คือวิปัสสนานั่นเอง


การจะรู้ทันอะไรได้นั้น จิตจะต้องมีกำลังสติสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเป็นสมาธิเท่านั้น จึงจะรู้ทันจริงๆ ไม่ใช่การรู้ทันแบบที่ชอบสอนกันอยู่ คือรู้ทันเมื่อเกิดการรับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้น เข้ามาปรุงไปเรียบร้อยแล้ว แบบนั้นไม่เรียกว่ารู้ทันอารมณ์ เรียกว่ารู้ตามอารมณ์ที่เมื่อเกิดขึ้นเรียบร้อยแล้วนั่นเอง

ได้มีการสอนในปัจจุบันว่า "อย่าเพ่ง จะทำให้เครียด ปล่อยให้เผลอ แล้วสติตัวจริงจะเกิดขึ้นมาเอง" ซึ่งเป็นการสอนที่ขัดแย้งกับพระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสไว้ดีแล้วอย่างยิ่ง

ซึ่งฟังดูแล้ว ก็น่าเชื่อถืออยู่เหมือนกันนะ เพราะปุถุชนคนทั่วไปล้วนกิเลสหยาบบาปหนาทั้งสิ้น เมื่อต้องมาฝืนตนเอง ในสิ่งที่ขัดแย้งกับกิเลสความต้องการของตนเองที่เคยชินหรือคุ้นชินอยู่ก่อนแล้ว ที่ต้องมาทำความเพียรเพ่ง ก็ย่อมต้องมีการเร่งรัด เพื่อเอาแต่ผลด้วยความอยากของตนโดยไม่รู้ตัวว่า นั่นหนะเป็นกับดักของกิเลสตัวร้ายที่คอยทำลายความเพียรเพ่งให้ล่มสลาย โดยไม่รู้ว่าเกิดจากความอยากของตนเองแท้ๆ ทำให้เยาวชนคนรุ่นที่ได้รับคำสอนผิดๆดังกล่าวนี้ เกิดความกลัวความเพียรเพ่งที่เป็นพื้นฐานของการฝึกฝนอบรมจิตนั่นเอง


การ "เพ่ง" ตามหลักในพระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ทรงหมายถึง "การรู้อะไรอย่างต่อเนื่องเนืองๆอยู่ตามหน้าที่" มีพระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนพระอานนท์ดังนี้

พ. ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ ฯลฯ
ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น

ดูกรอานนท์ ด้วยประการนี้แล ฯลฯ
เป็นอันเราแสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว

ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ


(อ้างอิง อาเนญชสัปปายสูตร)

เมื่อจิตหลุดพ้นเพราะความไม่ถือมั่นได้แล้ว จนกลายเป็นธรรมธาตุ ใครจะเรียกว่าอะไรก็ตามสบาย ขอให้สื่อสารให้เข้าใจกันก็พอ

จิต(ธรรมธาตุ) จะเขลาเบาปัญญาอีกทำไม ในเมื่อจิต(ธรรมธาตุ)ละความยึดมั่นถือมั่นได้แล้ว

จิต(ธรรมธาตุ) ของตนเมื่อหลุดพ้นดีแล้วเพราะมีปัญญา จะกลับมายึดมั่นถือมั่นในตนเอง(จิต)อีกไปทำไม?

การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา (เพ่งฌาน) ทำให้ไม่ประมาท ทำให้ไม่เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง ถ้าการเพ่งฌานแล้ว ทำให้เกิดความประมาท เกิดเดือดร้อนขึ้นมาในภายหลัง พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้พวกเธอ (ภิกษูทั้งหลาย) เพ่งฌานเพื่ออะไร? พระพุทธองค์ยังทรงย้ำนักย้ำหนาว่า "นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ"

เพื่อให้เกิดสังคมคุณภาพออนไลน์ โปรดจงใช้ดุลยพินิจและทำความเข้าใจให้ดีว่ามีเหตุผลหรือไม่? โดยอย่าเพิ่งเชื่อ หรือปล่อยให้ความเป็นใหญ่ในการที่จะเชื่ออะไรนั้นไปให้กับใคร ไปง่ายๆ

จงอ่านและพิจารณาด้วยดี แล้วลองนำไปสมาทานดูอย่างจริงจัง ไม่ใช่สมาทานด้วยความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ฯลฯ ถ้าเห็นว่าดีมีประโยชน์ ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ผู้รู้ไม่ติเตียนแล้วค่อยเชื่อก็ยังไม่สาย


เจริญในธรรมทุกๆท่าน
ธรรมภูต






Create Date : 18 กันยายน 2554
Last Update : 19 มกราคม 2558 17:19:35 น.
Counter : 822 Pageviews.

1 comments
  
เจิมให้ค่ะ

เดี๋ยวขอ save ไว้อ่านทีหลังค่ะ
โดย: นาฬิกาสีชมพู วันที่: 18 กันยายน 2554 เวลา:11:41:19 น.

ในความฝันของใครสักคน
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สารบัญ Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์



หน้าแรก Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์