A room to learn and talk
 
 

3 วัน 2 คืน กับคนแปลกหน้า แต่รู้ใจในค่ายโยคะ (2)

นับจากนี้ ข้อเขียนทั้งหมด จะเกิดขึ้นจากการเริ่มเข้าอบรม ครูโยคะ รุ่น  10 ของทางสถาบันโยคะวิชาการ ทั้งนี้ เราจะได้เรียนรู้จิต และ ความคิด ที่มองโยคะ แตกต่างจากช่วงต้นของผู้เขียนที่เริ่มฝึก ว่ามีความแตกต่างทางด้านความคิด และ มุมมองต่อโยคะ อย่างไร 



ย้อนกลับมาที่ กิจกรรมสร้างมูลค่า ก็เล่ากันไป ให้คะแนนกันไป อะน่ะ คำสั่งก็ไม่เคลียร์ คะแนน ก็ไม่ว่าให้เพราะอะไรทำไม ไม่มีเหตุผลในการอธิบายทั้งนั้น หลังจากที่ให้คะแนนกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่เฉลย ปล่อยให้นักเรียนงงกันต่อไปว่า เราให้คะแนนไปเพื่ออะไร และ ทำไปทำไม่เนี้ย ครูก็ทิ้งระยะไปสักพัก ไปเรียนหนังสือกันก่อน แล้วก็กลับมาเฉลย โดยถามว่า ใครให้คะแนน เพื่อนอย่างไร เท่าไหร่บ้าง อ้อเราต้องให้คะแนนตัวเราเองด้วยน่ะ ครูก็เริ่มถามก่อนว่าใครให้คะแนนตัวเองเท่าไรกันบ้าง ก็มีตั้งแต่ 0 ถึง 5 ส่วนตัวเองให้คะแนนตัวเอง 1 เพราะชื่อ 1 ง่ะ คิดง่าย ๆ แบบขี้เกียจนิด ๆ พอครูถามถึงการให้คะแนนตัวเองเสร็จแล้ว ก็กลับมาที่แล้วเราให้คะแนนเพื่อนคนอื่น ๆ อย่างไร ก็มีตั้งแต่ 0 ถึง 5 อีกเหมือนกัน แต่ไม่มีใครให้คะแนนติดลบ มาถึงตรงนี้ ครูก็เริ่มถามว่า ทำไม เราถึงให้คะแนนที่แตกต่างกัน ออกไป ก็มี หลากหลายคำตอบ บ้างก็เพราะเรื่องที่เล่า บ้างก็เพราะเพื่อนแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางก็ไม่รู้ บ้างก็คิดว่าให้สุงไว้ก่อนเป็นเรื่องที่ดี

ผลสรุปของกิจกรรมนี้คืออะไร ครูสรุปได้น่าฟังว่า คนเราทุกวันนี้ติดอยู่กับการให้คะแนน ติดอยู่กับการตัดสินทุกเรื่องด้วยมูลค่าของสิ่งนั้น คนนั้น หรือแนวทางนั้น จนละเลยไปว่าจริงแล้วคนเรามีความเท่ากัน ไม่มีใครเก่งกว่าใครดีกว่าใคร ซึ่งตรงนี้เห็นด้วยเป็นที่สุดเพราะต้องไม่ลืมว่าคนเรามีจุดแข็งจุดอ่อนที่แตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนกัน แต่คนเราเป็นระบบนิเวศที่ไม่มีใครสามารถอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยวโดยไม่พึ่งพากัน แต่คนส่วนใหญ่ยังคิดว่า ถ้าเรามีตัวเลขมากเท่าไหร่ เราก็มีมูลค่ามากเท่านั้น ซึ่งเป็นแนวคิดแบบตะวันตกออกอย่างรุนแรง เห็นได้จากการใช้ระบบ KPI ROI และ 360 Degree ที่นำมาใช้ในการวัดค่าความเป็นมนุษย์กันในปัจจุบัน จนทำให้คนทำงานด้วยการฝืนธรรมชาติของตน ทำให้เกิดความเครียด และ ทำให้เกิดผลของความไม่สุขตามมาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

ทั้งที่ในความเป็นจริง คนเกิดจาก 0 และจบที่ 0 อาจจะเรียกว่าสภาวะอนันต์ มาแต่ตัว และ ไปแต่ตัว แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องปลงกันจนไม่ทำอะไร แต่อยากจะให้เริ่มค้นหาแนวทางการทำงานที่ให้คุณค่า มากกว่ามูลค่า เพราะถ้าหากเราสร้างคุณค่าให้กับการทำงานได้แล้วนั้น คนที่ทำงานจะรู้สึกอยากทำ อยากก้าว และ อยากทดลองทำอะไรใหม่ ๆ กับชีวิต ในเรื่องนี้จะขอแตกออกไปอีกนิด ในเรื่องการให้คะแนนเพื่อน ๆ จะไม่ขอกล่าวถึงคนอื่น แต่จะขออธิบายถึงแนวคิดการให้คะแนนที่ตัวเองทำไว้สักนิด

ครูถามว่าการให้คะแนนมีใครกี่คนที่ให้คะแนนเพื่อนต่างกัน และ ให้คะแนนเพื่อนเท่ากัน จำนวนคนที่ให้คะแนนเพื่อนเท่ากันนั้นมีจำนวนน้อยกว่า เพราะอะไรไม่ได้มีการถามต่อ แต่สำหรับเรา ๆ เห็นว่า การที่คนหนึ่งคน เล่าเรื่องของตนเองให้คนอื่นฟังเป็นการทำสิ่งเดียวกันที่เท่ากัน เพราะบางคนอาจจะเล่าเก่ง แต่บางคนอาจจะเล่าไม่เก่ง แต่เพียงขอให้เขากล้าเล่า แค่ 1 หรือ 2 ประโยค ก็เป็นสิ่งที่เขาได้ทำแล้ว เพราะฉะนั้น เรื่องจะสนุก หรือไม่สนุก เราให้คะแนนทุกคนเท่ากันหมดที่ 5 เห็นมะเราก็ยังติดที่มูลค่าให้มากไว้ก่อน เป็นเรื่องปรกติ แต่เราให้เพราะเราคิดว่าความกล้าของเขาคือคุณค่า ดังนั้นเขาทุกคนมีคุณค่าที่เท่ากันจากการที่กล้าเล่าเรื่องต่าง ๆ เปิดใจเล่าเรื่องให้คนแปลกหน้าฟัง ทั้งที่เราพึ่งรู้จักกัน ทั้งนี้เราจำเป็นจะต้องเรียนรู้อะไรคือจุดแข็งของเรา และนำจุดนั้นมาใช้อย่างเป็นประโยชน์

ก็เหมือนกับแนวทางการฝึกโยคะ เราอาจจะฝึกท่า ๆ หนึ่งได้ดี เพราะเรามีจุดแข็งในการยืดหยุ่นเฉพาะจุด แต่อีกท่าหนึ่งอาจฝึกได้ยังไม่ดี ต้องใช้เวลาในการปรับร่างกาย เพราะนั้นคือตัวเราแม้แต่ในตัวเราเองยังมีจุดแข็งที่แตกต่าง ดังนั้นแล้วเราจำเป็นจะต้องหัดเรียนรู้ที่จะใช้จุดแข็งที่มีอยู่อย่างมีประโยชน์สูงสุด ในขณะที่เราก็ต้องค่อยพัฒนาจุดอ่อนตามไปด้วย เพื่อให้เกิดการสมดุลยของชีวิต หากเรายังไม่สามารถเรียนรู้ตัวเองได้ แล้วเราจะเรียนรู้คนอื่นได้หรือ นั้นคือคำถาม หรือจะคิดเอง เอ้อเองว่าเขาจะต้องทำได้ คิดได้เหมือนเรา

ปืดท้ายกิจกรรมวันสุดท้าย ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์การสอนจาก ครูเบิรด์ ที่นำทั้งศิลปการแสดง ศิลปครู และ ศิลปการพูด มารวบกันเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างน่าประทับใจ เริ่มจากการให้ เหล่านักเรียนเขียน คำตอบ เกี่ยวกับโยคะ ในกระดาษคำถาม 6 คำถาม หลังจากนั้น ให้แต่ละกลุ่มสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นบนกระดาษแต่ละแผ่นของแต่ละกลุ่ม ทำให้เกิดความหมายที่เป็นเป้าหมายของการเป็นครูโยคะ อย่างชัดเจน นั้นคือการฝึกการประมวลผลแบบ Knowledge Vision (KV) อันนี้ต้องบอกว่า ครูแอบเนียนมากในการจะสะกดจิตให้เราจำว่า การเป็นครูโยคะที่ดีนั้นต้องมีอะไรบ้าง ฮ่าอ่า ตามาด้วยเกมส์สุดฮิต บอกต่อ เพื่อให้เรียนรู้ วิธีการส่งข้อมูล หรือ จัดการกับข้อมูลอย่างไรไม่ให้ขาดตกบกพร่อง และ ยังมีอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ดีมากมาย ซึ่งจะมีรายละเอียดมาเล่าอีกครั้ง

แค่เริ่มต้น รายละเอียดก็เยอะซะป่านนี้ แล้วอีก 4 เดือนข้างหน้า จะมีอะไรกันบ้างเนี้ย ความคิดเป็นสิ่งไม่ตาย หากเราหยุดพัฒนาความคิด ก็เหมือนกับเราตายไปจากโลกนี้อย่างสมบูรณ์ เพียงแค่เปิดใจให้กว้าง สมองให้ว่าง รับข้อมูลใหม่ ๆ เข้ามาคิด ประสาน และ สร้างสรรค์ เพื่อสิ่งใหม่ ๆ
ในชีวิตกันต่อไปดีกว่า คิด ณ ปัจจุบัน เพราะคิดถึง อดีตมากอนาคตเยอะ เด๊วปวดหัว

ข้อเขียนนี้ ผู้เขียน ๆ ขึ้นเพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ในวิถีโยคะแบบดั่งเดิม หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์กรุณาช่วยกันแบ่งปันต่อไปทาง ออนไลน์ แต่กรุณาอย่าดัดแปลง หรือ กรุณาอย่านำไปลงในสื่ออื่น ๆ แต่อย่างใด  ขอบคุณครับ




 

Create Date : 29 ตุลาคม 2553   
Last Update : 29 ตุลาคม 2553 7:30:28 น.   
Counter : 829 Pageviews.  


3 วัน 2 คืน กับคนแปลกหน้า แต่รู้ใจในค่ายโยคะ (1)

นับจากนี้ ข้อเขียนทั้งหมด จะเกิดขึ้นจากการเริ่มเข้าอบรม ครูโยคะ รุ่น  10 ของทางสถาบันโยคะวิชาการ ทั้งนี้ เราจะได้เรียนรู้จิต และ ความคิด ที่มองโยคะ แตกต่างจากช่วงต้นของผู้เขียนที่เริ่มฝึก ว่ามีความแตกต่างทางด้านความคิด และ มุมมองต่อโยคะ อย่างไร 


และแล้วค่ายเปิดคอร์สครูโยคะ ของสถาบันโยคะวิชาการก็เริ่มขึ้น ถ้าจะถามว่าตื่นเต้นไหม ตื่นเต้นมากมาย เพราะร้างลาการเรียนหนังสือมานานแสนนาน และอีกอย่างโห ได้เพื่อนใหม่ตั้งหลายคน แถมไม่มีใครที่เรารู้จักมาก่อนเลยด้วย แค่เริ่มต้น ก็เก๋กู๊ด แล้ว เพราะว่าการจับคู่นอนกันนั้นแล้วแต่ฟ้าลิขิต เพราะไม่มีการจัดให้ใครนอนกับใคร แต่ใช้วิธีการลงชื่อเรียงกันไป ใครลงก่อนก็จะได้พักกับคนถัดไป ตอนแรกก็นึกว่าอิอิ เราจะสบาย เพราะมีเพศชายแค่ 3 คน ก็คงจะได้นอนด้วยกันหมด แต่ที่ไหนได้ มีน้องมาเรียนเพิ่มอีกหนึ่งคน ก็เลยได้เล่นเกมส์จับคู่กับเขาเหมือนกัน

สำหรับสถานที่เข้าค่าย คือ ที่ วีเทรนอินเตอร์เนชั่นแนลเฮ้าส์ เป็นโรงแรมขนาดเล็กอยู่ที่ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ดอนเมือง สงบเงียบเหมือนออกไปต่างจังหวัดเลย อากาศดีมากมาย จนไม่น่าเชื่อว่าจะอยู่แค่ตรงข้ามกับสนามบินดอนเมือง สถานที่สะอาดสะอ้านเกินความคาดหมาย สำหรับอาหารที่ทางสถานที่พักจัดให้ก็เหมาะสม สะอาด และ อร่อย ตามอัตภาพอันควร

แล้วทำไมต้องมาเข้าค่ายกันด้วย เป็นคำถามที่ถูกถามจาก เพื่อนฝูงรอบข้าง นั้นน่ะสิเน้อ ทำไมต้องมาเข้าค่ายกันด้วย ตอนแรกก็คิดว่าคงจะมาเพื่อละลายพฤติกรรมกันก่อน เพราะผู้เข้าอบรมนั้นมาจากหลายพื้นเพ ทั้งทางด้านความคิดและภูมิหลัง ประกอบกับ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานของการเรียนการสอนให้ทุกคนได้รับทราบขั้นตอนและแนวทางในการเรียนการสอนอย่างละเอียด แต่เมื่อได้มาเข้าค่ายแล้วนั้น ถึงได้รู้ว่าเป็นอะไรที่มากกว่าที่คิด แล้วมันมากกว่ายังไง เด๊วค่อยว่ากัน

เริ่มต้นการปรับทัศนคติที่ทุกคนมีต่อโยคะ เพราะบางคนอาจจะคิดว่าโยคะ คือ การออกกำลังกาย บางคนคิดว่า โยคะ คือการทำสมาธิ และ บางคนคิดว่าโยคะอาจจะคือ ความเท่ความเก่งที่ทำท่าประหลาดได้ นั้นคือที่มาของการปรับทัศนคติกันเสียก่อนให้ ผู้เข้าอบรมมองไปในทิศทางเดียวกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน พร้อมที่จะแบ่งปันกัน เพราะถึงแม้ว่าการฝึกโยคะจะเป็นเรื่องของบุคคล แต่ถ้าขาดความเชื่อมโยงกัน โยคะก็คงจะไม่เจริญงอกงามมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้

ในที่นี้จะไม่ขอเล่าเกี่ยวกับการเรียนการสอนของ ครูฮิโรชิ กับ ครูฮเดโกะ ว่าสอนอะไรบ้าง เด็วไว้ค่อยเล่ากันละเอียด ๆ ทีหลัง แต่ชอบกิจกรรมระหว่างการเรียนการสอนที่ ทางทีมครูของสถาบันฯ นำมาช่วยสร้างรอยยิ้ม ผ่อนคลายความง่วง และ เสริมปัญญากันไปในที่เดียว

เริ่มด้วยกิจกรรมล้อมวงแนะนำตัวเอง เป็นจุดเริ่มต้นของคน 22 คนที่แปลกหน้า แต่พอเล่าออกมาแล้วถึงรู้ว่าแต่ละคนรู้ใจกันจริง ๆ เพราะทุกคนรู้ใจตัวเองไงว่า อยากที่จะมาเรียนรู้ฝึกโยคะอย่างถูกมีวิธีมีหลักการ อย่างครบวงจร ถึงแม้ว่าจุดเริ่มต้นของความสนใจนั้นอาจจะแตกต่างกัน บางคนเริ่มด้นด้วยการฝึกโยคะเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ บางคนต้องการฝึกโยคะเพื่อนำไปเสริมกับการฝึกสมาธิเพื่อการหลุดพ้น ถ้าจะให้เก๋เป็นเพิ่มพลังสร้างธรรมะให้กับตนเองมากขึ้น แต่ก็มีอีกบางคนที่มาด้วยความอยากรู้ ไม่ธรรมะ ไม่สุขภาพ แต่อยากที่จะรู้ว่าโยคะ คือ อะไร แต่สิ่งเดียวที่รู้ใจกัน คือ เรารักที่จะฝึกโยคะเหมือนกัน คำบอกเล่าของเพื่อน ๆ แต่ละคน ทำให้เราได้เห็นมุมมองการนำโยคะมาฝึกฝนในชีวิตประจำวันที่แตกต่างกันออกไป

กิจกรรมที่ทำถัดจากกิจกรรมมแนะนำตัว คือ กิจกรรมทำสมุดจดบันทึกความดี เก๋ซะไม่มี อันนี้คงเป็นกิจกรรมต่อเนื่องที่ทุกคนจะต้องทำไปจนจบการอบรม คือ เรามีหน้าที่จะต้องเขียนความดีที่เราทำในแต่ละวันทุกวัน ถึงตรงนี้ ก็มีหลายคนกรี๊ดอยู่ในใจล่ะสิ ว่าอย่างฉันเนี้ยจะทำความดีอะไรกับใครได้ ทั้งปากจัด ใจร้าย คิดอกุศล และช่างนินทา แม้อยากจะบอกว่าคุณค่ะ ความดีน่ะ จะเล็กจะน้อยก็พอจะทำได้บ้าง เราชอบน่ะกิจกรรมนี้ ทำให้เรารู้สึกว่า คนเราน่ะ ไม่ว่าจะเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ถ้าเราได้ทำความดีบ้างในแต่ละวัน พอเรามานั่งอ่านดู ก็ทำให้เรารู้สึกว่า อย่างน้อยเราก็เป็นคนดีบ้างล่ะว่ะ เพื่อนบางคนที่อบรมบอกว่า ไม่รู้ว่าเราจะทำความดีอะไร นั้นไม่อยาก การที่ทำให้ชีวิตเรามีความสุข สนุกสนาน ก็เป็นการความดีให้กับตัวเอง ทำความดีทำให้กับตัวเองก็ได้ ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องทำความดีต่อผู้อื่นเสมอไป เช่น ตื่นนอนมา เริ่มจากการยิ้มให้กับตัวเอง ก็เป็นการทำความดีที่ทำให้ตัวเองสดชื่น ไม่ใช่ตื่นมาแล้วทำหน้าเหมือนแก้มก้นที่ถูกกดทับจากการนอนมาทั้งคืน แล้วนั้นจะมีความสุขเหรอ นิดหนึ่ง เราจะต้องออกแบบสมุดจดบันทึกความดีของเราด้วยน่ะ แต่ละคนทำได้เก๋กู๊ด จริง ๆ เด๊วไว้ถ่ายรูปมาลงให้ดู

กิจกรรมถัดมาขอเรียนกว่า กิจกรรมสร้างมูลค่า เป็นกิจกรรมที่เริ่มด้วยกฏกติกามารยาทในการทำกิจกรรมที่งงง คือ ครูที่ให้คำสั่งจะสั่งอย่างไม่ชัดเจน เพียงแต่บอกว่าให้เราน่ะ จับกลุ่ม และ เล่าเรื่องของแต่ละคนในกลุ่มพร้อมกับให้คะแนนแต่ละคน จาก -5 ถึง +5 อะน่ะ ก็เล่ากันไป จริงก่อนหน้านี้ก็มีกิจกรรมเล่าเรื่องอย่างนี้แหละตอนช่วงแนะนำตัว อุ๋ยเล่า ขอเล่าแทรก แล้วกัน คือหลังจากนั่งล้อมวงใหญ่แนะนำตัวเสร็จแล้ว กิจกรรมที่จะทำให้เรารู้ว่าใครอายุน้อยมากกว่ากันอย่างไร ครูก็ให้ทุกคนเรียงแถวจากอายุน้อยไปหามาก เพียงแค่นี้ก็จะทราบความอาวุโสของผู้ที่เข้ามาอบรม แอบดีใจง่ะ อิอิ ยังไม่ได้อาวุโสมากกกก เพราะยังมีผู้อาวุโสกว่า ฮ่าฮ่า หลังจากนั้นก็จะให้จับกลุ่ม 5-6 คน เพื่อให้แนะนำตัวเองอย่างละเอียดอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหน้าที่การ หรือ อะไรก็ได้ที่อยากเล่า เพราะเมื่อทุกคนฟังเสร็จแล้ว เราจะต้องตั้งสมญนามให้กับเพื่อนที่อยุ่ทางด้านขวามือของ เรา ถึงตรงนี้ มีใครจดไว้บ้างเนี้ยว่า ใครได้สมญนามว่าอะไร เด๊วจะต้องไปสืบหาซะหน่อย เราชอบน่ะ การที่ให้เราคิดสมญนามของเพื่อเนี้ย เป็นการหัดให้เราประมวลผลจากสิ่งที่ได้ยินออกมาเป็น วลีสั้น ๆ จริงแล้วมันเป็นคือวิถีโยคะ ที่การฝึกเราจะต้องใช้การสังเกต ตรวจสอบด้วยจิตและความรู้สึกที่มีต่อร่างกาย นั้นคือการหัดรับฟังมากขึ้น เพราะคนเด๊วนี้ไม่ค่อยหัดฟัง มีแต่จะหัดพูด กับ แสดงความเห็นอย่างขาดข้อมูล

เด๊วมาต่อตอนต่อไปว่า แล้วกิจกรรมสร้างมูลค่า เนี้ยน่ะมันเป็นอย่างไร

ข้อเขียนนี้ ผู้เขียน ๆ ขึ้นเพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ในวิถีโยคะแบบดั่งเดิม หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์กรุณาช่วยกันแบ่งปันต่อไปทาง ออนไลน์ แต่กรุณาอย่าดัดแปลง หรือ กรุณาอย่านำไปลงในสื่ออื่น ๆ แต่อย่างใด  ขอบคุณครับ




 

Create Date : 17 ตุลาคม 2553   
Last Update : 17 ตุลาคม 2553 9:14:30 น.   
Counter : 979 Pageviews.  


เส้นทางโยคะ

นับจากนี้ ข้อเขียนทั้งหมด จะเกิดขึ้นจากการเริ่มเข้าอบรม ครูโยคะ รุ่น  10 ของทางสถาบันโยคะวิชาการ ทั้งนี้ เราจะได้เรียนรู้จิต และ ความคิด ที่มองโยคะ แตกต่างจากช่วงต้นของผู้เขียนที่เริ่มฝึก ว่ามีความแตกต่างทางด้านความคิด และ มุมมองต่อโยคะ อย่างไร 



อะน่ะ มีแผนที่แล้ว ก็ต้องมองหาถนนที่จะเดินไป แล้วถนนโยคะเนี้ยมันเป็นยังไง มันจะแบบโลดโพนโจนทะยาน แหะเหินเดินอากาศ หรือว่าจะ นิ่งเงียบ วิเวกวังเวง กันแน่ ถ้ายังไม่แน่ใจ ลองมาดูกันว่า ครูกวี กล่าวเกี่ยวกับเส้นทางโยคะไว้ว่าอย่างไร

ครูขึ้นต้นมา ก็บอกเลยว่า เราต้องเข้าใจธรรมชาติของโยคะ แล้วธรรมชาติของโยคะมันเป็นอย่างไรล่ะครับเนี้ย

ธรรมชาติของโยคะ เป็นเรื่องของภายใน ภายในจิตภายในกาย เพราะว่าโยคะสอนให้เรารู้จักปฏิบัติ รับประสบการณ์ พร้อมกับประเมินผล นำมาปรับปรุง และสร้างองค์ความรู้ของตนเอง และสุดท้ายอันนี้ขอเพิ่มว่า นำไปแบ่งปัน

ย้อนกลับไปถึงหัวข้อว่าจะเรียนโยคะที่ไหน อุอุ ก็คงจะได้คำตอบกันแล้วสิน่ะว่า เราเรียนโยคะกับตัวเอง ก็ไม่อยากจะบอกว่าอย่าไปเลย พวก Studio ต่าง ๆ เพราะบางคน ก็ไม่สามารถทำใจ หรือ บังคับใจให้ตนเองฝึกที่บ้านได้ เพราะขาดความมั่นใจที่จะฝึกหัดด้วยตนเอง เพราะอาจจะคิดว่าเรายังไม่เก่งพอ น่าจะลองปรับความคิดเสียใหม่ว่า ในเมื่อเราเก่งเท่านี้ เราก็ฝึกเท่านี้ เมื่อเรามีความชำนาญมากขึ้น เราก็จะฝึกได้มากขึ้น ดังนั้นแล้วความสำเร็จในการฝึกโยคะจะมากจะน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ศูนย์ฝึก ห้องฝึก ครูฝึก เสื่อโยคะ กล้ามเนื้อ หรือ ท่าทางต่าง ๆ แต่ขึ้นอยู่กับตัวเราเพียงแค่อย่างเดียวว่า เราพร้อมที่จะก้าวเดินบนถนนโยคะหรือไม่อย่างไร

สิ่งหนึ่งที่ตัวเองได้รับจากการฝึกโยคะ คือ ช่วยให้เราเปิดกว้างในการรับรู้ถึงตนเอง เพราะความพร้อม รู้จักร่างกายและลมหายใจของเราเอง เพราะเราเปิดใจรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของลมหายใจ และ อริยบท ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความละเอียดของใจให้รับรู้สิ่งต่าง ๆ จากภายในสู่ภายนอก ได้อย่างอ่อนโยน ละเอียด นุ่มนวลมากขึ้น ซึ่งเมื่อถึงที่สุดแล้ว ก็จะไปผสานเกลียวรัดเข้ากับการดำเนินชีวิตประจำวันของเราอย่างแยกไม่ออก คิดได้เองแต่ไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรจนกระทั่งมาอบรม

ในที่นี้การที่จะเดินทางบนถนนโยคะให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ยังต้องมีการจัดการความรู้ใน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ แก่นความรู้ (Explicit Knowledge) หรือความรู้ที่เห็นได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ตำราโยคะ เอกสารโยคะ หนังสือกายวิภาค และอื่น ที่เราสามารถศึกษาได้ ส่วนที่ 2 คือ เกร็ดความรู้ (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นภูมิความรู้ของแต่ละบุคคลที่เกิดจากการนำแก่นความรู้นั้นมาปฏิบัติ ง่าย ๆ ก็คือ ทุกคนฝึกโยคะท่าเดียวกันจากครู ครูแบ่งปันแก่นความรู้ถึงแนวทางฝึกโยคะว่าท่านี้ควรจะเริ่มจาก1 2 3 4 อย่างไร แต่เคล็ดลับต่าง ๆ ในการเข้าท่าให้ถูกต้องเช่น ต้องขมิบก้นเขม็วพุง หรือ ถ้าไม่สามารถฝึกท่านี้ได้ตามที่บอก จะมีแนวทางฝึก ๆ อื่นที่จะช่วยให้ฝึกได้ เพื่อให้ถึงเป้าหมายเดียวกัน นั้นคือ เกร็ดความรู้ เพราะฉะนั้นในหนึ่งองค์ความรู้ เราจะเห็นได้ว่า จะมีสิ่งที่จับต้องได้จากการเรียนการสอน คือ แก่นความรู้ แต่อีกหนึ่งอย่างที่จับต้องไม่ได้คือ เกร็ดความรู้ เพราะในบ้างครั้ง ในส่วนของเกร็ดความรู้นั้น ไม่ได้มีการถ่ายทอดออกมาอย่างชัดเจนเพราะความรู้นี้เกิดขึ้นในแต่ละตัวบุคคลที่ไม่เหมือนกัน แต่ต้องอาศัยจากการแบ่งปันกันเพื่อให้เข้าถึงเกร็ดความรู้นั้น ๆ

นอกจากการจัดการทางด้านความรู้แล้ว เรายังจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน หรือที่เรียกว่า Knowledge Vision (KV) เพราะการมีเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำให้เราเข้าใจถึงสิ่งกำลังจะทำ ยกตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ที่มาเรียนรู้โยคะ เพื่อการประสานใจและกายเป็นหนึ่งเดียว นี้คือ เป้าหมายที่ชัดเจน

และเมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว จึงจะเกิดการส่งต่อ หรือ แบ่งปัน แนวทางการเดินทางไปให้ถึงเป้าหมาย ด้วยการจัดการ Knowledge Sharing (KS) เพราะว่าการเดินทางไปให้ถึงเป้าหมายที่ชัดเจนนั้น แต่ละคนย่อมมีวิธีการแนวทางในการฝึกท่าโยะที่แตกต่างกันออกไป การนำความรู้มาแบ่งปันกันจะช่วยให้แต่ละคนเกิดความคิด และ จินตนาการมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความแปลกใหม่ สีสัน และ ความสุขในการลองทำ เพื่อเกิดการค้นพบเป้าหมายในที่สุด

เมื่อได้ข้อมูลต่าง ๆ มากมาย ก็จะถึงกระบวนการการจัดเก็บ Knowledge Asset (KA) ซึ่งประกอบด้วยการเก็บข้อมูลดิบในเบื้องต้น ซึ่งคือ เกร็ดความรู้ (Tacit Knowledge) และนำมาวิเคราะห์ให้กลายเป็นแก่นความรู้ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรูปนามธรรม หรือ จับต้องได้ การคิดแบบนี้ไม่ต่างจากการคิดงานใน Agency ที่ เมื่อได้รับโจทย์จาก ลูกค้า ผู้คิดงานจะเริ่มจากการให้โยนความคิด ต่าง ๆ เข้ามา โดยไม่มีข้อจำกัด เพื่อไม่ให้จำกัดแนวทางความคิด เพื่อให้เกิดจินตนาการ และ ความสุขที่จะคิด หลังจากนั้นจึงนำความคิดต่าง ๆ มาย่อย วิเคราะห์ถึงความเหมาะสม เงินทุน ความเป็นไปได้ ก่อนที่จะกลั่นออกมาเป็นแก่นความรู้ (Explicit Knowledge) หรือ ผลสรุปทางความคิด

จะเห็นว่าเมื่อเริ่มต้น เรามาฝึกโยคะด้วยแก่นความรู้ดั่งเดิม แล้วเกิดเกร็ดความรู้ของแต่ละคน แต่หลังจากนั้น เราจะนำเกร็ดความรู้ที่ได้มาแบ่งปันกัน ทำให้เกิด แก่นความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมา แล้วเมื่อมีคนนำแก่นความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ ไปปฏิบัติ ก็จะเกิดเกร็ดความรู้ ที่นำไปสู่แก่นความรู้ อีก ฮ่าฮ่า งงล่ะสิ นึกถึง Infinity ซึ่งมันคือการพัฒนาที่ไม่รู้จบไง

กลับมาที่โยคะ จะไม่บอกว่าโยคะเป็นของทันสมัย แต่จะบอกว่าโยคะคือ ปัจจุบัน มาโดยตลอด เพราะปรัชญาโยคะสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตจริงได้ทุกเมื่อ เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การฝึกโยคะทำให้เกิดการฝึกในแนวทางใหม่ ๆ เกิดขึ้น จนอาจจะลืมแนวทางดั่งเดิมไปบ้าง แต่นี้ก็คือสิ่งที่ห้ามไม่ได้เพราะบนถนนสายโยคะ คือ ปัจจุบัน ตามความต้องการของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย โยคะจึงไม่เคยตายไปจากมนุษย์แต่จะยังคงอยู่เพื่อการแสวงหาที่ไม่สิ้นสุด เพราะคนหลายคนต้องการเดินบนถนนแห่งโยคะเพื่อการค้นหา ค้นพบ เกิดจินตนาการ และนำมาปรับใช้กับชิวิตประจำวันได้จริง

ข้อเขียนนี้ ผู้เขียน ๆ ขึ้นเพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ในวิถีโยคะแบบดั่งเดิม หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์กรุณาช่วยกันแบ่งปันต่อไปทาง ออนไลน์ แต่กรุณาอย่าดัดแปลง หรือ กรุณาอย่านำไปลงในสื่ออื่น ๆ แต่อย่างใด  ขอบคุณครับ




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2553   
Last Update : 10 ตุลาคม 2553 7:28:46 น.   
Counter : 1051 Pageviews.  


แผนที่โยคะ

นับจากนี้ ข้อเขียนทั้งหมด จะเกิดขึ้นจากการเริ่มเข้าอบรม ครูโยคะ รุ่น  10 ของทางสถาบันโยคะวิชาการ ทั้งนี้ เราจะได้เรียนรู้จิต และ ความคิด ที่มองโยคะ แตกต่างจากช่วงต้นของผู้เขียนที่เริ่มฝึก ว่ามีความแตกต่างทางด้านความคิด และ มุมมองต่อโยคะ อย่างไร 


จะฝึกโยคะน่ะ มีแผนที่หรือยัง อุแม่เจ้า คิดจะฝึกโยคะ ต้องมีแผนที่ด้วย แล้วเราจะหาแผนที่จากไหนล่ะ ร้านหนังสือไหนมี หรือว่า จะโหลดจากอินเตอร์เน็ท ได้ป่าว แค่เอาตัวมาถึงค่าย ก็หลงแล้วหลงอีก ตายแล้วจะเดินทางไปถึงไม่เนี้ย นี้คือความน่าสนใจ ที่ว่าเมื่อเรานึกถึงแผนที่ เรามักจะนึกถึงจุดหมายปลายทางกันเสียก่อน ส่วนจะคดเคี้ยวเลี้ยวลดไปทางไหน เราก็เลือกที่จะเดินทางได้ ด้วยการดูรายละเอียดเส้นทางในแผนที่ แต่สิ่งหนึ่งที่แผนที่ไม่ว่าจะรูปแบบไหนไม่เคยบอก คืออะไร ใครรู้บ้าง

นึกออกกันบ้างป่าว แผนที่ไม่เคยบอกว่า จุดเริ่มต้นของเราอยู่ที่ไหน เพราะแผนที่มีวัตถุประสงค์ที่เป้าหมายปลายทาง แต่ในวิถีโยคะแล้ว การคิดถึงแต่เป้าหมายและเส้นทางอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ เพราะสิ่งสำคัญ คือ เราจะต้องรู้ว่า ณ ขณะนี้ เราอยู่ที่ไหน ตรงไหน นั้นคือ การรู้จักตัวเองก่อนอื่น เพราะแผนที่โยคะที่อยู่ในตัวเราแต่ละคน เป็นแผนที่เฉพาะบุคคลที่ไม่มีใครจะลอกเลียนแบบได้ ดังนั้นแล้ว เราเองก็ลอกเลียนแบบใครไม่ได้เหมือนกัน ด้วยแผนที่โยคะของเราแต่ละคน ก็จะนำเราไปสู่จุดเป้าหมายสูงสุดของแต่ละคน
ดังนั้นแล้วด้วยทัศนคิตแบบเดิมจากโลกผู้เชี่ยวชาญ ก็จะเป็นกรอบทำให้เราไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายของแต่ละบุคคลได้ เพราะในโลกผู้เชี่ยวชาญนั้น เราถูกสอนให้เป็นเหมือนคนอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จ กินอยู่อย่างคนดัง ขับรถเพื่อแสดงสถานะ และอื่น ๆ อีกมากมาย

ดังนั้นแล้วการเรียนรู้การใช้แผนที่โยคะให้เป็น จะทำให้เราเรียนรู้ที่จะเขียนแผนที่ในการดำเนินชีวิตให้กับตัวเราเองด้วย เพราะก่อนที่จะเขียนแผนที่โยคะนั้น เราต้องรู้จักตัวเอง รู้จักใจว่าสมาธิเราเป็นอย่างไร รู้จักกายว่าร่างกายเรามีความสามารถในการฝึกแต่ละท่าแค่ไหน เพราะเราแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะสมาธิดี แต่ร่างกายยังไม่แข็งแรง แต่บางคนร่างกายแข็งแรง แต่ขาดซึ่งสมาธิ นั้นคือ แต่ละคนยังขาดซึ่งสมดุล มีความแตกต่าง ดังนั้นผู้ฝึกแต่ละคน จึงต้องค้นหาและสร้างสมดุลของตนเอง ไม่เกิดการลอกเลียน หรือ เปรียบเทียบ เพราะมนุษย์ แต่ละคน ย่อมมีความสามารถที่แตกต่างกัน แค่หน้าตาเราก็ยังแตกต่างกันแล้ว จะเอาอะไรกับสิ่งอื่น ๆ มันก็ย่อมมีความต่าง

เมื่อเรารู้แล้วว่าเราอยู่จุดใดในแผนที่โยคะของเรา ที่เหลือก็คือ การค้นหาเส้นทางโยคะ ที่เหมาะสมกับตัวเรา เปิดใจรับการเรียนการสอนการฝึกฝน เพราะเส้นทางของแต่ละคนก็ย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นแล้วระยะเวลาในการถึงเป้าหมายก็ย่อมแตกต่างกัน แต่ถ้าว่าระหว่างทางเรามั่วแต่ไปเปรียบเทียบตัวเรากับคนอื่น ๆ เราเองก็จะขาดการพัฒนา หยุดจินตนการและขาดซึ่งความสุข เพราะเมื่อเกิดการเปรียบเทียบ เราก็จะมีแต่ทุกข์ ว่าทำไม เราถึงไม่เหมือนคนอื่น ทำให้เสียเวลาหลงทาง และห่างไกลจากเป้าหมายมากขึ้น

นี่คือสิ่งที่เราได้จาก คำพูดของ ครูกวี ในวันเปิดค่าย ดังนั้นแล้วแม้แต่ชีวิตของเราแต่ละคน หันมาดูใจดูกายของเราก่อนดีกว่าว่าต้นทุนจุดเริ่มต้นของเราอยู่ที่ไหน เพื่อเข้าใจในตัวเองและช่วยในการเตรียมความพร้อมในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เราถึงเป้าหมายสบายผิดกัน ฮ่าอ่า

ข้อเขียนนี้ ผู้เขียน ๆ ขึ้นเพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ในวิถีโยคะแบบดั่งเดิม หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์กรุณาช่วยกันแบ่งปันต่อไปทาง ออนไลน์ แต่กรุณาอย่าดัดแปลง หรือ กรุณาอย่านำไปลงในสื่ออื่น ๆ แต่อย่างใด  ขอบคุณครับ




 

Create Date : 01 ตุลาคม 2553   
Last Update : 1 ตุลาคม 2553 23:52:39 น.   
Counter : 871 Pageviews.  


โยคะ ทัศนะคติ

นับจากนี้ ข้อเขียนทั้งหมด จะเกิดขึ้นจากการเริ่มเข้าอบรม ครูโยคะ รุ่น  10 ของทางสถาบันโยคะวิชาการ ทั้งนี้ เราจะได้เรียนรู้จิต และ ความคิด ที่มองโยคะ แตกต่างจากช่วงต้นของผู้เขียนที่เริ่มฝึก ว่ามีความแตกต่างทางด้านความคิด และ มุมมองต่อโยคะ อย่างไร 



ตลอดสามวันที่เข้าค่าย ครูโยคะ รุ่นที่ 10 ของสถาบันโยคะวิชาการ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่มีทั้งความเหมือนและความต่าง ดังจะเห็นได้จากกลุ่มเพื่อนที่เข้าฝึกอบรม ที่เหมือนกันในความตั้งใจและมุ่งมั่นที่อยากจะเรียนรู้และฝึกหัดในศาสตร์ของโยคะอย่างลึกซึ้ง แต่ก็มีความต่างกันอยู่ตรงที่ว่า จุดเริ่มต้นของแต่ละคน นั้นย่อมแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ต้องบอกว่าร้อยละ 60 เหตุผลของการเจ็บป่วยเป็นจุดเริ่มต้นของการฝึกโยคะ รวมถึงตัวเองด้วย อีกร้อยละ 30 ต้องการหลุดพ้นทางโลก และ อีกร้อยละ 10 ต้องการเรียนรู้ว่าโยคะคืออะไร และ ฝึกไปแล้วจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง นั้นคือที่มาที่ไปของคน 22 คนจากความหลากหลายทั้งกายภาพ จิตวิญญาณ และภูมิศาสตร์ ที่มารวมตัวกันในครั้งนี้

ในช่วงแรกของการเข้าค่าย ครูกวี คงภักดีพงษ์ ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ เกี่ยวกับทัศนคติของเราทุกวันนี้ว่า “สิ่งสำคัญที่จะเอื้อต่อการเรียนโยคะนั้นคือทัศนคติของผู้เรียน ว่าผู้เรียนมีทัศคติอย่างไรต่อการเรียนโยคะ” ซึ่งขยายต่อไปอีกว่า “หากเรายังมีทัศนคติทางโลก ซึ่งปัจจุบันมีลักษณะของการเป็นโลกผู้เชี่ยวชาญ เราก็จะอยู่ในสังคมปรนัย หรือ สังคมอุตสาหกรรมบริโภคนิยม ที่ผลิตอุตสาหกรรมความรู้ มีผู้เชี่ยวชาญ สาขาโน้นนี้นั้น มากำหนด และ ค่อยบอกว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ จนกระทั่งเราเปรียบเสมือนผู้รอรับที่ไม่ต้องใช้ปากเคี้ยวสมองคิด ดำเนินชิวตไปวันต่อวัน ทำตามกระแสสังคม ที่ว่าโยคะคือการออกกำลังกาย ก็จะเวียนว่ายกันไปไม่สิ้นสุด วันนี้เรื่องนี้ฮิต วันนั้นเรื่องนั้นดัง ก็แห่โหนกันไปตามกระแส”

แต่ทางตรงกันข้าม ทัศนคติแบบโยคะ คือ การสร้างความสมดุลทางธรรมชาติอย่างองค์รวมให้กับชีวิต เพราะทุกคนเกิดมามีเป้าหมายเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน นั้นคือระบบนิเวศ ไม่ว่าเราจะเป็นหญ้า หรือ ต้นไม้ใหญ่ หรือ แมลง หรือ นก หรือ คน ต่างมีหน้าที่และเป้าหมายในการดำรงอยู่ ทุกสิ่งอย่างมีความเท่าเทียมและยิ่งใหญ่เท่ากัน ไม่มีใครฉลาด หรือ โง่ไปกว่าใคร เพราะเราไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองเพียงลำพัง เพราะเราทุกคนต้องการศักยภาพจากทุกอย่างเพื่อเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน และในความเป็นจริงทีว่า เราถูกสร้างให้มีความเฉพาะตัว ดังนั้นเราทุกคนมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาได้โดยไม่จำเป็นจะต้องเดินตามกัน เพราะเรามีสมองที่สามารถคิดไตร่ตรอง และ ปฏิบัติ ได้ นั้นเพราะชีวิตเราไม่เคยง่าย ไม่เคยสบาย ทุกจังหวะของชีวิตคือความท้าทายที่ให้เราค้นหา ไม่ว่า จะตามกระแส ทวนกระแส หรือ แสวงหาในตัวเอง เพราะเราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา นั้นคือ ความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายสูงสุด ที่แต่ละคนปรารถนา

ดังนั้นแล้วโยคะทัศนคติ นั้นคือ การเข้าใจในสมดุลของตนเองอย่างองค์รวม เพื่อสภาวะแวดล้อมที่ดีในชุมชนที่ตนเองอาศัย เพราะหากเราทุกคนคิดดีทำดี ตามหน้าที่ของตนเองที่สมควร เราก็ช่วยกันสร้างสังคมที่น่าอยู่ขึ้นมาได้

ข้อเขียนนี้ ผู้เขียน ๆ ขึ้นเพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ในวิถีโยคะแบบดั่งเดิม หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์กรุณาช่วยกันแบ่งปันต่อไปทาง ออนไลน์ แต่กรุณาอย่าดัดแปลง หรือ กรุณาอย่านำไปลงในสื่ออื่น ๆ แต่อย่างใด  ขอบคุณครับ




 

Create Date : 26 กันยายน 2553   
Last Update : 29 กันยายน 2553 9:27:35 น.   
Counter : 928 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  

Beautybig
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สวัสดีครับ ไม่ค่อยได้เข้ามาใน Blog เท่าไหร่ แต่สามารถติดตามกันได้ที่

http://www.krityoga.com

หรือ https://www.facebook.com/ThaiYogaInstituteAlumni/
โยคะสารัตถะ เล่มเดือนมีนาคม มารู้จักโยคะจากผู้เรียนที่ สวนโมก สวนรถไฟ กรุงเทพกัน
New Comments
[Add Beautybig's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com