A room to learn and talk
 
 

ฝึกโยคะฟรี ครับ ที่ หอจดหมายเหตุพุทธทาส สวนวชิรเบญทิศ ถ.วิภาวดีรังสิต (หลังตึก ปตท. ห้าแยกลาดพร้าว)

ตารางการสอนปี 2554 อยู่ในช่อง Comment ด้านล่างน่ะครับ


ใครอยากลองเรียนรู้ โยคะในวิถีดั่งเดิม ที่ผสาน การใจเป็นหนึ่งเดียว เป็นโยคะที่ฝึกแล้วผ่อนคลาย ไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกาย ท่าโยคะพื้นฐานง่ายเปี่ยมไปด้วยพลัง ที่จะเสริมสร้างความสมดุลย์ให้กับทั้งกายและใจ อยากให้ไปลองเรียนกันน่ะ

สถาบันโยคะวิชาการ ร่วมกับ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เชิญเข้าร่วมกิจกรรม “โยคะในสวนธรรม” ทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน เวลา 10.00 – 12.00 น. และทุกเย็น วันพุธที่ 1 และ 3 ของเดือน เวลา 17.00 - 18.30 น. ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส สวนวชิรเบญทิศ ถ.วิภาวดีรังสิต (หลังตึก ปตท. ห้าแยกลาดพร้าว)

มาร่วมฝึกเทคนิคโยคะ พร้อมกับทำความเข้าใจโยคะตามตำราดั้งเดิม ซึ่งเป็นวิถีไปสู่โมกษะ และทำความเข้าใจว่า โยคะเชื่อมโยง เกื้อกูลกับการปฏิบัติธรรมได้แค่ไหน อย่างไร ตามกำหนดการ*ดังนี้
คลิ๊กที่อ่านต่อเพื่อดูตารางสอนแต่ละสัปดาห์&แผนที่
1 ธ.ค. โยคะ เบาแรง เบากาย เบาใจ โดยรัฐธนันท์ พิริยะกุลชัย
11 ธ.ค. โยคะกับการภาวนา โดย ธนวัชร์ เกตน์วิมุต
15 ธ.ค. โยคะสำหรับคนมีเวลาน้อย โดยพรพรรณ ปริญญาธนกุล
ไม่เสียค่าใช้จ่าย มีการตั้งกล่องรับบริจาค เพื่อช่วยสมทบค่าสาธารณูปโภคให้กับฝ่ายอาคาร และค่าเดินทางวิทยากร
แต่งกายสบายๆ (เสื้อยืด กางเกงวอร์มที่สุภาพ) โปรดนำเสื่อหรือผ้าหนาๆ ไปรองตัว ขณะฝึก ไม่มีการสำรองที่เรียน ใช้หลักธรรมะจัดสรร แบ่งปัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถาบันโยคะฯ 02-732-2016-17 กลอย
ถ้ามากับเด็กเล็ก ควรมีคนมาดูแลเด็กด้วย เพื่อรักษาบรรยากาศอันสงบในขณะกำลังฝึกโยคะ



*กำหนดการอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม




 

Create Date : 29 พฤศจิกายน 2553   
Last Update : 11 มกราคม 2554 1:50:29 น.   
Counter : 1502 Pageviews.  


ค่ายกริยาโยคะ กับคนเคยคุ้นและรู้ใจ (1)

นับจากนี้ ข้อเขียนทั้งหมด จะเกิดขึ้นจากการเริ่มเข้าอบรม ครูโยคะ รุ่น  10 ของทางสถาบันโยคะวิชาการ ทั้งนี้ เราจะได้เรียนรู้จิต และ ความคิด ที่มองโยคะ แตกต่างจากช่วงต้นของผู้เขียนที่เริ่มฝึก ว่ามีความแตกต่างทางด้านความคิด และ มุมมองต่อโยคะ อย่างไร 


ฟังดูแล้วคงคิดว่าเราไปฝึกมารยาทในวิถีโยคะกัน เป็นวิถีแห่งความสุขภาพอ้อนน้อมถ่อมตน อันเป็นธรรมชาติของโยคะ หลาย ๆ คน คงจะคิดว่าเราไปฝึกการเคลื่อนไหวแบบนุ่มนวลสุภาพ คืบคลานกันตลอดระยะเวลาของค่าย ถ้าเข้าใจอย่างนั้นแล้วก็คงจะคิดผิดถนัด เพราะในค่ายปิดของคอร์สครูระยะยาว สถาบันโยคะวิชาการ เมื่อวันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2553 นั้น คงจะไม่ใช่การฝึกมารยาทให้งามอย่างโยคะ แต่เป็นการฝึกที่พวกเราต้องทรหดอดทนแสนสาหัสยิ่งหนัก
เริ่มด้วยการสอบ ฮ่าฮ่า ที่สอบไปสลบไป ไม่ได้ทรมานน่ะ แต่โกรธตัวเองว่ารู้ทั้งรู้ว่าต้องอ่านจากไหน (ไม่บอกหรอก เด๊วรุ่นอื่นรู้) ก็ไม่ได้มีเวลาอ่าน เพราะมัวแต่เอาเวลาไปตัด VDO จนคืนสุดท้ายก่อนไปเข้าค่ายถึงได้อ่านหน่อยหนึ่ง ขอย้ำว่าการสอบเป็นเรื่องที่ดี ๆ มากมาก แต่ก็ไม่อยากสอบเท่าไหร่

หลังจากผ่านการสอบกันอย่างสะบักสะบอม เราก็เริ่มทำกิจกรรมกันด้วยการขยับขยายเส้นสาย ด้วยการออกกริยาอาการที่เราทำเป็นสิ่งแรกเมื่อเราตื่นนอนในเช้าวันนั้น เป็นกิจกรรมเตือนสติเล็ก ๆ ให้เราเรียกความสดชื่นกลับมาก่อนไปกินข้าวเที่ยง และหลังจากนั้น เราก็ไปทำกิจกรรมกันที่ศาลาริมน้ำแสนสบาย ในหัวข้อความอยาก โดยให้ทุกคนจับกลุ่ม แล้วบอกความอยากของตนเองให้เพื่อนในกลุ่มทราบ เมื่อรับทราบแล้ว เราก็มาเข้าแถวตอนเพื่อที่ คนที่หนึ่งจะต้องบอกคนที่สองว่ามีความอยากอะไร แล้วให้คนที่สองวิ่งไปเขียน เมื่อเขียนเสร็จคนที่สองก็จะบอกความอยากของตนเองกับคนที่สาม และคนที่สามก็วิ่งไปเขียนความอยาก แล้วก็ทำกันต่อไปเรื่อย จนกระทั่งหมดเวลา หลังจากนั้น ครูก็ค่อยมานั่งอ่าน ในหัวข้อของแต่ละคนว่ามีความอยากอะไรบ้าง กับมีบ้างหัวข้อที่ไม่มีคำว่าอยาก เพราะเมื่อเราอยาก หมายถึงเราจะยังไม่ทำ แต่ถ้าเราจะทำ เราจะไม่ใส่ความว่าอยาก ลองสังเกตุสิว่าเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า ทำไมเราถึงจะต้องแค่อยาก ทำไมเราถึงไม่ทำ เพราะถ้าเราปล่อยให้เพียงแค่อยาก เราก็จะไม่ได้ทำสักที

หลังจากเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองแล้ว เราก็มาเรียนรู้ กริยาโยคะกัน เริ่มด้วยการนั่งพับเพียบเรียบร้อย ค่อยกราบหมอบคลานอย่างช้า ๆ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น กริยาโยคะคืออะไร ข้อนำข้อมูลจากเอกสาร ชีทประกอบครูโยคะ ของทางสถาบันโยคะวิชาการมาเล่าเลยแล้วกัน ว่า กริยาคือการทำความสะอาด การชำระล้าง แล้วชำระล้างอะไรล่ะ การชำระล้างแบ่งออกเป็น 6 ประเภทด้วยกันคือ
อันแรกที่เราเรียนกันตั้งแต่ในคลาสที่ มศว ได้แก่ เนติ Neti คือการชำระล้างโพรงจมูกด้วยน้ำโดยใช้กาค่อย ๆ เทน้ำเข้าไปทางรูจมูกให้ไปชำระล้างโพรงจมูก ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป บ้างคนเวลาล้างแล้วก็ไม่มีความรู้สึกแสบจมูก แต่บ้างคนก็มีความรู้สึกแสบจมูก เพราะนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะของร่างกายของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน การฟังความรู้สึกจากร่างกายของเรานั้นจะทำให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าร่างกายต้องการบอกอะไรเล่า หรือกำลังจะเตือนอะไรเรา
สำหรับในค่ายกริยานั้น เราได้ฝึกทำการล้างจมูกด้วยการใช้สายยางให้อาหารทางจมูกสำหรับเด็ก สอดเข้าไปทางจมูกและดึงออกทางปาก เพื่อทำการขัดล้างเมือกในโพรงจมูกด้วย ซึ่งบางคนทำสำเร็จทั้ง 2 รูจมูก แต่บางคนก็ทำได้แค่ข้างเดียว หรือบางคนทำไม่ได้เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายความพร้อมของร่างกาย ว่ารูจมูกเราตีบตันหรือไม่อย่างไร ประโยชน์ช่วยให้ระบบทางเดินหายใจสะอาด กำจัดน้ำมูกน้ำเมือกต่าง ๆ ภายในรูจมูก หายใจคล่องขึ้น

อันดับสอง คือ กปาลภาติ คือการใช้การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อท้องใต้สะดือในการหายใจเข้าออกทางจมูกเหมือนพ่นลมแรงๆ เพื่อชำระล้างทางเดินระบบหายใจ ก่อนที่เราจะฝึกปราณายามะ เราควรจะล้างระบบทางเดินหายใจก่อนฝึกปราณายามะ และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองของเนื้อเยื่อ ทำให้ระบบหลอดลมหายใจสะอาดจากสิ่งสกปรก เพราะเราใช้ลมพ่นแรงๆ เพื่อช่วยทำความสะอาดระบทางเดินหายใจ และปอดของเรา

อย่างที่สามที่เราฝึกกันในค่ายกริยาคือ การทำความสะอาดตา ด้วยน้ำตา แล้วเราจะเอาน้ำตามาล้างตาได้อย่างไร กรรมวิธีนี้ต้องทำตอนกลางคืน ยามดึกสงัด และ ไร้ซึ่งแสงอื่นใดมารบกวน ซึ่งอาจจะทำยากหน่อยถ้าอยู่ในกรุงเทพ เพราะว่าสภาพความือในกรุงเทพนั้น ไม่ได้มืดสนิท เพราะเราจะต้องนั่งอยู่ในห้องที่มืดสนิท มีเพียงแสงจากเปลวเทียน 1 เล่มให้เรามองจ้องไว้ เป็นจังหวะ 1 นาที 2 นาที และ 3 นาที โดยไม่กระพริบตา ขอย้ำว่าห้ามกระพริบตาจริง ๆ อันนี้ขอบอกว่า เพื่อนบางคนน้ำตาไหลอย่างมากมาย แต่ผู้เขียน ไม่ไหลเลย มีแต่เอ้อ ๆ อยู่ตรงขอบตา แต่คนที่ไหลมากมาย บอกว่ารู้สึกสบาย โล่งตา แล้วเบาตา

การทำ เธาติ ด้วยน้ำ คือดื่มน้ำอย่างต่อเนื่อง เป็นจำนวน 1.5 ถึง 2 ลิตร ดื่มไปจนรู้สึกท้องบวม แล้วค่อย ๆ ใช้นิ้วกดไปที่โคนลิ้น เพื่อให้อ้วกเอาน้ำออกมา ต้องอ้วกออกน้ำออกมาให้หมด การที่เรากินน้ำเข้าไปมากขนาดนั้น เพื่อเป็นนำน้ำเข้าไปชำระล้างระบบกะเพาะและระบบทางเดินอาหารภายในร่างกาย โดยน้ำจะไปผสมกับกรดในกะเพาะ เพื่อลดความเป็นกรดลง ทำให้ไม่กัดระบบทางเดินอาหารตอนที่เราอ้วกออกมา เมื่ออ้วกแล้ว หลายคนอาจจะมีความรู้สึกที่แตกต่างกัน บางคนรู้สึก สบาย บ้างคนรู้สืกเหนื่อย แต่ที่ทุกคนเป็น คือจะรู้สึกง่วงนอนมาก เพราะเมื่อเราอ้วกระบบประสาทของเราถูกบังคับให้ทำย้อนกับความรู้สึกอัตโนมัติ ดังนั้นแล้วเราจะมีความเพลียเป็นอย่างมาก

การทำกริยาที่กล่าวมา ไม่ควรหัดด้วยตัวเอง ควรจะเรียนจากครูผู้มีความรู้ เพื่อจะได้รับประโยชน์ และ ทราบถึงข้อห้ามต่าง ๆ ในการฝึกปฏิบัติ

สำหรับในส่วนกิจกรรมนั้น ก็มีเรื่องหลากหลายมากมายให้เราได้ใช้สมองในการคิดกัน เริ่มจาก
การภาวนา ซึ่งนำโดยครูดล ด้วยการเปิดคำถามเรื่องการภาวนา ว่า เราเชื่อในการภาวนากันหรือไม่ หรือใครมีประสพการณ์ในการภาวนามาบ้างมากน้อยแค่ไหน และการภาวนาช่วยอะไรเราได้บ้าง ตลอดจนทำไมเราถึงต้องภาวนา สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ การภาวนาเป็นเรื่องสากล ทุกศาสนามีการภาวนา เพราะการภาวนาช่วยส่งผลดีต่อให้เราเกิดความเชื่อมั่นในความคิดและตั้งมั่นใจจิตของเรา ทำให้ส่งผลต่อการกระทำของเราเองโดยอันโตมัติ บางครั้งการภาวนาของเราเองจะช่วยทำให้เรามองปัญหาและเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขได้เองโดยอัตโนมัติ ดังนั้นการภาวนาไม่ใช่เรื่องอภินิหาร แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จริงจากข้างในตัวเราเอง

แล้วก็มาถึงพรมวิเศษ เพียงกระดาษแผ่นเล็กว่า A4 แต่สามารถนำไปสู่ความหมายของคำว่า เสียสละ ได้อย่างชัดเจน เพียงเริ่มต้นให้ทุกคนล้อมวงแล้ว ให้เริ่มกล่าวขอบคุณเพื่อน ๆ หรือ กล่าวขอโทษเพื่อน ๆ คนใดคนหนึ่ง หรือ หลายคนพร้อมกัน ได้ เมื่อเรากล่าวของคุณใคร เช่น กล่าวขอบคุณพี่อ้อม พี่อ้อมจะก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว เพื่อให้ใกล้พรมวิเศษมากขึ้น แต่ถ้าเรากล่าวขอโทษใคร คนที่เราได้รับการกล่าวขอโทษจะได้ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว ในขณะที่เราต้องก้าวถอยหลังไปหนึ่งก้าว ทำไมเราต้องการถอยหลัง เพื่อเป็นการหัดลดอัตตาในตัวเองยอมรับว่าเราได้ทำผิดอย่างอ้อนน้อม การกล่าวขอโทษเป็นการกล่าวที่ยากเพราะเราจะต้องพร้อมที่กล่าวจากใจจริง เพื่อให้เรารู้สึกขอโทษในความผิดนั้นอย่างเป็นสุขจากภายใน

แล้วเกี่ยวอะไรกับคำว่า เสียสละ เพราะการขอบคุณในแต่ละครั้งนั้น เป็นการขอบคุณที่บุคคล ๆ หนึ่งได้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ด้วยการไม่ได้มุ่งหวังผลตอบแทน ด้วยการให้อย่างเต็มใจ และด้วยการกระทำของเขา จึงส่งผลให้คนอื่น ๆ ระลึกถึงได้ด้วยความเต็มใจที่จะขอบคุณ ซึ่งเป็นผลของการกระทำที่อยู่ในคำอธิบายของหล่วงปู่ฤษีลิงดำ ที่เคยอธิบายคำว่า เสียสละไว้ว่าเป็นหนทางสู่นิพพาน โดยการแยกคำ ๆ นี้ออกมาเป็นสามคำด้วยกันคือ เสีย เราต้องยอมเสียไป สละ เราก็ยังต้องยอมสละ แต่ถ้า ละ นั้นหมายถึงเราเต็มใจให้ด้วยการปราศจากการต้องการการตอบแทน ให้ด้วยใจบริสุทธิ์

พรมวิเศษสอนให้เรารู้ว่า การให้เป็นการให้ด้วยความรักปราศจากหวังซึ่งผลตอบแทน ดังนั้นแล้วพรมวิเศษคือการเปิดใจให้เข้าใจของคำว่าให้ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

ขอจบภาคแรกก่อนน่ะ แล้วจะมาต่อภาคสองไว้ให้อ่านเป็นที่ระลึก เพราะภาคสองเนี้ย มันเด็ดจริง ๆ




ข้อเขียนนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ผู้เขียน ๆ ขึ้นเพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ในวิถีโยคะแบบดั่งเดิม หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์กรุณาช่วยกันแบ่งปันต่อไปทาง ออนไลน์ แต่กรุณาอย่าดัดแปลง หรือ กรุณาอย่านำไปลงในสื่ออื่น ๆ แต่อย่างใด  ขอบคุณครับ




 

Create Date : 26 พฤศจิกายน 2553   
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2553 9:52:30 น.   
Counter : 1757 Pageviews.  


มหัศจรรย์ร่างกาย ที่ครูโยคะและผู้ฝึกต้องรู้

นับจากนี้ ข้อเขียนทั้งหมด จะเกิดขึ้นจากการเริ่มเข้าอบรม ครูโยคะ รุ่น  10 ของทางสถาบันโยคะวิชาการ ทั้งนี้ เราจะได้เรียนรู้จิต และ ความคิด ที่มองโยคะ แตกต่างจากช่วงต้นของผู้เขียนที่เริ่มฝึก ว่ามีความแตกต่างทางด้านความคิด และ มุมมองต่อโยคะ อย่างไร 



คุยกันไปเรื่องทัศนคติชีวิต กับครูดลไปแล้ว ในช่วงเช้าวันที่ 25 กันยายน 2553 ช่วงบ่ายก็มาคุยกับครูหมู เรื่อง สรีระวิทยาภายวิภาค ได้ความรู้มากมายที่ไม่คาดคิดว่าจะต้องมาเรียนโยคะ แล้วต้องรู้จัก กายวิภาคของคนขนาดนี้ แถมเมื่อได้ไปลงสีระบายสวยกับสรีระของมนุษย์ ก็ให้คิดตามคำพูดของครูหมูว่า ร่างกายมนุษย์นั้น งดงามมหัศจรรย์ยิ่งนัก มีใครรู้บ้างว่าร่างกายเราประกอบด้วย เชลล์กี่ล้านเซลล์ ก็คงจะเดากันไม่ถูก ถ้าไม่บอกว่า มีทั้งหมด 100,000,000,000,000 เซลล์ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นร่างกายของเรา

ถ้าเรามามองดูกันที่กล้ามเนื้อ เพราะในการฝึกโยคะนั้น เรามักจะเคยได้ยินบ้างที่ บอกว่าระหว่างการทำอาสนะนั้นคือการผ่อนคลาย แล้วจะผ่อนคลายได้อย่างไรในเมื่อ ท่าอาสนะแต่ละท่านั้น ดูแล้วไม่เห็นจะเป็นการผ่อนคลายได้เลย ดังนั้นแล้วเราคงต้องมาทำความเข้าใจในหัวเรื่องหลักของการรู้จักกล้ามเนื้อของเราก่อน เริ่มจาก

มัสเซิลโทน คือ สภาวะที่กล้ามเนื้อทำงานน้อยที่สุดระหว่างที่ร่างกายกำลังอยู่ในการพัก มัสเซิลโทน คือ กลไกต่อต้านการเหยียดของกล้ามเนื้อที่มากเกิน ร่างกายจำเป็นต้องมี มัสเซิลโทน เพื่อสำรองพลังงานไว้ใช้ในยามที่กล้ามเนื้อเคลื่อนไหว ระด้งของมัสเซิลโทนจะน้อยที่สุดในระหว่างการนอนหลับ

ถ้าจะพูดกันง่าย ๆ ก็คือ การที่กล้ามเนื้อเรามีภาวะที่ทำให้เราคงสภาพในขนาดที่ใช้พลังงานน้อยที่สุด เช่นในขณะการฝึกมักจะได้ยินบ่อย ๆ ว่า ในแต่ละท่าให้เราใช้แรงน้อยที่สุด และไปอย่างสบาย ไม่รู้สึกฝืน รู้สึกต้าน ดังนั้นแล้ว มัสเซิลโทน ยอมขึ้นกับภาวะของแต่ละคน ดังนั้นแต่ละคนจำต้องรู้จักเรียนรู้เสียงในร่างกายของเราเอง

อีกทั้งหากเรามีความละเอียดเราจะพบว่าในบ้างวัน เราฝึกท่าอาสนะท่าเดียวกัน ได้แตกต่างกันในแต่ละวัน เพราะมัสเซิลโทนนั้นขึ้นอยู่กับอารมณ์และความรู้สึกของเราในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย

นอกจากมัสเชิลโทน แล้ว ในร่างกายเรายังมีระบบ โฮมีโอสตาซิส ที่จะช่วยในการจัดปรับสภาวะภายในร่างกายของเราให้ทำงานได้อย่างสัมพันธ์กัน และคงสภาพปกติ เป็นการจัดปรับความเข้มข้นของโฮโดรเจนอิออนให้พอเหมาะ, จัดปรับสารอาหารให้พอเหมาะ, ขจัดของเสียที่เกิดจากการสันดาปออกไปได้ด้วยดี, จัดปรับความดันเลือดให้เป็นปกติ, ปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้พอดี อยู่ตลอดเวลา เป็นระบบอัตโนมัติ

ซึ่งหากร่างกายเรามีความเครียด หรือ เจ็บป่วยระบบ โฮมีโอสตาซิส นี้ก็แปรปรวนเหมือนทะเลคลั่ง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย แต่ระบบนี้สามารถจัดปรับได้ด้วยการ ฝึกโยคะ ซึ่งไม่ใช่การออกกำลังกาย แต่เป็นการดูแลร่างกายทั้งหมดอย่างเป็นองค์รวม และอีกทั้งถ้าระบบนี้ไม่ปกติ ร่างกายเราก็ไม่พร้อมที่จะฝึกโยคะให้ถึงจุดหลุดพ้นได้ ดังนั้นแล้ว เราต้องดูแลร่างกายของเราแบบซึ่งกันและกัน เพื่อให้ร่างกายเรามีระบบที่ประสานสัมพันธ์กันอย่างดีที่สุด

นอกจากนั้นร่างกายยังมีระบบตอบสนองที่ เราเรียกว่าระบบประสาทอัตโนมัติ ที่จะตอบสนองสั่งการให้ร่างการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติต่าง ๆ อย่างทันท่วงที เช่น คีโมรีเซพเตอร์ ซึ่งเป็นกลไลสะท้อนกลับ หรือ reflex mechanism ที่ช่วยในการควบคุมลมหายใจ โดยคีโมรีเซพเตอร์ จะมีความไวต่อปริมาณ ค่าความดันคาร์บอนไดออกไซด์ ในกระแสเลือด pCO2 เพราะเมื่อ pCO2 เพิ่มขึ้น จะกระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใน ให้เพิ่มอัตราการหายใจ เพื่อความลึกของการหายใจ ดังนั้นเมื่อร่างกายหายใจมากขึ้น ก็สามารถขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเรื่องได้เร็วขึ้น และเมื่อค่า pCO2 ลดลง ระบบก็จะจัดปรับการหายใจให้กลับไปเป็นปกติ ซึ่งหากมองในแง่การฝึกอาสนะ เวลาที่เราเข้าท่าในแต่ละท่า เราจะพบว่าในบ้างครั้งที่เราพยายามเกินความสามารถของร่างกาย เราจะเริ่มกลั่นลมหายใจ ซึ่งเป็นการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ ในกระแสเลือดและทำให้รู้สึกเหนื่อยไม่สบาย ดังนั้นครูผู้สอนจะบอกเสมอว่าอย่ากลั้นลมหายใจ ให้หายใจตามสบาย เพื่อนำ อ๊อกซิเจน เข้าไปให้มากที่สุด เพื่อนำพา คาร์บอนไดออกไซด์ให้ออกมามากที่สุดเช่นกัน ซึ่งผลที่ได้คือ เราจะไม่รู้สึกเหนื่อย หรือ ฝืนตัวเองในการปฏิบัติมากจนเกินไป อยู่ในความพอดี

จริงแล้วยังมีรายละเอียดอีกมากมาย แต่นี้เพียงยกตัวอย่างบางส่วนมาให้เห็นว่า ร่างกาย และ โยคะ มีความสอดคล้องและเกี่ยวเนื่องเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากมีการฝึกที่ถูกต้อง

หลังจากนี้ เราจะมาดูกันว่า ในการฝึกนั้น เราควรจะพิจารณาผลที่ได้รับจากการฝึกในแต่ละแบบ อันประกอบด้วย Isometric, Isotonic หรือ แบบโยคะ เพราะส่วนใหญ่อันนี้ต้องบอกว่าส่วนใหญ่แล้ว หลายคนมองว่าอาสนะเป็นเรื่องของการออกกำลังกาย จึงโหมทำการฝึกแบบ Isometric และ Isotonic แล้วมันควรจะเป็นอย่างไร เราจะมาคุยกัน

ตามสตูดิโอมักจะชอบสอนว่าให้เกร็งกล้ามเนื้อขา สะโพก หรือ ลำตัว ก่อนที่จะเข้าท่า ซึ่งนั้นเป็นการฝึกแบบ Isometric หากเกร็งมากก็อาจจะถึงขั้นรู้สึกปวดได้ หรือเกิดอาการสั่น ด้วยการฝึกแบบนี้จะทำให้ระบบเลือดทำงานหนัก มีความต้องการอ๊อกซิเจนสูง ซึ่งจะทำให้หัวใจสูบฉีดแรงขึ้น เกินการเผาผลาญมากขึ้น เป็นการเข้าสู้ภาวะการออกกำลังกายอย่างแท้จริง ซึ่งจริง ๆ แล้วจะทำให้อยู่ในท่าได้ไม่นาน ซึ่งผิดกับหลักของการฝึกโยคะ ที่เราจะต้องอยู่ในท่าอย่างใช้แรงแต่น้อย และ นานมากขึ้นที่ละนิด (หากสังเกตเวลาฝึกตามสตูดิโอจะอยู่ในท่าไม่เกิน 1 นาทีต่อท่า)

แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ดีทั้งหมด เพราะหาผู้ฝึกเป็นคนที่มีระบบกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรงมากนัก การฝึกแบบนี้จะเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อขึ้นมาได้ แต่ต้องทำอย่างช้า และ คงตัวนิ่งนาน ไม่ใช่เปลี่ยนไปด้วยความรวดเร็ว

แต่ในขณะเดียวกัน สตูดิโอ ส่วนมากกจะผสมผสานการฝึกแบบ Isotonic คือการฝึกอย่างรวดเร็ว และทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ไม่มีการคงตัวนิ่ง ซึ่งการทำเช่นนี้ไม่ใช้การฝึกอาสนะ และไม่ใช่คุณประโยชน์ของการฝึกโยคะ แม้แต่น้อย เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้อุณหภูมิของผู้ฝึกเพิ่มขึ้น ระบบ sympathetic ทำงานมากขึ้น หัวใจเต้นแรง และ ใช้พลังงานมาก เป็นการออกกำลังกายอย่างแท้จริง ซึ่งจะไม่ส่งประโยชน์แต่อย่างใดต่อการฝึกโยคะ

เพราะการฝึกโยคะ นั้น ใช้แรงแต่น้อย ด้วยความรู้สึกผ่อนคลายของกล้ามเนื้อและข้อ จิตผู้ฝึกกำหนดที่ลมหายใจ ผู้ฝึกเป็นเพียงจิตที่ค่อย ๆ สังเกตร่างกายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะอาสนะแต่ละท่า คือการที่ร่างกายปรับสภาพและสภาวะต่าง ๆ ภายในร่างกายเองตามความเหมาะสมของผู้ฝึก

ในการทดลองฝึก ท่าปัศจิโมตตานะสนะ ด้วย Isometric อัตราการเต้นหัวใจของผู้ฝึกเพิ่มขึ้น 30% ระดับการหดตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ทำให้คงอยู่ในท่าได้ไม่นาน ครั้นเมื่อทำตามแบบตำราโยคะ พบว่าอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 6% ระดับการหดตัวอขงกล้ามเนื้อเพิ่มน้อยมาก ส่งผลให้อยู่ในท่าได้นานกว่าประมาณ 10-50%

ตารางเปรียบเทียบการฝึกอาสนะ และ การออกกำลังกาย
ที่มา หนังสือ โยคะกับการพัฒนามนุษย์ ของสถาบันโยคะวิชาการ บทนิ่งและเคลื่อนไหวในอาสนะ หน้า 109 โดย ดร. เอ็ม.แอล.กาโรเต้ อดีตผู้อำนวยการสถาบันโยคะโลนาวลา (อินเดีย) แปลและเรียบเรียงโดย วีระพงษ์ ไกรวิทย์ และ จิรวรรณ ตั้งจิตเมธี ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มศว
มาดูกันง่าย ๆ กับการเปรียบเทียบของ อาสนะ และ การออกกำลังกาย





ข้อเขียน อ้างอิงจาก สรีระวิทยา และ กายวิภาค ของเทคนิคโยคะ จาก Anotomy & Physiology of Yogic Practices by Dr.Makarand Madhukar Gore แปลโดย กวี คงภักดีพงษ์, จิรพร ประโยชน์วิบูลย์, ธีรินทร์ อุชชิน, ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์

ข้อเขียนนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ผู้เขียน ๆ ขึ้นเพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ในวิถีโยคะแบบดั่งเดิม หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์กรุณาช่วยกันแบ่งปันต่อไปทาง ออนไลน์ แต่กรุณาอย่าดัดแปลง หรือ กรุณาอย่านำไปลงในสื่ออื่น ๆ แต่อย่างใด  ขอบคุณครับ




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2553   
Last Update : 5 ธันวาคม 2553 12:48:17 น.   
Counter : 3338 Pageviews.  


ค่ายกริยา โยคะ และ ประมวลภาพคอร์สครูโยคะระยะยาว สถาบันโยคะวิชาการ รุ่น 10 ปี 2553



เรียนกันจบแล้วจ๊ะ ขอนำประมวลภาพการเรียนการสอนของคอร์สครูระยะยาว สถาบันโยคะวิชาการ รุ่น 10 ปี 2553 มาฝากน่ะจ๊ะ

แล้วจะมาเล่าให้ฟัง กริยาโยคะ เป็นยังไง





 

Create Date : 12 พฤศจิกายน 2553   
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2553 18:28:02 น.   
Counter : 1091 Pageviews.  


ชีวิต ความตาย และการร้องไห้

นับจากนี้ ข้อเขียนทั้งหมด จะเกิดขึ้นจากการเริ่มเข้าอบรม ครูโยคะ รุ่น  10 ของทางสถาบันโยคะวิชาการ ทั้งนี้ เราจะได้เรียนรู้จิต และ ความคิด ที่มองโยคะ แตกต่างจากช่วงต้นของผู้เขียนที่เริ่มฝึก ว่ามีความแตกต่างทางด้านความคิด และ มุมมองต่อโยคะ อย่างไร 



สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เกี่ยวข้องกันในความคิดของทุกคนอยู่แล้ว แต่เราจะมีชีวิตเพื่อพบจุดจบ แล้วร้องไห้อย่างปิติ แทนที่จะร้องไห้ด้วยความเสียใจได้อย่างไร นี้คือสิ่งที่ท้าทายมากมายจริง ๆ เรื่องนี้เริ่มจาก ครูดล (ธนวัชร์ เกตน์วิมุล) มาคุยเรื่อง ทัศนคติชีวิต กันในช่วงเช้า ๆ ของวันเสาร์ที่ 25 กันยายน 2553

เริ่มต้นด้วยการให้ทุกคนนั่งในท่าปทุมอาสนะ เพื่อตั้งคำถามให้กับตัวเองว่า ในการฝึกโยคะนั้นจุดหมายของเราคือ การที่จะนั่งอยู่ในท่าปทุมอาสนะเพื่อให้ทำสมาธิได้นาน 3 ชั่วโมง แล้วเราจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้เราสามารถนั่งในท่าปทุมอาสนะได้อย่าง เสถียร สุข อาสนะ ก็มีคำตอบเกิดขึ้นมากมาย ตั้งแต่ว่าท่าใดที่เราฝึกแล้วช่วยทำให้เราสามารถนั่งในท่าปทุมอาสนะได้อย่างสบาย การฝึกปราณยมะแบบไหนที่จะสนับสนุนการปล่อยจิตให้ว่าง ล้างจิตให้สะอาด หรือแม้แต่ พันธะต่าง ๆ ที่ช่วยล้างพิษ ออกจากร่างกายของเรา สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นและแตกต่างจากแต่ละคนที่เรียนร่วมกัน ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใครในแต่ละคำตอบ

นอกจากนั้น ทำให้เรารู้ว่า ในการฝึกโยคะนั้น เป็นศาสตร์ การฝึกที่ไม่ตายตัว เพราะครูดลได้ให้ข้อสังเกตุ ไว้ว่า เคยบ้างไหม ที่เราฝึกอาสนะไปถึงจุด ๆ
หนึ่ง แล้วเรารู้สึกสงบจนอยากนั่งสมาธิ โดยไม่ต้องฝึกปราณยมะ นั้นแหละคือคำตอบให้กับตัวเราเป็นอย่างมาก เพราะเราเองก็เคยสังเกตุตัวเองว่า พอฝึกอาสนะไปถึงจุดหนึ่ง เราเกิดความสงบจนอยากนั่งสมาธิ แต่ด้วยความที่เราไม่เข้าใจในคำตอบจากการสังเกตุตัวเอง ทำให้คิดว่า เราจะต้องทำให้หมดครบถ้วนกระบวนความ ทั้งที่ในการฝึกโยคะ นั้น ถือเป็น ปัจเจกบุคคล ที่จะต้องเฝ้าสังเกตตัวเองอย่างรอบคอบ นั้นคือเหตุผลว่าทำไม โยคะ ถึงมีความแตกต่างในระหว่างการฝึกของแต่ละคน

ที่เราคิดต่าง รู้สึกต่าง จึงไม่ใช้เรื่องแปลก เพราะเรามีชีวิต มีจิตใจ มีประสพการณ์ ที่แตกต่าง จึงทำให้เราแต่ละคนเข้าใจและมีมิติในการคิดที่ไม่เหมือนกัน แต่ความแปลกในที่นี้ คือ ความต้องการที่จะสงบ และสามารถนั่งในท่าปทุมอาสนะได้อย่างสบาย

เมื่อมาถึงจุดนี้แล้ว ครูดล ก็หักมุมเข้าสู้เรื่องของเป้าหมายชีวิตได้อย่างน่าสนใจ โดยตั้งคำถามให้คิดว่า เราปักธงของชีวิตไว้ที่ไหน ซึ่งมีคำตอบเดียว และเพื่อน ๆ ทุกคนในคอร์สครูก็ตอบได้ตรงกันหมด คือ ความตาย มันช่างเหมือนโยคะ เสียนี้กระไร เพราะ การดำเนินชีวิตของเราย่อมแตกต่าง แต่ผลสุดท้าย เราทุกคน ก็ตายเหมือนกัน ไม่มีจุดจบของใครที่จะต่างไปจากนี้ได้

แล้วครูดลก็ถามต่อไปว่า “เราคิดว่าเราเหลือวันในการดำเนินชีวิตในโลกนี้อีกกี่วัน” และอีกหนึ่งคำถามเตือนสติคือ “แล้วเราคิดว่า พรุ่งนี้กับชาติหน้า อะไรมาถึงก่อนกัน” นั้นน่ะสิ เราเคยคิดบ้างไม่ว่าจริงแล้ว เราไม่ได้นับเวลาก้าวไปข้างหน้าให้กับชีวิต แต่เรานับเวลาถอยหลังอยู่ทุกวัน อีกทั้งเราคิดว่า เราจะมีวันพรุ่งนี้ จริงหรือ ถ้าเราตายเราก็ไปชาติหน้า ตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ แต่ถ้าเราไม่ตายเราก็ยังคงมีวันพรุ่งนี้ แล้วเราคิดว่า เราเตรียมความพร้อมให้กับชีวิตก่อนตาย และ หลังตายของเราอย่างไรบ้าง

โยคะ ทำให้เรามีสติ สติที่จะรู้ว่า เรายังคงอยู่ แต่ เราก็พร้อมที่จะตาย ในหลักศาสนาพุทธ เขาเรียกว่า การเจริญมรณะสติ (ถ้าไม่ถูกแก้ไขให้ด้วย เพราะเราเป็นคาทอลิก) นั้นคือการพิจารณากายและใจอยู่ตลอดเวลา อยู่อย่างมีสติ เพื่อพร้อมที่จะทำทุกอย่าง ให้เหมาะสมกับเวลา สถานที่ โอกาส และ บุคคล เพื่อให้เกิดความพร้อมที่เราจะอยู่หรือตายได้ทุกเมื่อ

แล้วครูดลก็ให้ทุกคนเขียน เกี่ยวกับ ถ้าเราอายุ 41 ปีเราจะทำอะไร จนถึง เราเหลือเวลาในชีวิต 1 ชั่วโมงเราจะทำอะไร สิ่งที่น่าสนใจอยู่ตรงนี้ มีหลากหลายคำตอบ ตั้งแต่ ทำโน้นนี้นั้น จนมาถึงหนึ่งคำตอบจากเพื่อนคนหนึ่งในชั้น ว่า เขาจะมีสติอยู่กับตัวเอง โดยเฉพาะหนึ่งชั่วโมงสุดท้าย เขาจะไม่ทำอะไรแล้ว เพราะเขาจะต้องมาก่อนหน้านี้ให้หมด เพื่อให้อยู่อย่างสงบและตายอย่างสงบ เพื่อให้การจากไปของเขาสงบทั้งกายและจิต ซึ่งถ้าเขาจากไปอย่างสงบคนรอบข้างก็จะยังคงอยู่ได้อย่างสงบ ไม่เสียใจฟูมฟาย เพราะนั้นคือ การจากไปอย่างมีสติ

สิ่งที่น่าคิดคือ คนส่วนใหญ่กลัวที่จะพูดเรื่องความตาย เพราะส่วนใหญ่แล้วไม่มีใครรู้ว่าตายแล้วไปไหน ไปสบาย หรือ ไปทุกข์ เพราะคนส่วนใหญ่มักจะกลัวในสิ่งที่ไม่เกิดขึ้น จนลืมนึกถึงปัจจุบัน ปัจจุบันที่เป็นอยู่ เพราะถ้าวันนี้ เวลานี้ทำปัจจุบันให้เหมาะสมกับสภาวะที่เป็นอยู่ สิ่งที่ทำในขณะนี้ ก็จะส่งผลต่อไปในข้างหน้าเอง แต่คนเรามักจะปล่อยให้สติก้าวล่วงหน้า หรือ ก้าวถอยหลังมากเกินไปจนไม่อยู่กับตัวเอง ดังนั้นแล้วการเรียนรู้ การมีชีวิตและความตายไปพร้อมกันนั้น จะช่วยให้เรารับรู้ความเป็นไปทุกอย่างได้อย่างมีสติ พร้อมกับทุกสถานการณ์ในชีวิต

ความน่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ เมื่อเราเริ่มเขียน เกี่ยวกับระยะเวลาในชีวิตที่เราเหลืออยู่นั้น เราก็เริ่มร้องไห้ เราร้องไห้ทำไม เป็นเรื่องที่น่าคิด แล้วคนในห้องก็เริ่มมีการร้องไห้มากขึ้น เพราะเราไม่เคยคิดกันไงว่าเราอยู่ไปเพื่ออะไร แล้วในความเป็นจริงสิ่งที่เราทำอยู่เราอยากทำกันจริงหรือเปล่า เพราะเมื่อเวลาที่เหลือ น้อย ลง น้อย ลง ก็จะทำให้เรากรองสิ่งที่เราต้องการทำได้อย่างละเอียดมากขึ้น เหมือนกับการฝึกโยคะ ที่ลมหายใจเราจะละเอียดละไม จนสัมผัสได้ถึง ความเป็นไปภายในร่างกายของเรา การร้องไห้ที่เกิดขึ้น ก็เหมือนการกรองใจให้เรารับรู้ว่า จริงแล้วเราควรจะทำอะไร หรือ แบ่งปันเวลาให้เพื่อใคร

ไม่มีใครปฎิเสธได้ว่า เราจะเลิกทำงานแล้วไปมีความสุขอย่างเดียวเลยหรือ ไม่เป็นไปไม่ได้ แต่เราก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ที่จะกรองใจของตนเองให้มากขึ้นให้รู้ถึงความต้องการจริงของชีวิต เพื่อที่อย่างน้อย เราจะได้เตรียมความพร้อมทำในสิ่งที่อยากทำ เพื่อให้ชีวิตมีความสุข และ เสถียร ไปพร้อม ๆ กัน ดีกว่าถ้าเราตายไปแล้วยังไม่ได้ทำ เมื่อนั้นจิตเราก็จะไม่เป็นสุข เกิดกังวล และไม่สงบเมื่อจากร่างเราไป

หลังจากนั้น ครูดลก็ให้เขียน จดหมายถึง พ่อแม่ จะกล่าวขอโทษ หรือ กล่าวรัก หรือ กล่าวให้อภัยพ่อแม่ก็ได้ เท่านั้นแหละ ร้องไห้กันทั้งห้อง ร้องกันมากมาย ยิ่งครูอ๊อดขอให้บางคนช่วยอ่านจดหมาย ยิ่งร้องกันเยอะขึ้น นั้นเพราะอะไร เพราะเราทุกคนมีความในใจ ในบางคำพูด ที่มันตรงกับใจเรา มันก็จะทำให้เราร้องไห้ เพราะมันทำให้เรานึกถึงตัวเรา ถึงความรู้สึกของเรา เราจึงระบายความรู้สึกนั้นออกมาด้วยการร้องไห้

ซึ่งเพื่อนร่วมชั้น ก็ตั้งคำถามว่า แล้วเราจะหยุด หรือ สะกดการร้องไห้ได้อย่างไร เพราะในบางครั้ง บางสถานะการณ์ เราก็ไม่ควรที่จะร้องไห้ เช่นการไปเยี่ยมผู้ป่วย หรือการไปให้กำลังใจคนเจ็บ หรือ คนที่มีทุกข์ร้อน แล้วเราไปเกิดอารมณ์สงสาร จนทำให้ร้องให้กันไปกับเขาด้วย แทนที่จะดูเหมือนไปให้กำลังใจ ยิ่งไปทำให้เศร้ากันไปใหญ่

ซึ่งจุดนี้ ครูเล้งตอบได้น่าคิด คือ ทำแรก ๆ ในกิจกรรม ละลายพฤติกรรมแบบนี้ คนนำกิจกรรมก็จะร้องไห้ มากมาย แต่พอทำไปสักระยะ ครูก็บอกว่าอาการร้องไห้ ก็จะเริ่มน้อยลงเพราะเราเริ่มกำหนดจิตเราได้ ว่าเราจะไม่ร้องไห้ ซึ่งอาจจะเกิดจากความชินที่ได้รับฟัง

ซึ่งมาถึงจุดนี้ครูดลได้ให้แนวคิดว่า การร้องไห้ไม่ใช่สิ่งผิด แต่การร้องไห้ จะเป็นการดูจิตเราได้อย่างหนึ่ง เพราะการร้องไห้นั้น เป็นการร้องทั้งปิติ เสียใจ เศร้าใจ สงสาร ดีใจ ตกใจ การร้องไห้ และ อื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ใช่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่ให้เราดูจิตให้ละเอียดขึ้นว่าเราร้องไห้ทำไม เพื่ออะไร แล้ว การที่เราร้องไห้น้อยลง เวลาที่เราเกิดอารมณ์เศร้า นั้น เพราะจิตของเรากรองความรู้สึกบางลงหรือไหม เราไม่ติดกับความรู้สึกต่าง ๆ มากมายที่อยู่ใจ เราเริ่มร้องไห้อย่างมีสติ มากขึ้น แต่อย่าหยุดร้องไห้ เพราะการร้องไห้ เป็นการกรองให้จิต รู้ว่าทำไม เราถึงร้องไห้

โดยส่วนตัวแล้ว เราคิดว่า คำว่า ปล่อยวาง คือคำที่เหมาะสมที่สุด สำหรับเหตุผลว่า ทำไมเราจะไม่ร้องไห้ เพราะเมื่อเราไม่หันมีสติที่จะปล่อยวาง เราจะทำให้อารมณ์เราเตลิดไปกับเรื่องนั้น เรื่องนี้ จนทำให้จิตเราไม่สุข เมื่อไม่สุข เราก็ทุกข์ เศร้าจนต้องปล่อยความกดดันทางอารมณ์ด้วยการร้องไห้
อีกทั้งในแต่ละสถานการณ์เราต้องรู้จักตัวเราเองว่า เราเหมาะสมที่จะเข้า ณ จุดนั้นหรือไม่ ยกตัวอย่างจากตัวเราเอง ว่า เราไมชอบเด็กเป็นพื้นฐาน จำได้ว่าตอนเรียนมหาวิทยาลัย แล้วทำงานคณะ จะต้องพาน้องใหม่ไปเยี่ยมบ้านเด็กพิการซ้ำซ้อน ก็อย่าที่บอก เราไม่พร้อม เพราะเราไม่ชอบเด็ก แต่เราปฏิเสธไม่ได้ จากการไปครั้งนั้นเราบอกตัวเองเลยว่า เราจะไม่ไปอีก เพราะพอเราไปแล้ว จิตใจเราหดหู่ ไม่สุข แล้วก็เศร้า ว่าชิวตคนเรานั้นเอากันตรง ๆ ทำไม มันบัดซบได้ขนาดนี้ นับแต่นั้นเราก็ได้เรียนรู้จิตของเราเองว่า เราไปไม่ได้ แต่เราช่วยได้ นี้คือการเรียนรู้จิต แบบไม่รู้ที่มาที่ไป เราอาจจะต้องรู้ว่าเราพร้อมไหมที่จะในจุด ๆ นั้น ถ้าเราไม่พร้อมเราก็ไม่ควรจะไป ไปเพื่ออะไร เพราะไม่ได้ทำให้สุขทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าเราพร้อม พร้อมที่จะสร้างสุขใน จุด ๆ นั้น เราถึงจะสามารถไปได้ ไปเพื่อให้เกิดพลังบวก มากกว่า พลังลบ

อาจจะมีคนบอกว่าในบางครั้งชีวิตก็ต้องเห็นความต่างบ้าง แต่โดยส่วนตัวถ้า เราเห็นความต่างแล้วทุกข์ เราก็ไม่อยากเห็น แต่รับรู้ได้ และช่วยเหลือได้ในทางอื่น ๆ เพราะการที่เราไม่มีความสุขที่เราจะทำ แล้วฝืนทำ มันจะทำให้ยิ่งดูตอแหลอย่างมากมาย (ขอโทษที่ตรง) ตัวอย่างง่าย พี่ปุ๋ย รักเด็ก จนถึงวันนี้ เธอก็ทำกิจกรรมเพื่อเด็ก แล้วเราก็รู้สึกว่าเธอทำด้วยใจ ไม่เสแสร้ง แต่ถ้าไปเห็นดาราบ้างคนที่เคยเป็นเจ้าหญิงของวงการ แล้วจะรู้ว่ามันไม่จริง และไม่มีวันจริง (อุ๋ย เผลอเม้าท์)

สุดท้าย ชีวิต ความตาย และ การร้องไห้ มันหนีกันไม่พ้น แต่เราจะอยู่กับสามสิ่งนี้ให้มีสติได้อย่างไร เป็นเรื่องน่าคิด น่าค้นหา ของแต่ละคน


ข้อเขียนนี้ ผู้เขียน ๆ ขึ้นเพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ในวิถีโยคะแบบดั่งเดิม หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์กรุณาช่วยกันแบ่งปันต่อไปทาง ออนไลน์ แต่กรุณาอย่าดัดแปลง หรือ กรุณาอย่านำไปลงในสื่ออื่น ๆ แต่อย่างใด  ขอบคุณครับ




 

Create Date : 07 พฤศจิกายน 2553   
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2553 23:10:44 น.   
Counter : 768 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  

Beautybig
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สวัสดีครับ ไม่ค่อยได้เข้ามาใน Blog เท่าไหร่ แต่สามารถติดตามกันได้ที่

http://www.krityoga.com

หรือ https://www.facebook.com/ThaiYogaInstituteAlumni/
โยคะสารัตถะ เล่มเดือนมีนาคม มารู้จักโยคะจากผู้เรียนที่ สวนโมก สวนรถไฟ กรุงเทพกัน
New Comments
[Add Beautybig's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com