เติ้งเสี่ยวผิง เคยกล่าวไว้ว่า “แมวนั้นไม่สำคัญว่าสีขาวหรือสีดำ ขอให้จับหนูได้ ก็ต้องถือว่าเป็นแมวดี” งานแต่งบ้านก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะใช้วิธีใดแล้วแต่งบ้านให้ได้ ถูกใจเจ้าของบ้าน ก็ถือว่าถูกต้องซะทุกวิธี ละครับ

Group Blog
 
All Blogs
 
DIY #38 : ระบบน้ำประปาสำหรับ บ้านตึกแถว ใจกลางเมืองกรุง

บ้านตึกแถวกลางเมืองของแม่ ต้องสร้างใหม่ ก็เลยเข้าไปช่วยออกแบบระบบน้ำในบ้านซะหน่อย สร้างใหม่ทั้งที จะได้แก้ปัญหาการใช้น้ำประปา ที่ไม่ชอบหลายๆ จุดซะเลย



บ้านชานเมืองที่อยู่ปัจจุบัน ระบบน้ำที่ติดมากับบ้าน จะฝังอยู่ใต้ดินในท่อซะเกือบหมด จะเป็นลักษณะ จะใช้น้ำปั้มเลี้ยงระบบทั้งหมด ก็เลยทำให้ปั้มทำงานซะแทบทุกจังหวะ จะล้างถ้วยสักใบ ปั้มก็เดิน จะรดน้ำต้นไม้สักหน่อย ปั้มก็ทำงาน

แต่ก็มี By pass น้ำประปาตรง แต่ก็ต้องมาปรับด้วยมือ แถมที่ปรับยังอยู่นอกบ้านซะด้วย เลยลำบากนิด



พอบ้านแม่ขึ้นตึกใหม่ ก็เลยเข้าไปออกแบบระบบน้ำซะ จะได้ใช้น้ำใช้ไฟ ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นกว่าเดิม

เริ่มจาก ESPISODE I ระบบน้ำประปาเข้าบ้าน
น้ำประปาจากมิเตอร์หน้าบ้าน ขนาด 4 หุน ก็ขยายออกเป็นท่อ PB ขนาด 1 นิ้วฝังพื้นเข้ามาในบ้าน ที่ใช้ท่ออ่อนเหมือนท่อประปาก็เพราะ มีความยืดหยุ่นได้ดีกว่าท่อแข็ง PVC และไม่เกะกะพื้นในบ้าน



ระบบน้ำจะตรงเข้าไปที่ครัว เพื่อให้พื้นที่ชั้นล่างทั้งหมด ใช้น้ำประปาโดยตรง และจะมีท่อต่อขึ้นไปชั้นลอย ลงแทงค์แสตนเลสขนาด 500 ลิตร สำหรับเตรียมส่งขึ้นแทงค์ที่ดาดฟ้า เน้นทรงผอมสูง เพื่อลดพื้นที่ติดตั้ง



น้ำที่บ้านขนาดขึ้นมาที่ชั้นลอยแล้ว ยังแรงมาก คงเพราะประโยชน์จากการขยายท่อน้ำหลังมิเตอร์ น้ำที่เข้ามาจึงหมดปัญหาจากความสูญเสียภายในท่อ แทงค์น้ำชั้นลอย จะคุมด้วยลูกลอยทองเหลืองขนาด 1 นิ้ว



เนื่องจากเราวางแทงค์อยู่บนชั้นลอย มีของที่เก็บอยู่ที่ชั้นลอยและชั้นล่างจำนวนมาก ถ้าลูกลอยไม่ตัดน้ำ คงมีล้นออกมานอกถังเป็นแน่ ถ้าของเปียกน้ำขึ้นมาล่ะ มีเฮแน่
เลยต้องป้องกันความผิดพลาดจากการทำงานของลูกลอย ซะหน่อย
โดยการออกแบบระบบน้ำล้น ร่วมกับชุดล้างท่อของตัวแทงค์ ต่อเข้าท่อระบายน้ำโดยตรง
จะกำหนดจุด Safety level จะเป็นท่อ By pass ที่ต่อเชื่อมกับจุดน้ำออกด้านล่างถัง โดยจะมีกำหนดตำแหน่งให้ ท่อต่อสูงกว่าระดับลูกลอยประมาณ 10 ซม ถ้าลูกลอยไม่ยอมตัดน้ำเมื่อไหร่ น้ำที่ล้นก็จะถูกระบายลงท่อน้ำทันที



หัวใจของระบบส่งน้ำ เราก็ใช้ มิซู 255 watt ตัวนึง 4 พันกว่าบาท
การทำงานของปั้มน้ำจะถูกควบคุมด้วย สองเงื่อนไข เงื่อนไขแรก แทงค์ที่ดาดฟ้าไม่มีน้ำ และ เงื่อนไขที่สอง แทงค์น้ำที่ชั้นลอยมีน้ำเพียงพอ
ถ้าเงื่อนไขไม่ตรง ปั้มน้ำก็จะถูกตัดไฟ ไม่ทำงาน เป็นการป้องกันมอเตอร์ไหม้



แทงค์น้ำอีกตัวบนดาดฟ้า จะมีขนาดใหญ่กว่า เป็น แทงค์แสตนเลสขนาด 1250 ลิตร เลือกทรงอ้วนเตี้ย เพื่อลดแรงต้านจากลมฝน
แล้วให้ทางบริษัท ทำท่อน้ำออกขนาด 2 นิ้วเพิ่มอีกหนึ่งจุด จ่ายเพิ่มอีก 200 บาท เพื่อการส่งน้ำลงที่มีแรงอัดมากขึ้น



สวิทต์ลูกลอยภายในแทงค์ พร้อมตุ้มถ่วงน้ำหนัก เราเลือกใช้แบบซิลทั้งตัวไม่มีรอยต่อ ภายในจะมีลูกเหล็กกลิ้งไปมา เพื่อปิดเปิดไฟให้ระบบ



การส่งสัญญาณเรียกน้ำจากแทงค์ดาดฟ้า เมื่อไม่มีน้ำสวิทต์ลูกลอยชั้นบนจะตก สวิทต์ลูกลอยของแทงค์น้ำตัวล่างก็จะเช็คว่า ในแทงค์มีน้ำอยู่รึเปล่า ถ้ามีน้ำอยู่ ระบบก็จะจ่ายไฟให้ปั้มน้ำ ทำการปั้มน้ำขึ้นดาดฟ้า ซึ่งระบบก็จะเป็นการป้องกันปั้มน้ำไหม้



ESPISODE II ภาคการจ่ายน้ำ

เมื่อเราทำการติดตั้ง เราก็ยกแทงค์สูงขึ้นจากพื้นดาดฟ้า อีก 1 เมตร เพื่อเพิ่มพื้นที่สร้างแรงดันน้ำ โดยการสร้างโครงเหล็กฉากชุบสีกันสนิมสองชั้น รองด้วยยางแข็ง
น้ำจะถูกปล่อยเข้าสู่ระบบ ผ่านทางท่อน้ำออกขนาด 2 นิ้ว ลงไปจ่ายน้ำให้ห้องน้ำ ชั้น 2 ชั้น 3 และชั้น 4 และตรงไปยังจุดเชื่อมระบบของชั้นหนึ่งที่ห้องครัว
และมีท่อ 1/2 นิ้ว อีกชุด แยกลงไปจ่ายน้ำให้ที่ระเบียงหน้าบ้าน ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้น 4 ท่อชุดนี้ำจัดให้เพราะแม่ขอมาว่า อยากปลูกต้นไม้ที่หน้าระเบียงซะ จะได้ไม่ต้องเดินไปหิ้วน้ำมารดต้นไม้



ด้วยเหตุที่เราเพิ่มขนาดท่อน้ำออกจากปกติ 1" เป็น 2" ทำให้แรงอัดของน้ำที่ชั้น 4 ซึ่งปกติจะเป็นจุดบอดของระบบน้ำแทงค์ดาดฟ้า ถูกลดลงไป น้ำที่ห้องน้ำชั้น 4 อยู่ในระดับบแรงใช้ได้ ส่วนชั้น 3 และชั้นต่ำลงมา ปกติก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องความแรงของน้ำอยู่แล้ว จึงลดขนาดท่อให้เหลือ 1" ปกติได้เลย



น้ำที่จ่ายจากดาดฟ้า จะลงมาทางท่อช๊าฟ และตรงมาถึงชั้นล่างในครัว ซึ่งในครัวจะมีจุดเชื่อมต่อกับระบบน้ำประปาตรง ให้เลือกการใช้น้ำได้ว่าจะใช้น้ำประปา หรือ น้ำจากแทงค์ดาดฟ้า
ปกติ ก็จะเปิดให้ใช้น้ำประปา เพื่อลดภาระน้ำในแทงค์ และการทำงานของปั้มน้ำ



เรียบร้อยแล้ว ระบบน้ำลดโลกร้อนสำหรับห้องแถว ระบบน้ำตอนนี้ก็เปิดใช้งานจริงแล้ว ก็สมบูรณ์แบบตามที่วางแผนไว้ ละครับ





Create Date : 01 กันยายน 2552
Last Update : 1 ตุลาคม 2552 1:23:59 น. 4 comments
Counter : 17260 Pageviews.

 
แหล่มเลย จะได้เอาแนวไว้ใช้แต่งบ้านใหม่ น้ำจะได้ไหลลงอ่างอาบน้ำแรงๆๆ
ฮี่ๆ


โดย: taew IP: 192.168.1.64, 119.42.98.87 วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:16:45:27 น.  

 
ภาพชัดเจนครับ


โดย: SriSurat วันที่: 21 สิงหาคม 2553 เวลา:9:09:53 น.  

 
ขอบคุณที่แวะมาชมละครับ

แต่ตอนทำเสร็จใช้งานจริงสักพัก ระบบก็เปลี่ยนไปนิดหน่อย จุดวางแทงค์น้ำตัวดาดฟ้าละครับ

เพราะน้ำที่ลงมาชั้น 4 ห้องผม ก็ไหลดี อาบน้ำสระผมได้ แต่ค่อนข้างจะเบาไปนิด ก็เลยตัดสินใจยกขึ้นไปบนหลังคาดาดฟ้า ก็จะสูงขึ้นไปอีก 2 เมตร น้ำที่ลงมาแรงกว่าเดิมเยอะเลยละครับ

ความเห็นส่วนตัว ผมว่าที่ใช้ท่อน้ำออก 2 นิ้วมีส่วนช่วยได้มาก


โดย: น้องปลาดาว วันที่: 21 สิงหาคม 2553 เวลา:9:38:55 น.  

 
ปัญหาคือเครื่องทำน้ำอุ่น ที่ติดตั้งที่ชั้น 4 จะมีแรงดันไม่ค่อยจะพอ ผมเคยแก้ปัญหาโดยการติดตั้งปั้มเพื่อปั้มน้ำลงมาที่ชั้น 4 มาแล้ว


โดย: สมบัต IP: 171.4.13.26 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:22:44:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้องปลาดาว
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 76 คน [?]




อย่าลืมตามไปเจอกันใน Web Pladaodesign.com

สินค้า ของสะสม แมคโดนัลด์ McDonald คลิ๊กเลยจร้า

mcdonald

กระดาษ แน๊พกิ้นสำหรับงานเดคูพาจ Decoupage

แน๊พกิ้น

ชิ้นงานดิบ ไม้-วัสดุสาน สำหรับงานเดคูพาจ Decoupage

แน๊พกิ้น



สำหรับ Fan FB อย่าลืมแอดเป็นเพื่อนกัน จะได้ไม่พลาดข่าวสารกันละค่ะ

Follow pladaodesign on Twitter

Friends' blogs
[Add น้องปลาดาว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.