Petroleum Fiscal Regime: ระบบการคลังปิโตรเลียม โดย junior roustabout
เเวลาที่มีข่าวว่าน้ำมันขึ้นราคาทีไร จะมีคนรอบตัวผมมาบ่นว่า บริษัทน้ำมันว่าเอากำไรเกินควร ทั้งที่ทรัพยากรนั้นเป็นของประเทศ แล้วเค้าจะมาลงกับ ปตท.สผ. และ Chevron (โทษฐานที่คนรู้จักกันเยอะ โดนไปซะ) แต่มีบริษัทน้ำมันประมาณ 20 บริษัทที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ผมคิดว่าสาเหตุที่พวกเค้าบ่น เพราะยังไม่เข้าใจหลักการ การแบ่งผลประโยชน์ ระหว่างรัฐบาลและบริษัทน้ำมัน
ดังนั้น ผมอยากจะขออธิบายเกี่ยวกับระบบการคลังปิโตรเลียม แบบคร่าวๆ นะครับ
ระบบการคลังปิโตรเลียม (Petroleum Fiscal Regime) ในโลกนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ระบบสัมปทาน (Concessionary System), ระบบแบ่งบันผลผลิต (Production Sharing Contracts: PSC) และระบบรับจ้างบริหาร (Service Contracts)
ในประเทศไทยนั้นใช้ระบบสัมปทาน (Concessionary System) ตอนนี้เรียกว่า Thailand Petroleum Fiscal Regime III เริ่มใช้เมื่อปี 1989
สรุปใจความหลักๆ ของ Thailand Petroleum Fiscal Regime III
1. เก็บค่าภาคหลวง หักจากรายได้ เป็นอัตราขั้นบันได 5-15% ขึ้นอยู่กับ Production rate (ผลิตได้เยอะ ก็โดนค่าภาคหลวงเยอะ) 2. เก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม อัตรา 50% ของกำไรสุทธิ (ได้กำไรเท่าไหร่ โดนหาร 2) 3. มีผลประโยชน์พิเศษ ที่บริษัทน้ำมันเสนอให้แก่รัฐบาล เช่น ให้ทุนการศึกษา, ให้เงินพัฒนาชุมชน เมื่อบริษัทนำน้ำมันดิบ (Crude Oil) มาขาย สมมติขายได้ 100 บาท หลักๆ จะโดนหักค่าภาคหลวง, ค่าภาษี, และค่าผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ จะเหลือเข้าบริษัทน้ำมันประมาณ 40 บาท ที่เหลือจะเข้ารัฐบาล 60 บาท และค่าภาคหลวงที่รัฐเก็บมาได้ จะแบ่ง 60% เอาไปให้หน่วยงาน อบต. และ อบจ. ในพื้นที่สัมปทานนั้นๆ ลองเข้าไปดูที่ //dmf.go.th/index.php?act=petroleum&sec=revenue ก็ได้ครับ เวลานำน้ำมันดิบ ที่ได้มาขาย น้ำมันดิบของแต่ละแหล่งจะราคาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมัน เช่น น้ำมันดิบที่มีค่า API สูงจะขายได้ในราคาสูง จริงๆ แล้ว คนไทยควรจะจนดีใจน้ำตาไหล ถ้ามีการนำน้ำมันขึ้นมาขายได้มาก เพราะว่าจากบทวิจัย [1] บอกไว้ว่า รัฐบาลได้ส่วนแบ่ง (Government take) 62.2% และ บริษัทน้ำมันได้ส่วนแบ่ง (Company take) 37.8% ที่มา: [1] ระบบการคลังปิโตรเลียม: ประสิทธิภาพและความเป็นธรรม
ขอนอกเรื่องนะครับ
1. เคยเห็น Comment มาถามพี่นกเรื่อง จะเพิ่ม Production rate ได้อย่างไร
ผมขอตอบแบบตามทฤษฎีที่เรียนมานะครับ: ใช้วิธี Nodal Analysis โดยจะมีกราฟ Pressure (y-axis) vs. Production rate (x-axis) และในกราฟจะมีเส้น Inflow Performance Relation (IPR) และ Tubing Performance Relation (TPR) เราจะสามารถความคุม Production rate ได้โดยควบคุม Pressure ที่ Node ต่างๆ เช่น Wellhead, Bottom hole, Choke ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นหน้าที่ของ Production Engineer หรือ Reservoir Engineer ที่คอยทำหน้าที่นี้ครับ
2. เห็นมีถามเกี่ยวกับตำแหน่ง Reservoir Engineer และถูพื้น
คนที่ทำตำแหน่ง Reservoir Engineer ที่ผมรู้จัก ส่วนใหญ่ จะจบวิศวกรรมปิโตรเลียม จากจุฬา (ป.ตรี) หรือจบจากต่างประเทศ เพราะเค้ามีพื้นฐานแน่น เรียนวิชา Reservoir Engineering และ Production Engineering (Advance) ส่วนคนที่จบวิศวกรรมสาขาอื่นแล้วผันตัวเองมาเป็น Reservoir Engineer อาจจะมีบ้างนะครับ ส่วนตัวผมคิดว่า คนที่ไม่ได้เรียนวิศวกรรมปิโตรเลียมมาโดยตรง ควรจะเอาดีทางสายหน้างาน (Drilling, Completion, Well test, Workover, Maintenance)
และคำว่า ถูพื้น ที่บอกไว้ คือ คนที่ทำงานกับ Drilling Contractor (Seadrill, Transocean) ตำแหน่งแรกจะเป็นกรรมกร (Rigger/Seaman/Painter) คนทำความสะอาด เช็ดๆ ถูๆ เครื่องมือ ช่วยจัดเตรียมอุปกรณ์ ตากแดด ตากลม ทนๆ กันไป ทนทำไป 4-5 เดือน แล้วค่อย break เป็น Junior Roustabout
3. คนที่เรียนวิศวกรรมปิโตรเลียม ป.ตรี จุฬา มีแต่คนเก่งเกิ๊น มีรุ่นละ 15 คน* คัดเลือกโดยใช้ GPAX สูงสุด 15 คนแรก ของนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ปี 1, ตอนปี 2548 คนที่ได้คะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยสูงสุดของประเทศก็เลือกเรียนวิศวกรรมปิโตรเลียม จุฬา
*ถ้าข้อมูลผิด รบกวนแก้ให้ด้วยครับ (ไม่ทราบครับว่าถูกหรือผิด ไม่แก้ล่ะกัน อิอิ .... พี่นก)
4. ถ้าอยากรู้ว่าเค้าเก่ง/ไม่เก่ง ถามพี่นกก็ได้ครับ (โต๊ะทำงานพี่นกติดกับโต๊ะทำงานคนที่จบ PE@Chula 2 คน ^_^) ... (อ้าว โบ้ยมาเฉยเลย ไหงงั้นล่ะ ... ก็ระดับเทพทั้งนั้นแหละ มีผมนี่แหละแกะดำ ไม่เป็นโล้เป็นพายอยู่คนเดียว อิอิ)
โดย junior roustabout
==================================
เขียนได้เข้าใจง่ายมากค่ะ..
ขออนุญาตเพิ่มเติมนะคะ... สำหรับ ผลประโยชน์ตอบแทพิเศษ Social Remuneration Benefit หรือ SRB ใช้ในกรณีบริษัทน้ำมันพบแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ หรือ ในขณะนั้นราคาน้ำมันดิบของตลาดโลกมีแนวโน้มสูงมาก ซึ่งทำให้บริษัทมีกำไรส่วนเกินมาก จึงมี SRB ขึ้นเพื่อให้ประเทศได้รับส่วนแบ่งผลกำไรจากส่วนนี้เพิ่มขึ้นด้วยค่ะ แต่หากปีใดไม่มีกำไรเกิดขึ้นก็ไม่ต้องเสียค่ะ ^^
โดย : patty วันที่: 8 มกราคม 2556 เวลา: 21:08:31 น.
Create Date : 02 พฤศจิกายน 2555 |
Last Update : 8 มกราคม 2556 21:26:54 น. |
|
28 comments
|
Counter : 5476 Pageviews. |
 |
|
|
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับผม