Group Blog
 
All Blogs
 
เนื้องอกสมอง: การวินิจฉัย


  1. อาการของเนื้องอกสมอง
    เนื่องจากเนื้องอกสมองเกิดในกะโหลกซึ่งเป็นที่จำกัด ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของสารในพื้นที่จำกัดจึงทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะสูงซึ่งก่อให้เกิดอาการตามมา นอกจากนั้น อาการของเนื้องอกสมองยังขึ้นอยู่กับตำแหน่งในสมองที่เนื้องอกเกิดขึ้นด้วย เนื่องจากสมองแต่ละตำแหน่งทำหน้าที่ต่างกัน อาการที่พบบ่อยได้แก่

    • ปวดศีรษะ: อาการปวดศีรษะที่ต้องคิดถึงเนื้องอกสมองได้แก่ ปวดศีรษะมาก มักจะเป็นตอนกลางคืน หรือตอนเช้า ปวดศีรษะร่วมกับอาเจียนพุ่ง หรือปวดศีรษะร่วมกับมีความผิดปกติอื่นๆ ทางระบบประสาท เช่น อ่อนแรง ชัก ตามัว หรือ ซึมลง

    • ชัก โดยเฉพาะเมื่อการชักครั้งแรกเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่

    • อ่อนแรงครึ่งซีก

    • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

    • สับสน พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง

    • ตามัว

    เนื่องจากอาการแต่ละอย่างอาจเกิดจากโรคอื่นๆ ได้ ดังนั้นการวินิจฉัยจึงต้องอาศัยการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดจากแพทย์ระบบประสาท นอกจากนั้นในรายที่สงสัย อาจต้องยืนยันการวินิจฉัยโดยการส่งตรวจภาพรังสี

  2. การตรวจทางรังสี
    การส่งตรวจภาพรังสีเป็นการยืนยันการวินิจฉัยโดยการถ่ายภาพเนื้อเยื่อและกะโหลกโดยใช้เทคนิคพิเศษต่างๆ และเครื่องบันทึกภาพชนิดพิเศษ การตรวจบางอย่างต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าไปยังหลอดเลือดเพื่อให้เห็นภาพที่สามารถแยกเนื้องอกออกจากเนื้อเยื่อสมองปกติได้ชัดเจนขึ้น การตรวจทางรังสีที่ทำบ่อยได้แก่

    • เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography – CT scan)



    • เป็นการตรวจทางรังสีที่มักทำเป็นอันดับแรกๆ ในการวินิจฉัยเนื้องอกสมอง เนื่องจากทำได้ไม่ยาก ใช้เวลาน้อย เครื่องมือหาได้ทั่วไปในโรงพยาบาลใหญ่ๆ เห็นภาพได้ชัดเจนพอสมควรทั้งเนื่องอกและเนื้อเยื่อข้างเคียง รวมถึงกะโหลกศีรษะ ราคาไม่แพงมากจนเกินไป เทคนิคใหม่ๆ ยังสามารถนำภาพมาจัดเรียงใหม่ให้เป็นภาพ 3 มิติ (CT 3D) เพื่อเห็นภาพชัดเจนขึ้นได้อีกด้วย

    • การตรวจคลื่นแม่เหล็ก (Magnetic resonance imaging – MRI)



    • เป็นการตรวจที่เห็นภาพเนื้อสมองได้ชัดเจนกว่า CT จะวินิจฉัยเนื้องอกในบางตำแหน่งที่ CT เห็นไม่ชัดได้ดีกว่า เช่นบริเวณก้านสมองหรือบริเวณสมองน้อย แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจชนิดนี้มีแต่เฉพาะที่โรงพยาบาลศูนย์บางแห่งเท่านั้น การตรวจใช้เวลานาน ราคาแพง จึงพิจารณาตรวจในบางรายที่จำเป็นเท่านั้น

      นอกจากนั้นยังมีการตรวจพิเศษอีกหลายอย่าง ซึ่งอาจพิจารณาส่งตรวจในรายที่จำเป็นบางราย เช่น cerebral angiography หรือการตรวจหลอดเลือดเลี้ยงสมองทางรังสี, PET scan (Positron emission tomography)


      Create Date : 12 กรกฎาคม 2550
      Last Update : 13 กรกฎาคม 2550 2:34:55 น. 0 comments
      Counter : 1351 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เหวเห้ว
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มีความสุขทุกท่านครับ


Friends' blogs
[Add เหวเห้ว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.