Nepenthes-trong ข้อมูลหม้อข้าวหม้อแกงลิงแปล จากหนังสือและเวบไซท์ภาษาต่างประเทศ

Nepenthes aristolochioides

Nepenthes aristolochioides Jebb & Cheek

 


(ภาษาละติน Aristolichia = พืชในวงศ์ไม้เลื้อยขนาดเล็ก, oides = เหมือนกับ)

 



 


                                                                                                                                                                รูปที่ 50-52

 



 


ลำต้น: เถาเลื้อยทรงกระบอก ยาวไม่เกิน 5 ม. เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 0.4 ซม. ระยะระหว่างข้อยาวไม่เกิน 15 ซม. ใบ: หนาเหมือนหนัง ไม่มีก้านใบ เนื้อใบรูปช้อนกมรูปปลายหอก ยาวไม่เกิน 15 ซม. กว้างไม่เกิน 3 ซม. ปลายใบแหลม เนื้อใบลู่ลงใกล้โคนใบ ซึ่งบางครั้งโอบลำต้นหรือ (น้อยครั้ง) มีครีบ เส้นใบแนวยาว ฝั่งละไม่เกิน 2-3 เส้น เส้นใบฝอยไม่ชัดเจน สายยาวไม่เกิน 15 ซม. หม้อล่าง: ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ก้นหม้อทรงกรวย 2/3 ส่วน ส่วนบนป่อง สูงไม่เกิน 7 ซม. กว้างไม่เกิน 3 ซม. ปากหม้อกลม อยู่ทางด้านหน้าและค่อนข้างต่ำกว่าโดมโค้งด้านบน มีครีบ 1 คู่ (กว้างไม่เกิน 4 มม.) ยาวตั้งแต่ปากหม้อจรดก้นหม้อ หรือบางครั้ง จากปากหม้อถึงกึ่งกลางหม้อ ขอบปากหม้อหนา บานออก และโค้งเป็นลอน กว้างไม่เกิน 5 มม. ฟันโค้งที่ปลายขอบ บริเวณย่อยอาหารหกคลุมผนังด้านในหม้อเกือบทั้งหมด ยกเว้นส่วนโดมโค้ง ฝาหม้อรูปรีแกมรูปหัวใจ ไม่มีสันใต้ฝาหม้อ จุกเดี่ยวยาวไม่เกิน 4 มม. หม้อบน: ก้นหม้อทรงกรวยครึ่งหนึ่งของความสูง ส่วนบนเป็นกระเปาะ สูงไม่เกิน 15 ซม. กว้างไม่เกิน 8 ซม. ครีบลดขนาดลงเป็นเพียงแนวเส้น ปากหม้อส่วนใหญ่ตั้งฉากกับพื้น อยู่ทางด้านหน้าของหม้อ ขอบปากหม้อบานออกและโค้งเป็นลอน หนาไม่เกิน 10 มม. ฟันไม่ชัดเจน ฝาหม้อรูปกลม มักอยู่แนวขนานกับพื้น ชี้ออกด้านนอกเหนือปากหม้อ ส่วนย่อยอาหารปกคลุม ผนังด้านใน 2/3 ส่วนจากก้นหม้อ ลักษณะส่วนใหญ่คล้ายหม้อล่าง ช่อดอก: ช่อกระจะ ก้านช่อเดี่ยวยาวไม่เกิน 15 ซม. ช่อดอกยาวไม่เกิน 15 ซม. ก้านดอกยาวไม่เกิน 10 มม. มีกลีบเลี้ยงปกติ กลีบดอกรูปรี ยาวไม่เกิน 4 มม. ดอกเพศเมียกับดอกเพศผู้มีโครงสร้างคล้ายกัน แต่มีช่อดอกสั้นกว่า ขน: มีขนสีขาวปกคลุมบาง ๆ ที่มุมระหว่างใบกับลำต้น และหม้อ เส้นกลางใบ และส่วนต่าง ของหม้อ บริเวณอื่นไม่มีขน

 



 


ถิ่นกำเนิด : สุมาตรา-จัมบิที่เดียว

 


นิเวศวิทยา: อิงอาศัย หรืองอกจากพื้นดินในป่าที่ปกคลุมด้วยมอส บนสันเขา; 2,000-2,500 ม.

 


ลูกผสมตามธรรมชาติ: x N. singalata

 



Photobucket

 


รูปที่ 50 หม้อบนซึ่งยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ของชนิด N. aristolochioides จากเขาตูจู ในจามบิ

 



 


ข้อสังเกต หม้ออันน่าอัศจรรย์ของชนิดพันธุ์ N. aristolochioides ได้ท้าทายคำอธิบายที่ว่า “หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่แปลกที่สุดในหมู่หม้อข้าวหม้อแกงลิง มักเป็นชนิดที่หายากที่สุดด้วยเช่นกัน” ชนิดนี้มีลักษณะเหมือนพืชจากต่างดาว ทำให้เราแทบจะลืมไปว่ามันคือ หม้อข้าวหม้อแกงลิง หม้อบนมักมีก้นหม้อทรงกรวย ส่วนบนเป็นกระเปาะ มีปากหม้ออยู่ทางด้านหน้า ปรับให้ตั้งฉากกับพื้นดิน ชนิดนี้หม้อมีสีเขียวแกมขาว พร้อมทั้งมีแต้มสีแดงปกคลุมผนังด้านนอกเกือบทั้งหมด (รูปที่ 50 และ 51) ฝาหม้อมีสีแดงเข้มทั้งฝา และมักทำมุมสะท้อนแสง 90 องศา กับปากหม้อ หม้อล่างจะเกิดขณะที่กอยังเล็กเท่านั้น และชนิดนี้จะเข้าสู่ระยะเถาเลื้อยอย่างรวดเร็ว ในทางตรงกันข้ามกับหม้อบน ปากของหม้อล่างมักจะตั้งฉากกับพื้นดิน (รูปที่ 52) Nerz (1998) บันทึกไว้ว่าหม้อล่างมักจะมีมอสปกคลุมหนาแน่น บางครั้งเห็นเพียงฝาหม้อและปากหม้อเท่านั้น เขายังแนะนำอีกว่า มันเหมือนกับดักสัตว์ และปากหม้อซึ่งตั้งฉากก็จำเป็นสำหรับการนี้ หม้อบนมีการทำงานที่ต่างกัน เมื่อมองจากด้านหน้า ฝาหม้อขอบปากและผนังด้านหน้าของหม้อจะมีสีมืด ขณะที่ผนังด้านในจะสว่างกว่า เพราะแสงที่ส่องลงมาจากกระเปาะรูปโดมด้านบน นี่อาจดึงดูดแมลงบินคล้ายกับที่ ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงของอเมริกาเหนือ ซึ่งก็คือ Darlingtonia californica และ Sarracenia minor หาอาหาร ซึ่งมักสร้างหม้อที่มีโดม เมื่อแมลงที่เป็นเหยื่อเข้าไปในหม้อ พวกมันจะถูกดึงดูดด้วยหลังคารูปโดมที่มีสีสว่างสดใสและทำให้มันไม่สามารถหาทางออกได้ ในบางกรณี แมลงจะปีนป่ายไปรอบ ๆ โดม จนกระทั่งพวกมันตกลงไปที่ก้นหม้อและจมลงในของเหลว เหยื่อส่วนใหญ่ที่หม้อบนของ N. aristolochioides ดักจับได้คือ แมลงวันขนาดเล็ก ซึ่งมักบินหาแสงไฟ

 



Photobucket

 


รูปที่ 51 (ซ้าย) หม้อบนของชนิด N. aristolochioides ท่ามกลางแสงแดดจ้า แสดงให้เห็นถึงปริมาณของเหลวภายในหม้อ รูปที่ 52 (ขวา) หม้อล่างของชนิด N. aristolochioides

 



 


     ไม่เคยมีการสังเกตพบอาณาจักรสัตว์ผู้อาศัยภายในหม้อของชนิด N. aristolochioides จนถึงปัจจุบันนี้ แม้ว่าจะพบได้มากในหม้อของชนิด N. singalana ในบริเวณเดียวกัน โครงสร้างของหม้อคงไม่เหมาะกับสิ่งมีชีวิตตัวเต็มวัยที่จะเข้าไปสร้างอาณาจักรภายในหม้อซึ่งส่วนใหญ่จะตกเป็นเหยื่อ ดังนั้นสัตว์ผู้อาศัยจึงเลี่ยงที่จะสร้างอาณาจักรภายในหม้อของพวกมัน

 



 


     หม้อข้าวหม้อแกงลิง aristolichioides ค้นพบครั้งแรกโดย W. Meijer ในปี 1956 บนเขาตูจู ในจามบิ ภูเขาไฟซึ่งมอดดับแล้วแห่งนี้ถือเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดบนเกาะสุมาตรา เขาเครินซี และ ตัวอย่างที่เก็บมาโดย Robinson และ Kloss มีป้ายเขียนไว้ว่าเก็บมาจาก “เขาเครินซี” แสดงว่ามันไม่ได้จำกัดอยู่แค่เขาตูจู แต่ปัจจุบันนี้เป็นสถานที่แห่งเดียวที่พบชนิดนี้ แม้ว่าจะมีการเก็บตัวอย่างมากว่า 40 ปีแล้ว หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ก็ไม่ได้รับคำบรรยายจนกระทั่งปัจจุบัน (Jebb & Cheek 1997) ปัจจุบันสถานที่พบก็มีอาณาเขตกว้างขึ้น N. aristolochioides มักถูกลักลอบเก็บขาย แม้ว่าชนิดนี้จะอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เครินซี-เซบลาต (ดูบทที่ 5) การจะดูหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ในธรรมชาติโดยไม่ไม่สนใจแหล่งที่มาของพฤกษศาสตร์และความพยายามทุกครั้งควรทำให้มั่นใจว่าประชากรตามธรรมชาติของชนิดพันธุ์นี้ยังคงมีผู้พบเห็นและอนุรักษ์ไว้

 



 


     หม้อข้าวหม้อแกงลิง aristolochioides เป็นชนิดที่ค่อนข้างดูแลยาก มักเจริญเติบโตเฉพาะยอดไม้หรือต่ำกว่า ในป่าทึบที่ปกคลุมมีมอสอุดมสมบูรณ์ ชนิดนี้ส่วนใหญ่เจริญเติบโตบนพื้นดิน แต่ก็มีบางต้นที่อิงอาศัย รากจะชอนไชในมอสที่เกาะอยู่ตามลำต้นทั้งต้น หม้อข้าวหม้อแกงลิง aristolochioies และ N. gymnamphora พบได้ในบริเวณเดียวกันและยังพบลูกผสมตามธรรมชาติของ N. aristolochioides และ N. singalana (ดู บทที่ 4) ตั้งแต่ตัวอย่างของ Robinson และ Kloss ถูกพบครั้งแรก ชนิด N. aristolochioides ก็ไม่มีการพบอีกเลยบนเขาเครินซี แต่มีภูเขาอีมากมายที่อยู่ห่างไกลและมีการสำรวจเพียงน้อยนิด ดังนั้นหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พบประชากรของชนิดนี้เป็นจำนวนมากอยู่

 






Free TextEditor




 

Create Date : 28 มิถุนายน 2552    
Last Update : 28 มิถุนายน 2552 23:27:00 น.
Counter : 754 Pageviews.  

Nepenthes angasanensis

Nepenthes angasanensis Maulder, D. Schub., B. Salmon & B. Quinn. (อังกาซาน, อาเจ๊ะห์)

 



 


ลำต้น: เถาเลื้อยยาวไม่เกิน 9 ม. เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 0.4 ซม. ระยะระหว่างข้อยาวไม่เกิน 6 ซม. ทรงกระบอก ใบ: หนาเหมือนหนัง ไม่มีก้านใบ เนื้อใบรูปปลายหอกแกมขอบขนาน ยาวไม่เกิน 20 ซม. กว้างไม่เกิน 2.5 ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบเรียวลง โอบลำต้น 2/3 ส่วนของวงรอบ เส้นใบแนวยาว ฝั่งละ 4 เส้น เส้นใบย่อยไม่ชัดเจน สายยาวไม่เกิน 15 ซม. หม้อล่าง: ก้นหม้อรูปรี 1/4-1/3 ส่วน ส่วนบนทรงกระบอก มักจะกว้างออกเล็กน้อยบริเวณใต้ขอบปากหม้อ หม้อสูงไม่เกิน 10 ซม. กว้างไม่เกิน 2 ซม. มีครีบ 1 คู่ (กว้างไม่เกิน 1.5 มม.) ยาวจากส่วนบนถึงก้นหม้อ ต่อมผลิตน้ำย่อยปกคลุมบริเวณก้นหม้อ 1/4 -1/3 ของผนังด้านใน ปากหม้อเฉียง กลม ยกสูงทางด้านหลัง ไม่มีคอ ขอบปากหม้อแคบและเป็นทรงกระบอก กว้างไม่เกิน 0.4 ซม.  ฟันสั้นมาก (ยาวไม่ถึง 2 มม.) แต่ไม่เด่นชัด ฝาหม้อรูปกลมที่โคนฝาลึกเข้าไปเป็นรูปหัวใจ ไม่มีสันใต้ฝา จุกยาวไม่เกิน 4 มม. รูปแบบธรรมดา จุกเดี่ยวหรือมีกิ่งก้าน หม้อบน: ก้นหม้อป่อง 1/3 จากก้นหม้อ ส่วนบนทรงกระบอก หม้อสูงไม่เกิน 15 ซม. กว้างไม่เกิน 4 ซม. ครีบลดขนาดลงเหลืองเพียงแนวเส้น ฟันของขอบปากยาวกว่าหม้อล่างเล็กน้อย (ยาวไม่เกิน 2 มม.) จุกแบบธรรมดา รูปทรงของหม้อส่วนใหญ่เหมือนหม้อล่าง ช่อดอก: ช่อกระจะ ก้านช่อดอกยาวไม่เกิน 10 ซม. ช่อดอกยาวไม่เกิน 6 ซม. ก้านดอกยาวไม่เกิน 2 ซม. บางครั้งมีกลีบดอกสั้น ๆ ใกล้โคนช่อดอกล่างสุด กลีบเลี้ยงรูปช้อน ยาวไม่เกิน 5 มม. ดอกตัวผู้ไม่เคยมีการบรรยายไว้ ขน: มีขนบางปกคลุมเกือบทั้งต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่ ยกเว้นช่อดอกเพศเมีย ซึ่งจะปกคลุมด้วยขนสั้นแนบติด ลำต้นและใบ (รวมถึงมุมระหว่างใบกับกิ่ง) ไม่มีขน ทั้งยังมีขนสั้นบนสายหม้อและตัวหม้อ

 



 


ถิ่นกำเนิด: สุมาตรา-นิเวศวิทยามักเป็นปานดิบเขาทางตะวันตกของเขาแอลาส และ โกห์ เลมบูห์ มาสซิพ ใน อาเจ๊ะห์

 


นิเวศวิทยา: งอกบนดินหรืออิงอาศัยในป่าที่ปกคลุมด้วยมอส; ระดับความสูง 2,200-2,800 ม.

 


ลูกผสมตามธรรมชาติ: x N. densiflra

 



 


ข้อสังเกต สถานะของชนิดนี้มีความขัดแย้งกันมาก Danser (1940) นำตัวอย่างซึ่งปัจจุบันพิจาณาแล้วว่าเป็นชนิด N. angasanensis แต่บรรยายว่าเป็น N. tobaica ขณะที่ Jebb & Cheek (1997) พิจารณาว่ามันเป็นชนิด N. mikei และให้ทางเลือกในบทความเกี่ยวกับชนิดพันธุ์บนพื้นฐานของลักษณะเฉพาะของชนิดพันธุ์นี้ Salmon & Maulder (1999) ไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายนั้น และกลับยกคำบรรยายดั้งเดิมของ N. mikei เพื่อรวมความแตกต่างที่มีระหว่างชนิดพันธุ์ดังกล่าวกับชนิด N. angasanensis อย่างไรก็ดี ในคำบรรยายถึงชนิด N. angasanensis  Salmon & Maulder (1999) ไม่ได้เปรียบเทียบตัวอย่างที่เก็บได้กับตัวอย่างของ van Steenis จาก โกห์ เล็มบูห์ (เช่น van Steenis 8976, 9170;BO) เขตคาปปิ (เช่น van Steenis 9933; BO) และเขาเลียเซอร์ (เช่น van Steenis 8488, 8848a; BO) ตัวอย่างดังกล่าวแสดงถึงข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับความหลากหลายของชนิดพันธุ์นี้  และทิ้งความสับสนเกี่ยวกับความชัดเจนและความสำคัญกับความแตกต่างระหว่างชนิด N. mikei และ N. angasanensis ซึ่งบันทึกไว้โดย Salmon & Maulder (1999) นอกจากนี้ ยังลงความเห็นว่าการศึกษาถึงประชากรจาก เขาคาปปิและโกเล็มบูห์ ยังจำเป็นต้องถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาที่ยังมีอยู่ และ N. angasanensis ยังคงอยู่ในระหว่างการวิจัย

 



 


Photobucket

รูปที่ 48 กอของ N. angasanensis ที่ปูคุก อังกาซาน, อาเจ๊ะห์

 



 


     Salmon & Maulder (1999) แบ่ง N. angasanensis ออกจาก N. mikei โดยใช้ลักษณะทางพฤกษศาสตร์หลายประการชนิดแรกมีลักษณะที่สร้างหน่อจากเหง้าใต้ดินขณะที่ N. mikei ไม่มี อย่างไรก็ตาม บนเขาบันดาฮารา N. mikei มักสร้างกอบนเหง้าสั้น ๆ หม้อล่างของ หม้อข้าวหม้อแกงลิง mikei มีจุกเป็นช่อ ขณะที่ N. angasanensis เป็นจุกเดี่ยว ขณะที่หม้อล่างจากเขา เคมิรี, โกห์ เล็มบูห์ และ เขาเลียเซอร์ มักมีจุกเป็นช่อ ขณะที่หม้อบนมีจุกแบบธรรมดา มี 2 เส้นหรือ 3 เส้น อาจจำเป็นต้องใช้วิธีสังเกตรายละเอียดทางกายภาพขนาดเล็กของทั้งสองชนิดเพื่อแยกแยะมันออกจากกัน หม้อข้าวหม้อแกงลิง angasanensis มีฟันยาวกว่าที่ขอบด้านในขอบปากหม้อ แต่ทั้งคู่มีฟันที่ค่อนข้างเล็ก ซึ่งจำเป็นต้องผ่าชำแหละหม้อเพื่อสังเกต ช่อดอกของ N. mikei มีกลีบเลี้ยงแบบปกติ ซึ่งไม่พบใน N. angasanensis ขณะที่ความถี่ของต่อมในบริเวณย่อยอาหารจะมีมากกว่า

 



 


Photobucket

รูปที่ 49 N. angasanensis เถาเลื้อยและหม้อบน เขาเคมิรี, อาเจ๊ะห์

 



 


     ความแตกต่างทางนิเวศวิทยาระหว่าง N. angasanensis และ N. mikei มีผลโดยตรงในการจำแนกระหว่างทั้งคู่ หม้อข้าวหม้อแกงลิง mikei ดูเหมือนจะจำกัดอยู่บริเวณที่โล่งเพื่อรับแสงอาทิตย์โดยตรง ในทางตรงกันข้าม N. angasanensis เจริญเติบโตบนพื้นในป่าดิบเขาซึ่งมีต้นไม้หนาแน่น ไม่ค่อยได้รับแสงอาทิตย์โดยตรงมากนัก (รูปที่ 48) ลำต้นของ N. angasanensis จะมีความยาวกว่าลำต้นของ N. mikei มาก และมักแตกหน่อเป็นปกติ

 



 


     ต้นของ N. angasanensis จากเขาเคมิรี (รูปที่ 49) มีลักษณะแตกต่างจากต้นที่อยู่ที่อื่น (รูปที่ 48) รวมไปถึงอีก 2 ชนิดซึ่งอยู่บนเขาแห่งนี้เช่นเดียวกัน: N. densiflora และ N. spectabilis ส่วนน่าสนใจที่สุดในการบ่งชี้ชนิดของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่อยู่บนเขาเคมิรี พวกมันมีความหลากหลายมาก อย่างไรก็ตามการเปรียบเทียบพืชในป่าด้วยคำอธิบายชนิดพันธุ์ซึ่งเก็บข้อมูลจากการปลูกเลี้ยงแสดงให้เห็นว่าพวกมันมีข้อจำกัดในความหลากหลายที่พวกมันแสดงออก

 



 


     ชนิดอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับ N. angasanensis คือ N. tobaica หม้อของทั้งสองชนิดอาจมีความแตกต่างอย่างมากจนสามารถแยกแยะได้ แต่ดอกกลับมีลักษณะเหมือนกัน (ดูหน้า 203) R. Maulder (pers. comm.) บันทึกไว้ว่าหม้อของชนิด N. angasanensis บางครั้งมี “ตาคู่หนึ่ง” ซึ่งใสที่ผนังด้านหลังหม้อเหมือนกับที่ N. reinwardtiana และ N. tobaica มี แต่ไม่เคยมีการสังเกตพบใน N. mikei ซึ่งแสดงให้เห็นใน N. angasanensis ซึ่งอาจเป็นลักษณะเฉพาะที่ใช้ในการจำแนกระหว่างทั้งสองชนิดนี้

 






Free TextEditor




 

Create Date : 24 มิถุนายน 2552    
Last Update : 24 มิถุนายน 2552 22:56:20 น.
Counter : 353 Pageviews.  

Nepenthes adnata

N. adnata Tamin & M. Hotta ex Schlauer

 


(แอด-นา-ตา)

 



 


ที่มาของชื่อ: ใบแนบชิดกัน (broadly attached) หมายถึง ลักษณะของโคนใบที่แนบชิดติดกันซ้อนขึ้นเป็นชั้น

 



 


ลำต้น: เถาเลื้อยทรงกระบอก ยาวไม่เกิน 2 ม. กว้างไม่เกิน 3 มิลลิเมตร ระยะระหว่างข้อยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร ใบ: หนา เหนียวแนบชิดติดลำต้น รูปปลายหอก-รูปกลม ยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร กว้างไม่เกิน 2 เซนติเมตร โคนใบโอบรอบลำต้น ปลายใบมีทั้งแหลมและกลมมน มีเส้นใบ 2-3 เส้น ช่วงกลางใบ เส้นใบย่อยไม่เด่นชัด สายหม้อยาวไม่เกิน 5 เซนติเมตร หน่อและหม้อล่าง: ก้นหม้อ 1 ใน 3 ส่วนเป็นรูปไข่ อีก 2 ใน 3 ส่วนบนทรงกระบอกเรียวลงกว่าก้นเล็กน้อย สูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร กว้างไม่เกิน 2.5 เซนติเมตร มีครีบ 1 คู่ กว้างไม่เกิน 3 มิลลิเมตร ยาวตามความยาวหม้อ บริเวณที่มีต่อมน้ำย่อย มีพื้นที่ 1 ใน 3 ของหม้อ บริเวณผนังด้านใน ปากหม้อกลม เฉียงขึ้นเล็กน้อย ขอบปากทรงกระบอกแคบ กว้างไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ไม่มีฟัน ฝาหม้อทรงกลม เป็นรูปหัวใจตรงโคนฝา บางครั้งพบว่ามีเส้นขนบนผิวฝา แต่ไม่เคยพบขนใต้ฝา จุกหม้อเดี่ยวยาวไม่เกิน 2 มิลลิเมตร หม้อบน: ก้นหม้อ 1 ใน 4 ส่วนเป็นรูปไข่ ส่วนบนทรงกระบอก และค่อยบานออกเป็นรูปแตร ครีบลดขนาดลงเหลือเพียงแนวเส้น แต่บางครั้งก็ยังเป็นครีบอยู่ ส่วนอื่นทั้งหมดคล้ายกับหม้อล่าง ดอก: ช่อดอกเดี่ยว ก้านช่อดอกยาวไม่เกิน 8 เซนติเมตร ช่อดอกยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร ก้านดอกยาวไม่เกิน 10 มิลลิเมตร ไม่แตกกิ่งก้าน กลีบดอก รูปปลายหอก-รูปไข่ ยาวไม่เกิน 4 มิลลิเมตร ดอกตัวเมียมีโครงสร้างที่คล้ายกัน แต่ช่อดอกยาวไม่เกิน 7 เซนติเมตร ฝัก ยาวไม่เกิน 4 เซนติเมตร ขน: บริเวณขอบใบ มีขนสั้นสีน้ำตาลปกคลุม ใบและลำต้นมีขนสีขาว ยาวไม่เกิน 2 มิลลิเมตรปกคุลมบาง ๆ ดอกขนสั้นสีน้ำตาลแดงปกคลุมบาง ๆ

 



 


ถิ่นกำเนิด: เกาะสุมาตรา-เท่าที่ทราบพบเฉพาะสุมาตราตะวันตกเท่านั้น

 


นิเวศวิทยา: หน้าผาหินทราย ที่เปียกชื้น มีร่มเงา และมีมอสปกคุลม; 600-1,100 ม.

 


การผสมข้ามสกุลตามธรรมชาติ: ไม่เคยพบมาก่อน

 



 


Photobucket

รูปที่ 41 กอที่ยังไม่โตเต็มที่ของ N. adnata แสดงถึงนิเวศวิทยาที่มันอาศัยที่ เคลอก เซมบิลาน, สุมาตราตะวันตก ดอกไม้สีชมพูทางด้านซ้ายของกอ เป็นดอกของ  Ultrivularia striatula

 



 


ข้อสังเกต: หม้อชนิดพันธุ์จิ๋วนี้ ค้นพบครั้งแรกโดย Tamin & Hotta (ในปี 1986) ใกล้กับฮาราอู แถบสุมาตราตะวันตก อย่างไรก็ดี คำบรรยายที่พวกเขาเขียนก็ไม่ได้มีหลักฐานว่าได้ตั้งชื่อเป็นภาษาลาติน (ชื่อตั้งโดย Jebb & Cheek ในปี 1997) มีหลักฐานคำบรรยายภายหลัง โดย J.Schlauer(Schlauer & Nerz, ในปี 1994) ในปี 1986 Tamin & Hotta พิจารณาว่า N. adnata เป็นญาติสนิทกับ N. tentaculata, N.gracillima และ N. gracilis เพราะมีขนาดเล็กเท่านั้น แต่จากการพิจารณาลักษณะอื่น ๆ ใกล้เคียงกับ N. gracillima ซึ่งไม่มีใครเคยทราบว่าข้อแตกต่างระหว่างภาพวาดของ N. adnata และ N. ramispina การจำแนกนี้พิจารณาจากข้อสรุปในช่วงที่ Tamin & Hotta ดำเนินการ อีกแง่หนึ่ง N. adnata มีลักษณะที่คล้ายกับชนิดนี้ อย่างไรก็ดี ทั้ง Schlauer & Nerz ที่บรรยายในปี 1994 และ Jebb & Cheek ที่บรรยายในปี 1997 เห็นพ้องกับ Tamin & Hotta ที่ว่า N. tentaculata มีส่วนเกี่ยวข้องกับ N. adnata แต่มีจุดแตกต่างที่สังเกตเห็นได้ชัดบ้าง แต่ทั้งสองชนิดก็มีความเกี่ยวเนื่องกัน มากกว่าชนิดที่อยู่ในสุมาตรา เช่น N. gymnamphora, N. longifolia หรือ N. albomaginata ซึ่งความเกี่ยวพันที่น่าสังเกตคือ ขนด้านบนฝาหม้อของ N. adnata (ซึ่งเชื่อมโยงกับ N. tentaculata) เป็นสำคัญแต่ไม่ใช่ลักษณะที่แน่นอน ซึ่งมักจะพบกับหม้อล่างของชนิดอื่น ๆ หลายชนิด (โดยเฉพาะ N. rafflesiana) ขณะที่พวกมันยังเล็กมาก

 



 


Photobucket

รูปที่ 42 หม้อล่างของ N. adnata

 



 


                ในส่วนของรูปร่างที่คล้ายคลึงมีอยู่ด้วยกันหลายส่วน หม้อคล้าย N. tobaica แม้ว่าใบและลำต้นจะต่างกัน ส่วนขนและนิเวศวิทยานั้นมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับ N. albomarginata ต้นอ่อนที่งอกจากเมล็ดก็แยกกันแทบไม่ออกระหว่าง N. adnata และ N. longifolia ซึ่งคล้ายกันทั้งใบและหม้อ อย่างไรก็ดีเมื่อต้นโตเต็มที่ทั้งสองชนิดก็ดูจะไม่คล้ายคลึงกันนัก ส่วนชนิดอื่นที่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกันคือ N. gymnamphora ซึ่ง T. Davis และ Charles Clarke พบที่เขาโซริค เมราปี ทางภาคเหนือของสุมาตรา ซึ่งดูจะคล้ายคลึงกับ N. adnata มากที่สุด

 


               

 


                กอของ N. adnata มักไม่พบว่ามีความกว้างกว่า 15 เซนติเมตร เถาเลื้อยมักยาวไม่เกิน 2 ม. และ ดอกของ N. adnata ดูจะเป็นส่วนด้อยที่สุด แม้ว่าจะมีขนาดเล็ก แต่มันก็เป็นชนิดที่น่าสนใจมากชนิดหนึ่ง (ดูรูป 39, 41-42) นิเวศวิทยาคือบริเวณหน้าผาหินทรายที่มีความชื้นสูง มีมอสและมีต้นไม้ปกคลุมค่อนข้างทึบ ไม่ค่อยพบว่าภูมิอากาศและระดับความสูงจะมีผลในการจำกัดบริเวณที่พวกมันอยู่อาศัย ซึ่งไม่พบในนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกันในบริเวณอื่น

 






Free TextEditor




 

Create Date : 23 มิถุนายน 2552    
Last Update : 23 มิถุนายน 2552 14:53:42 น.
Counter : 320 Pageviews.  

คำนำ

cover

preface



คำนำ


หนังสือเล่มก่อนหน้านี้ Nepenthes of Borneo:หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งบอร์เนียว ได้ถูกแต่งและเขียนขึ้นโดยพื้นฐานข้อมูลจากบทความ การสำรวจอย่างกว้างขวางและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก การเขียนหนังสือที่มีเนื้อหาทางนิเวศวิทยาเล่มนั้น มีความตั้งใจเพื่อเติมเต็มงานวิจัยในพืชสกุลนั้น ๆ โดยเฉพาะงานเขียน Skeletal Revision of Nepenthes ของ Matthew Jebb และ Martin Cheek ซึ่งตีพิมพ์ในปีเดียวกันนั่นเอง ดังนั้นผมจึงไม่เขียนเกี่ยวกับรายละเอียดในการปรับปรุงการจำแนกชนิดสำหรับชนิดพันธุ์บอร์เนียว นั่นก็เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางเลือก (ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้) ในการเปรียบเทียบคำอธิบายซึ่งอาจนำไปสู่ความสับสนระหว่างนักวิทยาศาสตร์หรือผู้ที่สนใจ


                หม้อข้าวหม้อแกงลิง ชนิดพันธุ์บอร์เนียวจำนวนมากเป็นที่รู้จัก ทั้งในวงการวิทยาศาสตร์และทางพฤกษศาสตร์ และยังสามารถระบุที่อยู่อย่างชัดเจนในป่า นอกจากนั้นด้วยจำนวนของนักวิทยาศาสตร์ (รวมถึงผมด้วย) ในปัจจุบัน, มีประสบการณ์ในการทำสำรวจอย่างมาก การสำรวจสำหรือหนังสือเล่มนั้นมีกรณีตัวอย่างจากห้องวิจัยจำนวนมาก แต่ไม่ท้าทายเท่าใดนัก งานเขียนในลักษณะที่คล้ายคลึงกันในหนังสือ Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia: หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งสุมาตราและคาบสมุทรมลายู นั้นจำเป็นต้องลงทุนด้วยความใส่ใจอย่างสูง อย่างน้อย จนกว่าความสำคัญของมันจะปรากฏ


                ในทางตรงกันข้ามกับชนิดพันธุ์บอร์เนียว หม้อข้าวหม้อแกงลิง ชนิดพันธุ์ที่มาจากสุมาตราเพิ่งจะเป็นที่รู้จัก ส่วนหนึ่งเกิดจากการเก็บตัวอย่างแต่เดิมและจากคำบรรยาย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษก่อนและโดยนักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญพืชสกุลนี้ในปัจจุบัน มีเพียงไม่กี่คนที่ไปเยือนทั่วทั้งสุมาตรา เพื่อศึกษาหม้อข้าวหม้อแกงลิงเพียงอย่างเดียว จึงไม่น่าแปลกใจกับผลที่ตามมา ข้อมูลที่รวบรวมอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับพืชสกุลนี้จึงหายาก ข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเห็นได้ชัดคือหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดพันธุ์สุมาตราจำนวนมากมีลักษณะคล้ายคลึงกับชนิดพันธุ์จากที่อื่น และพวกมันเองก็มีความหลากหลายทำให้ยากต่อการจำแนกให้จบเป็นชนิดไป ความยากลำบากในการปรับปรุงแนวคิดจากชนิดพันธุ์ไปสู่สกุลแบบซ้ำไปซ้ำมานั่นเองที่เป็นปัญหา


                ผลของความซับซ้อนและองค์ประกอบที่เปลี่ยนแปลงไปมาเหล่านี้ทำให้โครงการนี้ใช้ระยะเวลานาน ซึ่งลากผมให้อยู่กับมันและเกิดความต้องการต่าง ๆ มากมา แต่ไม่ใช่ทุกสิ่งจะสามารถหาได้ สิ่งแรกที่ผมเริ่มเก็บรายละเอียดสำหรับหม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งสุมาตรา คือการมองผ่านสายตาของนักนิเวศวิทยา ผมพยายามโดยใช้เฉพาะความใกล้เคียงที่ผมทราบ โดยเรียนรู้เกี่ยวกับพืชนี้ให้มากที่สุด-ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติของพวกมัน- เท่าที่จะทำได้ การทดลอง 15 ครั้งในธรรมชาติเกิดขึ้นในช่วงเวลา 3 ปี ผมเดินทางไปยังสวนพฤกษศาสตร์สำคัญ ๆ ทั่วโลก ผมขอคำแนะนำและความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ที่หาค่ามิได้


                หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่พบคือ ความสับสนของนักอนุกรมวิธาน ซึ่งเป็นผลมาจากความขาดแคลนตัวอย่างตามสวนพฤกษศาสตร์และการวิจัยในพื้นที่ ทางที่ดีที่สุดในการจัดการกับปัญหานี้คือการปรับปรุงรายละเอียด ซึ่งต้องการความเปลี่ยนแปลงในการเน้นย้ำ ผมมีความเชื่อมั่นว่าผลงานชิ้นนี้จะแสดงให้เห็นถึงกระบวนการในเรื่องนี้ แต่นักอนุกรมวิธานที่มีปัญหาอันยุ่งยากบางคนยังคงไม่ยอมแก้ปัญหา ที่จริง ความสำเร็จของงานนี้ยังคงก้ำกึ่งระหว่าง บทความด้านนิเวศวิทยาและด้านอนุกรมวิธาน ด้วยเหตุนั้นจึงแน่ใจได้ว่า ความสับสนใหม่ ๆ จะเกิดจากบรรณารักษ์ห้องสมุด


                หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดพันธุ์ที่มาจากคาบสมุทรมลายูก็เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับชนิดพันธุ์ที่มาจากสุมาตรา  จากทั้งหมด 34 ชนิดพันธุ์ที่มีภาพประกอบและคำบรรยาย ด้วยความพยายามในการทำวิจัย คำถามมากมายเกิดขึ้นมากกว่าคำตอบที่ได้รับ แม้ว่าในหน้าถัดไปจะเต็มไปด้วยข้อมูลใหม่ ๆ มากมาย ความรู้ของเราเกี่ยวกับ หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดพันธุ์สุมาตรา ยังคงหยาบและไม่เพียงพอ นี่เป็นหลักฐานที่มีหลายขั้นตลอดทั้งเล่ม ข้อบกพร่องซึ่งผมกลัว เพราะฉะนั้นผมขอความอดทนและทำความเข้าใจในส่วนของผู้อ่านและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งที่ยังคงอยู่เพียงเล็กน้อยในบัญชีนี้จะทำให้ท่านผู้อ่านเกิดความพอใจไม่มากก็น้อย


                                                                                                                                                  Charles Clarke


ฮ่องกง


มิถุนายน 2544






Free TextEditor




 

Create Date : 18 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 18 พฤษภาคม 2552 19:14:08 น.
Counter : 587 Pageviews.  


trongtham
Location :
นครสวรรค์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




ผมเป็นเพียงคนหนึ่งที่ปลูกเลี้ยง "หม้อข้าวหม้อแกงลิง" แต่เมื่อปลูกได้สักระยะหนึ่ง ก็พบว่าเราน่าจะรู้และเข้าใจถึงพืชชนิดนี้ให้มากหน่อยนะ นับแต่นั้นก็เริ่มศึกษามากขึ้น(แต่ซื้อมาเลี้ยงน้อยลง) จนวันหนึ่ง หลังจากได้แปลหนังสือ นำไปให้พี่ ๆ ที่เป็นครู จัดนิทรรศการ ทำวิจัย ฯลฯ แล้วได้รู้จัก Bloggang ก็เลยอยากเขียนบทความให้คนอื่น ๆ ได้อ่านกัน สักวันหนึ่งในอนาคตอาจจะพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือสักเล่มก็ได้...หวังว่าวันนั้นคงมาถึงไม่ไกลเกินเอื้อม
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add trongtham's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.