ของเล่นของใช้คนไอที Gadget น่าสนใจ สไตล์ Neko ครับ
 
 

วิธีการลง Mac OS X แบบแผ่น Retail ด้วยวิธี iboot และ DSDT

*** ผมไม่ขอกล่าวถึงวิธี my hackinstaller เพราะจากการใช้งานจริงพบว่าเสถียรภาพของระบบที่ติดตั้งด้วย myhack นั้นเทียบกับวิธี iboot ไม่ได้เลย วิธี iboot นั้นนิ่งกว่าและให้ความรู้สึกราบลื่นในการใช้งานมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ***

ข้อดี
- การเข้าสู่โหมด sleep ไม่ต้องอาศัยไฟล์ SleepEnabler อีกต่อไปทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนไฟล์นี้ทุกๆ ครั้งที่ Mac OS X ออกรุ่น update ใหม่ๆ ที่สำคัญหลับแล้วตื่นทุกครั้ง ไม่มีหลับแล้วหลับเลย
- การ restart/Shutdown ไม่ต้องใช้ไฟล์ EvReboot, OpenHaltRestart อีกต่อไป
- ไม่ต้องติดตั้งไฟล์ NullCPUPowerManagement อีกต่อไป
- ไม่ต้องติดตั้ง IOUSB Rollback เพื่อแก้ปัญหา mouse ไม่ทำงาน อีกต่อไป
- ไม่มีปัญหา update iTunes 10.2.x แล้วโปรแกรมทำระบบ crash อีกต่อไป
*** จะเห็นว่าการสร้างไฟล์ DSDT method นั้นลดการใช้ไฟล์ kext ลงไปหลายไฟล์ ซึ่งการใช้ไฟล์ดังกล่าวที่ทำออกมาให้รองรับ mainboard หลายๆ รุ่นนั้นย่อมมีเสถียรภาพที่ต่ำกว่าระบบที่ใช้ DSDT ของเราเองแน่นอน ***
ข้อเสีย
- ที่เห็นได้ชัดคือความยุ่งยากในการทำไฟล์ DSDT นั่นเอง ซึ่งบางเมนบอร์ดที่มีตัวช่วยก็จะสบายไป สำหรับบอร์ดของผมใช้วิธีสร้าง DSDT ด้วยโปรแกรม DSDT_Auto_Patcher จะได้ไฟล์ DSDT.aml ออกมาให้ใช้เลย

สิ่งที่ต้องมี
1. แผ่น iboot โหลดได้ฟรีจากเว็บนี้
//www.tonymacx86.com/viewforum.php?f=125&sid=fb0b291dac46e9ffc3335d7c40b0b0a8
เมื่อได้แผ่นมาแล้วก็เขียนลงแผ่น cd เก็บไว้เลย ได้ใช้ทุกครั้งที่ลง Mac

2. แผ่น retail DVD รุ่น 10.6 ขี้นไป ( บทความใช้ 10.6.3 )
หามาจาก net แล้วใช้ mac เครื่องอื่นทำการ restore ลงใน thumbdrive 8gb-16gb เอาไว้เป็นแผ่น retail เพราะลงจาก thumbdrive ไวกว่าลงจากแผ่นเยอะมาก

3. Mac OS X 10.6.7 combo update ( ขนาดประมาณ 1.5GB)
โหลดจากเว็บ apple.com เก็บใส่ thumbdrive ในข้อ 2

4. Mac OS X 10.6.8 update ( ขนาดประมาณ 500MB )
โหลดจากเว็บ apple.com เก็บใส่ใน thumbdrive ในข้อ 2

5. โปรแกรม multibeast 3.7.3 โหลดจากเว็บในข้อ 1
เซฟไฟล์เก็บเอาไว้ใน thumbdrive ตามข้อ 2 อีกเช่นกัน

6. ไฟล์ DSDT.aml ของเครื่องของเราเอง ( ห้ามไปเอาของเครื่องอื่นมาใช้เด็ดขาด )
สร้างด้วยโปรแกรม DSDT_Auto_Patcher
//www.insanelymac.com/forum/index.php?showtopic=235523
โปรแกรมนี้วิ่งบน Mac ดังนั้นคุณต้องมี mac บนเครื่องตัวเองก่อน ( โดยแผ่นโมต่างๆ หรือด้วยวิธี myhack หรือ iboot+EasyBeast )


ขั้นตอนการลง Mac OS X 10.6.8
ก่อนจะติดตั้งให้เข้า BIOS แล้วตั้งค่าตามนี้
- HDD เป็นแบบ AHCI ถ้าไม่มีให้เลือกโหมด Enhance
- Sleep เลือกเป็นแบบ S3 only
- Boot priority ตั้งให้เป็นบูต DVD ก่อน HDD

1. เสียบ thumbdrive retail DVD ที่ทำเอาไว้ แล้วบูตเครื่องด้วยแผ่น iboot
2. เมื่อโหลด iboot เสร็จให้เลือกโหลด retail DVD ( thumbdrive )
3. ทำการติดตั้ง Mac OS X ตามปกติ ( ใช้ Disk Utilities แบ่งพาร์ติชั่นเป็นชนิด GUID เท่านั้น )
4. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ระบบจะ reboot อัตโนมัติ
5. ระบบบูตด้วยแผ่น iboot ซ้ำอีกครั้ง ( เนื่องจากการตั้งค่าใน bios ของเรา ) แต่ครั้งนี้ให้เลือกโหลดจาก HDD ที่ติดตั้ง Mac เอาไว้
6. บูตเข้า Mac ได้แล้ว ให้ติดตั้ง Mac OS X 10.6.7 combo update ทันที
7. เสร็จแล้วลากเอาไฟล์ DSDT.aml ไปวางไว้บนหน้าจอ จากนั้นเรียกโปรแกรม Multibeast ขึ้นมาทำงาน ตั้งค่าตามนี้
- User DSDT Install
- System Utilities
- Kext / NVEnable
- OSX86 Software / Kext Utilities
8. เอาแผ่น iboot ออก แล้วสั่ง restart ได้เลย คราวนี้จะบูตด้วย HDD ได้แล้ว
9. บูตเสร็จ ติดตั้ง Kext ( Sound, Lan, ฯลฯ ) ด้วย Kext Utilities
10. ติดตั้ง Mac OS X 10.6.8 update และ System update อื่นๆ ได้ตามปกติ

เรียบร้อยครับ ^_^




 

Create Date : 29 มิถุนายน 2554   
Last Update : 29 มิถุนายน 2554 17:50:53 น.   
Counter : 11632 Pageviews.  


Snow Leopard update 10.6.6

หลังจากตอนที่แล้วได้แนะนำวิธีการติดตั้ง Snow Leopard ด้วยแผ่น Retail 10.6.3 ไปแล้ว แต่เวลานี้ Apple ได้ออก update Combine 10.6.6 ออกมาเรียบร้อยแล้ว เราก็จะมาทำการ update เป็นรุ่นล่าสุดกันนะครับ

วิธีการทำมีสองวิธี
1. โดยการไปโหลดเอา Combo Update 10.6.6 มาเก็บไว้ก่อน โดยจะเป็นไฟล์ชื่อ MacOSXUpdCombo10.6.6.dmg หาเอาจากเว็บ Apple.com นะครับ ลบไฟล์ SleepEnabler.kext ตัวเดิมออก โดยใช้ Finder เข้าไปที่ /System/Library/Extension แล้วทำการลากไปลงถังขยะ ( ต้องป้อนรหัสผ่านของท่านด้วย ) จากนั้นทำการ update ด้วยไฟล์ดังกล่าว ก่อนจะ restart ก็ให้ติดตั้ง SleepEnabler.kext ตัวใหม่สำหรับ 10.6.6 ลงไปด้วย KextHelper ก็เป็นอันเรียบร้อยครับ

2. เป็นวิธีสำหรับคนที่เผลอไป update ผ่าน Software Update ของ Apple.com ซะแล้ว ผมก็คือ มันจะเกิด KernelPanic ทำให้บูตเข้า OSX ของเราไม่ได้ วิธีการแก้ไขก็คือ
- Boot โดยใส่ option ว่า pmVersion=0 แล้วกด Enter มันจะบูตเข้าระบบได้แต่จะอืดหน่อย เสร็จแล้วเข้าไปหาไฟล์ SleepEnabler.kext ที่อาจจะหลงเหลืออยู่ในจุดต่างๆ ทั้ง /System/Library/Extension และ /Extra ลากไปลงถังขยะให้หมดครับ
- ทำการติดตั้ง SleepEnabler.kext ตัวสำหรับ 10.6.6 ด้วย KextHelper
เสร็จแล้วครับ เท่านี้ก็บูตกันได้ตามปกติแล้ว ( เย้ )

เท่านี้เครื่องแมคเทียมของท่านก็จะเป็นรุ่น 10.6.6 รุ่นล่าสุดแล้วล่ะครับ ( วิธีการนี้น่าจะใช้ได้สำหรับ 10.6.x ต่อไปด้วยครับ หัวใจสำคัญก็คือต้องมีไฟล์ SleepEnabler ให้มันตรงรุ่นก็จะใช้งานกันได้ตามปกติครับ )




 

Create Date : 06 มีนาคม 2554   
Last Update : 6 มีนาคม 2554 0:51:36 น.   
Counter : 1119 Pageviews.  


ติดตั้ง Snow Leopard แบบ Retail บนบอร์ด P5KPL-VM

หลังจากที่ปีก่อนนู้นผมเขียนบทความเกี่ยวกับการติดตั้ง OS X Leopard 10.5.x ลงบน PC ไปแล้ว โดยในขณะนั้นการติดตั้งโดยใช้แผ่น modified หรือที่เรียกติดปากกันว่าแผ่นโมนั่นเอง ตระกูลที่ผมใช้ก็คือ iATKOS ซึ่งก็ทำงานได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ติดอยู่ที่ในส่วนของการ sleep ที่ทำเท่าไรก็ไม่ได้เสียที แต่วันนี้ผมหาวิธีแก้ปัญหาได้แล้ว ด้วยวิธีที่ง่ายที่สุดนั่นคือเปลี่ยนการ์ดจอใหม่นั่นเอง ( ฮา )

บทความนี้เขียนเพื่อบอกเล่าถึงวิธีการติดตั้ง OS X รุ่นล่าสุด​( Snow Leopard 10.6.3 ) ลงบน PC บ้านๆ ที่ใช้เมนบอร์ด P5KPL-VM ซึ่งผมไม่พบเลยว่าในโลกนี้จะมีใครที่ใช้บอร์ดนี้แล้วพยายามติดตั้ง Snow Leopard จนสำเร็จ ถ้าจะมีก็คงมีผมคนเดียว หรือไม่คนพวกนั้นก็คงไม่ได้ใช้ internet หรือ google ค้นหาพวกเค้าไม่เจอเอง ( ฮา ) วิธีการนั้นผมลอกแบบมาจากการติดตั้งบน m/b P5Q โดยใช้วิธี myHack Installer ซึ่งส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กัน แต่ก็มีบางจุดที่แตกต่าง ส่วนที่เหลือเกี่ยวกับพวก kext ของการ์ดเสียง การ์ดแลน นั้นผมก็หามาเพิ่มเติมเอาเองจนตอนนี้เรียกได้ว่า Hackintosh ของผมค่อนข้างมีความสมบูรณ์ใกล้เคียงกับ Mac แท้ๆ มากทีเดียว

จุดที่สังเกตได้ว่ามีความสมบูรณ์คือ
- สามารถ Shutdown, Restart, Sleep ได้ ซึ่งใน HCL ( Wiki ) นั้นถือเอาตรงจุดนี้เป็นส่วนสำคัญที่แสดงว่าเครื่องของคุณติดตั้ง OS X ได้เนียนแค่ไหน
- สามารถแสดงผลได้ที่ native resolution และเปลี่ยนความละเอียดได้ถูกต้อง
- อุปกรณ์ต่างๆ ใช้งานได้สมบูรณ์ ทั้งการ์ดเสียงและการ์ดแลน onboard ทำงานได้เป็นปกติ

วิธีการติดตั้งโดยละเอียด
1.ความต้องการ
1. modified bios เนื่องจากผมหา mod bios ของ m/b รุ่นนี้ไม่เจอ เลยไม่ได้ใช้ แต่ก็ไม่เป็นปัญหาใดๆ
2. usb / flash drive ที่โตกว่า 8GB ผมไม่มีก็เลยใช้ usb external drive ขนาด 40GB แทน ซึ่งก็ใช้ได้ดี
3. เครื่อง mac หรือ hackintosh ที่ลงไว้แล้ว ของผมใช้ hackintosh ที่ลง iATKOS v.7 เป็น OS X 10.5.7 อันนี้เอาไว้สำหรับทำให้ ext.HDD ในข้อ 3 กลายเป็นแผ่นติดตั้ง
4. Snow Leopard 10.6.0 แต่ผมใช้ Snow Leopard 10.6.3 เป็นไฟล์ ISO ซึ่งก็ผิดจากที่เค้ากำหนดให้เป็นไฟล์ DMG อีกต่างหาก เลยต้องใช้วิชามารกันเล็กน้อย

2.Flashing BIOS
ผมข้ามวิธีการ flash BIOS ไปเลยเพราะเนื่องจาก m/b ของผมมันไม่มี mod bios

3.Loading BIOS Option
ขั้นตอนเป็นการตั้งค่า BIOS ให้รองรับการติดตั้ง OSX
1. AHCI ? เนื่องจาก m/b ของผมไม่มีโหมด AHCI ก็เลยตั้งค่าในส่วนของ Main/IDE Configuration ให้มีค่าเป็น Enhanced และส่วนของ Enhanced Mode Support On ให้ตั้งค่าเป็น [S-ATA]
2. Suspend Mode ? ที่เมนู Power ตั้งค่า Suspend Mode เป็น [S3 Only]
3. ในเมนู Power ตั้งค่า ACPI 2.0 เป็น [Enable]

4. ทำ ext.HDD เป็นแผ่นติดตั้ง Snow Leopard
เปิดเครื่องแมคแท้ หรือแมคเท่ห์ ( กรณีของผมคือตัวหลัง ) เสียบ ext.HDD ( กรณี OSX มองไม่เห็น ext.HDD ลองเสียบก่อนบูตนะครับ ) เสร็จแล้วเปิดไปที่ Applications/Utilities/Disk Utility ทำการ erase partition ใน ext.HDD ซะก่อน ขั้นตอนตามนี้
- คลิ๊กที่ชื่อ HDD ( ไม่ใช่ชื่อ Partition ) แล้วเลือกไปที่ tab partition ที่ dropdown เลือก 1 Partition ตั้งชื่ออะไรก็ได้ เช่น MAC OS X Install DVD ฯลฯ ให้รู้ว่าเป็นแผ่นติดตั้ง Snow ละกัน
- กำหนด format เป็น Extended ( Journaled )
- คลิ๊กที่ปุ่ม Option เลือก GUID ( GPT ) หรือ MBR ก็ได้ กรณีของผมเลือกตัวหลัง แล้วคลิ๊ํก Apply



ขั้นตอนต่อไปเป็นการ restore ไฟล์ติดตั้งลงไปใน ext.HDD

ตามที่บอกไว้ข้างบนว่าไฟล์ที่กำหนดเอาไว้ในกระทู้ข้างบนนั้นเค้าใช้ไฟล์ DMG กัน แต่ผมดันไป d/l มาเป็นไฟล์ ISO เราจึงต้องมาหาวิธีแปลงให้เป็น DMG ก่อน
- เปิด Terminal ขึ้นมา
- พิมพ์คำสั่งว่า
hdiutil convert xxx.iso -format UDRW -o xxx.dmg
โดยที่ xxx นั้นเป็นพาธและชื่อของอิมเมจของไฟล์ติดตั้ง Snow Leopard ที่คุณมีอยู่

เมื่อได้ไฟล์ dmg แล้วก็ทำขั้นตอนดังนี้
- ข้างในโปรแกรม Disk Utility คลิ๊กที่ ext.HDD แล้วเลือกแท็บ Restore
เปิดหน้าต่าง Finder หาไฟล์ติดตั้งนามสกุล dmg แล้วลากมาใส่ในช่อง Source
ส่วนช่อง Destination ก็ลากเอา drive ext.HDD มาจาก Finder เช่นกัน



- คลิ๊กที่ปุ่ม Restore
เท่านี้ ext.HDD ของคุณก็จะกลายเป็นแผ่นติดตั้ง Snow Leopard ครับ

ขั้นตอนสำคัญ...มาก
ส่วนสำคัญที่จะทำให้ ext.HDD และ/หรือ PC ของคุณสามารถบูตด้วย Retail DVD ได้นั้นก็อยู่ที่ขั้นตอนนี้เอง

ทำการดาวน์โหลด MyHackInstaller จากในลิงค์นี้
หรือค้นหาเอาจาก google โดยเอาตัวที่ใหม่ที่สุดเท่าที่หาได้นะครับ โดยสำหรับรุ่น 1.1 นั้นรองรับถึง OS X 10.6.3 แล้ว ส่วนตัวที่อยู่ในบทความภาษาอังกฤษนั้นยังใช้รุ่น 1.01 ซึ่งติดตั้งได้กับ OS X 10.6.0 ครับ

ทำการติดตั้ง myhack installer สำคัญ!!! อย่าลืม Change Install Location เด็ดขาด มิฉะนั้นตัว Mac แท้ ( หรือแมคเท่ห์ ) ของคุณจะไม่สามารถบูตได้อีกเลย ให้เลือก Install Location เป็น ext.HDD ที่เราได้ทำการ restore แผ่นติดตั้งเอาไว้แล้วเท่านั้น

คลิ๊กที่ปุ่ม Customize กำหนดค่าตามต้องการ ( มีอธิบายด้านล่าง )



ตามรูปนั้นเป็นการตั้งค่าสำหรับบอร์ด P5Q ของคุณ RoberT_XeS ซึ่งอุปกรณ์ต่อพ่วงนั้นมันไม่เหมือนกันกับบอร์ด P5KPL-VM ดังนั้น ผมจะเลือกเฉพาะ kext ที่ผมต้องการเท่านั้น
ApplePS2Controller.kext are for my PS2 Keyboard and Mouse. kext สองตัวนี้สำหรับคนที่ใช้ mouse และ keyboard PS2 แต่ผมไม่ได้ใช้ครับ ดังนั้นตามรูปด้านบน ผมก็จะไม่เลือก ApplePS2Controller ด้วย

IOATAFamily.kext to make the PATA HDD (IDE) work PATA HDD คือ IDE HDD ถ้าเราไม่ได้ใช้ ก็ไม่ต้องติดตั้งครับ ( ตัว IOATA Family )

EvOreboot.kext is to resolve the restart problem
OpenHaltRestart.kext to resolve the Shutdown and Restart issue
บอร์ด P5KPL-VM ต้องลงสองตัวนี้ครับ ไม่งั้นเวลา restart จะเกิดปัญหาจอดำ โดยมาติดตั้งหลังจากลง OS X เสร็จแล้วด้วย Kext Helper b7

สรุปแล้วก็เลือกแค่
com.apple.Boot.plist
GraphicsEnabler
EvOreboot.kext
NullCPUPowerManagement.kext

พอเสร็จแล้วเค้าให้ดาวน์โหลด RoberT_Xes_Kexts.zip มาใส่ใน ext.HDD / Extra/Extension ด้วย ก็ทำไปครับ

เสร็จแล้วสั่ง reboot ได้เลยครับ

ติดตั้ง Snow Leopard
บูตเครื่องแล้วกด F8 เพื่อเลือก Boot Device ครับ ให้เลือกเป็น ext.HDD จากนั้นจะมีโลโก้ myHack Installer บนหน้าจอ ตรงนี้ตามตัวอย่างเค้าให้ใส่ option -x -v ด้วย ( เข้าใจว่าเผื่อมี error ขึ้นจะได้ดูว่ามันเป็นอะไร ) ของผมไม่ใส่เพราะไม่มีปัญหาครับ
บูตเข้าไปแล้ว ถ้า mouse usb มันไม่ทำงานไม่ต้องตกใจครับ ถอดแล้วเสียบใหม่มันก็ใช้ได้เอง
เปิดโปรแกรม Disk Utility แล้วทำการ erase HDD ที่จะทำการติดตั้ง OS X Snow Leopard เหมือนตอน erase ext.HDD เลยครับ เสร็จแล้วปิด Disk Utility ไป
ทำการติดตั้ง OS X ต่อไป เลือก drive ที่เพิ่ง erase เมื่อกี้นี้ อย่าลืมกด Customize ด้วย เอาติ๊กถูกออกจากตัวเลือก Language Translations และ Printer Drivers ( ตัว driver Printer เดี๋ยวไปหาเอาที่มันตรงรุ่นมาติดตั้งทีหลังก็ได้ ) ทำการติดตั้งไปตามปกติ พอเสร็จแล้วกด restart ( ถ้ามี error message ขึ้นไม่ต้องตกใจ ผ่านไปได้เลย )

ติดตั้ง my Hackinstaller
ขณะบูตอยู่นั้นให้กดปุ่ม F8 เพื่อเลือกบูตจาก ext.HDD แต่พอถึงหน้าจอ myHackInstaller ให้กดปุ่มซ้ายหรือขวาก็ได้ แล้วมันจะมีเมนูให้เราเลือกว่าจะบูตจาก HDD ตัวไหน ก็เลือก HDD ที่เราเพิ่งติดตั้ง Snow Leopard ลงไป พิมพ์ -v แล้วกด Enter ( เผื่อมัน error จะได้รู้ )
บูตเสร็จแล้วติดตั้ง myHack Installer ลงบน HDD ที่เพิ่งลง OSX ไป อย่าลืม Change Install Location นะครับ แล้วกดเลือก Customize ด้วย

หน้าจอ Customize จะเหมือนกับตอนที่เราติดตั้ง myHack บน ext.HDD เลย โดยผมเลือกแค่
com.apple.Boot.plist
GraphicsEnabler
NullCPUPowerManagement.kext

สั่ง Shutdown ครับ ทำการถอด ext.HDD ออกได้เลย เสร็จแล้วลองบูตเครื่องดู คราวนี้มันจะบูตเข้าระบบ Snow Leopard ได้เองแล้ว โดยที่หน้าจอก็จะแสดงโลโก้ของ myInstaller เหมือนกับ ext.HDD เลย

บูตเสร็จแล้วใช้ Kext Helper
ติดตั้ง EvOreboot.kext กับ OpenHaltRestart เพื่อแก้ปัญหา restart แล้วค้างจอดำ
ติดตั้ง >>SleepEnabler.kext สำหรับ 10.6.3<<< เพื่อแก้ปัญหา sleep ไม่ได้
ติดตั้ง AppleAzaliaAudio.kext เพื่อให้ใช้ onboard ALC662 audio Chip ได้
ติดตั้ง AtherosL1Ethernet.kext เพื่อให้ใช้ onboard Gigabit Lan ได้
สำหรับไฟล์ kext ทั้งหมดผมฝากเอาไว้ที่นี่ครับใครสนใจก็มาโหลดไปใช้ได้เลย


สรุปตอนนี้เครื่องผมติดตั้ง OS X 10.6.3 ด้วยแผ่น Retail โดยวิธี myHack ทำงานได้เนียนมากๆ บูตเร็ว shutdown เร็ว (​มากๆ) แสดงผลที่ 1440x900 แบบ native โดยไม่ต้องลง kext เพิ่ม shutdown, restart, sleep, wake ไม่มีปัญหาเลยครับ

spec
M/B : P5KPL-VM
CPU : Intel E2180 ( Dual Core )
RAM : Kingston 2GB x 2 DDR2
VGA : Inno 8400GS
Audio : ALC662 onboard
Lan : Gigabit Lan onboard
Monitor : Samsung LCD 19"
การเชื่อมต่อจอภาพใช้สาย DVI ทั้งสองด้านครับ แสดงผลได้สมบูรณ์ ที่ native resolution




 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2554   
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2554 15:41:00 น.   
Counter : 3705 Pageviews.  


การ์ดจอ ASUS EAH3650 กับ Mac OSX86

มาดูการตั้งค่าการ์ดจอ EAH3650 กัน

ASUS EAH3650

การ์ดจอ ASUS EAH3650 เป็นการ์ดจออีกตัวที่ผมลองนำมาต่อกับ OSX คุณสมบัติคร่าวๆ ก็ประมาณนี้ครับ

- PCI express 2.0 slot
- GPU : ATI3650
- RAM : DDR3- 512MB

ตัวการ์ดเป็นแบบ SILENT คือไม่มีพัดลมระบายอากาศ ติดตั้งซิงค์ขนาดโตมากเท่ากับ PCI 1 ช่อง เท่ากับการใช้การ์ดจอตัวนี้ต้องเสีย PCI ไปถึงสองช่องทีเดียว การระบายความร้อน อาศัยลมวิ่งผ่านทางช่องที่เจาะเอาไว้บริเวณ Heat Sink เนื่องจาก Power Supply มีพัดลมดูดลมร้อนภายในเคสออก แถมมีพัดลมที่ติดตั้งมากับเคสอีกสองตัว ก็เลยไม่ค่อยกังวลเรื่องความร้อนสะสมนัก

Case : ThermalTake HTPC
Power Supply : Enermax 500W ( Full )

วิธีการติดตั้งการ์ดจอกับโอเอส OSX ไม่ค่อยยุ่งยากครับ เริ่มด้วยการใส่การ์ดจอเข้ากับเมนบอร์ดแล้วบูตโอเอสขึ้นมา

ถ้าหากไม่สามารถบูตขึ้นมาได้ตามปกติ ที่หน้าจอ Darwin Bootloader ให้พิมพ์ parameter -x ด้วย จะทำให้บูตเข้าสู่ Safe Mode ได้ แล้วใช้ Finder เปิดเข้าไปที่ HDD ที่ติดตั้ง OSX ( ในกรณีของผมคือ Partition ชื่อ OSX ) จากนั้นเปิดโฟลเดอร์ /System/Library/Extension แล้วลบไฟล์ชื่อ ATIRadeonX2000.kext จากนั้น reboot ก็จะสามารถเข้าสู่หน้าจอโอเอสได้ตามปกติ

จากนั้นติดตั้ง ATI x2000 source version 53410 plus natit for HD3650.pkg ทำการรีบูต 1 ครั้ง

เปิดโปรแกรม OSXTools แล้ว Enable QuartzGL

เรียบร้อยครับ เท่านี้ก็สามารถใช้ QE/CI และ enable QuartzGL ได้ ผลงานแสดงในภาพนี้ครับ


แสดง QE/CI + QGL enable


สามารถเลือกความละเอียดหน้าจอได้ รวมทั้ง native ของจอ LCD19" ที่ 1440x900pixel ด้วย


หน้าจอ OSX Desktop




ปัญหาที่ยังมีอยู่ก็คือไม่สามารถต่อสองจอพร้อมกันได้ การ์ดจอนี้เป็น DualLink DVI เมื่อผมต่อจอออกทั้งสองจอพร้อมกัน ปรากฏว่ามันเกิดการสับสนระหว่าง Monitor LCD19" กับ TV Plasma 42" ทำให้ไม่สามารถใช้งานจอภาพในแบบ native resolution ได้ ผมจึงต้องถอดสาย DVI ออกจากทีวีไปก่อน เอาไว้ไดรเวอร์มีการปรับปรุงให้ดีกว่านี้เมื่อไรค่อยเสียบสายกลับครับ




 

Create Date : 18 มิถุนายน 2552   
Last Update : 21 มิถุนายน 2552 20:14:31 น.   
Counter : 2980 Pageviews.  


วิธีตั้งค่าการ์ดจอ

ส่วนที่ยากที่สุดในการลง OSX บนเครื่อง PC ก็คือตรงการ์ดจอนี่แหละครับ เพราะเนื่องจาก Mac เป็นโอเอสกึ่งระบบปิด มี H/W ไม่มากนักที่จะสามารถทำงานกับมันได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะการ์ดจอซึ่งก็มีไม่กี่รุ่นเท่านั้น รายการ H/W Support ดูได้จาก ลิงค์นี้ ครับ

QE/CI คือ Quartz Extreme / Core Image
อธิบายสั้นๆ ก็คือ Quartz Extreme เป็นระบบในการวาดหน้าต่าง และส่วนประกอบอื่นๆ สำหรับ OSX โดยใช้ GPU ในการทำงานด้วยชุดคำสั่ง OpenGL ถ้าไม่มี Quartz Extreme ตัว OSX จะยังทำงานได้ แต่การวาดหน้าจอจะช้าลง Effect ต่างๆ เช่นการย่อหน้าต่าง ก็จะอืดกว่าปกติ ( อาจจะเนื่องจากใช้ Software Renderer )
Core Image เป็นส่วนที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะมันทำงานกับ pixel, Shading ฯลฯ เมื่อ QE/CI ไม่สามารถทำงานจึงทำให้เราไม่สามารถเล่นเกมที่ใช้ OpenGL ได้

ถ้าคุณ Search ใน internet จะพบว่าปัญหาที่เจอกันเยอะๆ ไม่ใช่ว่าติดตั้ง OSX ไม่ได้ แต่เป็น ตั้งค่า QE/CI ให้มัน Support ไม่ได้มากกว่า

ทีนี้มาดูการตั้งค่าของผมกันครับ
การ์ดจอที่ผมใช้มีสองตัวครับ แต่ไม่ได้ใช้งานพร้อมกันนะ
ตัวแรกคืออันที่มากับ mainboard เป็นชิพ ATI HD3200 onboard ตัวนี้ไม่มี driver รองรับครับ เมื่อผมติดตั้ง OSX ทีแรกจึงใช้งานได้แค่ในโหมด VESA และมี resolution = 1024x768 เพียงค่าเดียว ไม่สามารถปรับเป็นค่าอื่นๆ ได้เลย และตามที่อธิบายข้างบน เมื่อพยายามจะเปิดเกมต่างๆ มันจะฟ้อง error และปิดการทำงานทันทีเพราะเนื่องจากไม่มี GPU ที่จะใช้ในการประมวลผลนั่นเอง แต่ก็มีเกมบางเกมที่เก่าๆ หน่อยซึ่งออกมาตั้งแต่สมัยการ์ดจอยังเป็น VESA mode กันอยู่ยังทำงานได้ปกติ เช่นพวกเกมบนดอสต่างๆ ซึ่งก็ต้องเล่นผ่าน DOSBOX ( ฟรีแวร์ )

เมื่อการ์ดจอ onboard ทำงานไม่สมบูรณ์ ผมจึงต้องลงทุนไปซื้อการ์ดจอใหม่มาแทนที่ เท่าที่ผมหาข้อมูลมา การ์ดจอทางค่าย nVidia จะมีภาษีดีกว่าค่าย ATI ค่อนข้างมากเนื่องจากมีอยู่หลายรุ่นที่รองรับกับ OSX ทั้งนี้เพราะว่าถ้าไปดู Spec ของ MacTel ( Macintosh ที่ใช้ CPU Intel ) ส่วนมากจะใช้การ์ดจอจากค่าย nVidia เสียเป็นส่วนใหญ่ และนอกจากนั้นก็มี Developer อิสระจำนวนมากที่เขียน driver เพิ่มให้การ์ดจอ nVidia ได้ใช้งานบน OSX อีกด้วย

การ์ดจอที่ผมเอามาแทนที่ก็คือ Gigabyte GeForce 9500GT มีช่องต่อจอ 3 ช่อง คือ VGA+HDMI+DVI ซึ่งจากการได้ปล้ำกับมันมาเกือบสัปดาห์ได้ข้อสรุปอย่างหนึ่งว่า ควรเลือกการ์ดจอที่เป็น DVI DualLink จะดีกว่า เหตุผลนั้นผมจะอธิบายในลำดับต่อไปครับ

พอได้การ์ดจอใหม่มาแล้วก็จัดการติดตั้งลงไป แล้วเข้า BIOS ไปปิดการทำงานของ HD3200 เสียให้เรียบร้อย จากนั้นบูตเข้า OSX เพื่อไปตั้งค่ากันได้เลย ( แต่ในส่วนของผมพอติดตั้งการ์ดจอแล้วผมลง OSX ใหม่เลย )

สิ่งที่จำเป็นต้องใช้
1. Computer ที่ติดตั้ง OSX 10.5.6 Leopard เอาไว้แล้ว ในบทความผมใช้ของค่าย XXX แต่น่าจะนำไปใช้ได้กับทุกค่ายครับ
2. การ์ดจอ GeForce 9500 GT
3. โปรแกรม NVCAPMaker ซึ่งถ้าติดตั้งตามวิธีของผมก็จะมีมาให้ใน Application อยู่แล้ว ถ้าไม่มีก็ไปหาโหลดมาติดตั้งเพิ่มได้ครับ
4. โปรแกรม OSX86Tools เช่นเดียวกับข้อ 3
5. โปรแกรม nvflash หาโหลดได้จาก internet

ก่อนอื่นๆ ต้องทำแผ่น Boot ดอสแล้วแตกไฟล์ nvflash.exe เอาไว้ในแผ่นบูตด้วย ถ้าเครื่องคอมไม่มี Floppy Drive ( ผมก็ไม่มี ) ให้ใช้ FlashDrive ต่างๆ แทนได้ วิธีการทำให้ FlashDrive Boot DOS ได้นั้นโดยใช้โปรแกรม HP USB Disk Storage Tools หรือโปรแกรมอื่นๆ วิธีการหาอ่านเอาจาก internet นะครับ

หลังจากบูตดอสได้แล้ว ที่ Promt ให้พิมพ์คำสั่งว่า
nvflash.exe -b 9500GT.ROM กด Enter
เมื่อได้ไฟล์รอมมาแล้วก็บูตเครื่องเข้าสู่ OSX ตามปกติครับ

เปิดโปรแกรม NVCapMaker (เปิด Finder แล้วดูใน Application / Utility )

เลือกไฟล์ 9500GT.ROM ตรงนี้ถ้าไฟล์ไม่มีนามสกุล หรือทำไว้เป็นนามสกุลอื่นมันจะเลือกไม่ได้ครับ ก็ให้ใช้ finder เข้าไปเปลี่ยนหรือเพิ่มนามสกุล .rom ก็จะเลือกได้ตามปกติ

แล้วโปรแกรม NVCAPMaker ก็จะแสดง String ออกมาให้เราดังรูป


จด String เอาไว้ก่อนครับ

โหลดไดร์เวอร์ Nvidia 2009 modded drivers for 9500gt ต้องสมัครสมาชิกก่อนถึงจะโหลดได้นะครับ ที่จริงแล้ว nVidia 9000 Series ก็ใช้ได้ครับ

โหลดไดรเวอร์มาได้แล้วก็ติดตั้งด้วยการ double click ตามปกติ

ขั้นตอนต่อไปเปิดโปรแกรม OSX86Tools ขึ้นมาทำงาน ( เปิด Finder แล้วดูใน Application / Utilities )



หน้าต่างโปรแกรม OSX86Tools

click ที่ปุ่ม Add EFI Strings/Boot flag จะตัดไปเข้าหน้าจอ Boot Editor


click ที่ปุ่ม GFX Strings แล้วป้อนข้อมูลตามนี้ครับ
Graphics Card เลือก Custom GeForce ( ถ้าเป็นรุ่นที่มีในรายการก็เลือกไปเลยครับ )
ป้อนชื่อรุ่นเป็น nVidia GeForce 9500 GT ( หรือชื่ออะไรก็ได้ )
เลือกขนาด VRAM ตามคู่มือ ของผมเลือกเป็น 512MB
Display Output เลือกตามจริงเลยครับ ของผมไม่มีในตัวเลือกก็เลยตั้งเป็น Custom

เมื่อเลือก Output= Custom ก็เลยต้องใช้ NVCAP Data Strings ป้อนชุดข้อความที่ได้มาจากโปรแกรม NVCAPMaker ลงไปครับ


click ปุ่ม Import Strings to Boot Editor
กลับมาที่หน้าจอ BootEditor

ตรงนี้อธิบายนิดนึงครับ
Kernel flag ตรงนี้เอาไว้ใส่ command ที่ต้องการเพิ่มเข้าไปในเวลาบูต เช่นถ้าต้องการให้แสดงรายละเอียดของการโหลด Kernel และ Extension ต่างๆ ก็ใส่ -v ถ้าต้องการให้เข้า Safe Boot ก็ป้อน -x

Graphics Mode ป้อนความละเอียดของหน้าจอที่ต้องการ กรณีที่ยังไม่สามารถเปิดใช้งาน QE/CI ได้นั้น ใส่อะไรลงไปก็ไม่มีประโยชน์ครับ เพราะ OSX จะทำงานที่ความละเอียดเดียวคือ 1024x768 เท่านั้น

time out ตรงนี้ป้อนตัวเลขเป็นวินาที เพื่อหน่วงเวลาตอนเลือก Boot โอเอส จาก Darwin Bootloader ถ้าลง OSX เอาไว้ตัวเดียวก็ไม่ต้องป้อนอะไรครับ

Quiet Boot อันนี้สำหรับกรณีซ่อนข้อความตอนบูตทั้งหมดโดย OSX จะแสดงหน้าจอสีเทาๆ มีโลโก้รูปแอปเปิ้ลอย่างเดียว

เสร็จแล้ว click ที่ปุ่ม Apply change to com.apple.boot.plist
click ที่ปุ่ม reboot ครับ


หน้าจอตอนบูตเมื่อเลือก QuietBoot ใน OSX86Tools

ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดก็จะบูตเข้า OSX และสามารถใช้ QE/CI ได้แล้ว
ลองสำรวจดูสักหน่อย

ที่หน้าจอ OSX คลิ๊กที่ไอคอนรูป apple ที่มุมซ้ายบน แล้วเลือกรายการ About This Mac


หน้าต่าง About This Mac

click ที่ปุ่ม More Info ....


หน้าต่าง More Info ...

อธิบายรายละเอียดสักนิดหน่อยนะครับ
- ชื่อหน้าต่าง นั้นแสดงเป็น Mac Pro ซึ่งตอนที่เราติดตั้ง OSX มันจะมีให้เลือกว่าจะให้ OSX มองเครื่องพีซีของเราเป็น Mac รุ่นไหน ของผมตั้งเป็น Mac Pro ครับ
- Chipset Model ตรงนี้ที่เราป้อนเอาไว้ในโปรแกรม OSX86Tools ครับ
- Mirror ตรงนี้เป็น Off เพราะผมต่อแค่จอเดียว ถ้าต่อสองจอแล้วเลือกให้มันแสดงภาพเดียวกัน ตรงนี้จะเป็น On ครับ
- Quartz Extreme : Support ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าเป็น No ก็แสดงว่ายังตั้งค่าบางอย่างไม่ถูกต้องครับ
- QuartzGL หัวข้อนี้ของผมมัน Support อัตโนมัติ แต่ถ้าเป็น No ก็สามารถไปตั้งให้เป็น Support ได้จากในโปรแกรม OSX86Tools ครับ
- Display Connector status : No display connected ตรงนี้บอกให้รู้ว่าเราไม่ได้ต่อสายจากการ์ดจอไปยังจอที่สอง ถ้าเราต่อไว้สองจอ ส่วนนี้จะแสดงข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจอที่สอง ( Display 2 ) ครับ

เมื่อ QE/CI ใช้งานได้แล้ว เราลองมาตั้งค่าความละเอียดหน้าจอเป็นค่าอื่นๆ กันดูครับ

เปิดโปรแกรม System Proferences โดยคลิ๊กจากไอคอนบน Dock หรือจะเข้าจาก Finder / Application ก็ได้ คลิ๊กที่ไอคอน Display แล้วตั้งค่าความละเอียดได้ตามต้องการครับ

ค่าความละเอียดที่เราเคยเลือกใช้จะไปแสดงอยู่ที่ไอคอน Display ด้วย ( สั่งให้แสดงไอคอน Display บน menu bar จากในหัวข้อ System Preferences / Display )



ปัญหาที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนความละเอียดหน้าจอ และเกี่ยวกับการแสดงสองจอ
จากประสบการณ์ของผมเองเมื่อได้ลองตั้งความละเอียดต่างๆ กัน หลายครั้ง และลองใช้การแสดงผลสองจอ พบว่ามีปัญหาหลายอย่างดังนี้

- ถ้าต่อจอภาพจากช่อง VGA เมื่อเวลาเปลี่ยนความละเอียดหน้าจอแสดงเป็นสีฟ้า ( Blue Screen ) อันนี้เป็นปัญหาสามัญที่เกิดกับหลายๆ คนจริงๆ เท่าที่อ่านมาจะแก้กันไม่ค่อยได้ แต่ผมพบวิธีแก้ง่ายๆ ครับ

เนื่องจากการแสดงผลของการ์ดจอในปัจจุบันมีช่องต่อออกหลายช่องมาก มันจะมีพอร์ตบางคู่ที่จะแสดงผลออกมาพร้อมๆ กัน เช่น อาจจะเป็น VGA+DVI หรือ DVI+HDMI อย่างกรณีของการ์ด GeForce ตัวนี้ และใช้ไดรเวอร์ 2009 จากลิงค์ข้างบนพบว่า มันจะแสดงผลออกมาพร้อมๆ กัน VGA+DVI ส่วน HDMI นั้นไม่มีสัญญาณครับ เมื่อผมต่อจอภาพผ่านช่อง VGA แล้วเปลี่ยนความละเอียดหน้าจอจอภาพกลายเป็นสีฟ้า พอไปดูที่อีกจอที่ต่อผ่าน DVI ปรากฏว่าแสดงผลได้เป็นปกติ อีกอย่างหนึ่งเวลาที่บูตเครื่องจอที่ต่อผ่าน VGA จะไม่มีการแสดงผลใดๆ จนกว่าจะเข้าสู่หน้าจอ OSX โดยข้อมูลในการบูตเครื่องเช่น CPU, RAM มันไปแสดงผลบนอีกจอที่ต่อกับ DVI แสดงว่าการ์ดจอตัวนี้มอง DVI เป็น Master Display และช่อง VGA เป็น Display 2 นั่นเอง

พอเข้าไปดูที่ Display Preferences แล้ว ( ดูจากจอที่ต่อกับ DVI ) พบว่ามันได้ถูกกำหนดให้แสดงผลเป็น Mirror = On คือทั้งสองจอแสดงภาพๆ เดียวกัน ก็เลยเอาเครื่องหมายถูกออก เมื่อ Mirror = Off แล้ว ปรากฏว่าทั้งสองจอแสดงผลได้เป็นปกติทั้งคู่ และสามารถตั้งความละเอียดที่แตกต่างกันได้ด้วย เช่น จอหนึ่งแสดงผล 1024x768 อีกจอแสดงผล 800x600 เป็นต้น

เท่าที่ผมใช้งานมาระยะหนึ่งพบว่าอาการจอฟ้า จอดำที่เป็นอาการยอดฮิตนั้นยังแก้ไขไม่ได้ โดยถ้าต่อสองจอและตั้งค่าเป็น Mirror เมื่อใด จอที่เป็น Hardware Mirror ก็จะกลายเป็นสีดำ หรือสีฟ้าทั้งจอทันที แล้วแต่ว่าต่อผ่านช่องอะไร DVI หรือ VGA และยังขึ้นอยู่กับว่าเรากำหนดให้จอใดเป็น Main Display หรือ Display 2 ด้วย

สรุป ถ้า...
1. ต้องการแสดงผลแบบสมบูรณ์ทั้งตอนบูตและตอนเข้า OSX สามารถเปลี่ยนความละเอียดได้ ต้อง
- ต่อจอผ่านช่อง DVI เพียงเส้นเดียวเท่านั้น

2. ต้องการแสดงผลสองจอแบบ Extend และ Mirror แต่ตอนบูตจะไม่เห็นรายละเอียดจาก BIOS ต้อง
- ต่อจอหลักผ่าน VGA และจอรองผ่าน DVI

3. ต้องการแสดงผลแต่แบบ Extend เท่านั้น และแสดงผลตอนบูตปกติ ต้อง
- ต่อจอหลักผ่าน DVI จอรองผ่าน VGA

ตอนนี้ผมเข้าใจว่าปัญหาน่าจะอยู่ที่ driver ที่ยังไม่ค่อยสมบูรณ์หรืออาจจะไม่เข้ากันกับการ์ดจอของผมเสียทีเดียว ซึ่งเท่าที่อ่านมาเยอะๆ พบว่า Developer ส่วนมากจะใช้การ์ดจอที่มีช่องต่อ DVI x 2 ช่อง แล้วใช้ adapter แปลงเอานะครับ อาจจะเป็นปัญหาที่ผมใช้หัวต่อ VGA ( native ) + VGA ( adapter dvi->vga ) หรือไม่
เอาไว้ผมหาหัวแปลง DVI>HDMI หรือสาย DVI-HDMI มาได้แล้วจะลองทดสอบดูอีกทีครับ

สรุปว่าผมเลือกข้อ 1 ครับ เพราะเวลาจะดูหนัง HIDEF ก็จะบูตไปที่ Windows ซึ่งก็จะสามารถใช้ช่อง HDMI ได้เป็นปกติอยู่แล้วครับ




 

Create Date : 06 มิถุนายน 2552   
Last Update : 6 มิถุนายน 2552 18:16:22 น.   
Counter : 7972 Pageviews.  


1  2  

nidku53
 
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




สวัสดีจร้า..
[Add nidku53's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com